[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
02 กรกฎาคม 2568 02:06:51 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มโนราห์ หรือโนรา  (อ่าน 745 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 6104


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2567 11:31:12 »




เกร็ดความรู้เกี่ยวกับมโนราห์หรือโนรา

มโนราห์ หรือโนรา เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งที่เป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วภาคใต้ และเป็นการละเล่นประจำภาคที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักโดยทั่วๆ ไป พอๆ กับหนังตะลุง

การแสดงโนราไม่ปรากฏแน่ชัดว่ามีขึ้นแต่เมื่อใด แต่ในบรรดาการแสดงฟ้อนรำของไทยประเภทละครที่มีมาแต่เดิม ซึ่งมี ๓ อย่าง คือ ละครชาตรีหรือโนรา ละครนอก และละครใน นั้นถือกันว่าละครชาตรีหรือโนราเป็นแบบฉบับดั้งเดิมของละครไทย นับได้ว่าโนราเป็นการละเล่นที่เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของไทย โดยเฉพาะของภาคใต้


องค์ประกอบหลักในการแสดงโนรา คือ เครื่องแต่งกายและเครื่องดนตรี
- เครื่องแต่งกาย ประกอบด้วย เทริด เป็นเครื่องประดับศีรษะของตัวนายโรงหรือโนราใหญ่หรือตัวยืนเครื่อง เครื่องลูกปัดร้อยด้วยลูกปัดสีเป็นลายมีดอกดวง ใช้สำหรับสวมลำตัวท่อนบนแทนเสื้อ ปีกนกแอ่นหรือปีกเหน่ง ทับทรวงปีกหรือหางหงส์ ผ้านุ่ง สนับเพลา ผ้าห้อยหน้า ผ้าห้อยข้างกำไลต้นแขน-ปลายแขน และเล็บ ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องแต่งกายของโนราใหญ่หรือโนรายืนเครื่อง ส่วนเครื่องแต่งกายของตัวนางหรือนางรำเรียกว่า “เครื่องนาง” ไม่มีกำไลต้นแขนทับทรวง และปีกนกแอ่น

- เครื่องดนตรีของโนรา ส่วนใหญ่เป็นเครื่องตีให้จังหวะ ประกอบด้วย ทับ (โทนหรือทับโนรา) มี ๒ ใบ เป็นตัวคุมจังหวะและเดินทำนอง กลอง ๑ ใบ ทำหน้าที่เสริมเน้นจังหวะและล้อเสียงทับ ปี่ ๑ เลา โหม่ง ๑ คู่ หรือฆ้องคู่ ฉิ่ง ๑ คู่ และแตระ

การเล่นโนรานั้นจะมีการเล่น ๒ ลักษณะ คือ เล่นเพื่อความบันเทิง โดยเล่นโรงเดียว หรือเล่นมากกว่า ๑ โรง หมายถึงเล่นประชันกันหรือเรียกว่าโนราแข่ง และเล่นเพื่อประกอบพิธีกรรม เรียกว่า “โนราโรงครู” เพื่อใช้ในพิธีแก้บน และพิธีผูกผ้าใหญ่

ด้วยเหตุที่ช่วงระยะเวลายาวนานและสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป อีกทั้งมีการรับเอาวัฒนธรรมใหม่ ๆ เข้ามา การแสดงโนราจึงจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบ และวิธีการแสดงไปบ้าง อันเป็นการปรับตัวเพื่อให้อยู่ได้ในสภาพสังคมปัจจุบัน



กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร (ที่มา เรื่องและภาพประกอบ)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.495 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้