[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
07 กรกฎาคม 2568 03:09:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - จากพม่าถึงไทย: 3 ปีที่ต้องลี้ภัยของนักร้อง Gen Z  (อ่าน 167 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 01 สิงหาคม 2567 16:00:23 »

จากพม่าถึงไทย: 3 ปีที่ต้องลี้ภัยของนักร้อง Gen Z
 


<span>จากพม่าถึงไทย: 3 ปีที่ต้องลี้ภัยของนักร้อง Gen Z</span>
<span><span>See Think</span></span>
<span><time datetime="2024-07-30T21:26:30+07:00" title="Tuesday, July 30, 2024 - 21:26">Tue, 2024-07-30 - 21:26</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>เรื่อง: ศิชา รุ่งโรจน์ธนกุล</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p dir="ltr"><strong>บัตเตอร์ฟลาย (นามสมมติ)</strong> ศิลปินวัยรุ่นเชื้อสายกะเหรี่ยง-พม่าวัย 22 ปี กำลังลี้ภัยอย่างหลบๆ ซ่อนๆ ในประเทศไทย</p><p dir="ltr">ครั้งหนึ่งเขาเคยทำงานเป็นนักร้องและนักแต่งเพลงไปพร้อมๆ กับเรียนมหาวิทยาลัยในนครย่างกุ้ง เมื่อเกิดการรัฐประหารขึ้นในปี 2564 เขาเป็นหนึ่งในคนเจนซีจำนวนมากที่เสียโอกาสด้านการศึกษาเพราะเข้าร่วมกับกลุ่มต่อต้านเผด็จการ ท่ามกลางสงครามที่ยืดเยื้อมากว่า 3 ปีแล้ว</p><h2>ไปสู้ในป่า</h2><p dir="ltr">หลังรัฐประหาร เขาออกมาประท้วงในนครย่างกุ้งนานกว่าครึ่งปี และต่อมาได้เดินทางไปอยู่ที่รัฐกะเหรี่ยงเพื่อเข้าร่วมกับกองกำลังพิทักษ์ประชาชนหรือพีดีเอฟ (People’s Defense Force – PDF) ซึ่งเป็นปีกทหารของรัฐบาล เอกภาพแห่งชาติหรือเอ็นยูจี (National Unity Government - NUG) รวมถึงได้เข้าร่วมในขบวนการอารยะขัดขืน (Civil Disobedience Movement – CDM)</p><p dir="ltr">เขาอาศัยอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 5-6 เดือน ในที่พักที่มีลักษณะคล้ายกับค่ายทหาร</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53891318559_18b6bd6720_b.jpg" width="1024" height="768" loading="lazy"><p class="picture-with-caption" dir="ltr">บัตเตอร์ฟลาย (ซ้ายสุด) และเพื่อนขณะใช้ชีวิตอยู่ในรัฐกะเหรี่ยง</p><p dir="ltr">ขณะนั้นงานหลักของเขาคือการระดมทุนผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อมาสนับสนุนการเคลื่อนไหวของขบวนการ&nbsp; ในการสื่อสารกับผู้บริจาค เขาจะต้องเป็นคนโพสต์คอนเทนต์เกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ในแคมป์และการฝึกทหารลงในเฟซบุ๊กเพจหนึ่งอยู่เสมอๆ</p><p dir="ltr">ไม่เพียงแค่นั้น ในฐานะศิลปินเขาแต่งเพลง 3 เพลงที่มีเนื้อหาต่อต้านเผด็จการพม่า หนึ่งในนั้นถูกเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ การต่อสู้แบบเปิดหน้าออกกล้องทำให้เขาถูกเพ่งเล็ง ต่อมาเขาได้รับหมายจับ 2 หมาย ทำให้เขาตัดสินใจเปลี่ยนไปทำงานเบื้องหลังแทนเนื่องจากกังวลเรื่องความปลอดภัยของครอบครัวที่ยังอยู่ในพม่า</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53891358979_08d391efd1_b.jpg" width="1024" height="473" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">นอกจากงานระดมทุน เขายังมีหน้าที่ออกไปซื้อเสบียงสำหรับทหารฝึกหัดของกองทัพพีดีเอฟ</p><p class="picture-with-caption">โดยเขามักจะเดินเท้าราวๆ 2 ชั่วโมง จากนั้นต่อรถเข้าไปที่ตัวเมืองเพื่อซื้อของ และนี่คือวิธีที่พวกเขาใช้ขนเสบียงกลับไปยังค่าย</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53890994226_5e5a8c69dc_b.jpg" width="1024" height="768" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">มันฝรั่ง ข้าวโพด หน่อไม้ และถั่วเป็นวัตถุดิบของมื้ออาหารส่วนใหญ่</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53891235838_8994490023_b.jpg" width="1024" height="576" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">มื้อที่ดีที่สุดคือมื้อมีเนื้อสัตว์ โดยมีแค่ 1 ครั้งต่อสัปดาห์</p><p dir="ltr">ขณะที่ในโลกออนไลน์ มีการเอาชื่อ ที่อยู่ รวมไปถึงชื่อพ่อของเขามาเปิดเผยเพื่อให้ผู้คนช่วยกันตามล่า ตำรวจเริ่มไปตามหาตัวเขาถึงบ้าน เขาเคยอยู่ที่บ้านหลังนั้นก่อนจะเข้าร่วมกับกลุ่มต่อต้าน เขาไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างถ้าเขายังอยู่ในประเทศต่อไป</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53890065667_88ca9e6d4d_b.jpg" width="559" height="1024" loading="lazy"><p>&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53891399680_af500bbafc_b.jpg" width="580" height="1024" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ข้อความในภาพนี้ที่แคปจากแอปพลิเคชันเทเลแกรม เปิดเผยที่อยู่คร่าวๆ ของบัตเตอร์ฟลายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้คนช่วยกันตามล่าตัวเขา มีข้อความว่า เขาเสร็จสิ้นการฝึกกับ PDF และได้เดินทางกลับมาที่นครย่างกุ้งแล้ว รวมถึงมันยังระบุด้วยว่า เขา “ดูเหมือนจะเป็นนักร้องและเป็นเกย์”</p><p dir="ltr">&nbsp;</p><h2>ชีวิตในเมืองไทย</h2><p dir="ltr">หลังจากที่บัตเตอร์ฟลายหนีเข้ามาที่ฝั่งไทยอย่างไม่มีเอกสาร เขาอาศัยอยู่ที่เมืองชายแดนหลายเดือนโดยได้รับการคุ้มครองจากองค์กรระหว่างประเทศ</p><p dir="ltr">ในระหว่างรอไปประเทศที่สามในฐานะผู้ลี้ภัย บัตเตอร์ฟลายไม่สามารถเข้ากระบวนการทำบัตรสีชมพูซึ่งเป็นบัตรประจำตัวของแรงงานข้ามชาติเหมือนกับผู้เข้าเมืองผิดกฎหมายที่ตั้งใจจะอยู่ที่นี่ได้ อีกทั้งสภาพเมืองชายแดนแห่งนี้ก็ไม่ได้เป็นมิตรกับผู้ลี้ภัยมากนัก เขารออยู่ที่นั่นหลายเดือนทว่าไร้วี่แววที่จะได้ไปประเทศที่สามในเร็ววัน ต่อมาเขาตัดสินใจเข้ามาหางานทำที่กรุงเทพฯ เนื่องจากเขาเป็นคนเดียวที่หาเงินเลี้ยงครอบครัว</p><p dir="ltr">ช่วงแรกๆ ที่มาถึงกรุงเทพฯ เขาเดินเข้าไปถามตำแหน่งว่างตามโรงแรมและร้านอาหารด้วยความหวังว่าอาจมีสักแห่งที่ต้องการพนักงานล้างจาน ในขณะเดียวกันเขาหว่านใบสมัครทางออนไลน์ไปยังบริษัทราวๆ 60 แห่ง มีติดต่อกลับมาเพียงแค่ 3 แห่ง หนึ่งในกลุ่มหลังนี้คือ ร้านกัญชาแห่งหนึ่งในย่านคนรวยซึ่งได้กลายมาเป็นที่ทำงานของเขา</p><p dir="ltr">“ผมบอกคนที่ร้านว่าผมเป็นนักร้อง แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้สนใจมันก็ตาม” บัตเตอร์ฟลายพูดถึงวันแรกที่ทำงานที่นั่น</p><p dir="ltr">ก่อนที่จะมีการจ้างงาน เขาเปิดใจเล่าเรื่องทุกอย่างที่เกิดขึ้นให้คนที่ร้านฟัง แต่ไม่มีใครเชื่อเขาเท่าไหร่ ด้วยความที่เขาไม่มีเอกสารที่ใช้ยืนยันตัวตน เมื่อเห็นสถานการณ์เป็นเช่นนั้น เขาเสนอตัวทำงานที่ร้านแบบฟรีๆ 5 วันแล้วถ้าเจ้าของร้านเกิดถูกใจขึ้นมาก็ค่อยจ้างเขา</p><p dir="ltr">หลังจากนั้นผู้ลี้ภัยคนนี้กลายเป็นพนักงานที่มีอายุงานมากที่สุด เขาทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ วันละ 8-12 ชั่วโมง ที่นี่เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง เวลานอนเขาพังเละเทะจากการต้องสลับกะทุกๆ 2 สัปดาห์</p><p dir="ltr">“บางทีเวลาตำรวจมา ผมแสร้งทำเหมือนตัวเองเป็นนักท่องเที่ยวและเดินหนีไป ผมต้องทำแบบนั้น จริงๆ แล้วมันน่ากลัวนะ สมัยอยู่ที่พม่าผมก็ต้องวิ่งหนีทหารพม่า พอมาอยู่ที่นี่ก็ต้องมาวิ่งหนีตำรวจอีก เหตุผลต่างกันแต่ความรู้สึกเดียวกันเลย จริงๆ แล้วผมไม่ได้อยากหนีเลย”</p><p dir="ltr">ด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัย เขาไม่ได้ออกมาปรากฎตัวหน้าเคาเตอร์เหมือนอย่างคนอื่นๆ แต่ภาระงานก็ครอบจักรวาลมากทีเดียว ตั้งแต่ทำแคชเชียร์ ทำคอนเทนต์เพื่อการตลาดลงโซเชียลมีเดีย จัดการสต็อกสินค้า รวมทั้งสอนงานพนักงานใหม่</p><p dir="ltr">“ก่อนที่จะมีรัฐประหาร มันมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ผมเคยคิดว่าในชีวิตนี้ผมคงจะไม่ทำ แต่พอมาอยู่ที่นี่ ผมกลับต้องทำมันทั้งหมด เหมือนกับว่าส่วนหนึ่งในตัวผมถูกเผาไหม้ ผมเครียด แต่มันไม่เศร้าหรอก เพราะผมยังต้องทำงานหาเงินส่งให้ครอบครัว ค่ารักษาพ่อ หนี้สินของแม่ ค่าเทอมน้องสาว แม้ผมจะไม่เศร้าแต่ผมก็รู้สึกเครียด”</p><p dir="ltr">แม้ชีวิตในเมืองไทยจะหนักหนาสำหรับบัตเตอร์ฟลาย แต่ความเครียดช่วยให้เขาแต่งเพลงได้ งานด้านดนตรียังคงเป็นทั้งอาชีพและงานอดิเรก</p><p dir="ltr">“ช่วงที่ผมถ่ายทำมิวสิกวิดีโอ ทีมงานใช้เวลาเป็นเดือนสำหรับเอ็มวี 4 นาที เนื่องจากผมว่างแค่สัปดาห์ละ 1 วัน”</p><p dir="ltr">ช่วงก่อนที่จะมีการรัฐประหาร เขาเคยมาที่กรุงเทพฯ หลายครั้ง ด้วยการเข้าเมืองมาอย่างถูกกฎหมายคล้ายกับคนทั่วไปที่มาเที่ยวเล่น ชอปปิงตามห้างสรรพสินค้า มีบางครั้งที่เขามาถ่ายงานกับผู้กำกับคนไทย นี่จึงทำให้เขาพอมีคอนเนกชันอยู่บ้าง ซึ่งต่อมามันก็ช่วยให้เขาในฐานะผู้ลี้ภัยพอจะมีรายได้เล็กๆ น้อยๆ จากงานถ่ายแบบ แม้ในวันๆ หนึ่งเขาจะมีเวลาว่างเพียงวันละ 2 ชั่วโมงที่อาจเป็นตอนกลางคืน แต่แบรนด์สินค้าส่วนมากก็เข้าใจในข้อจำกัดนี้</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53891410970_ebd5ff52e6_b.jpg" width="1024" height="768" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">วิวใกล้ๆ กับที่พักของเขาในรัฐกะเหรี่ยง ปัจจุบันพื้นที่ตรงนี้ถูกกองทัพพม่าทำลายไปหมดแล้ว</p><h2>อนาคตที่กำลังจะเริ่ม</h2><p dir="ltr">หลังจากรอคอยไปประเทศที่สามมาเกือบ 3 ปี ศิลปินวัยรุ่นคนนี้เลือกที่จะไม่รออีกต่อไป และได้จัดการทำบัตรสีชมพูกับพาสปอร์ตใหม่ เขาลาออกจากงานที่ร้านกัญชาเพื่อใช้เวลาเตรียมตัวสอบภาษาอังกฤษและสมัครชิงทุนการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ</p><p dir="ltr">ก่อนที่เขาจะได้พาสปอร์ตกลับมา พ่อของเขาที่ยังอยู่ในพม่าล้มป่วยและเสียชีวิต เขาไม่สามารถกลับไปดูใจได้ เนื่องจากปัญหาเอกสาร และถ้าเขากลับไปที่นั่นก็เสี่ยงถูกจับเข้าคุกหรืออาจถูกทำร้ายจนถึงแก่ชีวิตในระหว่างเดินทางก็เป็นได้ เขาทำได้เพียงอยู่กับพ่อทางวิดีโอคอลจนถึงวันสุดท้าย</p><p dir="ltr">“ตอนแรกผมคิดว่าคนไทยอาจจะไม่ชอบผม เพราะว่าผมไม่มีพาสปอร์ต ถ้าผมเป็นพวกเขา ผมก็อาจจะไม่ชอบตัวเองก็ได้ ผมเคยกังวลเรื่องนี้แต่พบว่ามันไม่จริงเลย</p><p dir="ltr">คนส่วนใหญ่ที่ร้านใจดีกับผมจริงๆ พวกเขาช่วยเหลือผมทุกเรื่อง ตอนที่ผมทำเรื่องขอทุนการศึกษา ลุงคนหนึ่งที่อายุมากที่สุดในร้านช่วยเขียนจดหมายแนะนำให้ ตอนที่พ่อของผมเสียชีวิต พวกเขารวมเงินกันเพื่อช่วยงานศพ พวกเขาช่วยผมหาที่พักด้วยเพราะผมไม่สามารถเช่าบ้านเองได้”</p><p dir="ltr">บัตเตอร์ฟลายเล่าถึงระยะเวลา 1 ปี 2 เดือนที่ทำงานที่ร้าน ตอนแรกๆ เขาไม่มั่นใจว่าการทำงานในร้านกัญชาแห่งนี้มันถือเป็นทางเลือกที่ดีไหม เมื่อเวลาผ่านไป เขาจึงเริ่มมองเห็นว่าในความอับจนหนทางก็ยังพอมีด้านที่สวยงาม</p><p dir="ltr">ขณะนี้เขาได้รับทุนการศึกษาเต็มจำนวนเป็นระยะเวลา 4 ปี เพื่อเรียนด้านการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน เขายังมุ่งมั่นที่จะทำงานดนตรีต่อไป</p><p dir="ltr">“การร้องเพลงเป็นทั้งอาชีพและเป็นทางออกผม ด้วยการทำอาชีพนี้ ถ้าผมมีแฟนคลับมากขึ้นก็จะช่วยให้ผมเลี้ยงครอบครัวได้มากขึ้นและช่วยเหลือคนรอบข้างที่เป็นผู้ลี้ภัยได้ เพราะผมก็เคยเป็นผู้ลี้ภัยมาก่อน</p><p dir="ltr">ช่วงที่อาศัยอยู่ที่เมืองชายแดนไทย ผมมีประสบการณ์ 4 เดือนในการทำงานกับเอ็นจีโอ ไปช่วยงานในโรงเรียนสำหรับเด็กๆ ที่เป็นลูกของผู้อพยพ ผมได้เห็นหลายสิ่งหลายอย่างที่ผมสามารถช่วยได้ ถ้าผมมีแพลตฟอร์มในการร้องเพลงรวมถึงช่องทางหารายได้อื่นๆ มันจะเป็นผลดีต่อผมและชุมชนของผม”</p><div class="note-box"><p><strong>รายงานชิ้นนี้เป็นผลงานจากกิจกรรมที่จัดขึ้นโดย Borders &amp; Broader Conversations Initiative&nbsp;</strong></p></div><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li><strong>วิบากกรรม ‘นักข่าวหญิงพลัดถิ่น’ จากพม่าถึงไทยปลอดภัยพอหรือยัง</strong></li></ul></div><p>&nbsp;</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C" hreflang="th">สัมภาษณhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">แรงงาhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" hreflang="th">ต่างประเทhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" hreflang="th">พม่http://prachatai.com/category/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2" hreflang="th">ผู้ลี้ภัhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" hreflang="th">แรงงานข้ามชาตhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9" hreflang="th">บัตรสีชมพhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%B0" hreflang="th">ข่าวเจาhttp://prachatai.com/category/depth" hreflang="th">depth[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/in-depth" hreflang="th">in-depth[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->

            <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2024/07/110130
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.105 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 12 มิถุนายน 2568 14:26:02