[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 15:42:46 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก (๘๔.- ๙๙.)  (อ่าน 3243 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 31 ตุลาคม 2554 13:00:08 »



                         

ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก

๘๔. ศีลวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ
              ในธรรมเหล่านั้น ศีลวิบัติเป็นไฉน ? ความก้าวล่วง (วิติกกมะ) ทางกาย ความก้าวล่วงทางวาจา ความก้าวล่วงทั้งทางกาย และทางวาจา. นี้เรียกว่าศีลวิบัติ. แม้ความเป็นผู้ทุศีล ทุกอย่าง ก็ชื่อว่า ศีลวิบัติ

              ในธรรมเหล่านั้น ทิฏฐิวิบัติเป็นไฉน ? ความเห็นอย่างนี้ว่า ทานไม่มี, การบริจาคไม่มี, การบูชาไม่มี, ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่ว ไม่มี, โลกนี้ไม่มี, โลกหน้าไม่มี, มารดาไม่มี, สัตว์โอปปาติกะไม่ มี, สมณพราหมณ์ที่ประพฤติชอบปฏิบัติชอบ ซึ่งรู้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ทราบถึงโลกนี้ โลกหน้า ไม่มี. นี้เรียกว่าทิฏฐิวิบัติ. แม้มิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิด) ทุกอย่าง ก็ชื่อว่าทิฏฐิวิบัติ.

๘๕. ศีลสัมปทา ทิฏฐิสัมปทา
              ในธรรมเหล่านั้น ศีลสัมปทาเป็นไฉน ? ความไม่ก้าวล่วงทางกาย ความไม่ก้าวล่วงทางวาจา ความไม่ก้าวล่วงทั้งกายและวาจา. นี้เรียกว่าศีลสัมปทา. แม้ความสำรวมในศีลทุกอย่าง ก็ชื่อว่าศีลสัมปทา.

              ในธรรมเหล่านั้น ทิฏฐิสัมปทาเป็นไฉน ? ปัญญาอย่างนี้ว่า ทานมี, การบริจาคมี, การบูชามี, ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วมี, โลกนี้มี, มารดามี, บิดามี, สัตว์โอปปาติกะมี, สมณพราหมณ์ที่ประพฤติชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งรู้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ทราบถึงโลกนี้ โลกหน้า มี. นี้เรียกว่าทิฏฐิสัมปทา แม้สัมมาทิฏฐิทุกอย่าง ก็เรียกว่าทิฏฐิสัมปทา.
อภิธัมมปิฎก สังคณี ๓๔/๓๓๖

๘๖. ธรรมที่มีอารมณ์และไม่มีอารมณ์
              ธรรมที่มีอารมณ์เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔ , วิบากในภูมิ, กิริยาอัพยากฤต ในภูมิ ๓. ธรรมเหล่านี้มีอารมณ์.
              ธรรมที่ไม่มีอารมณ์เป็นไฉน ? รูป นิพพาน. ธรรมเหล่านี้ ไม่มีอารมณ์.
๓๔/๓๓๖

๘๗. ธรรมที่เป็นจิตและไม่ใช่จิต
              ธรรมที่เป็นจิตเป็นไฉน? จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา) โสตวิญญาณ(ความรู้แจ้งอารมณ์ทางหู) ฆานวิญญาณ(ความรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก) ชิวหาวิญญาณ(ความรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น) กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางกาย) มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ). ธรรมเหล่านี้ เป็นจิต.

              ธรรมที่ไม่ใช่จิตเป็นไฉน? เวทนาขันธ์ (กองเวทนา) สัญญาขันธ์ (กองสัญญา) สังขารขันธ์ (กองสังขาร) รูป และ นิพพาน ธรรมเหล่านี้ ไม่ใช่จิต.
๓๔/๓๖๗

๘๘. ธรรมที่เป็นเจตสิกและไม่ใช่เจตสิก
              ธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ . ธรรมเหล่านี้ เป็นเจตสิก.
              ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิกเป็นไฉน ? จิต, รูป, นิพพาน. ธรรมเหล่านี้ ไม่ใช่เจตสิก.

๘๙. ธรรมที่ประกอบและไม่ประกอบกับจิต
              ธรรมที่ประกอบจิต (จิตตสัมปยุต) เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์. ธรรมเหล่านี้ประกอบกับจิต.
              ธรรมที่ไม่ประกอบกับจิต (จิตตวิปปยุต) เป็นไฉน? รูป นิพพาน. ธรรมเหล่านี้ ไม่ประกอบกับจิต. จิตไม่ควรกล่าว ทั้งว่าประกอบกับจิต ทั้งว่าไม่ประกอบกับจิต.
๓๔/๓๖๗

๙๐. ธรรมที่ระคนและไม่ระคนกับจิต
              ธรรมที่ระคนกับจิต (จิตตสังสัฏฐะ) เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์. ธรรมเหล่านี้ ระคนกับจิต.
              ธรรที่ไม่ระคนกับจิต (จิตตวิสังสัฏฐะ) เป็นไฉน? รูป นิพพาน. ธรรมเหล่านี้ ไม่ระคนกับจิต. จิตไม่ควรกล่าว ทั้งว่าระคนกับจิต ทั้งว่าไม่ระคนกับจิต.
๓๔/๓๖๗

๙๑. ธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานและไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน
              ธรรมที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นไฉน? เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์. กายวิญญัติ (ความไหวกาย) วจีวิญญัติ (ความไหวหรือการเปล่งวาจา). รูปอย่างอื่น ซึ่งเกิดจากจิต ซึ่งมีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน, อายตนะ คือรูป. อายตนะคือเสียง. อายตนะคือกลิ่น. อายตนะคือรส. อายตนะคือโผฏฐัพพะ, ธาตุอากาศ, ธาตุน้ำ, ความเบาแห่งรูป, ความอ่อนสลวยแห่งรูป, ความควรแก่การงานแห่งรูป, ความเติบโตแห่งรูป, ความสืบต่อแห่งรูป, อาหารที่เป็นคำ ๆ๑๐ (อาหารธรรมดาของกาย) ธรรมเหล่านี้ มีจิตเป็นสมุฏฐาน.

              ธรรมที่ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน (โน จิตตสมุฏฐาน)เป็นไฉน? จิต, รูปที่เหลือ (จากที่กล่าวไว้ข้างต้น คือรูปที่มิได้เกิดจากจิต), นิพพาน. ธรรมเหล่านี้ ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.
๓๔/๓๖๗

๙๒. ธรรมที่เกิดพร้อมกับจิตและไม่เกิดพร้อมกับจิต
              ธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต (จิตตสหภู) เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ. ธรรมเหล่านี้ เกิดพร้อมกับจิต.
              ธรรมที่ไม่เกิดพร้อมกับจิต (โน จิตตสหภู) เป็นไฉน? จิต (หมายถึงจิตดวงอื่น), รูปที่เหลือ (คือที่มิใช่เกิดจากจิต), นิพพาน, ธรรมเหล่านี้ ไม่เกิดพร้อมกับจิต.
๓๔/๓๖๘

๙๓. ธรรมที่หมุนเวียนไปตามจิตและไม่หมุนเวียนไปตามจิต
              ธรรมที่หมุนเวียนไปตามจิต(จิตตานุปริวัตตี) เป็นไฉน? เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, กายวิญญัติ, วจีวิญญัติ. ธรรมเหล่านี้ หมุนเวียนไปตามจิต.
              ธรรมที่ไม่หมุนเวียนไปตามจิต (โน จิตตานุปริวัตตี) เป็นไฉน? จิต, รูปที่เหลือ (คือที่มิใช่เกิดจากจิต), นิพพาน. ธรรมเหล่านี้ ไม่หมุนเวียนไปตามจิต.
๓๔/๓๖๘

๙๔. ธรรมที่เป็นไปในภายในและภายนอก๑๑
              ธรรมที่เป็นไปในภายในเป็นไฉน? จักขายตนะ (ที่ต่อคือตา), โสตายนตะ (ที่ต่อคือหู), ฆานาจนนะ (ที่ต่อคือจมูก), ชิวหายตนะ(ที่ต่อคือลิ้น), กายายตนะ (ที่ต่อคือกาย), มนายตนะ (ที่ต่อคือใจ), ธรรมเหล่านี้ เป็นไปในภายใน.
              ธรรมที่เป็นไปในภายนอกเป็นไฉน? รูปายตนะ (อายตนะ หรือที่ต่อคือรูป), สัททายตนะ (ที่ต่อคือเสียง), คันธายตนะ (ที่ต่อคือกลิ่น) รสายตนะ (ที่ต่อคือรส). โผฏฐัพพายตนะ (ที่ต่อคือโผฏฐัพพะ), ธัมมาจนะ (ที่ต่อคือธรรม). ธรรมเหล่านี้ เป็นไปในภายนอก.
๓๔/๓๖๙

๙๕. ธรรมที่เป็นกุศล
              ธรรมที่เป็นกุศลเป็นไฉน? รากเหง้าของกุศล ๓ อย่าง คือความไม่โลภ ความไม่โกรธ๑๒ ความไม่หลง, กองแห่งเวทนา กองแห่งสัญญา กองแห่งสังขาร กองแห่งวิญญาณ ที่ประกอบด้วยรากเหง้าของกุศล.

๙๖. ธรรมที่เป็นอกุศล
              ธรรมที่เป็นอกุศลเป็นไฉน? รากเหง้าของอกุศล ๓ อย่าง คือความโลภ ความโกรธ๑๓ ความหลงและกิเลส ที่มีเนื้อความเป็นอันเดียวกับรากเหง้าของอกุศลนั้น, กองเวทนา, กองสัญญา, กองสังขาร, กองวิญญาณ ที่ประกอบด้วยรากเหง้าของอกุศลนั้น, การกระทำทางกาย ทางวาจา ทางใจ ที่เกิดขึ้นจากรากเหง้าของอกุศลนั้น. ธรรมเหล่านี้ เป็นอกุศล.

๙๗. ธรรมที่เป็นอัพยากฤต๑๔
              ธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นไฉน? วิบาก(ผล) ของธรรมที่เป็นกุศล อกุศล ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร โลกุตตระ, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, และธรรมเหล่าใดที่เป็นกิริยา ไม่เป็นกุศล ไม่เป็นอกุศล ไม่เป็นวิบากของกรรม, รูปทุกชนิด และธาตุที่เป็นอสังขตะ(ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง). ธรรมเหล่านี้ เป็นอัพยากฤต.
๓๔/๒๕๙

๙๘. ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า
              "ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ ถ้าใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว จะพูดก็ตาม จะทำก็ตาม ความทุกข์ย่อมติดตามไป เพราะเหตุนั้น เหมือนล้อเกวียนตามรอยเท้าโคฉะนั้น."
              "ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ ถ้าใจผ่องใสแล้ว จะพูดก็ตาม จะทำก็ตาม ความสุขย่อมติดตามไป เพราะเหตุนั้น เหมือนเงาตามตัวฉะนั้น."
๒๕/๑๕

๙๙. เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร
              "ผู้ผูกเวรว่า เขาด่าเรา เขาทำร้ายเรา เขาชนะเรา เขาลักของของเราไป เวรของผู้นั้นย่อมไม่ระงับ."
              "ผู้ไม่ผูกเวรว่า เขาด่าเรา เขาทำร้ายเรา เขาชนะเรา เขาลักของของเราไป เวรของผู้นั้นย่อมระงับ."
              "เวรในโลกนี้ ย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวรเลยในกาลไหน ๆ แต่ระงับด้วยการไม่จองเวรต่างหาก ธรรมนี้ เป็นของเก่า."
              "คนอื่นย่อมไม่รู้ด้วยหรอกว่า พวกเราย่อมย่อยยับกันลงไปในการจองเวรกันนี้เอง. ในคนหล่านั้น ผู้ใดรู้ได้ แต่นั้น ความหมายมั่น จองเวรของเขาย่อมระงับไป."
๒๕/๑๕

                       

อรรถกถา
๑. ความก้าวล่วง คือประพฤติผิด หรือล่วงละเมิดข้อห้าม หรือศีลธรรม
๒. คือสัตว์ที่เกิดก็เติบโตขึ้นทันที เช่น เทพ และสัตว์นรก
๓. คำว่า สัมปทา แปลว่า ความถึงพร้อมหรือความสมบูรณ์ ตรงกันข้ามกับความวิบัติหรือความบกพร่องวิปริต
๔. ภูมิ ๔ คือ กามาวจรภูมิ (ภูมิที่ท่องเที่ยวอยู่ในกาม) รูปาวจรภูมิ (ภูมิที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป หรือรูปฌาน) อรูปาวจรภูมิ (ภูมิที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป หรืออรูปฌาน) โลกุตตรภูมิ (ภูมิที่ข้ามพ้นจากโลก)
๕. วิบาก คือจิตที่เป็นผลมาจากเหตุในกาลก่อน. โดยอธิบายว่า จิตมี ๔ ชนิด คือที่เป็นกุศล (ฝ่ายดี), เป็นอกุศล (ฝ่ายชั่ว), วิบาก (ฝ่ายผล), กริยา (ฝ่ายอาการ).

๖. กิริยาอัพยากฤติในภูมิ ๓ คือเว้นโลกุตตรภูมิ
๗. เวทนา คือความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข, สัญญา คือความจำได้ เช่น จำสี จำเสียง, สังขาร คือความคิด หรือเจตนาที่ดีบ้าง ชั่วบ้าง
๘. อายตนะ แปลว่า ที่ต่อ มี ๒ ประเภท คือที่ต่อภายใน ได้แก่ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ, กับที่ต่อภายนอก ได้แก่รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ, ธรรมที่คู่กับที่ต่อภายในเป็นคู่ ๆ
๙. โผฏฐัพพะ สิ่งที่มาถูกต้องกาย
๑๐. กวฬิงการาหาร อาหารที่ทำให้เป็นคำ ๆ หมายถึงอาหารที่กินได้ ยังมีอาหารประเภทอื่นอีก เช่น ผัสสาหาร อาหารคือสัมผัส มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือความจงใจ หรือตั้งใจ วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ

๑๑. ในภาษาศาสนา ชี้ไปถึงอาตนะภายใน อาตนะภายนอก ซึ่งคู่กัน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นอายตนะภายใน. รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมะ เป็นอายตนะภายนอก คำว่า โผฏฐัพพะ หมายถึงสิ่งที่ถูกต้องได้ ธรรมะ หมายถึงเรื่องที่รู้ได้ด้วยใจ
๑๒. แปลเอาความจากคำบาลีว่า อโทสะ
๑๓. แปลเอาความจากคำบาลีว่า โทสะ แท้จริง คำว่า โกธะ(ความโกรธ) โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) บางคราวก็แสดงไว้เป็นคำใช้แทนกัน บางคำก็แสดงว่าต่างกัน โดยอธิบายว่า ความคิดประทุษร้าย (โทสะ) มีความโกรธ (โกธะ) เป็นสมุฏฐาน. แต่แปลจับใจความในที่นี้ใช้แทนกัน เพื่อให้สั้น ๆ ในภาษาไทย
๑๔. อัพยากฤต คือที่พระพุทธเจ้าไม่พยากรณ์ ว่าดี หรือชั่ว ได้แก่เป็นกลาง ๆ




:https://sites.google.com/site/cosmosthai/a12
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Firefox 7.0.1 Firefox 7.0.1


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2554 13:52:51 »



ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก
๑๐๐. กำลัง ๗ ประการ
              "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๗ ประการเหล่านี้ คือ
              ๑. กำลังคือความเชื่อ (สัทธาพละ)                   ๒. กำลังคือความเพียร (วิริยพละ)
              ๓. กำลังคือความละอายต่อบาป (หิริพละ)             ๔. กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป (โอตตัปปพละ)
              ๕. กำลังคือสติความระลึกได้ (สติพละ)               ๖. กำลังคือความตั้งใจมั่น (สมาธิพละ)
              ๗. กำลังคือปัญญา (ปัญญาพละ)
              ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๗ ประการเหล่านี้แล."
สัตตกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๓/๒

๑๐๑. คำอธิบายกำลัง ๗ ประการ
              (๑)"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความเชื่อ เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ มีศรัทธาเชื่อปัญญาตรัสรู้ของตถาคตว่า พระผู้มีพระภาคนั้น
              ๑. เป็นพระอรหันต์ (ผู้ไกลจากกิเลส)                 ๒. เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
              ๓. เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติ     ๔. เป็นผู้เสด็จไปดี
              ๕. เป็นผู้รู้จักโลก                                           ๖. เป็นผู้ฝึกคนที่ควรฝึกอย่างเยี่ยม
              ๗. เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์                  ๘. เป็นผู้ตื่น (รวมทั้งปลุกผู้อื่นให้ตื่น)
              ๙. เป็นผู้มีโชค (เพราะทำเหตุที่จะให้เกิดโชคไว้)
              นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความเชื่อ."

              (๒) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความเพียร เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ตั้งความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม (ธรรมฝ่ายชั่ว) เพื่อทำให้กุศลธรรม (ธรรมฝ่ายดี) สมบูรณ์ เป็นผู้ลงแรงบากบั่นมั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความเพียร."

              (๓) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความละอายต่อบาป เป็นไฉน? อริยสาวกไปพระธรรมวินัย เป็นผู้มีความละอาย คือละอายต่อกายทุจจริต (ความประพฤติชั่วทางกาย) วจีทุจจริต (ความประพฤติชั่วทางวาจา) มโนทุจจริต (ความประพฤติชั่วทางใจ) ละอายต่อการประกอบอกุศล บาปกรรมทั้งหลาย. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความละอายต่อบาป."

              (๔) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเกรงกลัว คือเกรงกลัวต่อกายทุจจริต วจีทุจจริต มโนทุจจริต เกรงกลัวต่อการประกอบอกุศล บาปกรรมทั้งหลาย. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความเกรงกลัวต่อบาป."

             (๕) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความระลึกได้ เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะอันยอดเยี่ยม ย่อมระลึกได้ ย่อมนึกออกถึงสิ่งที่กระทำไว้นานแล้ว ถึงถ้อยคำที่พูดไว้นานแล้วได้. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความระลึกได้."

              (๖) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือความตั้งใจมั่น เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม (ความในอารมณ์ที่น่าใคร่) สงัดจากอกุศลธรรมเข้าสู่ฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือความตั้งใจมั่น."

              (๗) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังคือปัญญา เป็นไฉน? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยปัญญา เห็นความเกิดความดับ เป็นปัญญาอันประเสริฐ ชำแรกกิเลสได้ ทำให้ถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ. นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เรียกว่า กำลังคือปัญญา."
๒๓/๓,๔

๑๐๒. มารย่อมข่มเหงและไม่ข่มเหงคนเช่นไร
              "ผู้มักเห็นว่าสวยงาม ไม่สำรวมอินทรีย์ (คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ไม่รู้ประมาณในการบริโภค เกียจคร้าน มีความเพียรเลว มารย่อมข่มเหงผู้นั้นแหละ เหมือนลมทำลายต้นไม้ที่ไม่แข็งแรงฉะนั้น."
              "ผู้ไม่มักเห็นว่าสวยงาม สำรวมอินทรีย์ (คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) รู้ประมาณในการบริโภค มีศรัทธา ปรารภความเพียร มารย่อมไม่ข่มเหงผู้นั้น เหมือนลมไม่ทำลายภูเขาอันล้วนด้วยศิลาฉะนั้น."
ธรรมบท ๒๕/๑๖

๑๐๓. กาสาวพัสตร์ กับกิเลสอันเปรียบน้ำฝาด
              "ผู้ใดยังไม่ปราศจากสาวะ (กิเลสอันเปรียบเหมือนน้ำฝาด) ปราศจากทมะ (ความข่มใจ) และสัจจะ (ความจริงใจ) มานุ่งห่มกาสาวพัสตร์ ผู้นั้นหาสมควรนุ่งห่มกาสาวพัสตร์ไม่"
              "แต่ฝู้ใดคายกิเลสที่เปรียบเหมือนน้ำฝาดได้แล้ว ตั้งมั่นดีในศีล ประกอบด้วยทมะ (ความข่มใจ) และสัจจะ(ความจริงใจ) ผู้นั้นแล ย่อมสมควรนุ่งห่มกาสาวพัสตร์."
ธรรมบท ๒๕/๑๖

๑๐๔. จะบรรลุสิ่งเป็นสาระก็ด้วยเข้าใจสาระ
              "ผู้เห็นในสิ่งไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ เห็นในสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ มีความดำริผิดเป็นทางไป ย่อมไม่ได้บรรลุสิ่งที่เป็นสาระ."
              "ผู้รู้สิ่งเป็นสาระโดยความเป็นสาระ สิ่งไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ มีความดำริชอบเป็นทางไป
ย่อมบรรลุสิ่งเป็นสาระได้."

๑๐๕. ฝนรั่งรดที่เทียบด้วยราคะ (ความติดใจ)
              "เรือนที่มุงไม่ดี ฝนย่อมรั่วรดได้ฉันใด จิตที่อบรมไม่ดี ราคะ(ความติดใจ) ก็รั่วรดได้ฉันนั้น."
              "เรือนที่มุงดีแล้ว ฝนย่อมรั่วรดไม่ได้ฉันใด จิตที่อบรมดีแล้ว ราคะ (ความติดใจ) ก็รั่วรดไม่ได้ฉันนั้น."
ธรรมบท ๒๕/๑๖

๑๐๖. ผู้เศร้าโศก กับ ผู้บันเทิงในปัจจุบันและอนาคต
              "คนทำความชั่ว ย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง คือเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วก็เศร้าโศก เขาย่อมเศร้าโศกเดือดร้อน เพราะเห็นการกระทำอันเศร้าหมองของตน."
              "คนทำบุญ ย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง คือบันเทิงในโลกนี้ ละไปแล้วก็บันเทิง เพราะเห็นความบริสุทธิ์แห่งการกระทำของตน."
ธรรมบท ๒๕/๑๖

๑๐๗. พูดมากไม่ทำ กับ พูดน้อยแต่ทำ
              "คนที่พูดถ้อยคำมีประโยชน์ แม้มาก แต่เป็นผู้ประมาท ไม่ทำตามถ้อยคำนั้น ผู้นั้นย่อมไม่ได้มีส่วนแห่งคุณธรรมที่ทำให้เป็นสมณะ เหมือนคนเลี้ยงโค นับโคให้ผู้อื่น แต่ไม่มีส่วนแห่งน้ำนมโคฉะนั้น. คนที่พูดถ้อยคำมีประโยชน์ แม้น้อย แต่ประพฤติตามธรรม ละราคะ โทสะ และ โมหะ ได้ รู้อยู่โดยชอบ มีจิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ไม่ถือมั่นในโลกนี้ หรือโลกอื่น ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณธรรมที่ทำให้เป็นสมณะ."
ธรรมบท ๒๕/๑๗

๑๐๘. ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความไม่ตาย
              "ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย, ผู้ไม่ประมาท ชื่อว่าไม่ตาย ผู้ประมาทย่อมเหมือนคนตายแล้ว. บัณฑิตทราบข้อความนี้โดยพิเศษแล้ว ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ยินดีในธรรมที่เป็นที่เที่ยวไป (แห่งจิต) ของพระอริยะทั้งหลาย ย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท. ผู้นั้นมีความเพ่ง ทำความพียรติดต่อ มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ เป็นผู้ฉลาด ย่อมได้บรรลุพระนิพพาน อันปลอดโปร่งจากโยคะ (คือกิเลสที่ประกอบสัตว์ไว้ในความเวียนว่ายตายเกิด)."
ธรรมบท ๒๕/๑๘

๑๐๙. ยศเจริญแก่คนเช่นไร
              "ยศย่อมเจริญแก่คนที่มีความหมั่น. มีสติ, มีการงานสะอาด, ใคร่ครวญแล้วจึงทำ, สำรวมระวังครองชีวิตอยู่โดยธรรม และเป็นผู้ไม่ประมาท."
ธรรมบท ๒๕/๑๘

๑๑๐. เกาะชนิดไหนน้ำไม่ท่วม
              "ห้วงน้ำย่อมไม่ท่วมทับเกาะใด ผู้มีปัญญาพึงสร้างเกาะ (ที่พึ่ง) นั้นขึ้น ด้วยคุณธรรมคือความหมั่น, ความไม่ประมาท, ความสำรวมระวัง และความรู้จักข่มใจ."
ธรรมบท ๒๕/๑๘

๑๑๑. คนพาล กับ คนมีปัญญา
              "คนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมประกอบแต่ความประมาทเนืองนิตย์ ส่วนผู้มีปัญญา ย่อมประกอบเนือง ๆ แต่ความไม่ประมาท เหมือนรักษาทรัพย์อันประเสริฐฉะนั้น."
ธรรมบท ๒๕/๑๘

อรรถกถา
๑. ในที่ใดสอนให้มีความเชื่อ ในที่นั้นจะสอนให้มีปัญญากำกับอยู่ด้วยเสมอ ในที่นี้สอนเรื่องความเชื่อไว้เป็นข้อแรก สอนเรื่องปัญญาไว้ข้อสุดท้าย
๒. คำอธิบายฌานที่ ๑ ถึงที่ ๔ ที่เป็นพระพุทธภาษิต มีอย่างพิสดารในสุภสูตร พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๙ หน้า ๒๕๙ ซึ่งจะคัดมาแปลไว้เฉพาะเรื่องข้างหน้า
๓. เป็นการเล่นถ้อยคำ ในบาลีว่า กาสาวะ (ผ้าย้อมน้ำฝาด หรือกาสาวพัสตร์) นั้น จะควรก็เฉพาะแก่ผู้ปราศจากกสาวะ (กิเลสอันเปรียบเหมือนน้ำฝาด) เท่านั้น
๔. คำว่า ราคะ ถ้าแปลว่า ความกำหนัด จะหมายความแคบเฉพาะในกามารมณ์ แต่ในความหมายที่กว้าง ความติดอกติดใจในสิ่งใด ๆ ก็ตาม ที่มีลักษณะเหมือนจิตใจถูกสีย้อม ก็เป็นราคะทั้งสิ้น.
ราคะมี ๓ อย่าง ติดใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นกามราคะ ติดใจในรูปฌาน เป็นรูปราคะ ติดใจในอรูปฌาน เป็นอรูปราคะ


บันทึกการเข้า
คำค้น: ต่อจาก ให้เป็นไปอย่างใจไม่ได้ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก : ๑. อะไรเป็นแก่นสารในพระพุทธศาสนา
เอกสารธรรม
Kimleng 2 2899 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2563 13:10:13
โดย Kimleng
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.471 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 04 มกราคม 2567 13:50:11