[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 กรกฎาคม 2568 00:31:45 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ทบทวนบทบาทสภาที่ปรึกษาฯ ชายแดนใต้ คืนบทบาทพลเรือนช่วยดับไฟใต้ หลังโดน คสช.ยุบ  (อ่าน 159 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 30 สิงหาคม 2567 19:07:12 »

ทบทวนบทบาทสภาที่ปรึกษาฯ ชายแดนใต้ คืนบทบาทพลเรือนช่วยดับไฟใต้ หลังโดน คสช.ยุบไปนานเกือบ 10 ปี
 


<span>ทบทวนบทบาทสภาที่ปรึกษาฯ ชายแดนใต้ คืนบทบาทพลเรือนช่วยดับไฟใต้ หลังโดน คสช.ยุบไปนานเกือบ 10 ปี</span>
<span><span>admin666</span></span>
<span><time datetime="2024-08-29T15:40:19+07:00" title="Thursday, August 29, 2024 - 15:40">Thu, 2024-08-29 - 15:40</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>มูฮำหมัด ดือราแม รายงาน</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ขณะที่สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เคยถูกใช้กำกับงานบริหารเพื่อลดความรุนแรงในพื้นที่จนสามารถออกคำสั่งย้ายข้าราชการที่มีปัญหาได้ กำลังฟื้นกลับมาหลังถูกคณะรัฐประหารสั่งยุบไปเกือบ 10 ปี โดย สส.-สว.ได้ช่วยกันโหวตยกเลิกคำสั่งของคณะรัฐประหารเพื่อให้กลไกนี้กลับมาทำงานอีกครั้ง</p><p>ประชาไทชวนทบทวนบทบาทของสภาที่ปรึกษาฯ ที่เคยได้ทำงานเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ว่าที่ผ่านมากลไกที่เปิดโอกาสให้ฝ่ายพลเรือนได้เข้ามาช่วยลดความขัดแย้งใน พื้นที่ต้องเจออุปสรรคแบบใด และถ้าจะฟื้นมันกลับมาจะต้องปรับแก้อะไรเพื่อให้เงื่อนไขความขัดแย้งลดลงกว่านี้</p><h2>สภาที่ปรึกษาชายแดนใต้ 1 ใน 3 กลไกดับไฟใต้</h2><p>ว่ากันว่า ก่อนรัฐประหารปี 2557 สิ่งหนึ่งที่ข้าราชการในชายแดนใต้ค่อนข้างขยาดคือ อำนาจหน้าที่ของสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สามารถเสนอให้เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) สั่งให้ย้ายเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายพลเรือนออกจากพื้นที่โดยด่วน</p><p>ในเวลานั้น ภานุ อุทัยรัตน์ เป็นเลขาธิการ ศอ.บต. ได้ใช้อำนาจสั่งย้ายได้เกิดขึ้นจริงมาแล้ว คือคำสั่งย้ายตำรวจนราธิวาส 9 นายที่พบว่ามีการเข้าไปตรวจค้นบ้านประชาชนในพื้นที่แล้วไม่พบสิ่งผิดกฎหมายแต่ยึดสิ่งของมีค่าไปแต่เมื่อถูกทวงก็คืนเป็นเงินเพียง 70,000 บาท ซึ่งเป็นช่วงที่สภาที่ปรึกษาฯ ชุดแรกตำรงตำแหน่งอยู่ในปี 2554-2557&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53955966749_b127b51cd3_b.jpg" width="819" height="1024" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ปกรณ์ ปรีชาวุฒิเดช</p><p>ปกรณ์ ปรีชาวุฒิเดช อดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ระบุว่า ขณะนั้นเลขาธิการ ศอ.บต.ได้เชิญสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ มาร่วมหารือด้วย แต่ทางสภาฯ เห็นว่า&nbsp;การจะสั่งให้ย้ายนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะหน่วยงานต้นสังกัดไม่ได้โอนอำนาจมาให้</p><p>ปกรณ์ กล่าวว่า&nbsp;แม้ในที่สุดเลขาธิการ ศอ.บต.ใช้อำนาจสั่งย้ายจริง แต่ก็ถูกตำรวจทั้ง 7 นายฟ้องกลับด้วยเหตุผลว่าเลขาธิการ ศอ.บต.ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชาจึงไม่มีอำนาจสั่งย้ายได้&nbsp;เพราะผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)ไม่ได้ถ่ายโอนอำนาจมาให้ สุดท้ายตำรวจทั้ง 7 นายก็ได้อยู่ในพื้นที่ต่อ</p><p>นั่นเป็นเพียงกรณีเดียวที่เกิดขึ้น แม้ไม่ใช่ข้อเสนอโดยตรงจากสภาที่ปรึกษาฯ แต่ก็แสดงให้เป็นถึงบทบาทสำคัญของสภาที่ปรึกษาฯ ต่อการแก้ปัญหาในพื้นที่ ในฐานะกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเป็นทางการ ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 ที่เรียกสั้นๆ ว่า พ.ร.บ. ศอ.บต.</p><p>สภาที่ปรึกษาฯ มีสมาชิกที่มาจากหลากหลายใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลาและสตูล ได้แก่ ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา ผู้แทนกลุ่มสตรี หอการค้า สื่อมวลชน และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นๆ รวมไม่เกิน 49 คน โดยมาจากการเลือกกันเอง หรือแต่ละกลุ่มอาจเลือกบุคคลอื่นที่เห็นสมควร</p><p>สภาที่ปรึกษาฯ มีอำนาจหน้าที่หลักๆ เช่น ให้ความเห็นต่อนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้&nbsp;ให้คำปรึกษา ร่วมมือ รวมถึงตรวจสอบและประเมินผลการทำงานของ ศอ.บต. และให้ความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีในเรื่องการแก้ปัญหาชายแดนใต้</p><p>แต่อำนาจหน้าที่สำคัญ คือสามารถเสนอให้เลขาธิการ ศอ.บต.สั่งย้ายเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายพลเรือนออกจากพื้นที่ด่วน และพิจารณาเรื่องร้องเรียนของประชาชนเกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมหรือความเดือดร้อนจากเจ้าหน้าที่รัฐ</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53956174194_b2ebe81440_o.jpg" width="896" height="592" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ศอ.บต.ถูกใช้เป็นสำนักงานของสภาที่ปรึกษาฯ ในช่วงก่อตั้ง 2554-2557</p><h2>คำสั่งคณะรัฐประหาร ตัดขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน</h2><p>ทว่า หลังรัฐประหารปี 2557 กลไกสภาที่ปรึกษาฯ ถูกระงับไปด้วย&nbsp;คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 14/2559 เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ 4 เมษายน 2559 ซึ่งออกมาหลังจากได้คัดเลือกสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯชุดที่ 2 แล้วในปี&nbsp;2558 แต่ยังไม่ทันประกาศแต่งตั้งก็มีอันต้องระงับไป</p><p>ส่วนการตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ มี&nbsp;60 คนมาทำหน้าที่แทนสภาที่ปรึกษาฯ มาจากการคัดเลือกของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และ ศอ.บต. มีหน้าที่แค่ให้คำปรึกษาตามที่นายกรัฐมนตรี หรือเลขาธิการ ศอ.บต.ต้องการ ซึ่งที่ผ่านมาก็แทบจะไม่เห็นบทบาทอะไรเลย</p><p>คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 14/2559 ยังกำหนดให้บูรณาการการทำงานระหว่าง กอ.รมน.กับ ศอ.บต. แต่เลขาธิการ ศอ.บต.ต้องฟังเลขาธิการ กอ.รมน. ซึ่งหมายถึงการให้ กอ.รมน.มีอำนาจเหนือกว่า ศอ.บต. ทั้งๆ ที่ตาม พ.ร.บ. ศอ.บต. ให้อำนาจและศักดิ์ของ ศอ.บต. เทียบเท่า กอ.รมน.</p><h2>สภาที่ปรึกษาฯ คือกลไกการมีส่วนร่วมจากประชาชน</h2><p>อย่างไรก็ตาม เดิมทีสภาที่ปรึกษาฯ เป็น 1 ใน 3 กลไกตาม พ.ร.บ. ศอ.บต. โดยมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ “กพต.” เป็นกลไกระดับบนสุด มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีรัฐมนตรีและหน่วยงานต่างๆ เป็นกรรมการรวม 35 คน ซึ่งมี 6 คนเป็นตัวแทนประชาชน คือประธานสภาที่ปรึกษาฯ และผู้แทนภาคประชาชนจังหวัดละ 1 คนที่สภาที่ปรึกษาฯ คัดเลือก เมื่อสภาที่ปรึกษาฯถูกสั่งระงับ ตัวแทนประชาชนส่วนนี้ก็หายไปด้วย</p><p>กพต.&nbsp;มีอำนาจหน้าที่ให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ ศอ.บต.เสนอ รวมถึงแผนงาน โครงการและงบประมาณ</p><p>กลไกที่ 2 คือ ศอ.บต.เป็นส่วนราชการในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่สำคัญ ๆ เช่น จัดทำยุทธศาสตร์และแผนด้านการพัฒนา คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและอำนวยความเป็นธรรมแก่ประชาชน ให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐและจากเหตุการณ์ไม่สงบ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นต้น</p><p>ส่วนกลไกที่ 3 ก็คือ สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้</p><h2>ส.ส.-สว.พร้อมใจออกกฎหมายยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช.</h2><p>หลังรัฐประหารปี 2557 แม้ กอ.รมน.จะมีอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่คนในพื้นที่ยังไม่รู้สึกว่าการแก้ปัญหาดีขึ้น ความรุนแรงยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง ทั้งที่มีงบประมาณมหาศาล ส่วนงานด้านการพัฒนาของ ศอ.บต.ก็แทบไม่ได้ช่วยอะไร เพราะกอ.รมน.คุมงบประมาณเองทั้งหมด ซ้ำยังถูกตัดการมีส่วนร่วมจากประชาชนไปอีกด้วย</p><p>นั่นจึงไม่แปลกที่ ทั้งสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) และวุฒิสมาชิก (สว.) ต่างก็เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 14/2559 ด้วยเสียงท่วมท้น โดยที่ประชุม ส.ส.ลงมติเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 อย่างเอกฉันท์ 406 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง ส่วน สว.ลงมติเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2567 เห็นด้วย 182 คน งดออกเสียง 3 คน และไม่มีใครไม่เห็นด้วย</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>คำสั่งหัวหน้า คสช. 14/2559 ตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาชายแดนใต้-โละสภาที่ปรึกษา ศอ.บต.</li><li>406 เสียง เห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ. ยกเลิกคำสั่ง คสช. มีผล ศอ.บต. สิ้นสุดอำนาจ</li><li>สว.ผ่านร่าง กม.เลิก คำสั่งหัวหน้า คสช. ยุบ คกก.บริหารชายแดนใต้ กลับไปใช้ สภาที่ปรึกษาฯ แทน</li></ul></div><p>โดยมีเนื้อหาหลักคือ ยกเลิกคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ แล้วกลับไปใช้ พ.ร.บ. ศอ.บต.ในการเลือก “สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้” ให้เสร็จใน 120 วัน หลังจากประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา</p><p>นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ที่มี จาตุรนต์ ฉายแสง เป็นประธาน มีข้อสรุปให้เพิ่มบทบัญญัติใหม่ 1 มาตรา เพื่อกำหนดกรอบเวลาการแต่งตั้งสภาที่ปรึกษาฯ ให้ชัดเจน และเพิ่มเหตุผล ข้อสังเกตให้คณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องและเหมาะสมกับปัจจุบัน รวมถึงให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน</p><h2>ศอ.บต.เตรียมคัดเลือกใหม่ ไม่ใช้ชุดเดิมเมื่อ 9 ปีที่แล้ว</h2><p>นันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ รองเลขาธิการ ศอ.บต. เปิดเผยว่า พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์&nbsp; เลขาธิการ ศอ.บต.ได้มอบหมายให้เตรียมกระบวนการได้มาของสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯแล้ว และประสานทางจังหวัดให้เตรียมคัดเลือกตัวแทนของจังหวัดด้วย โดยยังใช้กระบวนการเดิม แต่เพิ่มตัวแทนเยาวชนในกลุ่มสตรี ซึ่งทำได้โดยไม่ต้องแก้ไขระเบียบ</p><p>นันทพงศ์ กล่าวว่า ส่วนข้อเสนอให้ใช้สมาชิกสภาฯ ชุดเดิมที่คัดเลือกไว้แล้วตั้งแต่ปี 2558 นั้น ตนเห็นว่าควรคัดเลือกใหม่เพราะผ่านมา 9 ปีแล้วซึ่งนานเกินไป</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53954778347_81902044e1_b.jpg" width="1024" height="512" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">การประชุมของสภาที่ปรึกษาฯ ในช่วงใกล้ครบวาระเมื่อ 22 เม.ย.2557 เพื่อคัดเลือกสมาชิกที่จะมาทำหน้าที่แทน เพจ ข่าว ศอ.บต.</p><p>ขณะที่ปกรณ์ ปรีชาวุฒิเดช อดีตสภาที่ปรึกษาฯ กล่าวว่า กระบวนการคัดเลือกใหม่ต้องให้ความสำคัญและคำนึงถึงความเป็นตัวแทน เพราะกลไกนี้ถูกออกแบบมาให้ทำหน้าที่ให้ความเห็นในการบริหารและการพัฒนาที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของพื้นที่ เพื่อไม่ให้เกิดการสร้างเงื่อนไขใหม่ของความขัดแย้ง</p><h2>เผยสารพันปัญหาของความเป็นตัวแทนประชาชน</h2><p>ปกรณ์ กล่าวว่า การออกแบบกระบวนการคัดเลือกตัวแทนจาก 8 กลุ่มอาจต้องขบคิดกันใหม่ โดยเขาได้ยกตัวอย่างปัญหาของสมาชิกในสภาที่ปรึกษาฯ ชุดที่ผ่านมา ได้แก่</p><p>สมาชิกสภาฯ ที่เป็นข้าราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการครูที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือเลขาธิการ ศอ.บต. แต่ต้องมาทำหน้าที่ให้คำปรึกษา กลไกอย่างนี้รู้สึกจะผิดเพี้ยนไป ดังนั้นสมาชิกสภาฯ ควรเป็นภาคประชาชนหรือภาคประชาสังคมจะดีกว่า จะได้ไม่มีภาวะรอนายสั่ง</p><p>การเลือกสมาชิกจากกลุ่มครูหรือบุคลากรด้านการศึกษามักจะได้คนในสังกัด สพฐ. (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) แต่ปัญหาจริงๆอยู่ที่การศึกษาเอกชน คือสถาบันปอเนาะกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ควรจะดูแลมากกว่า ก็ควรชี้เป้าไปเลยว่า สมาชิกควรเป็นตัวแทนจากการศึกษาเอกชน เพื่อจะให้ความเห็นได้ตรงกับปัญหา เพราะกลไกการศึกษาในกระทรวงศึกษาธิการอาจจะไม่ได้มีปัญหา</p><p>หรือแม้แต่พระสงฆ์ที่มาเป็นสมาชิกก็อาจจะไม่เหมาะสมในบางเรื่อง ดังนั้นควรเป็นตัวแทนเจ้าอาวาสหรือตัวแทนของพุทธศาสนาจากกลุ่มคนไทยพุทธจะดีกว่า จะทำให้มองปัญหาได้ แต่ที่ผ่านมามักได้คนที่ไม่ตรงกับปัญหาหรือไม่ตรงกับงาน</p><p>เช่นเดียวกับตัวแทนกลุ่มสตรีอาจครอบคลุมกลุ่มเยาวชนด้วย หรือกลุ่มเศรษฐกิจที่เลือกจากหอการค้าหรือสภาอุตสาหกรรม อาจจะลงไปถึงสมาคมนักธุรกิจมุสลิมหรือกลุ่มอื่นที่มีโอกาสเป็นตัวแทนได้</p><p>“เรายังเห็นว่า สมาชิกบางท่านมีประสบการณ์ไม่พอ หรือไม่ได้ทำหน้าที่ตัวแทน รวมถึงสมาชิกมาจากทั้ง&nbsp;5 จังหวัดซึ่งมีบริบทและวิธีคิดต่างกัน เช่น สมาชิกจากสตูลกับนราธิวาส ดังนั้น จะทำอย่างไรที่จะหลอมความรู้สึกในการมองภาพรวมก่อนในช่วงแรก เพื่อจะสามารถสะท้อนเสียงได้”</p><p>“หลายท่านมีประสบการณ์ทั้ง 5 จังหวัด เหมือนผมเองเป็นตัวแทนจากนราธิวาสก็ไม่ได้มองว่าต้องทำให้นราธิวาสก่อน ความสำคัญของบางเรื่องอาจจะอยู่ที่สงขลาหรือสตูลก็ได้ ดังนั้นการที่มีทรัพยากรจำกัดก็ไม่จำเป็นต้องให้จังหวัดตัวเองก่อน”</p><h2>ผลงานของสภาชุดแรกและชุดเดียว</h2><p>สำหรับผลงานของสภาที่ปรึกษาฯชุดแรกและชุดเดียวที่ได้ทำหน้าที่ตาม พ.ร.บ. ศอ.บต.มีอะไรบ้างนั้น&nbsp;ปกรณ์ เล่าว่า ในช่วง&nbsp;3 ปีแรกได้รับเสียงสะท้อนจากผู้นำศาสนาทั้งมุสลิมและพุทธ เรื่องค่าตอบแทนว่าควรจะให้ระดับหนึ่งเพื่อให้สามารถทำงานสังคมได้ดีขึ้น สภาจึงเสนอให้ที่ประชุม กพต.พิจารณา</p><p>อดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ กล่าวต่อว่า ยังมีกรณีให้มีวันหยุดราชการพิเศษ ซึ่งมีวันหยุดในวันสำคัญทางศาสนาเพื่อเคารพอัตลักษณ์ของพี่น้องมุสลิมในพื้นที่อยู่แล้ว (วันรายออีดิ้ลฟิตรีและอีดิ้ลอัฎฮา) สภาได้เสนอให้มีวันหยุดที่เป็นอัตลักษณ์ของคนจีนด้วย คือวันหยุดตรุษจีน และยังร่างข้อเสนอให้มีวันหยุดของคนพุทธที่เป็นวันสารทเดือนสิบด้วย ซึ่งสอดคล้องกับวิธีคิดของมาเลเซียที่มีวันหยุดตามชาติพันธุ์เพื่อให้เกียรติระหว่างกัน</p><p>“เรายังหารือถึงการให้ความดีความชอบหรือการลงโทษข้าราชการว่าควรจะเป็นอย่างไร เช่น ข้าราชการที่ทำงานดีก็จะเชิดชูเกียรติ แต่ราชการบางคนที่สร้างเงื่อนไข สภาฯมีหน้าที่เสนอแนะว่าควรทำแบบไหนให้เหมาะสม เช่น ทหารถือปืนตามด่านชายแดนควรจะหลบอาวุธในมือให้ดูไม่น่าเกลียด เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้พื้นที่”</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53955980739_e65ff82f50_b.jpg" width="1024" height="510" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">สภาที่ปรึกษาฯ ประชุมหาแนวทางแก้ไขสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ขณะนั้น อาซิส เบ็ญหาวัน (ขวาบน) อดีต สว. อดีต อบจ.ยะลา และเป็นกรรมการอิสลามยะลา เป็นประธานสภาที่ปรึกษาฯ ในสมัยแรก(ปัจจุบันเสียชีวิตแล้วเมื่อ 5 พ.ค. 2562) จากแฟนเพจ ข่าว ศอ.บต.&nbsp;</p><h2>อำนาจสั่งย้ายข้าราชการ เจตนาคือลดเงื่อนไขความขัดแย้ง</h2><p>ปกรณ์ กล่าวว่า เนื่องจาก พ.ร.บ. ศอ.บต.ให้อำนาจเลขาธิการ ศอ.บต.ย้ายข้าราชการที่สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนออกจากพื้นที่ได้ แต่ข้าราชการมีหลากหลาย การสั่งย้ายก็ทำได้ยากมาก เช่น ข้าราชการมหาวิทยาลัยในพื้นที่จะให้ย้ายออกจากในพื้นที่ได้อย่างไร หรือมีหน่วยต้นสังกัดอยู่ในพื้นที่ เช่น นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเขาก็เป็นคนพื้นที่จะย้ายออกอย่างไร</p><p>กรณีตำรวจ&nbsp;7 นายตามที่กล่าวข้างต้น หากสั่งย้ายออกเพราะสร้างความไม่พอใจให้ประชาชนจริง เมื่อย้ายไปแล้วคนกลุ่มนี้ก็อาจจะไปสร้างปัญหาในพื้นที่อื่นต่อหรือไม่</p><p>ดังนั้น การสั่งย้ายจึงยังไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะเจตนาจริงๆ คือการลดเงื่อนไขความไม่พอใจต่อรัฐและไม่สร้างเงื่อนไขใหม่ ฉะนั้นกลไกในการลดเงื่อนไขนี้จะเป็นอย่างไรก็ต้องมาออกแบบกัน</p><p>นอกจากนี้ การใช้อำนาจสั่งย้ายจะให้ได้ผลจริงก็ต้องมีการถ่ายโอนอำนาจจากหน่วยงานต้นสังกัดมาให้เลขาธิการ ศอ.บต.&nbsp;แต่โดยโครงสร้างทางกฎหมายแล้ว ศอ.บต.เป็นแค่กลไกประสานงานเท่านั้น</p><h2>คือพื้นที่กันชนระหว่างรัฐกับประชาชน</h2><p>ปกรณ์ กล่าวว่า การมีสภาที่ปรึกษาฯ มีผลในเชิงบวกคือ สะท้อนวิธีการทำงานตามกุศโลบายของรัชกาลที่&nbsp;6 ในพื้นที่ชายแดนใต้ที่ต้องส่งคนดีมา และไม่สร้างเงื่อนไขความขัดแย้ง และต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์พระราชทาน เข้าถึง เข้าใจ พัฒนา ของรัชกาลที่ 9 ด้วย</p><p>ดังนั้น ข้าราชการที่เข้ามาทำงานในพื้นที่อาจจะไม่เข้าใจพื้นที่ จึงต้องมีการอบรมข้าราชการใหม่ซึ่งสภาที่ปรึกษาฯ สามารถเป็นตัวแทนพูดคุยเรื่องนี้ได้</p><p>ที่สำคัญคือ การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาชายแดนใต้โดยสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กฎหมายบังคับให้ต้องถามสภาที่ปรึกษาฯ ด้วยเพื่อให้ความเห็นชอบก่อนประกาศใช้</p><p>“ดังนั้น สภาที่ปรึกษาเปรียบเสมือน Buffer (กันชน) ระหว่างรัฐกับประชาชนไม่ให้ชนกันโดยตรง เราจะเป็นโซ่ข้อกลางในการอธิบายเรื่องยากให้เข้าใจง่าย หรือทำให้เงื่อนไขที่มีอยู่ถูกลดทอนลงไป”</p><h2>สมาชิกหลายคนไม่เข้าใจหน้าที่ตัวเอง</h2><p>ปกรณ์ กล่าวว่า ส่วนด้านลบ เห็นชัดเจนจากเสียงสะท้อนจากเลขาธิการ ศอ.บต. และข้าราชการใน ศอ.บต.ว่า ตัวแทนที่ถูกเลือกเข้ามาไม่เข้าใจหน้าที่ตัวเอง จึงต้องทำความเข้าใจตั้งแต่ต้น และหลายท่านมาเพื่อขอโครงการไปทำหรือเอาไปให้กลุ่มหรือพื้นที่ของตัวเอง ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของสภาที่ปรึกษาฯ</p><p>อีกข้อที่ถูกสะท้อนออกมาคือ นายก อบจ.(องค์การบริหารส่วนจังหวัด)&nbsp;มักถูกเลือกมาเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ซึ่งนายก อบจ.อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ว่าฯ แม้แต่เลขาธิการ ศอ.บต. ก็ยังมาเป็นทีมที่ปรึกษา แล้วจะบริหารกันแบบไหน</p><h2>ศอ.บต.อย่าสร้างเงื่อนไขความไม่เป็นธรรมเสียเอง</h2><p>ปกรณ์ กล่าวว่า มีข้อเสนอแนะ 2 ข้อคือ&nbsp;1. ขั้นพิเศษของ ศอ.บต. ที่มักได้ยินมาว่า คนไม่ทำงานกลับวิ่งเต้นให้ได้รับขั้นพิเศษ โดยเฉพาะโควต้าที่จัดสรรให้ผู้ว่าราชการจังหวัดไปแจกจ่ายต่อ ดังนั้น ควรจัดสรรให้ชัดเจนแก่คนทำหน้าที่แก้ปัญหาตามนโยบาย ศอ.บต.หรือ สมช. ไม่อย่างนั้นจะได้คนไม่ตรงกับงาน ซึ่งเป็นแบบนี้มานานแล้ว</p><p>ข้อที่&nbsp;2 การคัดเลือกคนไปทำพิธีฮัจย์ที่ซาอุดิอาระเบียหรือไปแสวงบุญที่อินเดีย หรือไปศึกษาดูงานในต่างแดน หลักๆ คือจะช่วยเหลือเยียวยาคนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แต่กลับไม่ได้รับเลือก แสดงให้เห็นว่า ความรู้สึกไม่เป็นธรรมนั้นถูกสร้างโดยหน่วยงานรัฐเอง</p><p>ปกรณ์ กล่าวว่า ศอ.บต.เองก็ยังมีปัญหา ทำให้ที่ผ่านมาไม่ได้รับความเชื่อใจจากประชาชน แม้แต่การบรรจุข้าราชการในตำแหน่งต่างๆ ก็กลายเป็นเงื่อนไขในการสร้างความไม่เป็นธรรม</p><p>“ถ้าหน่วยงานที่เป็นกลไกลดความไม่เป็นธรรม กลับสร้างเงื่อนไขความไม่เป็นธรรมเสียเองมันจะเป็นปัญหาใหญ่ และถ้า ศอ.บต.ไม่ถูกเชื่อใจจากประชาชน ก็อย่าหวังว่าจะแก้ปัญหาได้”</p><h2>ศอ.บต.กับ กอ.รมน. ต้องถ่วงดุลซึ่งกันและกัน</h2><p>อดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ ให้ความเห็นกรณีการยกเลิกคำสั่ง คสช.ที่ 14/2559 ที่ให้ กอ.รมน. คุม ศอ.บต. ว่า จากการศึกษาดูงานพบว่า การออกแบบกระบวนการสันติภาพในต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะเห็นตรงกันว่าจะแยกปีกการต่อสู้ทางทหารกับปีกการเมืองออกจากกัน</p><p>การออกกฎหมาย กอ.รมน.เพื่อดูแลความมั่นคง และกฎหมาย ศอ.บต. เพื่ออำนวยความยุติธรรมเกิดขึ้นบนหลักการนี้เพื่อดุลกัน ดังนั้น ศอ.บต. กับ กอ.รมน.เป็นกลไกที่ถ่วงดุลซึ่งกันและกัน แต่ในอดีตอาจจะรู้สึกว่าขาดเอกภาพในการบังคับบัญชา (จึงให้ กอ.รมน.คุม ศอ.บต.) ทั้งที่ทั้ง 2 หน่วยงานมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวอยู่แล้ว เอกภาพจะเกิดจากการกำกับของนายกรัฐมนตรี</p><p>“การที่ กอ.รมน.ไปกำกับ ศอ.บต. หรือ ศอ.บต.ไปกำกับ กอ.รมน. ถ้าพูดย้อนก็เหมือน ทหารนำการเมือง หรือการเมืองนำการทหาร ซึ่งเรามักต่อสู้กันใน 2 แนวคิดนี้ แต่ที่จริงทั้งสองฝ่ายต้องทำงานด้วยกัน และต่างฝ่ายก็มีกลไกทางกฎหมายอยู่แล้ว แต่ถ้ามองจากภาคประชาชนก็คือหน่วยรัฐไม่ไว้ใจกันเอง”</p><h2>รับบทจัด&nbsp;Public consultation ในกระบวนการสันติภาพได้</h2><p>ส่วนข้อเสนอว่า ในอนาคตสภาที่ปรึกษาฯ สามารถจัดการปรึกษาหารือสาธารณะ (Public consultation) ในกระบวนการสันติภาพได้นั้น&nbsp;ปกรณ์ บอกว่า มีการทำอยู่แล้วในพื้นที่ ซึ่งสภาฯก็ทำได้ เพราะมีคนที่ผ่านหลักสูตรเสริมสร้างสันติสุขของสถาบันพระปกเกล้ามาแล้ว ซึ่งเรียนกันเข้มมาก เพราะต้องเข้าใจกระบวนการคลี่คลายความขัดแย้ง</p><p>อดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ อธิบายว่า&nbsp;Public Consultation เหมือนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในระดับหนึ่ง ที่ต้องรู้จักใช้เครื่องมือให้เป็น ไม่ใช่ใครก็ทำได้ ต้องเป็นสหสาขาวิชา มีคนจากหลากหลายอาชีพมาร่วมกันมอง จึงต้องพัฒนาทักษะที่ควรมี เช่น การเป็นโซ่ข้อกลาง การปรึกษาหารือ การเป็นนักฟังหรือนักจัดกระบวนการ (Facilitator) เพราะ&nbsp;Public Consultation เป็นกลไกนานาชาติที่มีเครื่องมือและวิธีการชัดเจนอยู่แล้ว ซึ่งสภาที่ปรึกษาฯเหมาะที่จะทำหน้าที่นี้</p><p>ขณะที่&nbsp;รองเลขาธิการ ศอ.บต. อย่าง นันทพงศ์ ก็มองว่า สภาที่ปรึกษาฯ ทำหน้าที่นี้ได้ เพราะมีหน้าที่ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ปัญหาชายแดนใต้อยู่แล้ว แต่สภาที่ปรึกษาฯไม่ใช่กลไกเดียวที่จะทำ ต้องทำงานร่วมกันในหลายๆ กลไก แต่จะทำงานได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการออกแบบให้มีความชัดเจน</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%87" hreflang="th">ความมั่นคhttp://prachatai.com/category/3-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89" hreflang="th">3 จังหวัดชายแดนใตhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89" hreflang="th">สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใตhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%844" hreflang="th">กอ.รมน. ภาค4[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A8%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%95" hreflang="th">ศอ.บต.[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89" hreflang="th">ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใตhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2024/08/110508
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.326 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 28 กันยายน 2567 11:28:37