[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
14 กรกฎาคม 2568 01:41:17 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - สงขลาเตรียมตัวสู่เมืองมรดกโลกท่ามกลางความคิดเห็นแตกต่าง  (อ่าน 122 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 กันยายน 2567 06:36:54 »

สงขลาเตรียมตัวสู่เมืองมรดกโลกท่ามกลางความคิดเห็นแตกต่าง
 


<span>สงขลาเตรียมตัวสู่เมืองมรดกโลกท่ามกลางความคิดเห็นแตกต่าง</span>
<span><span>See Think</span></span>
<span><time datetime="2024-09-21T01:44:43+07:00" title="Saturday, September 21, 2024 - 01:44">Sat, 2024-09-21 - 01:44</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>พิชญ์สินี ชัยทวีธรรม ถ่ายภาพและรายงาน</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>การผลักดันเมืองเก่าสงขลาให้เป็นมรดกโลกยังคงเผชิญกับความท้าทายว่าจะอนุรักษ์หรือพัฒนาเมือง โดยประธานสมาคมภาคีคนรักเมืองเก่าสงขลา เผยว่าเมืองเก่าสงขลาอยู่ในขั้นตอนสำรวจผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ก่อนเตรียมสมัครเมืองมรดกโลก ขณะที่นายกเทศมนตรีเทศบาลนครสงขลาชี้แจงกรณีย่านมัสยิดบ้านบนไม่อยู่ในเขตมรดกโลกว่า เพราะไม่ได้อยู่ในเขตที่กำหนดเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลัก แต่ในอนาคตจะมีการขยายเขตเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่อื่นรวมถึงย่านมัสยิดบ้านบนด้วย เพื่อให้เมืองเก่าสงขลาเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และครอบคลุมทุกกลุ่ม</p><p>&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54001709970_d17fcbd43d_h.jpg" width="1600" height="1067" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">วุฒิชัย เพชรสุวรรณ ประธานสมาคมภาคีคนเมืองเก่าสงขลา</p><p>เพื่อเตรียมสงขลาสู่การเป็นเมืองมรดกโลก ชาวสงขลาทุกกลุ่มทุกอาชีพรวมทั้งภาครัฐ เอกชน ศิลปิน นักธุรกิจ และนักวิชาการ ร่วมกันหาทางประนีประนอมความต้องการและมุมมองที่แตกต่างเพื่อความลงตัวระหว่างสิ่งเก่าและใหม่</p><p>วุฒิชัย เพชรสุวรรณ ประธานสมาคมภาคีคนรักเมืองเก่าสงขลา หรือ ‘อาจารย์ก้อย’ เล่าว่า เมื่อ&nbsp;15 ปีที่แล้ว มีการจัดเวทีประชาคมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในเมืองเก่าสงขลาเกี่ยวกับการผลักดันเมืองเก่าให้เป็นมรดกโลก โดยรวมแล้ว คนในพื้นที่เห็นด้วยกับการอนุรักษ์คุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเมือง อย่างไรก็ตาม การพัฒนาดังกล่าวอาจมีข้อจำกัด เช่น การห้ามสร้างอาคารสูงหรือการควบคุมการปรับปรุงอาคารในเขตเมืองเก่าตามที่เทศบาลกำหนด</p><p>วุฒิชัย อธิบายแนวคิด “Put Songkhla on the Map”&nbsp;ซึ่งหมายถึงการทำให้สงขลาเป็นที่รู้จักในแผนที่การท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ ไม่ใช่แค่ในเชิงภูมิศาสตร์ แต่ในแง่เศรษฐกิจและการเรียนรู้ เพื่อให้สงขลาเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญ โดยหลังจากที่สมาคมภาคีคนรักเมืองเก่าสงขลาได้รับการจดทะเบียนเป็นสมาคมแล้ว ได้มีโอกาสไปดูงานที่ปีนังและมะละกา ทำให้เกิดแนวคิดว่าสงขลาควรได้รับการพิจารณาเพื่อดูแลสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตของคนในเมืองเก่าให้คงอยู่ต่อไป</p><p>เขายังกล่าวว่า ความคิดที่จะทำให้สงขลาเป็นมรดกโลกเกิดจากภาคประชาสังคม อย่างภาคีคนรักเมืองเก่าสงขลา แต่การจะทำให้เกิดขึ้นจริงต้องการงบประมาณและการจัดการที่เหมาะสม ซึ่งได้มีการพูดคุยกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ที่สนับสนุนการศึกษาความเป็นไปได้ผ่านงบประมาณเบื้องต้น โดยมีนักการเมือง นิพนธ์ บุญญามณี สนับสนุน และได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาและหารือกับหน่วยงานรัฐต่างๆ เพื่อแสดงความเป็นไปได้ของโครงการนี้</p><p>การศึกษาความเป็นไปได้ดำเนินการโดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ซึ่งผลการศึกษาชี้ว่าสงขลามีศักยภาพที่จะเป็นมรดกโลกได้ จากนั้นมีการจัดซิมโพเซียมเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เช่น ปีนังและอินโดนีเซีย มาร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น ซึ่งยอมรับว่าคุณค่าของเมืองเก่าสงขลามีความเหมาะสมที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก</p><p>อย่างไรก็ตาม หลังจากการศึกษาและเสนองบประมาณจบลง รายงานผลการศึกษาได้ถูกส่งกลับไปยัง อบจ. วัตถุประสงค์ของการใช้งบประมาณคือเพื่อศึกษาเท่านั้น เมื่อโครงการนี้เสร็จสิ้น อาจารย์ก้อยตั้งคำถามว่าใครจะดำเนินการต่อไป เพราะการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเป็นงานในระดับประเทศที่ต้องดำเนินการผ่านคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานรัฐ ไม่ใช่เพียงภาคประชาชนเท่านั้น</p><p>“ในช่วงโควิด-19 ระบาด การผลักดันสงขลาให้เป็นมรดกโลกต้องหยุดชะงักลงชั่วคราว เนื่องจากงบประมาณหมดลง อย่างไรก็ตาม ภาคียังคงดำเนินงานต่อไปตามกรอบและกำลังที่มี เพราะงานนี้ต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการ ผมยังจำได้ว่าหลังจากโควิดเริ่มซาลง นิพนธ์ตั้งคำถามว่า ‘หลังจากที่เราศึกษาแล้ว เราจะทำอย่างไรต่อไป?’ หากไม่มีการดำเนินการต่อ งบที่ใช้ไปก็สูญเปล่า ดังนั้นจึงต้องหาทางเดินหน้าต่อ ทุกคนมองมาที่ภาคี องค์การปกครองท้องถิ่น ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาเพื่อคำแนะนำในการดำเนินการขั้นต่อไป” วุฒิชัยกล่าว</p><p>เขาอธิบายต่อว่า การที่สมาคมภาคีคนรักเมืองเก่าสงขลาจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้สมาคมสามารถเจรจาต่อรองกับโครงการต่างๆ ของเอกชนได้ ซึ่งโครงการเหล่านี้บางอย่างสามารถร่วมมือกับสมาคมได้โดยมีจุดประสงค์ร่วมกัน ส่งผลให้เอกชนหลายราย เช่น ปตท. และเชฟร่อน ได้เข้ามาเป็นส่วน</p><p>หนึ่งของเครือข่ายภาคี เมื่อการศึกษาความเป็นไปได้สำหรับการเป็นมรดกโลกเสร็จสิ้นลง แต่ก็ยังมีภารกิจอื่นๆ ที่ต้องดำเนินการต่อไป</p><p>“ทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับเมืองเก่าในช่วงแรกๆ มาจากความพยายามของภาคี เมื่อองค์กรอย่าง ปตท. เชฟรอน และอื่นๆ เข้ามาสนับสนุน เราจึงจัดการประชุมใหญ่หลายครั้ง เช่น งานซิมโพเซียม ซึ่งเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานทหารเรือ เพื่อหารือและประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเป็นมรดกโลก” วุฒิชัยกล่าว</p><p>ภาคีคนรักเมืองเก่าสงขลาได้ดำเนินโครงการ "Upstream Process"&nbsp;เพื่อเตรียมสงขลาเป็นมรดกโลก โดยได้รับการสนับสนุนจาก ปตท. และความร่วมมือจากสภาโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS)&nbsp;ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของยูเนสโก แม้จะล่าช้าเนื่องจากโควิด-19 แต่โครงการเสร็จสมบูรณ์ในปี 2563</p><p>หลังจากเสร็จสิ้น ภาคีได้ส่งรายงานกลับไปยัง ปตท. และจังหวัด ซึ่งส่งต่อไปยังคณะกรรมการมรดกโลก เพื่อพิจารณาต่อไปในระดับกระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงสิ่งแวดล้อม</p><p>"หากกระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผ่านการตรวจสอบและไม่มีข้อแก้ไขเพิ่มเติม ก็จะนำเสนอเข้าสู่คณะรัฐมนตรีเพื่อส่งต่อให้ยูเนสโกพิจารณาต่อไป ขณะนี้สงขลากำลังอยู่ในขั้นตอนการเตรียมการ&nbsp;'Dossier'&nbsp;ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญในการสมัครเป็นมรดกโลก" วุฒิชัย เพชรสุวรรณ ประธานสมาคมภาคีคนรักเมืองเก่าสงขลา กล่าว</p><p>วุฒิชัยอธิบายเพิ่มเติมว่า การที่จะทำให้สงขลาเป็นมรดกโลกนั้นต้องยืนยันถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม และวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ของเมือง เช่น การเป็นเมืองท่าทางการค้าที่สำคัญในอดีต และการมีส่วนร่วมในเครือข่ายวัฒนธรรมระดับโลก ทำให้สงขลามีโอกาสเชื่อมโยงกับภูมิทัศน์และประวัติศาสตร์โลก</p><h2>ชายขอบและใจกลางของเมืองเก่าสงขลาสู่มรดกโลก</h2><p>&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54001529043_23f4dcb2ff_b.jpg" width="940" height="654" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">พื้นที่แผนผังเมืองเก่าสงขลาประกอบด้วยถนนนครนอกอยู่ติดทะเลสาบสงขลาถนนนครในและถนนนางงาม&nbsp;</p><p class="picture-with-caption">โดยแต่ละจุดได้รับงบประมาณในการดูแลและพัฒนาพื้นที่โดยมีเป้าหมายคือเมืองมรดกโลก</p><p>วันชัย ปริญญาศิริ นายกเทศมนตรีเมืองนครสงขลา และอดีต ส.ส. พรรคพลังประชารัฐปี&nbsp;2562 ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองเก่าสงขลาสู่การเป็นมรดกโลก ว่า “เทศบาลได้ออกเทศบัญญัติใหม่เพื่อคุ้มครองพื้นที่ที่มีสถาปัตยกรรมดั้งเดิมในเมืองเก่า โดยจะมีการปรับปรุงผังเมืองให้รองรับการพัฒนาในอนาคต ซึ่งเทศบัญญัตินี้อ้างอิงมาจากผังเมืองใหม่ที่จะออกเพื่อคุ้มครองตัวอาคารเก่าทั้งหมดในพื้นที่เทศบาลเมืองนครสงขลา”</p><p>วันชัยอธิบายถึงปัญหาหลักที่เมืองเก่าสงขลากำลังเผชิญว่า “ปัญหาหลักของอำเภอเมืองสงขลาคือเศรษฐกิจที่ไม่เติบโต แม้มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก แต่รายได้ในเมืองเก่าสงขลาไม่ได้สูงมาก เพราะนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เลือกพักที่หาดใหญ่และขับรถมาเที่ยวเมืองเก่าสงขลาแล้วกลับไปนอนที่หาดใหญ่” เขาเสริมว่า การท่องเที่ยวในเมืองเก่าก่อให้เกิดปัญหาขยะและการจราจร และรายได้ของผู้ค้าในเมืองเก่าก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น</p><p>&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54001709960_08ae6b33c1_h.jpg" width="1600" height="1067" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">วันชัย ปริญญาศิริ นายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองนครสงขลา กำลังสนทนากับแม่ค้ามุสลิม</p><p>&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54001611839_5990bbb2aa_h.jpg" width="1600" height="1067" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ถนนนางงามบริเวณมัสยิดบ้านบนที่ยังไม่อยู่ในโครงการนำสายไฟฟ้าลงท่อเคเบิลใต้ดิน</p><p class="picture-with-caption">ด้านขวาบริเวณสี่แยกคือถนนพัทลุงย่านที่ตั้งของมัสยิดบ้านบน ซึ่งยังไม่อยู่ในพื้นที่พัฒนาเมืองเก่าสงขลา</p><p>วันชัยเรียกร้องให้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยว โดยกล่าวว่า “เราต้องรีบแก้ไขด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว และขอความร่วมมือจากภาคเอกชนในหาดใหญ่ที่ประกอบกิจการโรงแรมและที่พักต่าง ๆ เพื่อร่วมมือในการสร้างรายได้ให้กับเมืองเก่าสงขลามากขึ้น” เขายังเน้นถึงความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่สำคัญ เช่น ถนนนครนอก ซึ่งเป็น “พื้นที่ไข่แดง” ที่จะได้รับการพัฒนาเป็นลำดับแรก</p><p>วันชัยกล่าวถึงแผนการนำสายไฟฟ้าลงดินว่า “เราเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการนำไฟฟ้าลงดิน เพราะที่นี่ไฟดับบ่อย การนำไฟฟ้าลงดินไม่เพียงแต่จะเสริมความสวยงาม แต่ยังช่วยเพิ่มเครือข่ายการกระจายไฟฟ้าและความมั่นคงทางไฟฟ้า” อย่างไรก็ตาม การนำสายไฟฟ้าลงดินในเมืองเก่าต้องการความร่วมมือจากหลายภาคส่วน รวมถึงการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และยังมีปัญหาเรื่องงบประมาณ</p><p>วันชัยยังชี้แจงถึงบริเวณมัสยิดบ้านบนว่า “มัสยิดบ้านบนไม่ได้รับการพัฒนาเพราะไม่ได้อยู่ในพื้นที่เมืองเก่าที่กำหนดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลัก แม้จะอยู่ในเขตเมืองเก่า แต่สถาปัตยกรรมของมัสยิดบ้านบนมีความแตกต่างจากสถาปัตยกรรมหลักในเมืองเก่า”</p><p>&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54000390432_63421b7f52_h.jpg" width="1600" height="1067" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">สายไฟประดับย่านชุมชนมัสยิดบ้านบน</p><p>เมื่อพูดถึงพหุวัฒนธรรมของเมืองเก่าสงขลา ซึ่งประกอบด้วยวัฒนธรรมไทย จีน และมุสลิม เขากล่าวว่า “ในแผนผังเมืองเก่าที่ถูกควบคุมโดยเทศบาลนครสงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียว จะเห็นว่ามีการก่อสร้าง รื้อถอน และซ่อมแซมอาคารต่าง ๆ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวและจุดบริการต่าง ๆ แต่มัสยิดบ้านบนซึ่งเป็นวัฒนธรรมของชาวมุสลิมยังไม่ได้รับการพูดถึง”</p><p>วันชัยสรุปว่า “ขณะนี้เร่งฟื้นฟูเฉพาะพื้นที่ในแผนผังสีเขียวก่อน เพราะสามารถปรับปรุงได้ง่ายและเห็นผลเร็วกว่า แต่ในอนาคตเราจะขยายการพัฒนาให้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น รวมถึงมัสยิดบ้านบน เพื่อให้เมืองเก่าสงขลามีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเป็นเมืองสร้างสรรค์ที่ครอบคลุมทุกกลุ่ม”</p><h2>เส้นทางยาวไกลสู่การเป็นเมืองมรดกโลก</h2><p>เมืองเก่าสงขลามีประวัติศาสตร์อันยาวนานและหลากหลายวัฒนธรรมที่สะท้อนให้เห็นผ่านสถาปัตยกรรม วิถีชีวิต และประเพณีที่ยังคงมีชีวิตชีวาจนถึงปัจจุบัน การผลักดันให้เมืองเก่าสงขลานำเสนอความหลากหลายทางวัฒนธรรมและมรดกอันล้ำค่าของตนให้เป็นที่รู้จักในระดับสากลผ่านการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกนั้นเป็นความพยายามที่สำคัญในการอนุรักษ์และเผยแพร่คุณค่าทางวัฒนธรรมเหล่านี้</p><p>แต่การที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ต้องพิจารณาหลายด้านและมีการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนอย่างรอบคอบ ซึ่งรวมไปถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนในกระบวนการตัดสินใจ การสร้างความร่วมมือกับกลุ่มต่างๆ ในเมืองเก่าสงขลาที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน การพัฒนาซึ่งให้ความสำคัญกับทุกชุมชน ไม่ได้เน้นแต่ย่านท่องเที่ยว และการร่วมมือกับ&nbsp;UNESCO ที่ศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน การมีแผนงานที่ชัดเจนและกลยุทธที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มโอกาสในการสำเร็จในการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ซึ่งการดำเนินการตามแนวทางเหล่านี้จะช่วยให้เมืองเก่าสงขลาสามารถรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของตนและส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ในขณะเดียวกันก็สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมในระดับสากล</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>แลเมืองเก่าสงขลา มรดกโลกหรือมรดกใคร,&nbsp;16 กันยายน 2567&nbsp;</li><li>ข้อเสนอกระจายอำนาจงัดรัฐรวมศูนย์ ประเทศไทยเอาไงต่อ?, 15&nbsp;กันยายน&nbsp;2567&nbsp;</li></ul></div><p>&nbsp;</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" hreflang="th">สังคhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" hreflang="th">วัฒนธรรhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A" hreflang="th">ท้องถิ่นสร้างสื่อสอhttp://prachatai.com/category/depth" hreflang="th">depth[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81" hreflang="th">มรดกโลhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">ชุมชhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%A5%E0%B8%B2" hreflang="th">สงขลhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B5-%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" hreflang="th">พิชญ์สินี ชัยทวีธรรhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%99" hreflang="th">มัสยิดบ้านบhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" hreflang="th">สถาปัตยกรรhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7" hreflang="th">ท่องเที่ยhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89" hreflang="th">ภาคใตhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%A5%E0%B8%B2" hreflang="th">เทศบาลนครสงขลhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99" hreflang="th">ท้องถิ่http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99" hreflang="th">องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่http://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93" hreflang="th">วุฒิชัย เพชรสุวรรhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4" hreflang="th">วันชัย ปริญญาศิรhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2024/09/110748
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.14 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 23 มิถุนายน 2568 16:17:39