[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
06 ธันวาคม 2567 05:28:26 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ๒๕. ติฏฐชาดก ว่าด้วยการเบื่อเพราะซ้ำซาก  (อ่าน 129 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Maintenence
ผู้ดูแลระบบ
นักโพสท์ระดับ 10
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 1105


[• บำรุงรักษา •]

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 23 กันยายน 2567 17:19:00 »




ขุททกนิกายภาค ๑  เอกนิบาต ๓. กุรุงควรรค
๒๕. ติฏฐชาดก ว่าด้วยการเบื่อเพราะซ้ำซาก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้เคยเป็นช่างทองรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของพระธรรมเสนาบดี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.

ก็อาสยานุสยญาณย่อมมีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ย่อมไม่มีแก่คนอื่น เพราะฉะนั้น พระธรรมเสนาบดีจึงไม่รู้อาสยะคืออัธยาศัย และอนุสัย คือกิเลสอันเนื่องอยู่ในสันดานของสัทธิวิหาริก เพราะความที่ตนไม่มีอาสยานุสยญาณ จึงบอกเฉพาะอสุภกรรมฐานเท่านั้น อสุภกรรมฐานนั้นไม่เป็นสัปปายะแก่สัทธิวิหาริกนั้น เพราะเหตุไร ? เพราะได้ยินว่า สัทธิวิหาริกของพระธรรมเสนาบดีนั้น ถือปฏิสนธิในเรือนของช่างทองเท่านั้น ถึง ๕๐๐ ชาติ เมื่อเป็นเช่นนั้น อสุภกรรมฐานจึงไม่เป็นสัปปายะแก่สัทธิวิหาริกนั้น เพราะเป็นผู้เคยชินต่อการเห็นทองคำบริสุทธิ์เท่านั้นเป็นเวลานาน สัทธิวิหาริกนั้นไม่อาจทำแม้นิมิตให้เกิดขึ้นในกรรมฐานนั้น

เวลาสิ้นไป ๔ เดือน พระธรรมเสนาบดีเมื่อไม่อาจให้พระอรหัตแก่สัทธิวิหาริกของตน จึงคิดว่า ภิกษุนี้ จักเป็นพุทธเวไนยแน่นอน เราจักนำไปยังสำนักของพระตถาคต จึงพาสัทธิวิหาริกนั้นไปยังสำนักของพระศาสดาด้วยตนเอง แต่เช้าตรู่

พระศาสดาตรัสถามว่า “สารีบุตร เธอพาภิกษุรูปหนึ่งมาหรือหนอ”

พระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ให้กรรมฐานแก่ภิกษุนี้ แต่ภิกษุนี้ไม่อาจทำแม้นิมิตให้เกิดขึ้น โดยเวลา ๔ เดือน ข้าพระองค์นั้นคิดว่า ภิกษุ นี้จักเป็นพุทธเวไนยผู้ที่พระพุทธเจ้าจะพึงทรงแนะนำ จึงได้พามายังสำนักของ พระองค์ พระเจ้าข้า”

พระศาสดาตรัสถามว่า “สารีบุตร เธอให้กรรมฐาน ชนิดไหนแก่สัทธิวิหาริกของเธอ ?”

พระสารีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ให้อสุภกรรมฐาน พระเจ้าข้า”

พระศาสดาตรัสว่า “สารีบุตร เธอไม่มีญาณเครื่องรู้อัธยาศัยและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย เธอไปก่อนเถิด เวลาเย็นเธอมา พึงพาสัทธิวิหาริกของเธอมาด้วย”

พระศาสดาทรงส่งพระเถระไปอย่างนี้แล้ว ได้ให้ผ้านุ่งและจีวรอันน่าชอบใจแก่ภิกษุนั้น แล้วทรงพาภิกษุนั้นเข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน ให้ของเคี้ยวของฉันอันประณีต แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่กลับมายังพระวิหารอีก ทรงยังเวลาส่วนกลางวันให้สิ้นไปในพระคันธกุฎี

พอเวลาเย็น ทรงพาภิกษุนั้นเที่ยวจาริกไปในวิหาร แล้วทรงนิรมิตสระโบกขรณีสระหนึ่งในอัมพวัน แล้วทรงนิรมิตกอปทุมใหญ่ในสระโบกขรณีนั้น และทรงนิรมิตดอกปทุมใหญ่ดอกหนึ่งในกอปทุมนั้น แล้วรับสั่งให้นั่งลงด้วยพระดำรัสว่า ภิกษุ เธอจงนั่งแลดูดอกปทุมนี้ แล้วเสด็จเข้าพระคันธกุฏี ภิกษุนั้นแลดูดอกปทุมนั้นบ่อย ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ดอกปทุมนั้นเหี่ยว ดอกปทุมนั้น เมื่อภิกษุนั้นแลดูอยู่ นั่นแหละได้เหี่ยวเปลี่ยนสีไป ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น กลีบของดอกปทุมนั้นก็ร่วงไปตั้งแต่รอบนอก ได้ร่วงไปหมดโดยครู่เดียว แต่นั้น เกสรก็ร่วงไป เหลืออยู่แต่ฝักบัว ภิกษุนั้นเห็นอยู่ดังนั้นจึงคิดว่า ดอกปทุมนี้ได้งดงามน่าดู อยู่เดี๋ยวนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้น สีของมันก็แปรไป กลีบและเกสรร่วงไป คงอยู่แต่เพียงฝักบัวเท่านั้น ความชราถึงแก่ดอกปทุมอย่างนี้ ก็เช่นร่างกายของเรา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ จึงเริ่มเจริญวิปัสสนา พระศาสดาทรงทราบว่า จิตของภิกษุนั้นขึ้นสู่วิปัสสนาแล้ว ประทับอยู่ในพระคันธุฎีนั่นแล ทรงเปล่งโอภาสแสงสว่างไป แล้วตรัสว่า

“เธอจงตัดความสิเนหาของตนเสีย

เหมือนคนตัดดอกโกมุทอันเกิดในสารทกาล

เธอจงพอกพูนทางแห่งความสงบ เพราะพระนิพพาน

ตถาคตแสดงไว้แล้ว.”

ในเวลาจบคาถา ภิกษุนั้นบรรลุพระอรหัตแล้วจึงมาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ฝ่ายพระเถระ ก็มาถวายบังคมพระศาสดาแล้วได้พาสัทธิวิหาริกของตนไป

ข่าวนี้เกิดปรากฏในระหว่างภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายนั่งพรรณนาพระคุณของพระทศพลอยู่ในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย พระสารีบุตรเถระไม่รู้อัธยาศัยของสัทธิวิหาริกของตน เพราะไม่มีอาสยานุสยญาณ แต่พระศาสดาทรงทราบได้ ประทานพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาแก่ภิกษุนั้น โดยวันเดียวเท่านั้น โอ ! ชื่อว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงมีอานุภาพมาก พระศาสดาเสด็จมาแล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้วตรัสถามว่า

“ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ?”

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอื่นหามิได้ แต่นั่งสนทนากันด้วยเรื่องพระญาณ เครื่องรู้อัธยาศัยและอนุสัยแห่งสัทธิวิหาริกของพระธรรมเสนาบดี เฉพาะของพระองค์เท่านั้น”

พระศาสดาตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ไม่น่าอัศจรรย์ บัดนี้ เรานั้นเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ย่อมรู้อัธยาศัยของภิกษุนั้น แม้ในกาลก่อน เราก็รู้อัธยาศัยของภิกษุนั้นเหมือนกัน” แล้วทรงนำอดีตนิทาน มาแสดงดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์อนุศาสน์อรรถและธรรมกะพระราชาพระองค์นั้น ในกาลนั้น พวกคนเลี้ยงม้าให้ม้ากระจอกขาเขยกอาบน้ำก่อนม้าอื่น ณ ท่าที่ม้ามงคลของพระราชาอาบ ม้ามงคลถูกให้ลงท่าที่ม้ากระจอกอาบ จึงเกลียดไม่ปรารถนาจะลง

คนเลี้ยงม้ามากราบทูลแด่พระราชาว่า “ข้าแต่สมมติเทพ ม้ามงคลไม่ปรารถนาจะลงท่าน้ำ พระเจ้าข้า”

พระราชาทรงสั่งพระโพธิสัตว์ไปว่า “ดูก่อนบัณฑิต ท่านจงไป จงดูว่า เพราะเหตุไร ม้าถูกเขาให้ลงท่าน้ำจึงไม่ลงท่า”

พระโพธิสัตว์ทูลรับพระบัญชาแล้วไปยังฝั่งแม่น้ำ ตรวจดูม้าก็รู้ว่าม้าไม่มี โรค จึงใคร่ครวญว่า เพราะเหตุไรหนอ ม้านี้จึงไม่ลงท่านี้ จึงคิดว่า ม้าอื่นจักถูกอาบที่ท่านี้ก่อน ด้วยเหตุนั้น ม้านั้นเห็นจะรังเกียจจึงไม่ลงท่า แล้วถามพวกคนเลี้ยงม้าว่า “ท่านผู้เจริญ ที่ท่านี้ท่านทั้งหลายให้ม้าอะไรอาบก่อน”

พวกคนเลี้ยงม้ากล่าวว่า “ข้าแต่นาย ให้ม้ากระจอกอาบก่อนกว่าม้าอื่น”

พระโพธิสัตว์ รู้อัธยาศัยของม้านั้นว่า ม้านี้รังเกียจจึงไม่ปรารถนาจะอาบที่ท่านี้ เพราะตนเป็นสัตว์มี คุณสมบัติ การให้ม้านี้อาบในท่าอื่นจึงจะควร จึงกล่าวว่า “ท่านผู้เลี้ยงม้าผู้เจริญ แม้ข้าวปายาสที่ปรุงด้วยเนยใส น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย เมื่อบุคคลบริโภคบ่อย ๆ ก่อน ย่อมมีความเบื่อ ม้านี้อาบที่ท่านี้หลายครั้ง เบื้องต้นพวกท่านจงให้ม้านั้นลงยังท่าแม้อื่น แล้วให้อาบและดื่ม”

คนเลี้ยงม้าเหล่านั้นได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว จึงให้ม้าลงท่าอื่น ให้ดื่มและให้อาบ ในเวลาที่ม้าดื่มน้ำแล้วอาบ พระโพธิสัตว์ได้มายัง สำนักของพระราชา

พระราชาตรัสถามว่า “ดูก่อนพ่อ ม้าอาบและดื่มแล้วหรือ”

พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า “พระเจ้าข้า ข้าแต่สมมติเทพ”

พระราชาตรัสถามว่า “ทีแรก เพราะเหตุไร ม้าจึงไม่ปรารถนา ?”

พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า “ข้าแต่สมมติเทพ เพราะเหตุนี้พระเจ้าข้า แล้วกราบทูลเหตุทั้งปวง”

พระราชาตรัสว่า “โอ ! ท่านบัณฑิตย่อมรู้อัธยาศัย แม้ของสัตว์เดียรัจฉานเห็นปานนี้” แล้วประทานยศใหญ่แก่พระโพธิสัตว์ ในเวลาสิ้นอายุ ได้เสด็จไปตามยถากรรมแล้ว ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็ไปตามยถากรรมเหมือนกัน.

พระศาสดาตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรารู้อัธยาศัยของภิกษุนี้ในบัดนี้เท่านั้น หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็รู้เหมือนกัน” ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า

ม้ามงคลในกาลนั้น ได้เป็นภิกษุรูปนี้

พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์

ส่วนอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตในกาลนั้น ได้เป็นเราตถาคตแล.


ที่มา วัดโพรงจระเข้ จ.ตรัง

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

[• สุขใจ บำรุงรักษาระบบ •]
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.283 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 27 ตุลาคม 2567 00:47:02