สรุปไฮไลต์อภิปรายรายงานนิรโทษกรรม ก่อนสภาโหวตคว่ำข้อสังเกต กมธ.
<span>สรุปไฮไลต์อภิปรายรายงานนิรโทษกรรม ก่อนสภาโหวตคว่ำข้อสังเกต กมธ.</span>
<span><span>See Think</span></span>
<span><time datetime="2024-10-24T19:55:03+07:00" title="Thursday, October 24, 2024 - 19:55">Thu, 2024-10-24 - 19:55</time>
</span>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>สรุปไฮไลต์อภิปรายรายงานนิรโทษกรรม ก่อนสภารับทราบรายงาน แต่โหวตคว่ำในส่วนข้อสังเกตของ กมธ. </p><p>ทนายแจม-ศศินันท์ชี้ “แกนนำทุกสี เห็นด้วยรวม 112” ด้านจาตุรนต์ชี้ “อย่าห่วงทำผิดซ้ำ มีแต่คณะรัฐประหาร” ขณะที่ ลอรี่-พงศ์พล ชี้ ปมความผิด ม.112 “ควรใช้วิธีขอพระราชทานอภัยโทษ” </p><p>24 ต.ค. 2567 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีการพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว และมีการลงมติว่าเห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ หรือไม่ ปรากฏว่า ไม่เห็นด้วย 270 เสียง เห็นด้วย 152 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง และ ไม่ลงคะแนน 1 เสียง</p><h2>ใครโหวตอย่างไร</h2><p>
มติชนออนไลน์รายงานว่า ฝ่าย ‘เห็นด้วย’ กับข้อสังเกตรายงาน กมธ. แบ่งเป็นพรรคประชาชน (ปชน.) 138 คน ไม่อยู่ 7 คน, พรรคไทยก้าวหน้า 1 คน, พรรคเป็นธรรม (ปธ.) 1 คน และ ส.ส.พรรคเพื่อไทย (พท.) 11 คน อาทิ จาตุรนต์ ฉายแสง , ชูศักดิ์ ศิรินิล , นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ , สุธรรม แสงประทุม, อดิศร เพียงเกษ, ก่อแก้ว พิกุลทอง, นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ เป็นต้น ส่วน ขัตติยา สวัสดิผล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเจ้าของญัตติโหวต งดออกเสียง</p><p>ส่วนในฝั่ง ‘ไม่เห็นด้วย’ นั้น เป็นพรรคร่วมรัฐบาล ประกอบด้วย พรรคภูมิใจไทย (ภท.) ที่โหวตไปในทิศทางเดียวกันทั้งสิ้น 65 คน ไม่อยู่ 4 คน ส่วนพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ไม่เห็นด้วย 26 คน สำหรับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรค ยังคงไม่ปรากฏว่าลงมติใดๆ รวมถึงยังมีกลุ่มของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา พรรคพปชร. 13 คน ทั้งนี้ พรรคกล้าธรรม ซึ่งเป็นพรรคในเครือข่ายของ ร.อ.ธรรมนัส ที่มี ส.ส. 3 คน ลงมติไม่เห็นด้วยทั้งหมด และพรรคเพื่อไทยลงมติไม่เห็นด้วย 115 เสียง พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) โหวตไปในทิศทางเดียวกัน ไม่อยู่ 9 คน นอกจากนี้ ยังมีพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) โหวตไม่เห็นด้วย 13 คน ไม่อยู่ 12 คน พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) ไม่เห็นด้วย 5 คน ไม่อยู่ 5 คน พรรคประชาชาติ (ปช.) ไม่เห็นด้วย 6 คน งดออกเสียง 1 คน ไม่อยู่ 2 คน ขณะที่พรรคชาติพัฒนา (ชพน.) 3 เสียง ก็ลงมติไม่เห็นด้วยเช่นกัน</p><p>ส่วนการอภิปรายถึงแง่มุมต่างๆ และการชี้แจงจากกรรมาธิการมีดังนี้</p><h2>ถามแกนนำม็อบทุกสี เห็นด้วย รวม ม.112</h2><p>ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ สส.พรรคประชาชน ในฐานะหนึ่งใน กมธ. อภิปรายว่า กมธ.นี้มาจากต่างพรรค แต่เห็นตรงกันว่า การนิรโทษกรรมเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน และควรเกิดในยุคนี้ เพราะพรรคที่อุดมการณ์ต่างกันสุดขั้วทางการเมืองยังกลับมาจับมือกันจัดตั้งรัฐบาลได้ แล้วทำไมการนิรโทษกรรมประชาชนจะเกิดขึ้นไม่ได้</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54090554164_31ff91c326_b.jpg" width="1024" height="497" loading="lazy">
ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์
</p><p>สส.พรรคประชาชนกล่าวด้วย เหตุที่รู้สึกกับเรื่องนี้มากเนื่องจากเป็นอดีตทนายความที่แบกเอาความหวังความเชื่อของลูกความ เพื่อนร่วมอุดมการณ์มากมาย การนิรโทษกรรม คือความหวังของพวกเขา ทุกพรรคการเมืองคือความหวังพี่น้องประชาชน</p><p>“เราเชิญแกนนำทุกฝ่าย ทุกม็อบในรอบ 20 ปี มาในห้อง กมธ. เมื่อวันที่ 14 มี.ค. คำถามนึงที่ถามแกนนำทุกม็อบคือ “เห็นด้วยหรือไม่ถ้าจะมีการรวม ม.112” ทุกคนตอบว่า “เห็นด้วย” แล้ว กมธ.บางคนทำไมถึงมีปัญหา”
ศศินันท์ กล่าวต่อว่า การนิรโทษกรรมไม่ใช่การแก้หรือยกเลิกกฎหมาย แต่เป็นการรีเซ็ตให้ประชาชนกลับไปเริ่มใหม่ ให้ได้ใช้ชีวิตปกติ ให้ได้รับการศึกษา มีความฝันกับประชาชนเหมือนที่นายกฯ กล่าวตอนรับตำแหน่ง
ศศินันท์ ยังไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรม ม.112 อย่างมีเงื่อนไข โดยยกตัวอย่างลูกความที่ลี้ภัย ซึ่งมีความสามารถสูงเป็นที่ต้องการของหลายประเทศและเคยกล่าวไว้ว่า หากนิรโทษกรรมมีเงื่อนไขแล้วต้องพรากจิตวิญญาณของเขาไป เขาขอตายดีกว่า ดังนั้น อย่าดูถูกอุดมการณ์ของผู้ลี้ภัยเยาวชนในยุคนี้ </p><p>
ในช่วงท้าย ศศินันท์ ชี้แจงถึงพฤติการณ์ในคดี ม.110 ซึ่งแม้ข้อหาดูน่ากลัวแต่ความเป็นจริงศาลยกฟ้องไปแล้ว หรือแม้แต่ ม.112 หลายคดีก็การเมืองโดยแท้ และหลายคดีเป็นจิตเวช</p><p>“ถ้านิรโทษกรรมโดยไม่รวม 112 ดิฉันก็ไม่เห็นประโยชน์อะไรเลยที่จะนิรโทษกรรม”
</p><h2>ข้อดีรวม 112 ฟื้นสัมพันธ์สถาบัน-ประชาชน</h2><p>
ชัยธวัช ตุลาธน ในฐานะหนึ่งใน กมธ. กล่าวว่า อยากชี้แจงแลกเปลี่ยนสำหรับคนที่เห็นว่า ม.112 ไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง ในรายงาน กมธ.พิจารณาโดยพฤติการณ์และสัดส่วนจำนวนคดีพบว่า เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองอย่างแยกไม่ออก</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54090675955_754997bd3c_b.jpg" width="1024" height="500" loading="lazy">
ชัยธวัช ตุลาธน
</p><p>สำหรับคนที่เห็นว่า ถ้านิรโทษกรรมจะยิ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนบางกลุ่มไปกระทำผิดกฎหมายอีกหรือไม่ เรื่องนี้ขอให้ชัดเจนว่า นิรโทษกรรมไม่ได้ยกเลิกกฎหมายหรือฐานความผิด และมีเป้าหมายเพื่อการให้อภัยกันในช่วงเวลาที่มีความขัดแย้งทางการเมือง อีกทั้งไม่ได้ไปรับรองว่า ผู้ที่ถูกดำเนินคดีนั้นไม่ได้กระทำผิดหรือกระทำผิด การออกกฏหมายนิรโทษกรรมนั้นมีเป้าหมายทางการเมืองในแต่ละช่วงเวลา เพราะถ้ามองว่าจะส่งเสริมให้คนกระทำผิด ก็ไม่ควรพิจารณาฐานความผิดไหนเลย
“ในทางกลับกัน หากเราพิจารณานิรโทษกรรมการเมืองอื่นๆ ทั้งหมด ยกเว้นไว้เฉพาะม. 112 สำหรับท่านที่ต้องการปกป้องสถาบัน ก็อยากชวนให้คิดในมุมกลับว่าถ้ายกเว้นไว้อย่างนี้ เราปรารถนาให้สังคมจำนวนหนึ่งคิดเห็นอย่างไรต่อสถาบันกษัตริย์ของเรา เราต้องระมัดระวังผลกระทบทางลบต่อสถาบันด้วย”</p><p>ชัยธวัชกล่าวว่า การนิรโทษกรรมคดี 112 มีข้อดี เป็นการกลับมาฟื้นความสัมพันธ์อันดีของประชาชนกับสถาบัน และส่งเสริมสถานะอันเป็นกลางทางการเมืองของสถาบัน
หลายคนกังวลว่าจะนำสู่ความขัดแย้งครั้งใหม่ แต่ลองพิจารณาอีกมุมว่า ถ้าไม่นิรโทษกรรม 112 ด้วย เราจะบรรลุการคลี่คลายความขัดแย้ง สร้างความสมานฉันท์ได้จริงหรือไม่ เพราะแม้จำนวนคดีอาจดูน้อย แต่คดีทางการเมืองที่ขัดแย้งโต้เถียง มีข้อวิจารณ์กระบวนการยุติธรรมล้วนแล้วแต่อยู่ที่คดี 112 ทั้งสิ้น
</p><h2>ทางสายกลาง นิรโทษ 112 อย่างมีเงื่อนไข</h2><p>
ชัยธวัช กล่าวอีกว่า ด้วยเหตุนี้ กมธ.จึงเสนอทางเลือก เข้าใจทั้งฝ่ายที่ต้องการให้นิรโทษกรรมทั้งหมด และฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย หาพื้นที่ตรงกลาง คือ การพิจารณานิรโทษกรรม 112 อย่างมีเงื่อนไข โดยให้อำนาจกับคณะกรรมการนิรโทษกรรมที่ตั้งขึ้นมาตามกฎหมาย ตั้งกระบวนการ กำหนดเงื่อนไข เป็นรายคดีว่า มีรายละเอียดอย่างไร และควรให้สิทธิในการนิรโทษกรรมหรือไม่ รูปธรรมเช่น ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาให้ผู้กระทำผิดได้มีโอกาสแถลงข้อเท็จจริงว่าแรงจูงใจทางการเมืองคืออะไร ทำไมจึงคิดเช่นนั้น เพื่อเป็นโอกาสในการรับฟังผู้ถูกกล่าวหา แล้วปรับความเข้าใจ ลดช่องว่างความเข้าใจให้มากที่สุด ให้โอกาสในการสานเสวนากับคนเห็นต่าง รวมถึงฝ่ายความมั่นคงและรัฐบาล เราอาจจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการป้องกันความขัดแย้ง</p><p>สุดท้ายกระบวนการนี้เราสามารถกำหนดเงื่อนไขได้ว่าถ้ายอมเข้าสู่กระบวนการ ต้องงดกากระทำแบบไหนบ้าง และกำหนดเวลาได้จนกว่าจะได้รับการนิรโทษกรรม เราอาจใช้โอกาสนี้พลิกวิกฤตเป็นโอกาสในการปกป้องและส่งเสริมความมั่นคงสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทย</p><p>“การปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่สามารถบรรลุได้โดยการมองประชาชนเป็นศัตรู ไม่ว่าเขาจะมีความคิดเห็นอย่างไร”
</p><h2>นิรโทษฯ แล้วทำผิดซ้ำ มีแต่คณะรัฐประหาร</h2><p>จาตุรนต์ ฉายแสง สส.พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงความเป็นมาก่อนเกิดรายงานว่า ความขัดแย้งทางการเมืองเกิดติดต่อกันในช่วง 20 ปีมานี้ เมื่อไม่นานนี้ มี สส.บางพรรค ประชาชนเสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรมเข้าสภา มีการหารือกันแล้วพรรคเพื่อไทยได้ตัดสินใจว่า ต้องการให้ สส.ทั้งหลายมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ศึกษาอย่างจริงจัง ก่อนจะพิจารณาร่างพ.ร.บ. จึงได้เสนอญัตติตั้ง กมธ.คณะนี้ ซึ่งสภาผู้แทนเห็นชอบ และ กมธ.คณะนี้มี สส.เพื่อไทยเป็นประธาน มีตัวแทนจากรัฐบาล และตัวแทนพรรคการเมืองต่างๆ เข้ามาเป็น กมธ. พิจารณาโดยไม่มีใครสงวนความเห็น หรือเห็นแตกต่างว่าไม่เห็นชอบรายงาน จะมีความเห็นต่างก็บันทึกไว้ในส่วนที่เป็นคดีอ่อนไหว ซึ่งเป็นธรรมดา เพราะ กมธ.ไม่จำเป็นต้องมีความเห็นเอกฉันท์หรือมติเสียงข้างมากทุกเรื่อง เรื่องไหนแตกต่างก็เสนอต่อสภาผู้แทนฯ ได้</p><p>เมื่อเป็นอย่างนี้ทำไมจึงควรเห็นชอบร่างรายงานและเห็นชอบกับข้อสังเกตของรายงาน ตัวรายงานปกติไม่ต้องเห็นชอบอยู่แล้ว เป็นแต่เพียงรับทราบ ส่วนของข้อสังเกต ในการพิจารณาจะไม่มีการอภิปรายกัน ไม่ต้องแก้ไขอีก และควรจะเห็นชอบเพราะข้อสังเกตเขียนว่า ครม.ควรพิจารณารายงาน เพื่อไปตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแล้วนำกลับเข้าสภา ถ้าเราไม่เห็นชอบกับข้อสังเกตก็เท่ากับ ไม่เห็นชอบให้ ครม.พิจารณารายงานฉบับนี้ทั้งฉบับ และกำลังบอกว่า รายงานนี้ไม่ต้องมีใครไปอ่าน ทั้งที่มันตอบคำถามสิ่งที่สังคมต้องการ คลี่คลายปัญหาความขัดแย้งของสังคมไทยที่มีมานานได้ระดับหนึ่ง การนิรโทษกรรมจึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วน
“ที่สำคัญ ความขัดแย้งในสังคมไทย การนิรโทษกรรมได้นำมาใช้หลายครั้ง การนิรโทษกรรมรัฐประหารก็ทำ ขณะที่คนมาต่อต้านรัฐประหารกลับเป็นคดี อยู่กับการถูกดำเนินคดี ลงโทษอยู่”
ส่วนที่บอกว่า ก่อนนิรโทษต้องสารภาพ สำนึกผิดก่อน นั่นไม่ใช่คอนเซ็ปท์ของการนิรโทษกรรม เช่น กรณี 6 ตุลาฯ ส่วนที่ กมธ.ใช้คำว่า ‘คดีอ่อนไหว’ มีคนห่วงกังวลกันมาก ทั้งที่ กมธ. มีสามทางเลือกด้วยซ้ำ ไม่มีข้อสรุป
“การเขียนอย่างนี้เป็นการเขียนเพื่อแสดงความรับรู้ว่าเรื่อง 112 เป็นเรื่องเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมือง เกี่ยวกับความมั่นคงทางสังคม ต้องหาทางกันต่อ ไม่ใช่ข้อยุติในวันนี้ วันนี้ไม่ใช่การพิจารณากฎหมายแต่อย่างใด สภานี้ควรตั้งสติตั้งหลัก ควรตั้งคำถามว่า คดีที่เกี่ยวกับ 112 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองทางสังคมไทยหรือไม่ เราจะแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมกันอย่างไร แล้วจะทำยังไงกับการบังคับใช้กฎหมายนี้ ก็ศึกษากันต่อ แต่วาระนี้ไม่ใช่วาระโอกาสที่พรรคการเมืองจะมาแข่งกันแสดงความจงรักภักดี”
“ส่วนข้อกังวลว่า การนิรโทษทำให้เกิดการกระทำผิดซ้ำนั้นไม่ต้องกังวล เพราะการกระทำผิดซ้ำโดยประชาชนไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ ที่นิรโทษแล้วกระทำผิดซ้ำมีอย่างเดียวคือ รัฐประหาร และหากเราห่วงจริงๆ หามาตรการมารองรับก็ได้”</p><h2>112 ควรใช้วิธีขอพระราชทานอภัยโทษเป็นรายๆ</h2><p>พงศ์พล ยอดเมืองเจริญ หนึ่งในกรรมาธิการฯ จากพรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยในการรวมคดี ม.112 เข้าไปในกฎหมายนิรโทษกรรม เพราะว่าจะก่อให้เกิดปัญหา 2 แนวทาง</p><p> </p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54089348077_b046f06047_b.jpg" width="1024" height="493" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">พงศ์พล ยอดเมืองเจริญ</p><p>ปัญหาเชิงคุณภาพ หมายความว่า บางคดีไม่ควรให้นิรโทษกรรมได้ เพราะควรคำนึงถึงมิติของผู้ที่ได้รับผลกระทบ เช่น คดีเกี่ยวกับการชุมนุมที่สถานทูตประเทศเพื่อนบ้าน หากนิรโทษกรรมก็อาจจะกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่นเดียวกับความผิดตามมาตรา 112 ที่ผู้ได้รับผลกระทบคือสถาบันกษัตริย์ แม้ว่า คดี ม.112 มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง แต่ก็ไม่ควรนิรโทษกรรม แต่ควรใช้วิธีการขอพระราชทานอภัยโทษโดยทำเป็นรายกรณีไป</p><p>วัตถุประสงค์ของการนิรโทษกรรมคือสร้างความปรองดองสมานฉันท์ จึงต้องคำนึงว่าถ้านิรโทษกรรมแล้วจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการละเมิดกฎหมายอีกหรือไม่</p><p>วิทยา แก้วภราดัย สส.พรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวว่าตนมีความสับสนกับรายงานฉบับนี้ ที่ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะนิรโทษกรรมคดีอะไรบ้าง จะไม่นิรโทษกรรมคดีประเภทใดบ้าง เพราะ กมธ.แต่ละคนก็มีความเห็นแบ่งออกเป็นหลายทาง และยังไม่มีข้อสรุป</p><p> </p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54090221951_7ff0b34611_b.jpg" width="1023" height="499" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">วิทยา แก้วภราดัย</p><p>จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าจุดยืนของตนและพรรคคือ ไม่เห็นชอบการนิรโทษกรรม คดีทุจริต คดีอาญาร้ายแรง และคดี ม.112 ตนเห็นชอบให้มีการนิรโทษกรรมคดีอันเกิดจากแรงจูงใจทางการเมืองทั่วไป เพราะเป็นความเห็นพ้องต้องกันของสังคมและทุกฝ่าย แต่ไม่เห็นด้วยกับทั้งรายงานของ กมธ. และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ เพราะว่าปลายทางสุดท้ายจะนำไปสู่ความขัดแย้ง เช่นเดียวกับนิรโทษกรรมสุดซอย ที่เคยถูกผลักดันมาแล้วในอดีต</p><p> </p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54090221916_783e34dcc2_b.jpg" width="1024" height="500" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์</p><h2>ควรใช้แบบผสม มีกรรมการพิจารณา</h2><p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์จันจิรา สมบัติพูนศิริ รองประธานคณะอนุกรรมาธิการ คนที่สาม และนักวิชาการที่ศึกษาด้านสันติวิธี กล่าวว่าสถานะของรายงานฉบับนี้เป็นรายงานที่ศึกษาแนวทาง เพื่อเปิดความเป็นไปได้ในสังคมไทยในเรื่องการนิรโทษกรรม</p><p> </p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54090675950_596b112d3c_b.jpg" width="1024" height="499" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">จันจิรา สมบัติพูนศิริ </p><p>เราคิดจากมุมของกระบวนการ ไม่ใช่แค่การให้อภัย หรือการยกโทษความผิด แต่เป็นกระบวนการที่มุ่งให้สังคมไทยไทยได้พูดคุยถกเถียงว่าสังคมเราใน 20 ปีที่ผ่านมา เชิญความขัดแย้งแบบไหน และมีการบรรเทาอย่างไรได้บ้าง นอกเหนือจากข้อมูลคดี ก็มีศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับกระบวนการให้อภัย กระบวนการสานเสวนาว่าควรทำอย่างไร ไปจนถึงมาตรการล้างมลทิน</p><p>รายงานฉบับนี้พยายามจะให้พื้นที่เกี่ยวกับความขัดแย้งในสังคมไทยที่เราจะเห็นว่ามันได้เปลี่ยนหน้าตาไปตามยุคสมัย ไล่มาตั้งแต่ หลังปี 2548 เป็นต้นมา จากเดิมที่เคยเป็นความขัดแย้งของพรรคการเมืองก็กลายมาเป็นม็อบสีเสื้อ ต่อมาความขัดแย้งก็ไม่ได้เป็นแค่สีเสื้อ แต่ไปกระทบสถาบันหลักของประเทศ</p><p>หลังปี 2563 ถึง 2567 มีการใช้กฎหมายมาปราบปรามประชาชน ซึ่งบางครั้งใช้แล้วได้ผล แต่บางครั้งเป็นการลงโทษคนติดต่าง ซึ่งถ้าหากเราปล่อยไว้เช่นนี้ ความขัดแย้งมันก็ยังคงจะอยู่ และเราก็อาจเห็นการชุมนุมขึ้นมาอีกในอนาคต</p><p>รายงานฉบับนี้มองการนิรโทษกรรมในเชิงกระบวนการ โดยเสนอ 3 แนวทาง อย่างแรกคือ นิรโทษกรรมด้วยการออก พ.ร.บ. อย่างที่สอง คือ ให้คณะกรรมการฯ พิจารณาเป็นรายคดีไป และอย่างที่สามคือแบบผสม โดย กมธ.มองว่าควรใช้แบบผสมจะเหมาะที่สุด</p><p>ณัฐวุฒิ บัวประทุม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ให้ความเห็นว่า เป็นที่ชัดเจนว่ารายงานฉบับนี้ไม่ใช่ข้อผูกมัดต่อรัฐบาลว่าจะต้องออกแนวทางแบบใดแบบหนึ่ง เป็นที่ชัดเจนว่าร่าง พ.ร.บ.ที่เกี่ยวกับการนิรโทษกรรมทั้งหมดอยู่ในวาระการพิจารณา ตนมีจุดยืนว่าทุกคดีที่มีมูลเหตุทางการเมือง ไม่ว่าจะข้อหาใด ก็สมควรได้รับการนิรโทษกรรม ตนชื่นชมการใช้สภาเป็นพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยนความเห็นที่แตกต่าง และตนคาดหวังเสียงโหวตที่เป็นฉันทามติของสภาทั้งในส่วนรายงานและข้อสังเกตที่จะสะท้อนเจตจำนงของประชาชนอย่างแท้จริง</p><h2>สมัยประชุมหน้า มี 4 ร่างนิรโทษฯ รอพิจารณา</h2><p>ชูศักดิ์ ศิรินิล ในฐานะประธานกรรมาธิการ ตอบคำถามที่ว่า จะมีการนิรโทษกรรมคดีอะไรบ้าง โดยกล่าวว่ารายงานฉบับนี้กำหนดกรอบเวลาให้นิรโทษกรรมตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา ส่วนประเด็นที่ว่าทำไมจึงไม่มีการสรุปว่าจะนิรโทษกรรมจะรวมความผิดมาตรา 112 หรือไม่ เนื่องจากเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน จึงควรมีการถกเถียงกันต่อไป</p><p>ชูศักดิ์กล่าวต่อไปว่า เมื่อมีการเปิดประชุมสมัยหน้า จะมีร่างกฎหมายเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมจำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย 3 ฉบับจากพรรคการเมือง และ 1 ฉบับจากภาคประชาชน</p><p> </p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54090472253_d088fca916_b.jpg" width="1024" height="500" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ชูศักดิ์ ศิรินิล</p></div>
<div class="node-taxonomy-container">
<ul class="taxonomy-terms">
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่า
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" hreflang="th">นิรโทษกรร
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" hreflang="th">ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรร
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" hreflang="th">พ.ร.บ.นิรโทษกรร
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A8%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C-%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%90%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C" hreflang="th">ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท
http://prachatai.com/category/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C-%E0%B8%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87" hreflang="th">จาตุรนต์ ฉายแส
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%A5-%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D" hreflang="th">พงศ์พล ยอดเมืองเจริ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B9%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A5" hreflang="th">ชูศักดิ์ ศิรินิ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4" hreflang="th">จันจิรา สมบัติพูนศิร
http://prachatai.com/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8A-%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%99" hreflang="th">ชัยธวัช ตุลาธ
https://prachataistore.net</div>
http://prachatai.com/journal/2024/10/111169 







