เข็นอย่างไร? ให้เชียงใหม่มีขนส่งสาธารณะเสียที
<span>เข็นอย่างไร? ให้เชียงใหม่มีขนส่งสาธารณะเสียที</span>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2024-10-27T19:28:34+07:00" title="Sunday, October 27, 2024 - 19:28">Sun, 2024-10-27 - 19:28</time>
</span>
<div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>ปฐวี กันแก้ว รายงาน</p></div>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>เชียงใหม่ขาดแคลนระบบขนส่งมวลชนมานานกว่า 30 ปี ความพยายามผลักดันการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในจังหวัดนี้ต้องเผชิญอุปสรรคต่าง ๆ ตั้งแต่การที่เทศบาลนครเชียงใหม่และบริษัท RTC ต้องแบกรับต้นทุนการเดินรถเมล์ ไปจนถึงความไร้ระเบียบและไร้เส้นทางประจำของรถสี่ล้อแดงที่วิ่งในจังหวัด ปัญหาเหล่านี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายการปรับปรุงระบบคมนาคมเชียงใหม่ แต่เน้นไปที่การสร้างถนนและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายสนามบินเชียงใหม่ ส่วนนโยบายพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะยังคงถูกละเลย</p><p>ปัญหาขนส่งสาธารณะในจังหวัดเชียงใหม่สามารถสรุปได้อย่างสั้นๆ ว่า "ปล่อยให้แข่งขัน และตายไปเอง" โดยมีต้นเหตุมาจาก "โครงสร้างทางนโยบาย" ที่ไม่มีเจ้าภาพระดับจังหวัดในการจัดการ และเกิดความเหลื่อมล้ำเมื่อเปรียบเทียบกับกรุงเทพฯ และปริมณฑล</p><p class="text-align-center picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54090156719_f240f5d0da_k.jpg" width="1920" height="1080" loading="lazy">โครงสร้างนโยบายและปัญหาของขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ (ที่มา: ปฐวี กันแก้ว)</p><p class="text-align-center picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54034967991_580212207e_b.jpg" width="960" height="540" loading="lazy">รถเมล์สาย 12 วงกลม (วนซ้าย/ขวา) โดยเทศบาลนครเชียงใหม่ จอดที่สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 อาเขต ภาพถ่ายเดือนกันยายน 2557 (ที่มา: แฟ้มภาพ/ประชาไท)</p><h2>1. เทศบาลนครเชียงใหม่ เจ้าภาพแบกรับภาระขนส่งรถเมล์</h2><p>พระราชบัญญัติขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 กำหนดให้เจ้าภาพในการบริหารนโยบายขนส่งสาธารณะระดับจังหวัด เป็นคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด ซึ่งมีหน้าที่ออกใบอนุญาตสัมปทาน กำหนดราคาค่าโดยสาร ประเภทของรถโดยสาร และเส้นทางการเดินรถ โดยมีสำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่เป็นผู้ปฏิบัติ โครงสร้างดังกล่าวทำให้ภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลายเป็นผู้ประกอบการที่ต้องแข่งขันกันเอง ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการหลายรายไม่สามารถดำเนินการต่อได้ในระยะยาว</p><p>ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2540 บริษัทเอกชนที่ให้บริการรถเมล์ต้องหยุดให้บริการ เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันกับรถสองแถวและรถสามล้อที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการบริการทับเส้นทางกัน และเกิดการแย่งผู้โดยสาร ผู้ประกอบการรถเมล์ที่มีขนาดใหญ่และขาดความคล่องตัวจึงต้องขาดทุนและเลิกกิจการในที่สุด</p><p>แม้ในปี พ.ศ. 2548 เทศบาลนครเชียงใหม่จะเริ่มให้บริการ “รถเมล์ขาว” แต่รายรับจากการดำเนินการยังไม่เพียงพอกับต้นทุนการให้บริการ โดยแม้ว่าจะมีการหารายได้เสริมจากค่าโฆษณาข้างรถ แต่เทศบาลยังคงต้องใช้งบประมาณท้องถิ่นมาสนับสนุนการดำเนินงาน</p><p>จากข้อมูลในตารางที่ 1 และตารางที่ 2 ที่แสดงรายรับรายจ่ายในช่วงปี พ.ศ. 2558-2564 จะเห็นได้ว่ากิจการเดินรถของเทศบาลมีรายรับมากกว่ารายจ่าย เนื่องจากได้รับงบประมาณช่วยเหลือจากท้องถิ่นเพื่ออุดหนุนรายจ่าย แต่หากไม่มีการอุดหนุนรายรับจากภาครัฐ รายได้จากค่าโดยสารและโฆษณาจะไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน</p><p class="text-align-center"><strong>ตารางที่ 1 รายรับจริงในช่วงปี พ.ศ. 2558 – 2564 กิจการเดินรถประจำทางเทศบาลนครเชียงใหม่ (หน่วย:บาท)</strong></p><table border="1" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr><td width="73"><strong>รายการ</strong></td><td width="88"><strong>ค่าโดยสาร</strong></td><td width="83"><strong>ค่าเช่าสิทธิโฆษณา</strong></td><td width="83"><strong>ดอกเบี้ย</strong></td><td width="83"><strong>รายได้เบ็ดเตล็ด</strong></td><td width="95"><strong>เงินช่วยเหลืองบเฉพาะ</strong></td><td style="background-color:hsl(60, 75%, 60%);" width="95"><strong>รวมรายรับ</strong></td></tr><tr><td width="73">2558</td><td width="88">137,905.00</td><td width="83">0.00</td><td width="83">33,348.36</td><td width="83">1,500.00</td><td width="95">4,000,000.00</td><td style="background-color:hsl(60, 75%, 60%);" width="95"><strong>4,172,753.36</strong></td></tr><tr><td width="73">2559</td><td width="88">1,004,750.00</td><td width="83">346,000.00</td><td width="83">34,242.66</td><td width="83">136,124.50</td><td width="95">8,000,000.00</td><td style="background-color:hsl(60, 75%, 60%);" width="95"><strong>9,521,117.16</strong></td></tr><tr><td width="73">2560</td><td width="88">1,534,015.00</td><td width="83">231,000.00</td><td width="83">76,006.10</td><td width="83">23,837.50</td><td width="95">10,000,000.00</td><td style="background-color:hsl(60, 75%, 60%);" width="95"><strong>11,864,858.60</strong></td></tr><tr><td width="73">2561</td><td width="88">1,681,680.00</td><td width="83">258,468.00</td><td width="83">116,632.30</td><td width="83">8,955.00</td><td width="95">12,000,000.00</td><td style="background-color:hsl(60, 75%, 60%);" width="95"><strong>14,065,575.00</strong></td></tr><tr><td width="73">2562</td><td width="88">1,631,845.00</td><td width="83">301,800.00</td><td width="83">172,992.50</td><td width="83">8,937.50</td><td width="95">12,000,000.00</td><td style="background-color:hsl(60, 75%, 60%);" width="95"><strong>14,115,575.00</strong></td></tr><tr><td width="73">2563</td><td width="88">881,235.00</td><td width="83">81,464.00</td><td width="83">129,824.84</td><td width="83">4,312.00</td><td width="95">6,500,000.00</td><td style="background-color:hsl(60, 75%, 60%);" width="95"><strong>7,596,835.84</strong></td></tr><tr><td width="73"><p>2564</p><p>(10 เดือน)</p></td><td width="88">296,380.00</td><td width="83">34,167.00</td><td width="83">4,225.25</td><td width="83">3,224.07</td><td width="95">6,000,000.00</td><td style="background-color:hsl(60, 75%, 60%);" width="95"><strong>6,337,993.30</strong></td></tr></tbody></table><p class="text-align-center">ที่มา: เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2559 – 2564 เทศบาลนครเชียงใหม่</p><p class="text-align-center"><strong>ตารางที่ 2 รายจ่ายจริงในช่วงปี พ.ศ. 2558-2564 กิจการเดินรถประจำทางเทศบาลนครเชียงใหม่ (หน่วย: บาท)</strong></p><table border="1" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr><td width="66"><strong>รายการ</strong></td><td width="88"><strong>รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการ</strong></td><td width="81"><strong>ค่าบำรุงรักษาและซ่อมแซม</strong></td><td width="88"><strong>ค่าวัสดุรวม</strong></td><td width="87"><strong>ค่าสาธารณูปโภค</strong></td><td width="95"><strong>งบลงทุน</strong></td><td style="background-color:hsl(60, 75%, 60%);" width="95"><strong>รวมรายจ่าย</strong></td></tr><tr><td width="66">2558</td><td width="88">2,502,098.25</td><td width="81">1,500.00</td><td width="88">893,823.83</td><td width="87">1,228.95</td><td width="95">0.00</td><td style="background-color:hsl(60, 75%, 60%);" width="95"><strong>3,398,651.03</strong></td></tr><tr><td width="66">2559</td><td width="88">3,439,230.92</td><td width="81">13,749.40</td><td width="88">1,430,148.10</td><td width="87">1,405.85</td><td width="95">0.00</td><td style="background-color:hsl(60, 75%, 60%);" width="95"><strong>4,884,534.27</strong></td></tr><tr><td width="66">2560</td><td width="88">4,049,887.92</td><td width="81">59,565.90</td><td width="88">1,900,941.00</td><td width="87">1,268.60</td><td width="95">29,900.00</td><td style="background-color:hsl(60, 75%, 60%);" width="95"><strong>6,041,563.42</strong></td></tr><tr><td width="66">2561</td><td width="88">5,031,418.08</td><td width="81">137,860.00</td><td width="88">2,938,679.15</td><td width="87">1,421.09</td><td width="95">0.00</td><td style="background-color:hsl(60, 75%, 60%);" width="95"><strong>8,109,378.32</strong></td></tr><tr><td width="66">2562</td><td width="88">5,236,462.28</td><td width="81">260,700.00</td><td width="88">2,984,266.85</td><td width="87">1,256.40</td><td width="95">0.00</td><td style="background-color:hsl(60, 75%, 60%);" width="95"><strong>8,482,685.53</strong></td></tr><tr><td width="66">2563</td><td width="88">N/A</td><td width="81">N/A</td><td width="88">N/A</td><td width="87">N/A</td><td width="95">N/A</td><td style="background-color:hsl(60, 75%, 60%);" width="95"><strong>7,306,866.42</strong></td></tr><tr><td width="66"><p>2564</p><p>(10 เดือน)</p></td><td width="88">N/A</td><td width="81">N/A</td><td width="88">N/A</td><td width="87">N/A</td><td width="95">N/A</td><td style="background-color:hsl(60, 75%, 60%);" width="95"><strong>N/A</strong></td></tr></tbody></table><p class="text-align-center">ที่มา: เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2559 – 2564 เทศบาลนครเชียงใหม่ที่มา: เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2559 – 2564 (หมายเหตุ ปี 2563 ในเอกสารปรากฏเพียงงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดในส่วนของงบดำเนินการเพียงชุดเดียว ในขณะที่ปี 2564 ปรากฏเพียงงบประมาณการรายจ่ายเพียงเท่านั้น)</p><p class="text-align-center"><strong>ตารางที่ 3 แสดงข้อมูลเปรียบเทียบรายรับ-รายจ่าย ในช่วงปี พ.ศ. 2558-2564 กิจการเดินรถประจำทางเทศบาลนครเชียงใหม่ (หน่วย:บาท)</strong></p><table border="1" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr><td width="120">ปีงบประมาณ</td><td width="156">รวมรายรับจริง</td><td width="175">รวมรายจ่ายจริง</td><td style="background-color:hsl(60, 75%, 60%);" width="150"><strong>รายรับมากกว่ารายจ่าย</strong></td></tr><tr><td width="120">2558</td><td width="156">4,172,753.36</td><td width="175">3,398,651.03</td><td style="background-color:hsl(60, 75%, 60%);" width="150"><strong>774,102.33</strong></td></tr><tr><td width="120">2559</td><td width="156">9,521,117.16</td><td width="175">4,884,534.27</td><td style="background-color:hsl(60, 75%, 60%);" width="150"><strong>4,636,582.89</strong></td></tr><tr><td width="120">2560</td><td width="156">11,864,858.60</td><td width="175">6,041 ,563.42</td><td style="background-color:hsl(60, 75%, 60%);" width="150"><strong>5,823,295.18</strong></td></tr><tr><td width="120">2561</td><td width="156">14,065,735.30</td><td width="175">8,109,378.32</td><td style="background-color:hsl(60, 75%, 60%);" width="150"><strong>5,956,356.98</strong></td></tr><tr><td width="120">2562</td><td width="156">14,105,575.00</td><td width="175">8,482,685.53</td><td style="background-color:hsl(60, 75%, 60%);" width="150"><strong>5,622,889.47</strong></td></tr><tr><td width="120">2563</td><td width="156">ไม่ปรากฎข้อมูล</td><td width="175">7,306,866.42</td><td style="background-color:hsl(60, 75%, 60%);" width="150"><strong>289,969.42</strong></td></tr></tbody></table><p class="text-align-center">ที่มา: เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2559 – 2564 (หมายเหตุ: สำหรับตารางเปรียบเทียบปี 2564 ไม่ปรากฎเนื่องจากในเอกสารเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี มิได้มีการระบุเอาไว้)</p><p>จากข้อมูลในตารางพบว่า กิจการเดินรถของเทศบาลนครเชียงใหม่ หรือรถเมล์ขาว ประสบปัญหาขาดทุนมาตลอด แม้ในช่วง 6 ปีสุดท้ายก่อนการระบาดของโควิด-19 ซึ่งเป็นช่วงที่การท่องเที่ยวในเชียงใหม่เติบโตอย่างมาก ปัญหานี้สะท้อนถึงภาวะ "ปล่อยให้แข่งขัน และตายไปเอง" ที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญ เนื่องจากไม่มีการอุดหนุนอย่างเพียงพอในระหว่างที่รอให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ขนส่งสาธารณะ</p><p>จากข้อมูลตารางที่ 2 และตารางที่ 3 จะเห็นได้ว่ากิจการเดินรถประจำทาง เทศบาลนครเชียงใหม่ ที่มีรายรับมากกว่ารายจ่ายนั้น เกิดจากการนำรายรับจากค่าโดยสาร ค่าเช่าสิทธิ์โฆษณา และรายได้อื่นๆ มาคำนวณร่วมกับ “งบประมาณช่วยเหลือเฉพาะการ” ที่เทศบาลนครเชียงใหม่ตั้งเอาไว้เพื่ออุดหนุนรายจ่าย แต่เมื่อตัดงบประมาณก้อนดังกล่าวออกจะพบว่ารายรับน้อยกว่ารายจ่ายจริง</p><p class="text-align-center"><strong>ตารางที่ 4 แสดงข้อมูลเปรียบเทียบรายรับ-รายจ่าย ในช่วงปี พ.ศ. 2558-2564 กิจการเดินรถประจำทางเทศบาลนครเชียงใหม่ เมื่อตัดงบประมาณเงินช่วยเหลือเฉพาะการ (หน่วย: บาท)</strong></p><table border="1" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr><td width="150">ปีงบประมาณ</td><td width="150">รายรับที่ตัดเงินช่วยเหลือเฉพาะการ</td><td width="150">รายจ่ายจริง</td><td width="150">รายรับน้อยกว่าค่าใช้จ่าย</td></tr><tr><td width="150">2558</td><td width="150">172,753.36</td><td width="150">3,398,651.03</td><td width="150">3,225,897.67</td></tr><tr><td width="150">2559</td><td width="150">1,521,117.16</td><td width="150">4,884,534.27</td><td width="150">3,363,417.11</td></tr><tr><td width="150">2560</td><td width="150">1,864,858.60</td><td width="150">6,041,563.42</td><td width="150">4,176,704.82</td></tr><tr><td width="150">2561</td><td width="150">2,065,735.30</td><td width="150">8,109,378.32</td><td width="150">6,043,643.02</td></tr><tr><td width="150">2562</td><td width="150">2,105,575.00</td><td width="150">8,482,685.53</td><td width="150">6,377,110.53</td></tr><tr><td width="150">2563</td><td width="150">4,172,753.36</td><td width="150">7,306,866.42</td><td width="150">3,134,113.06</td></tr></tbody></table><p class="text-align-center">ที่มา: เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2559 – 2564 (หมายเหตุ: ตารางเปรียบเทียบปี 2564 ไม่ปรากฎเนื่องจากในเอกสารเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี มิได้มีการระบุเอาไว้)</p><p>จากข้อมูลตารางที่ 4 จะเห็นว่าในปี พ.ศ. 2558 รายรับที่ตัดเงินช่วยเหลือเฉพาะการออกอยู่ที่เพียง 172,753.36 บาท ขณะที่รายจ่ายจริงอยู่ที่ 3,398,651.03 บาท แปลว่าเทศบาลต้องแบกรับค่าใช้จ่ายสูงถึง 3,225,897.67 บาท และแนวโน้มนี้ยังคงดำเนินไปในหลายปีถัดๆ มา โดยในปี พ.ศ. 2562 ขาดทุนมากกว่า 6,377,110.53 บาท</p><h2><strong>2. อุปทานล้นเกินของรถสี่ล้อแดง</strong></h2><p class="text-align-center picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54035165983_514e9b5dbc_o.jpg" width="840" height="542" loading="lazy">จุดจอดบริการรถสี่ล้อแดงเชียงใหม่ ที่สถานีขนส่งอาเขต ภาพเมื่อปี 2561 (ที่มา: แฟ้มภาพ/TCIJ)</p><p>ปัญหาอุปทานล้นเกิน (oversupply) ของรถสี่ล้อแดงเกิดจากการที่จำนวนรถเพิ่มขึ้นอย่างไร้การควบคุม ส่งผลให้การจัดระเบียบและกำหนดเส้นทางเดินรถไม่ประสบผลสำเร็จ แม้จะมีการเริ่มต้นจัดระเบียบตั้งแต่ปี 2548 โดยการสนับสนุนรถเมล์ขาว และการจัดระเบียบรถสี่ล้อแดง เพื่อรองรับงานมหกรรมพืชสวนโลกในปี 2549 แต่การดำเนินนโยบายกลับขาดความต่อเนื่อง</p><p>ในช่วงปี 2557-2560 รัฐบาลหลังรัฐประหารพยายามจัดระเบียบระบบขนส่งใหม่ แต่ยังคงประสบปัญหา จำนวนรถสี่ล้อแดงในเชียงใหม่ในขณะนั้นสูงถึง 2,465 คัน แต่มีเพียง 550 คันเท่านั้นที่วิ่งในเส้นทางประจำทาง ส่วนที่เหลืออีกเกือบ 2,000 คันยังคงให้บริการแบบเดิม คือคิดราคาเหมา ทำให้การจัดการไม่ได้ผลอย่างที่คาดหวัง</p><p>นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการขนส่งทางบกได้พยายามแก้ไขปัญหาโดยคืนสัมปทานรถโดยสารประจำทาง พร้อมกำหนดค่าโดยสารที่ 30 บาทตลอดสาย และจำกัดราคาค่าเหมาไม่เกิน 200 บาทต่อเที่ยว แต่ต้นทุนการเดินรถ เช่น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงลิตรละ 33 บาท ทำให้ไม่สามารถดำเนินการตามมาตรฐานได้จริง ผู้ให้บริการจึงเลือกที่จะลดจำนวนเที่ยววิ่งและเพิ่มค่าโดยสารเพื่อคงรายได้ในการดำรงชีพ</p><p>ปัญหานี้ยังสะท้อนถึงความยากลำบากของรถสองแถวสีอื่น ๆ ที่ให้บริการระหว่างอำเภอ เช่น บริเวณสถานีขนส่งช้างเผือก รอบตลาดวโรรส และประตูเชียงใหม่ ที่ต้องเผชิญต้นทุนที่สูงขึ้นเช่นเดียวกัน แต่ไม่สามารถขึ้นราคาค่าโดยสารได้มาก เนื่องจากผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นประชาชนที่มีรายได้น้อยและนักเรียนที่ต้องเดินทางเข้าเมือง</p><h2>3. รถเมล์ RTC ขอปรับค่าตั๋วเป็น 50 บาท ก็ยังไม่สะท้อนต้นทุน</h2><p class="text-align-center picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54090156769_c147ce5aca_k.jpg" width="2048" height="1536" loading="lazy">สภาพห้องโดยสารของรถเมล์ RTC เชียงใหม่เมื่อปี 2562 (ที่มา: แฟ้มภาพ/ประชาไท)</p><p class="text-align-center picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54037070728_e523aa71b7_b.jpg" width="1024" height="577" loading="lazy">พิธีเปิดการเดินรถโดยสารเส้นทาง สาย 24 ของรถเมล์ RTC เมื่อ 29 ธันวาคม 2566 (ที่มา: สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่)</p><p class="text-align-center picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54090156759_66ea5345d0_b.jpg" width="768" height="1024" loading="lazy">รถเมล์ RTC เชียงใหม่กลับมาเดินรถอีกครั้ง ภาพถ่ายเมื่อมกราคม 2567 ที่สนามบินเชียงใหม่ (ที่มา: แฟ้มภาพ/ประชาไท)</p><p>บริษัท RTC ซึ่งเคยถูกมองว่าเป็นความหวังของระบบขนส่งสาธารณะในเชียงใหม่ เผชิญกับปัญหาต้นทุนการดำเนินงานที่สูง โดยเฉพาะหลังยุคโควิด-19 ซึ่งจำนวนผู้โดยสารลดลง 2 ถึง 2.5 เท่า เหลือผู้โดยสารเฉลี่ยเพียง 102 คนต่อวัน ทำให้บริษัทต้องปรับค่าโดยสารจาก 30 บาทเป็น 50 บาทตลอดสาย เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนเดินรถ ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 97.80 บาทต่อคน</p><p>ต้นทุนเชื้อเพลิงที่สูงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ระบบขนส่งสาธารณะในเชียงใหม่มีต้นทุนสูงขึ้น แม้ภาครัฐจะมีการตรึงราคาน้ำมันดีเซล แต่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผันผวนยังคงเป็นภาระที่สำคัญต่อผู้ประกอบการ จากการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) พบว่าค่าใช้จ่ายในการเดินทางของคนเชียงใหม่สูงถึง 10% ของรายได้ขั้นต่ำ ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 350 บาทต่อวัน การเดินทางไป-กลับจึงไม่ควรมีค่าใช้จ่ายเกิน 35 บาท อย่างไรก็ตาม ค่าโดยสารในระดับนี้จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีการอุดหนุนงบประมาณจากภาครัฐเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ</p><p>อีกหนึ่งปัญหาของระบบขนส่งสาธารณะเชียงใหม่คือการรวมศูนย์อำนาจที่นโยบายถูกกำหนดจากส่วนกลางมาเป็นเวลานาน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับที่ 1 ถึง 7 กำหนดให้เชียงใหม่เป็นหัวเมืองภูมิภาค แต่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนและระบบสาธารณูปโภค มากกว่าระบบขนส่ง แม้จะมีการศึกษาโครงการรถไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2536 แต่ความล่าช้าก็ยังเป็นอุปสรรค หลังจากนั้นก็มีแผนพัฒนาขนส่งสาธารณะเชียงใหม่ออกมาตลอดจนทั้งระดับรถเมล์โดยสาร และรถไฟฟ้า ล่าสุดคือโครงการรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) ที่ยังรอมติคณะรัฐมนตรีในการอนุมัติก่อสร้าง ทำให้ระบบขนส่งไม่พัฒนาตามความต้องการของประชาชน</p><h2>4. โครงสร้างรวมศูนย์ในการบริหารขนส่งสาธารณะเชียงใหม่</h2><p>อีกปัญหาหลักยังเป็นการรวมศูนย์อำนาจบริหารจัดการโดยสำนักงานขนส่งจังหวัด ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางออกใบอนุญาตสัมปทานเส้นทางขนส่ง ซึ่งไม่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของการจราจรที่ขยายตัวตามแนวถนนตัดใหม่ได้ ผู้ประกอบการเอกชนมักเลือกเส้นทางที่มีผู้โดยสารมาก เช่น เส้นทางที่ผ่านสถานที่ท่องเที่ยว ทำให้พื้นที่อื่นที่ไม่มีบริการขนส่งสาธารณะต้องใช้ยานพาหนะส่วนตัว ซึ่งเป็นสาเหตุของการจราจรติดขัดและอุบัติเหตุในเมืองเพิ่มขึ้น</p><p>กรณี "ดราม่ารถแดง" ที่เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาก็เป็นตัวอย่างชัดเจน รถสี่ล้อแดงในเชียงใหม่ถูกวิจารณ์อย่างหนักในโลกออนไลน์ในเรื่องราคาค่าโดยสารที่ไม่เป็นมาตรฐาน การเหมาเกินจริง และการจอดไม่ถึงจุดหมาย ทำให้ประชาชนหันไปใช้บริการแอปพลิเคชันอย่าง Grab หรือ Bolt แทน แม้ว่าจะมีการปรับปรุงให้บริการรถสี่ล้อแดง เช่น การกำหนดราคาที่ชัดเจนขึ้น แต่ปัญหาเชิงโครงสร้างยังคงไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้ผู้ประกอบการยังคงผลักภาระค่าโดยสารไปที่ผู้โดยสาร</p><p>อีกปัญหาสำคัญคือการบริหารสหกรณ์รถสี่ล้อแดงที่ไม่สามารถควบคุมสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ บางสมาชิกถือครองรถหลายคันและปล่อยให้เช่าช่วงกับคนขับที่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ หรือไม่ได้รับการอบรมเพียงพอ ทำให้คุณภาพการให้บริการลดลง และสหกรณ์ก็ไม่สามารถตรวจสอบหรือควบคุมการดำเนินงานของสมาชิกได้</p><p>การรวมศูนย์อำนาจยังสะท้อนให้เห็นในบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งตามพระราชบัญญัติขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 กำหนดให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการขนส่งประจำจังหวัด โดยมีวาระ 4 ปี แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่มักอยู่ในตำแหน่งเฉลี่ยเพียง 2 ปีเท่านั้น ซึ่งทำให้นโยบายขนส่งสาธารณะขาดความต่อเนื่อง และไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน</p><p>อีกหนึ่งประเด็นสำคัญคือการขัดแย้งของบทบาทองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอย่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และเทศบาล ที่ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้กำกับดูแลและผู้ให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ เมื่อองค์กรเหล่านี้ต้องใช้งบประมาณของตนเองมาสนับสนุนการดำเนินงานระบบขนส่ง ทำให้การพัฒนาและขยายเส้นทางต้องเผชิญกับข้อจำกัด เพราะยังต้องแข่งกับผู้ประกอบการเอกชนที่ต้องแบกรับต้นทุนเองทั้งหมด</p><p>งบประมาณปี 2567 ของอบจ.เชียงใหม่ แสดงให้เห็นถึงการเน้นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ยังให้ความสำคัญกับการก่อสร้างถนนมากกว่าการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ งบประมาณ 73% ของงบลงทุนทั้งหมด หรือประมาณ 224,975,400 บาท จาก 304,751,510 บาท ถูกจัดสรรไปใช้ในการก่อสร้างและปรับปรุงถนนในพื้นที่ต่างอำเภอ แม้ว่าการพัฒนาถนนจะเป็นความต้องการของประชาชนในพื้นที่ แต่นี่ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่สะท้อนว่าโครงสร้างการพัฒนาให้ความสำคัญกับถนนมากกว่าการขนส่งสาธารณะ</p><p>ปัญหาอื่นที่ทำให้การพัฒนาขนส่งสาธารณะในเชียงใหม่ไม่ก้าวหน้า คือข้อจำกัดด้านพื้นที่ให้บริการของเทศบาลนครเชียงใหม่ รถเมล์ขาวให้บริการเฉพาะในเขตถนนวงแหวนรอบที่หนึ่ง แต่ปัญหาการจราจรติดขัดจริงๆ เริ่มต้นจากถนนวงแหวนรอบที่สอง ทำให้รถเมล์ขาวไม่ได้รับความนิยมจากประชาชน เนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่สำคัญ เช่น โรงพยาบาลนครพิงค์ที่อยู่นอกเขตเทศบาล</p><p>นอกจากนี้ การบริหารจัดการงบประมาณของอบจ.เชียงใหม่ยังคงให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนและระบบสาธารณูปโภคมากกว่าการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ ซึ่งสะท้อนถึงแนวคิดของการพัฒนาคมนาคมในระดับประเทศที่ยังคงเน้นโครงสร้างถนนมากกว่าการสนับสนุนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน</p><p>ท้ายที่สุด ปัญหาของระบบขนส่งสาธารณะในเชียงใหม่ยังคงเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ขาดการจัดการที่เป็นระบบและการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ไม่มีเจ้าภาพหลักในการดูแลและจัดการ ทำให้การแก้ไขปัญหา การจัดระเบียบ และการอุดหนุนงบประมาณเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง และยังขาดประสิทธิภาพในการดำเนินการอย่างแท้จริง</p><h2>5. แนวโน้มนโยบายขนส่งสาธารณะเชียงใหม่</h2><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54089841351_d2ca61ebe7_k.jpg" width="2048" height="1366" loading="lazy">เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น เป็นประธานการประชุมติดตามความคืบหน้าโครงการต่างๆ ที่เชื่อมโยงระบบขนส่งและเดินทางในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ที่ห้องประชุมกองบิน 41 จ.เชียงใหม่ เมื่อ 11 มกราคม 2567 (ที่มา: มติชน)</p><p>ในเดือนมกราคม 2567 นโยบายพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเชียงใหม่ได้รับการผลักดันอย่างชัดเจนจากการลงพื้นที่ของ เศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มุ่งเน้น 2 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ การติดตามโครงการรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit - LRT) และการพัฒนารถสี่ล้อแดงให้เป็นรถไฟฟ้า (Electronic Vehicle - EV) แม้ว่าจะมีการประชุมเพื่อผลักดันนโยบายเหล่านี้ แต่โครงการ LRT ยังคงต้องรอการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และยังไม่แน่ชัดว่าจะสามารถดำเนินโครงการได้เมื่อใด</p><p>ในส่วนของการพัฒนารถสี่ล้อแดงเป็น EV ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเสนอของอดีตนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน แม้ว่าจะมีการนำร่องไปแล้ว 1 คันในเส้นทางของรถสองแถวเขียวสายอำเภอเมือง-สันทราย และมีการลงทะเบียนรถเพิ่มเติม แต่โครงการนี้ยังเผชิญกับปัญหาหลายด้าน รวมทั้งต้นทุนการแปลงสภาพเป็นรถ EV ซึ่งสูงถึง 500,000-600,000 บาทต่อคัน ข้อจำกัดเรื่องอู่ซ่อมบำรุงและชิ้นส่วนรถที่ต้องนำเข้าจากจีน ส่งผลให้สามารถปรับเปลี่ยนรถได้เพียงประมาณ 10 คันต่อเดือน ปัญหาเหล่านี้ทำให้โครงการเปลี่ยนรถเป็น EV เป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาต้นทุนการเดินรถได้อย่างแท้จริง</p><p>ในเดือนพฤษภาคม 2567 กระทรวงคมนาคมได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 67 พ.ศ. 2564 ที่ถ่ายโอนอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถออกแบบเส้นทางเดินรถเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาสำนักงานขนส่งประจำจังหวัดเพียงอย่างเดียว แม้ว่าจะเป็นการลดขั้นตอนการขอสัมปทานเดินรถ แต่มาตรการดังกล่าวยังคงเป็นเพียงการเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการขอหรือต่อใบอนุญาตเดินรถเท่านั้น</p><p>นโยบายการพัฒนาคมนาคมยังคงเน้นไปที่การสร้างโครงข่ายถนนเป็นหลัก เช่น โครงการก่อสร้างทางยกระดับถนนทางหลวง หมายเลข 121 หรือถนนเลียบคลองชลประทาน หางดง-แม่ริม และเพิ่มการเชื่อมทางยกระดับถนนวงแหวนรอบที่ 3 นอกจากนี้ยังมีโครงการขยายท่าอากาศยานเชียงใหม่ ซึ่งจัดการประชุมรับความคิดเห็นเมื่อเดือนสิงหาคม 2567 โดยมีการวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เช่น การก่อสร้างทางยกระดับและการขยายสนามบินเชียงใหม่</p><p>โครงการเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่านโยบายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐยังคงมุ่งเน้นไปที่การสร้างถนนและเป็นการรองรับโครงการขยายสนามบินเชียงใหม่มากกว่า ในขณะที่นโยบายพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถโดยสารหรือรถเมล์ กลับถูกละเลย การแก้ปัญหาขนส่งจึงเกิดขึ้นเพียงที่ปลายเหตุ และยังต้องพึ่งพาการลงทุนจากภาคเอกชนหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องรับความเสี่ยงในการขาดทุนในระยะแรก</p><h2>3 ขั้นปรับโครงสร้าง พลิกโฉมขนส่งสาธารณะเชียงใหม่</h2><p class="text-align-center picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54002935827_3c6bbae6d3_k.jpg" width="2047" height="1071" loading="lazy">จุดจอดรถประจำทาง บริเวณประตูท่าแพ ฝั่งด้านในคูเมือง (ที่มา: Google Street View)</p><p>ปัญหาการบริหารจัดการขนส่งสาธารณะในเชียงใหม่ไม่ได้เป็นเพียงแค่เรื่องของการบริหารเชิงระบบเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับปัญหาเชิงโครงสร้างที่ฝังรากลึกมาเป็นเวลานาน โดยแนวทางการแก้ปัญหาแบบ “บันได 3 ขั้น” เพื่อแก้ไขปัญหาโครงสร้างนโยบายขนส่งสาธารณะของเชียงใหม่ตามที่นำเสนอมาข้างต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบขนส่งและสามารถตอบสนองความต้องการเดินทางของประชาชนได้ดียิ่งขึ้น</p><h4>บันไดขั้นแรก เปลี่ยนเจ้าภาพการบริหารจัดการ</h4><p>สิ่งสำคัญในบันไดขั้นแรกนี้คือการปรับเปลี่ยนผู้ที่มีอำนาจในการบริหารจัดการระบบขนส่งจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น โดยเฉพาะการแก้ไขพระราชบัญญัติขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ที่กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะกรรมการขนส่งประจำจังหวัด ซึ่งหมายความว่าท้องถิ่นไม่มีบทบาทในการตัดสินใจเกี่ยวกับระบบขนส่งของตนเอง ข้อเสนอคือให้เปลี่ยนจากผู้ว่าราชการเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และเพิ่มกรรมการจากท้องถิ่น เช่น ประธานสภาหอการค้า ประธานสภาอุตสาหกรรม เพื่อให้ท้องถิ่นมีอำนาจในการวางแผนและบริหารระบบขนส่งที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการในพื้นที่</p><p>การกระจายอำนาจนี้จะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งในระบบขนส่งสาธารณะ ตัวอย่างเช่น กรณีของรถสี่ล้อแดงที่มีปัญหากับการให้บริการรถแอปพลิเคชัน ซึ่งเคยมีการพยายามจัดระเบียบให้รถสี่ล้อแดงเข้ามาให้บริการในฐานะรถประจำทาง แต่การดำเนินนโยบายนี้ขาดความต่อเนื่องเมื่อผู้นำทั้งในระดับชาติและท้องถิ่นเปลี่ยนแปลง การที่ท้องถิ่นมีอำนาจในการตัดสินใจเองจะทำให้การจัดการเหล่านี้มีความต่อเนื่องมากขึ้น</p><p>ล่าสุดเมื่อ 28 สิงหาคม 2567 สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ สส.พรรคประชาชน ได้เสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.ขนส่งทางบก เพื่อเปลี่ยนประธานคณะกรรมการจากผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นนายก อบจ. และเพิ่มจำนวนกรรมการจากท้องถิ่นจาก 1 ตำแหน่ง เป็น 5 ตำแหน่ง แต่ร่างดังกล่าวไม่ผ่านมติในสภาฯ</p><h4>บันไดขั้นที่สอง อุดหนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่อง</h4><p>แม้ว่าจะมีการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น การพัฒนาระบบขนส่งยังต้องอาศัยงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในอดีตที่ผ่านมา การจัดระเบียบรถสี่ล้อแดงไม่ประสบความสำเร็จ เพราะขาดการอุดหนุนงบประมาณเพียงพอในการจ้างรถสี่ล้อแดงมาให้บริการแบบรถประจำทาง ปัญหา oversupply หรือการมีรถมากเกินความต้องการยังคงไม่ได้รับการแก้ไข เนื่องจากผู้ประกอบการไม่สามารถประกันรายได้ที่แน่นอนให้แก่ผู้ขับรถได้ ผลที่ตามมาคือรถสี่ล้อแดงยังคงกลับไปให้บริการในลักษณะเดิม ทำให้การจัดระเบียบไม่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ</p><p>อีกประเด็นที่สำคัญคือ เมื่อรัฐเข้ามาบริหารจัดการระบบขนส่งด้วยตนเอง เช่น การให้บริการรถเมล์ขาวโดยเทศบาลนครเชียงใหม่ในปี 2548 แม้เทศบาลจะมีงบประมาณท้องถิ่นในการสนับสนุนการดำเนินงาน แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในการขยายเส้นทางให้ครอบคลุมทั่วถึง เนื่องจากต้องใช้งบประมาณในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านอื่น เช่น การจัดเก็บขยะและการซ่อมแซมถนน รถเมล์ขาวจึงสามารถให้บริการได้เพียงในเขตถนนวงแหวนรอบที่ 1 ขณะที่ความต้องการใช้บริการกลับอยู่ในพื้นที่นอกเขตเทศบาล เช่น ถนนวงแหวนรอบที่ 2 ส่งผลให้รถเมล์ขาวไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงสถานที่สำคัญ เช่น โรงพยาบาลนครพิงค์</p><p>การสนับสนุนงบประมาณจึงเป็นสิ่งจำเป็น ตัวอย่างกรณีรถเมล์ RTC ที่ต้องแบกรับต้นทุนการดำเนินงานที่สูงถึง 102 บาทต่อผู้โดยสาร แต่เก็บค่าโดยสารเพียง 50 บาทเท่านั้น หากไม่ได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐ การดำเนินงานของ RTC จะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำแล้ว ค่าโดยสารที่เหมาะสมควรอยู่ที่ประมาณ 35 บาท เพื่อให้สอดคล้องกับรายได้ของประชาชนในท้องถิ่น</p><p>ข้อมูลจากการศึกษาของเทศบาลนครเชียงใหม่ ชี้ให้เห็นว่า แม้จะมีการดำเนินงานระบบขนส่งมาหลายปี แต่การขาดงบประมาณ และข้อจำกัดในการขยายเส้นทาง ทำให้รถเมล์ขาวไม่สามารถพัฒนาได้เต็มศักยภาพ อย่างไรก็ตาม ในช่วง 5 ปีสุดท้ายของการดำเนินกิจการ มีสัญญาณบวกที่แสดงถึงความต้องการใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้น</p><p>ดังนั้น การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเชียงใหม่จะต้องได้รับการอุดหนุนงบประมาณจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการจัดระเบียบรถสี่ล้อแดง หรือการสร้างรถโดยสารใหม่ สิ่งนี้จะช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนให้หันมาใช้บริ








