คนไทยหวั่นแรงงานพม่าครองเมือง? สุ่มสำรวจมุมมองชาวบ้านร้านตลาด
<span>คนไทยหวั่นแรงงานพม่าครองเมือง? สุ่มสำรวจมุมมองชาวบ้านร้านตลาด </span>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2024-10-28T12:37:13+07:00" title="Monday, October 28, 2024 - 12:37">Mon, 2024-10-28 - 12:37</time>
</span>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>จากการอภิปรายของ ‘ธิษะณา’ สส.พรรคประชาชน เสนอนโยบายแก้ไขปัญหาด้านสิทธิแรงงานข้ามชาติ และผู้ลี้ภัย จนเกิดเป็นกระแสต่อต้านบนโลกออนไลน์ ติดแฮชแท็ก #พรรคประชาชนพม่า และ สส.พม่า ปลิวว่อนทั่วโลกออนไลน์ แต่คำถามคือ 'คนทั่วไปคิดเช่นเดียวกับบนโลกออนไลน์หรือไม่'</p><p>จากข้อสงสัยดังกล่าวประชาไทลองเดินดุ่มสุ่มถามคนทั่วไป ท่ามกลางกระแสการต่อต้านแรงงานเมียนมาที่กำลังขยายตัว คนไทยมีความเห็นและรู้สึกต่อแรงงานพม่าอย่างไร มองชาวพม่าเข้ามาแย่งงานคนไทย หรือกังวลเรื่องปริมาณคนพม่าที่จะเข้ามาไทยเพิ่มขึ้นหรือไม่ หรือคิดเห็นอย่างไรเรื่องการเรียกร้องสิทธิแรงงานของชาวพม่า</p><h2>ประมวลไทม์ไลน์ จุดเริ่มต้นกระแสต่อต้านแรงงานพม่า</h2><h2>นโยบายแรงงานข้ามชาติพม่าที่ดี จะช่วยประเทศไทย</h2><p>จุดเริ่มต้นถึงกระแสต่อต้านชาวพม่าระลอกล่าสุด และเป็นที่มาของแฮชแท็ก #พรรคประชาชนพม่า หรือ สส.พม่า เกิดขึ้นเมื่อเดือนที่แล้ว (ก.ย. 2567) เมื่อธิษะณา ชุณหะวัณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) เขต 2 กทม. พรรคประชาชน ลุกขึ้นอภิปรายในการประชุมร่วม 2 สภาในวันแถลงนโยบายของรัฐบาล<a href="#พรรคประชาชนพม่า">แพทองธาร ชินวัต
https://live.staticflickr.com/65535/54099292133_4a096d18cf_b.jpg" width="1024" height="576" loading="lazy">ธิษะณา ชุณหะวัณ ลุกขึ้นอภิปรายเมื่อ 12 ก.ย. 2567 (ที่มา:
ยูทูบ TPchannel)</p><p>ธิษะณา เสนอว่า ไทยควรมีนโยบายด้านแรงงานข้ามชาติพม่าและผู้ลี้ภัย และชี้ว่าถ้าเราจัดการนโยบายเหล่านี้ได้ดี ‘จะเป็นคุณกับประเทศไทยมากกว่า’ เธอยกแนวนโยบาย เช่น การระดับสิทธิยกตัวอย่าง การให้การศึกษาแก่เด็กและเยาวชนพม่า แม้ว่าต้องใช้งบฯ เพิ่มขึ้น แต่เป็นการแก้ไขปัญหา และป้องกันไม่ให้เด็กตกเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ การบริการสาธารณสุข เพื่อป้องกันโรคระบาด</p><p>สส.พรรคประชาชน เสนอนโยบายสนับสนุนใบอนุญาตทำงานแก่บุคลากรทางการแพทย์เพื่อลดภาระสาธารณสุขไทย และให้มาดูแลคนไข้ชาวพม่า ตลอดจนเปิดให้ชาวพม่าเข้ามาทำงานในส่วนที่ไทยยังขาดแคลน เนื่องจากตอนนี้ไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย และต้องการคนวัยทำงานเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ</p><h2>‘พริษฐ์’ แจงแก้ปัญหาให้ตรงจุด ต้องให้เข้ามาอยู่ในระบบประกันสังคม</h2><p>ต่อมา พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.พรรคประชาชน ชี้แจงหลังเกิดกระแสต่อต้านหลังการอภิปรายของธิษะณา เรื่องสิทธิแรงงานพม่าว่า "แม้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนก็ต้องพูด" พร้อมเสนอให้นำแรงงานข้ามชาติพม่าทั้งหมดที่ผิดกฎหมาย ให้ขึ้นมาอยู่ในระบบ และเข้าถึงใบอนุญาตทำงานอย่างถูกกฎหมาย</p><p>สส.พรรคประชาชน ชี้ว่าการทำแบบนี้จะเป็นการแก้ไขที่ตรงจุด และเป็นประโยชน์ในการป้องกันปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน การค้ามนุษย์ และตอบโจทย์บริหารการจัดการแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบ </p><p>ทั้งนี้ พริษฐ์ เผยว่า ปัจจุบันมีคนงานพม่าอยู่ในประเทศไทยทั้งแบบถูกและผิดกฎหมาย ราว 6 ล้านคน ขณะที่
ข้อมูลจากกรมจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ระบุว่า ในเดือน ก.ย. 2567 มีแรงงานข้ามชาติ 4 สัญชาติ ประกอบด้วย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ที่มีใบอนุญาตทำงานทั่วประเทศอยู่ที่ 3,033,302 คน แต่อยู่ในระบบประกันสังคม ประมาณ 1.5 ล้านคนเท่านั้น</p><p>ข้อเสนอของพริษฐ์ ตรงกับแผนของพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่จะดึงแรงงานข้ามชาติ 4 สัญชาติเข้ามาอยู่ในระบบประกันสังคมทั้งหมด เพื่อให้จ่ายภาษีให้ประเทศไทย และต่อชีวิตของกองทุนประกันสังคมซึ่งมีแนวโน้มจะล้มละลายในอีก 30 ปีข้างหน้า </p><p>นอกจากประเด็นดังกล่าว เพจเฟซบุ๊กบางเพจได้หยิบยกคำพูดในอดีตของ
เซีย จำปาทอง สส.ปีกแรงงาน พรรคประชาชน จากรายการ
"ถกxเถียง นโยบายพรรคก้าวไกล แก้ปัญหาปากท้องได้จริงหรือ ของ Matichon TV" เผยแพร่เมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2566 ที่เสนอให้สิทธิเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมฝั่งผู้ประกันตนแก่แรงงานข้ามชาติ โดยให้เหตุผลว่าแรงงานพม่าเสียเงินเข้ากองทุนประกันสังคมเหมือนกับชาวไทย ก็ควรได้สิทธิดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งได้เกิดกระแสวิจารณ์ว่าต่อไปคงมี สส.พม่า หรือถกเถียงว่าแรงงานข้ามชาติจ่ายภาษีให้ประเทศไทยมากน้อยขนาดไหน</p><div class="note-box"><p>อนึ่ง กฎหมายแรงงานข้ามชาติบังคับให้แรงงานข้ามชาติทุกคนเข้าในระบบประกันสังคม เว้นเพียงผู้ที่เป็นแรงงานภาคเกษตร แรงงานทำงานบ้าน และผู้ที่ทำงานประมง</p></div><h2>กระแสต่อต้าน ผุดแฮชแท็ก #พรรคประชาชนพม่า</h2><p>แม้ว่าพรรคประชาชน ชี้ว่า การให้สิทธิแรงงานพม่าที่เข้ามาทำงานในไทยจะเป็นผลดีต่อรัฐไทยแต่ก็มีประชาชนไม่เห็นด้วย โดยเริ่มจากบนสื่อโซเชียลมีเดียผุดแฮชแท็ก พรรคประชาชนพม่า หรือ สส.พม่า เนื่องจากไม่พอใจที่ธิษะณา อภิปรายเรียกร้องสิทธิให้คนพม่า</p><p>บางคอมเมนต์ระบุว่า ‘สิทธิคนไทยยังได้ไม่เท่าเทียมเลยจะเอาคนพม่ามาเป็นภาระอีก’ ‘ฉันเสียภาษีให้คนไทย’ ‘คนไทยกำลังเดือดร้อนจากน้ำท่วม แต่อภิปรายให้สิทธิคนพม่า’ ขณะที่ผู้สนับสนุนพรรคประชาชนบางส่วนเห็นด้วยกับข้อเสนอขึ้นทะเบียนแรงงานพม่าให้ถูกกฎหมาย เพื่อเป็นการป้องกันการคอร์รัปชัน</p><p>ไม่เฉพาะในโลกออนไลน์ ในสนามการเมืองก็มีการต่อต้าน ยกตัวอย่าง
ชินภัสร์ กิจเลิศสิริวัฒนา อดีตรองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวหาว่า พรรคประชาชนตั้งใจให้สัญชาติไทยแก่แรงงานพม่าราว 6 ล้านคน เพื่อเอามาเป็นฐานเสียงเลือกตั้ง เมื่อเป็นรัฐบาลแล้วจะสนับสนุนรัฐบาลเงาของอองซานซูจีสู้กับเผด็จการพม่า กลายเป็นสงครามตัวแทน</p><h2>ฝ่ายขวาลุยดะ ยื่นหนังสือควบคุมปริมาณแรงงานพม่า จัดการคนก่ออาชญากรรม </h2><p>จากกระแสออนไลน์สู่กระแสออนไซด์ โดยเมื่อช่วงเดือน ก.ย.จนถึงต้นเดือน ต.ค. 2567 เครือข่ายภาคประชาชน ‘อนุรักษ์นิยม’ ในนาม "เครือข่ายราชภักดี" ร่วมด้วย "ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน" (ศปปส.) ได้ตระเวนยื่นหนังสือถึงหลายหน่วยงานรัฐทั้ง
กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
กระทรวงแรงงาน และอื่นๆ เพื่อเรียกร้องให้ภาครัฐมีมาตรการที่เข้มงวดในการจัดการปัญหาจำนวนคนพม่าในไทย ทบทวนมาตรการดึงแรงงานข้ามชาติและการให้สัญชาติ ปัญหาการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย และอื่นๆ </p><p>นอกจากนี้ เครือข่ายฯ มีความกังวลกับปริมาณแรงงานพม่าในประเทศไทย ปัญหาอาชญากรรมและภัยด้านความมั่นคง ไปจนถึงความไม่พอใจนโยบายต่างๆ ที่ผ่อนผัน และจะเป็นปัจจัยดึงดูดให้แรงงานพม่าเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้น และอาจเข้ามาแย่งอาชีพคนไทย</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54099021891_04f00a5c89_b.jpg" width="1024" height="708" loading="lazy">(ซ้าย) "ทรงชัย เนียมหอม" แกนนำประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบัน และ (ขวา) "อัครวุธ ไกรศรีสมบัติ" แกนนำอาชีวะราชภักดิ์ ระหว่างหารือกับ อารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (ที่มา:
เว็บไซต์กระทรวงแรงงาน)</p><h2>มองหลากมุม ทัศนคติคนทั่วไปต่อแรงงานพม่า</h2><p>หลุดจากโลกออนไลน์มาแล้ว มาดูคนทั่วไปคิดอย่างไรในประเด็นแรงงานพม่า ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สัมภาษณ์ประชาชนย่านราชเทวี กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นย่านที่มีชาวพม่าอาศัยอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะในเพชรบุรีซอย 10 ที่มีชื่อเล่นว่า ‘ซอยกิ่งเพชร’ พวกเขามักประกอบอาชีพทั้งลูกจ้างเฝ้าหน้าร้านขายของ ขายอาหารพม่า พนักงานบริการที่ห้างสรรพสินค้า ไปจนถึงงานรับจ้างอื่นๆ</p><p>จากการสัมภาษณ์พบว่าคนไทยไม่มีปัญหาเรื่องแรงงานพม่าที่เข้ามาทำงานถูกกฎหมาย แต่ยอมรับกังวลกับปริมาณแรงงานพม่าที่เข้ามาในไทย เพราะกังวลเรื่องการคุกคามและความปลอดภัย</p><p>'บ่าว' คนขับรถแท็กซี่จาก อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา วัย 54 ปี เขามักเปิดวิทยุฟังข่าวสารเวลาขับรถ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เขาทราบว่าที่ชาวพม่าอพยพเข้ามาในไทย เพราะที่ประเทศพม่ากำลังเผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจ</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54098135472_c3548e2d31_b.jpg" width="1024" height="577" loading="lazy">บ่าว คนขับแท็กซี่จากภาคใต้</p><p>คนขับแท็กซี่จากหาดใหญ่ ไม่เห็นด้วยที่แรงงานพม่าเข้ามาเป็นเจ้าของร้านขายของ เพราะมองว่าเป็นการแย่งอาชีพคนไทยและขัดกับกฎหมาย แต่ไม่ติดใจหากเข้ามาทำงานรับจ้างใช้แรงงาน</p><p>"ผมแอนตี้ที่คนพม่ามาเป็นนายจ้าง มาเปิดร้านค้าต่างๆ ทั่วไป มาแย่งอาชีพพ่อค้าแม่ค้าคนไทยเยอะมาก เขาทำได้ไงผมชักอยากจะรู้ มันเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่หรือเปล่า"</p><p>"คนพม่าเข้ามาได้แต่ต้องเข้ามาในทางที่ถูกต้อง และตามกฎหมาย คุณต้องมาใช้แรงงานเท่านั้น แต่ไม่ใช่มาเปิดร้านค้า ทำมาค้าขายไม่ได้” บ่าว คนขับแท็กซี่ กล่าว และเขาอยากให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายเรื่องนี้อย่างเข้มงวด</p><p>ทั้งนี้
พระราชกำหนดการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2561) ระบุว่า แรงงานข้ามชาติไม่สามารถเป็นเจ้าของกิจการได้ แต่ยังทำงานเฝ้าหน้าร้านค้า หรือรับจ้างใช้แรงงานได้</p><p>อย่างไรก็ดี ไม่นานมานี้
พิพัฒน์ รัชกิจประการ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ตอบปัญหานี้ว่า ทางกระทรวงแรงงานจะมีมาตรการป้องปรามแรงงานข้ามชาติ 4 สัญชาติ ที่ทำอาชีพสงวนคนไทยโดยเฉพาะการเป็นเจ้าของกิจการ โดยเริ่มจากการตักเตือนสื่อสารให้เข้าใจ แต่ถ้ายังฝ่าฝืน จะมีการปราบปรามอย่างเด็ดขาด ผลักดันกลับประเทศต้นทาง</p><p>'ปิ่น' แม่ค้าล็อตเตอรีอายุ 44 ปี เล่าว่า เธอมีประสบการณ์ทั้งดีและไม่ดีกับแรงงานข้ามชาติ บางส่วนที่เข้ามาทำงานถูกกฎหมายเธอไม่มีปัญหาอะไร และมีชาวพม่าที่รู้จักด้วย เขาก็เป็นคนนิสัยน่ารัก แต่เธอไม่พอใจที่มีแรงงานข้ามชาติบางส่วนแย่งที่พ่อค้า-แม่ค้าคนไทยขายของ</p><p>ปิ่น กล่าวว่า เธอมีเพื่อนขายของอยู่บนฟุตบาธบริเวณนี้ ซึ่งที่นี่จะแบ่งเป็น 2 รอบคือ เช้า และเย็น สมมติเวลาขายของบนทางเท้าต้องเสียค่าที่ให้กับเขต จะเป็นพื้นที่ล็อกใครล็อกมัน แต่วันดีคืนดีมีแรงงานข้ามชาติมาจากไหนไม่ทราบมาขายของทับที่คนอื่น พอเธอพยายามไปเตือนว่าขายไม่ได้ วันถัดมาก็เจอแรงงานข้ามชาติมา 4-5 คนมา ออกแนวคุกคาม ไม่ยอมไปขายที่อื่น เพราะเขาก็อ้างว่าเสียให้เจ้าหน้าที่เหมือนกัน แต่ไม่รู้ว่าเสียอะไร </p><p>แม่ค้าล็อตเตอรี ระบุว่า แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ชาวพม่า และเวียดนาม จะขายของโดยใช้รถเข็นตั้งร้าน สินค้าที่ขายมีตั้งแต่ไส้กรอกอีสาน ขนุนที่ปอกเป็นชิ้นๆ ทุเรียน และอื่นๆ </p><p>"เราเครียดอยู่นะเวลาเจอแบบนี้ เราไม่ได้อยากให้เขากลัว แต่มันน่าจะเกรงใจ เพราะว่าเราจ่ายเข้าเขต …ถ้าเขาจะมาขาย เราอยากให้เขาปฏิบัติตามกฎหมาย" ปิ่น กล่าว</p><p>นอกจากปัญหาข้างต้น แม่ค้าล็อตเตอรียอมรับว่ามีความกังวลเกี่ยวกับจำนวนแรงงานพม่าที่เข้ามาไทยเพิ่มขึ้น เพราะละแวกที่เธออาศัยมีชาวพม่าจำนวนมาก พอเขารวมตัวกันเยอะ เธอมีความรู้สึกว่าคนพม่าทำอะไรไม่เกรงใจ พูดคุยเสียงดังรบกวน หรือทะเลาะเบาะแว้งกันเอง เธอก็มีกังวลเรื่องความปลอดภัยด้วย ดังนั้น เธอเลยอยากให้เจ้าหน้าที่กวดขันการเข้าเมืองของคนพม่า อยากให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้</p><h2>หลายคนมองไม่แย่งงานคนไทย</h2><p>จากประเด็นที่ว่า ‘คิดว่าคนพม่าแย่งงานคนไทยหรือไม่’ พบว่าหลายคนไม่คิดว่าคนพม่าแย่งงานคนไทย เนื่องจากมีงานในไทยเยอะ แค่คนไทยอย่างเดียวไม่พอ หรือบางคนมองว่าคนไทยค่อนข้างเลือกงาน</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54099454695_122b8460e7_b.jpg" width="1024" height="577" loading="lazy">สะพานเฉลิมหล้า 56 หรือสะพานหัวช้าง</p><p>‘ไหม’ แม่ค้าอาหารริมทางวัย 36 ปี จากจังหวัดร้อยเอ็ด เธอไม่คิดว่าคนพม่ามาแย่งงานคนไทย เพราะว่าในไทยมีงานค่อนข้างเยอะ แค่คนไทยอย่างเดียวไม่พอ</p><p>"รู้สึกว่าไม่เห็นด้วยที่คนคิดอย่างนั้น(คนพม่าจะเข้ามาแย่งงานคนไทย) ถ้าเขาเข้ามาถูกกฎหมายก็โอเค ไม่ได้แย่งงานหรอก งานมันเยอะนะ" แม่ค้าจากร้อยเอ็ด กล่าว</p><p>ขณะที่พ่อค้า 'นิรนาม' ขอไม่เปิดเผยตัวตน เล่าว่า ช่วงที่ผ่านมาคนพม่าเข้ามาในไทยเยอะขึ้น และที่สนามกีฬาเดี๋ยวนี้มีแต่ชาวพม่าเล่นฟุตบอลและเตะตระกร้อ บางทีเขากังวลไม่กล้าพาลูกอ่อนไปหัดเดิน เพราะกลัวลูกบอลมาโดนลูก</p><p>เมื่อถามว่าคนพม่าแย่งงานคนไทยไหมในความคิดเขา พ่อค้ารายนี้ตอบอย่างฉะฉานว่าไม่คิดอย่างนั้น พร้อมสำทับว่าปัญหาอยู่ที่คนไทยเลือกงาน และยกตัวอย่างด้วยว่าถ้าไปดูคนล้างจานในศูนย์การค้า MBK (มาบุญครอง) ลูกจ้างในโรงงานทำน้ำส้มในซอย (พญานาค) หรือตามบ้านเรือน เป็นแรงงานพม่าหมด เพราะว่าคนไทยไม่ทำเอง</p><p>"ไปโทษเขาได้ไงว่ามาแย่งงานเราทำ ไอ้ประเด็นแย่งงานผมไม่เห็นด้วย เพราะว่าเราไม่ทำเอง …เขาได้หลายภาษาด้วย ภาษาอังกฤษเขายังปร๋อกว่าเรานะ" พ่อค้าคนเดิมแสดงความเห็น</p><p>พ่อค้านิรนาม เสริมว่า แรงงานพม่าไม่ได้เป็นแรงงานราคาถูกอย่างที่เข้าใจ พวกเขาได้ค่าแรงตามค่าจ้างขั้นต่ำ และถ้าพูดภาษาไทยได้ก็จะได้เงินเพิ่มขึ้นเป็นราว 500 บาทต่อวัน ทำงานสักพักออกมาเช่าห้องราคา 20,000 บาท คนไทยบอกแพง แต่คนพม่าเช่าไหว</p><h2>ไม่เห็นด้วยเรียกร้องสิทธิเท่าคนไทย</h2><p>จากการตระเวนพูดคุย พบว่าบางส่วนไม่เห็นด้วยกับการเรียกร้องสิทธิของชาวพม่าที่มากหรือเทียบเท่ากับคนไทย อย่าง 'หนุ่ม' พ่อค้าขายผลไม้รถเข็นอายุ 35 ปี กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมาติดตามข่าวที่มีกลุ่มคนไปยื่นหนังสือที่ต่างๆ ประกอบกับการลองศึกษาดูด้วยตัวเอง ซึ่งเขาไม่เห็นด้วยเรื่องการเรียกร้องสิทธิของคนพม่าที่ต้องการมากกว่าหรือเท่าเทียมกับคนไทย ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศ</p><p>ยกตัวอย่างว่า ข้อเรียกร้องของแรงงานพม่าที่บอกว่าคนที่เข้ามาผิดกฎหมายหรือหนีภัยการเมืองเข้ามาประเทศไทย ต้องทำบัตรอนุญาตทำงานหรือวีซ่าให้เขาเลย ลูกหลานถ้าเกิดที่นี่ต้องได้สวัสดิการเท่ากับลูกหลานคนไทยทุกอย่าง แบบนี้มันเกินกว่ากฎหมายที่ระบุไว้</p><p>"การเรียกร้องสิทธิมันเยอะเกินไป เยอะจนเขาลืมไปรึเปล่าว่าเขามาอาศัยอยู่ หรือมาตั้งกลุ่มแก๊งข่มเหงคนไทย ไม่โอเคเลย คนไทยบางคนได้สิทธิไม่เยอะเท่ากับที่เขาเรียกร้อง" หนุ่ม กล่าว</p><p>สำหรับพ่อค้าผลไม้ เขารับได้ถ้าแรงงานพม่าเข้ามาและยินยอมรับสิทธิตามที่กฎหมายมี อย่างไรก็ดี เท่าที่เขาพบเจอ แรงงานพม่าก็เข้ามาทำงานอย่างเดียว ไม่ได้มาเรียกร้องสิทธิอะไรที่เกินคนไทย </p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54098135467_94069663ec_b.jpg" width="1024" height="577" loading="lazy">'หนุ่ม' พ่อค้าขายผลไม้วัย 35 ปี</p><h2>แรงงานพม่าใช้สิทธิรักษาจากภาษีคนไทย (?)</h2><p>‘แนน’ ชาว อ.แม่สาย จ.เชียงราย อายุ 41 ปี เธอมาขายของเฉพาะช่วงวันหยุด ให้ความเห็นต่อประเด็นที่ว่า ‘คนพม่าใช้ภาษีคนไทยเป็นสิทธิรักษาพยาบาล’ หรือไม่ เธอคิดว่าชาวพม่าที่มารักษาในโรงพยาบาลรัฐ เป็นการใช้สิทธิประกันสังคม ถ้าเขาไม่มีสิทธิประกันสังคม คนพม่าก็ต้องจ่ายเงินเอง หรือบางคนอาจไม่กล้าไปโรงพยาบาล เพราะกลัวถูกตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจับตัวระหว่างทาง</p><p>“คนพม่าเขาจ่ายในส่วนของเขาเสียประกันสังคมทุกเดือนอย่างที่เราเสียเงินเหมือนกัน นายจ้างจ่ายในส่วนของเขา ไม่ได้มาแย่งอะไร ส่วนคนไทยมีสิทธิเยอะกว่าคนพม่าอยู่แล้ว โดยเฉพาะสิทธิบัตรทองที่เอาเงินงบประมาณของรัฐบาลมาจ่าย ซึ่งคนพม่าเข้าไม่ถึง บางคนเขาไม่เข้าใจ” แม่ค้าเชียงราย กล่าว</p><p>ทั้งนี้ ประกันสังคม ม.33 เป็นการจ่ายสมทบจาก 3 ฝ่าย ได้แก่ ลูกจ้าง (แรงงานพม่า) นายจ้าง และภาครัฐ แต่ถ้าแรงงานข้ามชาติมาทำงานเป็นแม่บ้าน ทำงานประมง หรือแรงงานภาคการเกษตร จะไม่ได้เข้าระบบประกันสังคม</p><p>แนน ยังเล่าให้ฟังด้วยว่า บ้านของเธออยู่แม่สาย ทำให้เธอรู้จักและคุ้นเคยกับชาวพม่ามานาน สมัยเด็กเธอมีพี่เลี้ยงเป็นชาวพม่า และตัวเธอเองอยากศึกษาในสาขาวิชาพม่าศึกษาที่เชียงรายด้วย แต่สอบไม่ติด เธอกล่าวว่าส่วนตัวไม่กังวลที่คนพม่าจะเข้ามาในประเทศ</p><p>"บางคนเขาก็กลัวที่นี่เป็นชุมชนโบราณ เรียกว่าชุมชน ‘บ้านครัว’ คนที่นี่เขาจะปล่อยบ้านเช่า ส่วนใหญ่ก็เป็นคนพม่ามาเช่า และคนพม่าก็ไปใช้ชีวิตรวมกลุ่มในลานกีฬา พวกลุง-ป้าไม่ค่อยให้หลานออกไปเล่น ความรู้สึกเขาคงไม่อยากให้ไปเล่นแถวนั้น แต่ข้อเท็จจริงคนพม่าเขาก็ไม่อะไรนะ เขาก็คนปกติเหมือนกับเรา" แม่ค้าจากเมืองเชียงราย กล่าว </p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54098135477_1cda462a79_b.jpg" width="1024" height="577" loading="lazy">แนน ชาวเชียงราย</p></div>
<div class="node-taxonomy-container">
<ul class="taxonomy-terms">
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือ
http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88" hreflang="th">เศรษฐกิ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" hreflang="th">สังค
http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">แรงงา
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยช
http://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" hreflang="th">ต่างประเท
http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" hreflang="th">แรงงานข้ามชาต
http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">แรงงานต่างด้า
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">กระทรวงแรงงา
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99" hreflang="th">ประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบั
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B5" hreflang="th">อาชีวะราชภักด
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" hreflang="th">กระทรวงการต่างประเท
http://prachatai.com/category/%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%B0%E0%B8%93%E0%B8%B2-%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AB%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%93" hreflang="th">ธิษะณา ชุณหะวั
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8" hreflang="th">พริษฐ์ วัชรสินธ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">พรรคประชาช
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1" hreflang="th">อนุรักษ์นิย
http://prachatai.com/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1" hreflang="th">ชาตินิย
https://prachataistore.net</div>
http://prachatai.com/journal/2024/10/111207 







