[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 กรกฎาคม 2568 17:52:28 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เปิดใจ ‘นักศึกษาพม่า’ ในไทย ธุรกิจการศึกษาบูม หลังพม่าบังคับเกณฑ์ทหาร  (อ่าน 155 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2567 16:38:34 »

เปิดใจ ‘นักศึกษาพม่า’ ในไทย ธุรกิจการศึกษาบูม หลังพม่าบังคับเกณฑ์ทหาร
 


<span>เปิดใจ ‘นักศึกษาพม่า’ ในไทย ธุรกิจการศึกษาบูม หลังพม่าบังคับเกณฑ์ทหาร</span>
<span><span>See Think</span></span>
<span><time datetime="2024-10-31T20:18:06+07:00" title="Thursday, October 31, 2024 - 20:18">Thu, 2024-10-31 - 20:18</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>เรื่อง: ศิชา รุ่งโรจน์ธนกุล</p><p>ภาพปก: กิตติยา อรอินทร์</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>สำรวจแนวโน้มการอพยพของชนชั้นกลางพม่า เจาะลึกชีวิต ‘นักศึกษาพม่า’ ที่เข้ามาเรียนต่อไทยจำนวนมาก หลังจากที่พม่าบังคับเกณฑ์ทหาร ดูเหมือนไทยจะกลายเป็นทางผ่านด้านการศึกษาของหนุ่มสาวพม่าจำนวนมาก ก่อนจะเดินทางไปยังประเทศที่ 3&nbsp;</p><h2>เฟรชชี่จากรัฐฉาน</h2><p>นักศึกษาชาติพันธุ์ไทใหญ่ ชั้นปีที่ 1 จากมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ให้สัมภาษณ์กับประชาไท เธอขอใช้นามแฝงว่า&nbsp;หลาว (Lao) ที่แปลว่า ดาว ในภาษาไทใหญ่</p><p>หลาว วัย 20 ปี เรียนสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วิทยาลัยนานาชาติ เพิ่งมาถึงเมืองไทยเมื่อไม่นาน หลังจากที่รัฐบาลพม่าประกาศใช้กฎหมายบังคับเกณฑ์ทหารพลเรือน ท่ามกลางความระส่ำระสายทางการเมือง</p><p>กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้ผู้ชายที่อายุตั้งแต่ 18-35 ปี และผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 18-27 ปี ต้องรับใช้กองทัพเป็นเวลา 2 ปี</p><p>“ตอนที่ฉันมาไทยถือว่าง่ายและราบรื่น มหาวิทยาลัยช่วยจัดหาเอกสารทุกอย่างสำหรับขอวีซ่านักศึกษา มันจึงไม่ยากสำหรับฉัน แต่ว่าสำหรับเพื่อนๆ ในมหาวิทยาลัยอื่นหรือคนที่ไปเรียนต่อประเทศอื่น สำหรับพวกเขาขั้นตอนมันยุ่งยากมาก”</p><p>เธอเป็นหนึ่งในผู้หญิงจำนวนน้อย อีกทั้งยังเป็นคนเดียวในรุ่นที่มีพื้นเพจากเมืองแสนหวี ทางตอนเหนือของรัฐฉาน ท่ามกลางอีก 90% ของเพื่อนในรุ่นที่มาจากพม่าเหมือนกัน ส่วนมากเป็นเพศชายและมาจากนครย่างกุ้ง บ้างจบปริญญาตรีสาขาอื่นมาแล้ว แต่ก็ใช้สถานะนักเรียนเป็นใบเบิกทางย้ายประเทศ</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>กองทัพพม่าจับกุมผู้อพยพราว 200 คนที่เมืองมะริด ระหว่างข้ามมาไทย บังคับเกณฑ์ทหารมากกว่าครึ่ง</li><li aria-level="1">กองทัพพม่ามีแผนเกณฑ์ชายอายุ 35+ เป็น 'ทหารกองหนุน' หลังเสียกำลังพลอย่างหนัก</li></ul></div><p>แรกเริ่มหลาวสมัครไปถึง 3 มหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ แต่ลงเอยที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้เพราะมหาวิทยาลัยมอบทุนให้ครอบคลุมค่าเล่าเรียน 50% จนจบสี่ปีการศึกษา ท่ามกลางนักเรียนส่วนใหญ่ที่ครอบครัวจ่ายได้ทั้งหมด</p><p>อย่างไรก็ตาม ค่าเทอมส่วนที่เหลือและค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนก็ยังมากเกินไป หลาวผู้ใช้ภาษาอังกฤษ ไทใหญ่ และพม่าได้คล่องแคล่ว จึงแอบรับงงจังเป็นล่ามและแปลเอกสาร แม้เงื่อนไขของวีซ่านักเรียนต่างชาติจะไม่อนุญาตให้ทำงงจัง</p><p>ย้อนไปก่อนที่จะมีเหตุการณ์รัฐประหารพม่าในปี 2564 หลาวมีชีวิตวัยรุ่นตามปกติ เธอฝันอยากเป็นหมอ เนื่องจากเห็นความสูญเสียจากเหตุการณ์สู้รบในรัฐฉานจึงอยากช่วยเหลือคนบวกกับความหวังว่าเงินเดือนของหมอจะช่วยยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวได้ อาจพูดได้ว่าหากไม่มีการรัฐประหาร เธอคงกำลังเรียนคณะแพทย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ</p><p>ความไม่สงบทางการเมืองหลังรัฐประหารทำให้หลาวไม่อยากเรียนต่อในมหาวิทยาลัยของรัฐ เธอตกอยู่ในสภาวะเคว้งๆ หมดหนทางอยู่พักหนึ่งก่อนทิ้งความฝันเดิมแล้วมุ่งมั่นเรียนเตรียมสอบ GED หรือ General Educational Development การสอบเทียบวุฒิ ม.ปลาย (ม.6) ในระบบอเมริกัน เพื่อใช้ยื่นเข้าเรียนต่อปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ</p><p>“ในอนาคตฉันอยากใช้เทคโนโลยีเพื่อสืบทอดภาษาไทใหญ่ ซึ่งเป็นมรดกของชุมชนของเราเอาไว้”</p><p>หลาวเรียนเตรียมสอบกับองค์กรภาคประชาสังคมเพื่อสิทธิด้านการศึกษาของชาวไทใหญ่ และได้ทำงานเป็นครูอาสาสมัครที่นั่น 2 ปี ก่อนจะย้ายมาเมืองไทย ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนยังอยู่กับเธอแม้ในวันที่ต้องไกลบ้านแบบนี้ เธอกล่าวถึงเป้าหมายพร้อมบอกด้วยว่าหลังเรียนจบจะหางานและพาตัวเองไปประเทศที่สามให้ได้</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54106650696_b1fbc2b877_b.jpg" width="720" height="960" loading="lazy">&nbsp;</p><p class="picture-with-caption">หลาวในชุดนักศึกษา</p><h2>ปลอดภัย-ได้เรียนเต็มที่</h2><p>“ฉันสังเกตว่าการเรียนที่ไทยจะมีภาคปฏิบัติมากกว่า ถ้าเทียบกับในพม่าที่เรามักได้เรียนภาคทฤษฎีเป็นส่วนมาก ที่ไทยก็ยังให้การสนับสนุนนักศึกษาต่างชาติมากๆ ด้วย มันทำให้ฉันปรับตัวง่ายขึ้น”</p><p>ตุลา* นักศึกษาปีที่ 2 สาขาเคมีประยุกต์ จากมหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงราย และผู้มีความหลากหลายทางเพศ กล่าวว่าการย้ายมาที่นี่ทำให้รู้สึกมั่นคงปลอดภัยมากขึ้น โฟกัสกับการเรียนได้เต็มที่ แตกต่างจากบรรยากาศในพม่าอย่างสิ้นเชิง</p><p>เช่นเดียวกันกับหลาว ตุลาได้รับทุนค่าเล่าเรียนจากมหาวิทยาลัย ต่างไปตรงที่ตุลาต้องเก็บชั่วโมงฝึกงานเป็นบาริสต้าในมหาวิทยาลัยตามเงื่อนไขของทุน โดยบางเดือนอาจได้ค่าตอบแทนเล็กน้อยราว 500-800 บาท ในส่วนค่าครองชีพยังต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากครอบครัว</p><p>ตุลาสะท้อนว่าอุปสรรคใหญ่ที่สุดของนักศึกษาจากพม่า คือความยุ่งยากในการทำเอกสารและวีซ่า บ่อยครั้งที่กระบวนการติดขัดจนล่าช้า อย่างไรก็ตาม เพื่อนๆ จากพม่าต่างเข้าใจและช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54107099540_08a7cd578e_b.jpg" width="768" height="1024" loading="lazy">&nbsp;</p><p class="picture-with-caption">ตุลาในชุดฝึกงานบาริสต้า</p><h2>เริ่มเรียนใหม่หลังรัฐประหารทำสะดุด</h2><p>“ฉันรีบเตรียมเอกสารแบบฉุกละหุก เพราะกว่าจะเห็นประกาศรับสมัครทุนก็เหลือเวลาแค่เดือนเดียว ตอนนั้นสมัครแค่มหาวิทยาลัยนี้ที่เดียว แล้วก็ได้เลย จริงๆ ตอนแรกฉันสนใจไปอเมริกาด้วย แต่ว่าการขอวีซ่านั้นยากมากจริงๆ และมันก็ไกลจากบ้านเกินไป ถ้าเทียบกับเมืองไทยที่ฉันสามารถเจอพ่อกับแม่ได้ง่ายๆ เมื่อคิดถึงบ้าน”</p><p>เมย์* นักศึกษาปีสุดท้ายจากสาขาธุรกิจระหว่างประเทศ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี&nbsp;เล่าย้อนถึงช่วงที่สมัครเรียนต่อ&nbsp;เธอจะเรียนจบในอีก 6 เดือนข้างหน้าและกำลังมองหางานด้านธุรกิจและการตลาดออนไลน์</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54107099545_81b7796e79_b.jpg" width="768" height="1024" loading="lazy"><p>&nbsp;</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54107301109_7e0c40d2fe_b.jpg" width="1024" height="768" loading="lazy">เมย์&nbsp;</p><p>เธอเป็นหนึ่งในนักเรียนทุนเพียงไม่กี่คนในรุ่น โดยได้ทุนค่าเล่าเรียน 50% จากมหาวิทยาลัยจนจบการศึกษา ครอบครัวของเมย์สามารถจ่ายส่วนที่เหลือรวมถึงค่าครองชีพ เมย์จึงสามารถทุ่มเวลาทั้งหมดไปกับการเรียนและกิจกรรม</p><p>กิจกรรมของเมย์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท อย่างแรกคือ การเป็นสต๊าฟในอีเวนต์ของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขของทุน อย่างที่สองคือ การเข้าร่วมแข่งขันด้านธุรกิจและค่ายเยาวชน ซึ่งอย่างหลังนี้เธอหวังว่ามันอาจช่วยให้เธอได้งานดีๆ ในอนาคต</p><p>“ตอนนี้สถานการณ์ในพม่าเข้าแย่ลงกว่าเดิม ถ้าเรากลับไปที่นั่น ฉันไม่แน่ใจว่าเราจะออกมาอีกได้หรือเปล่า”</p><p>ชีวิตมหาวิทยาลัยของเมย์ไม่ได้เริ่มที่นี่เป็นครั้งแรก ก่อนหน้านี้เธอเรียนอยู่ชั้นปีที่ 3 เอกภาษาไทย มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศ ย่างกุ้ง (Yangon University Of Foreign Languages) ทว่าเกิดการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลให้มหาวิทยาลัยจำต้องหยุดการเรียนการสอน หลังจากนั้นก็เกิดเหตุการณ์รัฐประหารตามมา</p><p>เช่นเดียวกับวัยรุ่นจำนวนมาก เธอลงถนนประท้วงและร่วมแคมเปญรณรงค์ทางออนไลน์อยู่หลายเดือน ต่อมามหาวิทยาลัยกลับมาเปิดอีกครั้ง ทว่าเมย์ตัดสินใจไม่เรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเดิมอีกต่อไป เนื่องจากอาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งได้ลาออกไปร่วมกับกลุ่มต่อต้าน ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร รวมถึงความรู้สึกผิดต่อเพื่อนในวัยเดียวกันที่ต้องหลุดจากระบบการศึกษาทำให้เมย์มองหาทางเรียนต่อต่างประเทศ</p><p>พื้นเพของเมย์เป็นชาวไทใหญ่-พม่าจากนครย่างกุ้ง พ่อทำงานเป็นวิศวกรในบริษัทเอกชน ส่วนแม่เป็นแม่บ้าน เธอบอกด้วยว่าถ้าสุดท้ายหางานไม่ได้ในเมืองไทยก็จะย้ายไปประเทศที่สาม</p><h2>กลับไม่ได้ หางานก็ไม่ง่าย</h2><p>การเดินทางกลับประเทศยิ่งเป็นเรื่องเสี่ยงอันตรายสำหรับนักศึกษาที่มีพื้นเพเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมือง พวกเขามีแนวโน้มกระจุกตัวตามคณะสายสังคมศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยทางภาคเหนือของไทย&nbsp;</p><p>“ผมมาที่นี่ในปี 2566 ตอนแรกคิดว่าเรียนจบแล้วก็จะกลับบ้าน เพราะว่าตอนนั้นกองทัพพม่ายังไม่ได้นำกฎหมายเกณฑ์ทหารกลับมาใช้ แต่หลังจากที่ปีนี้ มีการประกาศใช้กฎหมายเกณฑ์ทหาร ตอนนั้นแหละผมคิดจะอยู่ต่อเมืองไทย เพราะผมกลับไปไม่ได้แล้ว”</p><p>คำบอกเล่าจาก โม* วัยยี่สิบปลายผู้เคยเป็นนักกิจกรรมทางการเมือง เขากำลังเรียนปริญญาโท หลักสูตรระยะสั้น ด้านนโยบายสาธารณะ</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54106650011_95fc0fa330_b.jpg" width="944" height="880" loading="lazy"> &nbsp;โม</p><p>ตัวเขาเก็บหน่วยกิตครบแล้ว แต่เลือกที่จะยืดระยะเวลาจบการศึกษาออกไปตราบเท่าที่เกณฑ์มหาวิทยาลัยกำหนด นี่เป็นวิธีที่นักศึกษาจากพม่าจำนวนหนึ่งต้องทำ เพราะต้องการคงสถานะนักศึกษาเพื่ออยู่อาศัยและหางานทำ ขณะนี้โมยังคงหางานไม่ได้ ยังต้องพึ่งพาเงินที่ครอบครัวส่งมาให้ทุกเดือนราวๆ 10,000 บาท</p><p>ย้อนไปสมัยเรียนมหาวิทยาลัย โมมีบทบาทเป็นประธานสหภาพนักศึกษา หลังเรียนจบจากสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยดะโก่ง เขาได้ทำงานด้านการพัฒนาชนบทในองค์การระหว่างประเทศเป็นเวลา 3 ปี ประสบการณ์ในสายงานกลายมาเป็นใบเบิกทางให้ได้ทุนค่าเล่าเรียนเต็มจำนวน หากปราศจากทุนการศึกษา เขาก็คงออกมาได้ยาก</p><p>“ช่วงหลังรัฐประหาร ตอนนั้นสถานการณ์มันแย่แบบที่ผมไม่รู้จะอธิบายด้วยคำไหน การมีชีวิตอยู่แต่ว่าไม่มีความหวังก็เหมือนกับตายทั้งเป็น คนหนุ่มสาวเริ่มรู้สึกว่าทำไมเราต้องมาเสียเวลาอยู่ในประเทศแบบนี้ จะเป็นยังไงถ้าเราหาทางไปต่างประเทศและเริ่มชีวิตใหม่อีกครั้ง”</p><p>แม้โมจะเป็นนักเรียนหัวกะทิพร้อมประสบการณ์ทำงาน แต่การหางานสายเดิมในไทยก็นับเป็นเรื่องยาก เขาพบว่ากำแพงภาษายังคงเป็นอุปสรรคสำคัญ บางองค์กรระหว่างประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ยังคงกำหนดให้แคนดิเดตต้องใช้ภาษาไทยได้ด้วย เกณฑ์ข้อนี้ก็ทำเขาตกม้าตาย อีกทั้งยังต้องแข่งขันกับชาวต่างชาติคนอื่น โดยเฉพาะนักศึกษาจากพม่าที่ก็อยู่ในภาวะดิ้นรนเอาตัวรอดไม่ต่างกัน</p><p>เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา&nbsp;กระทรวงมหาดไทยประกาศขยายเวลาพำนักในประเทศไทยให้นักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาเรียนระดับปริญญาตรีขึ้นไป ที่ได้รับการตรวจลงตรา Non-Immigrant Visa รหัส ED หลังสำเร็จการศึกษา 1 ปี เพื่อหางาน เดินทางท่องเที่ยว หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ในประเทศไทยได้</p><p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54106660026_c0275fb2e1_b.jpg" width="1024" height="1024" loading="lazy"> <img src="https://live.staticflickr.com/65535/54106999789_f4de617a49_b.jpg" width="1024" height="1024" loading="lazy"></p><h2>แนวโน้มการอพยพ</h2><p>พิมพ์ ไชยสาส์น เลขานุการเอก ฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงย่างกุ้ง ให้สัมภาษณ์กับประชาไทถึงความท้าทายในการทำงานตรวจลงตรา ระบุว่า นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมาที่ทางการพม่านำกฎหมายเกณฑ์ทหารกลับมาบังคับใช้ คนหนุ่มสาวหลั่งไหลขอวีซ่าเข้าไทยมากเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ สถิติการตรวจลงตรานักเดินทางชาวพม่าทุกประเภท พุ่งขึ้นไปถึงวันละ 800 คน ซึ่งเต็มกำลังของสถานเอกอัครราชทูตแล้ว จากเดิมที่การตรวจลงตราจะมีประมาณวันละ 200 คน โดยพีคที่สุดแค่ช่วงเปิดเทอม</p><p>&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54107131280_d1fceaf3af_b.jpg" width="1024" height="768" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">คนหนุ่มสาวแห่ขอวีซ่าเข้าไทย หลังรัฐบาลประกาศกฎหมายเกณฑ์บังคับทหารพลเรือน&nbsp;</p><p class="picture-with-caption">ภาพจาก&nbsp;เฟซบุ๊กกัณวีร์ สืบแสง</p><p>พิมพ์อธิบายภาพรวมของนักศึกษากลุ่มนี้ว่านับเป็นชนชั้นกลางค่อนบน จากหัวเมืองใหญ่ๆ อาทิ ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ เป็นต้น กระทั่งกลุ่มที่ได้ทุนจากมหาวิทยาลัยไทยก็ยังต้องมีฐานะประมาณหนึ่ง</p><p>กลุ่มแรกนักศึกษาส่วนใหญ่มักเลือกเรียนในมหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งการแข่งขันสอบเข้าไม่ได้สูงมากเทียบเท่ามหาวิทยาลัยของรัฐ ส่วนอีกกลุ่มที่มีงบจำกัดลงมา อาจเลือกเรียนมหาวิทยาลัยเอกชนตามแนวชายแดน หรือเลือกเรียนหลักสูตรระยะสั้น เช่น คอร์สภาษาไทยและอังกฤษ ด้วยเหตุผลเรื่องที่พักอาศัยหรือมีญาติพี่น้องอยู่บริเวณนั้น ส่วนชนชั้นนำอาจส่งลูกไปเรียนได้ไกลถึงประเทศตะวันตก</p><p>อีกหนึ่งอย่างที่สะท้อนให้เห็นความต้องการเรียนต่อไทยที่เพิ่มมากขึ้นก็คือ ผลตอบรับจากงาน Thailand Education Fair (Myanmar) เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานมากถึง 3,600 คน</p><p>ในงานมีการออกบูธของสถาบันการศึกษาหลายสิบแห่ง แนะนำหลักสูตรและขั้นตอนการสมัคร ตลอดจนทุนการศึกษาต่างๆ โดยเป็นโครงการความร่วมมือของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศกับสมาคมศิษย์เก่าพม่าที่จบจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย (Association of Myanmar Alumni from Universities in Thailand - AMAUT)</p><p>ในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ จะมีการจัดงาน Thailand Education Fair (Myanmar) ครั้งที่ 8 จากผลตอบรับของงานครั้งที่แล้วค่อนข้างจะพลุแตก ครั้งนี้จึงขยายระยะเวลางานเป็น 2 วัน โดยคาดการณ์ว่าจะมีผู้เข้าร่วมประมาณ 5,000-7,000 คน</p><p>พิมพ์กล่าวด้วยว่า แม้จะมีเทรนด์อพยพของกลุ่มนักศึกษาเพิ่มขึ้น แต่ตัวเลขในอนาคตก็อาจไม่ได้เปลี่ยนไปจากที่เป็นอยู่ เนื่องจากสัดส่วนชนชั้นกลางค่อนบนไม่ได้ใหญ่มากนัก รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำทางสังคม</p><p>&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54105780507_b80cf25dd6_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">นักเรียนและผู้ปกครองเข้าร่วมงาน Thailand Education Fair (Myanmar) ครั้งที่ 7 เมื่อเดือนเมษายน 2567</p><p class="picture-with-caption">ภาพจากสมาคมศิษย์เก่าพม่าที่จบจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทย</p><h2>พม่าพยายามดึงคนกลับไปเกณฑ์ทหาร ?</h2><p>เมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา&nbsp;รัฐบาลทหารพม่าประกาศว่า สถานเอกอัครราชทูตพม่าประจำกรุงเทพมหานคร หรือ กงสุลพม่าในจังหวัดเชียงใหม่ จะไม่ต่อหนังสือเดินทางให้นักศึกษาพม่าที่กำลังศึกษาอยู่ในประเทศไทยด้วยวีซ่านักเรียนระยะสั้น โดยนักศึกษากลุ่มนี้ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางเพื่อต่อหนังสือเดินทางฉบับใหม่เท่านั้น</p><p>หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่ามาตรการดังกล่าวเป็นความพยายามของรัฐบาลทหารพม่าในการให้คนรุ่นใหม่กลับประเทศเพื่อเรียกตัวเข้าเกณฑ์ทหารหรือไม่</p><p>แม้ว่าจะยังไม่มีรายงานถึงผลกระทบจากมาตรการนี้ แต่นักศึกษากลุ่มที่ประชาไทได้พูดคุยล้วนรู้สึกกังวลใจกับสถานะการอยู่อาศัยของพวกเขาในอนาคตอันใกล้</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>69 อาจารย์มหา’ลัยส่งจม.เปิดผนึกถึงนายกฯ ยื่น 5 ข้อเรียกร้องช่วยเหลือนักศึกษาพม่าที่ได้รับผลกระทบ</li><li>ชาวพม่า – นักกิจกรรม เชียงใหม่ เรียกร้องยกเลิก 'ประหารชีวิต' 7 น.ศ. ต้านรัฐประหารในพม่า</li></ul></div><p><strong>บทความนี้ได้รับการสนับสนุนโดย IOM ผ่านโครงการทุนเพื่อการรายงานข่าวเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐาน</strong></p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88" hreflang="th">เศรษฐกิhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2" hreflang="th">การศึกษhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" hreflang="th">ต่างประเทhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" hreflang="th">พม่http://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" hreflang="th">นักศึกษาพม่http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3" hreflang="th">กฎหมายเกณฑ์ทหาhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2" hreflang="th">ธุรกิจการศึกษhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B8%95-%E0%B8%93-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%87" hreflang="th">สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">กระทรวงมหาดไทhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2024/10/111238
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.146 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 29 มิถุนายน 2568 12:19:32