[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 กรกฎาคม 2568 18:30:44 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่อง รำฉุยฉาย  (อ่าน 646 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 6104


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 พฤศจิกายน 2567 19:59:24 »



เรื่อง รำฉุยฉาย


คำว่า “ฉุยฉาย” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ เป็นคำนาม มีความหมายว่า ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงร้อง หากเป็นคำวิเศษณ์จะมีความหมายว่า กรีดกราย เมื่อนำมาใช้ในการแสดงนาฏศิลป์ จากรูปแบบของการแสดงที่ปรากฏในปัจจุบันจึงสามารถสรุปความหมายของคำว่าฉุยฉายได้ว่า เป็นเพลงไทยประเภทร้องที่ใช้ประกอบการแสดงลีลาท่าทางในการเยื้องย่างกรีดกรายอย่างสง่างามของตัวละคร

รำฉุยฉาย เป็นการรำอวดฝีมือประเภทหนึ่ง ปรากฏในตอนที่ตัวละครต้องการชื่นชมความงามของตน แสดงความภาคภูมิใจที่สามารถแต่งตัวได้อย่างงดงาม หรือแสดงความพึงพอใจที่สามารถแปลงกายให้เปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิมได้ ไม่ว่าจะเปลี่ยนจากยักษ์เป็นมนุษย์ เปลี่ยนจากลิงเป็นยักษ์ หรือเปลี่ยนเพศจากหญิงเป็นชาย ดังนั้นผู้ที่จะสามารถรำฉุยฉายได้จึงต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการรำขั้นสูง อีกทั้งยังต้องมีความเชี่ยวชาญ ได้รับการฝึกฝนพื้นฐานทางนาฏศิลป์มาเป็นอย่างดี และมีประสบการณ์ทางนาฏศิลป์มามากพอสมควร เนื่องจากเพลงรำฉุยฉายจะต้องมีการใช้ท่วงทีและลีลาทางนาฏศิลป์ที่งดงามตามเอกลักษณ์ในแต่ละตัวละคร รวมถึงต้องสอดแทรกอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครเข้าไปในลีลาท่าทางและการแสดงออกทางสีหน้า จึงจะเป็นการแสดงรำฉุยฉายที่งดงามสมบูรณ์

จากการศึกษาหลักฐานที่ค้นพบ คำว่าฉุยฉายปรากฏอยู่ในท่ารำแม่บทใหญ่ ชื่อว่า “ฉุยฉายเข้าวัง” ในสมุดภาพตำรารำ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ ฉุยฉาย ยังปรากฏเป็นเพลงอยู่ในบทละคร เรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่มีการบรรจุเพลงฉุยฉายอยู่ในบทพระราชนิพนธ์ ดังมีตัวอย่างความว่า

               “ชมตลาด
          เป็นมานพน้อยทรงลักษณ์
          ผิวพักตร์พริ้มเพริศเฉิดฉาย
          ส่งศรีประเสริฐเลิศชาย
          กรายกรเข้าถ้ำคีรี ฯ
               ฯ ๒ คำ ฯ ฉุยฉาย”
(บทละคร เรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เล่ม ๓)

นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับคำกล่าวของ ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ที่ได้กล่าวไว้ในหนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพคุณหญิงเทศ นัฏกานุรักษ์ เรื่องลักษณะแห่งนาฏศิลป์ของไทย มีใจความว่า “ฉุยฉาย เป็นเพลงหน้าพาทย์ในหมวดหมู่สำหรับความสนุกสนานเบิกบานใจ ใช้แสดงความหมายสำหรับความภาคภูมิใจ เมื่อได้แต่งตัวใหม่หรือเมื่อได้แปลงตัวให้งดงามกว่าเดิม”

จากหลักฐานที่ปรากฏ สรุปได้ว่าเพลงฉุยฉาย เป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้บรรเลงต่อจากบทร้องเช่นเดียวกับเพลงหน้าพาทย์อื่นๆ แสดงให้เห็นถึงความสนุกสนาน เบิกบาน อีกทั้งยังเป็นการโอ้อวด หรือภาคภูมิใจที่สามารถแปลงกายหรือแต่งตัวได้อย่างสมบูรณ์งดงาม นอกจากนี้เพลงฉุยฉายยังแสดงให้เห็นถึงการใช้จริตและลีลาท่าทางในการเยื้องย่างกรีดกรายอย่างสง่างามของตัวละคร เสริมอรรถรสในการแสดงละครมากยิ่งขึ้น

ภายหลังจึงมีหลักฐานการบรรจุบทร้องเข้าไปในเพลงฉุยฉาย ปรากฏอยู่ในบทมโหรีเรื่องกากีของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่มีการนำเพลงฉุยฉายและเพลงแม่ศรีมาบรรจุบทร้อง แต่หลังจากนั้นรำฉุยฉายมีการเปลี่ยนแปลงมาอย่างไร รวมถึงมีการนำเพลงแม่ศรีเข้ามาบรรเลงเป็นเพลงต่อจากเพลงฉุยฉายได้อย่างไร จนกระทั่งเพลงรำฉุยฉายมีรูปแบบการบรรเลงและขับร้องอย่างในปัจจุบันนั้น ไม่มีหลักฐานการเปลี่ยนแปลงปรากฏแน่ชัด ทำให้เพลงฉุยฉายในรูปแบบเพลงหน้าพาทย์ไม่นิยมนำมาใช้อีก


โครงสร้างการบรรจุเพลงของการแสดง “รำฉุยฉาย”

การบรรจุเพลงของการแสดงรำฉุยฉาย สามารถแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ดังนี้

๑. เพลงรำออก เป็นเพลงที่ใช้สำหรับให้นักแสดงรำออก โดยส่วนใหญ่แล้วเพลงรำฉุยฉายมักจะใช้ เพลงรัว เป็นเพลงรำออก เนื่องจากเป็นเพลงที่สื่อความหมายถึงการแสดงอิทธิฤทธิ์ในการแปลงกาย หรือใช้เพลงฉุยฉายเป็นเพลงรำออก นอกจากเพลงรัวและเพลงฉุยฉายแล้วยังสามารถบรรจุเพลงรำออกด้วยเพลงอื่นๆ ตามความสอดคล้องของตัวละคร เช่น เพลงรัวพม่า สำหรับตัวละครเชื้อชาติพม่า เป็นต้น

๒. เพลงฉุยฉาย มีบทร้อง ๒ บท มักขึ้นต้นด้วยคำว่า “ฉุยฉายเอย” หรือใช้คำที่บ่งบอกลักษณะหรือชื่นชมความงามของตัวละครนั้นๆ เช่น สุดสวยเอย วายุบุตรเอย หลังจบแต่ละบาท ปี่ในจะเป่ารับ โดยเป่าเลียนเสียงตามคำร้องทุกคำ และเมื่อจบ ๑ บท วงปี่พาทย์จะบรรเลงรับด้วยเพลงฉุยฉายก่อนจะขึ้นร้องเพลงฉุยฉายหรือเพลงแม่ศรีในท่อนถัดไป 

๓. เพลงแม่ศรี มีบทร้อง ๒ บท มักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “แม่ศรีเอย” หรือคำที่ใช้ชื่นชมความงามของตัวละครนั้น ๆ เช่น อรชรเอย น่ารักเอย หลังจบแต่ละบาท จะมีปี่ในเป่ารับเลียนเสียงตามคำร้อง และเมื่อจบ ๑ บท วงปี่พาทย์จะบรรเลงรับเพลงแม่ศรี

๔. เพลงรำเข้า เป็นเพลงที่ใช้สำหรับให้นักแสดงรำเข้า โดยส่วนมากจะใช้เพลงเร็ว-ลา เป็นเพลงรำเข้า หรือสามารถบรรจุเพลงอื่น ๆ ตามเชื้อชาติของตัวละครได้ เช่น เพลงเสมอพม่า เป็นต้น

จากโครงสร้างการบรรเลงเพลงรำฉุยฉายที่กล่าวมานั้น เป็นลักษณะของการรำฉุยฉายแบบเต็ม นอกจากนี้ยังมีลักษณะการรำฉุยฉายที่แตกต่างกันออกไปอีกคือ รำฉุยฉายแบบตัด และรำฉุยฉายพวง ซึ่งทั้ง ๓ ลักษณะจะมีรูปแบบการบรรเลงและขับร้องที่คล้ายกัน แต่รำฉุยฉายแบบตัด จะตัดบทร้องเพลงฉุยฉายและเพลงแม่ศรีเหลือเพียงเพลงละ ๑ บทเท่านั้น ในขณะที่รำฉุยฉายพวง จะตัดการเป่าปี่รับออก เนื่องจากรำฉุยฉายพวงปรากฏอยู่ในการแสดงละครดึกดำบรรพ์ ซึ่งไม่มีการเป่าปี่ประกอบการแสดง จึงคงไว้แต่เพียงปี่พาทย์บรรเลงรับในแต่ละบทเท่านั้น


รูปแบบการรำฉุยฉาย

จากที่กล่าวมาข้างต้นว่า รำฉุยฉาย เป็นการรำอวดฝีมือของตัวละครที่ต้องการชื่นชมความงามของตน จึงมักปรากฏเป็นการแสดงรำเดี่ยวที่มุ่งเน้นถึงตัวละครนั้นๆ แต่นอกจากจะเป็นการแสดงรำเดี่ยวแล้ว รำฉุยฉายยังสามารถจัดแสดงได้มากกว่า ๑ คนขึ้นไป ตามความสอดคล้องของบทบาทตัวละครและบทประพันธ์ ซึ่งสามารถจำแนกได้ ดังนี้

๑. รำฉุยฉายแบบเดี่ยว มักจะถูกบรรจุอยู่ในบทการแสดงโขนหรือละครเป็นชุดเป็นตอน หรือแสดงเป็นชุดเอกเทศได้ บทประพันธ์จะกล่าวถึงตัวละครใดตัวละครหนึ่ง มีเนื้อความในการชื่นชมความงามหลังจากแปลงกายหรือการแต่งตัว อีกทั้งยังบอกเล่าวัตถุประสงค์ในการแปลงกายหรือการแต่งตัว หรือกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของตัวละครนั้น ๆ เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจตัวละครมากขึ้น เช่น ฉุยฉายพราหมณ์ ฉุยฉายวันทอง ฉุยฉายอินทรชิตแปลง ฉุยฉายบุเรงนอง ฉุยฉายสมิงพระราม เป็นต้น

๒. รำฉุยฉายแบบคู่ หากเป็นฉุยฉายที่บรรจุอยู่ในบทการแสดงโขนหรือละคร ก็มักจะเป็นการกล่าวถึงความงามของตัวละครที่มีบทบาทปรากฏเป็นคู่กัน เช่น ฉุยฉายหลวิชัย-คาวี หรือหากไม่ได้เป็นการกล่าวถึงความงามของตัวละครใด ก็มักจะมีเนื้อหากล่าวถึงความงามและลักษณะเด่นของละครรำประเภทต่าง ๆ หรือเป็นการรำเบิกโรงก่อนที่จะเริ่มการแสดงละครในชุดต่อไป เช่น ฉุยฉายกิ่งไม้เงินทอง เป็นต้น


๓. รำฉุยฉายแบบหมู่ เป็นการรำฉุยฉายที่มีผู้แสดงมากกว่า ๒ คนขึ้นไป นิยมแสดงเป็นชุดเอกเทศ หากเป็นการกล่าวถึงลักษณะของตัวละคร ก็มักจะกล่าวถึงความงามหรือลักษณะเด่นของตัวละครแต่ละตัว เช่น รำชุมนุมฉุยฉาย ที่จะมีการกล่าวถึงความงามของตัวละครทั้ง พระ นาง ยักษ์ ลิง และพราหมณ์ หรือรำฉุยฉายละครนอก ที่กล่าวถึงลักษณะเด่นของละครนอก นอกจากนี้ยังสามารถจัดแสดงในรูปแบบการรำฉุยฉายอวยพร ที่มีบทประพันธ์กล่าวถึงการอวยพรให้เกิดความสิริมงคล โดยใช้รูปแบการบรรเลงและขับร้องแบบรำฉุยฉาย


ที่มา (ข้อมูล/ภาพ) : สำนักการสังคีต กรมศิลปากร

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.304 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 24 มิถุนายน 2568 12:42:06