'ทลายมายาคติ-เลือกปฏิบัติการจ้างงานคนพิการ' นักสิทธิเห็นพ้องต้องเริ่มแก้ไขจากกฎหมาย
<span>'ทลายมายาคติ-เลือกปฏิบัติการจ้างงานคนพิการ' นักสิทธิเห็นพ้องต้องเริ่มแก้ไขจากกฎหมาย</span>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2024-11-25T14:04:54+07:00" title="Monday, November 25, 2024 - 14:04">Mon, 2024-11-25 - 14:04</time>
</span>
<div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>ภาพปก: บรรยากาศงานเสวนา </p></div>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>วงคุยเปิดปมปัญหา 'มายาคติตีตรา ช่องโหว่-การบังคับใช้ทางกฎหมาย' ทำผู้พิการเข้าไม่ถึงสิทธิการจ้างงาน นักสิทธิฯ เห็นพ้อง การทลายปัญหาต้องเริ่มที่การแก้กฎหมายบนหลัก 'เข้าถึง' และ 'ช่วยเหลืออย่างสมเหตุสมผล'</p><p> </p><p>เมื่อ 8 พ.ย. 2567 สำนักข่าวประชาไท ร่วมด้วย ThisAble.me จัดเสวนา "งาน การเดินทาง อิสรภาพ: อุปสรรคและมายาคติที่คนพิการเจอ" ดำเนินรายการโดยมีนลัทพร ไกรฤกษ์ บรรณาธิการ ThisAble.me และมีวิทยากรร่วมพูดคุยดังนี้</p><ul><li aria-level="1">เสาวลักษณ์ ทองก๊วย นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิสตรีพิการ ประสบอุบัติเหตุแล้วนั่งวีลแชร์ตอนอายุ 27 ปี ปัจจุบันทำงานเป็นสมาชิกคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิคนพิการ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการของสมัชชาคนพิการอาเซียน สมาคมสตรีพิการ เด็กพิการ และครอบครัว</li><li aria-level="1">ผศ.ดร. ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สอนเรื่องสิทธิคนพิการ และมีความสนใจเรื่องความสามารถในการเข้าถึง (Acessibiliy) การออกแบบที่เป็นสากล (Universal Desig) การเลือกปฏิบัติ (Discrimination) ความเสมอภาค (Equality) และกฎหมายการเดินอากาศ</li><li aria-level="1">อรรถพล ศรีชิษนุวรานนท์ ปัจจุบันทำงานอยู่ที่ศูนย์การดำรงชีวิตอิสระคนพิการพุทธมลฑล โดยใช้แนวคิดการดำรงชีวิตอิสระคนพิการเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก นอกจากนี้ยังมีความสนใจด้านการแสดง การเคลื่อนไหวทางภาคสังคม</li></ul><h2>ช่องโหว่ทางกฎหมายของการจ้างงานคนพิการ</h2><p>"พอเราไปสมัครงาน คุณรู้ไหมว่าเราไม่เคยได้ถูกสัมภาษณ์หรอกค่ะ เพราะเราเขียนว่ามีความพิการ (ใบสมัคร) มันลงตะกร้าหมด จนกระทั่งมาได้งานๆ หนึ่ง ซึ่งงานนี้เขารับเชิญไปทำ เป็นโรงแรมในจังหวัดพิจิตร เจ้าของโรงแรมเป็นพ่อของเพื่อน เป็นธุรกิจครอบครัว เขาเห็นว่าเราเคยทำงานธนาคารมาก่อนเลยชวนให้ไปทำบัญชี พี่ก็ได้ไปทำงาน ได้ค่าตอบแทนตามยุคสมัยนั้น เนี่ยถือเป็นมาตรการเฉพาะที่ครอบครัวเพื่อนจัดให้ เขาไม่ได้ดูว่าเราเป็นคนพิการ แต่ดูว่าเราเป็นคนที่มีศักยภาพ และก็เป็นเพื่อนของลูก"</p><p>เสาวลักษณ์ เล่าประสบการณ์การทำงานส่วนตัวเมื่อราว 30 ปีก่อนว่า ก่อนจะเริ่มขยับมาทำงานเคลื่อนไหวด้านนโยบายเกี่ยวกับคนพิการ</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54153529823_b455d6a821_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">เสาวลักษณ์ ทองก๊วย</p><p>เสาวลักษณ์ กล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงในการจ้างงานคนพิการที่ชัดเจนคือมี พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ประกอบด้วยมาตรา 33 34 และ 35 โดยมาตรา 33 กำหนดให้เอกชนจ้างงานแบบสัดส่วน 100 : 1 (พนักงานทั่วไป 100 คน : พนักงานพิการ 1 คน) หากบริษัทที่ไม่ต้องการจ้างงานตามสัดส่วนนั้นก็ใช้มาตรา 34 จ่ายเงินค่าปรับเข้ากองทุนพัฒนาคนพิการ หรือมาตรา 35 จ้างคนพิการทำงานสาธารณะประโยชน์ในพื้นที่ทั่วไป ทำให้คนพิการมีโอกาสถูกจ้างงานมากขึ้น เพราะมีกฎหมายกำกับและมีผลบังคับ</p><p>ดังนั้น เราจึงเห็นคนพิการออกมาใช้ชีวิตข้างนอกมากขึ้น มีโอกาสในการทำงานมากขึ้นผ่านการจ้างงานตามกฎหมายดังกล่าว คนพิการถูกพูดถึงในกระแสสังคมมากขึ้นในแง่มุมต่างๆ ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย</p><p>แม้จะเริ่มมีกฎหมายรองรับ มีการยกระดับกรมประชาสงเคราะห์เป็นกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตัดคำว่า ‘สงเคราะห์’ ออกไปเพราะต้องการเป็นรัฐสมัยใหม่ แต่ผ่านไป 17 ปี ระเบียบปฏิบัติไม่ได้ปรับเปลี่ยนในเนื้อหาสำคัญ เช่น การกีดกัน การจำกัดสิทธิ การสร้างเงื่อนไขให้คนพิการไม่ถูกกล่าวถึงในกฎหมาย การเข้าไม่ถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ</p><p>เช่น มาตรา 1 ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้คำนิยามไว้แค่ความพิการ โดยปราศจากเรื่องเพศสภาพ อายุ ชาติพันธุ์ ศาสนา ถิ่นที่อยู่ แสดงให้เห็นว่าไม่มีมิติของความเป็นมนุษย์ เวลารัฐบาลต้องรายงานสถิติคนพิการจึงไม่มีจำแนกประเภทที่ละเอียดเพียงพอ จำแนกเพียงเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ ซึ่งเอามาใช้งานไม่ได้</p><p>แม้แต่จำนวนคนพิการที่รายงานโดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ก็ต่ำกว่าของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พก. ระบุว่ามี 2.2 ล้านคน สำนักงานสถิติฯ ระบุว่า 4.4 ล้าน เพราะสำนักงานสถิตินับจากคนพิการที่มีบัตรและไม่มีบัตร แต่ พก.นับจากคนมาทำบัตร แสดงให้เห็นว่าจำนวนสถิติมีปัญหา เมื่อไปดูจำนวนคนพิการที่ได้งานจึงเชื่อถือไม่ได้ อีกทั้งยังไม่สามารถเอามาวางแผนการส่งเสริมการจ้างงาน การส่งเสริมการศึกษา ซึ่งมีผลต่อตัวเลขคนพิการที่เข้าสู่ตลาดแรงงานทั่วไปได้</p><p>นอกจากนี้ ยังมีปัญหาว่า แม้มีบัตรคนพิการก็ไม่ได้แปลว่าได้สิทธิประโยชน์อัตโนมัติ ต้องไปแสดงเจตจำนงในทุกเรื่องแม้แต่เบี้ยคนพิการก็ต้องไปแสดงเจตจำนงก่อน ยังไม่นับเรื่องทัศนคติที่มักไม่คิดว่างานที่คนพิการทำคือเนื้องาน หลายครั้งคนพิการถูกรับเชิญไปงานต่างๆ แต่ไม่ได้ค่าเดินทาง ไม่ได้ค่าวิทยากร</p><p>ประเด็นสุดท้าย กฎหมายการจ้างงานคนพิการที่มีเงื่อนไขและล็อกสเปกทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติทุกมาตรา เกิดช่องว่างให้บุคคลที่ 3 เป็นตัวแทนคนพิการเข้ามาจัดการ โดยเฉพาะมาตรา 33 และ 35 เพราะเราไม่มีระบบจับคู่ตำแหน่งว่างกับผู้สมัครที่พิการ บริษัทจึงต้องพึ่งพาบุคคลที่ 3
เมื่อการจ้างงานมาตรา 33 ทำยาก มาตรา 34 ที่กำหนดให้จ่ายค่าปรับเข้ากองทุนพัฒนาคนพิการแทนการจ้างงานก็ได้รับความนิยมอยู่พักหนึ่ง เพราะเอกชนทำได้ง่ายกว่า จนกองทุนมีเงินเป็นหมื่นๆ ล้าน แต่ผ่านมาระยะหนึ่งบริษัทเริ่มท้อในการส่งเงินเข้ากองทุน เพราะนายจ้างมองไม่เห็นว่าคนพิการได้ประโยชน์อะไร ไม่มีรายงานว่าเงินที่จ่ายในมาตรา 34 สร้างคุณประโยชน์อะไร ทำให้นายจ้างหันมาใช้มาตรา 35 เลยกลายเป็นวัฏจักรที่หน่วยงานภาครัฐก็ไปพูดเชียร์มาตรา 35 พร้อมนำเสนอเทคนิคทางกฎหมาย </p><p>หากคนพิการถูกเลือกปฏิบัติจากการจ้างงานให้ไปร้องที่คณะกรรมการวินิจฉัยด้วยเหตุแห่งเพศ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ที่อยู่ภายใต้กฎหมายคนพิการที่มีอนุฯ ขจัดการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งความพิการ และสามารถไปที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ก่อนที่จะให้เรื่องดำเนินศาลแพ่งหรือศาลอาญา และต้องได้รับการพิสูจน์ว่าเสียหายหรือกำลังเสียหาย</p><h2>กฎหมายระหว่างประเทศไม่สามารถใช้วินิจฉัยในศาลไทยได้</h2><p>ด้านอาจารย์ลลิน ยกตัวอย่างคำวินิจฉัยประเทศอินเดียเรื่องที่วิกัส กุมาร (Vikash Kumar) ผู้พิการชาวอินเดีย ฟ้องหน่วยงานจัดสอบราชการที่ไม่ให้โจทก์สอบ เพราะเป็นคนพิการทางการเคลื่อนไหวแล้วขอคนช่วยเขียนคำตอบ โดยให้เหตุผลว่าตามกฎแล้วมีเพียงคนตาบอดเท่านั้นที่ขอคนช่วยเขียนคำตอบได้</p><p>“ถ้าคนพิการที่มีความสามารถ ไม่สามารถเข้าถึงการสอบแข่งขันได้เพียงเพราะว่าติดขัดข้อกำหนดจัดหาวิธีการที่เหมาะสมในการสอบ ไม่ใช่แค่คนพิการที่เสียโอกาส คนที่แพ้ที่สุดในเรื่องนี้คือ หน่วยงานจัดสอบราชการ เพราะปฏิเสธโอกาสของประเทศชาติที่จะได้คนมีความสามารถอยู่ในระบบ” ส่วนหนึ่งในคำวินิจฉัยของศาลอินเดีย ซึ่งอาจารย์ลลิลระบุว่ามีความก้าวหน้าอย่างมาก</p><p>นอกจากนี้ ศาลอินเดียใช้ความคิดเห็นทั่วไปของคณะกรรมการสิทธิคนพิการเรื่องการช่วยเหลือคนพิการที่สมเหตุสมผลมาตัดสิน ผลการตัดสินคดีความออกมาว่า หน่วยงานจัดสอบราชการต้องจัดหาคนช่วยเขียนให้ แต่สำหรับศาลไทยกลับไม่เป็นเช่นนั้น</p><p>อาจารย์ลลิล หยิบยกคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดของประเทศไทย เรื่อง นักโทษขอปลดตรวน เนื่องจากคดีอยู่ระหว่างการอุทธรณ์และฎีกา และศาลปกครองกลางวินิจฉัยในปี 2564 กรณีที่ชาวต่างชาติจ่ายค่ารักษาพยาบาลแพงกว่าชาวไทยเป็นการเลือกปฏิบัติ โดยทั้ง 2 เรื่องนำสนธิสัญญาหรือกฎหมายระหว่างประเทศ การเป็นรัฐภาคีของไทยมาร่วมพิจารณา แต่ถูกปัดตก เพราะศาลไทยไม่รู้กฎหมายต่างประเทศ และยังไม่นำอนุสัญญามาปรับเป็นกฎหมายภายใน</p><p>อย่างไรก็ดี เสาวลักษณ์ เสริมในส่วนที่ศาลมีการปรับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ โดยหยิบยกคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยเรื่อง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 26 ว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ </p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54153529818_fc54b6ed25_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">ลลิน ก่อวุฒิกุลรังศี</p><p>ทั้งนี้ ในวันที่ 29 ก.ค. 2551 ประเทศไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการสหประชาชาติและปฎิบัติตามพันธกรณีที่ระบุไว้ในอนุสัญญาตั้งแต่วันที่ 28 ส.ค. 2551 (วันที่ให้สัตยาบันเป็นรัฐภาคี) หน่วยงานรัฐมีหน้าที่ตามพันธกรณีข้อ 27A กำหนดห้ามการเลือกปฏิบัติคนพิการทุกด้านเกี่ยวกับการจ้างงาน และข้อ G หลักเกณฑ์การรับคนเข้าทำงานต้องคำนึงถึงด้วย
ขณะที่ประกาศรับสมัครข้าราชการตุลาการและผู้ช่วยผู้พิพากษาระบุว่า ผู้สมัครต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามคือ กายหรือจิตใจไม่เหมาะสม การกำหนดลักษณะการรับผู้สมัครเช่นนี้อยู่ในกรอบกฎหมายคนพิการและสอดคล้องกับอนุสัญญาซึ่งนำไปสู่การเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้น ผลวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจึงออกมาว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 30 วรรค 3</p><p>ที่ผ่านมาคณะกรรมการมนุษยชนแห่งชาติแถลงมีข้อเสนอแนะให้กับ พก. ปรับกฎหมายคนพิการให้เป็นตามมาตรฐานสากล หรือ CRPD แต่ 2 ปีแล้วข้อเสนอแนะยังไม่นำมาพูด ยังไม่เห็นว่าหน่วยงานฝ่ายนิติบัญญัติและบริหารเคลื่อนไหวอะไร องค์กรคนพิการถูกจำกัดสิทธิเลยไม่เกิดความเคลื่อนไหว คนพิการในประเทศถูกเลือกปฏิบัติแบบเงียบๆ</p><h2>'ทัศนคติ' จุดตั้งต้นทำให้การจ้างงานคนพิการเป็นเรื่องยาก</h2><p>"แนวคิดการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการจะช่วยสร้างความเสมอภาคทางโอกาสในการคิดและตัดสินใจให้แก่คนพิการ การมีอยู่ของผู้ช่วยคนพิการ (Personal Assistant) หรือ PA คือผู้ช่วยที่ไม่คิดและตัดสินใจแทน แต่คนพิการก็ต้องเคารพผู้ช่วยในฐานะมนุษย์คนหนึ่งเหมือนกัน ไม่ใช่ไปจิกหัวใช้เขา ผมอาจจะเอื้อมหยิบของชั้นบนไม่ถึง ซึ่งผมอาจจะต้องการ PA มาช่วยบางเวลา คนพิการก็ไม่ได้อยากรบกวนใคร" อรรถพล กล่าว</p><p>หลังจากนั้น อรรถพล กล่าวถึงอคติและทัศนคติที่เป็นอุปสรรคต่อการจ้างงานคนพิการว่ามี 2 เรื่องหลักคือ 1.คนพิการไร้ซึ่งความสามารถ ไร้ซึ่งความคิดและการตัดสินใจด้วยตัวเอง 2. เรื่องบาปบุญ ที่เป็นความเชื่อถูกส่งต่อมาอย่างยาวนานและยังอยู่อย่างเหนียวแน่น</p><p>ตอนที่เจ้านายผมชวนให้กลับมาทำงาน ผมถามทำไมอยากให้ผมกลับไปทำงานทั้งที่ผมพิการ ถ้าเขาจ้างผมเพราะสงสารคงไม่ไป แต่เขาว่าคุณยังทำงานได้</p><p>อรรถพล ชี้ว่า หากทำให้ผู้คนมีวิธีคิดเช่นนี้ได้ ก็อาจไม่ต้องไปเริ่มต้นที่นโยบาย ไม่ต้องไปเริ่มต้นที่กฎหมาย ไม่ต้องไปเริ่มต้นจากผู้นำประเทศคนไหน มันเริ่มต้นเกิดจากแนวคิดหรือวิธีคิดของคนทำธุรกิจหรือจ้างงานเอง ถ้าทำไม่ได้ก็หาวิธีการแก้ไข</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54153698240_4b59069c76_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">อรรถพล ศรีชิษนุวรานนท์</p><p>นอกจากนี้ ที่ผ่านมายังไม่เคยเห็นนโยบายส่งเสริมอาชีพคนพิการไทยเลย ทั้งมีพวกเขามีศักยภาพ มีเพียงไม่กี่อาชีพที่พูดถึงกัน เช่น ขายล็อตเตอรี นักกีฬาพาราลิมปิก</p><p>"หากรัฐบาลและคนทำงานด้านคนพิการมีวิธีคิดโดยการสนับสนุนให้เขามีชีวิตอิสระได้ ผมว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สนับสนุนให้มีชีวิตต่อไป ซึ่งก็ยอมรับกฎหมายเป็นตัวที่ทำให้ทัศนคติปรับเปลี่ยนเร็วขึ้น ถ้าไม่มีกฎหมายแล้วรอให้ทัศนคติปรับเปลี่ยนเป็นไปได้ยาก"</p><p>ด้านเสาวลักษณ์ กล่าวโดยหยิบยกตัวอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งไม่ได้เป็นรัฐภาคีกับ CRPD เพราะมั่นใจว่ากฎหมายคุ้มครองคนพิการของอเมริกา (The Americans with Disabilities Act : ADA) ดีอยู่แล้ว โดยเห็นได้จาก มาตรา 1 การเลือกปฏิบัติต่อคนพิการในการจ้างงานทำไม่ได้ ตั้งแต่ประกาศรับสมัครงาน การสัมภาษณ์ การได้งานทำ การเลื่อนขั้น และการปรับเปลี่ยนสถานที่ทำงาน ถ้าคนพิการรู้สึกว่าเลือกปฏิบัติสามารถฟ้องได้ภายใน 180 วัน และถ้ามีลูกจ้าง 15 คนขึ้นไปต้องจ้างงานคนพิการ 1 คน ไม่อย่างนั้นถือเป็นการเลือกปฏิบัติ</p><p>นอกจากนี้ ยังหยิบยกประสบการณ์ตรงตอนไปกินอาหารจีนที่รัฐหนึ่งในสหรัฐอเมริกาแล้วถูกปฏิเสธรับคนพิการเข้าร้าน เพราะพื้นที่แคบและขาดสิ่งอำนวยความสะดวก แขกในร้านเห็นก็ลุกขึ้นแล้วบอกว่า เจ้าของร้านทำแบบนี้สามารถเขาฟ้องได้ ทำให้เจ้าของร้านหน้าเสีย หลังจากนั้นไปร้านเดิมอีกรอบพบว่าทำทางลาด และต้อนรับคนพิการเข้าร้าน เรื่องนี้ทำให้เห็นว่ากฎหมายทำให้เกิดกระบวนการปรับเปลี่ยนสถานที่ กระบวนการทางสังคม และการสร้างความตระหนักรู้เกิดขึ้น</p><h2>ความคาดหวัง ความฝัน ของคนพิการ</h2><p>เสาวลักษณ์ หวังว่า กฎหมายต้องปรับให้ทันสมัยเท่าที่ทำได้ รูปธรรมคือต้องตัด พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มาตรา 35 วรรค 3 เรื่องการเลือกปฏิบัติในกฎหมายส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการออก แผนยุทธศาสตร์ชาติควรแสดงถึงการปฏิบัติเรื่องคนพิการที่ทำได้จริงโดยลำดับความสำคัญ และองค์กรคนพิการเข้มแข็ง</p><p>นักเรียน นิสิตนักศึกษาทุกระดับชั้นควรได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและพันธกรณีระหว่างประเทศเพื่อทำลายมายาคติว่า สิทธิมนุษยชนเกี่ยวข้องกับความมั่นคง ความเป็นจริงเป็นคนละเรื่องกัน หากคุณภาพชีวิตของคนพิการไม่ดี คนพิการถูกเลือกปฏิบัติ คนพิการถูกจำกัดสิทธิ ก็จะไม่มีความมั่นคงเกิดขึ้น</p><p>“สิ่งหนึ่งของไทยที่เราเห็นว่ามันขาดคือ ความสามารถในการเข้าถึง (Accessibility) และการช่วยเหลือที่สมเหตุสมผล (Reasonable Accommodation) ซึ่งไม่มีเขียนในกฎหมายไทย การที่คนพิการจะเข้าถึงสิ่งต่างๆ ได้หมายถึงเราต้องปรับสภาพสังคม มีการออกแบบที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงได้ (Universal Design) อย่างเช่น มีบันไดต้องมีทางลาด มีบันไดเลื่อน มีลิฟต์ เวลาเดินทางเราถือของหนักๆ เราก็อยากลงลิฟต์ ซึ่งมันไม่ใช่แค่สำหรับคนพิการ มันสำหรับทุกคน” สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ยังทำให้ฝันของอาจารย์ลลิน ไม่เป็นจริง</p><p>อาจารย์ลลิล กล่าวว่า เวลาเดินทางด้วย BTS หรือ MRT แล้วมีช่องว่างระหว่างชานชาลาควรหาแผ่นมาวางปิดช่องให้เข็นวีลแชร์เข้าไปได้ นี่จึงเป็นวิธีการการช่วยเหลือที่สมเหตุสมผล หรือการเข้าถึงข้อมูลต้องคำนึงว่าทุกคนจะเข้าถึงได้ อย่างเอกสารราชการหรือคำพิพากษาพิมพ์เป็นไฟล์ .word .pdf แต่เวลาเผยแพร่เอกสารกลับปรินต์ออกมาแล้วสแกนกลับเข้าไปเป็นภาพ คนตาบอดก็อ่านไม่ได้ ฟอนต์และสระเพี้ยน แทนที่จะใช้ไฟล์ที่โปรแกรม Screen Reader อ่านได้ตั้งแต่ทีแรก</p><p>“สิ่งเหล่านี้เป็นการเข้าถึงสำหรับทุกคน มันคือการออกแบบที่เป็นสากล เรื่องนี้อยากให้หน่วยงานของรัฐทำแล้วมีการเผยแพร่” อาจารย์ลลิน กล่าว</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54153698475_cd96171653_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">บรรยากาศงานเสวนา</p><p>อาจารย์ลลิล กล่าวอีกว่า ต่อมาอยากเห็นการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มแข็ง จริงจัง กล้าเลือกมาตรการอย่างเคร่งครัด จะเห็นได้จากกระทรวงคมนาคมของสหรัฐอเมริกาปรับเงินสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ (American Airlines) จำนวน 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเงิน 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เข้าสู่รัฐบาล ส่วนที่เหลือให้สายการบินเอาไปทำระบบรถเข็นคนพิการให้ดี ชดเชยความเสียหายให้กับคนที่ร้องเรียน แล้วต้องต้องรายงานให้กระทรวงฯ ตามระยะเวลาที่กำหนดหรือรายงานเป็นระยะๆ เพื่อให้เห็นว่านำเงินไปใช้ตามวัตถุประสงค์จริง</p><p>เรื่องใหญ่ที่หวังที่สุดคือ เรื่องทัศนคติและการมีส่วนร่วมคนพิการและไม่พิการอยู่ร่วมกันได้โดยคิดว่าเรื่องการเข้าถึงและการช่วยเหลือที่สมเหตุสมผลเป็นหมุดหมายสำคัญที่จะได้ปรับทัศนคติที่เกิดขึ้น</p><p>ส่วนอรรถพล มีภาพความหวัง 3 ระยะ คือ 1. อยากเห็นคนพิการที่รู้สึกว่าตัวเองมีปัญหาเรื่องการจ้างงานไม่เป็นธรรม แล้วส่งเสียงออกมาดังจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ยิน </p><p>2. ภาพความหวังระยะกลาง คือ อยากเห็นภาพทางสังคมและการเมืองเปิดโอกาสรับแนวคิดการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ</p><p>3. ภาพความหวังระยะท้ายคือ แก้รัฐธรรมนูญใหม่ ประชาธิปไตยและแนวคิดของการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการเป็นเรื่องเดียวกัน ถ้ารัฐธรรมนูญถูกออกแบบไม่ให้เกิดการรัฐประหาร เชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นหนทางที่จะช่วยลดอคติเรื่องคนพิการลดลงได้</p></div>
<div class="node-taxonomy-container">
<ul class="taxonomy-terms">
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่า
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยช
http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3" hreflang="th">สิทธิผู้พิกา
http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C-%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A2" hreflang="th">เสาวลักษณ์ ทองก๊ว
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B8%B5" hreflang="th">ลลิน ก่อวุฒิกุลรังษ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%9E%E0%B8%A5-%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C" hreflang="th">อรรถพล ศรีชิษนุวรานนท
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิการจ้างงา
http://prachatai.com/category/thisableme" hreflang="th">thisable.me[/url]</li>
</ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->
<div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า
https://prachataistore.net</div>
http://prachatai.com/journal/2024/11/111488 







