[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 12:42:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เพ่งนิมิตจิตมุทรา : มันดาล่า อสังขตภาวมณฑล  (อ่าน 2092 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554 10:02:29 »




อสังขตภาวมณฑล


ขอให้เรามาพูดกันต่อเรื่องบูรณภาพ อันเป็นพื้นที่หมดจดนั้นมีแง่มุม อยู่หลากหลายด้วยกัน ในบูรณภาพแห่งอสังขตภาวมณฑลนั้นมีอยู่หลาก หลาย มีธาตุมูลแห่งการรองรับเกื้อหนุนและยังมีธาตุมูลแห่งความแผ่ กว้างไพศาล การรองรับเกื้อหนุนในที่นี้ได้กลายเป็นวิริยะไป ด้วยเหตุ ที่การรองรับเกื้อหนุนยอมให้พื้นที่ว่างแผ่ขยายครอบคลุมทั้งยังยอมให้ สิ่งต่าง ๆ เติบใหญ่ขึ้นภายในที่ว่างนั้น ยามที่พรรณพฤกษาและตฤณชาติ เติบโตงอกงาม ที่ว่างนั้นย่อมมีส่วนร่วมอยู่ในความเติบใหญ่ ในพลัง ประการนั้นด้วย หากปราศจากที่ว่างพื้นฐานนี้แล้วก็ไม่อาจมีต้นไม้หรือ หญ้าต้นใดหรือพลังประการใดเติบใหญ่งอกงามขึ้นมาได้


การรองรับเกื้อหนุนคือแง่มุมของความมีประสิทธิภาพ ส่วนอีกแง่มุม หนึ่งของพื้นที่ว่างก็คือการยอมรับ อันเป็นคุณลักษณ์ซึ่งเอื้อให้สิ่งต่าง ๆ เติบโตแผ่ขยายจนสุดศักยภาพของมัน


ในการพูดถึงหลักการทั้งห้าแห่งพุทธะนี้ เรามิได้ระบุว่ามีเพียงหลัก การอันเป็นเอกเทศอยู่เพียงห้าประการเท่านั้น ทว่ามันเป็นเพียงแง่มุม แห่งบูรณภาพพื้นฐานซึ่งรองรับเกื้อหนุนสิ่งต่าง ๆ และเอื้อให้มันอุบัติ ขึ้น ดังนั้นมันจึงมิได้เป็นเพียงคุณลักษณ์แห่งพุทธะห้าประการเท่านั้น หากแต่มันเป็นแง่มุมห้าประการแห่งบูรณภาพ เราเพียงพูดถึงสภาพ การณ์หนึ่งเดียวจากห้าแง่มุมที่แตกต่างกัน


ดังนั้นบูรณภาพนี้จึงมีคุณลักษณ์พื้นฐานอยู่สองประการด้วยกัน คือ แง่มุมแห่งวิริยะหรือความมีประสิทธิภาพหรือการรองรับเกื้อหนุนของ พื้นที่ว่างกับแง่มุมแห่งความแผ่กว้างไพศาลของมัน คุณลักษณะทั้ง สองประการนี้กระทำการร่วมกันอยู่บนอทวิภาวะ อทวิลักษณ์นี้ก็คือ คุณลักษณะประการที่สามของบูรณภาพ


แง่มุมแห่งอทวิลักษณ์ของบูรณภาพก็คือพุทธวงศ์ ซึ่งรองรับเกื้อหนุน อย่างเต็มเปี่ยม ไม่สั่นคลอนด้วยเหตุการณ์ใด ๆ ในสายธรรมของเรา หมายแทนด้วยภาพสัญลักษณ์รูปธรรมจักรซึ่งหมุนวนไปไม่หยุดยั้ง เป็น อกาลิโก เป็นจริงอยู่อย่างไร ก็เป็นอยู่อย่างนั้น


แง่มุมแห่งวิริยะหรือความมีประสิทธิภาพสัมพันธ์อยู่กับกรรมวงศ์และ วัชรวงศ์ บรรดาข้อแตกต่างและคำอธิบายของแง่มุมต่าง ๆ เหล่านี้ซึ่ง เราได้พูดถึง มิได้มีความหมายในเชิงเนื้อหาเท่ากับสิ่งที่บรรจุเนื้อหาอยู่ ความมีประสิทธิภาพในที่นี้หมายถึงสิ่งรองรับเกื้อหนุนของประสิทธิ ภาพยิ่งกว่าจะเป็นตัวความมีประสิทธิภาพเอง


มีวิธีกระตุ้นความมีประสิทธิภาพอยู่สองประการด้วยกัน ทางหนึ่งโดย อาศัยความคมชัดของวัชระ ซึ่งปกคลุมทุกอาณาเขตพื้นที่ ตราบใดที่มีพื้น ที่ว่างอยู่ ก็หามีซอกมุมใดรอดพ้นไปได้ไม่ และด้วยเหตุที่มันมีลักษณะ สำรวจตรวจตราทั่วทุกซอกทุกมุมนี่เอง เราจึงอาจใช้คำว่าปัญญาได้ใน ที่นี้ แม้จะยังอยู่ในระดับสัมพัทธ์มิใช่อันติมะก็ตาม ในที่นี้เราอาจเอ่ยถึง ปัญญาได้ในความหมายของความแจ่มกระจ่างคมชัด


ความมีประสิทธิภาพอีกประการหนึ่งก็คือกรรมะ ซึ่งมิใช่ประสิทธิภาพ ในแง่ของการครอบคลุมทุกพื้นที่ หากหมายถึงความเชื่อในความสำเร็จ ผลอย่างเป็นธรรมชาติ กรรมะย่อมเต็มไปด้วยความรู้สึกที่ว่าสิ่งต่าง ๆ ได้สำเร็จผลลงเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นจึงเต็มไปด้วยพลังแห่งความหมด จดสอดคล้อง คุณไม่จำเป็นต้องพยายามกระทำการอย่างสอดคล้องหรือ พยายามให้สัมฤทธิ์ผล ด้วยเหตุที่สิ่งต่าง ๆ ย่อมสัมฤทธิ์ผลอยู่แล้วใน ตัวมันเอง ด้วยเหตุนั้นเองคุณจึงไม่จำเป็นต้องรุกล้ำเข้าไปในอาณาเขต ใดเลย นี่คือกรรมะ คือการแลเห็นถึงบูรณภาพแห่งการกระทำทั้งมวล ดังที่มันเป็น ดังนั้นจึงปราศจากอาการดิ้นรนใด ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง
 
 
แง่มุมแห่งการยอมรับหรือการแผ่ขยายคอบคลุมของธรรมดาสภาวะ หรือที่ว่างพื้นฐานอันหมดจดสมบูรณ์ ย่อมสัมพันธ์อยู่กับปัทมะและ รัตนะ
 
 
รัตนะย่อมมองดูทุกสิ่งจากแง่มุมของความเป็นหนึ่งเดียวหรือเป็นดุจ เดียวกัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง ความคิดเรื่องการแผ่ขยายรุกล้ำเข้าไปใน อาณาเขตอื่นหาได้มีอยู่อีกต่อไป ด้วยเหตุว่าพื้นที่ว่างได้ถูกมองว่าเป็น สิ่งที่สมบูรณ์อยู่ในตนเอง เต็มไปด้วยความเชื่อมั่นและภาคภูมิอย่าง สมบูรณ์ เต็มไปด้วยการรับรู้ถึงภาวะการดำรงอยู่ของทุกสิ่งทุกอย่าง พร้อมด้วยความสง่างามในตัวของมันเอง จึงไม่มีที่ว่างพอที่จะว้าวุ่น หรือครุ่นคิดคาดเดาหรือวางแผนอีกต่อไป ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนสมบูรณ์ เพียบพร้อมอยู่แล้ว


สำหรับปัทมะนั้น ภาวะการดำรงอยู่อย่างสมบูรณ์ย่อมเต็มไปด้วยอาการ อันหมดจดเพียบพร้อม ความภาคภูมิงามสง่าอย่างเปี่ยมล้นซึ่งมีอยู่ย่อม ก่อให้เกิดแรงดึงดูดอย่างแรงกล้า เป็นแรงดึงดูดอันเต็มไปด้วยความคาด หวังและการควบคุม ทว่าคำว่า ความคาดหวัง หรือ การควบคุม นี้ ก็ใช้ การได้ในความหมายเชิงเปรียบเทียบเท่านั้น มันมิใช่ความคาดหวังที่ตั้ง อยู่บนพื้นฐานของเรื่องศูนย์กลางและขอบเขตแห่งนี้และนั้น หรือเป็น " การควบคุม " ในแง่ของการลุกล้ำไปในอาณาเขตของผู้อื่นและพยายาม และพยายามจะยึดครองเอาไว้ ทว่ามันเป็นเหมือนกับแม่เหล็กที่ดำรงอยู่ ได้ด้วยตนเอง ยิ่งกว่าจะพยายามใช้คุณสมบัติของความเป็นแม่เหล็กเพื่อ ดึงดูดสิ่งใด ๆ มันเป็นแม่เหล็กอันหมดจดเพียบพร้อม

 
คุณลักษณ์ทั้งห้าประการนี้เองเองคือส่วนประกอบพื้นฐานของมณฑล และเหตุที่มันกลายเป็นมณฑลก็เพราะคุณลักษณ์เหล่านี้ล้วนเกี่ยวเนื่อง สัมพันธ์กันอยู่ มันเป็นเหมือนกับการกล่าวถึงสิ่งเดียวกันด้วยวิธีการอัน แตกต่างห้าประการ คุณสมบัติพื้นฐานของสิ่งทั้งหมดก็คืออาการอันปราศ จากการดิ้นรนต่อสู้ ปราศจากการเดินทาง ซึ่งอาการอันปราศจากการดิ้น รนต่อสู้และปราศจากการเดินทางนี้ย่อมมีวิธีการสำแดงออกต่าง ๆ กันไป มิใช่ด้วยสถานการณ์อันเป็นเหตุปัจจัยใด ๆ หากแต่ด้วยเหตุที่มันเป็นไป ดังนั้น ดังนั้นเราจึงอาจจะเป็นอิสระ โดยไม่จำเป็นต้องมีความก้าวร้าว ไม่ ต้องต่อสู้ดิ้นรน


การจะเข้าสู่ความหมายของภาพมณฑลโดยพิศดารคงจะต้องใช้เวลานาน หลายปี แต่หากพยายามกล่าวอย่างย่นย่อ เราก็อาจกล่าวได้ว่าสิ่งรองรับ เกื้อหนุนพื้นฐาน หรือภาวะการดำรงอยู่อันไพศาลนั้นย่อมทรงพลังยิ่งใหญ่ เป็นพลังอำนาจอันไม่อาจเอาชัยได้ ด้วยเหตุที่มันมิได้ขึ้นอยู่กับการดำรง อยู่ของโลกแห่งสมมติ ดังนั้นมันจึงไม่ต้องการแรงตอบสนองใด ๆ และ ด้วยเหตุที่มันมิได้ขึ้อยู่กับแรงตอบสนอง มันจึงไม่อาจถูกคุกคามจากสิ่ง ใด ๆ และพลังอำนาจสองร้อยเปอร์เซ็นต์เยี่ยงนั้น ( คุณอาจกล่าวได้ดัง นั้นถ้าหากมีสิ่งนี้อยู่ - เราต้องกลับหันกลับมาใช้ภาษาฝ่ายโลกอีกแล้ว ) ก็อาจเป็นพลังแห่งความเกลียดชัง ดังนั้นจึงเป็นสภาวะอันปราศจากความ ปราชัย มันเป็นความพิโรธในความหมายของเปลวอัคคีอันมีชีวิต มันไม่ ยอมให้ทวิลักษณ์หรือความคิดแบบโลกย์มาแผ้วพานได้ หากมีสภาพการณ์ แห่งทวิลักษณ์อุบัติขึ้น มันก็จะแผดเผาทำลายลงโดยสิ้นเชิง ทว่าพลัง อำนาจเยี่ยงนี้ก็มีความสงบสันติอันใหญ่หลวงอยู่ในขณะเดียวกัน นี่มิใช่ ความสงบสันติในความหมายที่ปราศจากความพิโรธ ที่ว่างพื้นฐานนั้น มีความสงบสันติอยู่ก็เพราะไม่มีเหตุผลว่าทำไมมันจึงจะไม่มีความสงบ สันติอยู่ ด้วยเหตุที่มันมีบูรณภาพดำรงอยู่เสมอ ดังนั้นเองมันจึงประภัสสร และบริสุทธิ์ ทั้งยังอาจรองรับเกื้อหนุนทุกสิ่งไว้ด้วยอาการแห่งกรุณาอัน ปราศจากการแบ่งแยก


ความคิดเรื่องความขัดแย้งย่อมยืนพื้นอยู่บนการที่เราติดกับอยู่ในโลกแห่ง สมมติ จุดเริ่มของความปั่นป่วนสับสนก็คือความพยายามที่จะธำรงรักษา จุดหนี่งจุดใดหรือสภาพการณ์หนึ่งใดไว้ เมื่อใดก็ตามที่เราพยายามจะธำรง รักษาจุดหนึ่งจุดใดไว้ ผลที่ติดตามมาจากกระบวนการนี้ก็คือการถูกคุกคาม จากจุดอื่น ๆ และการคุกคามนั้นได้กลายมาเป็นโอกาสที่เราไม่อาจจะรักษา จุดนั้นไว้ได้ ซึ่งถ้าหากเราไม่ได้กลัวการคุกคาม ก็จะหมดสิ้นปัญหาเรื่อง การธำรงรักษาเอาไว้ ปัญหาไม่ได้มีมาแต่แรก
 
 
ความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องการธำรงรักษาและการปกป้องให้รอดพ้นจาก การคุกคาม ย่อมเป็นเหมือนกับความสัมพันธ์ระหว่างเลขศูนย์กับเลขหนึ่ง หนึ่งย่อมต้องพึ่งพาอาศัยศูนย์ และศูนย์ย่อมขึ้นอยู่กับหนึ่ง นี่ไม่เหมือน กับความสัมพันธ์ระหว่างหนึ่งกับสอง คำภาษาสันสกฤต อทวย กับคำ ทิเบตว่า ยี-เม ต่างแสดงถึงความหมาย " ไม่ใช่สอง " ซึ่งอาจประมวลอยู่ ในความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์กับหนึ่ง ในที่นี้มันหมายถึง " ไม่มีศูนย์ , ไม่ มีหนึ่ง " หลักคิดก็คือ ทันทีที่เราเริ่มมองดูสิ่งต่าง ๆ จากแม่แบบหรือคิด จินตนาการถึงจุดอ้างอิงแม้ว่าจะแผ่วจางเพียงใด นั่นคือจุดกำเนิดของทั้ง สังสารและนิรวาณ ( หากจะใช้ถ้อยคำที่นิยมกัน ) แนวคิดเรื่อง " ไม่ใช่สอง " ก็คือเป็นไปได้ที่เราจะมีโลกที่สมบูรณ์และใช้การได้ซึ่งอยู่เหนือจุดอ้างอิง ใด ๆ นั่นเป็นไปได้อย่างยิ่งและยิ่งกว่าเป็นไปได้ อันที่จริงแล้วโลกเช่นนั้น เป็นจริงยิ่งกว่าโลกแห่งการเปรียบเทียบนี้เสียอีก เพราะมันเป็นสภาพการณ์ อันอ่อนล้าซึ่งอิงอาศัยเหตุปัจจัยต่าง ๆ ช่วยเกื้อหนุน ตกเป็นเหยื่อของภพ ชาติ ชรา และมรณะ ซึ่งอุบัติขึ้นตลอดเวลา ถูกกดดันคุกคามจากรอบด้าน สัมพัทธสภาพดังกล่าวในไม่ช้าก็กลับแปรเปลี่ยนเป็นความลวงอย่างใหญ่ เราจะไม่รู้ว่าใครเป็นใครอะไรเป็นอะไรหรือไหนเป็นไหนอีกต่อไป มัน เป็นเหมือนกับถ้อยคำติดตลกที่ว่า " ใครมาก่อน อะไรจะมาหลัง "


ทวิลักษณ์แห่งความเข้าใจอันไขว้เขวนี้อุบัติขึ้นมาตั้งแต่แรกเริ่ม ดังนั้น เมื่อคุณพยายามที่จะแก้ไขมันให้ถูกต้อง มันก็จะยังเลอะเลือนกลายเป็น ความเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวง ทว่าสิ่งที่เรากำลังพูดถึงก็คือยังมีพื้นที่ ว่างใหม่ มีมิติใหม่ ซึ่งไม่จำเป็นต้องอาศัยข้อพิสูจน์หรือการตีความ ทั้งไม่จำเป็นต้องอาศัยจุดอ้างอิงใด ๆ อีกด้วย การมีมิติเยี่ยงนี้อยู่ไม่เพียง จะมีความเป็นได้สูงยิ่งเท่านั้น ทว่ามันกลับมีอยู่จริงดังนั้น


แรงบันดาลใจจากมิติสภาวะนี้ได้อุบัติขึ้นมาเป็นงานศิลปะอันงดงาม เป็น โลกแห่งจินตนาการแห่งสุญตภาวะ เป็นโลกแห่งอทวิลักษณ์ จากประสบ การณ์ที่สั่งสมสืบทอดกันมาในสายธรรมจึงรังสรรค์มณฑลพื้นฐานขึ้นมา ๗๒๕ ภาพ แต่ละภาพมณฑลต่างมีรายละเอียดซับซ้อนและเที่ยงตรง ใน หนึ่งภาพมณฑลอาจจะมีเทพอยู่มากถึงห้าร้อยองค์ เทพมณฑลเหล่านี้ จัดวางอยู่ตามแบบแผนหลักการทั้งห้า หรือแง่มุมทั้งห้าแห่งที่ว่างพื้นฐาน หรือบูรณภาพ


นี่มิใช่สิ่งซึ่งโยคีหรือสิทธาจารย์อาจบรรลุถึงได้เพียงการดื่มน้ำอมฤตและ มาปฏิบัติอย่างสะเปะสะปะ ทว่าทุกขั้นตอนล้วนมีรายละเอียดชัดเจนยิ่ง เป็นไปได้ที่เราจะต้องสร้างโลกอันเที่ยงตรงคมชัดขึ้นมา เป็นโลกซึ่งมีวิธี คิดอันกระจ่างชัด เป็นโลกซึ่งใช้การได้ โดยปราศจากอาการแห่งทวิลักษณ์ ดังที่เราได้พูดกันมาแล้ว นี่ไม่เพียงแต่จะเป็นไปได้ ทว่ามันได้บังเกิดขึ้น แล้วและกำลังจะเกิดขึ้น


ดูเหมือนจะมีความเข้าใจไขว้เขวอยู่เป็นอันมากเกี่ยวกับเรื่องมณฑล ผู้ คนพากันกล่าวว่ามณฑลเป็นเพียงนิมิตเอาไว้สำหรับเพ่งสมาธิ เพียงแค่ เพ่งภาพมณฑลอันหลากสีลานตาเหล่านี้คุณก็จะหลุดโลก แต่หากมอง จากแง่มุมของเหตุผล ภาพลวงตาและผังลายเหล่านั้นหาใช่สิ่งที่คุณอาจ ใช้เพื่อบรรลุถึงภูมิธรรมขั้นสูงได้

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554 10:03:17 »




คำสอนพื้นฐานของมณฑลได้ถูกนำเสนอถึง ๗๒๕ ครั้ง ด้วยกัน และ นั่นเป็นเพียงตันตระต่ำเท่านั้น เพียงในระดับของกริยาโยคะ ใครเลยจะ รู้ว่ามีมณฑลอยู่มากมายเพียงใดในตันตระสูงคงจะเป็นล้าน ๆ กระมัง จำนวนของมันจะยิ่งทบทวีขึ้นเมื่อคุณได้ก้าวล่วงไปในยานต่าง ๆ มี ตันตรยานอยู่หกยานด้วยกันโดยมีกริยาโยคะเป็นยานลำดับแรก และเพียง ยานแรกนี้ก็มีอยู่ถึง ๗๒๕ มณฑลด้วยกัน เมื่อคุณขึ้นไปถึงยานที่หกหรือ อติโยคะ มณฑลก็จะทบทวีขึ้นเป็นจำนวนมหาศาลจนกระทั่งในที่สุดก็ กลายเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่อีกต่อไป ขอบเขตทั้งมวลได้สูญสลายไป นี่คือ การรุกรานเข้ามาในความเป็นส่วนตน และนี่เองคือเหตุที่มันถูกเรียก ว่าเสรีภาพ


ดังนั้นการถือเอาแนวคิดนี้มาเป็นพื้นฐานสำหรับการปฏิบัติ เราก็อาจหา หัวข้อสรุปสำหรับการสนทนาธรรมของเราได้


การเพ่งนิมิตเทพมณฑลอาจจะกระทำได้สองลักษณะ วิธีแรกก็โดยการ เข้าสัมพันธ์กับความคิดหรือเลห์กลของจิตใจโดยตรงแทนที่จะเพ่งสถานี รถไฟแกรนด์เซนทรัลสเตชั่นและดำรงอยู่ในนั้น คุณอาจเพ่งภาพมณฑล ของอวโลกิเตศวรหรือตาราหรือคุหิยสมาชหรือเทพองค์อื่น ๆ เหล่านี้คือ สิ่งที่อาจนำมาทดแทนได้ ถ้าหากคุณจำเป็นจะต้องใช้ไม้ค้ำแล้วไซร้ เหตุ ใดจึงไม่สร้างขึ้นมาจากทองคำแทนที่จะเป็นอลูมิเนียมเล่า


มีวิธีเพ่งนิมิตอีกอย่างหนึ่ง นี่คือการทำความรู้จักมักคุ้นกับมณฑลดังที่ เราได้พูดถึงมาแล้วใการสนทนาธรรมครั้งนี้ คุณจะโน้มนำความรู้สึกไป สู่สัมผัสของมณฑลด้วยความตระหนักแก่ใจว่าคุณไม่อาจหยิบฉวยมัน เอาไว้ได้ หรือแม้กระทั่งเฉียดเข้าไกล้ ทว่าพื้นที่เช่นว่านี้มีอยู่จริง คุณ โน้มน้าวจิตใจเข้าหาและสื่อสารเชื่อมโยงกับมันด้วยสัมผัสอันลี้ลับทั้ง หมดภายในตัวตน ความรู้สึกอันลี้ลับนี้จะก่อให้เกิดพื้นที่ว่างต่าง ๆ ขึ้น มากมาย คุณมิได้ระบุชี้ชัดทุกสิ่งด้วยข้อเท็จจริง คุณมิได้เข้าหาสิ่งต่าง ๆ ด้วยมุมมองสำเร็จรูปซึ่งทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างกลับกลายเป็นสิ่งมีเหตุผล และแข็งตัวปราศจากที่ว่างใด ๆ ทว่าคุณกลับมองดูสิ่งต่าง ๆ ด้วยความ กังขา ยังคงมีตรรกะพื้นฐานอยู่ ดังเช่นสามคูณสามเท่ากับเก้าหรืออะไร ทำนองนั้น ทว่าในขณะเดียวกันคุณยอมให้มีช่องว่างบางอย่างอยู่ ยอม ให้ความสงสัยซึ่งเชื่อมโยงอยู่กับโอกาสและความเป็นไปได้ที่จะเดินทาง ต่อไปเบื้องหน้า เราอาจน้อมนำความรู้สึกของเราไปสู่สิ่งนี้ นี่คือจุดเริ่ม ต้นของกระบวนการแห่งการตื่นขึ้น เป็นการเริ่มต้นที่นำไปสู่การเลิกละ เลห์กลแห่งตรรกะของตัวคุณ


ในที่สุดเมื่อเราเข้าสู่มณฑลพื้นฐานดังที่มันเป็น ด้วยความรู้ความเข้าใจ ทั้งมวลถึงวัฏทุกข์และธรรมธาตุ เราจะประจักษ์แก่ใจว่าหลักธรรมคำ สอนตามสายประเพณี้หาใช่เป็นสมบัติของวัฒนธรรมใดไม่ บรรดาหลัก ธรรมคำสอนซึ่งสั่งสอนสืบทอดผ่านภาษาแห่งสายธรรมตันตระล้วนเป็น อกาลิโก ถึงที่สุดแล้วเราจะสามารถเข้าสัมพันธ์กับการเพ่งมณฑลนิมิต ในฐานะที่เป็นภาพลักษณ์ของตนเอง เป็นการค้นพบของตน แทนที่จะ มองมันว่าเป็นสิ่งที่มาจากวัฒนธรรมอันแปลกปลอมซึ่งเราไปพึ่งพิงอยู่


ที่น่าสนใจยิ่งก็คือในวัฒนธรรมจีนนั้น ให้พระโพธิสัตว์หรือแม้แต่เทพ เหรุกบางองค์ทรงพัสตราภรณ์ของราชนิกูลจีน ทว่าในอินเดียซึ่งเป็น แหล่งกำเนิดของตันตระนั้น ย่อมให้เทพเหล่านั้นทรงเครื่องตามแบบ ฉบับกษัตริย์อารยัน ทรงมงกุฏประดับด้วยแก้วมณีทั้งห้าพร้อมด้วยภูษา ผ้าทรงเยี่ยงกษัตริย์อารยัน จากแง่มุมนี้เองที่ทำให้การเพ่งนิมิตหาได้จำกัด อยู่แต่เฉพาะในมนุษยภูมิเท่านั้นก็หาไม่ หากทว่าเป็นหลักธรรมที่เผย แพร่สั่งสอนตลอดทั่วภูมิทั้งหกไม่ว่าจะเป็นดิรัจฉานภูมิ เปรตภูมิ อสุรภูมิ เทวภูมิ และมนุษยภูมิ


แนวทางการปฏิบัติของตันตระนั้นเป็นอันติมะ มิใช่เพียงสำหรับมนุษย์ คุณอาจกล่าวได้ว่าแวทางหินยานและมหายานเป็นแนวทางสำหรับมนุษย์ แม้ว่ามหายานจะกว้างกว่านั้น ทว่าแนวทางปฏิบัติของวัชรยานั้นเป็นสม บัติสากล
 
 
นี่ก็เป็นเช่นเดียวกับมนตราซึ่งต้องใช้คู่กับการเพ่งนิมิตมนตราเหล่านั้น หาใช่ถ้อยคำที่มีความหมายชัดแจ้งไม่ เหมือนดังวลีความที่อาจช่วยมิ ให้จิตของคุณฟุ้งซ่าน ทว่ามนตรากลับเป็นการสาธยายแห่งอันติมะ ใน มนตรานั้นหามีที่ว่างใด ๆ ให้จิตเกาะเกี่ยวอยู่ไม่ เมื่อสิ่งที่คุณสาธยาย นั้นไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง เป็นความไร้สาระทางธรรม มันหาได้มี ความหมายใด ๆ ไม่ แต่ในขณะเดียวกันมันก็เต็มไปด้วยความหมายด้วย เหตุที่มันปราศจากความหมาย มันเป็นแค่เพียงเสียงสะท้อน เหมือนดัง เสียงของการปรบมือข้างเดียว เป็นเสียงซึ่งมิได้มีอยู่


ตามปกติแล้วเราถือว่ามนตราเป็นเสียงนามธรรมยิ่งกว่าที่จะหมายถึงสิ่งใด ด้วยเหตุนี้เองการสาธยายมนตราจึงแตกต่างจากการสวดภาวนาโดยทั่ว ๆ ไป มันดูจะไกล้เคียงกับการสวดภาวนาของนักบวชนิกายเฮซีชาสต์ * ของคริสต์ศาสนานิกายออร์ธอดอกซ์ในฟิโลคาเดียได้กล่าวถึงการท่อง บ่นภาวนาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในตอนแรกเริ่มคุณก็สวดภาวนาด้วยความตั้งใจ ด้วยแรงมุ่งมั่นอย่างมีจุดหมาย แต่ท้ายที่สุด คุณก็ไม่อาจแน่ใจได้ว่าใครคือ ผู้ภาวนาหรือมิได้ภาวนากันแน่ คุณจะเลื่อนลอยไป จะเป็นอิสระจากจุด มุ่งหมายใด ๆ แทนที่จะเลื่อนลอยสับสน คุณจะสับสนน้อยลง ดังนั้นเอง คุณจึงเต็มไปด้วยความเอื้อเฟื้อเกื้อหนุน ในที่สุดการภาวนานั้นจะตอกย้ำ ก้องดังครั้งแล้วครั้งเล่าดุจเสียงเต้นของหัวใจคุณ ดุจดังว่ามันก้องดังขึ้น ด้วยตัวมันเอง เมื่อมาถึงจุดนั้น การสวดภาวนาจะสวดคุณแทนที่คุณจะ เป็นผู้สวดภาวนา การสวดภาวนาเยี่ยงนี้ใกล้เคียงกับการปฏิบัติด้วยการ สาธยายมนตร์


* เฮซีชาสต์ ( Hesychast ) นักบวชนิกายหนึ่ง ถือกำเนิดขึ้นในปีคริสต์ ศตวรรษที่ ๑๔ ณ เทือกเขาอามอส กรีก


มนตรายานเริ่มขึ้นตั้งแต่แรก มิใช่ด้วยการสวดภาวนา แต่ด้วยกระแส เสียงแห่งจักรวาลพร้อมด้วยการเพ่งนิมิต การเพ่งนิมิตนี้อาจใช้ได้ทั้ง ภาพมณฑลหรือเทพต่าง ๆ อาจเป็นเทพสิบแปดเศียรหกกรทรงคฑาวุธ ต่าง ๆ ในหัตถ์ นุ่งห่มหนังมนุษย์โดยมีเนื้อคชสารคลุมทับ นุ่งห่มหนัง เสือ ทรงมงกุฏกระโหลกห้อมล้อมอยู่ด้วยเปลวอัคคี และทรงเปล่งมนตร์ หู๊และผัต ภาพนิมิตเยี่ยงนี้ย่อมแจ่มชัดมาก ไม่มีทางเป็นป๊อบอาร์ตไปได้ เลย หากแต่เป็นพุทธศิลป์ ภาพลักษณ์เหล่านี้ทรงพลังอย่างล้นเหลือ และแจ่มชัดเป็นจริงจนถึงขั้นที่ทำให้เราหลุดพ้นออกจากอาณาเขตแห่ง ทวิลักษณ์ในการตัดสินและมองดูมัน เมื่อใดก็ตามที่ปราศจากการเปรียบ เทียบ เมื่อนั้นทุกสิ่งก็จะกลับมีชีวิตและเป็นจริงยิ่ง


ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นแก่เราในการปฏิบัติตามแนวทางนี้ก็คือประการแรก สุด เราจะต้องมีความตั้งใจมั่นที่จะกระทำการร่วมกับสังสารมณฑลตั้ง แต่แรกเริ่ม โดยไม่คาดหวังถึงสิ่งอื่นที่ดีกว่า เราจำเป็นต้องใช้สภาพ การณ์แห่งสังสารมณฑลเพื่อกระทำการร่วมกับมันอย่างเต็มขีดขั้น หลัง จากที่เราได้กระทำการร่วมกับสภาพการณ์แห่งสังสารมณฑลแล้ว เรา จึงค่อยพัฒนาการตระหนักรู้ถึงภูมิหลังหรือสภาพแวดล้อม อันสังสาร มณฑลได้อาศัยก่อตัวขึ้น เราจะเริ่มค้นพบว่ายังมีบางสิ่งที่เป็นยิ่งกว่า โลกที่เราคุ้นเคยนี้ ยิ่งกว่าโลกแห่งสัมผัสรับรู้แบบทวิลักษณ์ของเรา


ข้าพเจ้ามิได้หมายความว่าจะมีโลกอื่นดังเช่นโลกพระจันทร์โลกอังคาร หรือสรวงสวรรค์ โลกอื่นนี้มีความหมายว่ายังมีการค้นพบใหม่ ๆ ที่อาจ เป็นไปได้ เราแลเห็นใบหญ้า แต่เราก็อาจเห็นลึกและมากขึ้นไปกว่าเพียง ใบหญ้านั้น เราอาจแลเห็นถึงบูรณภาพทั้งหมดของใบหญ้า เมื่อนั้นเรา อาจแลเห็นความเขียวของใบหญ้าว่าเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของมัน ภาวะ ทั้งหมดของมันคือความเป็นไปดังนั้นโดยไม่ต้องอาศัยสิ่งยืนยันใด ๆ มัน เพียงอุบัติขึ้นมาเป็นใบหญ้าอันแท้จริง เมื่อใดก็ตามที่ประสบการณ์แห่ง มณฑลได้อุบัติขึ้น เราจะแลเห็นโลกอันจริงแท้จริงร้อยเปอร์เซ็นต์ โดย ปราศจากอาการบิดเบือน ปราศจากความคิดแปดปน


นั่นต้องอาศัยเวลาและผ่านขั้นตอนการปฏิบัติต่าง ๆ เป็นอันมาก แต่ดู เหมือนว่าเราไม่อาจจะเริ่มต้นได้เว้นแต่เราจะพร้อมที่จะเริ่มตั้งแต่แรก
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554 10:04:29 »




ศิษย์ : หากจะพิจารณาดูกาลแรกเริ่ม ท่านบอกว่าอวิชชาแห่งการแบ่งแยก นั้นอุบัติมาตั้งแต่แรกเริ่มแล้ว ทว่าการหยั่งเห็นและสัมผัสถึงอทวิลักษณ์ แห่งบูรณภาพนั้นจะได้บังเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นเช่นเดียวกัน
 
 
ตรุงปะ : ถูกแล้ว นั่นเองเป็นเหตุที่เอื้อให้ความหลงผิดอุบัติขึ้นได้ ความหลง ผิดนั้นจะต้องอุบัติขึ้นมาจากที่ใดที่หนึ่ง ดังนั้นเราจึงไม่อาจประณามกาล แรกเริ่มได้ว่าผิดมาตั้งแต่ต้นดุจดัง " บาปกำเนิดของมนุษย์ "
 
 
ศิษย์ : ในช่วงถาม - ตอบของการบรรยายธรรมครั้งก่อนดูเหมือนท่านได้พูด ถึงความว่างอันไพศาลแห่งปัญญา และได้กล่าวถึงอทวิลักษณ์ว่าเป็นญาณ ข้าพเจ้าไม่สู้จะเข้าใจข้อแตกต่างเหล่านี้
 
 
 
ตรุงปะ : ปัญญาเป็นคล้าย ๆ กับสิ่งที่เราได้รับรู้ในการเสวนาครั้งนี้และครั้ง ก่อน ๆ เราได้พูดคุยกันถึงญาณและบูรณภาวะอันหมดจด ทว่าในการทำดัง นั้นเท่ากับเป็นการเข้าไปสัมพันธ์กับมันจากมุมมองของคนนอก เราเข้าสัม พันธ์กับมันในฐานะที่เป็นตัวประสบการณ์ ดังนั้นเองนั่นเท่ากับเป็นปัญญา หรือข้อมูลความรู้ มันจะเป็นปัญญาอยู่ตราบกะทั่งเราได้หลอมกลืนเข้ากับ สภาวะนั้นอย่างหมดจด " ความเป็น " มิใช่การเรียนรู้ที่จะเป็น การเรียนรู้กับ " ความเป็น " นั้นแตกต่างกัน
 

ศิษย์ : ที่ท่านกล่าวถึงวัชระมานั้น ส่องแสดงว่ามันดำรงอยู่ในระดับปัญญา ในระดับจิตกับวัตถุใช่หรือไม่


ตรุงปะ : ประสบการณ์ทางปัญญาแห่งวัชระนั้นดำรงอยู่ในระดับของญาณ คือการมองเห็นทุกสิ่งอย่างหมดจด นั่นย่อมขึ้นอยู่เหนือพ้นปัญญาซึ่งยังไม่ นับว่าเป็นสิ่งแก่กล้าลุ่มลึก



ศิษย์ : ในระดับของอทวิลักษณ์นั้น อาจมีสิ่งที่เรียกว่าพุทธวงศ์กับปัญญา และโลกแห่งการแบ่งแยกหรือไม่
 
 
ตรุงปะ : นั่นคือสิ่งที่เราต้องการจะพูดถึงในการเสวนาครั้งนี้ ความจริง แบบอทวิลักษณ์นั้นอยู่ในมิติแห่งญาณ ดังนั้นจึงก่อเกิดปฏิสัมภิทาญาณ ( ปัญญาอันแยกแยะแตกฉาน ) ขึ้นอยู่ตลอดเวลา ในสภาวะเยี่ยงนั้นโลก จะยิ่งเต็มไปด้วยชีวิต เต็มไปด้วยชีวิตชีวาและสีสันยิ่งกว่าที่เราเคยรับรู้


ศิษย์ : ความข้อนี้ดูจะขัดแย้งกันอยู่ เพราะอาการอันแยกแยะแตกฉาน นั้นย่อมค้นพบการแบ่งแยก
 
 
ตรุงปะ : มิได้มีปัญหาเรื่องการค้นพบการแบ่งแยก ในที่นี้เรากำลังพูดถึง โลกแห่งสัมพัทธ์ในแง่ของมิติทางจิตใจ เรากำลังพูดถึงความรู้สึกนึกคิด และมุมมองอย่างสัมพัทธ์ ยิ่งกว่าที่จะเป็นการแลเห็นแบบแบ่งแยกสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นสอง นี่มิได้ถือเป็นมุมมองแบบทวิลักษณ์ทว่าเป็นปัญญาอันแยก แยะแตกฉาน ข้าพเจ้าหมายถึงว่าผู้เป็นอริยบุคคลนั้นย่อมสามารถเดินอยู่ บนถนนเพื่อไปขึ้นรถประจำทางได้ นี่คือข้อเท็จจริง และท่านกระทำสิ่ง นี้ได้ดียิ่งกว่าเรา ด้วยเหตุที่ท่านดำรงสติกำหนดรู้อยู่เสมอ

 
 
ศิษย์ : ในแง่ของการเริ่มต้นตั้งแต่แรกเริ่ม การปฏิบัติสมาธิภาวนาจะมี บทบาทอย่างไร
 
 
ตรุงปะ : การปฏิบัติสมาธิภาวนาตั้งแต่แรกเริ่มก็คือการยอมรับว่าตนเป็น เป็นคนโง่ คุณจะเริ่มรับรู้ได้อย่างต่อเนื่องว่าคุณกำลังหลอกตัวเองโดย การเสแสร้งแกล้งปฏิบัติสมาธิ แทนที่จะเชื่อว่าตนนั้นสูงส่งดีงาม ถ้าหาก คุณสามารถเริ่มจากการยอมรับความจริง ยอมรับถึงความหลอกลวงฉ้อฉล ของตน เมื่อนั้นคุณจะเริ่มแลเห็นถึงบางสิ่งที่เป็นยิ่งกว่าการเป็นโง่ มีบาง สิ่งอยู่ในนั้น คุณเริ่มเรียนรู้ที่จะให้ คุณไม่จำเป็นจะต้องปกป้องตนเองอยู่ ตลอดเวลา จนกระทั่งตัวการปฏิบัตินั้นได้ก่อให้เกิดวินัยอย่างใหญ่หลวง ขึ้นในชีวิตประจำวัน มันมิได้เป็นเพียงแค่การนั่งปฏิบัติเท่านั้น ทว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างในชีวิตจะกลับกลายเป็นส่วนหนึ่งของการภาวนาสิ้น นี่จะก่อให้ เกิดพื้นที่อันกว้างขวางเพื่อเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และแน่นอนว่าเมื่อมาถึง จุดหนึ่งคุณจะเริ่มรู้สึกว่าปราศจากแรงซึ่งพยายามใด ๆ หรือแม้กระทั่งการ รู้สึกตัวว่ากำลังปฏิบัติสมาธิอยู่ ขอบเขตแห่งการภาวนาของคุณจะค่อย ๆ ลบเลือนไป กลับกลายเป็นอภาวนาหรือมหาภาวนาอย่างสมบูรณ์


ศิษย์ : ความอยากแต่เริ่มแรกก็คือวัตถุนิยมทางศาสนาด้วยใช่หรือไม่
 
 
ตรุงปะ : ถูกแล้ว แต่อย่างน้อยที่สุดมันก็เป็นสิ่งจริงมิใช่สิ่งอันเสแสร้ง นั่น ทำให้สิ่งต่าง ๆ ง่ายขึ้น จะเห็นได้ว่าหะแรกเราก็อยากที่จะบรรลุถึงภูมิธรรม บางประการ นั่นมิใช่ปัญหา แต่กลับช่วยอุดหนุนให้คุณก้าวล่วงสู่การปฏิบัติ ในกรณีของวัตถุนิยมทางศาสนาเลห์ลวงของมันก็คือการที่คุณไม่ได้เข้าเผชิญ หน้ากับความวิปลาสของตน ทุก ๆ ครั้งที่คุณลงมือปฏิบัติคุณก็คาดหวังที่จะ บรรลุถึงสิทธิอำนาจ คุณพยายามที่จะเรืองฤทธิ์แทนที่จะภาวนาเพื่อถอด หน้ากากตนเอง ทว่าหากปราศซึ่งความอยากเช่นนั้นแล้ว ก็หามีที่หยั่งเท้า ยืนหยัดเพื่อก้าวล่วงไปไม่ ปราศจากซึ่งภาษาและสัญลักษณ์ให้ใช้สอย การ แลเห็นถึงสภพการณ์เยี่ยงนั้น ย่อมเป็นไปดังที่ข้าพเจ้าหมายแสดงนั่นก็คือ การถือว่าตนเองเป็นคนโง่


ศิษย์ : รินโปเช ท่านพอจะช่วยอธิบายซ้ำอีกได้ไหมว่าการรองรับเกื้อ หนุนที่กล่าวถึงนั้นหมายความเช่นไร
 
 
ตรุงปะ : มันหมายถึงการไม่ต้านทานขัดขืน คือการรองรับเกื้อหนุน ความเต็มเปี่ยมมั่งคั่งหรือความแผ่ขยายครอบคลุมรวมถึงแรงดึงดูด ต่าง ๆ โดยมิได้สร้างขอบเขตอันตายตัวขึ้น มันมิใช่ความพยายามใด ๆ ทว่าเพียงให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการรองรับเกื้อหนุนโดยปราศจากปัจจัย เงื่อนไขต่าง ๆ
 
 
ศิษย์ : การหยิบเอาอภิธรรมชั้นสูงเยี่ยงนี้ขึ้นมาพูดจะช่วยให้เราเข้า ไกล้นิรวาณและออกห่างจากวัฏสงสารได้อย่างไร
 
 
ตรุงปะ : ถ้าหากคุณเข้าหามันจากแง่มุมนั้น นั่นก็จะไม่ช่วยอะไรเลย
 
 
ศิษย์ : แน่นอนว่าคงจะช่วยอะไรไม่ได้ ทว่านั่นคือแง่มุมที่เราใช้ มิใช่หรือ
 
 
ตรุงปะ : เราจำเป็นต้องพูดโดยอาศัยภาษาทางโลก ซึ่งได้กลายเป็น อภิธรรมไปอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
 
 
 
ศิษย์ : แม้จะยอมรับว่าการใช้ภาษาฝ่ายโลกเป็นสิ่งจำเป็น แต่ข้าพเจ้าก็ ยังรู้สึกว่าธรรมบรรยายนี้ออกจะน่างุนงงไม่น้อย
 
 
ตรุงปะ : นี่คือประเด็นหลัก เราพึงตระหนักว่ามีความลักลั่นบางอย่าง อยู่ ใช่ว่าทุกสิ่งจะหมดจดแจ่มชัดเป็นดำ-ขาวเสมอไป ความรู้สึกงุนงง สับสนคือจุดเริ่มต้น เมื่อใดที่คุณรู้สึกงุนงงสับสน คุณจะไม่เชื่อถือใน อาการอันงุงงงสับสนของคุณว่านั่นคือคำตอบ ด้วยเหตุที่คุณงุนงงสับ สน คุณย่อมรู้สึกได้ว่าคำตอบน่าจะเป็นสิ่งอื่นซึ่งกระจ่างชัดยิ่งกว่า นี่ ย่อมก่อให้เกิดการสืบเสาะค้นหาต่อไป ซึ่งย่อมมีคำตอบอยู่ในตัวมัน เอง เราจะเริ่มจัดการกับตัวเราเยี่ยงนั้น


กล่าวอีกนัยหนึ่ง หลักธรรมคำสอนมิได้หมายที่จะมอบสิ่งอันหนักแน่น แจ่มชัดให้ เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องออกแรงใด ๆ โดยมีพระธรรมคำสอน ป้อนให้อยู่ตลอดเวลา เหตุที่คุณได้รับมอบหลักธรรมนี้ก็เพื่อที่คุณจะได้ ออกแรงพยายามต่อไป เพื่อที่คุณจะได้สับสนยิ่งขึ้น และคุณจำจะต้อง ผ่านพ้นความสับสนเหล่านี้ พระธรรมคำสอนคือแรงใจที่จะเกื้อหนุนให้ คุณได้ค้นพบที่หยั่งเท้ายืนหยัดที่ชิดใกล้ตัวคุณที่สุด อันได้แก่ความงุนงง สับสนนั่นเอง


ศิษย์ : ท่านอาจบอกได้ไหมว่าพลังอทวิลักษณ์อันเป็นอสังขตธรรมนี้ ย่อมมีพลังอันเต็มไปด้วยเงื่อนไข ( สังขตธรรม ) เป็นขุมพลังอยู่ด้วย
 
 
ตรุงปะ : ข้าพเจ้าไม่อาจกล่าวดังนั้น พลังอันปราศจากเงื่อนไข ( อสัง- ขตธรรม ) นี้ ย่อมเปี่ยมศักดิ์อยู่ในตนเอง ด้วยเหตุที่มันมิได้ขึ้นอยู่กับ เหตุปัจจัยใด ๆ มันดำรงอยู่ดังที่มันเป็น หล่อเลี้ยงตนเอง เป็นอยู่ด้วย ตนเอง พลังอันถูกกำหนดด้วยเงื่อนไข ( สังขตธรรม ) บางครั้งบางครา พลังอันปราศจากเงื่อนไขก็อาจสำแดงออกผ่านพลังอันกอปรด้วยเงื่อน ไข ทว่ามันมิได้ดำรงอยู่หรือหล่อเลี้ยงด้วยพลังอย่างหลัง ด้วยเหตุนี้เอง แง่มุมของพลังอันปราศจากเงื่อนไข มันไม่จำเป็นต้องมีอยู่เลย ด้วยเหตุ นี้เองมันจึงเน่าเสีย ไม่มีช่องทางออกสำหรับมัน ดังนั้นจึงค่อย ๆ เน่า เปื่อยผุพังและตายลง ทางเดียวที่มันจะดำรงอยู่ได้ก็โดยการดูดซับพลัง จากตัวเอง ทว่ามันก็เน่าเสียเป็นอย่างยิ่ง


ศิษย์ : ท่านเคยบอกว่าชาวจีนได้คิดวิธีการเพ่งนิมิตแบบต่าง ๆ ขึ้นมาใช้ สำหรับเหล่าเทพธรรมบาล ทั้งยังชี้ให้เห็นอีกว่าสายธรรมนั้นย่อมทันสมัย อยู่ตลอดเวลา นี่ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกสงสัยว่าพวกเราชาวพุทธอเมริกันอาจ คิดวิธีการเพ่งนิมิตของเราเองขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสมหรือไม่
 
 
 
ศิษย์ : ดังเช่น การเพ่งองค์มหากาลในชุดกางเกงยีนส์
 
 
ตรุงปะ : มีทางเป็นไปได้น้อยมาก ในจีนนั้น ขั้นตอนดังกล่าวเป็นไปโดยไม่รู้ตัว มันคลี่คลายไปเองในทำนอง นั้น แต่ในตะวันตก พวกเรามีความจงใจเกินไปในเรื่องวัฒนธรรม เราได้ เข้าไปกระทำย่ำยีจนยับเยิน ศิลปะต่าง ๆ ได้ถูกเรากระทำชำเราจนกระทั่ง ตกอยู่ภายใต้กำหนดกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ศิลปะบริสุทธิ์ได้ถูกทำให้กลายเป็น แค่ป๊อบอาร์ตหรืองานคอลลาจอันดาษดื่น ดังเช่นการนำภาพเขียนทิเบตไป ผสมผสานกับภาพนักบินอวกาศกำลังเดินข้ามไปนภาพหรืออะไรทำนอง นั้น สภาพการณ์ทางศิลปะได้ตกต่ำเสื่อมถอยไปเป็นอันมาก


ประเด็นจึงอยู่ตรงที่ว่า ถ้าหากเราสามารถทำให้ขั้นตอนเหล่านี้คลี่คลาย ไปโดยไม่รู้ตัว ก็อาจมีบางสิ่งอุบัติขึ้นได้ แต่ด้วยเหตุที่เรามีโลกที่เต็มไป ด้วยความจงใจ นั่นก็คงเป็นไปได้ยากยิ่ง อันที่จริงแล้ว ปัญหาเดียวกันนี้ ก็ได้บังเกิดขึ้นในธิเบตด้วย เพราะชาวจีนรับนั้นรับเอาสิ่งต่าง ๆ ไปอย่าง อิสระ ทว่าชาวธิเบตเองกลับกังวลสนใจวัฒนธรรมของตนเอง เขาถือว่า มันต่ำต้อยกว่าวัฒนธรรมของพวกอารยันในอินเดีย ชาวอินเดียมักจะกล่าว ขานถึงทิเบตว่าเป็น เปรตบุรี เป็นบ้านเมืองของผีเปรต เขาถือว่าทิเบตเป็น ดินแดนป่าเถื่อนไร้วัฒนธรรม ดังนั้นเองชาวทิเบตจึงกังวลสนใจอยู่กับเรื่อง นี้มาก ดังนั้น แทนที่เขาจะสร้างภาพเทพทิเบตขึ้นมา เขากลับหันไปรับเอา วัฒนธรรมอารยันตั้งแต่เริ่มแรก ดังนั้นเองในทิเบตจึงไม่ปรากฏเทพทิเบต ภายใต้รูปลักษณ์ขององค์มหาไวโรจนะหรืออะไรทำนองนั้น นี่คือความ คล้ายคลึงอันน่าสนใจยิ่ง


ศิษย์ : เมื่อมีการถวายเครื่องบูชาในรูปของมณฑล นั่นเป็นไปเพื่อสิ่งใด และอย่างไร ดังเช่นที่นาโรปะนำเอามณฑลไปมอบถวายแด่ติโลปะ
 
 
ตรุงปะ : นั่นมิใช่มณฑลในความหมายทางจิตใจหรือทางธรรม นั่นเป็น เพียงภาพลักษณ์ของโลกซึ่งกอปรด้วยทวีปและมหาสมุทรรวมถึงสรรพ สิ่ง การกระทำบูชาด้วยมณฑลนั้นย่อมหมายถึง การยอมสละสิ้นซึ่งที่ พำนักจนถึงขั้นไร้ที่พักพิง นั่นคือ " ผู้ลี้ภัย " ในความหมายอันสูงสุด


ศิษย์ : จะมีสิ่งที่เรียกว่าการสำแดงออกของพลังบริสุทธิ์หรือไม่
 
 
ตรุงปะ : นั่นหมายถึงจะต้องหลุดพ้นออกมาจากวังวนของโลกแห่งการ เปรียบเทียบ เมื่อนั้นมันจึงจะเผยออกมาด้วยเหตุที่มันมิได้ขึ้นอยู่กับโลก สมมติอีกต่อไป



ศิษย์ : จากแง่มุมของอทวิลักษณ์ ความกรุณาจะผุดขึ้นมาได้อย่างไร
 
 
ตรุงปะ : เพียงแค่การไม่ยึดติดอยู่กับการเปรียบเทียบอ้างอิงก็ย่อมก่อ ให้เกิดพื้นที่ว่างขึ้นมากมาย ความกรุณาคือพื้นที่ว่างซึ่งเกื้อหนุนรองรับ สรรพสิ่ง มันแตกต่างอย่างยิ่งกับสภาพการณ์อันปฏิเสธขัดแย้งของเรา ด้วยเหตุที่เราไม่พร้อมที่จะยอมรับสิ่งใด ๆ เลย ดังนั้นความกรุณาจึง ช่วยให้เกิดพื้นที่ว่างขึ้น ยอมให้มีสิ่งต่าง ๆ อุบัติขึ้น
 
 
 
ศิษย์ : เราจะสร้างความเปิดกว้างเช่นนั้นขึ้นมาได้อย่างไร
 
 
ตรุงปะ : ถ้าหากคุณสร้างมันนขึ้นมา นั่นก็หาใช่ความกรุณาอีกต่อไปไม่ ในการที่เราจะเริ่มจุดประกายความกรุณาขึ้นมานั้น คุณจำต้องพร้อมที่จะ โดดเดี่ยวเดียวดาย คุณดำรงอยู่ใสถานการณ์อันโดดเดี่ยวสิ้นเชิง ซึ่งใน ขณะเดียวกันก็คือพื้นที่ว่างอันเปิดกว้างในขณะเดียวกัน การจะก่อเกิด ความกรุณาขึ้นมาได้มิใช่เรื่องของการเข้าไปมีส่วนร่วมกับสิ่งต่างๆ หาก แต่เป็นการปล่อยให้ทุกสิ่งเผยออกมา ดังนั้นความหมายของความโดด เดี่ยวเดียวดายก็คือจุดเริ่มต้นอันแท้จริงของความกรุณา
 
 
ศิษย์ : ในช่วงต้น ๆ ของการเสวนา ท่านได้พูดถึงเรื่อวงของขอบเขต เป็นอันมาก ทว่าบัดนี้ท่ากลับพูดว่ามณฑลเป็นสิ่งที่ปราศจากขอบเขต ท่านพอจะชี้แจงให้กระจ่างกว่านี้ได้ไหม
 
 
 
ตรุงปะ : สังสารมณฑลถูกแบ่งแยกออกจากกันด้วยขอบเขต ด้วยเหตุ ที่มันมีอารมณ์และสภาวะจิตเป็นตัวกำหนด มันดำรงอยู่ด้วยเหตุที่คุณ โอบอุ้มให้มันคงอยู่ ส่วนบูรณภาพมณฑลหรือมณฑลอันสมบูรณ์นั้น หาได้ขึ้นอยู่กับขอบเขตใด ๆ ไม่ ดังนั้นเองมันจึงสำแดงออกมาผ่าน แง่มุมและด้วยอาการอันแตกต่างหลากหลาย ทว่าจากบูรณภาพหนึ่ง เดียว สภาวะอันเกื้อหนุนรองรับของพื้นที่ว่างและสภาวะอันดิ่งลึกหรือ แผ่ขยายครอบคลุมของพื้นที่ว่างล้วนเป็นเพียงแง่มุมอันแตกต่างซึ่งสำ แดงออกมาจากสิ่งเดียวกัน คุณอาจพูดถึงแง่มุมแห่งการส่องสว่างของ ดวงอาทิตย์ และก็อาจพูดถึงแง่มุมแห่งการมอบความเจริญเติบโตให้แก่ สรรพสิ่งของมัน หรืออาจพูดถึงดวงอาทิตย์ในแง่ที่เป็นเครื่องบอกจังหวะ เวลาของชีวิต เหล่านั้นล้วนเป็นการพูดถึงแง่มุมอันแตกต่างหลากหลาย ของสิ่งเดียวกัน หามีขอบเขตอันแบ่งแยกใด ๆ อยู่ไม่ เพียงเป็นการสำแดง ออกอันแตกต่างหลากหลาย


ศิษย์ : เราจะถือได้ไหมว่าขอบเขตเหล่านั้นเป็นหลักการอันแท้จริงของ สัจจภาวะ
 
 
ตรุงปะ : ขอบเขตบังเกิดขึ้นดุจดังอาการที่คุณถ่ายรูป คุณใช้กล้องถ่าย รูปโดยตั้งความเร็วกล้องที่ ๑/๑๒๕ วินาที แล้วคุณก็กดชัตเตอร์ ภาพ นั้นก็ถูกบันทึกไว้บนกระดาษ



ศิษย์ : อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ท่านได้พูดถึงมาแล้ว คือการ ตระหนักรู้ถึงป่าช้าผ่านความรู้สึกไม่มั่นคง กับการแลเห็นถึงบูรณภาพ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นกุญแจไขไปสู่พุทธมณฑล
 
 
ตรุงปะ : บูรณภาพเป็นส่วนหนึ่งของความรู้สึกไม่มั่นคง เมื่อใดที่จิตใจ แห่งสังสารวัฏได้หยั่งเห็นถึงบูรณภาพ มันจะแลเห็นเป็นความไม่มั่นคง ปลอดภัย มันจะรู้สึกถูกคุกคาม รู้สึกว่าเป็นสถานที่แห่งความแตกดับ บูรณภาพนั้นเป็นสิ่งที่บีบคั้นคุกคามเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุที่มันไม่มีสิ่ง ใดให้จับยึด มันเป็นพื้นที่ว่างอันกว้างใหญ่ไพศาล ทว่าจากมุมมองของ ตัวมันเอง บูรณภาพหาได้มีจุดอ้างอิงใด ๆ อยู่ไม่ ดังนั้นปัญหาเรื่องความ ไม่มั่นคงหรือการคุกคามจึงมิได้ผุดขึ้นมาเลย



เราคงจะต้องยุติลงเพียงนี้ คงจะเป็นการดีหากเราได้นำสิ่งที่เราได้พูด กันนี้ไปพิจารณา ขบคิดใคร่ครวญและชักนำมาสู่ประสบการณ์ทางการ ปฏิบัติ สิ่งที่เราได้พูดคุยกันมาก็คือความหมายของพื้นที่ว่างหรือความ เว้นว่าง อันเป็นสิ่งที่เราต้องผ่านพบอยู่เสมอในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะ อยู่ในเมืองหรือในไร่นา ในชีวิตครอบครัวหรือในการงาน เราต้องพบ เผชิญกับความเว้นว่างอยู่เสมอ ดังนั้นเอง เราจึงต้องสัมพันธ์กับมณฑล อยู่ตลอดเวลา อย่างน้อยที่สุดก็ต้องเผชิญกับแง่มุมอันน่าหงุดหงิดรำคาญ ใจของมัน เพราะมันไม่ใช่สิ่งที่เราอาจขจัดไปได้ด้วยการคิดว่า " ฉันทุกข์ มามากพอแล้ว บัดนี้ฉันจะเลิกคิดแล้วลืมมันไปซะ " เพราะไม่ว่าเราจะ พยายามลืมมันลงเพียงใด มันก็จะยืนหยัดสืบไปเพียงนั้น ดังนั้น นี่จึงไม่ ใช่เรื่องของการรู้มากแล้วจะช่วยได้ มันมีธาตุของการผูกมัดตนเองอยู่ ด้วยเหตุที่มีบูรณภาพของชีวิตคุณร่วมอยู่ด้วย เราจึงจำเป็นต้องเข้าสัม พันธ์กับทุกสถานการณ์ของชีวิตเพื่อค้นหาความหมายอย่างลุ่มลึก
 
 
- บทที่ ๗ อสังขตภาวมณฑล -
- จาก ความปั่นป่วนสับสน อันมีแบบแผน หลักการแห่งมณฑล -
 - โดย เชอเกียม ตรุงปะ -
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
คลิป การฝึกเทพสาธนา เพ่งนิมิตจิตมุทรา โดยใช้ กายพระวัชรสัตว์
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 1 2805 กระทู้ล่าสุด 20 กุมภาพันธ์ 2554 19:19:13
โดย มดเอ๊ก
เพ่งนิมิตจิตมุทรา : การเยียวยาด้วยสมาธิจากการสวดมนต์
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 1 2800 กระทู้ล่าสุด 20 พฤษภาคม 2554 21:56:48
โดย มดเอ๊ก
เพ่งนิมิตจิตมุทรา : เมล็ดพยางค์มนตร์ พีชะมนตรา ใน เทพสาธนา
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 2 5083 กระทู้ล่าสุด 20 พฤษภาคม 2554 22:02:07
โดย มดเอ๊ก
เพ่งนิมิตจิตมุทรา : การตื่นขึ้นอย่างเทวะ การสำแดงตรีกาย รูปกายดุจสายรุ้ง
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 7 6968 กระทู้ล่าสุด 22 พฤศจิกายน 2554 09:51:06
โดย มดเอ๊ก
เพ่งนิมิตจิตมุทรา : แนะนำตันตระ สัมโภคกาย พระมหาไวโรจนพุทธะ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 3 5174 กระทู้ล่าสุด 22 พฤศจิกายน 2554 10:11:28
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.576 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 01 พฤศจิกายน 2566 07:05:12