นายจ้างไทยสับมติต่ออายุแรงงานข้ามชาติ 24 ก.ย. 67 'ซับซ้อน ยุ่งยาก แพง' NGO หวั่นหลุดระบบอื้อ
<span>นายจ้างไทยสับมติต่ออายุแรงงานข้ามชาติ 24 ก.ย. 67 'ซับซ้อน ยุ่งยาก แพง' NGO หวั่นหลุดระบบอื้อ</span>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2024-12-07T13:31:00+07:00" title="Saturday, December 7, 2024 - 13:31">Sat, 2024-12-07 - 13:31</time>
</span>
<div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>ภาพปก: แรงงานก่อสร้างในประเทศไทย (ที่มา: หน่วยงานสื่อสาร สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.))</p></div>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ผู้ประกอบการร่วมค้านมติต่ออายุใบอนุญาตทำงานแรงงานข้ามชาติ 24 ก.ย. 67 เพราะซับซ้อน ยุ่งยาก และราคาแพง แถมต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่กระชั้น ด้านภาคประชาสังคม หวั่นแรงงานพม่าหลุดระบบอื้อ กรมการจัดหางาน รับหาทางออก</p><p> </p><p>เมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2567 เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG) และเครือข่ายด้านแรงงาน ร่วมจัดเสวนาหัวข้อ "ชำแหละมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 24 กันยายน 2567 การบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ" โดยได้ตัวแทนหลายภาคส่วน ทั้งผู้ประกอบการ ภาคประชาสังคม กรมการจัดหางาน และนักการเมือง มาร่วมสะท้อนปัญหามติคณะรัฐมนตรีต่ออายุแรงงานข้ามชาติ เมื่อ 24 ก.ย. 2567 ที่ได้เริ่มเอาระบบกึ่ง MOU เข้ามาใช้</p><p>ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย</p><ol><li aria-level="1">อดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG)</li><li aria-level="1">ปัญญารักษ์ โรเก้ องค์กร Dignity in work for all</li><li aria-level="1">กิริยา กุลกลการ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</li><li aria-level="1">สหัสวัต คุ้มคง สส.พรรคประชาชน</li><li aria-level="1">นิลุบล พงษ์พยอม กลุ่มนายจ้างสีขาว</li><li aria-level="1">อรรถพันธ์ มาศรังสรรค์ ที่ปรึกษาด้านแรงงาน สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย</li><li aria-level="1">จำนงค์ ทรงเคารพ ผู้แทนจากกรมจัดหางาน กระทรวงแรงงาน</li></ol><p>อดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงาน MWG เกริ่นถึงภาพรวมมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 24 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา มีหลักสำคัญ 4 ประเด็น ประกอบด้วย 1. การเปิดให้จดทะเบียน 4 สัญชาติ (เมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) ทั้งเข้ามาใหม่ และหลุดออกจากระบบ 2. ต่ออายุแรงงานข้ามชาติตามมติ ครม.เดิม 18 ก.พ. 2568 3. ขยายเวลาการเปลี่ยนนายจ้าง 30 วัน เป็น 60 วัน และสุดท้าย 4. งดเว้นการแจ้งเข้าในกรณีการขออนุญาตทำงานครั้งแรก</p><p>สำหรับมติ ครม. 24 ก.ย.ที่ผ่านมา หรือเรียกง่ายๆ ว่ามติต่ออายุใบอนุญาตทำงาน 24 ก.ย. 2567 ได้หยิบแนวคิด MOU เข้ามาใช้ เพื่อให้แรงงานอยู่ในไทยได้นานกว่าเดิม โดยการขออนุญาตทำงานได้ครั้งละ 2 ปี และต่ออายุ 2 ปี แต่ในทางปฏิบัติเหมือนว่าจะยังมีปัญหาอยู่มากโข</p><h2>ขั้นตอนยุ่งยาก เวลากระชั้น</h2><p>อดิศร ฉายภาพขั้นตอน 9 ขั้นตอน สำหรับการต่ออายุใบอนุญาตทำงาน โดยเริ่มจากยื่น namelist (บัญชีรายชื่อ) ผ่านช่องทางออนไลน์ให้กรมจัดหางาน จากนั้น กรมจัดหางานแต่ละท้องที่อนุมัติบัญชีรายชื่อ และให้นายจ้างเอาเอกสารไปยื่นที่สถานทูตประเทศต้นทาง สำหรับส่วนขยายของสถานทูตพม่า มีสำนักงานอยู่ 3 จังหวัด ได้แก่ ระนอง กรุงเทพฯ และเชียงใหม่</p><p>ต่อมา นายจ้างต้องเอาเอกสารจากประเทศต้นทางไปยื่นขอใบอนุญาตทำงานและตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลรัฐ หรือเอกชน และสุดท้ายต้องไปตรวจลงตราวีซ่าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยทั้งหมดต้องเสร็จภายใน 13 ก.พ. 2567 หรือมีระยะเวลาอย่างน้อย 43 วันทำการราชการ</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54187688918_b552fd7ec7_b.jpg" width="1024" height="576" loading="lazy">ขั้นตอนการทำใบอนุญาตทำงานตามมติ ครม. 24 ก.ย. 2567</p><p>สิ่งที่น่ากังวลใจรอบนี้คือแรงงานพม่า เพราะมีจำนวนสูงถึง 2 ล้านกว่าคนที่ต้องทำเรื่องต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ภายในระยะเวลาไม่ถึง 2 เดือน</p><p>“หากพิจารณาจากแรงงานข้ามชาติพม่าที่ต้องต่ออายุ และต้องทำให้เสร็จก่อน 13 ก.พ. 2568 เฉลี่ยแล้วภาครัฐต้องดำเนินการตกวันละ 39,468 คน เกือบ 4 หมื่นคนต่อวัน แต่ถ้าประเทศต้นทางยังไม่เริ่มดำเนินการ ตัวเลขเฉลี่ยต่อวันจะเพิ่มขึ้นอีก”</p><p>“คำถามที่เป็นข้อกังวลใจแน่ๆ คือทันหรือไม่ และถ้าไม่ทันจะอย่างไร เพราะถ้าเกิดไม่ทัน หลัง 13 ก.พ. จะกลายเป็นผิดกฎหมายทันที” อดิศร กล่าว</p><p>ผู้ประสานงาน MWG เผยด้วยว่า ตอนนี้แนวโน้มแรงงานข้ามชาติพม่าอาจมีจำนวนมากขึ้น จากปัจจัยสำคัญคือมาตรการบังคับเกณฑ์ทหารของกองทัพพม่า โดยชายอายุ 18-35 ปีต้องรับราชการทหารเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี ปัจจัยดังกล่าวทำให้มีแนวโน้มว่าจะมีผู้ชายชาวพม่าอพยพเข้ามาในประเทศมากขึ้น 1.4 ล้านคนทีเดียว </p><p>"ถ้าเรายังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนเรื่องการต่ออายุคน 2 ล้านกว่าคน สิ่งที่จะเจอแน่ๆ ก็คือปัจจัยความเสี่ยงทั้งความมั่นคงของไทย ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ ปัญหาเรื่องการพึ่งพาแรงงานในระยะยาว และก็สิ่งหนึ่งที่ตั้งข้อสังเกตคือ ที่เราบอกว่าเรามีแรงงานผิดกฎหมายเยอะ มันเป็นเพราะนโยบายของรัฐหรือไม่" อดิศร กล่าว</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54187863430_759f7073cd_b.jpg" width="1024" height="576" loading="lazy">จำนวนแรงงานพม่าที่ต้องต่ออายุใบอนุญาตทำงาน</p><h2>หวั่นข้อมูลส่วนบุคคลหลุดถึงกองทัพพม่า</h2><p>อดิศร แสดงความกังวลด้วยว่า หากต้องดำเนินการในเวลากระชั้นอาจส่งผลให้แรงงานหลุดออกจากระบบ และด้านความปลอดภัยในชีวิต เพราะแรงงานข้ามชาติกังวลเรื่องติดต่อกับประเทศต้นทาง และความปลอดภัยในเรื่องการทำเอกสาร เพราะก่อนหน้านี้ ตอนที่นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร ไปประชุม และได้พบนายพลทหารพม่ามินอ่องหล่าย สิ่งที่มินอ่องหล่ายขอคือให้ส่งข้อมูลแรงงานพม่าในประเทศไทยให้ แต่นายกฯ โยนให้กระทรวงแรงงานรับผิดชอบ และอีกอันก็คือ มีการออกแนวปฏิบัติจากประเทศต้นทางต่อบริษัทจัดส่งแรงงานว่า กรณีที่แรงงานเข้ามาในประเทศไทยครบ 2 ปีแล้ว สามารถถูกเรียกไปเป็นทหารได้ทันที</p><h2>ระบบออนไลน์ล่ม ไปทำเรื่องเองก็เสียค่านายหน้า</h2><p>นิลุบล ตัวแทนกลุ่มนายจ้างสีขาว และเป็นตัวแทนผู้ประกอบการรายกลาง-ย่อย กล่าวว่า เธอไม่เห็นด้วยกับมติ ครม. เมื่อ 24 ก.ย. 2567 เนื่องจากมีความยุ่งยาก และซับซ้อน</p><p>นิลุบล สะท้อนปัญหานายจ้างที่อยู่ในบริเวณพื้นที่วิกฤตน้ำท่วมภาคเหนือ และภาคใต้ ส่งผลให้นายจ้างได้รับผลกระทบ การเดินทางไปทำเรื่องต่ออายุแรงงานพม่ายากลำบาก ถนนถูกตัดขาดจากเหตุดินโคลนถล่ม อีกทั้ง ที่ตั้งส่วนขยายของสถานทูตมี 3 แห่งเท่านั้น คือ กทม. เชียงใหม่ และระนอง หากนายจ้างอยู่นอกพื้นที่ต้องเดินทางไกลเพื่อทำเรื่อง ซึ่งทั้งหมดนี้มาในช่วงที่แรงงานพม่ากว่า 2 ล้านคนต้องต่ออายุใบอนุญาตทำงาน และเวลาในการดำเนินการไม่ถึง 2 เดือนจึงมีคำถามจากนายจ้างรายย่อยว่าทำไมถึงเลือกใช้วิธีการนี้ในสถานการณ์เช่นนี้</p><p>“ผู้ประกอบการเกือบ 100% ที่เราลงแบบสอบถามไป ไม่สนับสนุนกับการทำมติ ครม.นี้” นิลุบล กล่าว</p><p>นอกจากนี้ ระหว่างไลฟ์สดออนไลน์ของประชาไท มีผู้รับชมเข้ามาตั้งคำถามด้วยว่าคนทำงานชาวพม่ามีทุกจังหวัด แต่ทำไมสำนักงานของสถานทูตมีแค่เพียง 3 จังหวัดเท่านั้น</p><p>อย่างไรก็ดี จำนงค์ ทรงเคารพ จากกรมการจัดหางาน กล่าวว่า ทางกรมฯ พยายามอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่โดยนายจ้างสามารถยื่นบัญชีรายชื่อ (namelist) ผ่านระบบออนไลน์ และหากนายจ้างประสบปัญหาไม่สามารถทำเรื่องเองได้ สามารถมอบอำนาจให้นายหน้าทำเรื่องแทนได้</p><h2>นายจ้างรายย่อยกุมขมับ ค่าใช้จ่ายเพิ่ม 2 เท่า</h2><p>นอกจากความยุ่งยาก และซับซ้อน นิลุบล กล่าวว่า ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการยังมีราคาที่แพงมากเมื่อเทียบกับสมัยก่อน เธอยกตัวอย่างค่าใช้จ่ายแรงงานกรรมกร เดิมทำบัตรชมพู สมัยนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร อยู่ที่ 9 พันกว่าบาท แต่ต่ออายุใบอนุญาตทำงาน MOU แบบใหม่ ต้องใช้เงินสูงถึง 2.1 หมื่นบาทขึ้นไป โดยค่าใช้จ่ายนี้ยังไม่รวม ‘ค่าคิวผี’ และอื่นๆ </p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54187420566_5599da2a41_b.jpg" width="1024" height="576" loading="lazy">ภาพสไลด์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายต่อใบอนุญาตทำงานของกรรมกรข้ามชาติ (ที่มา: กลุ่มนายจ้างสีขาว)</p><p>ตัวแทนกลุ่มนายจ้างสีขาว กล่าวว่า บางกรณีนายจ้างต้องยื่นบัญชีรายชื่อให้กรมจัดหางาน ก็ประสบปัญหาระบบออนไลน์ล่ม ทำให้ต้องเดินทางไกลไปทำเรื่องที่สำนักงานกรมจัดหางานในพื้นที่ แต่พอไปถึง กลับพบว่าไม่มีคิว ต้องจ่ายเงินซื้อคิว สร้างภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มให้นายจ้าง ขอให้กรมจัดหางานช่วยแก้ไข นอกจากนี้ นายจ้างยังอยากได้ความชัดเจนเรื่องเวลาว่ากระบวนการทั้งหมดใช้ระยะเวลากี่วัน</p><p>“ดีไซน์ออกมา หารือผู้ประกอบการหรือคนที่มีส่วนร่วมบ้างหรือไม่ เพราะมันมีปัญหาสำหรับทุกฝ่าย เราไม่เคยมีส่วนร่วมเข้าไปอยู่ในคณะกรรมการนโยบาย หรือชุดอนุฯ ต่างๆ” ตัวแทนสมาชิกผู้ประกอบการสีขาว กล่าว</p><p>ท้ายที่สุด ตัวแทนสมาชิกกลุ่มนายจ้างสีขาว เสนอว่าให้ทางการไทยช่วยตัดราคาค่าบัญชีรายชื่อ และตัดค่าภาษีออก เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้นายจ้าง และเสนอให้ภาครัฐปรับปรุงระบบให้เป็นออนไลน์ หรือทำศูนย์ One Stop Service เพื่อให้นายจ้างสามารถทำทุกอย่างได้เองโดยไม่ต้องจ่ายเงินพึ่งพานายหน้า หรือคิวผีอื่นๆ</p><h2>บริษัทต่างประเทศกังวลแรงงานบังคับ</h2><p>ปัญญารักษ์ ร่วมสะท้อนภาพมุมมองของผู้ซื้อ (Buyer) จากต่างประเทศ โดยแนวโน้มช่วงที่ผ่านมาสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ กำลังให้ความสำคัญในการนำเข้าสินค้าที่ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือสินค้าที่มาจากแรงงานบังคับ-แรงงานขัดหนี้</p><p>ปัญญารักษ์ แสดงความเป็นห่วงเช่นกันว่า ‘ค่าดำเนินการที่แพง’ และ ‘ขั้นตอนที่ยุ่งยาก’ ที่ทำให้ต้องใช้บริการนายหน้าลัดคิว กำลังส่งผลต่อผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะสมรรถนะการแข่งขันของธุรกิจไทย </p><p>ปัญญารักษ์ กล่าวต่อว่า ถ้าค่าใช้จ่ายที่แพงถูกผลักภาระให้กับแรงงาน ก็อาจทำให้เกิดภาวะแรงงานขัดหนี้ เนื่องจากแรงงานต้องไปกู้เงินเพื่อนำมาขึ้นทะเบียน แต่ขณะเดียวกัน หากนายจ้างต้องการแก้ไขปัญหาแรงงานขัดหนี้ ก็ต้องใช้ ‘หลักการนายจ้างจ่าย’ หรือนายจ้างจะเป็นผู้ที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดของแรงงาน ซึ่งปัญหาก็จะตามมาด้วยค่าใช้จ่ายของนายจ้างที่เพิ่มขึ้น และปัญหาการแข่งขันด้านธุรกิจติดตามมา </p><p>"ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการสรรหาแรงงานข้ามชาติ ซึ่งผู้ประกอบการไทยส่วนมากจำเป็น และไม่มีทางเลือกอื่นที่จะไม่ใช้ ควรจะเป็นค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผลเพียงพอที่จะนำแรงงานเข้าสู่ระบบอย่างแท้จริง ไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ จะบานปลายหลังจากนี้ เพราะมันจะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจไทย" ปัญญารักษ์ กล่าว</p><h2>หลักการดี คำถามคือภาครัฐพร้อมหรือไม่</h2><p>กิริยา อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า เธอเข้าใจว่าทุกคนมีความฝันร่วมกันที่จะให้แรงงานข้ามชาติเข้ามาทำงานและอาศัยในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย อยู่อย่างมั่นคง ไม่ถูกขูดรีดและถูกเอาเปรียบ และเข้าใจว่ากระทรวงแรงงานคาดหวังเช่นเดียวกัน ความคาดหมายดังกล่าวนำมาสู่กระบวนการที่เปลี่ยนแปลงออกไป ทั้งกระบวนการที่ซับซ้อน ยุ่งยากมากขึ้น และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งคำถามสำคัญคือทุกฝ่ายพร้อมหรือยัง</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54186536357_5b430ae4fe_b.jpg" width="1024" height="570" loading="lazy">กิริยา กุลกลการ</p><p>กิริยา กล่าวว่า ถ้าเราดูจากภาครัฐ กระทรวงแรงงานอาจบอกว่าพร้อมแล้ว มีระบบออนไลน์ในการช่วยดำเนินการ มีปัญหาอะไรก็ค่อยปรับไประหว่างทาง ซึ่งสำหรับเอกชนเรื่องนี้มันรอไม่ได้ เพราะมันขึ้นกับความอยู่รอด และที่ไม่พร้อมที่สุดคือการประชาสัมพันธ์ของภาครัฐ เพื่อผู้ประกอบการทุกระดับให้เข้าใจกระบวนการต่ออายุใบอนุญาตทำงานแรงงานข้ามชาติ</p><p>ส่วนภาคเอกชนพร้อมหรือไม่ เพราะขั้นตอนดำเนินการที่ซับซ้อน และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมาพร้อมกับช่วงเศรษฐกิจไทยที่ไม่ปกติ โตต่ำกว่า 3% และได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมภาคเหนือ และภาคใต้</p><p>ขณะที่แรงงานข้ามชาติก็ไม่พร้อม เพราะด้วยสถานการณ์ที่ไม่ปกติในเมียนมา ทำให้แรงงานกลัวข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล ซึ่งต้องถามว่าภาครัฐได้คุยกับประเทศต้นทางเพื่อคุ้มครองสิทธิแรงงานแล้วหรือยัง ดังนั้น แม้ว่าหลักการ MOU จะเป็นสิ่งที่ทุกคนใฝ่ฝัน แต่ว่ามันใช่ช่วงเวลาหรือไม่ที่เราจะดำเนินการตามกระบวนการนี้ในช่วงสภาวะที่ทุกคนไม่พร้อม</p><p>“นายจ้างกับลูกจ้างเขาจับมือกัน NGO เขาร่วมอยู่ด้วย NGO มันต้องทะเลาะกับนายจ้าง วันนี้เขามารวมกัน เขาไม่โอเคกับภาครัฐ และการที่ทุกอย่างไม่ชัดเจน ขั้นตอนเยอะ และเวลาจำกัด ตามหลักวิชาการคือการเปิดช่องทุจริต ถ้าทุกอย่างชัดเจน ขั้นต่ำบริษัทเล็กๆ ต้องมีทางเลือกที่จะทำเองได้โดยไม่ต้องเสียค่าคนกลาง แต่ถ้าเขาทำเองไม่ได้ และเขาต้องการถูกกฎหมาย วิธีการมันก็คือทุจริตคอรัปชัน อันนั้นคือสิ่งที่เราอยากจะเห็นหรือเปล่า ใครได้ประโยชน์หรือเปล่า …อยากให้เป็นไปได้ไหมถ้าเราจะยืดเวลาออกไป ต่ออายุอีกสักหน่อยได้หรือไม่ แรงงานข้ามชาติมีความสำคัญกับประเทศมากๆ แต่ว่าการบริหารจัดการต่างหากที่เราต้องจัดการให้ดี” กิริยา กล่าว </p><h2>ชงกระจายหน้าที่ให้ท้องถิ่นช่วย</h2><p>สหัสวัต คุ้มคง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชลบุรี พรรคประชาชน มองว่าระบบการขึ้นทะเบียนควรอยู่บนหลักการ ‘ถูก เร็ว ง่าย’ แต่ตอนนี้ประเทศไทยเป็นระบบที่ แพง ยุ่งยาก และซับซ้อน ซึ่งขัดกับหลักการสากล</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54187704244_77f8e90c97_b.jpg" width="1024" height="650" loading="lazy">สหัสวัต คุ้มคง</p><p>สหัสวัต เห็นสอดคล้องกับกิริยา ว่า การจ้างงานแบบ MOU เป็นกระบวนการที่ดีมาก เพราะว่าแรงงานถูกจ้างอย่างถูกกฎหมายมาตั้งแต่ประเทศต้นทาง และเราทราบข้อมูลคนเข้า-ออกตลอดเวลา แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันพม่าอยู่ในสงครามกลางเมือง และแทบจะเรียกได้ว่าเป็น ‘รัฐล้มเหลว’ (Failed State) สถานการณ์แบบนี้ MOU เกิดขึ้นได้ยากมาก ซึ่งเราอาจจะต้องคิดถึงการจัดการเอกสารของแรงงานข้ามชาติของประเทศไทยฝ่ายเดียว</p><p>สำหรับข้อเสนอของพรรคประชาชน เพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญของกระบวนการต่ออายุใบอนุญาตทำงานที่แพง ซับซ้อน และยุ่งยาก สหัสวัต ได้เสนอว่าเป็นไปได้หรือไม่ถ้าจะให้บทบาท ‘ท้องที่’ ในการจดทะเบียนและต่ออายุใบอนุญาตทำงานของแรงงานข้ามชาติ แล้วให้มีการประสานงานด้านข้อมูลกับส่วนกลาง</p><p>เขาคิดว่าท้องถิ่นที่จะได้ประโยชน์ในการบริหารจัดการดูแลแรงงานข้ามชาติในพื้นที่ และให้ศูนย์ในท้องถิ่นเป็นแบบ One Stop Service จัดการในประเทศทั้งหมด และเราค่อยกลับมาใช้ระบบ MOU หลังจากสถานการณ์เมียนมาฟื้นคืนสู่ภาวะปกติ</p><p>หลังจบอภิปรายแล้วยังมีผู้ร่วมแสดงความเห็นอีกหลายคน โดยเฉพาะจากผู้ประกอบการที่สะท้อนปัญหาว่า คิวในการตรวจสุขภาพให้แรงงานข้ามชาติในบริษัทตามโรงพยาบาลรัฐให้เวลาค่อนข้างน้อย และเสี่ยงไม่ทันระยะเวลาดำเนินการ ซึ่งกรมการจัดหางาน ชี้แจงว่า หากโรงพยาบาลรัฐตรวจโรคให้แรงงานข้ามชาติไม่ทันเวลา สามารถดำเนินการตรวจโรคที่โรงพยาบาลเอกชนได้</p><p>ด้านจำนงค์ ตัวแทนกรมการจัดหางาน กล่าวระหว่างเสวนาด้วยว่า ทางกรมฯ ยินดีรับฟังข้อขัดข้อง และจะพยายามไปหาวิธีการดำเนินการแก้ไขมาให้ได้</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54187704249_54c4901ff3_b.jpg" width="1024" height="628" loading="lazy">จำนงค์ ทรงเคารพ</p><p>ส่วนปัญหาเรื่องคิวผี หรือคนที่ขายคิวให้นายจ้าง จำนงค์ กล่าวว่า ถ้าพบการกระทำดังกล่าว สามารถแจ้งทางกรมจัดหางาน</p><p>ต่อประเด็นขยายเวลาการดำเนินการต่ออายุแรงงานข้ามชาติหรือไม่นั้น ตัวแทนกรมจัดหางาน กล่าวว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการยื่นเอกสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ หากมีการยื่นเอกสารผ่านระบบออนไลน์อย่างต่อเนื่อง และพิจารณาแล้วเห็นว่ายื่นไม่ทันจริงๆ อาจจะเป็นข้อมูลในการประกอบพิจารณาขยายระยะเวลาดำเนินการตามมติ 24 ก.ย. 2567 แต่ปัญหาที่พบคือนายจ้างชอบยื่นเอกสารใกล้วันหมดเวลาดำเนินการ </p></div>
<div class="node-taxonomy-container">
<ul class="taxonomy-terms">
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่า
http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">แรงงา
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยช
http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิ
http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" hreflang="th">แรงงานข้ามชาต
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" hreflang="th">พม่
http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2" hreflang="th">เมียนม
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">กรมการจัดหางา
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">กระทรวงแรงงา
http://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%A5-%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A1" hreflang="th">นิลุบล พงษ์พยอ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">นายจ้างสีขา
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%89" hreflang="th">ปัญญารักษ์ โรเก
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A3-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5" hreflang="th">อดิศร เกิดมงค
http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" hreflang="th">เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาต
http://prachatai.com/category/migrant-working-group" hreflang="th">Migrant Working Group[/url]</li>
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C-%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%8C" hreflang="th">อรรถพันธ์ มาศรังสรรค
http://prachatai.com/category/%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C-%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E" hreflang="th">จำนงค์ ทรงเคาร
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2-%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3" hreflang="th">กิริยา กุลกลกา
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95-%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%87" hreflang="th">สหัสวัต คุ้มค
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">พรรคประชาช
https://prachataistore.net</div>
http://prachatai.com/journal/2024/12/111611 







