ไทยในห่วงโซ่ค้าวัวข้ามแดน (2) โรคสัตว์ข้ามพรมแดน ภัยเงียบที่มากับวัวเถื่อน
<span>ไทยในห่วงโซ่ค้าวัวข้ามแดน (2) โรคสัตว์ข้ามพรมแดน ภัยเงียบที่มากับวัวเถื่อน</span>
<span><span>user8</span></span>
<span><time datetime="2024-12-09T00:54:47+07:00" title="Monday, December 9, 2024 - 00:54">Mon, 2024-12-09 - 00:54</time>
</span>
<div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>กรรณิกา เพชรแก้ว รายงาน</p></div>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>เมื่อรัฐบาลไทยมีแนวคิดนำเข้าวัวจากพม่าอย่างเป็นทางการ ก่อให้เกิดแรงต้านจากเกตรกรผู้เลี้ยงวัวชาวไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นเพราะทุกคนรับรู้ว่าพม่าเป็นพื้นที่ระบาดของโรคสำคัญอย่างโรคปากและเท้าเปื่อย และมีความเสี่ยงส่งออกโรคข้ามพรมแดนมาสู่ไทย</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54186392486_6386227c1f_k.jpg" width="2048" height="1365" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">ที่มา: ณัฐกิตติ์ มีสกุล</p><p>
จากตอนที่แล้ว เมื่อรัฐบาลไทยมีแนวคิดนำเข้าวัวจากพม่าอย่างเป็นทางการ ก่อให้เกิดแรงต้านจากเกตรกรผู้เลี้ยงวัวชาวไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้</p><p>นั่นเพราะทุกคนรับรู้ว่าสหภาพแห่งสาธารณรัฐเมียนมาหรือพม่า ยังเป็นพื้นที่ระบาดของโรคสำคัญอย่างโรคปากและเท้าเปื่อย (Foot and Mouth Disease หรือ FMD) และมีความเสี่ยงส่งออกโรคข้ามพรมแดนมาสู่ไทย</p><p>ทั้งยังมีระบบการตรวจตราและควบคุมโรควัวหละหลวม โดยเฉพาะหลังเกิดรัฐประหารในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 ซึ่งรัฐบาลทหารพม่าทุ่มทรัพยากรทำสงครามกับประชาชนและกลุ่มชาติพันธุ์ จนปัญหาด้านสังคมและสุขภาพไม่ได้รับการเหลียวแล</p><p>นายสัตวแพทย์เทิดศักดิ์ ญาโณ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นนักวิจัยด้านสุขภาพสัตว์ และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหนึ่งเดียว
(One Health) ที่มีประสบการณ์การทำงานในเมียนมาระบุว่าที่นั่นระบบการเลี้ยงวัวและการให้วัคซีนยังมีช่องโหว่มาก จนอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงที่เชื้อโรคจะแพร่กระจายข้ามประเทศ หากไม่มีการกักกันและเฝ้าระวังที่เข้มข้น</p><p>“เชื้อโรคที่แพร่มาสู่คน 70% แพร่มาจากสัตว์ หรือมีสัตว์เป็นพาหะ” น.สพ.เทิดศักดิ์ให้ความเห็น “เพราะเชื้อโรคสามารถแพร่กระจายได้ง่ายกว่าสัตว์ที่ชำแหละแล้ว น้ำลายหรือลมหายใจกระจายเชื้อได้ทันที” </p><p>วัวอาจมีโรคในตัวโดยไม่แสดงอาการ ซึ่ง น.สพ.เทิดศักดิ์ เห็นว่าเป็นจุดอ่อนที่ทำให้โรคเดินทางข้ามพรมแดนมาไทยได้ </p><p>“สำหรับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ การที่วัวไม่แสดงอาการหมายถึงไม่มีโรค พร้อมจะอนุญาตให้เคลื่อนย้ายได้ แต่ในความเป็นจริงวัวอาจแสดงอาการของโรคระหว่างการเคลื่อนย้าย วัวเครียด เหนื่อย และต้องอดน้ำอดอาหารระหว่างการขนส่งที่อาจยาวนาน 10 ชั่วโมง ภูมิคุ้มกันจะลดลงและแสดงอาการตลอดจนแพร่เชื้อได้ระหว่างทาง ผ่านระบบทางเดินทางหายใจหรือของเสียที่ปล่อยออกมา”</p><p>ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา น.สพ. โท มิน ทุน (Toe Min Tun) รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ของของเมียนมา รายงานต่อที่ประชุมคณะทำงานป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย และการจัดการเคลื่อนย้ายสัตว์มีชีวิตในกลุ่มประเทศแม่น้ำโขงตอนบนครั้งที่ 15 </p><p>ระบุว่า เมียนมามีวัคซีนป้องกันโรคปากเท้าเปื่อยในวัวและกระบือปีละ 300,000 โดส และมีแผนก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนขนาดใหญ่ เพื่อผลิตให้ได้ปีละ 1 ล้านโดสภายในสิ้นปีนี้ ภายใต้การสนับสนุนขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น</p><p>อย่างไรก็ดี การตรวจสอบล่าสุดกับแหล่งข่าวพบว่าโครงการนี้ยังไม่สามารถดำเนินการตามที่ระบุได้ สืบเนื่องจากสงครามภายในประเทศที่รุนแรงยิ่งขึ้น ขณะที่เมียนมามีวัวมากถึง 10 ล้านตัว สะท้อนว่าแม้โรงงานผลิตวัคซีนจะสร้างได้จริง แต่ก็อาจไม่เพียงพอกับความต้องการ</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54185504662_3f6cc087e8_h.jpg" width="1600" height="1200" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">ที่มา: DVB</p><p>แม้ว่ารัฐบาลไทยจะยังปิดชายแดนเพื่อสกัดโรคจากวัวจากเมียนมาจนถึงวันนี้ เกษตรกรและผู้ค้าวัวให้ข้อมูลว่ายังมีการลักลอบนำเข้าวัวเมียนมาสู่ไทยโดยไม่แผ่วลง เสมือนว่ายิ่งปิดชายแดน ยิ่งเพิ่มแรงจูงใจในการลักลอบนำเข้า</p><h2>เปลี่ยนวัวพม่าเป็นวัวไทย</h2><p>การลักลอบนำเข้าวัวเกิดขึ้นตลอดแนวชายไทยและเมียนมา ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นภูเขาและป่าสลับซับซ้อน โดยเฉพาะจุดที่ไม่มีการเฝ้าระวังชายแดน ช่องทางธรรมชาติ และจุดที่ไม่มีการสู้รบในฝั่งเมียนมา โดยมีจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง เป็นทางผ่านหลัก ก่อนที่จะนำวัวไปส่งยังจังหวัดอื่นๆ</p><p>ศรีนวล สุนทร เกษตรกรเลี้ยงวัว อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ ให้ข้อมูลว่า มีวัวจากเมียนมาเข้ามาถึงพื้นที่ตนต่อเนื่อง แม้หลังรัฐบาลไทยประกาศชะลอการนำเข้าวัวจากประเทศเพื่อนบ้าน </p><p>ส่วนใหญ่มีคนพาวัวลักลอบเข้ามาในเวลากลางคืน หรือวันหยุดราชการ โดยจูงวัวเข้ามากลุ่มละไม่เกิน 20 ตัว และถูกขายต่อให้นายหน้าหรือเกษตรกรในไทย เพื่อนำไปเลี้ยงชั่วคราว ก่อนนำไปขายในตลาดนัดวัวท้องถิ่น</p><p>“สังเกตได้ง่ายวัวพวกนี้จะเล็กและผอมกว่าวัวที่เลี้ยงในบ้านเรา และขายในราคาถูกมาก เช่น วัวขนาดปานกลางน้ำหนักประมาณ 200 กิโลกรัม จะขายที่ตัวละ 5,000-7,000 บาทเท่านั้น ขณะที่วัวบ้านเราขายตัวละเกือบ 20,000 บาท” ศรีนวลกล่าว</p><p>“พ่อค้าจะซื้อวัวเหล่านี้ไปขุน และขายแก่โรงเชือดในพื้นที่ ถ้าเป็นวัวส่งออก เขาจะเลือกวัวที่ลักษณะดี สมบูรณ์ ไม่ต้องเอาไปขุนต่อ วัวที่ลักลอบนำเข้าจึงไม่ค่อยถูกเลือก จะปะปนอยู่กับวัวแถวชายแดน”</p><p>อย่างไรก็ดี มีพ่อค้าวัวระบุว่า วัวจากเมียนมาจำนวนหนึ่งก็ถูกขุนในไทย เพื่อส่งออกสู่จีนผ่านไทยและลาวเช่นกัน
ข้อมูลจากศรีนวลสอดคล้องกับรายงานของผู้สื่อข่าวในเมียนมาภายใต้ความร่วมมือทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนชิ้นนี้ ซึ่งระบุว่าการลักลอบนำวัวข้ามพรมแดนมาไทยมีต่อเนื่อง</p><p>หนึ่งในพ่อค้าในเมียนมาเล่าว่า วัวถูกจูงข้ามพรมแดนเป็นฝูง ทีละ 10-20 ตัว โดยหลีกเลี่ยงการนำเข้าฝูงใหญ่ เผื่อถูกจัมกุมและวัวถูกยึด ความสูญเสียจะได้อยู่ในวงจำกัด</p><p>ขณะที่ยังพบการพาวัวข้ามพรมแดนคืนละ 10-15 ตัว ณ จุดข้ามแดนแห่งหนึ่งใน จ.ตาก สะท้อนว่าการลักลอบนำวัวเข้าเขตไทยในจุดนี้จุดเดียวอาจมีจำนวนหลายพันตัวต่อปี</p><p>การรวบรวมข่าวสารของทีมงานพบว่า มีรายงานข่าวจับวัวเถื่อนในไทยประมาณ 23 ครั้งในระหว่างปี 2565 ถึงกลางปี 2566 รวมจำนวนวัวของกลาง 1,182 ตัว อย่างไรก็ดี ตัวเลขนี้สะท้อนเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาการลักลอบนำเข้าวัวเถื่อนจากเมียนมา</p><p class="text-align-center"><iframe style="border-style:none;min-width:100% !important;width:0;" title="News reports of smuggling live cattle" aria-label="Map" id="datawrapper-chart-xVZEe" src="
https://datawrapper.dwcdn.net/xVZEe/1/" scrolling="no" frameborder="0" height="610" data-external="1"></iframe><script type="text/javascript">!function(){"use strict";window.addEventListener("message",(function(a){if(void 0!==a.data["datawrapper-height"]){var e=document.querySelectorAll("iframe");for(var t in a.data["datawrapper-height"])for(var r=0;r&amp;amp;amp;amp;lt;e.length;r++)if(e[r].contentWindow===a.source){var i=a.data["datawrapper-height"][t]+"px";e[r].style.height=i}}}))}();</script></p><p>หลังจากข้ามพรมแดนเข้ามาในไทยแล้ว ผู้ซื้อจะนำวัวเถื่อนไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ ยืนยันว่าเป็นวัวที่ถูกต้อง แต่ลืมแจ้งขึ้นทะเบียนตามเวลาที่กำหนด หากไม่พบข้อพิรุธเจ้าหน้าที่จะขึ้นทะเบียนและออกใบรับรองให้ ทำให้วัวพม่ากลายเป็นวัวไทยโดยสมบูรณ์</p><p>“เมื่อเข้าสูู่ระบบของเรา ได้รับวัคซีนได้รับอนุญาตให้เคลื่อนย้าย และเมื่อย้ายเข้าไปยังจังหวัดชั้นในที่ไม่ใช่จังหวัดชายแดน ก็ขอออกเบอร์หูได้ จากนั้นจะไปไหนก็ไปได้หมด” เกษตรกรผู้เลี้ยงวัวรายหนึ่งใน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ให้ข้อมูล</p><p>กระบวนการเปลี่ยนวัวพม่าเป็นวัวไทยเคยถูกพูดถึงในสภา โดยนายคริษฐ์ ปานเนียม สส.ตาก อดีตพรรคก้าวไกล เคย
อภิปรายตั้งข้อสังเกตถึงกรณีที่พบวัวเถื่อนหลายตัวในโครงการโคบาลชายแดนใต้ ใช้ชื่อเดียวกันคือ “บัวทอง” โดยน่าจะลงทะเบียนโดยสวมสิทธิเอกสารจากวัวชื่อดังกล่าว </p><p>เชื่อว่าวัวเถื่อนเหล่านี้ขนย้ายมาจาก จ.ตาก แต่กลับผ่านด่านตรวจได้ถึง 5 ด่านจนถึง จ.นครสวรรค์ ก่อนที่จะนำไปยังภาคใต้ จึงน่าจะมีการทุจริตเกี่ยวข้อง</p><p>ขณะที่นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เคยให้สัมภาษณ์เมื่อต้นปีที่ผ่านมาว่ามี “คนสีเทาและสีดำ” ที่ทำให้การลักลอบนำวัวเถื่อนเข้าไทยยังคงเป็นปัญหา ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรไทยและราคาวัวตกต่ำ</p><p>เมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไพบูลย์ ใจเด็ด อุปนายกสมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย ระบุเส้นทางพาวัวเถื่อนจากเมียนมาเข้าไทย ในระหว่างการเสวนาทางวิชาการ
“โคเนื้อไทย...จะไปรอดได้อย่างไร?” </p><p>แต่เมื่อผู้สื่อข่าวติดต่อไพบูลย์เพื่อขอสัมภาษณ์เพิ่มเติม เขาระบุว่าถูกข่มขู่หลังเปิดเผยเรื่องดังกล่าว และไม่ขอให้ข้อมูลใดๆ</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54186832370_14a4652eda_k.jpg" width="2048" height="1365" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">เส้นทางค้าวัว รวบรวมจากเอกสารและการสัมภาษณ์แหล่งข่าว ที่มา: กราฟฟิกโดย Mekong Eye</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>
ไทยในห่วงโซ่ค้าวัวข้ามแดน (1) ความเสี่ยงสุขภาพที่ต้องแลกเพราะการควบคุมโรคยังไม่รัดกุม</li><li>
ไทยในห่วงโซ่ค้าวัวข้ามแดน (2) โรคสัตว์ข้ามพรมแดน ภัยเงียบที่มากับวัวเถื่อน</li></ul></div><p> </p><h2>สารพัดโรควัวข้ามพรมแดนในไทย</h2><p>เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ไทย ซึ่งทำงานในอำเภอที่มีพรมแดนติดต่อกับรัฐกะเหรี่ยงเล่าว่า เจ้าหน้าที่ไม่สามารถจัดการวัวเถื่อนได้ทั้งหมด เพราะชายแดนทอดยาวหลายสิบกิโลเมตร ขณะที่เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอมีไม่ถึง 10 คน</p><p>“สิ่งที่เราพอทำได้คือเมื่อทราบว่ามีวัวแปลกๆ เข้ามา เราก็ไปฉีดวัคซีนตรวจโรคให้ อย่างน้อยก็เพื่อไม่ให้มีปัญหากับวัวของเรา แต่ถ้าไม่มีใครแจ้งเข้ามา ก็เกินกว่าที่เราจะทำอะไรได้”</p><p>เมื่อสัตว์ยังเคลื่อนย้ายภายใต้มาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคข้ามพรมแดนที่ขาดประสิทธิภาพ ผลลัพธ์คือโรควัวในไทยที่ยังไม่มีท่าทีว่าจะถูกกำจัดให้หมดสิ้น</p><p>รายงานของสำนักสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ ระบุว่า ไทยพบโรคปากและเท้าเปื่อยในวัวและกระบือ 53 ตัว ในปี 2566 ถือว่าเป็นจำนวนต่ำและสามารถควบคุมได้</p><p>ขณะที่พบโรคลัมปิสกิน (Lumpy skin disease หรือ LSD) 584 ตัว ทั้งสองโรคนี้ไม่ติดต่อสู่คน แต่ติดต่อและแพร่กระจายในวัวได้อย่างรวดเร็ว ทำให้วัวหมดมูลค่าและไม่สามารถค้าขายได้ </p><p>นอกจากนี้ พบโรคแท้งติดต่อในวัว (Brucellosis) จำนวน 258 ตัว โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียตระกูล Brucella spp. ที่สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คน ก่อให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัด</p><p>สำนักสุขภาพสัตว์แห่งชาติยังเน้นความกังวลต่อเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ (Antibiotic resistant infection) ซึ่้งถููกจัดให้เป็นโรคติดต่ออุุบัติใหม่ตามนิยามขององค์การอนามัยโลก และสร้างภาระต่อระบบสาธารณสุุข และความปลอดภัยอาหาร เพราะหากคนติดเชื้อดื้อยาแล้ว จะไม่สามารถรักษาโดยยาปฏิชีวนะที่มีอยู่เดิม</p><p>ในปี 2566 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ 7 แห่งทั่วประเทศทำการตรวจสอบเนื้อสัตว์ 2,674 ตัวอย่าง พบยาปฏิชีวนะตกค้างเกินมาตรฐาน</p><p>เป็นยาที่ใช้ต้านเชื้อ Salmonella spp. จำนวน 848 ตัวอย่าง และยาต้านเชื้อ E. coli 1,097 ตัวอย่าง และพบ 521 ตัวอย่างที่มียาต้านเชื้อทั้งสองชนิดเกินมาตรฐาน</p><h2>งบประมาณปศุสัตว์อันจำกัด</h2><p>มิใช่ไทยเท่านั้นที่เผชิญกับความท้าทายในการจัดการโรคข้ามพรมแดน แต่เป็นความท้าทายระดับภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ที่แม้มีระบบประสานงานและคณะกรรมการโรคข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ แต่ยังขาดประสิทธิภาพด้วยข้อจำกัดทางทรัพยากร ทั้งด้านบุคลากรและการเงิน</p><p>เมื่อพิจารณาการจัดสรรงบประมาณให้กับกระทรวงที่ทำงานด้านเกษตรและปศุสัตว์ พม่าได้รับงบประมาณลดลงหลังรัฐประหาร ลดจาก 4% ของงบประมาณประจำปี 2562 เหลือ ประมาณ 0.4% และ 1.3% ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ</p><p>เช่นเดียวกับลาว ที่หน่วยงานด้านเกษตรและปศุสัตว์ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลเพียงประมาณ 1% ของงบประมาณทั้งหมดในปีนี้ สาเหตุหลักมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจที่รุ้มเร้าด้วยภาวะเงินเฟ้อสูง </p><p>ภาคเกษตรกรรมและปศุสัตว์ในเวียดนามได้รับการสนับสนุนน้อยกว่า 1% ของงบประมาณทั้งหมด แต่ยังสามารถจัดตั้งศูนย์ผลิตวัคซีนเพื่อใช้ในประเทศและส่งออกไปยังลาว</p><p>ขณะที่ไทยสามารถจัดสรรงบประมาณให้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประมาณ 3% ของงบประมาณทั้งหมดมาต่อเนื่องทุกปี</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54190817264_3bc014d7da_o.png" width="499" height="299" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">กราฟงบประมาณรายประเทศ ดาวน์โหลดที่ Myanmar:
https://www.datawrapper.de/_/kyPwk/ Thailand:
https://www.datawrapper.de/_/IQ14u/ Laos:
https://www.datawrapper.de/_/M1XmF/ และ Vietnam:
https://www.datawrapper.de/_/I2i5P/ </p><p>ด้วยเสถียรภาพทางงบประมาณนี้ กรมปศุสัตว์ไทยสามารถผลิตวัคซีนต้านโรควัวแจกฟรีให้เกษตรกรมากกกว่า 100 ล้านโดสต่อปี รวมทั้งวัคซีนต้านโรคปากและเท้าเปื่อย 13 ล้านโดส และโรคลัมปิสกิน 600,000 โดส นอกจากจะมีวัคซีนเพียงพอรับมือโรควัวในไทยแล้ว ยังมีวัคซีนส่วนเกินที่ส่งออกไปยังเมียนมาและลาวอีกด้วย </p><p>“เราอาจไม่สมบูรณ์สุด ยังมีช่องว่างต้องปรับปรุง แต่เทียบศักยภาพในประเทศกลุ่มนี้ ไทยมีประสิทธิภาพสูงสุด” น.สพ.เทิดศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กล่าว </p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54186832365_843205fef6_k.jpg" width="2048" height="1366" loading="lazy"><p class="text-align-center picture-with-caption">ที่มา: Chris Trinh</p><p>เมื่อวันที่ 4 ก.ย. ที่ผ่านมา นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ในฐานะผู้แทนองค์การสุขภาพสัตว์โลกของไทย ได้รับเลือกเป็นประธานคณะอนุกรรมการโรคปากและเท้าเปื่อยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีน ในการประชุมอนุกรรมการครั้งที่ 27 ณ กรุงเทพ</p><p>ความเคลื่อนไหวนี้สะท้อนถึงความมั่นใจของนานาชาติและจีนต่อระบบการดูแลและป้องกันสุขภาพสัตว์ในไทย และอาจเป็นสัญญาณที่ดีต่อความพยายามของไทยในการเจรจาเพื่อขอส่งวัวมีชีวิตให้จีน</p><p>ขณะที่อิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวต่อที่ประชุมวุฒิสภาเมื่อเร็วนี้ว่า กรมปศุสัตว์กำลังเจรจากับจีนเพื่อขอส่งวัวมีชีวิตไปยังจีนอีกครั้งภายใต้มาตรฐานการเลี้ยงและการป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ</p><p>“เป็นการขอส่งตรงไม่ผ่านประเทศอื่น เราได้ส่งมอบเอกสารทุกอย่างให้จีนพิจารณาแล้ว หากเขายอมรับก็จะไปสู่ขั้นตอนตรวจสอบต่อไป”</p><div class="note-box"><p><strong>รายงานนี้เป็นความร่วมมือระหว่างประชาไท กับ </strong>
<strong>Mekong Eye</strong><strong> ภายใต้การสนับสนุนจาก Internews' Earth Journalism Network</strong></p></div><p> </p></div>
<div class="node-taxonomy-container">
<ul class="taxonomy-terms">
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" hreflang="th">ต่างประเท
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1" hreflang="th">สิ่งแวดล้อ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99" hreflang="th">ชายแด
http://prachatai.com/category/depth" hreflang="th">depth[/url]</li>
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A8%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C" hreflang="th">ปศุสัตว
http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99" hreflang="th">ค้าวัวข้ามแด
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" hreflang="th">พม่
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99" hreflang="th">การค้าชายแด
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7" hreflang="th">กรรณิกา เพชรแก้
https://prachataistore.net</div>
http://prachatai.com/journal/2024/12/111642 







