แค่โพสต์ ก็อาจโดนคดี! การฟ้องคดีแสดงออกบนโลกออนไลน์ | มนุษย์ออนไลน์ ปี 2 EP.6
<span>แค่โพสต์ ก็อาจโดนคดี! การฟ้องคดีแสดงออกบนโลกออนไลน์ | มนุษย์ออนไลน์ ปี 2 EP.6</span>
<span><span>user8</span></span>
<span><time datetime="2024-12-13T19:11:23+07:00" title="Friday, December 13, 2024 - 19:11">Fri, 2024-12-13 - 19:11</time>
</span>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>นับตั้งแต่ปี 2563 มีการดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อย่างน้อยกว่าสามร้อยคดี เกินกว่าครึ่งเป็นคดีที่มาจากการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ ซึ่งจำนวนมากไม่ได้เกิดขึ้นต่อนักกิจกรรมทางการเมืองเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้มีพื้นที่บนหน้าข่าวหรือเป็นที่รู้จักมากนัก</p><p>เนื้อหาของการโพสต์เหล่านี้มีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการแชร์ต่อเฉย ๆ การเล่าเรื่อง การวิพากษ์วิจารณ์ หรือโพสต์เนื้อหาที่มีความขำขัน หลายกรณีเป็นคดีฟ้องทางไกล ทำให้ผู้ถูกดำเนินคดีประสบความยากลำบากในการต่อสู้คดีและเข้าถึงความช่วยเหลือต่างๆ นอกจากคดี ม.112 แล้ว ยังมี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และอื่นๆ ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอาจต้องพบเจอจากการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองบนโลกออนไลน์</p><p>การดำเนินคดีเหล่านี้กำลังส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกอย่างไร คดีเหล่านี้มีความผิดปกติอย่างไร และหากเราเป็นผู้ถูกดำเนินคดี เราสามารถทำอะไรได้บ้าง ประชาไทชวนคุยกับ 'พูนสุข พูนสุขเจริญ' ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ในพอดแคส "มนุษย์ออนไลน์ ปี 2 EP.6 : แค่โพสต์ ก็อาจโดนคดี! การฟ้องคดีแสดงออกบนโลกออนไลน์"</p><p class="text-align-center"><iframe width="720" height="415" src="
https://www.youtube.com/embed/i5hkmGNvYDc?si=K38NfoOkynhHuLbs" title="YouTube video player" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" referrerpolicy="strict-origin-when-cross-origin" allowfullscreen></iframe></p><p class="picture-with-caption">แค่โพสต์ ก็อาจโดนคดี! การฟ้องคดีแสดงออกบนโลกออนไลน์ | มนุษย์ออนไลน์ ปี 2 EP.6</p><p class="text-align-center"><iframe width="560" height="315" src="
https://www.youtube.com/embed/vXxWQyjiz8c?si=RGRMVf39YhxG1YA3" title="YouTube video player" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" referrerpolicy="strict-origin-when-cross-origin" allowfullscreen></iframe></p><p class="text-align-center picture-with-caption">คดี ม.112 เกินกว่าครึ่งเป็นคดีออนไลน์ | มนุษย์ออนไลน์ ปี 2 EP.6</p><h2>กระแสการชุมนุมจางหาย คดีการเมืองยังคงดำเนินไปบนโลกออนไลน์</h2><p>พูนสุข พูนสุขเจริญ อธิบายว่า การฟ้องคดีจากภาครัฐไม่ได้มีแค่ในการชุมนุมทางการเมืองเท่านั้น แต่ก็เกิดขึ้นจากโลกออนไลน์อยู่ตลอดเวลา จะเห็นว่าในช่วงหนึ่งปีกว่ามานี้ แทบไม่มีการชุมนุมแล้ว แต่ก็ยังมีคดีทางการเมืองเกิดขึ้นตลอดทุกเดือน สถิตินับตั้งปี 2563 ถึงปัจจุบันมีคดี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 205 คดี มีผู้ถูกดำเนินคดีไป 202 คน ซึ่งไม่ค่อยมีคนสนใจเรื่อง พ.ร.บ. คอม เพราะมักจะถูกใช้ฟ้องพ่วงไปกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือ 116 ในส่วนคดี 112 ตั้งแต่ปี 2563 มีถึง 304 คดี เกินกว่าครึ่งเป็นคดีที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์</p><p>ซึ่งคนที่ถูกดำเนินคดีจากการ โพสต์ แชร์ คอมเมนท์ บนโลกออนไลน์ มีหลากหลาย ไม่ใช้แค่แกนนำ หรือนักกิจกรรมทางการเมืองเท่านั้น แล้วเวลาที่คดีเหล่านี้เกิดขึ้นกับคนทั่วไป มักจะดำเนินไปเงียบ ๆสังคมไม่รับรู้ เพราะคนที่โดนคดีไม่รู้ว่ามีองค์กรที่คอยช่วยเหลือเรื่องคดีอยู่ หรือไม่รู้ว่าจะเข้าถึงการช่วยเหลือได้อย่างไรบ้าง ทำให้กว่าทางศูนย์ทนายฯ รู้ว่ามีคดีเกิดขึ้น ก็เมื่อมีข่าวออกมา หรือจำเลยอยู่ในเรือนจำไปแล้ว หลายครั้งได้ข้อมูลว่ามีคดีเกิดขึ้น จากฝ่ายคนที่เป็นผู้กล่าวหา ดังนั้นจำนวนคดีอาจมีมากกว่านี้ โดยที่เราไม่สามารถรู้ได้</p><p>เนื่องจากคดี ม.112 เป็นคดีทางการเมือง จึงมีพลเมืองแอคทิฟ ที่อยู่ฝั่งซึ่งเรียกว่าตัวเองว่า “คนรักสถาบัน” ก่อนหน้านี้ จะสามารถเห็นการทำงานของกลุ่มอย่าง “ศชอ.” ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์ หรือ “ศปปส.” ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน ที่มีการจัดอบรมสร้างเครือข่าย สอนการเก็บข้อมูลแคปเจอร์ข้อความ แล้วนำไปแจ้งความคดี ม.112 ซึ่งจะเห็นว่ามีการทำเป็นขบวนการชัดเจน</p><p>แต่ช่วงปีที่ผ่านมาสองกลุ่มนี้ได้ลดบทบาทลงไปมาก แต่มีกลุ่ม “ประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบัน” ที่มีการจดทะเบียนตั้งเป็นสมาคมมีบทบาทขึ้นมาแทน มีกระบวนการณ์จัดตั้งให้คนที่อยู่ในจังหวัดไกลๆ อย่างพัทลุง นราธิวาส ไปฟ้องคดี ซึ่งพวกเขาไม่สนว่าคนที่ถูกดำเนินคดีอาศัยอยู่ที่ไหน</p><p>จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า “คดีทางไกล” ที่จำเลยถูกตั้งใจฟ้องในพื้นที่ห่างไกลจากผู้ลำเนา โดยผู้ฟ้องอ้างว่าเขาได้อ่านข้อความที่จังหวัดนั้น จึงไปแจ้งความ</p><p>พูนสุข เล่าถึงความลำบากของจำเลยในคดีทางไกล ว่าเพียงแค่ถูกดำเนินคดีปกตินั้นก็เป็นภาระมากอยู่แล้ว เสียทั้งเวลา และการเดินทาง ยิ่งเป็นคดีทางไกล ยิ่งจะใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้นอีก อย่างจำเลยเป็นคนลำพูน แต่ถูกฟ้องที่นราธิวาส มีเที่ยวบินรอบเดียวต่อวัน ก็ต้องไปเตรียมตัวก่อน 1 วัน ขึ้นศาลเสร็จก็ต้องนอนรอเดินทางกลับอีก 1 คืน หากท้ายที่สุดจำเลยถูกพิพากษาจำคุก อย่างกรณีคุณ อุดม ที่อยู่ปราจีนบุรี และคุณกัลยา ที่มีภูมิลำเนาที่ภาคเหนือ เป็น 2 ผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 ที่ถูกจำคุกที่นราธิวาส “การเข้าถึงของญาติยิ่งจะอยากลำบากกันไปใหญ่ ที่จะเดินทางไปเยี่ยม ยิ่งทำให้ผู้ต้องหารู้สึกโดดเดียวมากกว่าเดิม” พูนสุข กล่าว</p><p>การที่คดีจากโลกออกไลน์เกิดขึ้นได้ง่ายนั้น เพราะเนื่องจากมาตรา 112 ถูกกำหนดให้เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ซึ่งเป็นความผิด ที่ทำให้ใครก็ได้สามารถไปกล่าวโทษ ยิ่งการมีกลุ่มจัดตั้งที่เรียกตัวว่าเป็นคนที่รักสถาบัน ทำให้ยิ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าคดีหมิ่นประมาทปกติ ที่ต้องเป็นผู้เสียหายเท่านั้นที่จะดำเนินคดีได้</p><h2>ภายใต้ระบบกฎหมายที่บิดเบี้ยว แค่โพสต์ตั้งคำถาม แชร์มุขตลก เขียนแคปชั่นวิจารณ์ ก็ติดคุกได้</h2><p>ทนายจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน อธิบายต่อว่า เนื้อหาที่ถูกนำไปดำเนินคดีมีทุกรูปแบบตั้งแต่คำก่นด่า การวิพากษ์วิจารณ์ สเตตัสที่เป็นเหตุ เป็นผล มีข้อมูลรับรอง อย่างสเตตัสที่กล่าวถึงการนำเข้าวัคซีน ไปจนถึงการพูดถึงสิ่งที่ได้ผลกระทบในชีวิตประจำวัน แม้กระทั่งข้อความตลก มีม ในโลกออนไลน์ก็ถูกดำเนินคดีด้วย อย่างกรณีของน้ำ วารุณี ที่โพสต์มีมตลก เป็นรู้พระแก้วมรกตใส่ชุดเดรสสีม่วง ที่เป็นแบรนด์ SIRIVANNAVARI ซึ่งมีนายหลวงอยู่ในภาพด้วย แล้วเขียนแคปชั่น แก้วมรกต X SIRIVANNAVARI กลายเป็นถูกตัดสินให้ผิดทั้งมาตรา 112 และข้อหาหมิ่นศาสนา</p><p>“ถามว่าจำเป็นต้องเอาคนๆหนึ่งไปขังคุกปีครึ่ง เพราะว่าภาพนั้นจริงหรือ มันมีใครที่ศรัทธาศาสนาน้อยลง มีใครที่ศรัทธาสถาบันกษัตริย์น้อยลงเพราะภาพนั้นจริงๆหรือป่าว” พูนสุขกล่าว</p><p>แน่นอนสถานการณ์ปัจจุบันเรามีความเสี่ยงที่จะถูกดำเนินคดีได้ง่าย แต่เราก็สามารถระมัดระวังตัวได้ ถึงอย่างไรก็ไม่ควรเป็นการโทษผู้ถูกดำเนินคดีว่า ไม่ระมัดระวัง หรือเลือกที่จะวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นนี้เอง แต่ปัญหาคือกระบวนการยุติธรรมและกฎหมาย ที่ถูกใช้ปิดกั้นเสรีภาพการแสดงออก</p><p>พูนสุข เปรียบเทียบการดำเนินคดี 112 ของเจ้าหน้าที่ เหมือนการถือเผือกร้อน ที่เมื่อตำรวจรับเรื่องมา ต้องรีบส่งต่อโดยไม่มีการกลั่นกรอง ในการหมิ่นประมาททั่วไป มีตัวบทที่ระบุว่าถ้าการวิจารณ์นั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ จะมีการยกเว้นโทษ แต่ในกรณีของคดี 112 ไม่มีตัวบทแบบนี้ยกเว้นไว้ให้</p><p>ยกตัวอย่างว่า ในช่วงโควิด-19 บริษัทเอ สัญญาว่าจะนำเข้าวัคซีน แต่สุดท้ายไม่สามารถนำเข้ามาได้ ขณะที่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกวัน เราในฐานะประชาชนที่ควรจะได้รับวัคซีน เราสามารถวิพากษ์วิจารณ์บริษัทเอได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เรียกว่าประโยชน์สาธารณะ</p><p>แต่กลับกันถ้าบริษัทเอ มีผู้ถือหุ้นเป็นพระมหากษัตริย์หรือบุคคลตามที่มาตรา 112 คุ้มครองไว้ จะกลายเป็นว่าไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ทันที ทั้งๆ ที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน เปลี่ยนแค่ตัวบุคคล</p><h2>พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ใช้ไม่ตรงกับเจตนารมณ์ แต่ใช้ “ความเชื่อ” ลงโทษ</h2><p>นอกจาก 112 แล้วยังมีความผิดตามตัวบทอื่นอีก อย่างเช่นกรณีของ เอกชัย หงส์กังวาน ที่ถูกฟ้องด้วย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากการที่โพสต์ถึงเรื่องประสบการณ์ทางเพศในเรือนจำ ซึ่งเป็นการที่เอา พ.ร.บ.คอมฯ ที่ควรจะใช้จัดการกับแพลตฟอร์มมาใช้ ในการควบคุมเนื้อหา เช่นเรื่องความมั่นคง สถาบันฯ ไปจนถึงเรื่องเพศ ซึ่งสิ่งที่เอกชัยโพสต์ในเฟซบุ๊ค ก็เป็นการเล่าเรื่องแบบสารคดีทั่วไป ไม่ได้มีความลามก หรือมีเด็กที่เข้ามาเกี่ยวข้องที่ควรจะเป็นความผิด</p><p>ซึ่ง พ.ร.บ.คอมนั้นถูกนำมาบังคับใช้ ผิดเพี้ยนไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย ที่ต้องการปกป้องการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เช่นไม่ให้มีการแฮ็ก ป้องกันความเป็นส่วนตัว หรือป้องกันปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ แต่กลับถูกนำไปใช้กับคดีหมิ่นประมาท ซึ่งแม้จะมีแก้ไขตัดตัวบทออกไม่ให้ใช้ลักษณะนั้นแล้ว แต่เจ้าหน้าที่รัฐอย่างตำรวจก็ยังเอามาใช้ในกับคดี ม.112 อยู่</p><p>อีกปัญหาหนึ่งของคดีที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ คือการพิสูจน์พยานหลักฐาน ในหลายคดีที่พยานหลักฐานมีปัญหา มีความไม่น่าเชื่อถือ ไม่สามารถพิสูจน์ในทางเทคนิคคอมพิวเตอร์ได้แน่ชัด เว่าจำเลยเป็นผู้โพสต์ แต่ศาลมักจะใช้คำว่า “เชื่อได้ว่า” จำเลยเป็นผู้กระทำ </p><p>“พอมันเป็นคดีคอมพิวเตอร์คุณก็ควรจะพิสูจน์ได้ด้วยวิทยาศาสตร์ ว่ามันระบุตัวตนได้ยังไง ไม่ใช้พิสูจน์ด้วยความเชื่อของศาล ที่ศาลเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดในลักษณะนี้” พูนสุขกล่าว อย่างเช่นคดี “อากง” ผู้ต้องหาที่ต้องเสียชีวิตในเรือนจำ จากการถูกกล่าวหาว่าส่งข้อความ SMS หมิ่นสถาบัน ซึ่งตามคำพิพากษาบอกว่า พยานหลักฐานระบุได้ไม่แน่ชัดว่าอากงเป็นคนส่ง แต่ศาลก็เชื่อได้ว่าจำเลยเป็นคนกระทำจริง</p><p>หากติดตามเรื่องคดีความทางการเมือง จะพบว่า ช่วงปี 2561-2563 ฝ่ายรัฐมีความพยายามจะไม่ใช่มาตรา 112 แต่ช่วงนั้น พ.ร.บ.คอมยังถูกใช้จัดการกับผู้วิจารณ์สถาบันอยู่ เนื่องจากปัญความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ตามมาด้วยปัญหาทางกฎหมายว่า ถ้าหากจะลงโทษ พ.ร.บ.ลักษณะนี้ได้ ควรจะต้องลงโทษในฐานความผิดด้านความนั่นคงตามกฎหมายอื่น ก่อนถึงจะทำได้ แต่กลับไม่ฟ้องกฎหมายความมั่นคงอื่นเลย ฟ้องแต่ พ.ร.บ.คอม เพียงฐานความผิดเดียว</p><h2>จะป้องกันและรับมืออย่างไร หากถูกฟ้องคดีแสดงออกบนโลกออนไลน์</h2><p>“เวลาจะโพสต์หรือแสดงความคิดเห็นอะไร ต่อให้จำกัดคนแค่ไหน เราต้องตระหนักเสมอว่านั่นคือโพสต์สาธารณะ ต่อให้คุณมีเพื่อนแค่ห้าคนสิบคน มันก็สาธารณะอยู่ดี” พูนสุขกล่าว การป้องกันตัวที่ดีที่สุดคือการตระหนักว่าความเห็นของเราอยู่พื้นที่สาธารณะ ซึ่งอาจจะไปถึงคนที่เกลียดรออยู่แล้ว หรือคนที่เป็นกลุ่มคนรักสถาบัน</p><p>เมื่อตระหนักเรื่องความเป็นสาธารณะแล้ว ในลำดับต่อมาการแสดงความคิดเห็นควรอยู่บนเส้นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต อย่างการตั้งคำถามไม่ใช่การหมิ่นประมาท หรือการยืนยันข้อเท็จก็มีโอกาสสู้ในทางกฎหมาย แต่ในความเป็นจริงแม้แต่ตั้งคำถามก็สามารถถูกดำเนินคดีได้ ในส่วนการด่าทอนั้นมีทางต่อสู้ทางกฎหมายน้อยกว่า</p><p>ในส่วนที่หากเป็นฝ่ายที่ถูกฟ้องดำเนินคดี เมื่อมีการคำร้องถึงตำรวจหลังจากผ่านกระบวนการต่างๆ แล้ว จะมีการส่งหมายเรียกหรือหมายจับมาถึงเรา ต้องดูว่าเป็นหมายเรียกอะไร หมายเรียกพยานหรือหมายเรียกผู้ต้องหา บางคดีของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เป็นการออกหมายเรียกพยาน ให้เราไปให้ข้อมูล เช่นว่าโพสต์ที่ถูกกล่าวหาเป็นของเราหรือไม่ ท้ายที่สุดเราถูกดำเนินคดีเอง ดังนั้นแม้จะเป็นหมายเรียกพยานก็ควรจะมีทนายไปด้วย</p><p>ถ้าหากถูกหมายเรียกผู้ต้องหา ควรหาข้อมูลก่อนเช่นโทรถามกับตำรวจว่าเป็นโพสต์ไหนที่ถูกกล่าหาว เพื่อเตรียมหาข้อมูลเพิ่ม หรือหาว่ามีโพสต์อื่นของเราที่สุ่มเสี่ยงอีกไหม และติดต่อให้ทนายไปพบเจ้าหน้าที่ด้วย</p><p>ส่วนกรณีที่ถูกหมายจับจะไม่มีการแจ้งล่วง ต้องถ้ามีเพียงแต่หมายจับอย่างเดียว ไม่มีหมายค้นตำรวจจะไม่สามารถเข้ามาในบ้านได้ ถ้าดูตามข่าวจะเห็นตำรวจมักจะนำหมายจับมาตอนเช้า ที่เราเพิ่งตื่นนอน ตั้งสติไม่ทัน จำเป็นต้องดูด้วยว่าหมายค้นเพื่อจับกุม หรือหมายค้นเพื่อหาพยานหลักฐาน ถ้าเป็นหมายค้นเพื่อจับกุมอย่างเดียวตำรวจจะไม่สามารถเอาสิ่งของเราไปได้ หากมีการยึดมือถือเรา แม้จะมีหมายค้นระบุไว้ แต่การเข้าถึงข้อมูลในมือถือต้องได้รับความยินยอมจากเรา หากเป็นหมายค้นคอมพิวเตอร์ หรือมือถือ ที่ต้องการใช้พาสเวิร์ด ต้องมีหมายจากทาง กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโลยี (บก.ปอท.) โดยตรงเท่านั้น</p><p>เมื่อมีตำรวจมาที่หน้าบ้าน สิ่งที่ทำควรจะเป็นการโทรหาทนาย แล้วตรวจเช็คเอกสาร จึงให้ตำรวจเข้ามาในจำนวนที่สมเหตุผล เช่นหากอยู่คนเดียวก็ควรจะให้ตำรวจเข้ามาแค่ 1-3 คนเป็นต้น แล้วจึงตรวจค้นไปทีละจุดไปพร้อมกันกับเรา เพราะหากเข้ามามากเกิน เราไม่สามารถดูได้ครบ ว่าตำรวจค้นหรือยึดอะไรไปบ้าง</p><p>หากถูกจับกุมไปแล้ว พูนสุขอธิบายว่า ต้องคิดเสมอว่าเรามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ขอให้การในชั้นศาล หรือให้การเป็นหนังสือภายก็ย่อมได้ ส่วนถ้าหากต้องการรับสารภาพ ควรทำในชั้นศาล หลังจากปรึกษากับทนายความ ได้เห็นพยานหลักฐานอย่างครบถ้วนก่อนจึงตัดสินใจ</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54006090898_f7b37de5d9_k.jpg" width="2048" height="1152" loading="lazy"></div>
<div class="node-taxonomy-container">
<ul class="taxonomy-terms">
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่า
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยช
http://prachatai.com/category/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5" hreflang="th">ไอซีท
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C" hreflang="th">มนุษย์ออนไลน
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82-%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D" hreflang="th">พูนสุข พูนสุขเจริ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2-112" hreflang="th">มาตรา 112[/url]</li>
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2-116" hreflang="th">มาตรา 116[/url]</li>
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95" hreflang="th">อินเทอร์เน็
http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81" hreflang="th">เสรีภาพในการแสดงออ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2" hreflang="th">มัลติมีเดี
https://prachataistore.net</div>
http://prachatai.com/journal/2024/12/111690 







