[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
04 กรกฎาคม 2568 19:54:51 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา(1)  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ไทยในห่วงโซ่ค้าวัวข้ามแดน (4) ต้องสร้างมาตรฐานปลอดภัยทั้งสัตว์ ผู้ค้า และผู้บริ  (อ่าน 184 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 24 ธันวาคม 2567 19:02:51 »

ไทยในห่วงโซ่ค้าวัวข้ามแดน (4) ต้องสร้างมาตรฐานปลอดภัยทั้งสัตว์ ผู้ค้า และผู้บริโภค
 


<span>ไทยในห่วงโซ่ค้าวัวข้ามแดน (4) ต้องสร้างมาตรฐานปลอดภัยทั้งสัตว์ ผู้ค้า และผู้บริโภค</span>
<span><span>Pazzle</span></span>
<span><time datetime="2024-12-22T12:17:12+07:00" title="Sunday, December 22, 2024 - 12:17">Sun, 2024-12-22 - 12:17</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>กรรณิกา เพชรแก้ว รายงาน</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>เมื่อไทยยังไม่สามารถค้าวัวกับจีนได้โดยตรง เพราะยังไม่สามารถควบคุมโรคสัตว์ข้ามพรมแดนได้สมบูรณ์แบบ ผู้ประกอบการค้าวัวไทยจึงต้องดิ้นรนค้าวัวกับลาวและเวียดนาม โดยหวังใช้เป็นทางผ่านไปสู่ตลาดค้าวัวของจีน ในสถานการณ์นี้ ไทยจะทำอย่างไรได้บ้าง เพื่อให้การค้าวัวยั่งยืนและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค โดยหนึ่งในความพยายามนั้นก็คือการทำงานเครือข่ายนักวิจัย ชุมชน และรัฐบาลระดับท้องถิ่น เพื่อจัดการโรคสัตว์ในระดับพื้นที่ผ่านแอป&nbsp;<strong>“</strong>ผ่อดีดี”&nbsp;ซึ่งนำมาทดลองใช้กับ อปท.&nbsp;400&nbsp;แห่ง&nbsp;ครอบคลุมเกษตรกรเกือบ 20,000 ราย สามารถตรวจจับโรคปากและเท้าเปื่อยในวัว และหยุดยั้งก่อนโรคจะระบาดเป็นวงกว้างได้ 5 ครั้งแล้ว</p><p>&nbsp;</p><p>22 ธ.ค. 2567 จากสามตอนที่แล้ว เมื่อไทยยังไม่สามารถค้าวัวกับจีนได้โดยตรง เพราะยังไม่สามารถควบคุมโรคสัตว์ข้ามพรมแดนได้สมบูรณ์แบบ ผู้ประกอบการค้าวัวไทยจึงต้องดิ้นรนค้าวัวกับลาวและเวียดนาม โดยหวังใช้เป็นทางผ่านไปสู่ตลาดค้าวัวของจีน</p><p>ในสถานการณ์นี้ ไทยจะทำอย่างไรได้บ้าง เพื่อให้การค้ายั่งยืนและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค</p><p>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาโนช โพธาภรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ศึกษาการค้าวัวในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มองการค้าที่มีมานานหลายทศวรรศนี้ในฐานะ “เครื่องจักรทางเศรษฐกิจ” ที่ยกระดับความยากจนของผู้คน</p><p>“ในเมื่อไม่ว่าอย่างไรการค้านอกระบบมันต้องดำรงอยู่ เพราะแรงกดดันทางเศรษฐกิจของผู้คนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะเกษตรกรที่ส่วนใหญ่ยากจน เราก็น่าจะแสวงหาหนทางการค้าที่จะช่วยยกระดับพวกเขาให้พ้นความยากจนไปด้วยกัน ให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เท่าเทียม ยกทุกคนขึ้นพ้นน้ำไปด้วยกัน”</p><p>อย่างไรก็ตาม การศึกษาของ ผศ.ดร.มาโนช พบว่าผลประโยชน์ในการค้าวัว ยังไม่ถูกจัดสรรอย่างเท่าเทียม สะท้อนผ่านราคาขายวัวที่ชายแดนจีน ซึ่งมีราคาสูงกว่าราคาขายของเกษตรกรมากถึง&nbsp;150%&nbsp;แสดงให้เห็นว่าผลประโยชน์ตกอยู่ที่นายหน้าและผู้เคลื่อนย้ายวัวเป็นหลัก</p><p>นี่สอดคล้องกับการศึกษาการค้าวัวพม่าในไทยของรองศาสตราจารย์ ดร. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ หัวหน้าภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่านายหน้าเป็นผู้ได้สัดส่วนผลประโยชน์สูงสุดของการค้านี้</p><p>นายหน้าคือผู้ที่ทำกำไรโดยไม่ต้องคำนึงถึงคุณภาพวัวและความปลอดภัย การค้าที่ขับเคลื่อนด้วยผลประโยชน์ในลักษณะนี้ ย่อมไม่ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการยกระดับห่วงโซ่การผลิตวัวให้มีมาตรฐานและปลอดภัย ทั้งยังส่งเสริมให้มีการลักลอบนำเข้าและส่งออกวัวเพื่อลดต้นทุน</p>วัว" width="1024" height="683" loading="lazy<p class="text-align-center picture-with-caption">วัวเลี้ยงในฟาร์มที่มีการกำกับมาตรฐาน&nbsp;ที่มา: ณัฐกิตติ์ มีสกุล</p><h2><strong>เพิ่มมาตรฐานการผลิตวัว กระจายผลประโยชน์</strong></h2><p>ผศ.ดร.มาโนช เล่าว่านักวิชาการจีนเคยให้ข้อมูลว่าไทยมีข้อได้เปรียบคือความแข็งแกร่งด้านระบบศุลกากรและการควบคุมโรคสัตว์ขาเข้า แต่ไม่มีความได้เปรียบในเชิงแข่งขันกับเนื้อที่มาจากประเทศอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันในตลาดจีนที่มีการแข่งขันสูง</p>
<p>“ตลาดเนื้อในจีนที่เราเข้าไปเน้นราคาถูก เน้นทำทุกอย่างให้ต้นทุนต่ำ การกดต้นทุนต่ำคือการต้องตัดมาตรการที่จำเป็นหลายอย่างออก ต้องมองข้ามหลายสิ่ง รวมทั้งเรื่องความปลอดภัย”&nbsp;ผศ.ดร.มาโนชกล่าว</p>
<p>“ประเทศไทยไม่สามารถเอาสถานะการเป็นครัวของโลกที่ต้องเน้น Food safety practice (มาตรการยกระดับความปลอดภัยในอาหาร) ไปแลกกับการค้าแบบนี้ได้อีก การค้าวัวมีชีวิตเคยเหมาะกับเวลาหนึ่ง แต่มันยากที่จะเติบโตต่อไป นอกเสียจากว่าไทยจะเอาต้นทุนในการเป็นผู้ผลิตอาหารป้อนตลาดโลกที่มีมูลค่ามหาศาลในแต่ละปีไปแลกกับมัน”</p>วัว" width="2048" height="1365" loading="lazy<p class="text-align-center picture-with-caption">แม่ค้าชำแหละเนื้อวัวในตลาด ที่มา: ณัฐกิตติ์ มีสกุล</p><p>ผศ.ดร.มาโนช ยังเห็นว่าไทยต้องปรับระบบการผลิตเนื้อวัวให้เป็นระบบอุตสาหกรรมมาตรฐานสูง เหมือนที่ไทยทำสำเร็จในระบบการผลิตเนื้อไก่และอาหารทะเล</p><p>ไทยมีศักยภาพในการผลิตอาหารที่โลกยอมรับ ควรใช้มาตรฐานโรงเชือดที่ดีมาแก้ปัญหา หันไปส่งออกเนื้อตัดแต่ง พัฒนาการผลิตทั้งระบบให้ได้มาตรฐานโลก เพื่อที่ไทยจะไม่สูญเสียที่ยืนในห่วงโซ่นี้</p><p>“แต่ระบบอุตสาหกรรม ก็จะทำให้คนตัวเล็กตัวน้อยหลุดออกจากวงจรไป การค้าในสมัยก่อนโอบอุ้มคนตัวเล็กตัวน้อยไว้ เมื่อเวลาผ่านไป พวกเขาเริ่มสูญเสียสิ่งที่พวกเขาเคยมีให้กับตัวกลาง คนจนเหลือพื้นที่ยืนน้อยลง หากปรับเป็นระบบอุตสาหกรรม พวกเขาจะหลุดออกจากวงจรสิ้นเชิง</p><p>ทำอย่างไรจะให้ระบบอุตสาหกรรมโอบอุ้มคนกลุ่มนี้ไว้ด้วย เป็นคำตอบที่ยาก แต่ก็ต้องหาให้ได้”</p><h2><strong>ยกระดับความสามารถเกษตรกร</strong></h2><p>ศรีนีวสันต์ อันชา (Srinivasan Ancha)&nbsp;ผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ&nbsp;Asian Development Bank (ADB)&nbsp;ระบุว่า ความสามารถของเกษตรกรในการพัฒนาพันธุ์วัวและบริหารจัดการโรค เป็นหนึ่งในหัวใจหลักที่จะยับยั้งการลักลอบเคลื่อนย้ายวัวในประเทศลุ่มน้ำโขง</p><p>ปัจจุบัน เกษตรกรหลายคนไม่สามารถเข้าสู่ช่องทางค้าวัวทางการได้ เพราะพวกเขาไม่สามารถแข่งขันกับผู้ค้ารายอื่น โดยเฉพาะเมื่อต้นทุนของการเลี้ยงวัวบวกกับต้นทุนการป้องกันและกักกันโรคสูงเกินกว่าที่เกษตรกรจะจ่ายได้</p><p>ต้นทุนเหล่านี้รวมถึงค่าวัคซีน ค่าตรวจโรค และค่าอาหารวัวในขณะที่โดนกักกันเพื่อตรวจสอบโรคตามมาตรฐานการส่งออกวัวไปจีน โดยอาจลากยาวได้ถึง 82 วัน ประกอบด้วยการกักกันวัว 45 วันในฟาร์ม 30 วันในศูนย์กักกันที่ชายแดน และเมื่อวัวผ่านชายแดนจีนแล้ว ต้องนำเข้าสู่โรงเชือดภายใน 7 วัน</p>
<p>“เกษตรกรต้องมีพันธุ์วัวที่มีคุณภาพ เพื่อที่จะขายได้ราคาดี แล้วจึงมีเงินทุนไปจ่ายค่ากักกันและสอบสวนโรค เมื่อเรามีสามปัจจัยนี้ ได้แก่ คุณภาพวัวชั้นดี ขนาดวัวได้มาตรฐาน และต้นทุนการควบคุมโรคที่ไม่แพงเกินไป เมื่อนั้นการค้าวัวด้วยช่องทางที่เป็นทางการจึงเกิดขึ้นได้แท้จริง และการลักลอบค้าวัวจะลดลง” ศรีนีวสันต์กล่าว</p>
วัว" width="2048" height="1365" loading="lazy<p class="text-align-center picture-with-caption">เกษตรกรไทยตรวจสุขภาพวัวที่ตนเองเลี้ยงในฟาร์ม ที่มา: ณัฐกิตติ์ มีสกุล</p><p>เมื่อปี&nbsp;2560&nbsp;เอดีบีพูดคุยกับกระทรวงการเกษตรในแต่ละประเทศลุ่มน้ำโขง และพบความต้องการเงินทุนสนับสนุนเพื่อพัฒนาห่วงโซ่การเลี้ยงและส่งออกสัตว์ โดยเน้นที่การส่งเสริมมาตรฐานและคุณภาพสัตว์ และการป้องกันและควบคุมโรค</p><p>หลังจากนั้นจึงเริ่มทำโครงการเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยเริ่มจากการให้ทุนรัฐบาลกัมพูชาในปี&nbsp;2565&nbsp;ตามด้วยรัฐบาลลาวในปีนี้ โดยคาดหวังว่าจะสามารถตั้งพื้นที่ปลอดโรคในจังหวัดที่มีการผลิตวัว รวมทั้งตั้งศูนย์เพาะพันธุ์วัวแห่งแรกในสองประเทศ และศูนย์ผลิตวัคซีนแห่งแรกในกัมพูชา พร้อมปรับปรุงศูนย์ผลิตวัคซีนเดิมในลาวภายใน&nbsp;7&nbsp;ปีข้างหน้า</p><p>ส่วนในพม่า รัฐบาลชุดก่อนหน้านี้ได้แสดงความสนใจรับทุนเช่นกัน แต่กระบวนการรับทุนต้องหยุดชะงัก เพราะเกิดการรัฐประหารในปี&nbsp;2564&nbsp;เสียก่อน</p><p>อย่างไรก็ดี โครงการของเอดีบีทำเพียงบางพื้นที่ในกัมพูชาและลาว ซึ่งมีศักยภาพบริหารจัดการโรคสัตว์ข้ามพรมแดนน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค การจัดปฏิรูปการผลิตวัวทั้งระบบอาจต้องใช้เวลานานกว่านั้น</p><p>ประเทศในลุ่มน้ำโขง รวมทั้งไทย นั่งอยู่ในคณะกรรมการโรคสัตว์ข้ามพรมแดนแห่งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization)&nbsp;และองค์การอนามัยสัตว์โลก (World Organization for Animal Health)</p><p>แม้คณะกรรมการชุดนี้จะมีบทบาทด้านการสร้างความร่วมมือเพื่อติดตามโรคสัตว์ข้ามพรมแดน แต่การทำงานของรัฐบาลแต่ละประเทศในระดับพื้นที่ยังมีความท้าทายด้วยหลายปัจจัย รวมทั้งทรัพยากรด้านปศุสัตว์ที่มีอยู่อย่างจำกัดจำเขี่ย</p><p>ศรีนีวสันต์ให้ความเห็นว่า อีกหนึ่งความท้าทายคือลักษณะการทำงานแบบตั้งรับแทนที่จะเป็นการทำงานเชิงรุกเพื่อป้องกันโรค ทั้งยังมีทัศนคติการทำงานแบบ “ป้องกันตัวเอง”</p><p>โดยสะท้อนผ่านแนวโน้มที่เจ้าหน้าที่แต่ละประเทศ มักจะปฏิเสธว่ามีการระบาดของโรคสัตว์จริง หลักๆเพราะความกังวลต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการค้า</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li><a href="https://prachatai.com/journal/2024/12/111565 "><strong>ไทยในห่วงโซ่ค้าวัวข้ามแดน (1)&nbsp;ความเสี่ยงสุขภาพที่ต้องแลกเพราะการควบคุมโรคยังไม่รัดกุม</strong>[/url]</li><li><a href="https://prachatai.com/journal/2024/12/111642 "><strong>ไทยในห่วงโซ่ค้าวัวข้ามแดน (2) โรคสัตว์ข้ามพรมแดน ภัยเงียบที่มากับวัวเถื่อน</strong>[/url]</li><li><a href="https://prachatai.com/journal/2024/12/111688 "><strong>ไทยในห่วงโซ่ค้าวัวข้ามแดน (3) ดิ้นรนใช้โควตาลาวส่งออกวัว เวียดนามเป็นทางผ่าน</strong>[/url]</li></ul></div><h2><strong>ขยายการดูแลสุขภาพสัตว์ให้เท่าคน</strong></h2><p>“ระบบการป้องกันโรคของไทยอยู่ในระดับดีเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาค ปัญหาของเราคือการปฏิบัติในระดับพื้นที่” นายสัตวแพทย์เทิดศักดิ์ ญาโณ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าว</p><p>เขายืนยันว่าสุขภาพของคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ต้องได้รับการดูแลคุ้มครองร่วมกันตามแนวทาง&nbsp;One Health&nbsp;หรือสุขภาพหนึ่งเดียว โดยต้องบูรณาการแนวคิดนี้เข้าสู่การทำงานในทุกระดับ ไม่แยกประเทศ หรือแยกสุขภาพสัตว์ออกจากสุขภาพคน</p><p>“ไทยแม้จะริเริ่มแนวคิดนี้แล้ว แต่ระบบดูแลคนและสัตว์ยังห่างกันมาก ระบบสาธารณสุขของไทยดีระดับโลก มีโรงพยาบาลครอบคลุมตั้งแต่ระดับศูนย์ จังหวัด อำเภอ ไปจนถึงตำบล บางตำบลมีโรงพยาบาล 2 แห่ง</p><p>แต่ปศุสัตว์บางอำเภอ มีเจ้าหน้าที่ 4-5 คน มีเจ้าหน้าที่ที่จะรับมือกับการระบาดของโรค หรือมีสิทธิ์ประกาศเขตโรคระบาด แค่ 1 คน”</p>วัว" width="2048" height="1365" loading="lazy<p class="text-align-center picture-with-caption">แผงขายยาและวัคซีนป้องกันโรควัว ภาพ:ณัฐกิตติ์ มีสกุล</p><p>แม้จะมีความท้าทายหลายประการ แต่ก็มีความพยายามจากเครือข่ายนักวิจัย ชุมชน และรัฐบาลระดับท้องถิ่น ในการจัดการโรคสัตว์ในระดับพื้นที่ โดยไม่รอการสั่งการจากฝ่ายนโยบาย</p><p>หนึ่งในความพยายามนั้นคือการทำแอพพลิเคชั่นมือถือ Participatory One Health Digital Disease Detection&nbsp;หรือ&nbsp;PODD&nbsp;อ่านว่า ”ผ่อดีดี” มีความหมายว่า “มองให้ดีดี” ในภาษาพื้นเมืองของจังหวัดเชียงใหม่</p><p>เครื่องมือชิ้นนี้ตั้งระบบตรวจจับการระบาดของโรคสัตว์ โดยมีสมาชิกในชุมชนเป็นผู้รายงานเข้าสู่ระบบ เมื่อพบการตายผิดธรรมชาติหรือการตายจำนวนมากของสัตว์ในพื้นที่ของตนเอง</p><p>“อาสาสมัครในหมู่บ้านจะแจ้งเมื่อพบสัตว์ตายผิดปกติหรือไม่ทราบสาเหตุ เรามีข้อกำหนดชัดเจนว่า สัตว์ตายไม่ทราบสาเหตุกี่ตัวต่อเนื่องกี่วัน จึงจะนับเป็นการระบาด” น.สพ.เทิดศักดิ์ กล่าว ในฐานะผู้ออกแบบระบบร่วมกับทีมงาน</p><p>“ข้อมูลจะถูกส่งไปยังเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ปศุสัตว์อำเภอ ปศุสัตว์จังหวัด หรือผู้ว่าราชการจังหวัด อยู่ที่ว่าใครอยากได้ข้อมูลนี้บ้าง ระบบส่งให้ได้ทันที”</p><p class="text-align-center"><iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/cjAoMXW77Ls?si=_Zh04nwMEnGie0Jr" title="YouTube video player" frameborder="0" allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" referrerpolicy="strict-origin-when-cross-origin" allowfullscreen></iframe> &nbsp;</p><p class="picture-with-caption">&nbsp;ที่มา:&nbsp;YouTube/BBC</p><p>ระบบการแจ้งโรคในสัตว์แบบมีส่วนร่วมเช่นนี้ใช้อย่างแพร่หลายในประเทศที่มีขนาดภาคส่วนปศุสัตว์ขนาดใหญ่ อย่างบราซิล ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และแคนาดา&nbsp;</p><p>ส่วน&nbsp;PODD&nbsp;ได้นำมาทดลองในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 400 แห่งของไทย ครอบคลุมเกษตรกรเกือบ 20,000 ราย สามารถตรวจจับโรคปากและเท้าเปื่อยในวัว และหยุดยั้งก่อนโรคจะระบาดเป็นวงกว้างได้ 5 ครั้งแล้ว คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นประมาณ 5 ล้านบาท</p><p>PODD&nbsp;ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดรายการ Trinity Challenge&nbsp;ในปี 2564 และกำลังเริ่มทดลองใช้ในลาว โดยได้อบรมเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครใน 5 แขวง เมืองละ 50 คน ได้แก่ คำม่วน สะหวันนะเขด จำปาสัก บอลิคำไซ และเวียงจัน</p><p>น.สพ.เทิดศักดิ์หวังว่าแอพพลิเคชั่นนี้จะขยายการใช้งานไปยังกัมพูชาและเคนยาเร็วๆ นี้ ส่วนพม่านั้น น่าจะสนใจเช่นกันหากสถานการณ์ภายในสงบ</p><p>&nbsp;</p><p>&nbsp;</p><p>&nbsp;</p><div class="note-box"><p><strong>รายงานนี้เป็นความร่วมมือระหว่างประชาไท กับ&nbsp;</strong><strong>Mekong Eye</strong><strong> ภายใต้การสนับสนุนจาก Internews' Earth Journalism Network&nbsp;</strong></p></div><p>&nbsp;</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" hreflang="th">ต่างประเทhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1" hreflang="th">สิ่งแวดล้อhttp://prachatai.com/category/depth" hreflang="th">depth[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99" hreflang="th">ชายแดhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99" hreflang="th">การค้าชายแดhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A8%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C" hreflang="th">ปศุสัตวhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82" hreflang="th">สาธารณสุhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5" hreflang="th">แอพพลิเคชันผ่อดีดhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88-%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A0" hreflang="th">เก่งกิจ กิติเรียงลาhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7" hreflang="th">กรรณิกา เพชรแก้http://prachatai.com/category/%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99" hreflang="th">จีhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ลาhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%87" hreflang="th">แม่น้ำโขhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%8A-%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C" hreflang="th">มาโนช โพธาภรณhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2024/12/111804
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.402 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 27 มิถุนายน 2568 11:59:03