[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
08 กรกฎาคม 2568 04:52:17 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - วิเคราะห์เลือกตั้ง อบจ. จุดเริ่มต้นของการปรับตัว ความเชื่อมโยงการเมืองระดับชา  (อ่าน 79 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 21 มกราคม 2568 22:02:50 »

วิเคราะห์เลือกตั้ง อบจ. จุดเริ่มต้นของการปรับตัว ความเชื่อมโยงการเมืองระดับชาติ
 


<span>วิเคราะห์เลือกตั้ง อบจ. จุดเริ่มต้นของการปรับตัว ความเชื่อมโยงการเมืองระดับชาติ</span>
<span><span>See Think</span></span>
<span><time datetime="2025-01-20T19:13:06+07:00" title="Monday, January 20, 2025 - 19:13">Mon, 2025-01-20 - 19:13</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>สัมภาษณ์: ศิชา รุ่งโรจน์ธนกุล</p><p>ภาพปก: กิตติยา อรอินทร์</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ตั้งแต่ปี 2567 การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในหลายพื้นที่กลายเป็นข่าวระดับประเทศ พรรคการเมืองประกาศเปิดตัวว่าส่งใครลงสมัครในจังหวัดใดบ้าง และแกนนำคนสำคัญของพรรคต่างขนทัพกันลงไปช่วยหาเสียง สังคมจึงจับตาการวัดพลังของพรรคต่างๆ เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มผลการเลือกตั้งครั้งหน้าในปี 2570</p><p>ใน 29 จังหวัดที่เลือกตั้งไปแล้ว มีผู้คว้าชัยทั้งหมดมาจากกลุ่มตระกูลการเมืองเดิม แบ่งได้เป็น</p><ul><li aria-level="1">11 จากเพื่อไทย-เครือข่ายบ้านใหญ่</li><li aria-level="1">11 จากเครือข่ายบ้านใหญ่สายภูมิใจไทย</li><li aria-level="1">3 จากรวมไทยสร้างชาติ-เครือข่ายบ้านใหญ่</li><li aria-level="1">3 จากพลังประชารัฐ-เครือข่ายบ้านใหญ่</li><li aria-level="1">1 จากกล้าธรรม&nbsp;(กลุ่มธรรมนัส)</li></ul><p>ส่วนพรรคประชาชน (เดิมก้าวไกล) ที่ผ่านมายังไม่ชนะเลยสักสนามด้วยหลายปัจจัย</p><p>วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศเป็นวันเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ทั่วประเทศไทย โดยการเลือกครั้งนี้จะเป็นการเลือก นายก อบจ.จำนวน 47 จังหวัดที่เหลือ และการเลือกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) ที่จะเลือกพร้อมกันทั่วประเทศ</p><p>ในการเลือกตั้งท้องถิ่นที่จะเกิดขึ้นเดือนหน้า&nbsp;พรรคเพื่อไทยส่งผู้สมัครลง “ในนามพรรค” 15 จังหวัด และ “ในนามสมาชิกพรรค” 1 จังหวัด คือ เชียงใหม่</p><p>ทางด้านพรรคประชาชนส่งผู้สมัครในนามพรรคทั้งหมด 17 จังหวัด (เดิมเคยแถลงข่าวว่า 18 จังหวัด แต่ถอนตัวออกไปหนึ่งคน)</p><p>นำมาซึ่งคำถามที่น่าสนใจ อาทิ</p><ul><li aria-level="1">ทำไมการเลือกตั้ง อบจ. จึงสำคัญกับพรรคการเมืองขนาดนี้</li><li aria-level="1">อะไรทำให้พรรคประชาชนยังไม่ประสบความสำเร็จในสนามท้องถิ่น</li><li aria-level="1">อะไรทำให้การเมืองแบบบ้านใหญ่ยังตอบโจทย์ชาวบ้านในบริบทชนบท</li><li aria-level="1">พรรคประชาชนและตระกูลการเมืองเดิมปรับตัวเพื่อแข่งขันกันอย่างไรในสนามท้องถิ่น</li></ul><p>ประชาไทพูดคุยกับ ผศ.ดร.ณัฐกร วิทิตานนท์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่</p><p><strong>ทำไมจึงมีเหตุการณ์ที่นายก อบจ.ใน 27 จังหวัดลาออกก่อนครบวาระ สิ่งนี้ทำให้ได้เปรียบคู่แข่งอย่างไร?</strong></p><p>ณัฐกรอธิบายว่ามี 2 เหตุผลหลัก คือ หนึ่ง–เพื่อเป็นแท็กติกเพื่อหลบเลี่ยงปัญหาเชิงกฎหมาย ทั้งเรื่องการหาเสียงและงบประมาณ สืบเนื่องมาจากกฎหมาย 180 วันก่อนครบวาระ ที่ห้ามไม่ให้ผู้บริหารท้องถิ่นใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ที่ดำรงอยู่มาเอื้อประโยชน์ในการหาเสียงต่อตนเองและพวกพ้อง</p><p>สอง – เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการเมือง เช่น ไปสืบทราบมาว่าคู่แข่งยังไม่พร้อม, ประหยัดค่าใช้จ่าย ในกรณีที่ลงชิงนายก อบจ.คนเดียวโดดๆ ไม่มีทีม ส.อบจ.ด้วย, พรรคการเมืองสามารถลงมาช่วยผู้สมัครหาเสียงได้</p><p><strong>ทำไมการเลือกตั้ง อบจ. จึงสำคัญกับพรรคการเมือง?</strong></p><p>อบจ.เป็นสนามท้องถิ่นที่พรรคการเมืองมองข้ามไม่ได้ เพราะใช้ทั้งจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเพื่อรักษาคะแนนนิยม ทั้งกรณีเจ้าของที่นั่งเดิม หรือสำหรับพรรคที่ส่งผู้สมัครลงท้าชิง หรือทวงคืนพื้นที่จากการเลือกตั้ง อบจ.ครั้งก่อน หรือการเลือกตั้ง สส.ครั้งล่าสุด ด้วยเหตุนี้สนาม อบจ.จึงเป็นฐานเสียงสำคัญของการเมืองระดับชาติ</p><p>ในมุมพรรคการเมือง สนาม อบจ.จะทำให้รู้เลยว่าอําเภอไหนเป็นฐานเสียงของใคร&nbsp; แล้วก็เหตุผลที่ทําให้การเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้มันโดดเด่นขึ้นมาก็คือพรรคเพื่อไทยแพ้การเลือกตั้งใหญ่เมื่อปี 2566 เพื่อไทยก็เลยคิดว่าจะต้องรื้อฟื้นฐานความนิยมใหม่ โดยเริ่มต้นตั้งแต่ อบจ. นี่แหละ เพราะว่ามันเป็นสนามที่ประเมินได้</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>วิเคราะห์เมืองดอกบัว ศึก อบจ.อุบล สู่เลือกตั้งใหญ่ จับตาขั้วอำนาจใหม่ ‘หวังศุภกิจโกศล’</li><li>ทำไมเลือกตั้งนายก อบจ. เหลือแค่ 47 จังหวัด</li><li>อบจ. ได้งบประมาณมาจากไหน? เก็บเงินจากอะไรได้มากที่สุด?</li></ul></div><p><strong>29 สนามที่เลือกตั้งนายก อบจ.ไปแล้ว ผู้ชนะมาจากบ้านใหญ่ ซึ่งคนรุ่นใหม่ส่วนหนึ่งมักจะมองการเมืองแบบบ้านใหญ่เป็นเรื่องขาว-ดำ มันเป็นแบบนั้นจริงไหม และอะไรทำให้การเมืองแบบบ้านใหญ่ยังคงตอบโจทย์ชาวบ้าน?</strong></p><p>เอาเข้าจริงซับซ้อน เริ่มจากเราต้องนิยมคำว่าบ้านใหญ่ให้ได้ก่อน สำหรับผมคือ ตระกูลการเมืองที่ผูกขาดอำนาจในพื้นที่อย่างยาวนาน ซึ่งเป็นลักษณะปกติของการเมืองท้องถิ่น ภาษาอังกฤษมีคำว่า Big Family เอาง่ายๆ ใครมีญาติเยอะย่อมได้เปรียบ ในการเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดเล็กจะเห็นภาพนี้ชัดขึ้น พอเป็นท้องถิ่นขนาดใหญ่มันจึงเป็นเรื่องของเครือข่ายความสัมพันธ์ ซึ่งปัญหารัฐรวมศูนย์คือปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการเมืองบ้านใหญ่ ซึ่งพวกนี้พยายามเข้าไปกุมอำนาจรัฐ เพื่อดึงเอางบประมาณมาลงที่ของตัวเอง</p><p>นักการเมืองบ้านใหญ่สร้างมรรคผลทำนองนี้ บ่อยครั้งจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรส่วนตัว ก็เลยเป็นที่รู้จักมักคุ้นจนได้รับการสนับสนุนจากคนในพื้นที่นั้นๆ อย่างยาวนาน มีนักวิชาการญี่ปุ่นเรียกว่า “จังหวัดนิยม” ถ้านึกไม่ออกให้ลองนึกถึงสุพรรณบุรี บุรีรัมย์ หรือพะเยา หน้าคุณบรรหาร ศิลปอาชา คุณเนวิน ชิดชอบ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า สามคนนี้ก็จะลอยมาทันที ขณะเดียวกันก็เกิดคำถามถึงเรื่องการใช้อิทธิพลและความโปร่งใส</p><p>แต่ว่าการเมืองท้องถิ่นเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ในวิถีชนบทมันพึ่งพาไม่ใช่แค่เรื่องตัวเงิน มันเป็นเรื่องของการพึ่งพา-ความใกล้ชิดระหว่างตัวบุคคล งานทางวัฒนธรรมไม่ว่าจะเป็นงานแต่ง งานศพ งานบวช ในแต่ละเดือน เหล่านี้มันก็เป็นพื้นที่ให้นักการเมืองเข้าไปทํางาน สร้างความใกล้ชิดกับชาวบ้านส่วนสาเหตุว่าทำไมจึงมีการพึ่งพาตัวบุคคลสูง ถ้าพูดแบบยืมคําอาจารย์โอฬาร (รศ. ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา) ก็คือว่า เนื่องจากว่าการกระจายความเจริญ-กระจายอำนาจมันไปไม่ถึงชาวบ้าน พอกลไกรัฐลงไปไม่ถึง มันก็เปิดช่องให้มีผู้มีบารมี &nbsp; หรือคนที่คอยเป็นคนรับบทผู้ประสาน จัดการให้&nbsp;ติดต่อหน่วยงานนั้นหน่วยงานนี้ ทำให้คนพวกนี้ก็กลายเป็นคนที่มีบทบาทขึ้นมา</p><p>ต้องยอมรับความจริงว่าสังคมไทยยังอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ การเมืองท้องถิ่นไม่เป็นอิสระ ต้องพึ่งพาการเมืองระดับชาติ และกลไกราชการสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการดึงเอาโครงการ/กิจกรรมมาลงในพื้นที่</p><p>ณัฐกรขยายความเรื่องนี้ด้วยตัวอย่าง 2 กรณีในจังหวัดเชียงใหม่</p><p>หนึ่ง – การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ส่งมอบ “สวนสาธารณะรถไฟเชียงใหม่” ให้กับ อบจ.เชียงใหม่ บริหารจัดการและดูแลให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ ต่อมาเมื่อเกิดน้ำท่วมและสถานการณ์คลี่คลายลง แต่ว่ามีปัญหาเรื่องการจัดการขยะจำนวนมากหลังน้ำลด&nbsp;อบจ.เชียงใหม่ก็ได้ใช้พื้นที่สวนสาธารณะแห่งนี้เป็นจุดพักขยะ</p><p>สอง – อบจ.เชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรมวิ่งเทรลระดับเอเชีย โดย อบจ.เป็นเจ้าภาพในแง่ของสถานที่ แต่อีกส่วนคือได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานส่วนกลางด้วย</p><p>ตัวอย่างข้างต้น อธิบายว่า ลำพัง อบจ.ไม่ได้มีอำนาจมากขนาดนั้น แต่ต้องอาศัยความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลกลางด้วยจึงจะสามารถสร้างผลงานได้ ฉันใดก็ฉันนั้น การเมืองระดับชาติก็หวังใช้การเมืองท้องถิ่นเป็นฐานเสียง มีลักษณะของการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่างกัน</p><p>ถ้าเราจะบอกว่าการเมืองแบบ อบจ.เป็นอิสระ&nbsp; สามารถจัดการปัญหาของตัวเองได้โดยไม่ต้องไปสนว่าใครจะเป็นรัฐบาล ต่อให้รัฐบาลเป็นคนละขั้วเราก็อยู่ได้ อันนี้ไม่จริง คือเราก็อยู่ได้อย่างลําบาก แต่ว่าถ้าเราได้รัฐบาลเดียวกันกับ อบจ. เราก็จะทํางานราบรื่น&nbsp;</p><p><strong>หลายคนมองว่าการมีอยู่ของความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์นั้นไม่เป็นคุณต่อระบบประชาธิปไตย อาจารย์มองอย่างไร</strong></p><p>ถ้ามองระยะยาว การเลือกจากตัวบุคคลก็ไม่ส่งผลดีต่อประชาธิปไตย เพราะจะทำให้โอกาสขับเคลื่อนทางนโยบายไม่เกิด เพราะมันจะเป็นเรื่องตัวบุคคล ไม่ได้กระตุ้นให้คนทำนโยบายมาแข่งกัน</p><p><strong>แต่ในสภาพจริงที่สังคมมันยังเหลื่อมล้ำอยู่เยอะ &nbsp; การปฏิเสธเรื่องความใกล้ชิดตัวบุคคล-ความสัมพันธ์แบบพึ่งพาไปเสียทั้งหมด&nbsp; อีกทางหนึ่งมันจะส่งผลให้ชนชั้นรากหญ้ามีส่วนร่วมทางการเมืองน้อยกว่าชนชั้นกลางหรือเปล่า&nbsp;&nbsp;</strong></p><p>ถ้าจะเปลี่ยนระบบอุปถัมภ์ก็ต้องไปคิดโจทย์ใหม่ว่า รัฐสามารถมีงบสนับสนุนผู้สมัครได้ไหม เพื่อไม่ให้เขาต้องโกง หรือใช้เงินเพื่อสะสมทุนทางการเมือง</p><p>อีกอย่างก็คือ การเปลี่ยนเรื่องที่นักการเมืองเคยทำให้ในเชิงอุปถัมภ์ให้กลายเป็นบริการสาธารณะของท้องถิ่น&nbsp;ซึ่งพอเป็นบริการสาธารณะก็หมายความว่าทุกคนเข้าถึง เช่น รถแห่งานศพ หรือ เตนท์ แต่ต่อไปใครอยากจะใช้ก็ทำเรื่องขอเข้ามาตามระบบ เพื่อลดการพึ่งพิงเชิงอุปถัมภ์</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>มองมุมใหม่ 'ขายเสียง' ฟังความรู้สึกรากหญ้า [คลิป]</li></ul></div><p><strong>แต่ละจังหวัดมีบริบทที่ต่างกันไป มีทั้งแดงชนน้ำเงิน, แดงชนส้ม, ส้มชนน้ำเงิน อาจารย์มองเห็นอะไรที่เป็นจุดร่วมในภาพรวมบ้าง?</strong></p><p>ส่วนใหญ่เป็นแดงชนน้ำเงิน โดยเฉพาะทางอีสาน ศรีสะเกษ มหาสารคาม หนองคาย บึงกาฬ นครพนม กรณีที่เป็นแดงชนส้มไม่ได้เยอะ แต่ด้วยสื่อมวลชนนำเสนอเน้นย้ำก็เลยทำให้คนฟังรู้สึกว่าเยอะ แดงชนส้มเท่าที่นึกออกเจอแค่ภาคเหนือ อย่างเชียงใหม่-ลำพูน ที่ปราจีนบุรีก็ไม่ชัด พรรคประชาชนเห็นช่องเพิ่งตัดสินใจส่งคนลงทีหลัง</p><p>แต่จุดร่วมหลักๆ ของการเลือกตั้ง อบจ.หลายจังหวัดทั่วประเทศคือ การสู้กันระหว่างคนเก่ากับคนใหม่ ซึ่งค่อนข้างต่างกันสุดขั้ว ตั้งแต่อายุ การศึกษา ทัศนคติ วิธีการหาเสียง (ตัวบุคคล VS นโยบาย) พรรคการเมือง (พรรครัฐบาล VS พรรคประชาชน)</p><p>จะเห็นว่ามีความแตกต่างในเรื่องสโลแกนที่ใช้หาเสียง เป็นสูตรสำเร็จในการหาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่น คนเดิมก็จะใช้คำอย่างเช่น “ไปต่อ” “ต่อยอด” “เดินหน้า” “มีผลงาน” แต่คนใหม่ก็จะใช้คำอีกแบบ อย่างเช่น “เปลี่ยนแปลง” “เลือดใหม่” “พันธุ์ใหม่” “ดีกว่าเดิม”&nbsp;</p><p><strong>กระแสของพรรคส้มส่งผลให้บ้านใหญ่ในแต่ละพื้นที่ ปรับตัวหรือเปลี่ยนไปยังไงบ้าง?</strong></p><p>อย่างน้อยเท่าที่เห็น บ้านใหญ่มีความพยายามปรับตัวมากขึ้น วิธีการหาเสียงเปลี่ยนแน่ๆ หันมาใช้สื่อโซเชียลเพื่อนำมาซึ่งคะแนนเสียงมากขึ้น เมื่อก่อนบ้านใหญ่จะไม่ค่อยให้ความสําคัญกับสื่อโซเชียล อาจเพราะเขามองว่าโซเชียลมีเดียเป็นแค่ภาพลักษณ์ แต่ไม่ได้นำมาซึ่งคะแนนจริงๆ แต่พอเห็นพรรคก้าวไกลใช้โซเชียลมีเดียและประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งใหญ่ปี 2566 ก็อาจทำให้บ้านใหญ่เริ่มเปลี่ยนความคิด คะแนนส่วนหนึ่งอาจมาจากโซเชียลก็ได้</p><p>อีกประเด็นคือ ให้ความสำคัญกับเรื่องนโยบายเพิ่มขึ้น ซึ่งมักเป็นนโยบายเหมือนกับที่พรรคประชาชนใช้เป็นจุดขาย ไม่ว่าน้ำประปาดื่มได้ ขนส่งสาธารณะ หรืออาจไปถึงขั้นส่งต่อทายาททางการเมืองที่มีความเป็นคนรุ่นใหม่มาแทนคนรุ่นพ่อรุ่นแม่</p><p>ณัฐกรยกตัวอย่าง การใช้สื่อออนไลน์ของ&nbsp;วิทยา คุณปลื้ม ผู้สมัคร นายก อบจ. ชลบุรี ที่ดูทันสมัยขึ้นมาก มีภาพที่น่าดึงดูด คำสั้นกระชับ และแจกแจงนโยบายด้วย</p><p>เช่นเดียวกันกับ สื่อโซเชียลของ&nbsp;พิชัย เลิศพงศ์อดิศร ผู้สมัคร นายก อบจ. เชียงใหม่ในนามสมาชิกพรรคเพื่อไทย ณัฐกรตั้งข้อสังเกตว่า ข้อความที่เลือกสื่อสารระหว่างการหาเสียงในพื้นที่จริงกับออนไลน์เป็นคนละแบบ &nbsp; เพราะอาจเป็นสื่อสารกับเป้าหมายที่เป็นคนละกลุ่ม</p><p><strong>การที่พรรคส้มยังไม่ชนะสักสนามเลย สามารถวิเคราะห์ได้ไหมว่าเกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง</strong></p><p>ไม่ชนะอยู่แล้ว เพราะว่าในจังหวัดที่พรรคส้มส่งผู้สมัครลงในนามพรรคที่มีการเลือกตั้งไปก่อนหน้านี้&nbsp;เป็นจังหวัดที่มีตระกูลการเมืองครองพื้นที่อย่างเหนียวแน่น เช่น ราชบุรี อุบลราชธานี อุดรธานี</p><p>ผมคิดว่ามันมีหลายจังหวัดที่น่าสนใจ ได้คะแนนในเขตเมือง เช่น ชัยนาท พิษณุโลก รวมถึงอุดรธานี ซึ่งพรรคประชาชนชนะในเขตเมือง ซึ่งมันก็พอเห็นภาพ ถ้าเขาเล่นการเมืองที่เล็กกว่าจังหวัด เจาะไปที่ตัวเมือง เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เขามีโอกาส แต่ไม่รู้นะว่าต่อไปเขาจะกระโดดลงมาเล่นในสนามเทศบาลเต็มตัวขนาดไหน แต่เขาเห็นแล้วว่าหลายจังหวัดเขาชนะในเขตเมือง</p><p>ขณะเดียวก็ต้องยอมรับว่าฐานเสียงหลักของพรรคประชาชนที่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่/ชนชั้นกลางยังไม่อินกับการเมืองท้องถิ่นเท่าที่ควรเป็น ด้วยหลายปัจจัย ยังไม่ไปพูดถึงกลไกการเลือกตั้งที่ไม่เอื้อเลย อย่างที่เราทราบ ทั้ง กกต.กำหนดให้จัดเลือกตั้งวันเสาร์ ทั้งไม่มีการเลือกตั้งล่วงหน้า ไม่มีการเลือกตั้งนอกเขต แบบการเลือกตั้ง สส.</p><p>วัยรุ่นจะอินการเมืองระดับชาติ เพราะเขามองว่าสิ่งอยากเห็นความเปลี่ยนแปลงมันแก้ไม่ได้ด้วยท้องถิ่น และตัวเขาเองก็อพยพไปเรียน ไปทำงานที่อื่น เขาไม่ได้ต้องพึ่งพาอะไรนักการเมืองท้องถิ่น</p><p>ในขณะที่คนรุ่นพ่อ-แม่ คนสูงวัยที่อยู่ในภูมิลำเนาจะอินกับการเมืองท้องถิ่นมากกว่า อย่างปัญหาเรื่องไฟเสีย บางทีเขาไม่รู้จะบอกใครก็อาจโทรบอกสมาชิกสภาเทศบาล (สท.) ที่ตัวเองรู้จักให้ช่วยเข้ามาดูให้หน่อย ทั้งๆ ที่อาจจะไม่ใช่งานในหน้าที่ของของเทศบาล แต่นักการเมืองท้องถิ่นก็ต้องมาเป็นคนกลาง&nbsp;</p><p><strong>หลายคนบอกว่า พรรคส้มเข้าใจปัญหาท้องถิ่น แต่ไม่เข้าใจวิถีการเมืองท้องถิ่น อาจารย์มองเรื่องนี้อย่างไร</strong></p><p>ผมว่าเขาเข้าใจนะ เพียงแต่ว่าพรรคน่าจะลองแนวทางที่เขาเคยประสบสําเร็จในการเลือกตั้งใหญ่ ซึ่งถ้าพรรคหวังผลให้ชนะก็อาจจะต้องเปลี่ยนวิธีการคัดสรรตัวบุคคลที่จะมาลงชิงนายก อบจ.&nbsp;แต่ว่ามันก็ยากอยู่ที่จะไปหาคนที่มันมีคุณลักษณะความเป็นนักการเมืองแบบเดิม ซึ่งคนแบบนี้อาจจะดี แต่พรรคก็อาจจะคิดว่าเรื่องแนวคิดเชิงอุดมการณ์ยังไม่ผ่าน&nbsp;&nbsp;</p><p>การเมืองระดับชาติเป็นเรื่องของความศรัทธาต่ออุดมการณ์ แนวทางนโยบาย ส่วนการเมืองท้องถิ่นเป็นเรื่องของความเชื่อมั่นในตัวบุคคล ความใกล้ชิดผูกพันกับพื้นที่&nbsp;</p><p>เราต้องยอมรับว่าในสังคมชนบท มันมีการพึ่งพาอาศัยกันของเครือข่าย ความใกล้ชิด ความผูกพัน ซึ่งนักการเมืองแบบเดิมเขาให้ความสําคัญกับการทํางานแบบนี้&nbsp; เช่น การลงพื้นที่ไปช่วยงานบุญ งานศพ อนุเคราะห์ชาวบ้านในเรื่องต่างๆ ดังนั้นด้วยเครือข่ายแบบนี้ ซึ่งก้าวไกลไม่มี ก้าวไกลเขาไม่ใช้แนวทางนี้ ดังนั้นเขาก็ไม่สามารถจะมั่นใจความนิยมของตัวเองในชนบทได้</p><p>ขณะที่กลุ่มคนในเมืองที่ตัดสินใจเลือกจากความเชื่อมั่นในพรรค ไม่สนตัวบุคคลเลยว่าจะเป็นใคร ความแตกต่างกันในเรื่องวิธีคิด-การตัดสินใจระหว่างสองกลุ่ม ผมเรียกว่า “พฤติกรรมการเลือกตั้งแบบคู่ขนาน” ซึ่งหมายถึง ระดับท้องถิ่นคนจะเลือกตัวบุคคล ระดับชาติคนจะเลือกพรรค</p><p>ซึ่งสมมติฐานนี้ยังรอการพิสูจน์ ถ้าเป็นแบบที่ผมว่า ผลการเลือกตั้งนายก อบจ.รอบนี้ของหลายจังหวัดจะเปลี่ยน พูดง่ายๆ คือ คนที่เคยกาให้ก้าวไกลในการเลือกตั้ง สส. จะเปลี่ยนใจไปกาให้ผู้สมัครจากพรรคการเมืองอื่น</p><p>แต่เราจะเห็นว่าในการเลือกตั้งท้องถิ่นรอบนี้ พรรคประชาชนก็ปรับตัว ให้ความสำคัญกับการเลือกเฟ้นคนมากขึ้น ส่งสมัครน้อยลง แต่โดดเด่นขึ้น ในหลายจังหวัดไม่ใช่แค่คัดกรองอุดมการณ์ผ่าน แต่ยังต้องมีประสบการณ์ทางการเมือง หรือพอมีพื้นฐานตระกูลการเมืองเป็นต้นทุนอยู่บ้าง ไม่ใช่ไร้เดียงสาทางการเมืองมาเลย อย่างเช่นในกรณีจังหวัดนครนายก ที่แชมป์เก่าอย่าง จักรพันธ์ จินตนาพากานนท์ ลงสมัครในนามพรรคประชาชน&nbsp;</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>เปิดแผนที่ ศึกนายก อบจ. 29 จังหวัด ใครชนะที่ไหนไปแล้วบ้าง?</li><li>เปิด 5 สนาม แดง-ส้ม วัดพลัง ศึกนายก อบจ. 1 กุมภา 2568</li><li>เลือกตั้งนายก อบจ.เลือกได้แค่ไหน มีใครให้เลือกบ้าง</li></ul></div><p>&nbsp;</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C" hreflang="th">สัม
บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.139 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 25 มิถุนายน 2568 21:42:31