'หมิ่นอดีตกษัตริย์ ส่งผลถึงองค์ปัจจุบัน' เมื่อ 112 ถูกตีความเกินตัวบท ?
<span>'หมิ่นอดีตกษัตริย์ ส่งผลถึงองค์ปัจจุบัน' เมื่อ 112 ถูกตีความเกินตัวบท ?</span>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2025-01-25T12:27:24+07:00" title="Saturday, January 25, 2025 - 12:27">Sat, 2025-01-25 - 12:27</time>
</span>
<div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>รายงาน: ณัฐพล เมฆโสภณ</p><p>ภาพปก: กิตติยา อรอินทร์</p></div>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>สัปดาห์ที่ผ่านมาศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาจำคุกคดีมาตรา 112 ใน 2 คดีคือ คดีของ ‘ใจ’ และ ‘พอร์ท ไฟเย็น’ โดยพฤติการณ์ของทั้ง 2 คดีจะเกี่ยวข้องกับอดีตกษัตริย์รัชกาลที่ 9 ขณะที่มาตรา 112 ระบุคุ้มครอง 4 ตำแหน่งคือ พระมหากษัตริย์, พระราชินี, รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการฯ </p><p>ประชาไทชวนย้อนดูคดีในอดีต นอกจากคดีความของใจและพอร์ทแล้ว ศาลเคยตัดสินและให้เหตุผลว่าอย่างไร และการขยายปัญหาเรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อสังคมภาพรวมอย่างไร</p><p> </p><p>กฎหมายอาญามาตรา 112 ให้คุ้มครอง 4 ตำแหน่ง ประกอบด้วย กษัตริย์ (องค์ปัจจุบัน) พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หากผิดจริง จะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปี</p><p>2 คดีที่ล่าสุดนั้นมีความน่าสนใจในแง่การตีความ ‘การคุ้มครอง’ นั่นคือ คดีของ
‘ใจ’ (นามสมมติ) ถูกกล่าวหาว่าทวีตรูปและพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 พร้อมข้อความแสดงความเห็นเมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2563 โดยมีอารีย์ จิวรรักษ์ รับมอบอำนาจจากกระทรวงดิจิทัลฯ เป็นผู้กล่าวหา</p><p>คดีนี้ศาลอุทธรณ์ให้ยืนโทษจำคุก 2 ปี ตามศาลชั้นต้น แม้ศูนย์ทนายความสิทธิมนุษยชนจะโต้แย้งว่าการโพสต์ข้อความของใจ ไม่สามารถสื่อถึงรัชกาลที่ 10 กษัตริย์องค์ปัจจุบัน และไม่ได้เป็นการโพสต์ภาพหรือข้อความในช่วงสมัยของรัชกาลที่ 9</p><p>ขณะที่คดีความของ
‘พอร์ท’ ปริญญา ชีวินกุลปฐม อดีตนักร้องและนักดนตรีวงไฟเย็น มีพฤติการณ์ของคดีคือ การโพสต์เฟซบุ๊กว่า ‘ตุรกีรัฐประหารไม่สำเร็จ เพราะว่าไม่มีกษัตริย์เซ็นรับรอง’ รวมทั้งเนื้อเพลงและข้อความอีก 2 โพสต์ เมื่อปี 2559 ในสมัยที่รัชกาลที่ 9 ครองราชย์อยู่ โดยคดีนี้ศาลอุทธรณ์ให้ยืนโทษจำคุก 6 ปี ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น</p><h2>'หมิ่นรัชกาลที่ 9 กระทบรัชกาลที่ 10'</h2><p>แล้วศาลให้เหตุผลใน 2 คดีนี้ว่าอย่างไร? คดีของ ‘ใจ’ ในวันฟังคำตัดสินของศาลอุทธรณ์ ศาลอ่านคำพิพากษาแค่ในส่วนของโทษจำคุกเท่านั้น แต่ไม่มีการอ่านเหตุผลในการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดอย่างไรและเหตุใดคำอุทธรณ์ของใจจึงไม่สามารถรับฟังได้ แต่หากย้อนไปดูศาลชั้นต้น จะพบการตีความว่า บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้คุ้มครองเฉพาะกษัตริย์ที่ครองราชย์อยู่เท่านั้น และแม้รัชกาลที่ 9 จะสวรรคตไปแล้ว การกระทำของจำเลยก็ยังเป็นความผิดตามมาตรา 112 เนื่องจากเป็นการกระทำที่กระทบต่อรัชกาลที่ 10 ซึ่งเป็นพระราชโอรส และทรงครองราชย์อยู่ในปัจจุบัน ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>
ศาลอุทธรณ์จำคุก ‘ใจ’ 2 ปี เหตุโพสต์ถึง ร.9 แม้ 112 คุ้มครองไม่ถึง</li></ul></div><p>ขณะที่
‘พอร์ท ไฟเย็น’ ซึ่งเป็นการโพสต์ในสมัยรัชกาลที่ 9 และไม่ได้ระบุเจาะจงถึงรัชกาลที่ 10 แต่ศาลอุทธรณ์กลับพิจารณาว่าการกระทำของ 'พอร์ท' ทำให้รัชกาลที่ 10 เกิดความเสื่อมเสีย ทำให้ถูกดูหมิ่นและเกลียดชัง และศาลมองด้วยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการหมิ่นประมาทอดีตกษัตริย์รัชกาลที่ 9 ย่อมกระทบถึงพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบันที่ครองราชย์อยู่ และกระทบต่อความมั่นคงของประเทศด้วย เพราะอดีตกษัตริย์ รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นพระราชบิดาของกษัตริย์รัชกาลที่ 10 ซึ่งการวินิจฉัยลักษณะนี้คล้ายกับคดีของใจ </p><p>ปัจจุบัน ใจได้รับการประกันตัวในการสู้คดีชั้นฎีกา ส่วนพอร์ทตอนนี้ถูกนำตัวฝากขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เพื่อรอศาลฎีกาพิจารณาคำสั่งว่าจะให้ประกันตัวหรือไม่ ส่งผลให้ ณ ตอนนี้มีผู้ถูกคุมขังทางการเมืองทั้งคดีเด็ดขาดและระหว่างสู้ดคีอยู่ 43 ราย เกินกว่าครึ่งเป็นคดีมาตรา 112 </p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54286283094_43342747de_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">พอร์ท ไฟเย็น หรือ ปริญญา ชีวินกุลปฐม </p><h2>ไม่ใช่ครั้งแรก คดีพาดพิงรัชกาลที่ 4 ก็โดน</h2><p>นี่ไม่ใช่ครั้งแรกๆ ที่ศาลตัดสินให้ตัวบทกฎหมายมาตรา 112 คุ้มครองอดีตกษัตริย์ หรือกษัตริย์ที่สวรรคตไปแล้ว</p><p>เคยมีกรณี
ณัชกฤช ผู้จัดรายการสถานีวิทยุชุมชน ในจังหวัดชลบุรี ถูกฟ้องมาตรา 112 เนื่องจากพูดพาดพิงรัชกาลที่ 4 ในรายการวิทยุเมื่อปี 2548 เป็นข้อความว่า "เพราะศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ในสิ่งใดที่เราคิดว่า เราเสียไปแล้วเนี๊ยะ ถ้าเราทำด้วยความอิสระ ทำด้วยความคิดเสรี เพื่อพี่น้องประชาชน เราไปครับ แต่ถ้าเราต้องไป แล้วต้องเป็นเหมือนกับสมัยรัชกาลที่ 4 เราไม่เป็นครับท่าน ยุคนั้นหมดไปแล้ว"</p><p>ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกในคดีนี้ 4 ปี แต่จำเลยรับสารภาพลดโทษลงกึ่งหนึ่งเหลือ 2 ปี โดยให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี แต่ชั้นศาลอุทธรณ์ตัดสินยกฟ้อง เนื่องจากไม่เข้าองค์ประกอบความผิด เพราะคำว่ากษัตริย์เฉพาะองค์ที่ครองราชย์อยู่</p><p>อย่างไรก็ตาม ในชั้นศาลฎีกากลับพิเคราะห์ว่าการหมิ่นประมาทอดีตกษัตริย์ย่อมส่งผลกระทบต่อกษัตริย์องค์ปัจจุบัน จึงพิพากษากลับยืนตามศาลชั้นต้น ซึ่งภายหลังคำพิพากษาของศาลฎีกาคดีนี้จะกลายเป็นต้นแบบของการพิพากษาคดีอื่นๆ ตามหลังอีกหลายคดี</p><h2>'ยุทธหัตถีไม่มีจริง' ถูกแจ้งมาตรา 112</h2><p>
สุลักษณ์ ศิวรักษ์ นักเขียนและนักวิชาการเคยถูก พล.ท.ผดุง นิเวศวรรณ และ พล.ท.พิทยา วิมะลิน แจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ข้อหาความผิดตามมาตรา 112 เนื่องจากสุลักษณ์กล่าวพาดพิงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในเวทีวิชาการ "ประวัติศาสตร์ว่าด้วยการชำระและการสร้าง" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่จัดโดยกลุ่มนักศึกษา เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2557 จากการพูดว่า การทำยุทธหัตถีไม่มีจริง</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/3939/32748764404_95a84dd3f2_b.jpg" width="1024" height="576" loading="lazy">สุลักษณ์ ศิวรักษ์</p><p>อย่างไรก็ตาม คดีนี้ไปไม่ถึงศาลเพราะแม้ว่าเมื่อวันที่ 9 ต.ค. 2560 พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม สรุปสำนวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องคดีดังกล่าว แต่ 17 ม.ค. 2561 อัยการทหารมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี โดยเห็นว่า ‘พยานหลักฐานไม่เพียงพอ’</p><p>อนึ่ง ในเวลานั้นคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) (ระหว่างปี 2557-2562) ได้มีคำสั่งให้มีการพิจารณาคดีมาตรา 112 บนศาลทหาร</p><h2>วิจารณ์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ก็กระทบ ร.10</h2><p>คดีของ ‘
จรัส’ (สงวนนามสกุล) ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 จากการโพสต์วิจารณ์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2565 โดยศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยืนตามศาลชั้นต้นจำคุก 3 ปี ก่อนลดเหลือ 1 ปี 4 เดือน และรอการลงโทษ 2 ปี</p><p>ศาลอุทธรณ์ให้เหตุผลเข้าข่ายมาตรา 112 ว่า ประการแรก ตัวบทกฎหมายมาตรา 112 ไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นกษัตริย์ที่กำลังครองราชย์อยู่เท่านั้น ประการที่สอง การหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นอดีตพระมหากษัตริย์ก็ย่อมกระทบถึงพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่ยังคงครองราชย์อยู่ และประการที่สาม หากมาตรา 112 จำกัดแค่เฉพาะกษัตริย์องค์ปัจจุบัน การวิจารณ์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นพระบิดาของรัชกาลที่ 10 ก็เป็นช่องให้เกิดการละเมิด หมิ่นประมาท หรือดูหมิ่นกษัตริย์องค์ปัจจุบันได้</p><h2>'บัสบาส' โดนเพิ่ม โพสต์ถึง ร.9</h2><p>‘บัสบาส’ มงคล ถิระโคตร พ่อค้าขายของออนไลน์ จากจังหวัดเชียงราย ถูกกล่าวหามาตรา 112 จากการโพสต์เฟซบุ๊กรวม 27 ข้อความ จาก 2 คดี</p><p>เมื่อ 26 ม.ค. 2566 ศาลจังหวัดเชียงรายตัดสินให้บัสบาส มีความผิดมาตรา 112 จำนวน 14 กรรม ที่เป็นข้อความเกี่ยวกับรัชกาลที่ 10 และยกฟ้องอีก 13 กรรม ที่เป็นข้อความเกี่ยวกับอดีตกษัตริย์หรือไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ แต่เมื่อ 18 ม.ค. 2567
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ได้ตัดสิน ให้บัสบาสผิดมาตรา 112 เพิ่มอีก 11 กระทงจากโพสต์ที่พูดถึงอดีตกษัตริย์ โดยอ้างอิงจาก
คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 6374/2556 หรือคดีที่ ‘ณัชกฤช กล่าวพาดพิง ร.4’ ว่าการละเมิดหรือดูหมิ่นอดีตกษัตริย์ กระทบกับพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน</p><p>ผลจากคำตัดสินศาลอุทธรณ์ ภาค 5 ทำให้บัสบาส ผิดรวม 25 กระทง และถูกจำคุกสูงรวม 50 ปี นับได้ว่าเป็นผู้ถูกกล่าวหาคดีมาตรา 112 ที่ถูกลงโทษสูงที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่ จากข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน</p><h2>ยึดตามคำพิพากษาศาลฎีกา บรรทัดฐานที่เปลี่ยนยาก</h2><p>
เข็มทอง ตันสกุลรุ่งเรือง นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ และอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า จริงๆ แล้ว มาตรา 112 คุ้มครอง 4 บุคคลเท่านั้น คือกษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และหากสังเกตจากภาษาอังกฤษ ก็มีการใช้คำว่า ‘the King’ ไม่ใช่ ‘the Kings’ ดังนั้น กฎหมายจึงเจาะจงเฉพาะกษัตริย์พระองค์เดียว</p><p>เข็มทอง มองว่าปัญหาระบบยุติธรรมของไทยคือนักกฎหมายมักยึดติดตามคำพิพากษาของศาลฎีกาอย่างเคร่งครัดมาก โดยเฉพาะคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2556 (คดีกล่าวพาดพิง ร.4) แม้ว่าจะขัดแย้งกับตัวบทกฎหมายมาตรา 112</p><p>"เป็นที่รู้กันดีว่าการตีความมาตรา 112 ของรัฐไทยนั้นออกจะกว้างขวางไร้ขอบเขต แต่ถึงกระนั้น คนขี้สงสัยก็ยังทักถามพนักงานสอบสวนและอัยการไปว่า ทำไมบรรดาคุณท่านถึงได้สั่งฟ้องไปเช่นนั้น</p><p>"รายไหนรายนั้นต้องอ้างถึงคำพิพากษาฎีกาที่ 6374/2556 ซึ่งลงโทษจำเลยเนื่องจากหมิ่นรัชกาลที่ 4" เข็มทอง กล่าว</p><p>เข็มทอง ให้ความเห็นว่า แม้ว่าตามทฤษฎีของระบบประมวลกฎหมายอาญาควรยึดเอาลายลักษณ์อักษรตามตัวบทกฎหมาย แต่ในทางปฏิบัตินักกฎหมายไทยมักยึดโยงกับคำพิพากษาศาลฎีกาอย่างเคร่งครัด เป็นบรรทัดฐาน ท่องจำเหมือนสูตรคาถามากกว่าวิเคราะห์ข้อต่างของกฎหมาย</p><p>อาจารย์จากจุฬาฯ มองว่า ผู้ใช้กฎหมายทราบดีว่าคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2556 ขัดกับหลักกฎหมาย แต่ก็จะเดินตามบรรทัดฐานนี้จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นไปได้ยาก ในปัจจุบันแม้ว่า <strong>‘ศาลชั้นต้น’</strong> หลายแห่งจะยึดตามหลักกฎหมายตีความมาตรา 112 โดยเคร่งครัดและยกฟ้องประชาชนจำนวนมากเนื่องจากพูดถึงอดีตกษัตริย์ แต่คำพิพากษาเหล่านี้เป็นคำพิพากษา <strong>‘ศาลชั้นต้น’ ซึ่งใช้เป็นบรรทัดฐานกลับคำพิพากษาฎีกาไม่ได้ และถ้าดูแนวโน้มศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา กลับมีแนวโน้มจะตีความตามแนวเดิมคือยึดฎีกา 6374/2556 เจ้าปัญหา</strong> อย่างคดีวิจารณ์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของ ร.9 ดังนั้น แม้ว่าฎีกานี้จะผิดพลาด แต่คงได้แต่รอคอยการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ จนกว่าศาลฎีกาจะขยับแก้ไขบรรทัดฐานนี้</p><h2>นักประวัติศาสตร์กุมขมับ</h2><p>
ปิยบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ เคยให้ความเห็นเมื่อปี 2565 ระบุถึงปัญหาตีความมาตรา 112 คุ้มครองอดีตพระมหากษัตริย์ จะกระทบกับขอบเขตการตีความกฎหมาย เพราะประชาชนจะไม่ทราบเลยว่าอดีตกษัตริย์ขอบเขตอยู่ไหน จะถอยไปถึงพระองค์ไหน หรือเอาช่วงเวลาไหนเป็นหลักเกณฑ์</p><p>"ถอยไปถึงพ่อขุนรามฯ ไหม พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ฯ ไหม แล้วประเทศไทยตั้งวันไหนไม่รู้ เราจะหาพระมหากษัตริย์องค์แรกของไทย องค์ไหนที่ตั้งเป็นทางการยังไม่รู้" ปิยบุตร ตั้งคำถาม</p><p>ปิยบุตร ชี้ให้เห็นปัญหาจากการตีคุ้มครองอดีตกษัตริย์ด้วยว่า จะส่งผลกระทบต่องานศึกษาด้านประวัติศาสตร์ เพราะนักวิชาการไม่ว่าสำนักไหนวิจารณ์อดีตกษัตริย์ไม่ได้เลย ในตำราเรียนวิจารณ์กษัตริย์ในอดีตอย่างพระเจ้าเอกทัศเรื่องการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ผิดไหม ต้องไปยึดแล้วห้ามเผยแพร่หรือไม่ ภาพยนตร์เชิงประวัติศาสตร์ที่วิจารณ์กษัตริย์พูดได้ไหม ตั้งคำถามศิลาจารึกถือว่าเข้าข่ายหมิ่นพ่อขุนรามคำแหงหรือไม่ หรือเราสามารถวิจารณ์รัฐรวมศูนย์ของรัชกาลที่ 5 ได้หรือไม่</p><p>"มันเกิดปัญหาว่า ขอบเขตจุดสิ้นสุดขององค์ประกอบความผิด 112 อยู่ตรงไหน คุณจะถอยไปถึงพระมหากษัตริย์พระองค์ไหน ตีความแบบนี้ไม่ต้องเรียนแล้วประวัติศาสตร์ประเทศไทย" ปิยบุตร กล่าวย้ำ</p></div>
<div class="node-taxonomy-container">
<ul class="taxonomy-terms">
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยช
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97-%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B9%87%E0%B8%99" hreflang="th">พอร์ท ไฟเย็
http://prachatai.com/category/%E0%B9%83%E0%B8%88" hreflang="th">ใ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2-112" hreflang="th">มาตรา 112[/url]</li>
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-9" hreflang="th">รัชกาลที่ 9[/url]</li>
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%A3-%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5" hreflang="th">ปิยบุตร แสงกนกกุ
http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C-%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C" hreflang="th">สุลักษณ์ ศิวรักษ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">คดีการเมือ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA" hreflang="th">จรั
https://prachataistore.net</div>
http://prachatai.com/journal/2025/01/112024 







