[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
07 กรกฎาคม 2568 05:22:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เสนอไทยจัดการฝ่ายเดียว แก้ระบบต่ออายุแรงงานข้ามชาติ ก่อนผิดกฎหมายนับล้าน  (อ่าน 90 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 12 กุมภาพันธ์ 2568 19:34:16 »

เสนอไทยจัดการฝ่ายเดียว แก้ระบบต่ออายุแรงงานข้ามชาติ ก่อนผิดกฎหมายนับล้าน
 


<span>เสนอไทยจัดการฝ่ายเดียว แก้ระบบต่ออายุแรงงานข้ามชาติ ก่อนผิดกฎหมายนับล้าน</span>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2025-02-12T13:55:15+07:00" title="Wednesday, February 12, 2025 - 13:55">Wed, 2025-02-12 - 13:55</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>สัมภาษณ์ : ณัฐพล เมฆโสภณ</p><p>ภาพปก: กิตติยา อรอินทร์&nbsp;</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>มติ ครม.ต่ออายุแรงงานข้ามชาติ เมื่อ 24 ก.ย. 2567 หรือบางคนเรียกชื่อเล่นว่า การต่ออายุแรงงานข้ามชาติ 'เสมือน MOU' เพื่อเปิดให้แรงงานข้ามชาติ 4 สัญชาติ ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ดำเนินการทำเรื่องต่ออายุทำงานในประเทศไทยได้ 2 ปี และขยายได้อีก 2 ปี โดยมีเส้นตายว่าต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 13 ก.พ. 2568</p><p>มติดังกล่าวถูกนายจ้างและภาคประชาสังคมวิจารณ์ว่า การดำเนินการให้เวลาน้อยเกินไป ไม่ได้สัดส่วนกับจำนวนผู้รอเข้าคิวต่ออายุใบอนุญาตทำงานจำนวนนับล้าน อีกทั้งมีขั้นตอนสุดยุ่งยาก เปิดช่องนายหน้าแสวงหาประโยชน์ และค่าดำเนินการก็แสนแพง เหล่านี้อาจกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้คนงานต้องหลุดออกจากระบบ&nbsp;</p><p>แม้จะมีข่าวดีว่า มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) 4 ก.พ. 2568 ขยายเวลาต่ออายุแรงงานข้ามชาติออกไป โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ แรงงานพม่า-กัมพูชา ขยายเวลาดำเนินการออกไป 6 เดือน และแรงงานเวียดนาม-ลาว ขยายเวลาดำเนินการอีก 3 เดือน แต่ก็ไม่ได้มีการปรับแก้ระบบและกระบวนการต่างๆ ให้สะดวกขึ้น ทำให้นายจ้างมองว่ามตินี้อาจจะไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก&nbsp;</p><p>ประชาไทพูดคุยกับ&nbsp;‘<strong>อดิศร เกิดมงคล</strong>’&nbsp;ผู้ประสานงานองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG) และ&nbsp;‘<strong>นิลุบล พงษ์พยอม</strong>’&nbsp;กลุ่มนายจ้างสีขาว เพื่อมาร่วมสะท้อนปัญหาระบบต่ออายุแรงงานข้ามชาติ พร้อมชงข้อเสนอต่อภาครัฐเพื่อลดขั้นตอนดำเนินการ และภาระค่าใช้จ่าย เช่น การต่ออายุแรงงานข้ามชาติโดยให้ประเทศไทยจัดการฝ่ายเดียว ปรับระบบออนไลน์ และอื่นๆ เพื่อรักษาแรงงานข้ามชาติไม่หลุดออกจากระบบ รวมทั้งตอบคำถามบางฝ่ายที่กังวลว่า 'การอำนวยความสะดวกแบบนี้จะเป็นการเปิดช่องให้แรงงานข้ามชาติขอสิทธิถิ่นที่อยู่อาศัยถาวรได้หรือไม่'</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>นายจ้างไทยสับมติต่ออายุแรงงานข้ามชาติ 24 ก.ย. 67 'ซับซ้อน ยุ่งยาก แพง' NGO หวั่นหลุดระบบอื้อ</li><li>'นายจ้าง SME' สุดทน ต่ออายุแรงงานข้ามชาติรูปแบบใหม่ทั้งแพง-ซับซ้อน จี้ภาครัฐแก้ด่วน</li></ul></div><p>&nbsp;</p><h2>มติ ครม.24 ก.ย. 2567 ต่ออายุแรงงานข้ามชาติ คืออะไร</h2><p>ตอนนี้รัฐบาลกำลังเปิดให้ต่ออายุแรงงานข้ามชาติ 4 สัญชาติ ได้แก่ เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา ตามมติ ครม. 24 กันยายน 2567 หรือภาคประชาสังคมและนายจ้าง เรียกว่า การต่ออายุแรงงานแบบ 'เสมือน MOU’ โดยต่อได้ครั้งละ 2 ปี และต่ออายุเพิ่มได้อีก 2 ปี รวมเป็น 4 ปี หรือจนถึงปี 2572 โดยต้องดำเนินการภายใน 13 ก.พ. 2568 แต่ภาครัฐเพิ่งเปิดระบบเริ่มดำเนินการเมื่อประมาณปลายเดือน พ.ย. 2567 ดังนั้น นายจ้างและแรงงานจะมีระยะเวลาดำเนินการประมาณ 2 เดือนกว่าเท่านั้น</p><p>ระบบใหม่นี้เปิดให้นายจ้างและแรงงานข้ามชาติสามารถดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย โดยไม่ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง</p><p>อดิศร เล่าให้ฟังว่า แรงงาน 4 สัญชาติที่ต้องต่ออายุรอบนี้มีจำนวนสูงถึง 2,398,218 คน</p><ul><li aria-level="1">พม่า 2,012,856 คน</li><li aria-level="1">กัมพูชา 287,537 คน</li><li aria-level="1">ลาว 94,132 คน</li><li aria-level="1">เวียดนาม 3,673 คน</li></ul><p>จำนวน 2 ล้านกว่าคน ส่วนใหญ่มาจากแรงงานข้ามชาติที่จดทะเบียนตามมติ ครม. เมื่อ 7 ก.พ. 2566 และ 3 ต.ค. 2566 แรงงานตามมติ ครม. 2 กลุ่มนี้จะหมดอายุ 13 ก.พ. 2568</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54321548397_96d4dc9e3c_b.jpg" width="1024" height="460" loading="lazy">ตาราง: จำนวนแรงงานข้ามชาติที่ต้องต่ออายุใบอนุญาตทำงาน</p><p>อย่างไรก็ตาม ดูว่าเหมือนว่าจะมีข่าวดีเพราะมติ ครม.เมื่อ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้ขยายเวลาดำเนินการต่ออายุแรงงานพม่า-กัมพูชาอีก 6 เดือน จากเดิมเดดไลน์อยู่ที่ 13 ก.พ.นี้ ขยายไปเป็น 13 ส.ค. 2568 แต่มีเงื่อนไขคือนายจ้างหรือนายหน้าต้องยื่นบัญชีรายชื่อ (namelist) ผ่านระบบออนไลน์ภายใน 13 ก.พ.นี้ ส่วนกรณีของลาวและเวียดนาม ได้รับการขยายเวลาอีก 3 เดือน เพื่อให้นายจ้างดำเนินการในประเทศไทย</p><p>ตามมติ ครม.เมื่อ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา จะแบ่งรูปแบบการต่ออายุแรงงานข้ามชาติ 4 สัญชาติออกมาได้ดังนี้</p><p><strong>แบบที่ 1 กรณีของพม่า</strong></p><p>สำหรับกระบวนการต่ออายุของแรงงานข้ามชาติ ตามมติ ครม. 4 ก.พ. 2568 แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือแบบของประเทศพม่า มีรายละเอียดคร่าวๆ ดังนี้</p><ol><li aria-level="1">นายจ้างต้องเอาข้อมูลรายชื่อของแรงงานข้ามชาติ (namelist) ยื่นเข้าไประบบออนไลน์ของเว็บไซต์กรมจัดหางาน ซึ่งระบบออนไลน์ใเริ่มเปิดเมื่อ 27 พ.ย. 2567 จากนั้นระบบจะอนุมัติตัว namelist ให้</li><li aria-level="1">นายจ้างจะต้องปรินต์นำเอาตัว namelist ไปยื่นที่สำนักงานของสถานทูตพม่า และทำสัญญาต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ของสถานทูต โดยสำนักงานจะมีเพียงแค่ 3 จังหวัด ได้แก่ ระนอง กรุงเทพฯ และเชียงใหม่</li><li aria-level="1">ดำเนินการตรวจสุขภาพตรวจโรคที่โรงพยาบาล ขอใบรับรองแพทย์</li><li aria-level="1">เอาเอกสารไปยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวที่กรมจัดหางาน เพื่อขอใบอนุญาตทำงาน</li><li aria-level="1">ติดต่อที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) เพื่อขอวีซ่าอีก 2 ปี</li><li aria-level="1">สำนักงานกรมจัดหางานจังหวัด/กรุงเทพฯ ออกใบอนุญาตทำงาน</li></ol><p><strong>แบบที่ 2 กรณีของกัมพูชา</strong></p><ol><li aria-level="1">นายจ้างจะต้องยื่นบัญชีรายชื่อ (namelist) ผ่าน&nbsp;www.cam.doe.go.th เพื่อให้กระทรวงแรงงาน กัมพูชา รับรองรายชื่อ</li><li aria-level="1">เมื่อได้รับการรับรองรายชื่อแล้ว นายจ้างไปยื่นขอใบอนุญาตทำงาน ที่กรมจัดหางาน</li><li aria-level="1">ดำเนินการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล</li><li aria-level="1">ติดต่อที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) เพื่อขอวีซ่าอีก 2 ปี</li><li aria-level="1">สำนักงานกรมจัดหางานจังหวัด/กรุงเทพฯ ออกใบอนุญาตทำงาน</li></ol><p><strong>แบบที่ 3 ลาวและเวียดนาม</strong></p><ol><li aria-level="1">ต้องยื่นรายชื่อแรงงาน (namelist) ให้กับกรมจัดหางานผ่านระบบออนไลน์ โดยไม่ต้องยื่นกับประเทศต้นทาง</li></ol><div class="note-box"><p>หมายเหตุ : ถ้านายจ้างไม่ได้ยื่นรายชื่อ แรงงานเวียดนามและลาว ต้องเดินทางกลับไปดำเนินการตามระบบ MOU ที่ภูมิลำเนาของตัวเอง</p></div><ol start="2"><li aria-level="1">ยื่นคำขอใบอนุญาตทำงานที่กรมจัดหางาน</li><li aria-level="1">ตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล เพื่อขอใบรับรองแพทย์</li><li aria-level="1">ตรวจลงตราวีซ่า</li><li aria-level="1">สำนักงานกรมจัดหางานจังหวัด/กรุงเทพฯ ออกใบอนุญาตทำงาน โดยมีกำหนดระยะเวลาทำงานได้จนถึง 13 ก.พ. 2569</li></ol><h2>ค่าใช้จ่ายแสนแพง เสียงสะท้อนภาระนายจ้าง</h2><p>กระทรวงแรงงาน อธิบายว่า การต่ออายุแรงงานข้ามชาติแบบใหม่นี้จะเป็นประโยชน์ต่อนายจ้าง เนื่องจากลูกจ้างไม่ต้องกลับบ้านเกิดไปเพื่อต่ออายุใบอนุญาตทำงานแล้ว แต่สิ่งที่ตามมาคือขั้นตอนและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ซี่งสร้างภาระให้กับแรงงานข้ามชาติ และนายจ้าง</p><p>อดิศร กล่าวว่า จากเดิมนายจ้างหรือแรงงานข้ามชาติต้องเสียค่าใช้จ่ายต่ออายุใบอนุญาตทำงานทุกกระบวนการ ประมาณ 5-6 พันบาท แต่หลังเปลี่ยนรูปแบบ กลายเป็นว่าค่าใช้เพิ่มขึ้นมาเป็นประมาณ 18,000 บาท โดยส่วนใหญ่หมดไปกับค่านายหน้า ส่วนแรงงานที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ‘คนทำงานแม่บ้าน’ เพราะว่าต้องจ่ายค่าประกันสุขภาพ 2 ปี ซึ่งแตกต่างถ้าเป็นลูกจ้าง ภาครัฐจะบังคับซื้อประกันสุขภาพ 3 เดือน และหลังจากนั้นก็เข้าระบบประกันสังคม</p><div class="note-box"><p>ทั้งนี้ หากแรงงานข้ามชาติมาทำงานเป็นแม่บ้าน ทำงานประมง หรือแรงงานภาคการเกษตร จะไม่ได้เข้าระบบประกันสังคม</p></div><p>&nbsp;</p><p>อดิศร ประเมินด้วยว่า ค่าใช้จ่ายที่แพงขึ้นจะส่งผลกระทบส่วนใหญ่กับนายจ้างที่ทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ‘รายย่อย’ เนื่องจากค่าพวกเขาไม่มีเวลาไปดำเนินการ และก็ต้องใช้บริการนายหน้าให้ดำเนินการแทน ซึ่งก็ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่ถ้านายจ้างเขาไม่มีเงิน นายจ้างบางคนก็จะมาหักเงินจากลูกจ้างอีกที ก็อาจทำให้เกิดปัญหาแรงงานบังคับหรือแรงงานขัดหนี้ขึ้นมาได้</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54303061757_8cca867597_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">อดิศร เกิดมงคล</p><p>นิลุบล อธิบายว่า ปกติทุกปีจะมีการชี้แจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายให้นายจ้างทราบตลอด แต่ปีนี้ไม่มีการแจ้ง และยังมีค่าใช้จ่ายแอบแฝงเยอะมาก เช่น นายจ้างต้องจ่ายเงินค่าดำเนินการกับสถานทูตกัมพูชา แต่ขัดกับที่อธิบดีกรมจัดหางาน มาชี้แจงในที่ประชุมของคณะกรรมาธิการความมั่นคงฯ สภาผู้แทนราษฎร บอกว่าไม่มีการเก็บค่าดำเนินการยื่น 'namelist' ทั้งจากฝั่งพม่าและกัมพูชา ทางฝั่งนายจ้างเลยยื่นหลักฐานบัญชีเรียกรับเงินส่วนนี้กับ ป.ป.ช. (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) ซึ่งต้องดูว่าจะมีการดำเนินการต่อไปอย่างไรบ้าง</p><p>"ทุกปีจะต้องมีค่าใช้จ่ายรายละเอียดออกมา แต่ว่าเราไม่เห็นรายละเอียดในปีนี้ มันก็จะมีคำถามจากทุกคนว่า ทำไมเราต้องจ่าย เพราะว่าอธิบดี (กรมการจัดหางาน) บอกว่าไม่มีค่าใช้จ่ายจากประเทศต้นทาง" นิลุบล กล่าว</p><p>ทั้งนี้ สถานทูตพม่ายังไม่มีการอนุมัติ namelist แรงงานข้ามชาติ</p><p>นิลุบล ยังมองถึงค่าใช้จ่ายที่จะงอกขึ้นมาเพิ่มเติม ยกตัวอย่าง กรณีการต่ออายุใบอนุญาตทำงานของแรงงานพม่า ที่กำหนดให้นายจ้างต้องไปเซ็นสัญญาต่อหน้าเจ้าพนักงานของสถานทูต โดยตอนนี้มีสำนักงานอยู่แค่ 3 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ระนอง และกรุงเทพฯ แต่ถ้านายจ้างไม่ได้อยู่ในจังหวัดข้างต้นก็ต้องเดินทางไกลข้ามจังหวัด เสียค่าใช้จ่ายและเวลา ทั้งหมดนี้เป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในขณะที่นายจ้างกำลังเผชิญปัญหาด้านเศรษฐกิจภายในประเทศ</p><p>ตัวแทนนายจ้าง ระบุต่อว่า กระบวนการการดำเนินการที่ซับซ้อนยังทำให้มีนายหน้าเถื่อนเข้ามาแสวงหาประโยชน์ ยกตัวอย่าง ขั้นตอนที่ต้องดำเนินการที่สถานทูต นายจ้างไม่เคยได้จองคิวผ่านระบบออนไลน์เลย เพราะเต็มตลอด แต่พอไปที่หน้าสำนักงานแล้ว ปรากฏว่ามีนายหน้ามาขายคิวให้ นายจ้างก็ต้องไปใช้บริการนายหน้าเพื่อให้ได้คิวดำเนินการ</p><p>"นายจ้างทุกคนยังอยู่ในภาวะย่ำแย่ และไม่รู้ว่าจะกอบกู้ธุรกิจตัวเองอย่างไร เราได้คุยกับทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ขึ้นไปเรียนว่าตอนนี้นายจ้างอยู่ในกลุ่มเปราะบางด้วยซ้ำ ที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้มีการเยียวยารายใหญ่ รายย่อย SME คือนายจ้างต้องสู้มาตลอด ช่วงโควิด นายจ้างยังต้องจ่ายให้ตัวแรงงาน เศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่ตอนนี้นายจ้างก็ต้องอยู่กับแรงงานให้ได้ ถ้าแรงงานไม่มีค่าใช้จ่ายตรงนี้ นายจ้างก็ต้องออกให้ บางกลุ่มก็ออกให้ทั้งหมด ก็โชคดีของแรงงาน" นิลุบล กล่าว</p><p>นอกจากนี้ นายจ้างยังพบปัญหาการซื้อประกันสุขภาพของโรงพยาบาลเอกชน ตามปกติภาครัฐจะบังคับนายจ้างซื้อประกันสุขภาพ 3 เดือนให้ลูกจ้างก่อนเข้าระบบประกันสังคม แต่ตอนนี้กลายเป็นว่ามีประกันสุขภาพของโรงพยาบาลเอกชนเข้ามา แล้วบังคับให้นายจ้างต้องซื้อเป็นระยะเวลา 6 เดือน และตอนนี้ประกันสุขภาพของโรงพยาบาลรัฐ ก็ปรับขึ้นมาเป็น 6 เดือนเหมือนกับโรงพยาบาลเอกชน ตรงนี้ก็กลายเป็นภาระให้กับนายจ้างอีกเช่นกัน</p><p>ตัวแทนนายจ้าง ระบุต่อว่า ภาครัฐมักอ้างว่าโรงพยาบาลรัฐรองรับแรงงานข้ามชาติไม่ไหว จึงต้องดึงโรงพยาบาลเอกชนเข้ามา แต่สำหรับเธอมองว่าถ้ามีการเตรียมการล่วงหน้า ปัญหานี้น่าจะรับมือได้ดีขึ้น เรื่องการแออัด หรือการให้บริการของโรงพยาบาล</p><p>"เรายังไม่เห็นข้อดีของมตินี้เลยว่าจะมาช่วยนายจ้างอย่างที่กระทรวงแรงงานแจ้งว่านายจ้างจะสะดวกสบายขึ้น โดยที่แรงงานไม่ต้องกลับประเทศต้นทาง …แต่นายจ้างมีค่าใช้จ่ายที่จะต้องเดินทางไปเซ็นสัญญา หรือไปตามหน่วยงานต่างๆ เช่น ตม. โรงพยาบาล หรือค่าหลักประกันแรงงาน 'MOU' ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีนายจ้างได้เงินคืนเลย</p><p>"การขยายมาตรการ 6 เดือนตามมติของ ครม. ล่าสุดมันไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหา มันยังคงสร้างภาระค่าใช้จ่าย แล้วเรายังไม่รู้เลยว่ายื่นเข้าไปในระบบกี่วันแล้วจะอนุมัติ แล้วทุกคนยังค้างในระบบ 2 ล้านกว่าคนเหมือนเดิม แล้วคนที่มาเรียกเก็บเงิน namelist เป็นบัญชีผี บัญชีม้า กระทรวงแรงงานจะจัดการตรงนี้อย่างไร" นิลุบล กล่าว</p><h2>ภาครัฐต้องโปร่งใส เสนอใช้เฉพาะประกันสุขภาพ รพ.รัฐ</h2><p>นิลุบล กล่าวว่าเธออยากให้มีการวางแผนมาตรการให้ดีกว่านี้ ไม่อยากให้กลายเป็นขยายเวลา 6 เดือน และขยายเวลาต่อไปเรื่อยๆ แต่ปัญหาอยู่ที่เดิมมันก็จะไม่มีประโยชน์อะไร กรมการจัดหางาน ควรมีความจริงใจในการระบุเรื่องค่าดำเนินการบนหน้าเว็บไซต์อย่างชัดเจน เพื่อให้นายจ้างทราบ ตัดเงินค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54304169654_867466e128_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">นิลุบล พงษ์พยอม</p><p>ฝ่ายนายจ้าง กล่าวต่อว่า ระยะเวลาที่ต้องทำงานต่อจากนี้ กระทรวงแรงงานควรประสานข้อมูลตัวเลขแรงงานข้ามชาติกับทางกระทรวงสาธารณสุข ในการจัดสรรให้คนเข้าไปตรวจโรคโดยไม่ให้โรงพยาบาลเกิดภาวะแออัด และเสนอให้ควรเปลี่ยนให้นายจ้างซื้อประกันสุขภาพจากโรงพยาบาลรัฐอย่างเดียว เพื่อดึงเงินเข้าโรงพยาบาลรัฐ และสิทธิประโยชน์ประกันสุขภาพของโรงพยาบาลรัฐยังครอบคลุมกว่าของเอกชนด้วย&nbsp;</p><p>อดิศร กล่าวต่อว่า สิ่งที่กังวลใจก็คือ มันจะมีช่วงสุญญากาศ หลังจากมติ ครม. 4 ก.พ.ออกมาแล้ว มันจะต้องใช้เวลาอีก 2 เดือนในการประกาศบังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษา (คาดว่าบังคับใช้ประมาณ 4 เม.ย.นี้) ดังนั้น มันจะมีแรงงานที่วีซ่าหมดอายุ 13 ก.พ. 2568 หลังจากนั้นเขาจะอยู่ในภาวะผิดกฎหมายจนกว่าจะมีประกาศบังคับใช้ ดังนั้น ถ้าไม่มีอะไรมารองรับ มันอาจจะเกิดสถานการณ์ที่มีเจ้าหน้าที่บางส่วนเข้าไปตรวจนายจ้างและขอเรียกรับเงิน</p><p>อดิศร กล่าวว่า ภาครัฐแจ้งว่าก็ให้ฟ้องเอาถ้าเจอกรณีอย่างนี้ เพราะถือว่ามีมติ ครม.แล้ว แต่นายจ้างและแรงงานเหมือนถูกผลักภาระต้องจัดการเอง หรือต้องมาคอยจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่ จนกว่าจะประกาศออกมา ดังนั้น ภาครัฐก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะคุ้มครองนับตั้งแต่มีมติ ครม.ออกมา</p><h2>เสนอไทยจัดการเอกสารฝ่ายเดียว</h2><p>"แรงงานหลุดออกจากระบบ และเป็นเถื่อน ไม่ได้เกิดจากแรงงานไม่อยากขึ้นทะเบียน แต่เป็นเพราะความยุ่งยาก และค่าใช้จ่ายที่ทำให้เขาหลุดออกจากระบบ" นิลุบล กล่าว</p><p>ฝั่งนายจ้าง มองว่า ตอนนี้ภาครัฐมีข้อมูลแรงงานจำนวน 2 ล้านคน และมีข้อมูลไบโอดาต้าของแรงงานอยู่แล้ว จริงๆ แค่ให้นายจ้างเข้าไปทำเรื่องและให้จ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกระทรวงแรงงานทั้งหมด ก็น่าจะเพียงพอแล้ว</p><p>อดิศร เสนอคล้ายๆ กัน คิดว่าถ้าอิงตามระบบปัจจุบันควรตัดขั้นตอนยื่น 'namelist' กับประเทศต้นทางออก เหลือแค่การยื่นขั้นตอน namelist กับกระทรวงแรงงาน หลังจากนั้น ให้นำตัว namelist ไปยื่นขอใบอนุญาตทำงาน ตรวจสุขภาพ และตรวจลงตราวีซ่า หรือให้ดีที่สุดคือทำสำนักงาน ‘One Stop Service’ ในแต่ละจังหวัด จัดการให้เสร็จในที่เดียว ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน และลดปัญหาจากนายหน้าได้&nbsp;</p><p>ตัวแทน MWG ระบุว่า เขาเคยเสนอกรมการจัดหางาน ให้ประเทศไทยดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตทำงานโดยให้ประเทศไทยจัดการฝ่ายเดียว อาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว มาตรา 63/2 ที่อนุญาตให้รัฐบาลประกาศเป็นมติ ครม.ต่ออายุแรงงานข้ามชาติได้&nbsp;</p><p>ข้อเสนอคือรัฐบาลเปิดต่ออายุแรงงานข้ามชาติสัญชาติ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ครั้งนี้ 2 ปี หลังจากนั้นไปคุยกับประเทศต้นทางว่าจะกลับมาใช้ระบบ MOU เต็มรูปแบบหรือไม่&nbsp;</p><p>ส่วนกรณีของพม่าที่มีวิกฤตสงครามกลางเมือง แนะนำให้เปิดต่ออายุ 2 ปี และถ้าสถานการณ์ในพม่าไม่ดีขึ้นให้เปิดต่ออายุอีก 2 ปี หลังจากนั้นคุยกับพม่าว่าจะกลับมาจดทะเบียนแบบ MOU เต็มรูปแบบหรือไม่ ตัวแทนจาก MWG เชื่อว่าวิธีการนี้จะสะดวกขึ้น ง่ายขึ้น และค่าใช้จ่ายน้อยลง</p><p>อดิศร กล่าวว่า ก่อนหน้านี้คนงานพม่ามีความกังวลใจ ไม่กล้าขึ้นทะเบียนแรงงานตามระบบ MOU กับกองทัพพม่า เพราะกลัวการต้องไปเป็นทหาร ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากก่อนหน้านี้พม่าออกประกาศว่าถ้าทำ MOU 2 ปีแรก จะถูกเรียกไปเป็นทหารเมื่อไรก็ได้&nbsp;</p><p>นอกจากนี้ กองทัพพม่าระบุว่าจะไม่ส่งคนงานชายที่อายุตั้งแต่ 18-35 ปี เข้ามาทำงาน MOU ในไทยอีกแล้วในช่วงนี้ ส่งแรงงานหญิงได้ แต่ของผู้ชายต้องมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานที่เกณฑ์ทหารพม่า ถึงจะมาได้ ดังนั้น ถ้าเราจัดการฝ่ายเดียว น่าจะช่วยรักษาแรงงานให้ยังถูกกฎหมายได้ และไทยไม่ขาดแคลนคนงาน</p><p>ส่วนที่บางคนกังวลว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้แรงงานข้ามชาติสามารถขอสิทธิถิ่นที่อยู่อาศัยถาวรได้นั้น อดิศร มองว่า ในเชิงหลักการแรงงานข้ามชาติแทบขอไม่ได้ เนื่องจากติดปัญหาหลายประการ เช่น การยื่นภาษีติดต่อกัน 5 ปีโดยไม่ขาด ต้องมีรายได้ที่พอเลี้ยงชีพ ซึ่งแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่รายได้ไม่ถึงเกณฑ์</p><h2>ต้องคิดเรื่องการจัดการระยะยาว</h2><p>อดิศร ฝากหลักคิดว่ามติ ครม. ที่ออกมา มันสอดคล้องกับข้อเท็จจริงไหม สร้างภาระให้กับคนงานไหม และต้องวางแผนระยะยาวในการจัดการเรื่องนี้</p><p>"ประเทศไทยใช้นโยบายแก้ปัญหาระยะสั้นมาโดยตลอด ทำให้เราต้องแก้ไขปัญหานี้มาเรื่อยๆ และถ้าไม่ได้วางแผนอย่างเป็นระบบ ก็ต้องเจอปัญหาแบบนี้ เพราะว่าคุณขยายให้ 4 ปี อีก 4 ปีก็ต้องมาแก้ไขปัญหา คนอีก 2 ล้านคนอีก 4 ปีคุณจะจัดการยังไงต่อ ดังนั้น ควรมีการวางแผนให้ชัดเจนในอนาคต" อดิศร กล่าว</p><p>ส่วนมุมมองของนายจ้าง อยากให้มีการยุทธศาสตร์ที่วางล่วงหน้าสำหรับการจัดการแรงงานข้ามชาติในประเทศอย่างเป็นระบบ มีฐานข้อมูลที่เป็นส่วนกลาง เพราะว่าเรายังต้องพึ่งพาพวกเขาในภาวะที่ไทยเป็นสังคมผู้สูงวัยเต็มขั้น</p><p>"ตัวเศรษฐกิจเรายังต้องพึ่งพาแรงงาน โดยเฉพาะตอนนี้เราอยู่ในภาวะผู้สูงวัยเต็มขั้น เราต้องการแรงงานมาช่วยจ่ายภาษี และร่วมกันทำงานในประเทศเรา เพราะฉะนั้น การที่มีคนเข้ามาเยอะๆ ในประเทศเรา และหายไปจากประเทศเรามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและรายได้ของประเทศ อันนี้ต้องมีการวางระบบในอนาคตข้างหน้า ทั้งระยะยาว ระยะใกล้ และระยะกลาง ทำพร้อมกันไปเลย" นิลุบล กล่าว&nbsp;</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C" hreflang="th">สัมภาษณhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88" hreflang="th">เศรษฐกิhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">แรงงาhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" hreflang="th">แรงงานข้ามชาตhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">ใบอนุญาตทำงาhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-24-%E0%B8%81%E0%B8%A2-2567" hreflang="th">มติต่ออายุแรงงานข้ามชาติ 24 ก.ย. 2567[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%A5-%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%A1" hreflang="th">นิลุบล พงษ์พยอhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A3-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5" hreflang="th">อดิศร เกิดมงคhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">กลุ่มนายจ้างสีขาhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" hreflang="th">เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาตhttp://prachatai.com/category/migrant-working-group" hreflang="th">Migrant Working Group[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->

            <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2025/02/112128
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.158 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 22 มิถุนายน 2568 06:05:13