[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
05 กรกฎาคม 2568 21:14:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ปชน.ใช้กลไกสภา เอาคืน ป.ป.ช. ตรวจสอบ ‘ผู้ตรวจสอบ’ ลำบากขนาดไหน?  (อ่าน 101 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 20 มีนาคม 2568 14:20:02 »

ปชน.ใช้กลไกสภา เอาคืน ป.ป.ช. ตรวจสอบ ‘ผู้ตรวจสอบ’ ลำบากขนาดไหน?
 


<span>ปชน.ใช้กลไกสภา เอาคืน ป.ป.ช. ตรวจสอบ ‘ผู้ตรวจสอบ’ ลำบากขนาดไหน?</span>
<span><span>admin666</span></span>
<span><time datetime="2025-03-18T17:13:53+07:00" title="Tuesday, March 18, 2025 - 17:13">Tue, 2025-03-18 - 17:13</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>เรื่อง : ยศวดี สงวนนาม
กราฟฟิค : กิตติยา อรอินทร์</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ‘เท้ง ณัฐพงษ์’ หัวหน้าพรรคประชาชน รวมรายชื่อสส.-สว. 145 คนยื่นประธานสภาขอให้ส่งเรื่องถึงศาลฎีกา กล่าวหา ป.ป.ช. ทุจริตต่อหน้าที่-ฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง จาก 3 ปมหลักคือ ลงมติปิดจ็อบเร็ว ‘นาฬิกาลุงป้อม’- ไม่เปิดเผยเอกสารสอบสวนตามคำสั่งศาล&nbsp;</p><p>รวมไปถึงคลิป ‘สุชาติ’ ประธาน ป.ป.ช.ใหม่หมาดพบ ‘วันนอร์’ ประธานสภาถึงบ้าน สงสัยเคลียร์เรื่องร้องเรียนก่อนได้รับโหวตเป็นประธาน ป.ป.ช.&nbsp;</p><p>อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบ ป.ป.ช.นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ไม่เหมือนเวลา ป.ป.ช.ตรวจสอบคนอื่น เพราะรัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดขั้นตอนไว้ยากเย็น ต้องผ่านด่านรวมชื่อ สส.ให้เกิน 1 ใน 5 ประธานสภาพิจารณาควรส่งเรื่องต่อให้ศาลฎีกาไหม-คณะไต่สวนอิสระที่ประธานศาลฎีกาตั้งขึ้นจะปัดตกหรือไม่-ศาลฎีกาจะตัดสินว่ายังไง</p><p>เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา พรรคประชาชน (ปชน.) นำทีมฝ่ายค้าน รวมเสียงจำนวน 145 เสียง แบ่งเป็น สส.พรรคประชาชนจำนวน 143 เสียง สส.พรรคกล้าธรรมจำนวน 1 เสียง และเสียงจาก สว.อีก 1 เสียง ยื่นต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาให้ส่งไปยังประธานศาลฎีกา เพื่อตรวจสอบกรรมการ ป.ป.ช.ทั้งชุดปัจจุบันและในอดีต ว่าได้กระทำผิดจริยธรรมร้ายแรงและทุจริตต่อหน้าที่หรือไม่ โดยมีข้อกล่าวหา 3 ประเด็น แต่เรื่องหลักก็คือ การลงมติปัดตกคดี ‘แหวนเพื่อน’ ของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ​ รองนายกฯ ในเวลานั้น&nbsp;</p><h2>ย้อนเช็คบิลคดี ‘แหวนแม่ นาฬิกาเพื่อน’</h2><p>หากย้อนความไปถึงคดีของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ คงไม่มีใครไม่รู้จักวลีเด็ด ‘แหวนแม่ นาฬิกาเพื่อน’&nbsp;ซึ่งเป็นเรื่องที่ฮือฮามากตอนนั้น หากยังจำกันได้เรื่องเริ่มจากการถ่ายภาพหมู่หน้าตึกไทยคู่ฟ้าเมื่อ 4 ธ.ค.60 การชูมือบังแดดนั้นเผยให้เห็นนาฬิกาหรูยี่ห้อ Richard Mille มูลค่าหลายล้านบาท ซึ่งเมื่อสื่อขุดคุยเพิ่มเติมก็พบว่าไม่ได้อยู่บัญชีทรัพย์สินตั้งแต่แรก&nbsp; ป.ป.ช.สอบลุงป้อมอยู่หลายครั้ง กระบวนการดำเนินไปราว 1 ปี ในเดือน ธ.ค.61 ป.ป.ช.ลงมติ&nbsp;5:3 ลงมติยุติเรื่องนี้ไป&nbsp;

สำนักข่าวอิศรา เปิดเผยว่า กรรมการป.ป.ช. เสียงข้างมากในขณะนั้น ได้แก่ ปรีชา เลิศกมลมาศ, ณรงค์ รัฐอมฤต นายวิทยา อาคมพิทักษ์, สุรศักดิ์ คีรีวิเชียร และ พล.อ.บุณยวัจน์ เครือหงส์ เห็นควรยุติเรื่อง ส่วนฝั่งเสียงข้างน้อย ได้แก่ สุภา ปิยะจิตติ ,สุวณา สุวรรณจูฑะ และ พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง เห็นว่ายังสอบบริษัทต่างประเทศผู้ผลิตนาฬิกาไม่เสร็จ</p><p>ช็อตต่อมา สื่อ&nbsp;The MATTER ไปยื่นเรื่องตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารขอให้เปิดข้อมูลในการสอบสวนแต่ไม่สำเร็จ จึงยื่นฟ้องศาลปกครองในปี 2562 ต่อมาในปี 2564 ศาลปกครองมีคำสั่งให้ ป.ป.ช.เปิดเผย 2 จาก 6 รายการที่ร้องขอ แต่ก็ยังไม่มีการปฏิบัติจริง อีกด้านหนึ่ง ‘วีระ สมความคิด’ ก็ฟ้องไล่เรื่อยไปจนถึงศาลปกครองสูงสุดซึ่งสั่งให้ ป.ป.ช.เปิดเผย 3 รายการ แต่ป.ป.ช.ลงมติสวนคำสั่งศาลบอกเปิดได้แค่ 2 รายการ อีกรายการที่เกี่ยวกับความเห็นของ พนักงานเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ทุกคนที่รับผิดชอบเรื่องนี้เปิดเผยไม่ได้ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ซึ่งก่อนหน้านี้ศาลก็เคยให้ความคุ้มครองมาแล้ว</p><p>เรียกว่า ฟ้องกันวุ่นวายหลายสถาน แต่สรุปเอกสารที่วีระได้มาปรากฏ “คาดสีดำทับข้อความจำนวนมากในเอกสาร”</p><p>ด้วยเหตุนี้ พรรคประชาชนจึงได้ตั้งข้อกล่าวหาการทำงานของ ป.ป.ช. ว่า</p><ul><li aria-level="1">ข้อกล่าวหาที่ 1&nbsp;: ป.ป.ช.เสียงข้างมากในขณะนั้น จำนวน 5 คน ได้แก่ ณรงค์ รัฐอมฤต, สุรศักดิ์ คีรีวิเชียร, พอ.บุณยวัจน์ เครือหงส์, ปรีชา เลิศกมลมาศ และ วิทยา อาคมพิทักษ์ ในข้อกล่าวหา ที่&nbsp;‘เป็นป.ป.ช.ข้างมาก ลงมติให้ยุติการพิจารณาเรื่องนี้’&nbsp;อย่างไม่สมเหตุสมผล&nbsp;เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2561</li><li aria-level="1">ข้อกล่าวหาที่ 2&nbsp; :&nbsp;&nbsp;ป.ป.ช. ทั้งหมด 9 คน ได้แก่ พอ.วัชรพล ประสารราชกิจ (ประธาน ป.ป.ช. ในขณะนั้น), ณรงค์ รัฐอมฤต, สุภา ปิยะจิตติ, วิทยา อาคมพิทักษ์, สุวณา สุวรรณจูฑะ, ณัฐจักร ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา, สุชาติ ตระกูลเกษมสุข, เอกวิทย์ วัชชวัลคุและ แมนรัตน์ รัตนสุคนธ์&nbsp;‘ไม่ยอมเปิดเผยเอกสารกรณีนาฬิกาหรูของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ’ และตั้งใจผิดคำสั่งศาล</li></ul><h2>ชี้ประธาน ป.ป.ช.ไม่มีเครดิตตรวจสอบคนอื่น</h2><ul><li aria-level="1">ข้อกล่าวหาที่ 3 : สุชาติ ตระกูลเกษมสุข ประธาน ป.ป.ช. คนปัจจุบัน มีคลิปหลุดที่ถูกวิจารณ์จากสังคมว่าแอบนัดพบกับประธานสภา โดยมี ‘บิ๊กโจ๊ก’ สุรเชษฐ์ หักพาล เป็นคนกลางประสานโดยอ้างว่า เป็นเพียงการไปเยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่ในวันปีใหม่เฉยๆ ขณะที่ ‘วัน นอร์’ยืนยันว่า&nbsp;เมื่อได้รับคำร้องจากบิ๊กโจ๊กให้สอบสุชาติเรื่องทุจริตก็ได้ปฏิบัติตามหน้าที่ทุกประการ โดยฝ่ายกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการและพบว่าไม่มีมูล จึงเห็นควรแจ้งให้ผู้ร้องทราบว่าได้ดำเนินการตรวจสอบแล้ว ส่งเรื่องมาตั้งแต่เดือน ก.ค.2567 ตรวจสอบแล้วเสร็จ ต.ค.และแจ้งผลไปเมื่อเดือน ธ.ค. 2567 ซึ่งผู้ร้องก็ไม่ได้คัดค้าน เรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวพันกับเหตุการณ์ที่ปรากฏในคลิป</li></ul><p>“ข้อกล่าวหาที่ 3 ไม่ซื่อสัตย์สุจริต มีพฤติการณ์ขอรับประโยชน์ในประการที่อาจทำให้กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ กระทำเพื่อให้ตนได้ประโยชน์โดยขัดกันกับประโยชน์ส่วนรวมหรือไม่” พรรคประชาชนระบุพร้อมวิจารณ์ต่อว่าการที่ประธานป.ป.ช. ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการเกิดการทุจริต หากถูกตั้งประเด็นเรื่องนี้เสียเอง ป.ป.ช.จะน่าเชื่อถือต่อไปได้อย่างไร</p><h2>ป.ป.ช.ตรวจสอบทุกคน แล้วใครตรวจสอบ ป.ป.ช.?</h2><p>รัฐธรรมนูญ 2560 ระบุว่า ป.ป.ช. มีหน้าที่ ไต่สวนและวินิจฉัยกล่าวหา สส. สว. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ เจ้าหน้าที่รัฐ&nbsp; กรณีร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตในหน้าที่ ฝ่าฝืนทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ภายใต้การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ คือรวดเร็ว สุจริตและเที่ยงธรรม</p><p>ทั้งนี้ องค์กรอิสระทั้งหลายรวมถึง ป.ป.ช.ถือกำเนิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญ 2540 และเมื่อเทียบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับคือ 2540, 2550, 2560 เราจะพบว่ากลไก ‘การถอดถอน’ ป.ป.ช.ซึ่งเคยอยู่ในอำนาจของ สว.นั้น&nbsp;ถูกตัดออกไปจากรัฐธรรมนูญ 2560&nbsp;&nbsp;</p><div class="note-box"><p>รัฐธรรมนูญ 2540 :</p><p>สส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 เข้าชื่อร้องประธานวุฒิฯ ว่า กรรมการป.ป.ช.ขาดความเที่ยงธรรม จงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มีพฤติการณ์เสื่อมเสียแก่การดำรงตำแหน่งอย่างร้ายแรง ขอให้วุฒิสภาลงมติให้พ้นจากตำแหน่งได้ โดยต้องใช้เสียง สว.ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4</p><p>รัฐธรรมนูญ 2550 :</p><p>สส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 หรือ ประชาชนไม่น้อยกว่า 20,000 ชื่อ มีสิทธิเข้าชื่อร้องประธานวุฒิฯ ว่า กรรมการ ป.ป.ช.ขาดความเที่ยงธรรม จงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มีพฤติการณ์เสื่อมเสียแก่การดำรงตำแหน่งอย่างร้ายแรง เพื่อให้ สว.มีมติให้พ้นจากตำแหน่ง โดยต้องใช้เสียง ของสว.ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4&nbsp;</p></div><h2>ฟ้อง ป.ป.ช. ทำอย่างไร ใครทำได้บ้าง ?</h2><p>ในรัฐธรรมนูญ 2560 คงเหลือแต่เพียงช่องทางในการฟ้องศาลหากพบว่า กรรมการ ป.ป.ช.ทุจริตต่อหน้าที่หรือผิดจริยธรรมร้ายแรง โดยแบ่งกระบวนการได้ดังนี้&nbsp;</p><p>1. ‘ผู้ริเริม’ มี 2 ช่องทางหลัก คือ</p><ul><li>สส. สว. หรือสมาชิกทั้งสองสภา จำนวนไม่น้อยว่า 1 ใน 5 ของสมาชิกทั้งสองสภาเข้าชื่อกันกล่าวหากรรมการ ป.ป.ช.</li><li>ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20,000 คน เข้าชื่อกันกล่าวหา กรรมการ ป.ป.ช.</li></ul><p>2. การเข้าชื่อดังกล่าวจะต้องยื่นผ่านประธานรัฐสภาพร้อมหลักฐานตามสมควร ดังที่พรรคประชาชนได้ดำเนินการในกรณีล่าสุดนี้ หากประธานรัฐสภาพิจารณาแล้วว่ามีเหตุอันควรสงสัย ประธานรัฐสภาก็ต้องนำเรื่องส่งต่อไปยังประธานศาลฎีกา</p><p>3. ประธานศาลฎีกาจะต้องตั้ง ‘คณะผู้ไต่สวนอิสระ’ โดยระหว่างนั้นกรรมการ ป.ป.ช. ที่ถูกกล่าวหาทั้งหมดจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ไปก่อน จนกว่าคำพิพากษาศาลจะเสร็จสิ้น ยกเว้นว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น</p><p>4.คณะผู้ไต่สวนอิสระมีเวลาดำเนินการไต่สวน 90 วันนับแต่วันแต่งตั้ง เว้นแต่มีเหตุจำเป็นก็ยื่นคำขอต่อประธานศาลฎกีาเพื่อขยายเวลาตามที่เห็นสมควรได้</p><p>5.&nbsp;คณะผู้ไต่สวนอิสระมีอำนาจหน้าที่สั่งให้ยุติเรื่องได้ หากพิสูจน์แล้วว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวไม่เป็นตามความจริง</p><p>6. กรณีคณะผู้ไต่สวนอิสระเห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหาฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงให้เสนอเรื่องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย&nbsp;</p><p>7.กรณีคณะผู้ไต่สวนอิสระเห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหามีพฤติการณ์ทุจริตต่อหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่โดยขัดต่อกฎหมาย หรือร่ำรวยผิดปกติ ให้ส่งสํานวนการไต่สวนไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดําเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาต่อไป&nbsp;</p><h2>คณะผู้ไต่สวนอิสระ ‘ผู้เป็นกลาง’ คือใคร ?&nbsp;</h2><p>ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ระบุว่า</p><ul><li aria-level="1">ประธานศาลฎีกาแต่งตั้งคณะผู้ไต่สวนจำนวน ไม่ต่ำกว่า 7 คน โดยต้องเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์</li><li aria-level="1">ต้องมีอย่างน้อย 1 คนมาจากมาจากข้าราชการอัยการ ตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีอัยการ โดยดำรงตำแหน่งต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี&nbsp;</li><li aria-level="1">ที่เหลือสามารถเป็น อธิบดีผู้พิพากษา, ผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ, ศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย ทั้งหมดนี้ต้องอยู่ในตำแหน่งไม่น้อยกว่า 5 ปี ส่วนอื่นๆ คือ ผู้ประกอบวิชาชีพที่มีกฎหมายรองรับ ทำงานต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 20 ปีและได้รับการรับรองจากองค์กรวิชาชีพนั้น, เป็นผู้ชำนาญการด้านการเงิน การคลัง การบัญชี&nbsp; การบริหารกิจการวิสาหกิจ ในระดับไม่ต่ำกว่าผู้บริหารระดับสูงของบริษัทมหาชนมาไม่น้อยกว่า 10 ปี</li><li aria-level="1">ในการไต่สวน คณะผู้ไต่สวนอิสระมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับ ป.ป.ช. คือ ไต่สวน ตรวจสอบการทำงาน ป.ป.ช. รวมถึงอำนาจสั่งการให้กรรมการ ป.ป.ช.เข้ามาชี้แจงเหตุผลและรายละเอียดต่างๆ&nbsp;</li></ul></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" hreflang="th">คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาตhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%8A-0" hreflang="th">ป.ป.ช.[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">พรรคประชาชhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D-2560" hreflang="th">รัฐธรรมนูญ 2560[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88-%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AC%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99" hreflang="th">แหวนแม่ นาฬิกาเพื่อhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3-%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93" hreflang="th">ประวิตร วงษ์สุวรรhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2025/03/112383
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.491 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 20 ชั่วโมงที่แล้ว