ฟังเสียงแรงงานข้ามชาตินาทีชีวิตตึก สตง.ถล่ม-รมว.แรงงานตั้งศูนย์ช่วย
<span>ฟังเสียงแรงงานข้ามชาตินาทีชีวิตตึก สตง.ถล่ม-รมว.แรงงานตั้งศูนย์ช่วย</span>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2025-03-31T18:04:42+07:00" title="Monday, March 31, 2025 - 18:04">Mon, 2025-03-31 - 18:04</time>
</span>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ประชาไทสัมภาษณ์คนทำงานที่หนีออกมาก่อนตึกถล่มและชีวิตของเขาต่อจากนี้ ชาวพม่า-กัมพูชาที่มาเฝ้ารอฟังข่าวญาติที่ทำงานก่อสร้างในตึก สตง.ใหม่ กระทรวงแรงงานตั้งศูนย์ฯ ช่วยเหลือ พร้อมล่าม หวังให้แรงงานข้ามชาติเข้าถึงสิทธิ</p><p> </p><p>สืบเนื่องจากโครงการก่อสร้างสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ซึ่งก่อสร้างไปได้ 30% ของโครงการ ได้พังถล่มลงมา จากแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ขนาด 8.2 แมกนิจูด ซึ่งมีศูนย์กลางที่เมียนมา</p><p>ล่าสุดเมื่อเวลาประมาณ 14.30 น. ของวันที่ 31 มี.ค. 2568 สถานการณ์ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุตึก สตง.ถล่ม มีผู้เสียชีวิต 12 ราย บาดเจ็บ 18 ราย และสูญหายอีก 78 ราย</p><p>‘ซุย’ (นามสมมติ) ชายชาวพม่าที่มารอญาติที่อาจจะติดอยู่ในซากตึก สตง. ให้สัมภาษณ์ผ่านล่ามภาษาพม่า 'คายมินลุย’ ว่า เขาได้รับแจ้งจากเพื่อนและหัวหน้างานที่รอดชีวิตว่า ญาติเขาที่ชื่อ ‘ซุยซุยหวิ่น’ แรงงานหญิงชาวพม่าอายุ 38 ปี ติดอยู่ในอาคารที่ถล่มลงมา โดยก่อนที่ตึกจะถล่ม หัวหน้างานบอกว่าเธอกำลังทำงานอยู่ที่ชั้น 13 จนถึงปัจจุบัน ซุยยังไม่สามารถติดต่อได้เลย</p><p>ส่วนญาติของเขาอีกคน ‘ตานโซอู’ แรงงานชาวพม่า อายุ 40 ปี ก็ได้รับบาดเจ็บถูกส่งตัวไปที่โรงพยาบาลกองทัพอากาศ แต่ทางญาติยังไม่สามารถตามไปดูผู้บาดเจ็บที่โรงพยาบาลได้ เนื่องจากโรงพยาบาลไม่อนุญาต ซึ่งพวกเขาก็อยากไปเยี่ยม เพราะเป็นห่วง </p><p>ชายชาวพม่ายังไม่ได้ไปแจ้งเรื่องคนสูญหาย เนื่องจากเขาไม่เข้าใจขั้นตอนกระบวนการต่างๆ ของรัฐ</p><p>"ความหวังของเขาอยากให้รอด</p><p>"อยากรู้ความจริงว่า (ซุยซุยหวิ่น) เป็นอย่างไร ไม่ทราบว่าอยู่ไหน อยากรู้ว่ายังอยู่ในซากอาคารที่ถล่ม หรือว่าถูกส่งตัวไปรักษาพยาบาลแล้ว" ชาวพม่า กล่าว</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54421490711_4fd0fa0cfd_b.jpg" width="1024" height="684" loading="lazy">ภาพชาวพม่าที่กำลังดูภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยตึก สตง.ถล่ม</p><p>‘คิมยืน’ หญิงชาวกัมพูชาจากจังหวัดบันเตียเมียนเจย ใกล้ชายแดนปอยเปต อายุ 40 ปี นั่งอยู่ใกล้กองอำนวยการร่วม ให้สัมภาษณ์ผ่านล่ามภาษาเขมรของมูลนิธิรักษ์ไทยว่า เธอก็มารอฟังข่าวญาติที่ติดในซากอาคารสำนักงาน สตง.ถล่มอยู่ 2 คน ซึ่งทั้ง 2 คนเป็นผัวเมียกัน</p><p>คิมยืน กล่าวว่า ตอนเวลา 13.40 น. คือเธอเห็นแผ่นดินไหว ก็อยากติดต่อหาญาติว่าเป็นอย่างไรบ้าง แต่ติดต่อไม่ได้ เลยมาแจ้งและเอาภาพของญาติมาให้เจ้าหน้าที่ดูแล้วว่าตอนนี้น่าจะมีญาติติดอยู่ข้างใน</p><p>“เราก็อยากนั่งเฝ้ารอดูว่าจะช่วยออกมายังไง เสียชีวิต หรือว่ายังไม่เสียชีวิต” คิมยืน กล่าว</p><h2>‘ก็คงทำงานก่อสร้างต่อ ไม่มีงานก็ไม่มีเงิน’</h2><p>‘ทุนเลอ่อง’ อายุ 28 ปี แรงงานพม่าจากบริษัท S.A. Construction หนึ่งในบริษัทจ้างเหมาช่วงที่ทำงานก่อสร้างอาคาร สตง.ใหม่ เขาคือผู้รอดชีวิตเพียงเสี้ยววินาทีก่อนที่ตึก สตง.จะเหลือแต่ซากกองพะเนิน</p><p>ทุนเลอ่อง เล่าว่า ตอนประมาณบ่ายโมง เขาทำงานอยู่ที่ชั้น 1 แต่พอเห็นกระจกร่วงลงมา เขาก็วิ่งออกจากตึกอย่างเดียว จากนั้นตึกก็ถล่มลงมา เพื่อนร่วมงานของเขายังอยู่ข้างใน ส่วนเขาไม่ได้บาดเจ็บอะไร และวันนี้ก็มารอฟังข่าวเรื่องการช่วยชีวิต</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54421696969_6ae3b9a580_b.jpg" width="1024" height="684" loading="lazy">ทุนเลอ่อง ชาวพม่า อายุ 28 ปี</p><p>ทั้งนี้ จากการสอบถามแรงงานชาวพม่า เขาไม่ทราบว่ามีคนทำงานอยู่ด้านในโครงการนี้เท่าไร</p><p>‘ทุนเลอ่อง’ อยู่เมืองไทยมานาน 8-9 ปีแล้วตั้งแต่ประมาณอายุ 20 ปี อยากมาหางาน โดยเขาทำงานก่อสร้างมาตลอด และทำงานที่ไซต์ก่อสร้างนี้ประมาณ 5 เดือนแล้ว ปัจจุบันไม่มีภรรยา</p><p>เมื่อสอบถามว่าเขากังวลหรือไม่ ถ้าต้องทำงานก่อสร้างหลังจากเหตุการณ์นี้ ทุนเลอ่อง บอกว่าก็ไม่กลัว เพราะว่าถ้าไม่ทำงาน ก็ไม่มีเงิน</p><p>"ทำ (งานก่อสร้าง) ต่อ ไม่กลัว เพราะว่าถ้าทำงาน ก็ได้สตางค์ ถ้าไม่มีงาน ก็ไม่มีสตางค์ สตางค์ได้ก็ส่งให้พ่อแม่</p><p>"พ่อแม่ก็กลัวอยู่ ผมบอกแล้วไม่ต้องเป็นห่วงไม่มีปัญหา ผมไม่เป็นไร" ทุนเลอ่อง กล่าว</p><h2>รมว.แรงงานตั้งศูนย์ฯ พร้อมล่าม หวังช่วยแรงงานเข้าถึงสิทธิ</h2><p>ซายทุนส่วย หรือ 'เมือง' สมาชิกเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (Migrant Working Group) ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานเรื่องสิทธิแรงงานข้ามชาติ และมาสังเกตสถานการณ์แรงงานข้ามชาติที่ได้รับผลกระทบจากเหตุตึก สตง.ถล่มตั้งแต่วันแรกๆ</p><p>เมืองได้ให้ข้อมูลว่าหากเราสังเกตรอบๆ บริเวณหน้ากองอำนวยการร่วม (ปัจจุบัน ญาติของแรงงานจะถูกย้ายไปที่เต็นท์ข้างอาคาร JJ Mall) พวกเขาจะมารอญาติด้วยตัวเอง นายจ้างไม่มาทำเรื่องให้</p><p>เมือง มองว่า ปัญหาต่อจากนี้จะเป็นประเด็นการช่วยเหลือเยียวยา และการเข้าถึงสิทธิ์แรงงานสำหรับแรงงานข้ามชาติที่เสียชีวิต เนื่องจากกรณีที่แรงงานที่เป็นผู้ประกันตนเสียชีวิต จะได้รับเงินจากกองทุนเงินทดแทน ก็ต้องให้ทายาทมารับเงิน ซึ่งก็มีปัญหาเรื่องเอกสาร ยกตัวอย่าง กรณีสามี-ภรรยาจะไม่สามารถรับเงินแทนกันได้ ต้องมีเอกสารทะเบียนสมรสตัวจริง ต้องแปลภาษาโดยบริษัทที่ได้รับการรับรอง และต้องให้สถานทูตรับรองเอกสาร หรือกรณีของพ่อแม่เดินทางมายืนยันรับเงินด้วยตัวเอง แต่พ่อแม่ก็อยู่ประเทศต้นทางแบบนี้ ขั้นตอนต้องใช้เอกสารจำนวนมาก ถ้าไม่มีคนมาทำเรื่อง เงินก็จะกลับเข้าสู่ระบบกองทุนเงินทดแทน ส่วนคนที่ไม่มีประกันสังคม อาจจะแทบไม่ได้เลย </p><p>นอกจากนี้ ใกล้สิ้นเดือนแล้ว แรงงานข้ามชาติ หลายคนก็กังวลว่าเงินเดือนค่าตอบแทนอาจจะถูกเบี้ยวไม่จ่ายให้ เพราะพวกเขามีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และบางส่วนก็อยากส่งเงินกลับบ้าน</p><p>แม้ว่าที่
กระทรวงแรงงานจะมีการตั้งวอร์รูมเพื่อช่วยเหลือแรงงานในด้านต่างๆ แต่ข้อเสนอของเมือง คือ อย่างน้อยกระทรวงแรงงานควรมาตั้งเต็นท์ที่จุดที่ตึกถล่มเลย เพื่ออำนวยความสะดวก และให้คำปรึกษาด้านสิทธิกับแรงงาน อีกทั้งควรเอาอาสาสมัคร NGO ที่ทำงานเรื่องประเด็นแรงงานหรือเป็นล่ามมานั่งควบคู่ไปด้วย เพื่อให้คำแนะนำเบื้องต้น เก็บข้อมูล ติดตาม และขอเบอร์โทร. มันต้องสร้างข้อมูลขึ้นมา เพื่อช่วยให้แรงงานเข้าถึงด้านสิทธิ</p><p>“อยากให้เห็นภาพว่าเขาเป็นห่วงเป็นใยแรงงานอยู่ เพราะว่าคืออย่างเช่นวันแรก ภาครัฐไม่มีล่ามมาสื่อสารตรงกลาง ยังไงก็ต้องการล่ามที่เขาอุ่นใจ ก็อยากให้มีคนที่มีประสบการณ์มาช่วย" เมือง ระบุ</p><p>สำหรับ MWG ก็พยายามส่งล่ามมาช่วยแรงงานข้ามชาติที่บริเวณจุดที่ตึก สตง.ถล่ม โดยเมื่อ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา ก็ได้องค์กรภาคประชาชนหลายองค์กรมาช่วยกันเป็นล่าม เช่น รักษ์ไทย (ล่ามชาวกัมพูชา), Bright Future (ล่ามชาวพม่า), และอื่นๆ และหากนักข่าวต้องการคุยกับแรงงานข้ามชาติทาง NGO ก็จะช่วยเป็นล่ามให้ด้วย</p><p>หนึ่งในอุปสรรคของการทำงาน คือการเข้าถึงข้อมูลของแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในโครงการก่อสร้างตึก อย่างไรก็ดี เมือง ให้ความเห็นว่าพวกเขาก็ใช้วิธีลงพื้นที่และขอคอนแทกต์ติดต่อกับเครือข่ายช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติหลายๆ กลุ่ม เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยกัน เรามีข้อมูลอย่างไร ก็ส่งให้เขา และเขามีข้อมูลอะไร ก็ส่งให้เรา และสิ่งที่พยายามทำตอนนี้คือพยายามหาตัวแทนของไซต์คนงาน (การทำงานในไซต์ก่อสร้างจะมีคนงานมาจากหลายๆ บริษัท) ขอเบอร์ หรือแลกไอดี LINE ยกตัวอย่าง บริษัท S.A. เราก็จะสอบถามแรงงานว่าสถานะในประเทศไทยเป็นอย่างไร และต้องการความช่วยเหลืออย่างไร ถ้าตอนนี้ยังไม่ต้องการ ก็เอาเบอร์ไปก่อน และจะมีอีกทีมโทร.ไปหาด้วย เพื่อสอบถามเรื่องการช่วยเหลือด้านพิธีงานศพตามศาสนา นี่ก็เป็นวิธีการช่วยเหลือของเราเบื้องต้น</p><p>อนึ่ง เมื่อ 29 มี.ค. ซอซอโซ เอกอัคราราชทูตเมียนมา ประจำประเทศไทย ที่ได้เดินทางมายังจุดที่ตึก สตง.ถล่มลงมา ก็ได้รับปากว่าจะช่วยเหลือด้านเอกสาร</p><p>ขณะที่พิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์กับสื่อวันนี้ (31 มี.ค.) ระหว่างลงพื้นที่จุดตึกถล่ม สตง. ระบุว่าวันนี้เขาเพื่อตั้งศูนย์ประสานงานของกระทรวงแรงงาน 24 ชม.ที่จุดตึก สตง.ถล่ม ตั้งอยู่ข้าง JJ Mall โดยในศูนย์จะมีบริการล่ามภาษาพม่า และกัมพูชา ให้กับแรงงานข้ามชาติ เพื่อให้สามารถมาติดต่อประสานงานสิทธิเยียวยา และผู้บาดเจ็บ-สูญหาย</p><p>ส่วนในเรื่องของการชดเชยเยียวยา พิพัฒน์ ระบุว่า ถ้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับการเยียวยาเป็นเงินเกือบ 2 ล้านบาท แต่ถ้าไม่ได้เป็นผู้ประกันตน บ.ผู้รับเหมาก่อสร้าง และ บ.รับเหมาช่วง ต้องเป็นคนชดเชยเยียวยา แต่ในเบื้องต้น กระทรวงแรงงาน จะให้ความช่วยเหลือก่อน</p><p>อย่างไรก็ดี อดิศร เกิดมงคล สมาชิก MWG ระบุถึงข้อกังวลว่า กรณีที่แรงงานข้ามชาติไม่เป็นผู้ประกันตน เขาจะเรียกว่าอยู่นอกบัญชี ซึ่งอาจจะได้เงินชดเชยจากนายจ้างยาก เพราะว่าต้องจ่ายเงินเยอะ </p><h2>จำนวนแรงงานยังพร่าเลือน</h2><p>สำหรับข้อมูลแรงงานที่มาทำงานที่ไซต์ก่อสร้าง สตง. เมื่อ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา ยังไม่ชัดเจน โดยพิพัฒน์ ระบุเพียงว่าข้อมูลนี้ยังไม่สามารถตอบวันนี้ได้ ต้องขอเวลาอีก 2-3 วัน</p><p>พิพัฒน์ กล่าวด้วยว่า ตอนนี้มีการประสานบริษัทผู้รับเหมาขอรายชื่อแรงงานทั้งหมดมีชื่ออะไรบ้าง และที่สำคัญที่สุดคือ บ.เหมาช่วงต่อ ซึ่งเขาไม่แน่ใจว่ามีบริษัทเหมาช่วงกี่ราย แต่ต้องขอรายชื่อคนที่มาทำงานในไซต์งานทั้งหมด เพื่อนำไปพิสูตน์อัตลักษณ์ของผู้สูญเสีย เป็นใคร หรือเชื้อชาติไหน จากนั้น ก็จะดำเนินการต่อไป </p><p>ต่อกรณีที่ผู้สื่อข่าวถามว่ามีการพบแรงงานผิดกฎหมายหรือไม่นั้น พิพัฒน์ ระบุว่ายังไม่ทราบ ต้องตรวจสอบข้อมูลก่อน รู้เพียงว่าผู้เสียชีวิตใน กทม. มีอยู่ 18 ราย แบ่งเป็น 10 รายเป็นผู้ประกันตน และ 8 รายต้องรอพิสูจน์อัตลักษณ์</p><p>ทั้งนี้ นอกจากจุดบริเวณกองอำนวยการร่วมที่ตึก สตง.ถล่ม ก็มีศูนย์ประสานงาน (วอร์รูม) ที่กระทรวงแรงงานแล้ว ที่สำนักงานเขตในกรุงเทพฯ 12 เขต และในต่างจังหวัดสามารถประสานไปที่ 5 เสือแรงงานทุกจังหวัดในประเทศไทย </p></div>
<div class="node-taxonomy-container">
<ul class="taxonomy-terms">
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่า
http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">แรงงา
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยช
http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิ
http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" hreflang="th">แรงงานข้ามชาต
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" hreflang="th">พม่
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2" hreflang="th">กัมพูช
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">รักษ์ไท
http://prachatai.com/category/%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2" hreflang="th">ซายทุนส่ว
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B9%8C-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3" hreflang="th">พิพัฒน์ รัชกิจประกา
http://prachatai.com/category/migrant-working-group" hreflang="th">Migrant Working Group[/url]</li>
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/mwg" hreflang="th">MWG[/url]</li>
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B8%B6%E0%B8%87-%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1" hreflang="th">ตึง สตง.ถล่
http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7" hreflang="th">แผ่นดินไห
http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2" hreflang="th">เมียนม
https://prachataistore.net</div>
http://prachatai.com/journal/2025/03/112510 







