[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 18:52:34 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การมีนิพพานในชีวิตประจำวัน  (อ่าน 5319 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
sometime
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: 05 มิถุนายน 2553 21:34:31 »





Guan Yin Song




การพูดในครั้งนี้ จะพูดโดยหัวข้อว่า การมีนิพพานในชีวิต ประจำวัน ฟังดูให้ดี การมีนิพพานในชีวิตประจำวัน เป็นหัวข้อที่ขัดหูคนจำนวน มากที่เขาศึกษามาอย่างอื่น และเป็นเรื่องสำหรับจะถูกด่า แต่ไม่เป็นไรผมไม่กลัวเรื่องถูกด่า
เขาพูดหรือเขารู้ เขาถือกันอยู่ว่า นิพพาน นั้นเป็นที่แห่งหนึ่ง ซึ่งจะต้องไปที่นั่นต่อตายแล้ว หลังจากที่ได้บำเพ็ญ อะไรมากี่ร้อยชาติ พันชาติ หมื่นชาติ
ก็สุดแท้ แล้วไปที่นิพพาน เมืองนิพพาน
คำเทศน์บนธรรมาสน์ก็มีอยู่บ่อย ๆ ว่า ธรรมจักรมหานคร ศิวโมกมหานคร คือเป็น นคร เมืองนคร ที่ใครไปอยู่ที่เมืองนั้น ไปเมืองนิพพาน ก็พูดกันอยู่ แล้ว ต่างก็เชื่อกันว่า ยากที่จะไปได้ ต้องมีการกระทำอะไรๆ หลายอย่างหลายประการ จึงจะไปถึงได้
ทีนี้การที่ผมจะมาพูดเรื่องนิพพานกับพระบวชใหม่อย่างนี้ เขาก็หาว่าบ้าสิ้นดีหรือไร้สาระ ไม่น่าเชื่อ แต่ก็ไม่เป็นไรพูดกับพระหนุ่มพระบวชใหม่หยก ๆ
ในเรื่องนิพพาน เป็นเรื่องสูง สุด หรือเป็นเรื่องสุดท้าย แต่มันเป็นเรื่องจริง มันเป็นเรื่องที่ควรจะมีได้ ไม่เสียชาติที่เกิดมาเป็นมนุษย์ ได้มีนิพพานอยู่
เรื่อย ๆ ไปจนกว่าจะถึงวาระสุดท้ายที่สมบูรณ์ มีนิพพานน้อย ๆ คล้าย ๆ กับนิพพานตัวอย่างก็ได้ แต่มันก็เหมือนกันนั่นแหละ
ของตัวอย่างกับของจริงมันต้องเหมือนกันคุณไปดูสิ สินค้าที่เอามาขาย สินค้าตัวอย่างมันก็ต้องเหมือนสินค้าจริงที่จะขาย บางทีสินค้าตัวอย่างจะดีกว่าสินค้าที่จะขายจริงด้วยซ้ำไป
ขอให้สนใจฟังให้ดี ๆ ว่ามันจะมีได้อย่างไร ข้อนี้มันก็ต้องเนื่องกันกับความรู้ เรื่องนิพพานนั่นเองว่ามันคืออะไร นิพพานมันคืออะไร
ในชั้นแรกนี้อยากจะบอกให้รู้เสียก่อนว่าคำพูดที่ใช้ในภาษาธรรมะ ใช้เรียกข้อธรรมะ เช่น นิพพานเป็นต้น นี่ล้วนแต่เป็นคำพูดที่ยืมมาจาก คำพูดตามธรรมดาที่ชาวบ้านเขาใช้พูดกันอยู่ตามธรรมดา คำเหล่านั้นแหละยืมเอา มาใช้ในฝ่ายภาษาธรรม เพราะว่าธรรมะเป็นเรื่องลึก เมื่อผู้รู้ธรรมะได้ค้นคว้า
ได้รู้ได้ตรัสรู้อะไรก็ตาม ก็รู้มันมีอย่างนั้นๆ แล้วจะไปบอกชาวบ้านว่าอะไร ก็บอกว่าอะไรเขาก็ฟังไม่ถูก เพราะมันไม่มีคำพูดไม่มีคำเรียกมาแต่ ก่อน ไม่มีคำเรียกมาแต่ก่อน ทำความเข้าใจอย่างนี้ให้ดี มันก็ต้องเอาคำที่ ชาวบ้านเขารู้กันอยู่ก่อนแล้วนั่นแหละยืมมาขอใช้เรียก แต่ความหมายมันอีก อย่างหนึ่ง เป็นความหมายในทางธรรม

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 มิถุนายน 2553 13:03:12 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2553 21:39:01 »




ทีนี้คำว่านิพพาน ชาวบ้านเขาพูดกันอยู่ก่อนเขาใช้กันอยู่ก่อนอย่างไร คำพูดคำนี้เป็นคำใช้เรียกสำหรับไฟหรือของร้อนที่มันดับ
ลงเด็ก ๆ ก็พูดเป็นก็พูดอยู่บาลีก็มีคำตรง ๆ ว่า ปัชโช ปัตเสวะ นิพพานัง ความดับแห่งไฟนั้นเสมือนความดับแห่งไฟ ปัชโชตัสสะก็ว่าแห่งไฟ
นิพพานัง
ก็คือความดับนิพพานแห่งไฟ นี่พูด ถ้าพูดว่าไฟดับก็ว่าไฟนิพพานใช้กับ วัตถุทั่วๆ ไป เช่น ถ่านไฟแดง ๆ โร่อยู่นี่ ก็ทำให้มันดับเย็นลง ก็เรียกว่า
นิพพาน
อาหารของ ข้าว ข้าวต้ม ข้าวสวยร้อนจัดกินไม่ได้ เพราะมันร้อน ก็ต้องรอเสียก่อน ให้มันนิพพานเสียก่อนพอสมควรคือมัน เย็นลงพอสมควร
มากินได้มันนิพพานแล้ว
ความดับของความร้อน นี่มันก็มีถึง ๒ ขั้นตอน เช่นว่า ถ่านไฟเขี่ยมาจากเตาดำ แต่ยังร้อนจับไม่ได้ มือพองทั้งที่ดำ ต้องรอจนกว่าดำมันเย็นสนิท
จึงจับได้ มี ๒ ขั้นตอนอย่างนี้
หรือว่าเขาหลอมทอง นายช่างทองหลอมทองเหลวคว้างในเบ้า ต้องเอาน้ำรดให้มันเย็นเพื่อจะจับได้หยิบได้จะทำงานต่อไปได้ทำให้ทองที่เหลวนั้น
เย็นก็เรียกว่าทำให้นิพพานเหมือนกัน มันเป็นคำกิริยาทำให้ ไม่ใช่มันทำเองใช้นิพพาเปยยะทำให้ทองที่เหลวคว้างนั้นนิพพาน ดูสิคำว่า นิพพาน
นิพพานนั่นความดับแห่งไฟความดับแห่งของร้อน
ถ้ามันเป็นสัตว์เดรัจฉาน ก็จับมาจากป่าดุร้าย อันตรายเอามา ฝึกให้มันเชื่อง ห้มันหมดความร้าย ก็เรียกว่านิพพานเหมือนกัน คือมัน เย็น เย็นลง
เป็นนิพพาน
ฉะนั้นอะไร ๆ ที่มันระงับลงไปได้แห่ง ความร้อนเรียกว่านิพพานหมด ทีนี้คนครั้งกระโน้นก็มีความรู้ตามแบบของ เขา กามารมณ์มันทำให้ความหิว
ความร้อนอย่างยิ่งหิวกามารมณ์ กามารมณ์มันทำ ให้หยุดร้อนหยุดหิวอย่างนั้นได้ ก็เลยเอากามารมณ์มาเป็นนิพพานอยู่คราวหนึ่งยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง
ปรากฏอยู่ในพระบาลี เช่นพรหมชาลสูตร ในทิฏฐิ ๖๒ เป็นต้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 มิถุนายน 2553 22:36:59 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2553 21:47:29 »




บางพวกก็ว่าโอ้ เห็นต่อไปนี้มันปราบอนัตตาไม่ได้เห็นว่าความอยู่ในสมาธิเป็นฌาน เป็นรูปฌาน ดับแห่งนิวรณ์ความทุกข์ร้อนอะไร
ต่าง ๆ ก็เอาฌาน เอาปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตฌานเป็นนิพพานอย่างนี้ก็มีเหมือนกัน มีในทิฏฐิ ๖๒ ในพรหมชาลสูตร
แม้ที่สุดอันสุดท้ายที่อุทกดาบสรามบุตรหรือว่าอาฬาสดาบสกาลามโคตรสอนเรื่อง อาจิญจัญญายตนะว่าเป็นนิพพาน พระพุทธเจ้าก็ไปศึกษาแล้ว
สั่นหัวออกคนสุดท้าย อุทกดาบสรามบุตรสอนเรื่องเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอรูปฌาน พระพุทธเจ้าสั่นหัวอีกไม่ยอมรับว่าเป็นนิพพานที่ดับทุกข์
สิ้นเชิง จึงออกมาค้นหาของพระองค์เองจนพบ นิพพานอย่างที่เราศึกษาเล่าเรียนกันอยู่ในพระพุทธศาสนา คือดับกิเลสสิ้นเชิง
กิเลสเป็นของร้อน มีเข้ามันร้อน ถ้ากิเลสดับก็เท่ากับของร้อนดับ ความหมายอย่าง เดียวกันกับไฟดับ นี่ก็ยังใช้ชื่อว่านิพพานอยู่นั่นแหละ
ชื่อเดียวกันแหละเอามา ดับแห่งกิเลส ดับแห่งทุกข์ เป็นนิพพาน
แล้วไม่มีใครสอนนิพพานให้ยิ่งไปกว่านี้ได้ ก็ยุติเพียงเท่านี้ ยุติเพียงนิพพานเท่า ที่พระพุทธเจ้าท่านได้สั่งสอนได้ค้นพบและสั่งสอน ดับทุกข์สิ้นเชิง บัญญัติเป็นหลักอริยสัจเรื่องทุกข์ เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์ เรื่องความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ คือนิพพาน และหนทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์คือ
มรรคมีองค์ ๘ ประการ คือทางแห่งนิพพาน ทางให้ลุถึงนิพพาน
ขอให้รู้จักพระนิพพานในฐานะที่ดับแห่งความร้อน ถ้าเป็นภาษาชาวบ้านก็ความร้อนธรรมดาถ้าเป็นภาษาธรรมะก็ความร้อนของกิเลส หรือความร้อน
ของความทุกข์ กิเลสก็ร้อน ความทุกข์ก็ร้อน ถ้าดับลงไปได้ มันก็เป็นนิพพาน
เพราะฉะนั้น ความหมายของนิพพานพูดภาษาธรรมดาก็คือเย็นลง ๆ ถ่านไฟเย็นลงข้าวต้มเย็นลงทองในเบ้าหลอมเย็นลงนี่คือคำว่าเย็นถ้าจะใช้คำว่า
ดับก็ต้องใช้คำ ว่าเย็นเพราะดับแห่งความร้อนมันก็คือเย็น นิพพานมีความหมายในทางเหตุก็คือ ความดับมีความหมายในทางผลก็คือความเย็นร้อนดับ
ถ้าร้อนดับมันก็คือเย็นจะว่าสิ่งเดียวก็ได้ หรือว่าคนละทีก็ได้จะว่ามันดับเสียก่อนแล้วมันจึงเย็น แต่มันเนื่องกัน มันแยกออกจากกันไม่ได้ถ้ามันดับมัน
ก็เย็น ถ้าเย็นมันก็ต้องดับจะเอาความหมายของคำว่า ดับก็ได้ เย็นก็ได้ ที่ใช้กันในฐานะทั่ว ๆ ไปใช้คือเย็น มีความหมายมากกว่าดับ เพราะว่าเย็นมัน
ทำได้กินได้บริโภคได้หมดอันตราย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 มิถุนายน 2553 22:37:28 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2553 21:51:49 »




ถ้าเย็นอย่างชาวบ้าน เย็นอาบน้ำ เย็นอากาศอย่างนี้มันไม่ใช่ นี่มันเย็นทางวัตถุ พระนิพพานมันต้องเย็นทางจิตใจจิตใจเย็นนั้นแหละคือ นิพพาน ดับเสียซึ่งความร้อน แล้วแต่จะเล็งถึงความร้อนธรรมดา หรือความร้อนใน ทางกิเลส ตัณหา ดับแห่งความร้อน
ทีนี้ถ้าจะมองให้ชัดก็คือ ดับแห่งความกระหายคิดดู ความกระหาย กระหายน้ำก็ได้ ตัวกระหายในทางธรรมะคือ กระหายกิเลส กระหายของกิเลสกาม
ต้องการจะได้กามนั่นคือความกระหายอย่างยิ่งความกระหายใดๆ ที่เป็นนามธรรมก็เรียกว่าร้อนอยากได้ชื่อเสียงอยากได้อำนาจวาสนาอยากรวยอยาก
สวยอะไรก็ตามที่เป็นความอยาก แล้วก็เกิดความกระหายทั้งนั้น ถ้าความอยากเหล่านั้น ดับลงไปเสียได้ มันก็มีความเย็น
ฉะนั้นคุณก็สังเกตดูตัวเองว่าเมื่อความหิวความกระหายทางจิตใจอย่างโง่ ๆ หยุดไปได้นั่นแหละคือนิพพาน ซึ่งเรามีกันทุกวัน
จะให้เข้าใจชัดต้องพูดว่ามันเป็นเรื่องของสัญชาตญาณ สัญชาตญาณเป็นคำแปลกที่ไม่ค่อยเอามาใช้พูดกันในวัด หรือในการศึกษาธรรมะที่จริงมันเกี่ยวข้องอย่างยิ่งจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องรู้จักคำว่าสัญชาตญาณคือความรู้ที่มันมีอยู่เองมันเกิดอยู่เองในบรรดาสิ่งมีชีวิต มันเป็นไปได้เองในสิ่งที่มีชีวิต
ยกตัวอย่างเช่นว่าลูกไก่ออกมาจากไข่ มันจะรู้จักหิวรู้จักกินอาหารมันรู้จักได้เองโดยไม่ต้องมีใครสอนรู้จักทำขึ้นมาทุกอย่างจนมันเป็นไก่โตเป็นไก่ตัวเมียตัวผู้ มันก็รู้จักสืบพันธุ์เองโดยไม่ต้องมีใครสอนตัวผู้กับตัวเมีย ตัวเมียก็รู้จักไข่เองรู้จักฟักไข่เองรู้จักทนุถนอมลูกอย่างดีที่สุด อย่างที่เราก็ไม่
นึกว่ามันจะละเอียดลออถึงอย่างนั้น
คุณดูแม่ไก่ที่เลี้ยงลูกผมเคยดูมีไก่อยู่ทั่วไปหมดออกลูกมาบ่อย ๆ โดยความที่แม่ไก่รู้จักทำให้ลูกอย่างไรทำเพียงเท่าไร ทำอย่างไร
รู้จักบีบให้แตกเสียก่อน แล้วจึงเรียกให้ลูกมากิน รู้จักให้ช่วยหลบหลีกอันตรายอย่างไร
ความรู้ที่เป็นไปเองอย่างนี้เรียกว่าสัญชาตญาณมันมีอยู่หลาย ๆ อย่างมันรู้สึกว่ามีตัวตนที่ต้องทนุถนอม มันก็รู้สึกของมันเองไม่ต้องมีใครมาบอกมาสอนสัตว์ที่มีชีวิตมันรู้จักถนอมชีวิตคนก็เป็นอย่างนั้นสัตว์เดรัจฉานก็เป็นอย่างนั้นต้นไม้ต้นไร่ก็เป็นอย่างนั้นมันถนอมชีวิตอย่างยิ่งแล้วมันก็รู้จักสืบ
พันธุ์คนก็สืบพันธุ์ สัตว์เดรัจฉานก็สืบพันธุ์ต้นไม้ต้นไร่ก็สืบพันธุ์ มันมีความรู้สึก ที่จะสืบพันธุ์ ต้องการที่จะสืบพันธุ์ แต่มันดูไม่ค่อยเห็นเพราะมันไม่เคลื่อนไหวไม่ว่าสัตว์หรือคน มันมีความต้องการอย่างยิ่ง ไปศึกษาทางพฤกษ ศาสตร์ละเอียดลออก็จะเข้าใจได้ดีต้นไม้ก็มีดอก เกสรตัวผู้ เกสรตัว
เมียอยากจะสืบพันธุ์ อยากมีลูก อยากจะไม่สูญพันธุ์ อยากจะหลบหลีกอันตราย ให้พ้นจากความตาย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 มิถุนายน 2553 22:38:01 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2553 22:11:39 »




การค้นคว้าการทดลองครั้งหลังสุดต้นไม้นี่ก็รู้จักกลัวและรู้จักเป็นทุกข์ซึ่งมันละเอียดอ่อนมากทดลองจนรู้ว่าต้นไม้นี่รู้จักกลัวตาย ในห้องทดลองต้นไม้ที่ออกมาใหม่ ๆ จากหน่อจากเม็ดให้เด็กไปด่าไปแช่งทุกวันด้วยเจตนาร้ายกับที่ไปร้องเพลงให้ฟังทุกวันไปสรรเสริญเยินยอไปเอาใจทุกวัน
มันต่างกันมาก พวกหนึ่งถึงกับตายไปเลยเขามีเครื่องมือที่คิดขึ้นโดยเฉพาะพิเศษละเอียดลออมาก มีเข็มกระดิกได้
คนที่เกลียด ต้นไม้เข้ามา คือต้นไม้ต้นนั้นจะมีเครื่องวัด เข็มมันจะกระดิก แสดงความกลัว ของต้นไม้คนหนึ่งเขาเผาต้นไม้มาหยก ๆ เข้ามาในห้อง
ทดลองนี้ เข็มกระดิกอย่างหวั่นไหวเลยต้นไม้ที่อยู่ในการทดลองกลัว กลัวพอนายคนนั้นออกไปจากห้องมันก็ปกติ เมื่อต้นไม้มีความรู้สึกกลัวรู้สึกกลัว
ตายเป็นของ
ดูยากดูไม่เห็นรู้สึกดูยากมันไม่เคลื่อนไหวตรง ๆ เหมือนสัตว์หรือคนแต่ว่ามันสิ่งที่มีชีวิตแล้ว มีสัญชาตญาณแห่งความกลัวตายทั้งนั้น
ทีนี้มันก็ มีสัญชาตญาณอันหนึ่งที่เป็นปัญหา จึงอยากและก็จะให้หายอยากมันมีความรู้สึกเองจะระงับความอยาก จึงเป็นเหตุให้คว้าอาหารกินเข้าไป
อย่างลูกไก่นี่ไม่มีอะไรกินดินมันก็กินเข้าไปเพื่อระงับความอยากแม่มันต้องรู้จักหาอะไรให้กิน ให้กินดีรอดไปถ้าไม่มีอะไรให้กิน ดินมันก็กินเข้าไป
เพื่อระงับความอยากสัญชาตญาณที่จะระงับความอยากเสียครั้นความอยากระงับไป แล้วก็มีความสุข มันต้องการอย่างนั้น เขาก็เรียกสัญชาตญาณแท้ ๆ instinct มันต้องการนิพพานต้องการจะดับเสียซึ่งความอยากจึงเป็นความร้อน เป็นความหิว
เด็กทารกคลอดออกมามันก็อยาก ลงไปดิ้นรนเพื่อจะระงับความ อยาก มันก็คว้านมแม่กินได้ กินนมแม่หรือว่าแม่จะต้องช่วยให้กินก็สุดแท้เถอะลูกคน
แม่อาจจะเอาไปใส่ปากให้กินแต่ลูกสัตว์นี่ต้องคว้าหากินเองระงับความอยากอันนั้นได้ นั่นสัญชาตญาณมันต้องการจะระงับความอยากความ หิวความกระหาย ความร้อนก็ความทุกข์
ยุงมันกระเสือกกระสน เพื่อจะระงับความหิวเผอิญมาพบคนเข้า เจาะเลือดคนดูดกินเข้าไประงับความหิว ตามความต้องการของสัญชาตญาณแล้วก็ถูกตบตาย แต่มันก็ทำหน้าที่ที่จะหาสิ่ง ที่จะระงับความอยาก ความร้อนที่แผดเผาหัวใจอยู่ มันก็คือต้องการนิพพานนั่น เอง ต้องการจะดับเสียซึ่งความกระหาย
ต่อมาก็เรื่อยมาอยาก เมื่ออยากก็ต้องหาอะไรมาระงับความอยาก ความอยากขยายตัวไปอย่างโง่ เขลา อยากอย่างนั้น อยากอย่างนี้ อยากอย่างโน้นจนเป็นเรื่องมากมายออกไป มันก็หาที่ที่จะดับความอยาก ยิ่งเป็นกิเลสเท่าไรก็ยิ่งดับยากมากเท่า นั้น มันก็เกิดเป็นเครื่องมือของกิน มิหนำซ้ำต้องมีของเล่น เพราะมันอยากเล่น อยากสนุกสนาน ขึ้นชื่อว่าความอยากแล้ว แผดเผาหัวใจ เมื่ออยากจะดับความ อยากเสีย นั่นแหละคือความต้องการนิพพาน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 มิถุนายน 2553 22:38:35 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2553 22:16:51 »




ถ้าได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาดับความอยากสบายไปได้ คือได้นิพพานน้อย ๆ ภาษาสัตว์ภาษาสิ่งต่ำต้อยเหล่านั้น แต่ก็ต้องเรียกว่านิพพาน
เพราะมันดับความอยากเสียได้เช่นเดียวกัน
ต่อมามันมีความอยากใหญ่โต มโหฬารขึ้นไปก็ต้องดับดับไม่ได้ก็เป็นทุกข์ถ้าหยุดไปได้ดับไปได้ก็เรียก ว่ามันดับทุกข์ เป็นนิพพานจนกระทั่งมันรู้ว่าร้อนอย่างแรงร้ายกาจคือ โล ภะ โทสะ โมหะ ราคะ จึงมีคำสอนเรื่องดับไฟกิเลส ไฟทุกข์ ดับ ราคะ โทสะ โมหะ ดับความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงเสียให้ได้
ก็จะเป็นนิพพานก็ ได้ความในชั้นนี้ว่า ดับความกระหายเสีย ทำความร้อนให้เย็น นั่นคือความหมาย ของนิพพาน ถ้าสูงสุดก็สูงสุดกันที่นิพพานสูงสุด
ถ้าลดต่ำ ๆ ๆ
ลงมาก็เป็นนิพพานที่ลดต่ำ ๆ ๆ ๆ ลงมาแต่มันในความหมายเดียวกันคือดับความร้อนเวลาผมบอกฝรั่งที่มาฟัง ผมใช้คำ ว่า Quench Quenching of the thirst thirst คือความกระหาย Quenching of the thirst ทุกชนิดทุกระดับทุกขั้นตอนเป็นความหมายของ นิพพาน เราธรรมดาที่ในชีวิต
ประจำวันนี่มันก็มีการทำให้ความร้อน ความ อยาก ความกระหาย ที่เผาลนจิตใจให้ระงับไป ๆ อยู่ทุกวัน ทุกเรื่องและทุกวัน ไม่งั้นมันทนไม่ได้
ความต้องการนิพพานมันเป็นเรื่องของสัญชาตญาณ เช่นเดียวกับความ ทุกข์ ความร้อน ความโง่หรือกิเลส มันก็เป็นเรื่องของสัญชาตญาณ มันเกิดได้ เอง ตามความรู้สึกของสิ่งที่มีชีวิตการต้องการจะดับก็เป็น ความต้องการของสัญชาตญาณ พอดับได้ก็มีความรู้สึกเป็นนิพพาน คือดับเย็นลงไป ได้จากความร้อนเหล่านั้น
ทุกคราวที่มันดับความกระหายไปเสีย ได้ มันก็เป็นเรื่องของนิพพาน แม้ความกระหายทางกามารมณ์ที่มันระงับไปได้ เพราะกามารมณ์มันก็เป็นนิพพานชั้นต่ำต้อย ชั้นที่เคยเข้าใจกันอย่าง นั้น อย่างที่กล่าวอยู่แล้วในพระบาลี ยังไม่ใช่นิพพานสมบูรณ์ ที่เรียกว่าจะ เป็นพระอรหันต์ นี่เป็นของปุถุชนธรรมดาสามัญไปก่อนเถิด มันก็มี ประโยชน์ เป็นสิ่งที่ดับความร้อน ดับความทุกข์ได้ มิฉะนั้น มันก็บ้าตาย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 มิถุนายน 2553 22:39:01 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
sometime
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: 05 มิถุนายน 2553 22:21:13 »




ความอยากความกระหายอะไรที่แผดเผาหัวใจอยู่ ถ้าดับไม่ได้จะเป็นยังไง คุณคิดดู ถ้าคุณหิวแล้วคุณไม่มีอะไรดับ จะเป็นยังไง มันก็ต้อง
เป็นบ้าความอยากใด ๆ ก็เหมือนกัน ถ้ามันดับไปได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ก็เรียกว่า เป็นกิริยาอาการแห่งนิพพานน้อย ๆ ต่ำ ๆ เขลา ๆ โง่ ๆ อย่างของปุถุชน
ก็ได้แต่มันก็มีความหมายเดียวกับนิพพานที่แท้จริง ที่สูงสุด คือมันดับความร้อนความ ทุกข์เสียได้ คือนิพพาน
ทีนี้จะมีในทุกวันได้อย่างไรก็อย่างเดียวกันนี่ คือทำให้ความหิวความกระหาย บ้า ๆ บอ ๆ นี่มันหายไป ๆ ทุกเรื่องที่มันเกิดขึ้น มีความหิวอะไรแผดเผาหัวใจ ทำให้มันดับหายไปทุกเรื่อง
ทำหน้าที่ ๆ ของตัว อย่างที่พูดแล้ววันก่อน หน้าที่ๆๆ ที่ต้องทำนั่นแหละ พอดับ แล้วมันก็ดับความอยากในหน้าที่นั้นได้ มันก็เป็นความหมายของนิพพาน
ฉะนั้นจงทำอะไรให้ถูกต้องอยู่เสมอ ดับความกระหาย ดับความต้องการ ดับความทุรนทุราย แห่งจิตใจให้ได้เรื่อยไป ๆ ตลอดทั้งวันทั้งคืน ยังตื่นอยู่
มีความรู้สึกอยู่ เมื่อมีการกระทำชนิดที่ดับความกระหายแห่งจิตใจเสียให้ได้ ทำให้มัน เย็น ดีกว่าพูดว่าดับเสียอีกนะ ทำให้มันเย็น ทำให้ของร้อนกลาย
เป็นของเย็น คือดับ
เมื่อมีความร้อนความทุกข์ ความหิว ความกระหาย ความต้องการของ กิเลสอะไรก็ตามเกิดขึ้นในใจ ถ้าทำให้มันดับไปเสียได้ คือมีนิพพานน้อย ๆ ถึงแม้มันจะดับไปเองโดยเราไม่ได้ทำ มันก็มีนิพพานชนิดหนึ่งซึ่งเราไม่ได้ทำ มัน ดับไปโดยตัวมันเอง ความอยากความต้องการบางชนิดอาจจะดับได้บางชนิดต้องหา สิ่งมาสนองความอยาก เมื่อสนองความอยากในทางที่ถูกต้อง มันก็ควรแล้ว ควรจะ มี แต่ถ้าสนองความอยากในทางที่ผิด มันก็ทำผิดทำชั่วทำอะไรต่อไปแล้วมันก็จะดับไม่ได้ด้วย
จงพยายามทำให้ถูกต้องในการจะดับความ กระหาย ความอยากมันเผาลนจิตใจอยู่ในแต่ละวันนั้นเสียให้ได้ แล้วเราก็จะมี นิพพานในชีวิตประจำวัน เป็นนิพพานน้อย ๆ เป็นนิพพานในชั้นต่ำ เป็นนิพพาน ตัวอย่าง แต่ก็ต้องมี ถ้าไม่มีก็ต้องเป็นบ้าหรือตาย ถ้าความอยากความ กระหาย เผาลนจิตใจอยู่เป็นวันเป็นคืน เดี๋ยวมันก็ต้องตาย ทำให้มันหายไปได้ โดยวิธีใดมันก็รอด จึงถือว่าเรารอดอยู่ได้นี้ก็เพราะว่ามันมีการดับแห่งความอยาก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 มิถุนายน 2553 22:39:29 โดย บางครั้ง » บันทึกการเข้า
คำค้น: นิพพาน ประจำวัน วัน บางครั้ง ข้อธรรม พุทธทาส หลวงพ่อ ปัญญา ปรัชญา 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.254 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 13 มีนาคม 2567 02:37:28