สิทธิลาคลอด ทำไมต้อง 180 วัน และโจทย์ต่อไปที่ต้องทำให้ครอบคลุมทุกคน
<span>สิทธิลาคลอด ทำไมต้อง 180 วัน และโจทย์ต่อไปที่ต้องทำให้ครอบคลุมทุกคน</span>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2024-12-24T16:52:34+07:00" title="Tuesday, December 24, 2024 - 16:52">Tue, 2024-12-24 - 16:52</time>
</span>
<div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>ภาพปก: กิตติยา อรอินทร์</p></div>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ตาม
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 41 ประกอบมาตรา 59 กำหนดว่าสิทธิลาคลอดของประเทศไทยอยู่ที่ 98 วัน นายจ้างจ่ายค่าแรง 45 วัน และประกันสังคมช่วยจ่ายอีก 45 วันที่เหลือ (โดยคิดเป็นอัตรา 50% ของฐานเงินเดือน 15,000 บาท ดังนั้น กองทุนจะจ่ายให้ตลอดระยะเวลาการลา 11,250 บาท) ทั้งนี้ ลูกจ้างสามารถใช้สิทธิลาคลอดได้ในช่วงตรวจครรภ์ก่อนคลอด ช่วงคลอดลูก และช่วงฟื้นฟูหลังจากคลอด</p><p>อย่างไรก็ดี ในปีนี้ (2567) ร่างแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน เพิ่มสิทธิลาคลอดเป็น 180 วัน 'แบ่งพ่อ-แม่ได้' ของวรรณวิภา ไม้สน สส.พรรคประชาชน สามารถผ่านวาระ 1 ชั้นรับหลักการ จนมาถึงคณะกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขร่างกฎหมาย</p><p>โดยเมื่อ พ.ย.ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้มีมติเสียงข้างมากเพิ่มสิทธิลาคลอดที่ 120 วันเท่านั้น โดยยังได้รับค่าจ้าง และสามารถแบ่งให้คู่สมรสได้ 15 วัน ส่วน กมธ.เสียงข้างน้อยสงวนความเห็นไว้ที่สิทธิลาคลอด 180 วัน ขั้นต่อไปคาดว่ากฎหมายจะเข้าสู่สภาฯ ในสมัยประชุมหน้า โดยมีคิวเปิดสภาฯ ในวันที่ 12 ธ.ค. 2567 เป็นต้นไป </p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>
กมธ.เคาะสิทธิลาคลอด 120 วันโดยได้รับค่าจ้าง ภาคประชาชนยืน 180 วัน</li><li>
ปชช.ยื่น กมธ.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน หนุนสิทธิลาคลอด 180 วัน ได้ค่าจ้างเต็ม รวมลูกจ้างรัฐ</li></ul></div><p> </p><p>ในช่วงก่อนที่ร่างกฎหมายจะเข้าสู่ประชุมสภาฯ เพื่อพิจารณาว่าจะยึดเอาตามมติ กมธ.เสียงข้างมาก หรือยึดตามข้อสงวนเสียงส่วนน้อยที่ให้ดันสิทธิลาคลอด 180 วัน ประชาไท ชวนดูมุมมองของฝ่ายสนับสนุนสิทธิลาคลอด 180 วัน ว่ามีความสำคัญอย่างไร และโจทย์ต่อไปคือทำอย่างไรที่จะทำให้แรงงานที่อยู่นอกระบบประกันสังคม ได้รับการคุ้มครองในสิทธิดังกล่าวด้วยเช่นกัน</p><h2>ทำไมต้องลาคลอด 180 วัน</h2><p>ฝ่ายสนับสนุนสิทธิลาคลอด 180 วัน มักอ้างอิงข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่เคยให้ความเห็นว่า ลูกควรได้รับนมแม่ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 6 เดือน หรือ 180 วัน ซึ่งจะทำให้ลูกมีสุขภาพและมีภูมิต้านทางที่แข็งแกร่ง รวมถึงลดความเสี่ยงจากโรคต่างๆ อีกทั้งได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่สมบูรณ์</p><p>นอกจากลูกจะได้รับประโยชน์แล้ว การได้ลาในช่วงระยะเวลา 6 เดือนจะทำให้แม่ได้มีเวลาพักผ่อนจากการดูแลลูกอย่างเต็มที่ และลดความเสี่ยงจากโรคภัยไข้เจ็บติดตามมาอย่างโรคมะเร็งเต้านม ขณะเดียวกัน ก็เป็นการส่งเสริมสายสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกอีกด้วย </p><p>"ช่วงแรกของพัฒนาการ และการเจริญเติบโตเป็นสิ่งที่สำคัญ ภูมิคุ้มกันจากนมแม่จะคุ้มกันทารกจากโรคภัยไข้เจ็บ และการเสียชีวิต นี่เป็นเรื่องที่สำคัญในภาวะฉุกเฉิน การให้นมแม่จะทำให้เด็กทารก และเด็กเล็ก เข้าถึงแหล่งอาหารที่ปลอดภัย และอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ นมจากเต้ายังลดความเสี่ยงเรื่องโรคภัยไข้เจ็บของเด็ก และความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งบางประเภทและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสำหรับแม่"
แถลงการณ์ร่วมขององค์การ ยูนิเซฟ และ องค์กรณ์อนามัยโลก เนื่องในสัปดาห์ให้นมแม่สากล เมื่อ ส.ค. 2567</p><p>
สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม หนึ่งในผู้สนับสนุนแนวคิดลาคลอด 180 วัน เชื่อว่าการเพิ่มสิทธิลาคลอดจะสร้างแรงจูงใจให้คนไทยอยากมีลูกเพิ่มมากขึ้น และจะช่วยแก้ไขปัญหาสังคมผู้สูงวัย เนื่องจากขณะนี้สังคมไทยมีอัตราการเกิดต่ำกว่าอัตราการตาย</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54223118027_983b37c5ce_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง </p><p>ในงานประชุมวิชาการของสำนักงานประกันสังคม ประจำปี 2567
ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) อ้างอิงข้อมูลรายงานการคาดการณ์ประชากรในประเทศไทย เผยให้เห็นถึงสถานการณ์จำนวนประชากรของไทยที่เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์แล้ว โดยมีผู้สูงอายุมากกว่า 20% ของจำนวนประชากรทั้งหมด</p><p>นอกจากนี้ หากประเทศไทยยังไม่มีการปรับเปลี่ยนทางด้านนโยบาย คาดว่าในปี 2576 ไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด โดยมีจำนวนผู้สูงวัยมากกว่า 28% และปี 2583 ไทยจะมีจำนวนประชากรสูงวัย 1 ใน 3 จากจำนวนประชากรทั้งหมด </p><h2>ส่องกรณีศึกษาจากต่างประเทศ</h2><p>
อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 183 ระบุเกณฑ์ขั้นต่ำสิทธิลาคลอดต้องได้ไม่น้อยกว่า 98 วัน ขณะที่ประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ให้สิทธิลาคลอดอยู่ที่ 98 วัน รวมถึงประเทศไทย แต่เพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศเวียดนาม ให้สิทธิลาคลอดแซงไปแล้วที่ 180 วัน</p><p>ขณะที่ประเทศในยุโรปอย่าง
สวีเดน อนุญาตให้พ่อแม่ (รวมถึงผู้ที่เป็น LGBTQA+ พ่อแม่บุญธรรม หรือพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว) มีสิทธิลาคลอดยาวนาน 480 วันต่อลูก 1 คน (ประมาณ 16 เดือน) โดยที่พ่อกับแม่แบ่งลาได้คนละ 240 วัน</p><p>ช่วง 390 วันแรก ผู้ปกครองสามารถรับเงินอุดหนุน 80% ของเงินเดือน แต่มีเพดานอยู่ที่ 47,750 โครนสวีเดน (147,839 บาท) และหลังจากนั้นจะได้รับเงินอุดหนุนเป็นรายวันที่ 180 โครนสวีเดน (557 บาท)</p><p>นอกจากนี้ เมื่อ 1 ก.ค. 2567 ที่ผ่านมา
สวีเดน ยังเป็นประเทศแรกที่อนุญาตให้พ่อ-แม่โอนวันลาได้คนละ 45 วัน (รวม 90 วัน) ให้บุคคลอื่นที่ไม่ได้เป็นผู้ปกครองเด็กตามกฎหมาย เช่น ปู่ย่าตายาย หรือเพื่อน ถ้ากรณีเป็นแม่หรือพ่อเลี้ยงเดี่ยวสามารถโอนให้ได้ 90 วัน</p><p>
อัลเบเนีย ให้หยุดลาคลอด 365 วัน โดยแบ่งเป็นลาก่อนคลอดอย่างน้อย 35 วัน และหลังคลอด 330 วัน สำหรับแม่ที่มีลูกแฝดสามารถใช้สิทธิลาคลอด 390 วัน โดยแบ่งเป็นลาก่อนคลอดล่วงหน้าอย่างน้อย 60 วัน และหลังลูกคลอด 330 วัน และสำหรับลูกบุญธรรม อายุ 0-1 ปี ลาได้ 330 วันนับตั้งแต่วันรับเลี้ยง</p><p>
กฎหมายว่าด้วยกองทุนประกันสังคมของอัลเบเนีย จะให้เงินอุดหนุนฯ ระหว่างที่แม่ใช้สิทธิลาคิดเป็น 80% ของรายได้ต่อเดือนในช่วง 6 เดือนแรก และ 50% ของรายได้ต่อเดือนในอีก 6 เดือนหลัง</p><p>สำหรับประเทศฟินแลนด์ ข้อมูลจากเว็บไซต์ Kela ซึ่งเปรียบเสมือนสำนักงานประกันสังคมของประเทศฟินแลนด์ ระบุว่าผู้ปกครองสามารถใช้
สิทธิลาคลอด (Pregnancy Leave) 14-30 วันก่อนถึงวันกำหนดคลอด และทาง Kela จะสนับสนุนเงินอุดหนุนเพื่อคลอดบุตร 40 วันทำงาน</p><p>ด้าน
สิทธิการลาไปดูแลลูก (Parental Leave) ผู้ปกครองฟินแลนด์สามารถใช้สิทธิฯ ได้ทันทีหลังจากลูกเกิดจนถึงอายุ 2 ปี (รวมถึงลูกบุญธรรม) โดยผู้ปกครองสามารถใช้สิทธิลาไปดูแลลูกเป็นเวลา 320 วันต่อลูก 1 คน โดยได้รับเงินอุดหนุนจาก ‘Kela’ (ขึ้นอยู่กับรายได้ต่อปี) หากกรณีที่เด็กมีผู้ปกครอง 2 คน ผู้ปกครองสามารถแบ่งลาได้คนละ 160 วัน ทั้งนี้ ผู้ปกครองสามารถใช้สิทธิวันลารวดเดียว หรือแบ่งลาเป็นช่วงๆ ก็ได้ และต้องมีการพูดคุยกับนายจ้างเพื่อตกลงวันลา</p><p>คล้ายกับสวีเดน ผู้ปกครองแต่ละคนยังสามารถแบ่งวันลาให้ผู้ปกครองคนอื่นที่มาช่วยดูแลลูกได้สูงสุด 63 วัน (จาก 160 วัน) ขณะที่สิทธิลาฯ สามารถใช้ได้จนกระทั่งลูกอายุครบ 2 ปี</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54223088332_3eb9b7da98_o.png" width="900" height="613" loading="lazy">ข้อมูลการแบ่งวันลาคลอดของฟินแลนด์ (จากเว็บไซต์
Kela)</p><h2>ใครควรรับผิดชอบเรื่องค่าจ้าง (?)</h2><p>ช่วงที่ผ่านมาอุปสรรคสำคัญที่ยังไม่สามารถดันเพดานสิทธิลาคลอดในไทยได้ถึง 180 วันโดยได้รับค่าจ้างเต็มจำนวน คือการคัดค้านจากฝั่งนายจ้าง </p><p>
อุกฤษณ์ กาญจนเกตุ ที่ปรึกษาอาวุโส สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทางฝ่ายนายจ้างไม่ว่าจะเป็นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาองค์การนายจ้างฯ ตอนเข้าไปคุยใน กมธ.แก้ไขร่างกฎหมาย ต่างไม่เห็นด้วยกับสิทธิวันลาคลอด 180 วัน เพราะมีส่วนที่นายจ้างต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น ในภาวะที่เศรษฐกิจในประเทศซบเซา และสถานการณ์เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะงักงันเนื่องจากสงคราม การเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยี ตลอดจนปัจจัยอื่นๆ ทำให้นายจ้างไม่พร้อมเรื่องการเพิ่มค่าใช้จ่ายอย่างก้าวกระโดด</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54224031616_78e50ff0a2_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">อุกฤษณ์ กาญจนเกตุ</p><p>ขณะที่ตัวแทนจากคณะกรรมการประกันสังคม ฝ่ายผู้ประกันตน
ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี เคยเขียนบทความลงในมติชนสุดสัปดาห์ ชี้ว่าการเพิ่มสิทธิลาคลอด 180 วัน จะไม่กระทบกับสถานะของกองทุนประกันสังคม</p><p>ษัษฐรัมย์ อธิบายว่า แต่เดิมสิทธิลาคลอด 90 วัน กองทุนประกันสังคมจ่ายเงินให้ผู้ประกันตน มาตรา 33/39 ที่ 7,500 บาทต่อคนต่อเดือน (คิดบนฐาน 50% ของฐานเงินเดือน 15,000 บาท) ดังนั้น ประกันสังคมจะจ่ายเงินสูงสุด 11,250 บาทต่อคน ตลอดระยะเวลาการลา 45 วัน โดยใช้เงินงบประมาณกองทุน 4 กรณี ได้แก่ ลาคลอด เจ็บป่วย พิการ หรือเสียชีวิต จำนวน 3,000 ล้านบาทต่อปี โดยประมาณ</p><p>ษัษฐรัมย์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีเงินเข้าสู่กองทุน 4 กรณีที่ 84,000 ล้านบาท แบ่งทำเป็นสิทธิประโยชน์ 72,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะนำไปลงทุน ซึ่งผลตอบแทนจากการลงทุนอยู่ที่ 3,000 ล้านบาท ทำแบบนี้ซ้ำๆ ทุกปี</p><p>ดังนั้น สมมติว่าเพิ่มเงินอุดหนุนสิทธิลาคลอดเป็น 90 วันจากทั้งหมด 180 วัน ต้องใช้เงินกองทุน 4 กรณี เพิ่มประมาณ 6,000 ล้านบาทต่อปี แต่อย่างไรก็ดี เขาคาดการณ์ว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า การใช้งบกองทุน 4 กรณี ในกรณีลาคลอดจะลดลงเหลือเพียง 4,000 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น เนื่องจากกำลังคนวัยทำงานที่ลดลงจากภาวะสังคมผู้สูงวัย</p><p>"สิ่งที่ผมยืนยันคือการกล่าวว่าการเพิ่มสิทธิลาคลอดจะทำให้กองทุนประกันสังคมล้มละลายไวขึ้น เป็นเรื่องที่กล่าวเกินจริงไปไม่น้อย"</p><p>"หากเราหมกมุ่นต่อการรักษาความสมดุลของการคลัง ไม่กล้าเพิ่มสิทธิประโยชน์ใดๆ ประกันสังคมก็จะไร้ความหมาย เพราะมันไม่ยึดโยงต่อผู้คน คนไม่เห็นความสำคัญ สุดท้าย ผู้คนก็จะปล่อยมันตายอย่างไม่แยแส" ษัษฐรัมย์ ระบุ</p><p>อีกข้อเสนอเพื่อลองแก้ไขปัญหามาจาก
ชินโชติ แสงสังข์ สมาชิกวุฒิสภา โดยเขาเคยเสนอทางออกใหม่ โดยให้นายจ้างรับผิดชอบค่าจ้าง 60 วัน และให้กองทุนประกันสังคมรับผิดชอบ 120 วัน เพื่อไม่ให้นายจ้างรับภาระมากเกินไป แต่เรื่องนี้ก็เป็นเพียงข้อเสนอในวงเสวนาเท่านั้น ยังไม่ได้มีการเสนออย่างจริงๆ จังๆ</p><p>ขณะที่
สุเพ็ญศรี เสนอว่า ภาครัฐอาจต้องมีมาตรการส่งเสริมหรือสนับสนุนนายจ้างที่ให้ลาคลอด 180 วัน อย่างมาตรการทางด้านภาษี หรือนโยบายอื่นๆ</p><p>ทั้งนี้ เมื่อ 11 ธ.ค.ที่ผ่านมา กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ประชุมนัดสุดท้าย พร้อมเคาะสิทธิวันลาคลอดที่ 120 วันโดยได้รับค่าจ้างตามสัดส่วนเดิม คือนายจ้างครึ่งหนึ่ง และกองทุนประกันสังคมครึ่งหนึ่ง และสามารถแบ่งให้คู่สมรสได้ 15 วัน ซึ่งต่อไปจะเข้าสู่ชั้นวาระ 2-3 </p><h2>โจทย์ต่อไป คือทำอย่างไรที่จะขยายสวัสดิการครอบคลุมคนทุกกลุ่ม</h2><p>
ษัษฐรัมย์ กล่าวว่า โจทย์ต่อไปคือจะทำอย่างไรที่จะขยายสิทธิลาคลอดให้คนกลุ่มแรงงานอิสระซึ่งคาดว่ามีกำลังแรงงานหญิงประมาณ 10 ล้านคนจากแรงงานทั้งหมด 20 ล้านคน รวมถึงแรงงานที่อยู่นอกระบบประกันสังคม </p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>
สรุปเสวนา ทลายมายาคติ มองกรณีศึกษาต่างประเทศ ร่วมออกแบบสิทธิลาคลอดในฝันควรเป็นแบบไหน</li></ul></div><p> </p><p>อย่างไรก็ดี
ษัษฐรัมย์ เคยเสนอเงินอุดหนุนช่วงลาคลอดสำหรับผู้ประกันตน มาตรา 40 รายละ 3,000 บาทต่อเดือน รวมระยะเวลา 3 เดือน โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณกองทุนฯ เพิ่มขึ้น 155 ล้านบาทต่อปี (ประมาณการคนใช้สิทธิ์ 17,257 คนต่อปี)</p><p>กฤษฎา ธีระโกศลพงศ์ อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอสอดคล้องกันว่า รัฐอาจต้องมองถึงนโยบายที่ครอบคลุมคนทุกคน เช่น นโยบายเงินอุดหนุนแรงงานภาคเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ โดยอาจจะให้ตัวแรงงานเองหรือลูกก็ได้ เพื่อให้พวกเขาสามารถดำรงชีวิตได้ และต้องมีนโยบายที่มาสนับสนุนช่วยเหลือการเลี้ยงดูลูก อย่างโครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะเด็กที่ยากไร้ แต่รวมถึงชนชั้นกลาง พนักงานออฟฟิศ คนทำงานนอกระบบ หรือเด็กที่เลิกเรียนแล้วก็สามารถมาที่ศูนย์ได้ เพื่อลดภาระของแม่ในการเลี้ยงดูลูก</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54224262973_fd4dc015e7_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">กฤษฎา ธีระโกศลพงศ์</p><p>นอกจากนี้ กฤษฎา มองด้วยว่า การที่เราทำนโยบายให้ครอบคลุมคนทุกคน จะส่งผลให้ภาคประชาชนยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายได้ด้วย เพราะว่าปัญหาตอนนี้เราเรียกร้องสิทธิให้คนกลุ่มเดียว ขณะที่คนอีกส่วนไม่ได้ประโยชน์ อย่างเรื่องนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ แรงงานนอกระบบคือคนที่ไม่เห็นด้วย เพราะว่าค่าจ้างของเขาไม่อิงตามกฎหมาย แต่ต้องเจอปัญหาค่าครองชีพที่แพงขึ้นตาม สุดท้ายก็กลายเป็นว่าเราไม่สามารถหลอมรวมคนทั้งสังคมให้ขับเคลื่อนขบวนการที่เราเรียกร้องเดียวกันได้ การลาคลอดก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น เราต้องขยายออกไป</p><p>"ระยะยาว ผมว่าเราควรผลักดัน ‘care policy package’ ที่จัดสวัสดิการมาดูแลครอบคลุมทุกวงจรชีวิต และให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นปัจเจกบุคคลในฐานะคนทำงาน ผู้หญิงในบ้าน หรือคนที่ต้องได้รับการพึ่งพิงคือคนพิการ ผู้สูงอายุ …มันต้องมองภาพใหญ่ และขับเคลื่อนไปพร้อมๆ ก้อนเดียวกัน" กฤษฎา กล่าว </p></div>
<div class="node-taxonomy-container">
<ul class="taxonomy-terms">
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศ
http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88" hreflang="th">เศรษฐกิ
http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">แรงงา
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยช
http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94" hreflang="th">สิทธิลาคลอ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94-180-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิลาคลอด 180 วั
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%94%E0%B8%B5" hreflang="th">ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษด
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3" hreflang="th">รัฐสวัสิกา
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3" hreflang="th">สวัสดิกา
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%99" hreflang="th">สวีเด
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A2" hreflang="th">อัลเบเนี
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C" hreflang="th">ฟินแลนด
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B2-%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C" hreflang="th">กฤษฎา ธีระโกศลพงศ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B9%87%E0%B8%8D%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B8%9E%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87" hreflang="th">สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสู
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงา
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">พรรคประชาช
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%99" hreflang="th">วรรณวิภา ไม้ส
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" hreflang="th">มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังค
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไท
https://prachataistore.net</div>
http://prachatai.com/journal/2024/12/111822 







