จาก #saveขบวนเสด็จ สู่ #ต่างด้าวเหิมเกริม : 1 ปี สำรวจการขยายบทบาทของ ‘กลุ่มปกป้องสถาบันฯ’
<span>จาก #saveขบวนเสด็จ สู่ #ต่างด้าวเหิมเกริม : 1 ปี สำรวจการขยายบทบาทของ ‘กลุ่มปกป้องสถาบันฯ’</span>
<span><span>hungary budapest</span></span>
<span><time datetime="2025-04-10T20:37:14+07:00" title="Thursday, April 10, 2025 - 20:37">Thu, 2025-04-10 - 20:37</time>
</span>
<div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>ทีมข่าวการเมือง</p></div>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54444550410_633d09dc24_z.jpg" width="640" height="335" loading="lazy"><p>ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.)
ประชาภักดิ์พิทักษณ์สถาบัน (ปภส.)
อาชีวะราชภักดี
ฯลฯ</p><p>ชาวเน็ตอาจรู้จักชื่อเหล่านี้ในฐานะกลุ่มเคลื่อนไหวปกป้องสถาบันกษัตริย์ ที่มีบทบาทสำคัญในการแจ้งความดำเนินคดี ม.112 ต่อบุคคลที่พวกเขามองว่ามีพฤติกรรม ‘หมิ่นเบื้องสูง’ ไม่ว่าจะเป็น
นักการเมือง
นักกิจกรรม หรือ
บุคคลทั่วไป แม้พวกเขามักให้ความเห็นว่า
คดี ม.112 ไม่เกี่ยวกับการเมือง ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวที่กำเนิดขึ้นมาตอบโต้ ‘ม็อบราษฎร-ม็อบสามนิ้ว’ ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา</p><p>กลุ่มปกป้องสถาบันฯ บางกลุ่มยังเคยปรากฏบนหน้าข่าวจากการ
ทำร้ายร่างกายนักกิจกรรมและ
สื่ออิสระ ไปจนถึงขู่เอาชีวิตเยาวชน ปฏิบัติการ ‘เดินหน้าชน’ ของพวกเขาจึงมีทั้งระดับกระบวนการทางกฎหมาย และระดับถึงเนื้อถึงตัวในช่วงที่มีความขัดแย้งสูง</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>
ข้าฯรักเจ้า: ขวาสุดขั้วในยุคผีสามนิ้ว</li></ul></div><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54443436158_8c152030de_o.jpg" width="536" height="300" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">
โพสต์ประกาศพร้อมแจ้งความ ม.112 ทั่วประเทศ เมื่อปลายปี 2563 และ
โพสต์แสดงความร่วมมือระหว่างกลุ่มปกป้องสถาบันฯโดย ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.)</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54443582230_5daaff9f90_o.jpg" width="600" height="300" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ข่าว
สมาชิกกลุ่มอาชีวะปกป้องสถาบันยอมรับทำร้ายร่างกายสื่ออิสระ และ
ประธาน ศปปส. ขู่เอาชีวิตเยาวชน</p><h2>สถานการณ์เปลี่ยนไป กลุ่มเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง</h2><p>แม้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบต่อ ‘วิธีจัดการ’ คนเห็นต่าง แต่กลุ่มปกป้องสถาบันฯ ค่อนข้างประสบความสำเร็จในแง่ผลลัพธ์ เห็นได้จากคดีที่พวกเขาเป็นผู้กล่าวหา หลายคดีผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้รับสิทธิประกันตัว หลายคดีเป็นการฟ้องทางไกลทำให้ประสบความยากลำบากในการดำเนินการ หลายคดีน่ากังขาต่อการตีความตัวบทกฎหมายและความไม่ได้สัดส่วนของบทลงโทษ (อันเป็นประเด็นสำคัญที่มีการเรียกร้อง #ยกเลิก112 ก่อนหน้านี้) ทุกครั้งที่มีคำพิพากษาออกมาในแต่ละคดี ก็ดูจะทำให้บทสนทนาเกี่ยวกับบทบาทของสถาบันกษัตริย์ต่อการเมืองไทยหดหายลงไปเรื่อยๆ จนเหลือเพียงข้อเรียกร้องคืนสิทธิประกันตัวและผลักดันนิรโทษกรรม (แน่นอนว่ากลุ่มปกป้องสถาบันฯ ค้านสุดตัว) อย่างมากคงไปได้ไกลที่สุดแค่ #ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม</p><p>เรียกได้ว่า ‘ขบวนการสามนิ้ว’ ในสายตาของกลุ่มปกป้องสถาบันฯ กำลังอยู่ในช่วงขาลงสุดๆ</p><p>ในวันที่เสียงเรียกร้อง #ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เบาลง ความเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นในกลุ่มปกป้องสถาบันฯ เช่นกัน เช่น ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์ (ศชอ.) ที่เคยไล่ฟ้องคดี ม.112 ประกาศปิดตัวไปแล้วเมื่อปี 2566 โดยให้เหตุผลว่า
"...บัดนี้บ้านเมืองกลับเข้าสู่สภาวะปกติ ศชอ.จึงขอยุติบทบาทตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป…”</p><p>กลุ่มอาชีวะราชภักดี ปัจจุบันพวกเขาเป็นที่รู้จักในนามกลุ่ม ‘ไทยไม่ทน’ (คนละกลุ่มกับ ไทยไม่ทน สามัคคีประชาชนฯ) พุ่งเป้าชนแรงงานข้ามชาติผ่านคำขวัญ ‘Thai First’ ขณะที่ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน และกลุ่มประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบัน ยังคงใช้ชื่อกลุ่มเดิม และขยับมาเคลื่อนไหวในประเด็นอื่นๆ อย่างแข็งขัน</p><p>นอกจากการไล่ฟ้องคดีที่เป็นงานประจำ อะไรคือภารกิจของกลุ่มปกป้องสถาบันฯ ในปัจจุบัน?</p><p>หากเราดูประเด็นของพวกเขาในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา จะสามารถเห็นความเคลื่อนตัวได้ตามไทม์ไลน์ ดังนี้ </p><h2 class="text-align-center">1.
ร่วมม็อบ คปท. เรียกร้อง ‘ทักษิณ’ เข้าคุก - ต่อต้าน ‘รัฐบาลเพื่อไทย’</h2><p>เรียกได้ว่าเป็นคู่ปรับมานานกว่ายี่สิบปี ตั้งแต่ม็อบ ‘เสื้อเหลือง’ ลากยาวมาจนถึง ‘ม็อบนกหวีด’ ชื่อของ ‘ทักษิณ’ และ ‘ระบอบชินวัตร’ เป็นที่คุ้นหูบนเวทีปราศรัย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากเราจะได้เห็นภาพเหล่านี้อีกครั้งในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล พร้อมด้วยนายกฯ คนที่ 3 จาก ‘ชินวัตร’ ซึ่งมักถูกจดจำผ่านเรื่องเล่าของขั้วการเมืองฝ่ายตรงข้ามในฐานะ ‘ตระกูลการเมืองผู้ฉ้อฉล’ อันเป็นความบกพร่องของระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน ช่วงหนึ่งเคยถูกโจมตีว่าเป็น ‘นักการเมืองล้มเจ้า’ ‘รัฐบาลโกงชาติ’ แม้เป็นหนึ่งในพรรคการเมืองที่ประสบความสำเร็จในการบริหารและได้รับความนิยมมากที่สุดพรรคหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย แต่สุดท้ายก็จบลงด้วยรัฐประหาร 2 ครั้งในปี 2549 และ 2557</p><p>ปัจจุบัน <strong>ม็อบตัวตั้งตัวตีต่อสู้ทักษิณบนท้องถนน เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ 10 ม.ค. 2567</strong> เมื่อเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ร่วมกับศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) และกลุ่มนักรบเลือดสีน้ำเงินปกป้องราชบัลลังก์ แถลงข่าวร่วมกัน ประกาศชุมนุม #ต้านระบอบทักษิณ</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54440601781_77f5667683_w.jpg" width="399" height="335" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ที่มา:
ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน</p><p>การชุมนุมครั้งแรกของ คปท.-กลุ่มปกป้องสถาบันฯ กินเวลา 3 วัน (12-14 ม.ค. 2567) บริเวณสะพานชมัยมรุเชฐ ทำเนียบรัฐบาล เพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการรักษาตัวนอกเรือนจำเกิน 120 วันของทักษิณ และเรียกร้องให้นำทักษิณเข้าคุก ก่อนที่จะกลับมาปักหลักชุมนุมยาวอีกครั้งตั้งแต่ 2 ก.พ. 2567 ด้วยเหตุผลเดียวกัน ต่อมาพักการชุมนุมไปในช่วงเดือนกรกฎาคมหลังจากศาลแพ่งมีคำสั่งให้เลิกการชุมนุม แต่ผู้ชุมนุมให้เหตุผลว่าพวกเขาพักการชุมนุมเพื่อคืนพื้นที่สำหรับงานมหามงคลครบรอบ 72 พรรษาของในหลวงรัชกาลที่ 10</p><p>ระหว่างนั้น คปท.-กองทัพธรรม-กลุ่มปกป้องสถาบันฯ มีการยื่นหนังสือและจัดชุมนุมชั่วคราวอยู่เรื่อยๆ จนกระทั่งกลับมาปักหลักชุมนุมที่เดิมอีกครั้งช่วงต้นเดือนมีนาคม 2568</p><p>ตลอดกว่า 1 ปีที่เคลื่อนไหว ประเด็นของม็อบขยับขยายเพิ่มขึ้นจากเรื่อง ‘นักโทษเทวดา’ ไปเป็นการต่อต้านทั้งองคาพยพที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย เช่น</p><ul><li aria-level="1">โจมตี ‘ครม.สืบสันดาน’ ของ ‘นายกฯ ลูกเทวดาชั้น 14’ ที่มีทักษิณครอบงำการทำงาน</li><li aria-level="1">#saveเกาะกูด #หยุดMOU44</li><li aria-level="1">คัดค้านคาสิโนจากการผลักดันเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ของรัฐบาล</li><li aria-level="1">
ยื่นหนังสือถึง ป.ป.ช. ขอให้ไต่สวน เศรษฐา ทวีสิน กรณีแต่งตั้ง พิชิต ชื่นบาน นั่ง รมต.สำนักนายกฯ</li><li aria-level="1">
คัดค้านกระบวนการสรรหาประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ในช่วงที่มีข้อถกเถียงเกี่ยวกับความใกล้ชิดกับฝ่ายการเมืองของ ‘กิตติรัตน์ ณ ระนอง’</li><li aria-level="1">จับตาการกลับประเทศไทยของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และยังคงประณาม ‘จำนำข้าว’</li><li aria-level="1">ฯลฯ</li></ul><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54443610970_cff33cbaa1_c.jpg" width="800" height="342" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">โพสต์นัดหมายชุมนุมของ คปท.-กองทัพธรรม-ศปปส. ช่วงระหว่างก่อนกลับมาปักหลักชุมนุมต้นมีนาคมที่ผ่านมา</p><p>ทรงชัย เนียมหอม (โอม) ประธานกลุ่มประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบัน (ปภส.) หนึ่งในผู้ปราศรัยบนเวที คปท. ถูกทักษิณฟ้องหมิ่นประมาทจากการโพสต์รูปภาพลงบนแพลตฟอร์ม X (Twitter) ด้วยเหตุว่ารูปดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนไม่เชื่อว่าทักษิณป่วยจริง ทรงชัยเดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามนัดหมายของพนักงานสอบสวนแล้วเมื่อ 22 ม.ค. 68 โดยมี นิพิฏฐ์ อิทรสมบัติ อดีต สส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ เป็นทนายความ</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54443239406_35a6618b49_c.jpg" width="800" height="400" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">
‘ทรงชัย เนียมหอม’ กลุ่มประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบัน (ปภส.) ขึ้นเวที คปท. ปราศรัยเรื่องทักษิณและ
วิดีโอไลฟ์ขณะทรงชัยเดินทางเข้ารับทราบคำฟ้อง กรณีหมิ่นประมาททักษิณ</p><p>ปัจจุบันประเด็นที่มีศักยภาพในการระดมมวลชนมากที่สุด น่าจะเป็นเรื่องการต่อต้านเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ที่มีเสียงตอบรับจากประชาชนหลายกลุ่ม และมีการตั้งขบวนเดินเท้ามายังอาคารรัฐสภาในวันที่
9 เม.ย. 2568 ที่ผ่านมา แม้นายกฯ แถลงก่อนหน้าแล้วว่าถอนร่างกฎหมายนี้ไปแล้ว</p><p>การผสานความร่วมมือระหว่างอดีตพันธมิตรเสื้อเหลืองจะประสบความสำเร็จแค่ไหนในการยุติอำนาจของศัตรูเก่า พวกเขายังมีพลังแค่ไหนในสังคม และท้ายที่สุดการเคลื่อนไหวเหล่านี้จะนำไปสู่อะไร คงต้องติดตามกันต่อไป</p><h2 class="text-align-center">2.
#saveขบวนเสด็จ - ‘เก็บตะวัน’ - ทำร้ายสื่ออิสระ</h2><p>4 กุมภาพันธ์ 2567 ‘ตะวัน-แฟรงค์’ นักกิจกรรมอิสระ บีบแตรรถยนต์และมีปากเสียงกับเจ้าหน้าที่ตำรวจบนทางด่วนบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพราะถูกสกัดรถขณะขบวนเสด็จของกรมสมเด็จพระเทพฯ แล่นผ่าน</p><p>เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความไม่พอใจมหาศาลต่อสังคมที่เข้าใจว่าเป็นการป่วนขบวนเสด็จ จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ 'รวมพลังหัวใจสีม่วง' แสดงความจงรักภักดีแด่กรมสมเด็จพระเทพฯ จากทั้ง
หน่วยงานรัฐ
คนดัง และ
ประชาชนทั่วไป ตลอดช่วงเดือนกุมภาพันธ์</p><p>กลุ่มปกป้องสถาบันฯ นำโดย ศปปส.-กลุ่มนักรบเลือดสีน้ำเงินฯ ยื่นถอนประกันตะวันโดยอ้างว่าอาจเข้าข่ายผิดเงื่อนไข และยื่นหนังสือติติง พล.ต.อ. ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร.ในขณะนั้น ว่าบกพร่องในการถวายอารักขาขบวนเสด็จฯ และเรียกร้องให้รับผิดชอบ</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54443444309_b5c37b44ab_c.jpg" width="799" height="381" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ศปปส. ยื่นถอนประกันตะวันที่ศาลอาญา รัชดา 7 ก.พ. 2567</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54440601756_68d00d1eeb_z.jpg" width="640" height="288" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">
ศปปส.-กลุ่มนักรบเลือดสีน้ำเงินฯ ยื่นหนังสือติติง พล.ต.อ. ต่อศักดิ์ สุขวิมล 9 ก.พ. 2567 | ที่มา: ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน</p><p>10 ก.พ. 67 ตะวันและเพื่อนนัดหมายทำโพลสำรวจความเห็นต่อขบวนเสด็จฯ ที่ BTS สยาม ระหว่างตะวันแถลงขอโทษพฤติกรรมขับรถเร็วในวันเกิดเหตุอยู่นั้น มีคนตะโกนด่าและพยายามเข้าถึงตัว จากนั้น วสัน ทองมณโฑ กลุ่มนักรบเลือดสีน้ำเงินฯ ตบหัวหนึ่งในผู้ร่วมกิจกรรม แต่ถูกฟาดกลับด้วยดิ้วที่อีกฝ่ายพกมา จึงวิวาทชุลมุน บาดเจ็บทั้งสองฝ่าย ตะวันถูกหนึ่งในกลุ่มปกป้องสถาบันฯ ชกที่ใกล้หูซ้าย และถูกวสันกระชากหัว</p><p>แม้ตำรวจระงับเหตุแล้ว แต่หลังจากนั้น อานนท์ กลิ่นแก้ว ประธาน ศปปส. และพวก กระโดดข้ามแผงกั้นเข้าไปทำร้าย ‘ขุนแผน-ลุงดร’ สองสื่อพลเมืองที่ไลฟ์สดในที่เกิดเหตุ จนได้รับบาดเจ็บและทรัพย์สินเสียหาย</p><p>อ่านและรับชมคลิปประมวลเหตุการณ์ #BTSสยาม10กุมภา67 ได้ที่:
https://prachatai.com/journal/2024/02/108012</p><p> </p><p class="text-align-center">
“เขาคุกคามขบวนเสด็จ มันไม่ควรมันก็ต้องเจอสังคมแบบนี้เหมือนกันปะทะก็คือปะทะ บอกแล้ววันนี้ปะทะ”</p><p class="text-align-center">
— อัครพล ไกรศรีสมบัติ (เต้ อาชีวะ) กลุ่มอาชีวะราชภักดี ให้สัมภาษณ์สื่อหลังเหตุชุลมุน</p><p class="text-align-center"> </p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54443531184_dbc6af9e55_b.jpg" width="1023" height="312" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ที่มาภาพ: ไข่แมวชีส</p><p>ช่วงเวลาหนึ่งทุ่มครึ่งของวันเดียวกันนั้น สมาชิกกลุ่ม ศปปส. โพสต์รูปภาพ เกี่ยวกับชุดปฏิบัติการพิเศษ “ดับแสงตะวัน” วันต่อมา เฟซบุ๊ก
ศปปส. โพสต์แถลงเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว ต่อมาในวันที่ 12 ก.พ. 67 บนเวทีปราศรัยของ คปท. ‘กฤษณ์พงศ์ เกียรติศักดิ์ (อาจารย์กบ บลูสกาย)’ ยังได้ให้กำลังใจ ศปปส.-เต้ อาชีวะ-กลุ่มนักรบฯ ด้วยการร้องเพลง ‘เก็บตะวัน’ ในเวอร์ชันเรียบเรียงเนื้อร้องใหม่ของ ‘P.khondee ( พี่คนดี กวีสมัครเล่น)’ เนื้อร้องมีว่า</p><p> </p><p class="text-align-center">
“เก็บตะวัน ที่คอย ป่วนฟ้าจับมันมา ติดคุก ทันใดถอดประกัน จับมันเข้าคุก เสียใหม่อย่าปล่อยไว้ ให้เกิน เจ็ดวันเก็บตัวนาย ประกัน ด้วยเลยบวกพวกเคย ผลักหลัง ช่างดัน<strong>ก่อนเจอดี และมีชีวิต แสนสั้น</strong><strong>โดนไทยนั้น รุมกระทืบตาย</strong>แซงขบวน ป่วนอารักขา บ้าบิ่นหนักแผ่นดิน และหมิ่นฟากฟ้ายามตะแบง ตะวันนั้นแฝงแรงบ้าสั่งให้ฟ้า ทำตามหากตะวัน ยังฟัง “พ่อฟ้า”โชคชะตา คงคุดเร็วไวใครอยากมีพรุ่งนี้ ให้เดินเริ่มใหม่หยุดโดนใช้ ดังเช่นตะวัน”</p><p class="text-align-center"> </p><p>บทเพลงนี้ถูกทำเป็นคลิปสั้นเผยแพร่โดยผู้สนับสุนน คปท.-กลุ่มปกป้องสถาบันฯ หลายคอมเมนต์สนับสนุนให้มีการทำร้ายร่างกาย-ไล่ออกจากแผ่นดินไทย เช่น</p><p>“คนประเภทนี้อย่าเก็บไว้ให้หนักแผ่นดินไทยเลย”
“ฝากตบอีเด็กเวรเผื่อด้วยครับ”
“เก็บอีตะวัน เลยคะ..อีเด็กเวร”
ฯลฯ</p><p>ในที่สุด
‘ตะวัน-แฟรงค์’ ถูกควบคุมตัวที่ศาลอาญา รัชดา เมื่อ 13 ก.พ. 67 ด้วยคดี ม.116 ยุยงปลุกปั่นฯ - พ.ร.บ.คอมฯ และ
อัยการส่งฟ้องในวันที่ 1 เม.ย. 67 ทั้งสองอดอาหารประท้วงกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ถูกจับกุม กว่าจะได้ประกันตัวก็ล่วงเข้าไปถึงวันที่ 28 พ.ค. 67 เป็นเวลานานกว่าสองเดือน</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54443318451_7c6656cf39_z.jpg" width="640" height="317" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">
ปฏิบัติการ “ดับแสงตะวัน” และ
บทเพลง ‘เก็บตะวัน’ บนเวที คปท.</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54442467392_e1c6a1ef23_c.jpg" width="799" height="295" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">
คอมเมนต์จากโพสต์วิดีโอสั้น เพลง ‘เก็บตะวัน’ บนเวที คปท.</p><h2 class="text-align-center">3.
คัดค้านนิรโทษกรรม 112 - ต่างประเทศและองค์สิทธิฯ หยุดแทรกแซง</h2><p>ในเรื่องนิรโทษกรรม ไม่ต้องสงสัยว่าทุกกลุ่มในขบวนนี้มีจุดยืนคัดค้านสุดตัว ทว่าสิ่งที่น่าบันทึกไว้คือคำอธิบายซึ่งพอจะจำแนกได้หลักๆ 2 แนวทาง </p><p>แนวทางแรก คือ คำอธิบายคลาสสิก ว่า ม.112 ไม่ใช่คดีการเมืองอันเกิดจากการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง แต่เป็นปัญหาความมั่นคงที่บ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์</p><p>แนวทางที่สอง คือ คำอธิบายเพิ่มเติมในเชิงศีลธรรม หลายครั้งจะเห็นการพูดถึงการคัดค้านนิรโทษกรรม 112 รวมอยู่กับคดีทุจริตคอร์รัปชั่นและคดีอาญาร้ายแรง</p><p class="text-align-center">
#ไม่นิรโทษม112#ไม่นิรโทษคนโกงคนทุจริต#ไม่นิรโทษฆ่าคนตาย</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54443326461_3dfa2d9844_z.jpg" width="640" height="269" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ที่มา:
ประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบัน และ
ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน</p><p>รูปแบบของการรณรงค์มีทั้งการยื่นหนังสือ
การติดสติ๊กเกอร์ และกิจกรรมออนไลน์ เช่น หลังจาก
กลุ่มทะลุฟ้ายื่นหนังสือถึง กมธ.นิรโทษกรรม เมื่อ 16 พ.ค. 67 ให้รวมคดี 112 เป็นคดีการเมืองเพื่อนิรโทษกรรม มีการยื่นหนังสือตอบโต้โดยกลุ่มปกป้องสถาบันฯ อย่างน้อย 2 ครั้ง</p><ul><li aria-level="1">ครั้งแรก 17 พ.ค. 67
ศปปส. ยื่นหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร คัดค้านนิรโทษฯ และขอให้ตรวจสอบจริยธรรมของ ‘รังสิมันต์ โรม’ ในฐานะประธาน กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ (และเป็น สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกลในขณะนั้น) ว่ามีพฤติกรรมหวังล้างผิดให้คดี 112</li><li aria-level="1">ครั้งที่สอง 23 พ.ค. 67 ศปปส.-ปภส.-อาชีวะราชภักดี ในนาม
‘ภาคีราชภักดี’ ร่วมกันยื่นหนังสือถึง กมธ.นิรโทษกรรม โดย อัครวุธ (เต้ อาชีวะ) ให้สัมภาษณ์สื่อว่าตนเห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดีการเมือง ‘เสื้อเหลือง-เสื้อแดง’ แต่ไม่เห็นด้วยกับการรวมคดี 112</li></ul><p>ทางฝั่งออนไลน์ เพจเฟซบุ๊กประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบัน เชิญชวนให้ประชาชนโหวตไม่เห็นด้วยต่อร่าง
พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เวอร์ชั่นรวมคดี ม.112 ที่เสนอโดยภาคประชาชน ในเว็บไซต์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเปิดให้ประชาชนโหวตระหว่าง 13 พ.ค. - 12 มิ.ย. 67 ผลปรากฏไม่เห็นด้วยถึง 64.66% จากผู้ร่วมโหวต 90,503 คน</p><p>โดยในช่วง 00.27 น. ของวันที่ 13 มิ.ย. 67 เพจเฟซบุ๊ก ปภส. โพสต์รายละเอียดดังกล่าวพร้อมภาพประกอบบรรยาย ‘Vote for change kill three hoofs โหวตเพื่อเปลี่ยน “ฆ่า” สามกีบ’</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54440974175_6ae357dc50_w.jpg" width="400" height="400" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ที่มา:
ประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบัน</p><p>นอกจากที่เกี่ยวกับการค้านนิรโทษกรรม 112 โดยตรง กลุ่มปกป้องสถาบันฯ ยังได้ยื่นหนังสือคัดค้านข้อเสนอขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ เช่น
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย และ
ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิฯ ของ UN ที่ขอให้ยุติการดำเนินคดีของ ‘ทนายอานนท์’ และคดีหมิ่นประมาทกษัตริย์อีกด้วย</p><p>รวมถึง ‘ภาคีกลุ่มราชภักดี’ ซึ่งประกอบไปด้วย ศปปส.-ปภส.-อาชีวะราชภักดี และเครือข่าย ที่เข้าพบข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
(OHCHR) เมื่อ 29 ม.ค. 2567 เพื่อชี้แจงและตอบโต้การเข้าพบ OHCHR ของ
เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชนที่ยื่นหนังสือถึง UN ไปก่อนหน้านั้น ให้หนุนรัฐบาลเศรษฐาไฟเขียวร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมรวมคดี ม.112 ภายในปี 2567 โดยข้อเรียกร้องของภาคีราชภักดีคือ ขอให้
สหประชาชาติเป็นกลาง ไม่แทรกแซง และเคารพกฎหมายไทย</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54443705560_bcd8bb6066_z.jpg" width="640" height="386" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ที่มา: ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54442480217_dec6984302_c.jpg" width="800" height="389" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ที่มา: ประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบัน</p><p>อีกหนึ่งการเรียกร้องต่างชาติหยุดแทรกแซงกิจการภายในประเทศไทย คือการยื่นหนังสือถึงสถานทูตสหรัฐฯ ของ ศปปส. เมื่อ 9 ส.ค. 67 หลังจากสถานทูตฯ ออกแถลงการณ์แสดงความกังวลต่อคำตัดสินศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคก้าวไกลและตัดสิทธิทางการเมืองของแกนนำพรรค 11 คน เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 67 โดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญระบุถึงพฤติการณ์ของผู้ถูกร้องว่าการเสนอแก้ ม.112 เป็นการลดทอนคุณค่าของสถาบันฯ มีเจตนาเซาะกร่อนบ่อนทำลาย นำไปสู่การล้มล้างการปกครอง สอดคล้องกับคำอธิบายของกลุ่มปกป้องสถาบันฯ ที่มักอธิบายว่า ม.112 เป็นคดีความมั่นคง</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54439746022_1edcb6473b_w.jpg" width="375" height="400" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ที่มา:
ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน</p><h2 class="text-align-center">4.
เสนอร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์</h2><p>แม้ไม่มีพื้นที่บนหน้าข่าวมากนัก แต่นับว่าเป็นมูฟเมนต์ที่สะท้อนเจตจำนงของกลุ่มปกป้องสถาบันฯ ที่ตรงไปตรงมาที่สุด โดยเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 67 ภาคีราชภักดี นำโดย</p><ol><li aria-level="1">ทรงชัย เนียมหอม ประธานกลุ่มประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบัน (โอม ปภส.)</li><li aria-level="1">อัครวุธ ไกรศรีสมบัตร ประธานกลุ่มอาชีวะราชภักดี (เต้ อาชีวะ)</li><li aria-level="1">อร่ามศักดิ์ บุตรจู ผู้ก่อตั้งและแอดมินเพจรู้ทันโลกออนไลน์</li><li aria-level="1">อานนท์ กลิ่นแก้ว ประธานศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (สิงห์ดำ ศปปส.)</li></ol><p>ยื่นเสนอร่าง
“พระราชบัญญัติคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ พ.ศ. ……. ” ต่อ ‘วัน นอร์’ ประธานสภาฯ ใจความสำคัญเพื่อเพิ่มความคุ้มครองสถาบันฯ เท้าความว่าปวงชนชาวไทยมีความรักความผูกพันต่อพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีตลอดมาทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จนกระทั่งมีการประท้วงช่วงปี 2563 ที่ผู้เสนอร่างเห็นว่ากลุ่มผู้ประท้วงทั่วประเทศเหิมเกริมก้าวล่วง ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายต่อราชวงศ์ จึงต้องตรา พ.ร.บ. ฉบับนี้ขึ้นมาเพื่อไม่ให้สังคมแตกแยก</p><p>สรุปใจความสำคัญของร่าง พ.ร.บ. ได้ว่า</p><ul><li aria-level="1">ให้นิยาม ‘สถาบันพระมหากษัตริย์’ ว่าหมายถึงพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1-10 และลำดับถัดไป รวมถึงพระราชินีในราชวงศ์จักรีและพระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นยศเจ้าฟ้าไล่ลงไปจนถึงพระองค์เจ้า</li><li aria-level="1">ผู้กระทำการดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายสถาบันฯ (ตามนิยามด้านบน) หรือใครก็ตามที่กระทำการเพื่อจุดประสงค์ลดโทษ-ยกเลิกมาตรา 112 ถือว่าเป็น “กบฏ” มีโทษจำคุก 10 ปี แต่ไม่เกิน 30 ปี ถ้าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือนักการเมืองต้องได้รับโทษหนักขึ้น 2 และ 4 เท่า ตามลำดับ</li><li aria-level="1">หากถูกแจ้งความและพบว่าเข้าข่ายเป็นกบฏ จะไม่มีสิทธิ์ได้รับการประกันตัวทุกกรณี จนกว่าจะมีคำสั่งศาลถึงที่สุดแล้วว่าไม่มีความผิด และศาลมีคำสั่งปล่อยตัวแล้วจึงถือว่าสิ้นสุด</li><li aria-level="1">ห้าม NGO ต่างประเทศ หรือที่รับเงินจากต่างประเทศ แทรกแซงกิจการภายในไทยทุกกรณี โดยเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสถาบันฯ หากฝ่าฝืน อนุญาตให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐทำลายสำนักงานและขับไล่ออกจากประเทศได้ ไม่ผิดกฎหมาย</li></ul><p>อย่างไรก็ตาม สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้มีหนังสือปัดตกร่างแจ้งมายังประธานกลุ่มประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบัน ลงวันที่ 1 ส.ค. 67 โดยระบุว่าเป็นการตรากฎหมายที่มีผลกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นการเลือกปฏิบัติ ละเมิดสิทธิผู้อื่น</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54440601636_7db4f1372b_w.jpg" width="400" height="400" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ที่มา:
ประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบัน</p><h2 class="text-align-center">5.
#ไทยไม่ทน ชน #ต่างด้าวเหิมเกริม</h2><p>เรื่องราวของแรงงานข้ามชาติอยู่ในสังคมไทยมาช้านาน ท่ามกลางความคิดเห็นหลากหลายของชาวไทยที่มีทั้งเข้าใจความจำเป็นและเห็นความสำคัญของแรงงานข้ามชาติต่อระบบเศรษฐกิจ และที่เห็นว่าเป็นปัญหาในการแบกรับภาระต่างๆ หลายครั้งหลายครายังหยิบความคับแค้นใจทางประวัติศาสตร์ของเรื่องเล่า ‘พม่าเผากรุงศรี’ ขึ้นมาใช้ด้วย</p><p>การแบ่งขั้วทางความคิดรุนแรงมากขึ้นภายหลังรัฐประหารพม่าเมื่อปี 2564 สถานการณ์สงครามในบ้านเกิดทำให้ผู้อพยพจากประเทศเพื่อนบ้านทะลักเข้ามาในไทย พรรคการเมืองที่มีข้อเสนอช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและสิทธิประโยชน์ทางสังคมจึงมักถูกโจมตีจากกลุ่มคนที่หวาดระแวงแรงงานข้ามชาติ โดยเริ่มเกิดกระแสแฮชแท็ก #พรรคประชาชนพม่า เพื่อใช้โจมตี
พรรคประชาชน ที่อภิปรายถึงแรงงานข้ามชาติว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ หรือแม้แต่รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย ซึ่งผลักดันการ
ให้สัญชาติประชาชนเกือบ 5 แสนรายที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมานานและส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ก็มิวายถูกประณามว่า ‘ขายชาติ’ และถูกต่อต้านจากกลุ่มปกป้องสถาบันฯ ว่าเป็นการ ‘ยกสัญชาติไทยให้ต่างด้าวเหมาเข่ง’</p><p>เมื่อเป็นประเด็นร้อนกระตุกต่อมชาตินิยม มีหรือที่กลุ่มปกป้องสถาบันฯ จะไม่ออกมาเคลื่อนไหว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ชื่อกลุ่ม ‘ไทยไม่ทน’ ที่นำโดย อัครพล หรือ เต้ อาชีวะ ประธานกลุ่มอาชีวะราชภักดี ที่เริ่มต้นเคลื่อนไหวอย่างเป็นทางการร่วมกับแนวร่วมปกป้องสถาบันฯ เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 67 หน้ากระทรวงมหาดไทย เพื่อยื่นหนังสือไม่เห็นด้วยต่อการให้สัญชาติประชาชนข้างต้น</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54443537794_d58e262b60_z.jpg" width="640" height="358" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ที่มา:
secretnewsagency และ
ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน</p><p>หลังจากนั้น ปฏิบัติการเดินหน้าชนของแนวร่วมไทยไม่ทนขยายออกไปสู่การรวมกลุ่มไปตรวจสอบพื้นที่ต่างๆ และแจ้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหากพบความผิด ไม่ว่าจะเป็นกรณีจ้างแรงงานผิดกฎหมาย
ทำอาชีพสงวน ไปจนถึงช่วยเหลือ
แรงงานข้ามชาติถูกกฎหมายที่ถูกโกงเงิน หรือบางครั้ง
ลงพื้นที่จับกุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฯลฯ มีผู้สนับสนุนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะมองว่าเป็นการรักษาผลประโยชน์ของชาติ</p><p>แนวร่วมไทยไม่ทนมักกล่าวว่า พุ่งเป้าจัดการเฉพาะคนที่ ‘ทำผิดกฎหมาย’ ใครไม่ผิดก็ไม่ต้องกลัว ทว่า หากแกะรอยการเคลื่อนไหวและคำอธิบายที่ใช้รณรงค์มาตั้งแต่ต้น จะพบว่ากลุ่มปกป้องสถาบันฯ ยังคงมีท่าทีเลือกปฏิบัติและใช้วาทกรรมเหมารวมสร้างความเกลียดชังแรงงานข้ามชาติบ่อยครั้ง</p><p>ย้อนกลับไปเมื่อเดือนกันยายน 2567 หลังจาก สส.ธิษะณา พรรคประชาชน อภิปรายเรื่องสิทธิแรงงานข้ามชาติไปไม่นาน เต้ อาชีวะ ซึ่งขณะนั้นเคลื่อนไหวในนามอาชีวะราชภักดี ร่วมกับ ปภส. เข้ายื่นหนังสือกระทรวงต่างประเทศเมื่อ 17 ก.ย. 67 เรียกร้องให้ออก พ.ร.บ.คุมกำเนิดต่างด้าว 3 สัญชาติ ห้ามตั้งท้องหรือคลอดบุตรในไทย หากรู้ว่าตั้งท้องให้ส่งกลับประเทศต้นทางจนกว่าจะคลอดบุตรแล้วจึงกลับมาทำงานได้ การยื่นหนังสือครั้งนี้เป็นข่าวบนช่องยูทูป
TOP NEWS LIVE มียอดรับชมกว่า 1.24 แสนครั้ง และปรากฏความคิดเห็นจำนวนมากสนับสนุน</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54439745982_bab4945397_w.jpg" width="400" height="400" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ที่มา:
Secretnewsagency</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54440974290_e11178013c.jpg" width="499" height="375" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">คอมเมนต์ในคลิปข่าวของ TOP NEWS LIFE</p><p>นอกจากนี้ แนวร่วม
ไทยไม่ทนนัดหมายชุมนุมหน้าสำนักงานสหประชาชาติ ในวันที่ 1 ก.พ. 68 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 4 ปีรัฐประหารพม่า พร้อมแฮชแท็ก #ต่างด้าวเหิมเกริม บรรยายว่า “ต่างด้าวไม่มีสิทธิ์มาชุมนุม” โดยระบุว่ากลุ่มแรงงานข้ามชาติที่จะมาจัดชุมนุมเป็นพวกที่เคยจัดชุมนุมถือป้ายเรียกร้องยกเลิก ม.112 และ ม.116</p><p>แต่ก่อนถึงวันนัดหมาย ปรากฏว่า กลุ่มแรงงานข้ามชาติ Bright Future นำโดย วีระ แสงทอง ได้ชิงเข้ายื่นหนังสือถึง OHCHR ก่อน 1 วัน (30 ม.ค. 68) เรียกร้องให้ UN คว่ำบาตรการเลือกตั้งทั่วไปในพม่าที่อาจมีขึ้นในปีนี้ และแบนบริษัทที่ขายอาวุธให้กองทัพพม่า</p><p>เมื่อถึงวันนัดหมายจึงมีเพียง
ไทยไม่ทนเท่านั้นที่ไปชุมนุมหน้า UN โดย อานนท์ กลิ่นแก้ว ประธาน ศปปส. ให้สัมภาษณ์สื่อโดยกล่าวว่า วีระ(แกนนำกลุ่ม Bight Future) เป็น ‘พม่ารามัญ’ ไม่มีสิทธิ์จัดชุมนุมทางการเมืองในไทย ซึ่งเป็นการกีดกันเสรีภาพด้วยเหตุผลเรื่องชาติพันธุ์ ทั้งที่การชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองโดยสงบเป็นสิทธิพื้นฐานตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ที่ไทยเป็นภาคี</p><p class="text-align-center"> </p><p class="text-align-center">
“พวกเราก็จะมารอไอ้วีระ แสงทอง ถ้ามันไม่มาก็ไม่เป็นไรนะครับเราจะประกาศให้มันรู้ไปเลยว่า ไอ้พวกพม่ารามัญเนี่ยมึงจะมาเคลื่อนไหวเกี่ยวกับทางการเมืองไม่ได้อันนี้ประเทศไทย ไม่ใช่ประเทศพม่า”</p><p class="text-align-center">
- อานนท์ กลิ่นแก้ว, ประธาน ศปป







