[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 กรกฎาคม 2568 21:48:39 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ทำไมคนงาน 'ยานภัณฑ์' เสนอใช้งบกลางสำรองจ่ายค่าชดเชย ?  (อ่าน 103 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 27 เมษายน 2568 00:43:53 »

ทำไมคนงาน 'ยานภัณฑ์' เสนอใช้งบกลางสำรองจ่ายค่าชดเชย ?
 


<span>ทำไมคนงาน 'ยานภัณฑ์' เสนอใช้งบกลางสำรองจ่ายค่าชดเชย ? </span>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2025-04-24T15:19:00+07:00" title="Thursday, April 24, 2025 - 15:19">Thu, 2025-04-24 - 15:19</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>รายงาน: ณัฐพล เมฆโสภณ&nbsp;</p><p>ภาพปก: กิตติยา อรอินทร์&nbsp;</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ตั้งแต่ 11 มี.ค. 2568 คนที่สัญจรผ่านไปผ่านมาบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล คงเห็นกลุ่มแรงงานบริษัทยานภัณฑ์ ปักหลักชุมนุมตรงข้ามทำเนียบฯ เพื่อมาเรียกร้องให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเบิกงบกลางสำรองจ่ายค่าชดเชย มูลค่าราว 466 ล้านบาท ให้กับแรงงานที่ถูกลอยแพ 4 บริษัท ได้แก่ บอดี้แฟชั่น, เอเอ็มซี สปินนิ่ง, แอลฟ่า สปินนิ่ง, และยานภัณฑ์</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://prachatai.com/sites/default/files/styles/super_cover_upload/public/files-super-cover-upload/2025/2025-04/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C.jpg.webp?itok=YadV3XtL" width="1400" height="700" loading="lazy">จุดปักหลักประท้วงของคนงานยานภัณฑ์</p><p>หลังจากปักหลักมานานกว่า 1 เดือนดูเหมือนจะมีความคืบหน้า เพราะมีรายงานว่าสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) จะชงเรื่องเข้าที่ประชุม ครม. 29 เม.ย.นี้ แต่คนงานก็ยังต้องจับตาดูกันว่าจะเอาเรื่องเข้าที่ประชุมจริงหรือไม่ อย่างไร</p><p>อีกส่วนที่คู่ขนานไปกับการเรียกร้องของคนงาน คือคอมเมนต์โลกออนไลน์ที่ยังสงสัยว่า ทำไมต้องให้รัฐบาลใช้งบกลางสำรองจ่ายค่าชดเชยไปก่อน แทนที่คนงานจะไปไล่บี้กับนายจ้างให้นำเงินมาจ่ายค่าชดเชย</p><p>เรื่องนี้คนงานยานภัณฑ์ มองว่าการใช้ขั้นตอนตามกฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายเงินใช้เวลานานมาก สะท้อนผ่านกรณีบริษัทบอดี้แฟชั่น ที่ลอยแพคนงานตั้งแต่ปี 2562 แต่ผ่านมา 6 ปี คนงานเกือบพันรายก็ยังไม่ได้เงินชดเชย ดังนั้น ทางคนงานเลยอยากให้รัฐบาลสำรองจ่ายค่าชดเชยก่อนผ่านการใช้งบกลาง แต่ไม่ได้เป็นการให้เปล่า เพราะจะแลกกับทรัพย์สินของนายจ้าง 4 บริษัท หากรัฐบาลเอาทรัพย์สินขายทอดตลาดได้ ก็สามารถเอาเงินกลับเข้ามาในคงคลังภายหลัง&nbsp;</p><p>ส่วนข้อเสนอระยะยาว คนงานยานภัณฑ์และนักสิทธิแรงงานหวังว่า กระทรวงแรงงานจะพิจารณาจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยง ซึ่งอาจจะเป็นคีย์แมนในการป้องกันการเลิกจ้างลอยแพคนงานในอนาคต หยุดวิบากกรรมของคนงานที่ต้องมาตามค่าชดเชย</p><h2>จุดเริ่มต้นของปัญหาโรงงานยานภัณฑ์</h2><p>บริษัท ยานภัณฑ์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2495 โรงงานอยู่ที่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ประกอบกิจการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เช่น ครัช เบรก และอื่นๆ และเป็นซัปพลายเออร์ให้กับบริษัทรถยนต์ชื่อดังอย่าง อีซูซุ โตโยต้า เป็นต้น</p><p>บริษัท ยานภัณฑ์ จำกัด ได้ปิดกิจการอย่างกะทันหันเมื่อ 26 พ.ย. 2567 เนื่องจากเหตุผลด้านเศรษฐกิจขาดสภาพคล่อง ส่งผลให้คนงาน 859 คนตกงานโดยยังไม่ได้รับเงินค่าชดเชย ราว 250 ล้านบาท&nbsp;</p><p>เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา เมื่อ 29 พ.ย. 2567 มีการประชุมร่วมกันระหว่างกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ ตัวแทนสหภาพแรงงาน และผู้บริหารบริษัทยานภัณฑ์ โดยมี สส.พรรคประชาชนร่วมสังเกตการณ์ การประชุมดังกล่าวได้มีข้อตกลงว่านายจ้างจะแบ่งจ่ายค่าชดเชยออกเป็น 3 งวด ดังนี้</p><ul><li aria-level="1">งวดที่ 1 : วันที่ 20 ธ.ค. 2567 แบ่งจ่าย 70%</li><li aria-level="1">งวดที่ 2 : วันที่ 27 ธ.ค. 2567 แบ่งจ่าย 20%</li><li aria-level="1">งวดที่ 3 : วันที่ 27 ม.ค. 2568 แบ่งจ่าย 10%</li></ul><p>เรื่องราวดูเป็นไปด้วยดีจนกระทั่งเมื่อ 20 ธ.ค. 2567 คนงานยานภัณฑ์ก็รอให้เงินเข้าบัญชีของตัวเอง แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่มีการจ่ายเงินเกิดขึ้น คนงานจึงปักหลักประท้วงหน้าโรงงานยานภัณฑ์ เพราะกลัวว่านายจ้างจะมาขนเครื่องจักรหรือทรัพย์สินออกจากโรงงาน และต้องการกดดันให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยโดยเร็ว นอกจากนี้ พวกเขายังได้เดินทางมาเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือ&nbsp;ร่วมกับ บริษัท แอลฟ่า สปินนิ่ง เอเอ็มซี สปินนิ่ง และบอดี้แฟชั่น&nbsp;</p><p>ทั้งนี้ บริษัท แอลฟ่า สปินนิ่ง จำกัด <a href="https://www.dataforthai.com/company/0745557005599/" jsname="UWckNb" data-ved="2ahUKEwjF-4jYt_CMAxVXS2cHHaZNL6oQFnoECA4QAQ" ping="/url?sa=t&amp;source=web&amp;rct=j&amp;opi=89978449&amp;url=https://www.dataforthai.com/company/0745557005599/&amp;ved=2ahUKEwjF-4jYt_CMAxVXS2cHHaZNL6oQFnoECA4QAQ">บริษัท เอเอ็มซี สปินนิ่ง จำกัhttps://prachatai.com/sites/default/files/styles/super_cover_upload/public/files-super-cover-upload/2024/2024-12/54226026143_4a8e8c1300_b.jpg.webp?itok=cn4-3uoo" width="1400" height="700" loading="lazy">บรรยากาศการชุมนุมหน้าโรงงานยานภัณฑ์ เมื่อ 24 ธ.ค. 2567 (ภาพโดย เซีย จำปาทอง)</p><p>ข้อเรียกร้องของคนงาน 4 บริษัทต่อรัฐบาล คือ 1. ให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณรายจ่ายกลางสำรองจ่ายให้กับคนงาน 4 บริษัท รวม 466 ล้านบาท และ 2. การอนุมัติงบประมาณรายจ่ายกลางไม่ได้เป็นการให้เปล่า เพราะเมื่อมีการอนุมัติงบกลางมาสำรองจ่ายให้คนงานแล้ว ทรัพย์สินของนายจ้างทั้ง 4 บริษัทที่กรมบังคับคดียึดไว้ ก็จะตกเป็นของรัฐบาล และเมื่อกรมบังคับคดีสามารถขายทรัพย์สินของนายจ้างได้แล้ว เงินส่วนนี้จะได้คืนเข้าสู่คงคลังเหมือนเดิม ไม่ได้เป็นการให้ฟรี หรือหากกรณีที่นายจ้างเกิดเปลี่ยนใจยอมไกล่เกลี่ยโดยการจ่ายเงิน รัฐบาลก็นำเงินที่นายจ้างจ่ายตรงส่วนนี้กลับเข้าคงคลังได้เช่นกัน&nbsp;</p><p>ธนพร วิจันทร์ สมาชิกเครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน ที่ช่วยเหลือแรงงานที่ถูกลอยแพจากบอดี้แฟชั่น เอเอ็มซี สปินนิ่ง และแอลฟ่า สปินนิ่ง ตั้งแต่ปี 2566 อธิบายว่า เริ่มแรกเกิดจากทางคนงานยานภัณฑ์ติดต่อมาขอความช่วยเหลือ เลยมีการรวมเคสทั้ง 4 บริษัท เนื่องจากทั้งหมดประสบปัญหาแบบเดียวกันคือถูกเลิกจ้างไม่ได้รับค่าชดเชย และการรวมตัวกันจะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มอำนาจต่อรองและเรียกร้องความช่วยเหลือกับทั้งนายจ้างเอกชนและรัฐบาล&nbsp;</p><p>อย่างไรก็ตาม ช่วงระหว่าง 2 เดือนที่ผ่านมา คนงานเดินทางมาเรียกร้องที่ทำเนียบรัฐบาลเป็นระยะ แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าเรื่องการช่วยเหลือ จนเมื่อ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา มีการประชุมระหว่างสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการฝ่ายการเมืองของนายกฯ แพทองธาร ชินวัตร, สมพาศ นิลพันธ์ รองปลัดสำนักนายกฯ, คนงานยานภัณฑ์ และเครือข่ายแรงงาน ได้อัปเดตความคืบหน้าการช่วยเหลือคนงาน 4 บริษัทว่าเรื่องยังอยู่กับทาง สลค. และกำลังขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8 หน่วยงาน แต่ยังไม่สามารถตอบได้ว่าเรื่องจะเข้าที่ประชุม ครม.เมื่อไร</p><p>ความไม่ชัดเจนที่เกิดขึ้นทำให้คนงานตัดสินใจยกระดับการชุมนุม โดยปักหลักบริเวณพื้นที่ตึกสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล และ 12 มี.ค. มีตัวแทนคนงานรวม 6 คนอาสาอดอาหารประท้วง จนกว่าข้อเรียกร้องจะสัมฤทธิ์ผล</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54393366825_9dbd1b4ba5_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">คนงานยานภัณฑ์ที่ร่วมอดอาหารประท้วง</p><p>หลังคนงานยานภัณฑ์ เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน และ สส.เซีย จำปาทอง จากพรรคประชาชน ร่วมกันติดตามหน่วยงานต่างๆ ให้เร่งรัดส่งความเห็นกลับมาที่ สลค.โดยเร็ว จนเมื่อ 8 เม.ย. 2568 มีข่าวดีในช่วงก่อนสงกรานต์ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง สภาพัฒน์ฯ คณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงบประมาณ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ทำความเห็นกลับมาที่ สลค.แล้ว ที่เหลือก็คือรอเอาเรื่องเข้าที่ประชุม ครม. คนงานทั้ง 6 คนจึงยุติการอดออาหารประท้วง หลังอดอาหารมาเกือบ 1 เดือน</p><div class="note-box"><p>อนึ่ง มาลี เตวิชา ประธานสหภาพชิ้นส่วนยานยนต์กรุ๊ป และคนงานที่อาสาอดอาหารประท้วง อัปเดตเมื่อ 22 เม.ย. 2568 ระบุว่า สำหรับตัวเธอเองที่อดอาหารประท้วงมาแล้ว 28 วัน สภาพร่างกายยังอยู่ในระหว่างการฟื้นฟู ส่วนคนที่เหลืออีก 5 คน ตอนนี้เริ่มกลับมาทานอาหารได้บ้างแล้ว</p></div><p>&nbsp;</p><p>ปัจจุบัน มีรายงานว่าเรื่องอนุมัติงบกลางอาจจะได้เข้าที่ประชุม ครม. 29 เม.ย.นี้ เหลือแค่ สลค.ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมจากกระทรวงแรงงานว่าจะมีมาตรการป้องกันการลอยแพในระยะยาวอย่างไร เพื่อไม่ให้ปัญหาเดิมเกิดขึ้นซ้ำซาก ซึ่งกระทรวงแรงงานเผยว่าเรื่องนี้ได้วางมาตรการไว้แล้ว โดยจะไปแก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงาน เพื่อตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงขึ้นมา&nbsp;</p><p>ทั้งนี้ กระบวนการช่วยเหลือของกระทรวงแรงงาน และสำนักงานประกันสังคม เบื้องต้น เมื่อ 24 ก.พ. 2568 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้มอบเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ให้กับคนงานบริษัทยานภัณฑ์ 859 คน จำนวน 6,940,560 บาท และสำนักงานประกันสังคมได้จ่ายเงินสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน และกรณีอื่นๆ ให้แก่ลูกจ้างยานภัณฑ์ จำนวน 32,056,017.74 บาท รวมทั้งหมด 38,996,577.74 บาท โดยลูกจ้างจะได้รับเงินประมาณคนละ 70,000 บาท อย่างไรก็ตาม ถ้าคนงานยานภัณฑ์ได้เงินชดเชยจากนายจ้าง เงินสงเคราะห์ที่ได้รับจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างก็ต้องคืนให้กองทุนฯ</p><h2>บังคับนายจ้างจ่ายชดเชยใช้เวลานานเกินทน</h2><p>จากการพูดคุยกับคนงานยานภัณฑ์ทำให้ทราบว่า เหตุผลที่พวกเขาอยากให้รัฐบาลยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ เนื่องจากพวกเขามองว่าการเรียกร้องบังคับให้นายจ้างจ่ายเงินตามกระบวนการทางกฎหมายใช้เวลานานมาก แต่ว่าค่าใช้จ่าย และค่าครองชีพมันยังเดินอยู่ตลอดชนิดไม่มีวันหยุด ดังนั้นจึงเป็นที่มาของเสนอให้รัฐบาลอนุมัติงบกลางสำรองจ่ายให้แรงงานก่อน</p><p>หนึ่งในกรณีที่ต้องเรียกร้องเงินค่าชดเชยมาอย่างยาวนานคือ คนงานของบริษัท บอดี้แฟชั่น&nbsp;(ประเทศไทย) จำกัด&nbsp;ซึ่งเป็นบริษัทประกอบกิจการอุตสาหกรรมสิ่งทอ-ตัดเย็บชุดชั้นในให้หลายแบรนด์ เช่น ‘วิกตอเรียซีเคร็ต’ ‘ไทรอัมป์’ ‘ฮูเบอร์’ เป็นต้น โดยโรงงานมีการทยอยเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตั้งแต่ปี 29 ต.ค. 2562 จนถึง 4 ธ.ค. 2563</p><ul><li aria-level="1">มีผู้เสียหายจำนวนประมาณ 945 คนยังไม่ได้รับเงินชดเชยและเงินอื่นๆ ประมาณ 200 ล้านบาท (ไม่รวมดอกเบี้ย) แรงงานส่วนใหญ่ถูกค้างค่าชดเชยอยู่ที่ประมาณ 1-2 แสนบาท</li><li aria-level="1">แรงงานจำนวน 333 คนที่ถูกเลิกจ้างเมื่อ 29 ต.ค. 2562 ได้รับเงินชดเชยเลิกจ้างแล้ว แต่ยังไม่ได้รับค่าดอกเบี้ยจำนวนกว่า 33 ล้านบาท</li></ul><p>ในปี 2564 ศาลแรงงานมีคำพิพากษาให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างทั้งหมด แต่ผู้บริหารบริษัทชาวต่างชาติ อลัน อึ้ง ม่าน เหลียง ไม่เคยปฏิบัติตามคำสั่งศาล&nbsp;(มีรายงานว่าเจ้าตัวหนีออกนอกประเทศตั้งแต่ปี 2562 และจนปัจจุบันยังไม่เคยกลับมารับผิดชอบ) คนงานจึงขอให้กรมบังคับคดีสืบทรัพย์สินของนายจ้าง เพื่อยึดทรัพย์สินและนำมาขายทอดตลาด แล้วจะเอาเงินส่วนนี้มาจ่ายให้แรงงานและเจ้าหนี้ แต่ปัญหาก็คือแม้ว่าจะมีการประกาศขายทรัพย์สินนายจ้างอยู่เป็นระยะตั้งแต่ปี 2564 จนถึงล่าสุด 10 เม.ย.ที่ผ่านมา ก็ไม่สามารถหาคนมาซื้อได้เลย&nbsp;</p><p>ดังนั้น หากนับระยะเวลาตั้งแต่ปี 2562 จนถึงตอนนี้ (ปี 2568) รวมเกือบ 6 ปีที่คนงานบอดี้แฟชั่นยังไม่ได้รับค่าชดเชยจากนายจ้าง ได้รับเพียงเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง กระทรวงแรงงานเท่านั้น และกรณีนี้เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้คนงานยานภัณฑ์ ออกมาเรียกร้องกับรัฐบาล</p><h2>เงินชดเชยยังไม่จ่าย ค่าครองชีพไม่มีวันหยุด</h2><p>มาลี เตวิชา ประธานสหภาพแรงงานชิ้นส่วนยานยนต์กรุ๊ป และตัวแทนแรงงานยานภัณฑ์ที่อาสาอดอาหารประท้วงถึง 28 วัน เผยว่า การเลิกจ้างอย่างกะทันหันทำให้แรงงานหลายคนไม่ทันตั้งตัว พวกเขาไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าเล่าเรียนของลูก ค่าน้ำ-ไฟ ค่ารักษาพยาบาล หรือมีกรณีที่คนเครียดจนคิดจบชีวิตก็มี แต่จริงๆ ก็พยายามจบชีวิตแล้ว แต่ญาติมาห้ามได้ทัน</p><p>ปีใหม่ รัฐวงษา คนงานจาก 'บอดี้แฟชั่น' ที่ยังถูกค้างค่าชดเชยเลิกจ้าง กล่าวเช่นกันว่า ผลกระทบที่เกิดกับคนงานหนักมาก เพราะบางคนเขาไม่คิดว่าตัวเองจะต้องตกงานกะทันหัน ทำให้ไม่ได้เตรียมตัวเก็บเงินเอาไว้ บางคนผ่อนบ้านใกล้หมดแล้ว กลายเป็นไม่มีเงินจ่าย บ้านก็ต้องถูกยึด รถก็ถูกยึด ค่าเล่าเรียนลูกไม่มีเงินจ่าย บางคนเพื่อความอยู่รอด ก็ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมา เพื่อประทังชีวิต หรือเป็นทุนประกอบอาชีพ</p><p>"ผลกระทบส่วนตัวพี่ไม่เยอะเท่าไร เพราะพี่ก็ยังอาศัยสามีพี่ที่ยังทำงานอยู่ พี่ก็ยังสามารถใช้ชีวิตได้ดีกว่าเพื่อน แต่การใช้ชีวิตต้องประหยัดอดออมมากขึ้น เพราะว่าเรามีรายได้ทางเดียวคือทางสามี" ปีใหม่ กล่าว</p><p>ทั้งนี้ คนงานส่วนใหญ่ที่ยานภัณฑ์ และบอดี้แฟชั่น อายุตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไป เมื่อถูกเลิกจ้าง ก็จะหางานใหม่ค่อนข้างยาก ไม่มีใครอยากรับคนงานที่อายุมากขนาดนี้ คนงานก็หวังว่าถ้าได้เงินชดเชยมาแล้ว ก็จะไปเริ่มต้นซื้ออุปกรณ์ทำงาน ทำธุรกิจส่วนตัว ทำไร่ทำนาที่บ้าน ดูแลพ่อแม่ หรือรับจ้างอื่นๆ ที่พอทำได้</p><p>กรรณิการ์ สนาท ชาวจันทบุรี อายุ 40 ปี คนงานยานภัณฑ์ที่ออกมาอดอาหารประท้วง เธอและแฟนถูกโรงงานยานภัณฑ์เลิกจ้างโดยไม่ได้เงินชดเชยพร้อมกัน ก็เล่าว่าถ้าได้รับเงินชดเชยแล้ว จะกลับไปเปิดร้านขายของช่วยแม่ที่บ้านเกิด</p><p>'นุ' (สงวนชื่อ-นามสกุล) ชาวนครพนม คนงานฝ่ายผลิตของยานภัณฑ์ อายุ 47 ปี เล่าให้ฟังว่าตอนที่ถูกเลิกจ้างไม่ได้เงินค่าชดเชย เขากลับมานอนร้องไห้ ไม่กล้าบอกทางบ้าน เพราะว่ากลัวอาการป่วยของผู้ใหญ่ที่บ้านจะทรุดลง เขาเล่าให้ฟังด้วยว่า ถ้าได้รับเงินค่าชดเชย ก็จะแบ่งไปจ่ายผ่อนรถและบ้าน ส่วนที่เหลือจะนำไปเริ่มต้นทำงานใหม่อีกครั้ง</p><h2>กองทุนประกันความเสี่ยง มาตรการกันการลอยแพ (?)</h2><p>ปัญหาเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยดูไม่ได้เป็นปัญหาที่ใหม่ แต่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในช่วงที่ผ่านมา&nbsp;สมพาศ นิลพันธ์ รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวระหว่างประชุมกับคนงานยานภัณฑ์ว่า เมื่อ 11 มี.ค.ที่ผ่านมาว่า กระทรวงแรงงานได้ทำเรื่องขอเบิกงบกลางจำนวน 2 ก้อน แบ่งดังนี้</p><ul><li aria-level="1">จำนวน 466 ล้านบาท เพื่อนำมาสำรองจ่ายให้กับคนงานที่ถูกลอยแพ 4 บริษัท และ</li><li aria-level="1">จำนวน 2,888 ล้านบาท&nbsp;เพื่อเติมเงินในกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง (ปัจจุบันมีงบฯ เหลือเพียง 135 ล้านบาทเท่านั้น)&nbsp;ช่วยเหลือคนงานที่ถูกลอยแพ ตั้งแต่ปี 2562-2567 โดยมีผู้เสียหายจำนวน 43,690 คนทั่วประเทศ</li></ul><p>ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้ฝั่งนักสิทธิแรงงานเสนอให้กระทรวงแรงงานตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงการเลิกจ้าง เพื่อป้องกันไม่ให้มีการลอยแพคนงานอีกในอนาคต</p><p>เซีย จำปาทอง สส.พรรคประชาชน และผู้ที่ติดตามประเด็นปัญหาคนงานถูกลอยแพมาอย่างต่อเนื่อง อธิบายว่า กองทุนประกันความเสี่ยงฯ คือกองทุนที่ในช่วงระหว่างที่นายจ้างยังดำเนินธุรกิจอยู่ ก็ให้นายจ้างแบ่งเงินมาจ่ายเข้าไปที่กองทุน หากธุรกิจไม่มีปัญหาก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเกิดมีปัญหาต้องเลิกจ้างพนักงาน ก็สามารถเอาเงินที่จ่ายเข้ากองทุนฯ มาให้ลูกจ้างเป็นค่าชดเชยได้</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54393594557_5c14332b79_b.jpg" width="1024" height="578" loading="lazy">เซีย จำปาทอง</p><p>ปีใหม่ มองว่าเป็นเรื่องดีถ้ามีการตั้งกองทุนฯ ได้จริง มันช่วยแรงงานรุ่นหลังได้ต่อไป แม้ว่ามันจะไม่ได้ย้อนมาให้ประโยชน์พวกเธอก็ตาม</p><p>ขณะที่ธนพร เผยว่า จากการฟังความเห็นคนส่วนใหญ่ก็ดูเห็นด้วยกับการตั้งกองทุนใหม่ แต่อาจจะเจอแรงต้านจากฝั่งนายจ้าง เนื่องจากพวกเขามองว่าทำไมต้องเอาเงินไปนอนในกองทุนเฉยๆ ประกอบกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเคยนำข้อมูลมาชี้แจงว่า นายจ้างที่ลอยแพคนงานมีจำนวนน้อยกว่านายจ้างที่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย พวกเขาจึงมองว่าภาครัฐควรบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาดกับนายจ้างเหล่านี้แทนการตั้งกองทุน</p><p>นอกจากข้อเสนอข้างต้น สส.เซีย ได้เสนอแก้ไขกฎหมายอื่นๆ เพื่อรองรับปัญหา เช่น ระหว่างที่นายจ้างปิดกิจการไม่จ่ายค่าชดเชย ต้องมีเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ เพราะมีบางรายออกนอกประเทศแล้วไม่กลับมาอีกเลยก็มี รวมถึงการดำเนินคดีและการยึดทรัพย์นายจ้างต้องเร็วขึ้น</p><p>มาลี ฝากทิ้งท้ายว่าเธออยากฝากไปยังทุกรัฐบาล ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาล ให้ช่วยแก้ไขปัญหาแรงงานให้ดีกว่านี้ และบังคับใช้กฎหมายกับนายจ้างอย่างเด็ดขาด เพื่อที่ว่าเมื่อเลิกจ้างเขาจะได้เงินค่าชดเชยทันที เพื่อที่คนงานคนอื่นๆ จะได้ไม่ต้องมานั่งประท้วงเหมือนพวกเธอ&nbsp;</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">แรงงาhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C" hreflang="th">ยานภัณฑhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99" hreflang="th">บอดี้แฟชั่http://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B5-%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2" hreflang="th">มาลี เตวิชhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A9%E0%B8%B2" hreflang="th">ปีใหม่ รัฐวงษhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2-%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">เซีย จำปาทอhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">พรรคประชาชhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C" hreflang="th">ธนพร วิจันทรhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B8%8B%E0%B8%B5-%E0%B8%AA%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87" hreflang="th">เอเอ็มซี สปินนิ่http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%AA%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87" hreflang="th">แอลฟ่า สปินนิ่http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9E" hreflang="th">เลิกจ้างลอยแhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87" hreflang="th">กองทุนประกันความเสี่ยhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิแรงงาhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2025/04/112707
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.281 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 22 มิถุนายน 2568 11:06:13