[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 กรกฎาคม 2568 09:59:10 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เขือง อาหารสมุนไพร…ที่หายไป?  (อ่าน 50 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 13
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2640


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 28 มิถุนายน 2568 10:46:27 »



เขือง อาหารสมุนไพร…ที่หายไป?

สมุนไพร 2 ชนิด ที่มีความต้องการสูงในวงการยาไทย เพราะใช้ปรุงผสมในตำรับยาไทยนับร้อยตำรับ คือ ข้าวเย็นเหนือ และข้าวเย็นใต้

มารู้จักสมุนไพรที่อยู่ในวงศ์ข้าวเย็นเหนือ (Smilacaceae) กันก่อน แยกได้ 2 สกุล คือ Heterosmilax และ Smilax โดยเฉพาะสกุล Smilax มีการใช้ในตำรับยาไทยมากมาย ในรายงานของสวนพฤกษศาสตร์หลวง เมืองคิว พบว่าสมุนไพรที่อยู่ในสกุล Smilax ทั่วโลกมีมากถึง 264 ชนิด และในรายงานของหอพรรณไม้ให้ข้อมูลว่าพบในประเทศไทยจำนวน 26 ชนิด ซึ่งชนิดที่มีการนำมาใช้บ่อยในตำรายาไทยคือ ข้าวเย็นเหนือ (Smilax corbularia Kunth) และข้าวเย็นใต้ (Smilax glabra Roxb.)

แต่ท่านใดที่ศึกษาข้อมูลสมุนไพรในถิ่นอีสาน จะพบว่าชื่อพืชที่คนอีสานเรียก ข้าวเย็นใต้ จะหมายถึงพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Premna herbacea Roxb. มีชื่อในภาษาไทยกลางว่า “ฆ้อนกระแต” เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์กะเพรา (Lamiaceae) ไม่ใช่พืชวงศ์ข้าวเย็นเหนือ (Smilacaceae)

สำหรับสมุนไพรข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้พืชในสกุล Smilax นั้น ในเมืองไทยยังมีอีก 2 ชนิดที่มีความสำคัญกับการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่นมาก คือ เขียงน้อย หรือที่คนอีสานเรียกว่า “เขือง” แต่ชื่อราชการเรียกว่า “ย่านทด” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Smilax luzonensis C.Presl และอีกชนิด คือ กำลังควายถึก หรือคนอีสานเรียกว่า เขืองใหญ่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Smilax perfoliata Lour.

เขียงน้อย หรือ เขือง (Smilax luzonensis C.Presl) มีการกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ได้แก่ เขืองน้อย (ภาคอีสาน) เขียง (ภาคตะวันออก) ตาก หาด ย่านหาด ย่านทด ฟ้าแลบ (ภาคใต้) มีลักษณะเป็นต้นไม้เถาเนื้อแข็ง เถามีหนามแหลม เลื้อยพันไม้อื่น ยาวได้ถึง 5 เมตร ลำต้นกลมหรือเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย มีหนามกระจายห่างๆ มีมือพันยาว ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี ออกดอกเป็นช่อแบบซี่ร่มตามซอกใบ 1-3 ช่อ ดอกแยกเพศต่างต้น ดอกสีเขียวหรือสีเขียวอ่อน เกสรสีขาว ออกผลเป็นพวง ประมาณ 10-20 ผลต่อ 1 พวง สีเขียวอ่อน ตอนสุกจะมีสีดำ ออกดอกในราวเดือนกุมภาพันธื-สิงหาคม เราสามารถพบเห็นเขืองทอดเลื้อยหรือพาดตามต้นไม้อื่นตามทุ่งหญ้าหรือพื้นที่เปิดโล่ง และป่าเต็งรังทั่วทุกภาค ประเทศเพื่อนบ้านก็พบการกระจายในอินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

ตำรับอาหารของคนใต้นิยมนำยอดและใบอ่อน มากินสดๆ เป็นผักเหนาะ ใส่ในแกงเลียง แต่ก็แปลกที่คนภาคใต้กินแล้วจะบอกรสชาติเขืองว่ามีรสจืดปนฝาด แต่เมื่อคนภาคอีสานกินกลับบอกว่ามีรสเปรี้ยวปนขมนิดๆ จึงชอบนำยอดหรือใบอ่อนมากินคู่กับลาบ ป่น น้ำพริกต่างๆ และนิยมใส่แกง ใส่อ่อม รวมถึงนำมาผัดปรุงในเมนูอาหารป่าต่างๆ ด้วย

สรรพคุณทางยานำมาใช้ลักษณะเดียวกับต้นกำลังความถึก ใช้แก้ไตพิการ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ถอนพิษสำแดง แก้เกี่ยวกับเตโชธาตุ ใช้บำรุงกำลัง และเวลานี้มีการนำมาใช้ลดน้ำตาลในเลือดด้วย สำหรับหมอพื้นบ้านในจังหวัดสุรินทร์มีการนำมาใช้บำรุงร่างกายแม่ลูกอ่อน วิธีทำใช้เหง้าล้างให้สะอาดนำมาต้มเอาน้ำมาดื่มหลังคลอด

ในมาเลเซียใช้เหง้าต้มดื่มเป็นยาบำรุงเพศ ในการศึกษาวิจัยพบว่าเขืองมีสารต้านอนุมูลอิสระ และมีฤทธิ์ระงับการเจริญของเซลล์มะเร็งในห้องปฏิบัติการได้ดีในระดับหนึ่ง

เขืองใหญ่ (Smilax perfoliata Lour.) มีชื่อทางราชการว่า กำลังควายถึก ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ก้ามกุ้ง (เลย อุตรดิถต์) กำลังควายถึก (นครศรีธรรมราช ยะลา) เขืองแดง เขืองสยาม (ภาคกลาง) เขืองปล้องสั้น (นครราชสีมา) เขืองใหญ่ (ภาคอีสาน) เครือเดา เดาน้ำ (ภาคเหนือ) สะเดา (เชียงใหม่) พบตามป่าดิบ บนพื้นที่ระดับน้ำทะเลจนถึงสูงประมาณ 1,500 เมตร กระจายพันธุ์ใน จีน เนปาล ไต้หวัน อินเดีย พม่า และภูมิภาคอินโดจีน เป็นไม้เถา เถากลมหรือเป็นเหลี่ยมมนเกลี้ยง หรือมีหนามโค้งประปราย ใบเดี่ยว รูปรี ปลายแหลม ก้านใบตอนโคนแผ่ออกเป็นกาบ โคนกาบรูปหัวใจเว้าลึกโอบรอบลำต้น มีมือพัน ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น เป็นช่อกระจะรวมที่มีช่อย่อยๆ ก้านช่อดอกแข็ง ช่อซี่ร่ม ดอกเพศผู้เมื่อดอกบานกลีบโค้งลง เกสรเพศผู้ 6 อัน ดอกเพศเมียกลีบรวมรูปไข่ เมื่อดอกบานกลีบกางตรง ก้านเกสรเพศเมียสั้น ผลเนื้อนุ่ม รูปกลม เมล็ดสีแดงเข้ม รูปไข่กลับเกือบกลม

ในปี พ.ศ.2557 มีรายงานว่าคนพื้นเมืองในอินเดียใช้ลำต้นทำเป็นแปรงสีฟัน ช่วยเสริมสร้างเหงือกให้แข็งแรง หน่ออ่อนนำมาใช้ทำแกงและมีประโยชน์ในการฟอกเลือด รากและลำต้นใช้ป้องกันมะเร็ง แก้บิด และรักษาอาการปัสสาวะขัด เขืองใหญ่ยังใช้กินเป็นอาหารพื้นเมืองที่แพร่หลายมากในกลุ่มชนเหลายเผ่าของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และพบการศึกษาวิจัยว่าสารสกัดจากเขืองใหญ่มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์และต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงมีรายงานว่าสารสกัดเขืองใหญ่ด้วยน้ำช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและลดไขมันในเลือดได้ดีด้วย

อ่านถึงบรรทัดนี้ ใครที่คิดว่าจะหาซื้อเขืองน้อยและเขืองใหญ่ในท้องตลาด ก็ขอแสดงความเสียใจด้วย แม้แต่ในตลาดบ้านๆ ตามชุมชนท้องถิ่นก็ยังหาไม่ได้ เพราะชาวบ้านที่รู้จักส่วนใหญ่จะหาเก็บมากินกันเองในครัวเรือน และจำนวนประชากรสมุนไพรทั้ง 2 ชนิดนี้มีจำนวนลดลงอย่างมากในธรรมชาติ มาชวนปลูกขยายพันธุ์ให้เพิ่มขึ้น

เขือง รสอาหารและรสยา ที่กำลังหายไป… คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นอาหารเพื่อสุขภาพและป้องกันโรคต่างๆ ได้ดี •



ที่มา มติชนสุดสัปดาห์

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.288 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้