[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 กรกฎาคม 2568 14:58:05 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา(1)  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - รวมวาทะแกนนำ 'รวมพลังแผ่นดินฯ' สรุปเอาหรือไม่เอารัฐประหาร (?)  (อ่าน 23 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 12 ชั่วโมงที่แล้ว »

รวมวาทะแกนนำ 'รวมพลังแผ่นดินฯ' สรุปเอาหรือไม่เอารัฐประหาร (?)
 


<span>รวมวาทะแกนนำ 'รวมพลังแผ่นดินฯ'&nbsp;สรุปเอาหรือไม่เอารัฐประหาร (?)</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>รายงาน: ทีมข่าวการเมือง&nbsp;</p></div>
      <span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2025-06-30T14:28:47+07:00" title="Monday, June 30, 2025 - 14:28">Mon, 2025-06-30 - 14:28</time>
</span>

            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>28 มิ.ย.ที่ผ่านมา ถือเป็นการชุมนุมที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) กองทัพธรรม และศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) ออกมาต่อต้านรัฐบาลพรรคเพื่อไทยและทักษิณ ชินวัตร ตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว (2566)&nbsp; โดยเป็นการไหลรวมของแม่น้ำทุกสายแห่งการต่อต้าน ชนวนสำคัญไม่พ้นเรื่องมีคลิปสนทนาส่วนตัวระหว่าง แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กับ ฮุนเซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา</p><p>สำนักงานตำรวจนครบาล ประเมินว่าในวันนั้นอาจมีผู้ชุมนุมมากกว่า 2 หมื่นคน ส่วนพิชิต ไชยมงคล แกนนำ คปท. ถึงกับออกปากว่า สามารถลบคำสบประมาทว่าการชุมนุมไม่มีวันจุดติด</p><div class="note-box"><p>อนึ่ง คปท.เริ่มออกมาประท้วงรัฐบาลระลอกใหม่ ตั้งแต่ราวเดือน ส.ค. 2566 จากกรณีที่กรมราชทัณฑ์นำตัวทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกมาคุมขังและรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ ชั้น 14 เนื่องจากมีอาการป่วย</p></div><p>นอกจากผู้ชุมนุมที่ออกมารวมตัวกันมากมาย อีกสิ่งหนึ่งที่หลายฝ่ายกำลังจับตามองก็คือ การชุมนุมของกลุ่มรวมพลังแผ่นดินปกป้องอธิปไตย ซึ่งเป็นการรวมตัวของแกนนำหลายฝ่ายนี้ มีโอกาสเป็น ‘สารตั้งต้น’ ที่นำไปสู่การทำรัฐประหาร กลับเข้าสู่วงจรความชอกช้ำทางการเมืองของประเทศไทยอีกครั้งหรือไม่</p><p>ประชาไทรวบรวมคำปราศรัยของแกนนำกลุ่มรวมพลังแผ่นดินฯ ที่มีเนื้อหากล่าวถึงทางออกรูปธรรมทางการเมือง มุมมองในเรื่องการทำรัฐประหารว่าเป็นอย่างไรกันแน่ และรวบรวมความเห็นจากหลายพรรคการเมืองต่อการชุมนุมนี้ว่าทำไมจึงมีความกังวลเรื่องการทำรัฐประหาร</p><h2>ไม่เอารัฐประหาร เพราะไม่แก้ปัญหา</h2><p>เมื่อ 28 มิ.ย. 2568 ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ การชุมนุมของรวมพลังแผ่นดินปกป้องอธิปไตย ได้ชู 3 ข้อเรียกร้องหลัก คือ 1. แพทองธาร ลาออก 2. พรรคร่วมถอนตัวจากรัฐบาล และ 3. ขอให้ประชาชนสลายสีเสื้อปกป้องอธิปไตย ยืนเคียงข้างทหาร แม้ว่าภายหลังจตุพร พรหมพันธ์ุ อดีตแกนนำ นปช. ที่วันนี้หันมาขับไล่รัฐบาลแพทองธาร เผยว่าเรื่อง 2 ข้อเรียกร้องแรกถูกปฏิเสธไปแล้ว เหลือแค่ข้อเรียกร้องเดียวคือ "ปกป้องอธิปไตยไทย"&nbsp;</p><p>แม้ข้อเรียกร้องจะไม่มีการพูดถึงทางออกอย่างการรัฐประหารโดยตรง แต่แกนนำที่ขึ้นปราศรัยได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง</p><p>รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งใน 40 แกนนำที่ร่วมปราศรัย เธอยืนยันว่าไม่เห็นด้วยกับการทำรัฐประหาร โดยให้เหตุผลว่าการทำรัฐประหารเมื่อ 2 ครั้งล่าสุดก็ไม่ได้ฉีก MOU2543 (บันทึกความเข้าใจร่วมในการปักปันเขตแดนทางบก) และ MOU2544 (บันทึกความเข้าใจร่วมอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน)&nbsp;ซึ่งเธอมองว่า MOU เหล่านี้เป็นตัวการยกทรัพย์สินของประเทศไทยให้กัมพูชา นอกจากนี้ยังเชื่อว่ากัมพูชา และฮุนเซน อาจมีแผนโละตระกูล ‘ชินวัตร’ ออกจากการเมือง และอยากได้ผู้นำแบบเบ็ดเสร็จมาเจรจาแบ่งผลประโยชน์ในอ่าวไทย&nbsp;</p><p>“ฮุนเซน อาจจะต้องการรัฐบาลเบ็ดเสร็จมาเพื่อเจรจาผลประโยชน์บนอ่าวไทยอีกหรือเปล่า ถ้ามีรัฐบาลไหนมาพูดถึงเรื่องการแบ่งปันทรัพย์สมบัติของเราในอ่าวไทย ให้ถือว่าทรยศต่อชาติ" รสนา กล่าว</p><h2>ไม่ยุ รปห. แต่เปิดทาง 'มาตรา 5' ปัดฝุ่นใหม่ หมายถึงเลือกตั้ง</h2><p>เจษฎ์ โทณะวณิก นักกฎหมายสายอนุรักษนิยม และแกนนำรวมพลังแผ่นดินฯ ระบุถึงข้อเสนอของเขาว่าให้มีการเลือกตั้งใหม่โดยใช้มาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ได้เป็นการเรียกให้มาทำรัฐประหาร หรือนายกฯ แบบอื่นๆ&nbsp;</p><p>เจษฎ์ อ้างว่า สมมติว่าศาลรัฐธรรมนูญถอดถอนแพทองธาร ออกจากตำแหน่งนายกฯ ด้วยประเด็นคลิปเสียงคุยฮุนเซน ประชาชนต้องกดดันให้ยุบสภาฯ หรือถ้าไม่มีการยุบสภาฯ ก็ต้องลุ้นให้ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องจาก&nbsp;ป.ป.ช. ในมาตรา 144 ของรัฐธรรมนูญ (ตัดงบประมาณรายจ่ายสถาบันการเงินของรัฐ 3.5 หมื่นล้าน แล้วนำมาทำโครงการแจกเงินหมื่น) ถ้ากรณีที่ ป.ป.ช.เห็นว่ามีมูล และส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ อาจมีผลทำให้คณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณหายทั้งหมด ครม. สส. และ สว. ฝั่งรัฐบาลหายไป เหลือแต่พรรคประชาชน ถ้าพรรคประชาชนลาออก ก็ไปใช้มาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญ</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>ทำความเข้าใจรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 โดย iLaw</li></ul></div><p>&nbsp;</p><p>"ผมไม่ได้เรียกร้องปฏิวัติรัฐประหาร ผมไม่ได้เรียกให้มีนายกฯ ในลักษณะอื่น …ประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันทรงมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ว่านี้เราเปลี่ยนผ่านโดยการเลือกตั้ง" เจษฎ์ ชี้แจง แต่ก็กล่าวเตือนว่า หากกลับไปเลือกตั้งและประชาชนยังใช้อำนาจเลือกนักการเมืองแบบเดิม ก็จะนำไปสู่การได้ผู้นำที่ไม่มีคุณสมบัติ และต้องกลับมาชุมนุมใหม่</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/584/20082068504_7b034d7ef4_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">เจษฎ์ โทณะวนิก (แฟ้มภาพเมื่อปี 2558)</p><p>อนึ่ง รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 5 ระบุว่า&nbsp;“รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทําใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทํานั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้</p><p>"เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทําการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"</p><p>ในอดีตที่การเมืองไทยยังบังคับใช้รัฐธรรมนูญ ปี 2540 และปี 2550 ข้อบัญญัตินี้จะถูกระบุไว้ในมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ&nbsp;</p><p>เมื่อปี 2549 วิษณุ เครืองาม รองนายกฯ เคยให้สัมภาษณ์ว่า เจตนารมณ์ของมาตรานี้มีขึ้นมาเพื่ออุดช่องว่างกรณีที่ผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญลืมคิดถึงเหตุการณ์บางอย่างไป จึงได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญจะได้ไม่เกิดทางตัน แต่ถ้ามีมาตราต่างๆ อยู่แล้วก็ไม่ใช่จะหยิบมาตรา 7 ขึ้นมา เพราะมาตรา 7 ไม่สามารถทดแทนทุกมาตราในรัฐธรรมนูญได้</p><p>อย่างไรก็ดี หากย้อนดูประวัติศาสตร์ระยะใกล้ จะพบว่ามาตรานี้เคยถูกตีความและนำมาใช้อย่างหลากหลาย เริ่มจากเมื่อสมัยรัฐบาลไทยรักไทย ของทักษิณ ชินวัตร ในปี 2549 เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง สว.กทม.ในเวลานั้น เปิดเผยว่า "จะมี สว.อิสระ จำนวนหนึ่งเตรียมทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอรัฐบาลพระราชทานตามมาตรา 7 เพื่อเข้ามาแก้ไขรัฐธรรมนูญและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นการผ่าทางตันในขณะนี้ เพราะ พ.ต.ท. ทักษิณ หมดความชอบธรรมแล้ว"</p><p>หลังจากมีการจุดประเด็นนี้ขึ้นมา ต่อมา กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อย่างอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เรียกร้องให้ใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 7 เพื่อเรียกร้องให้มีนายกฯ คนกลาง พระราชทาน หลังจากทักษิณ ลาออกจากนายกฯ&nbsp;</p><p>ในช่วงปี 2556-2557 สมัยการชุมนุมโดยกลุ่ม กปปส. นำโดยสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้นำข้อเสนอการใช้มาตรา 7 มาปัดฝุ่นใหม่ โดยใช้เปิดทางให้มีการตั้งสภาประชาชน หลังจากยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยุบสภาฯ เพื่อที่จะนำมาสู่การปฏิรูปด้านต่างๆ ก่อนการเลือกตั้ง</p><p>ภาพจากประวัติศาสตร์ระยะสั้นทำให้เกิดข้อสงสัยว่าการเสนอใช้มาตรา 5 รัฐธรรมนูญ 2560 (หรือในช่วงปี 2540 และ 2550 คือมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ) เพื่อเปิดทางให้เกิดการเลือกตั้ง และไม่ได้เปิดทางให้มีนายกฯ พระราชทาน หรือรูปแบบอื่นๆ คำถามคือ แนวทางนี้จะเป็นไปได้จริงเพียงใด</p><h2>'2 ไม่เอา' ยุคใหม่ ไม่เอาเลือกตั้ง-ไม่เอารัฐประหาร</h2><p>นิติธร ล้ำเหลือ หรือที่หลายคนเรียกชื่อเล่นว่า ‘ทนายนกเขา’ แกนนำรวมพลังแผ่นดินฯ และแกนนำคณะหลอมรวมประชาชน กล่าวว่า เขาคิดว่าทั้งการเลือกตั้งและการทำรัฐประหาร ไม่เคยแก้ไขปัญหาการเมืองไทยได้ ทำแค่ปล้นอำนาจของชาวไทยเท่านั้น</p><p>"พี่น้องลองคิดดู เลือกตั้ง รัฐประหาร หรือรูปแบบอื่นใด ล้วนมีค่าเป็นการติดลบทั้งสิ้น แก้ปัญหาประเทศชาติไม่เคยได้ เลือกตั้งไม่เคยแก้ได้ รัฐประหารก็แก้ไม่เคยได้เหมือนกัน ไม่มีใครแก้ได้ พวกมึงเก่งปล้นอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย" นิติธร กล่าว</p><p>นิติธร ระบุปัญหาการเมืองในมุมมองของเขา คือ การรวมหัวกันระหว่างฝ่ายการเมือง และฝ่ายทุนผูกขาดเหนือตลาดเหนือรัฐ เอาระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอาณานิคม ยึดหมดตั้งแต่สถาบันการเงิน พลังงาน การเกษตร การสื่อสาร คมนาคม หรืออื่นๆ ขณะที่ประชาชนไม่มีสิทธิในการควบคุมอะไรเลย ราคาพลังงาน สินค้าบริโภคแพงขึ้น ซึ่งปัญหานี้นักการเมืองและการทำรัฐประหารไม่เคยแก้ไขได้ ประชาชนเป็นเพียงแค่เครื่องมือไต่เต้าขึ้นสู่อำนาจและถูกหลอกลวง</p><p>นอกจากนี้ ทนายนกเขา กล่าวถึงปัญหาทางการเมืองอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้นักการเมืองผิดกฎหมายเข้ามาในสภาฯ นักการเมืองบ้านใหญ่ตามภูมิภาคต่างๆ และการคอร์รัปชันการเลือกตั้ง และเน้นย้ำความเร่งด่วนให้ประชาชนต้องออกมาปกป้องประเทศภายใต้ภาวะสถานการณ์โลกผันผวน ก่อนที่ประเทศจะเข้าสู่ภาวะล้มเหลว</p><p>ทนายนกเขาไม่ได้อธิบายว่าจะแก้ไขปัญหาการเมืองอย่างไร เพียงแต่อยากให้คนออกมาร่วมหารือการแก้ไขต้นตอปัญหาทางการเมืองอีกคำรบหนึ่งเท่านั้น&nbsp;</p><h2>ชงใช้องค์กรอิสระ นิติสงคราม&nbsp;</h2><p>สมชาย แสวงการ อดีต สว.ปราศรัยไม่ได้พูดเรื่องการทำรัฐประหารโดยทหาร แต่สนับสนุนใช้กลไกศาลรัฐธรรมนูญ ในฐานะองค์กรอิสระ ในการดำเนินการ เพราะวันที่ 1 ก.ค. 2568 ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยว่าจะรับคำร้องของ สว.ยื่นถอดถอน ‘แพทองธาร’ กรณีคลิปเสียงหรือไม่ และต้องจับตาดูด้วยว่าจะมีคำสั่งให้แพทองธาร หยุดปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างการพิจารณาหรือไม่</p><p>"เชื่อมั่นในศาลรัฐธรรมนูญที่จะรับคดีในวันที่ 1 ก.ค.นี้ เพราะ สว.เขายื่นถูกต้อง เขายื่นเหมือนที่ผมยื่นถอดถอนเศรษฐา ทวีสิน เขายื่นเหมือนที่ผมยื่นถอดถอนสมัคร สุนทรเวช เขายื่นเหมือนที่ผมยื่นถอดถอนยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” สมชาย กล่าวอย่างมั่นใจบนเวที&nbsp;</p><p>"ปี 2551 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษาหรือมีคำวินิจฉัยเอกฉันท์ ให้คุณสมัคร พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากการถือหุ้นสื่อรายการทำอาหาร 'ชิมไปบ่นไป'</p><p>"ปี 2557 ให้คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อาปูของหนูอิ๊งค์ ด้วยมติ 9 ต่อ 0 ออกจากนายกรัฐมนตรี ด้วยข้อหาโยกย้ายเอื้อญาติ เพราะว่าย้ายถวิล เปลี่ยนศรี</p><p>"ปี 2566 พิพากษาให้คุณเศรษฐา ทวีสิน พ้นจากนายกรัฐมนตรี 5 ต่อ 4 (ถูกวินิจฉัยให้ขาดคุณสมบัติซื่อสัตย์เป็นที่ประจักษ์จากการตั้ง พิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ)</p><p>"… 3 คดีรวมกันยังโทษไม่หนักเท่าอุ๊งอิงค์ แล้วจะรอดเหรอวันที่ 1 ก.ค. เราส่งกำลังใจเชียร์ศาลรัฐธรรมนูญหน่อย ลงมติวันที่ 1 ก.ค. เอาออกไปเลย" อดีต สว.กล่าว&nbsp;</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>ปธ.วุฒิสภา ยื่น ป.ป.ช.- ศาลรธน. ถอดถอนนายกฯ ปมผิดจริยธรรมร้ายแรง กรณีคลิปเสียงหลุด</li></ul></div><p>&nbsp;</p><h2>รัฐประหารไม่ว่า แต่อย่าให้ทหารบริหารประเทศ</h2><p>ส่วนคนที่ถูกจับตามองมากที่สุด คือ สนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และอดีตแกนนำกลุ่ม พธม. เพราะการปราศรัยของเขาดูจะไม่ปฏิเสธการรัฐประหารเสียทีเดียว ตรงไปตรงมาที่สุดในบรรดาแกนนำทั้งหมด</p><p>สนธิ กล่าวปราศรัยถึงกรณีที่สื่อถามเขาว่ากำลังยุให้ทหารมาทำรัฐประหารหรือไม่ ซึ่งเขาตอบว่าไม่ใช่ เพราะเวลาทหารทำรัฐประหาร ทหารไม่เคยมาแจ้ง ถ้าจะทำเพราะการเมืองไปต่อไม่ได้ ก็อย่าเอาพลเอกมาบริหารประเทศ แต่ให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหาร</p><p>"สื่อมวลชนหลายคนบอกว่าคุณสนธิ คุณกำลังยุให้ทหารเข้ามาปฏิวัติใช่ไหม ไม่ใช่ ทหารแม่งจะปฏิวัติแม่งไม่เคยบอกผม จะทำเมื่อไรก็ทำไป ถ้าเห็นว่าวิกฤตมันเกิดขึ้น และการเมืองมันแก้ไม่ได้ ซึ่งการเมืองมันแก้ไม่ได้ เขาจะบู้มบ้ามๆ ก็เรื่องของเขา แต่ขอเรื่องเดียว ไหนๆ จะทำแบบนั้น ถ้าจะทำกัน สาธุ ขออย่าเอาพลเอกมาบริหารชาติบ้านเมืองอีก ให้ประชาชนพวกเราเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาประเทศชาติ" สนธิ กล่าว ก่อนเปลี่ยนไปพูดเรื่องวิจารณ์ฮุนเซน และเชิญชวนให้ประชาชนออกมาร่วมชุมนุม</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54623650530_d1e265da10_b.jpg" width="1023" height="574" loading="lazy">บรรยากาศระหว่างสนธิ ลิ้มทองกุล ที่สวมเสื้อของมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน ปราศรัยที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ที่มา: เพจเฟซบุ๊ก คปท.)</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>จับกระแสข้อเรียกร้อง 'รวมพลังแผ่นดินฯ' พูดอะไรบ้างในการปราศรัย #ม็อบ28มิถุนา68</li></ul></div><p>&nbsp;</p><h2>ปชน.ประณามสร้างความชอบธรรม รปห.-ย้ำยุบสภาฯ เลือกตั้งใหม่</h2><p>พรรคประชาชน&nbsp;โพสต์บนเพจเฟซบุ๊กกลางดึกหลังการชุมนุม โดยแสดงท่าทีประณามแกนนำกลุ่มรวมพลังแผ่นดินฯ จากกรณีที่แกนนำบางคนปราศรัยบนเวทีสร้างความชอบธรรมในการทำรัฐประหาร ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง พร้อมเรียกร้องให้ประชาชนถอนการสนับสนุนจากกลุ่มรวมพลังแผ่นดินฯ</p><p>"20 ปีที่ผ่านมา ประเทศชาติและประชาชนบอบช้ำเสียหายอย่างไม่อาจประเมินได้จากการรัฐประหาร 2 ครั้ง และปัญหาการเมืองของเราไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิถีทางนอกประชาธิปไตย ผลพวงจากการรัฐประหารกลับซ้ำเติมปัญหาการใช้อำนาจอย่างฉ้อฉล การคอร์รัปชัน กระบวนการยุติธรรมที่บิดเบี้ยว และการเอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องและกลุ่มทุนผูกขาดเสียด้วยซ้ำ" พรรคประชาชน ระบุ</p><p>ท้ายสุด พรรคประชาชนเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาฯ เลือกตั้งใหม่ คืนอำนาจให้แก่ประชาชนเป็นคนเลือกเองว่าต้องการรัฐบาลและผู้นำใหม่แบบไหน โดยข้อเรียกร้องนี้เป็นจุดยืนเดิมของพรรคตั้งแต่มีกรณีปล่อยคลิปเสียง</p><h2>คนกังวลจากประวัติศาสตร์ระยะสั้น ยุบสภาฯ ไม่รอด รปห.</h2><p>ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. และที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีได้โพสต์ความเห็นหลังการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยฯ ตั้งข้อสังเกตว่าต่อให้มีการเปลี่ยนตัวนายกฯ เป็น ชัยเกษม นิติสิริ แคนดิเดตจากพรรคเพื่อไทยก็ตาม กลุ่มรวมพลังแผ่นดินฯ ก็จะไม่ยอมรับ และจะมีการชุมนุมต่อ</p><p>"เอาคนอื่นมาเป็นนายกฯ ก็ไม่แน่ว่าจะได้ เพราะแกนนำหลักพูดชัดว่าถ้าทหารจะทำอะไร (หมายถึงรัฐประหาร) ก็ไม่ขัด บ้างก็ว่าต้องร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญขึ้นเอง บ้างก็จะปฏิวัติโดยไม่เกี่ยวกับนักการเมือง" โพสต์ระบุ</p><p>ณัฐวุฒิ มองว่าหากเราดูจากประวัติศาสตร์ระยะใกล้ เขาไม่เชื่อว่าการยุบสภาฯ จะเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับการเมืองไทย พร้อมทั้งเสนอว่า สภาพการณ์ตอนนี้คือต้องสร้างเสถียรภาพในประเทศให้มากที่สุดเพื่อแก้ปัญหาอย่างสันติและต่อสู้กับภัยภายนอก ไม่ตกในเกมที่ฮุนเซนต้องการ อีกทั้งทหารกับรัฐบาลเองก็ยังสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างแข็งขันหลังเกิดเหตุการปล่อยคลิปเสียง</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54444572374_be1dd20a92_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ (ถ่ายโดย แมวส้ม ประชาไท)</p><p>ทั้งนี้ กระแสความกังวลว่ายุบสภาแล้วจะไม่จบนั้น เกี่ยวพันกับประวัติศาสาตร์ระยะใกล้ ย้อนไปเมื่อปี 2549 ทักษิณ ชินวัตร นายกฯ จากพรรคไทยรักไทย ยุบสภาฯ เมื่อ 24 ก.พ. 2549 และจัดให้มีการเลือกตั้ง 2 เม.ย.ในปีเดียวกัน แต่พรรคฝ่ายค้าน ประกอบด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคมหาชน และพรรคชาติไทย บอยคอตไม่ร่วมการเลือกตั้ง โดยอ้างเหตุผลยุบสภาฯ กระชั้นชิด</p><p>ขณะเดียวกัน กลุ่มพันธมิตรฯ นำโดยสนธิ ประกาศไม่ยอมรับการยุบสภาฯ และการจัดเลือกตั้งวันที่ 2 เม.ย. 2549 เกิดการกดดันไม่ให้มีการเปิดสมัครรับเลือกตั้ง และในบางเขตมีผู้สมัครเพียงคนเดียว ไปจนถึงการพยายามฉีกบัตรเลือกตั้ง และจงใจทำให้เกิดบัตรเสีย ในวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง</p><p>ท้ายที่สุด แม้ว่าพรรคไทยรักไทยจะสามารถชนะการเลือกตั้งมาได้ แต่มาถูกศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ และให้มีการเลือกตั้งใหม่ใน 15 ต.ค. 2549 แต่ยังไม่ได้ทันได้เลือกตั้ง คณะรัฐประหารในนาม ‘คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข’ หรือ คปค. (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)) นำโดยสนธิ บุญยรัตกลิน ได้ก่อการรัฐประหารขึ้นในวันที่ 19 ก.ย. 2549</p><p>ต่อมาในปี 2550&nbsp;พรรคไทยรักไทย ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคฯ ด้วยคะแนนเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 และมีมติ 6 ต่อ 3 เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ของ กก.บห.พรรค จำนวน 111 คน เป็นระยะเวลา 5 ปี</p><p>นอกจากนี้ในสมัยที่มีการชุมนุมของม็อบ กปปส. ในปี 2556 รัฐบาลนำโดย ‘ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร’ จากพรรคเพื่อไทย (เดิมคือพรรคไทยรักไทย) ได้ประกาศยุบสภาฯ เมื่อ 9 ธ.ค. 2556 จากการเผชิญแรงกดดันทางการเมืองอย่างหนัก และประกาศจัดเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. 2557 แม้ว่าจะสามารถจัดการเลือกตั้งได้ แต่ก็ต้องเผชิญการขัดขวางการเลือกตั้งจากม็อบ กปปส. จนไม่สามารถลงคะแนนได้ทุกหน่วยเลือกตั้งพร้อมกันทั่วประเทศ ต่อมา 21 มี.ค. 2557&nbsp;ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติให้การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2557 เป็นโมฆะ เนื่องจากไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้พร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรค 2 ต่อมา วันที่ 7 พ.ค. 2557&nbsp;ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งนายกฯ ด้วยว่าใช้สถานะนายกฯ ก้าวก่ายแทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ เพื่อประโยชน์ของตัวเอง จากกรณีย้าย ถวิล เปลี่ยนศรี เลขาฯ สมช. ไปเป็นที่ปรึกษานายกฯ&nbsp;</p><div class="note-box"><p>ทั้งนี้ เมื่อ 26 ธ.ค. 2566&nbsp;ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้พิพากษายกฟ้องในคดีที่อัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องยิ่งลักษณ์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จากการย้ายถวิล เปลี่ยนศรี เนื่องจากไม่มีเจตนาสั่งย้ายไม่เป็นธรรม</p></div><p>&nbsp;</p><p>จนกระทั่งในวันที่ 22 พ.ค. 2557 คณะรัฐประหารในนาม คณะรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (คสช.) นำโดยประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ทำการยึดอำนาจรัฐบาลยิ่งลักษณ์</p><p>จากประวัติศาสตร์ระยะใกล้ ทำให้ณัฐวุฒิ มองว่า เท่าที่ฟังการปราศรัยและองค์ประกอบหลายๆ อย่างทำให้เขานึกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต&nbsp;</p><p>นอกจากนี้ ณัฐวุฒิ ยังเรียกร้องให้รัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน ปฏิเสธวิธีการนอกประชาธิปไตย และต้องไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทำให้เกิดการยึดอำนาจ โดยมีเป้าหมายหลักคือรักษาหลักการประชาธิปไตย รักษาเสถียรภาพทางการเมือง อายุของรัฐบาลก็คงไม่เกิน 2 ปี ให้กลไกของประชาธิปไตยทำงาน</p><p>"พรรคการเมืองทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล ถ้ายังหันหน้าเข้าหากันไม่ได้ก็ต้องเอาหลังพิงกัน ปฏิเสธอำนาจนอกระบบ ไม่ยอมรับการเคลื่อนไหวเพื่อเปิดทางให้รัฐประหาร" โพสต์แกนนำ นปช. ทิ้งท้าย</p><h2>แกนนำ คปท.ยังยืนยันไม่ได้เรียกรัฐประหาร</h2><p>แพทองธาร ชินวัตร&nbsp;นายกฯ มองว่าการชุมนุมของกลุ่มรวมพลังแผ่นดินฯ ถือเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย ส่วนจะมีการพูดคุยหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่หากการคุยด้วยสันติวิธีก็พร้อมจะเจรจา</p><p>"เดี๋ยวดูสถานการณ์ ถ้าอยากคุยกันด้วยสันติวิธีก็ยินดีอยู่แล้ว" แพทองธาร กล่าว</p><p>ด้านพิชิต ไชยมงคล แกนนำ คปท. แถลงต่อสื่อมวลชนภาพรวมของการชุมนุมเมื่อวันที่ 28 มิ.ย.ที่ผ่านมา และตอบโต้แถลงการณ์พรรคประชาชน โดยยืนยันว่าการชุมนุมนี้ไม่ต้องการให้เกิดการทำรัฐประหาร แต่ต้องการให้นายกฯ ลาออก และให้พรรคร่วมถอนตัวจากรัฐบาลเท่านั้น</p><p>“ยังยืนยันกับแถลงการณ์รอบแรกของพวกเรา เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก พรรคร่วมรัฐบาลถอนตัว นี่คือหัวใจหลักของการชุมนุม อย่ากล่าวหาผู้ชุมนุม อย่าดูถูกน้ำใจของผู้ชุมนุมที่รักประเทศ ด้วยการกล่าวหาว่าเป็นแผ่นเสียงตกร่อง เรียกร้องรัฐประหาร ขอยืนยัน-นั่งยันว่าข้อเรียกร้องของพวกเราไม่เคยมีการเรียกร้องให้เกิดรัฐประหารใดๆ ทั้งสิ้น" พิชิต กล่าว&nbsp;</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A2" hreflang="th">กลุ่มรวมพลังแผ่นดินปกป้องอธิปไตhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%95-%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5" hreflang="th">พิชิต ไชยมงคhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B9%8C-%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%81" hreflang="th">เจษฎ์ โทณะวณิhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B4-%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5" hreflang="th">สนธิ ลิ้มทองกุhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3" hreflang="th">รัฐประหาhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">พรรคประชาชhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">พรรคเพื่อไทhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3" hreflang="th">แพทองธาร ชินวัตhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A2" hreflang="th">พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" hreflang="th">รัฐธรรมนูhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3-%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD" hreflang="th">นิติธร ล้ำเหลืhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2-%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%A5" hreflang="th">รสนา โตสิตระกูhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3" hreflang="th">สมชาย แสวงกาhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99" hreflang="th">ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" hreflang="th">กองทัพธรรhttp://prachatai.com/journal/2025/06/113520
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.287 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 7 ชั่วโมงที่แล้ว