[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
04 กรกฎาคม 2568 05:07:41 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ศาลรัฐธรรมนูญ: ผู้กำหนด "จุดเปลี่ยน" การเมืองไทย  (อ่าน 28 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: วานนี้ »

ศาลรัฐธรรมนูญ: ผู้กำหนด "จุดเปลี่ยน" การเมืองไทย
 


<span>ศาลรัฐธรรมนูญ: ผู้กำหนด "จุดเปลี่ยน" การเมืองไทย</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>ณัชปกร นามเมือง เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ</p></div>
      <span><span>See Think</span></span>
<span><time datetime="2025-07-02T19:44:07+07:00" title="Wednesday, July 2, 2025 - 19:44">Wed, 2025-07-02 - 19:44</time>
</span>

            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>การเมืองไทยกำลังจะเผชิญจุดเปลี่ยนอีกครั้ง เมื่อศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้นายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร หยุดปฏิบัติหน้าที่ หลังประธานวุฒิสภา มงคล สุระสัจจะ ยื่นคำร้องให้วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายกฯ แพทองธารสิ้นสุดลง เนื่องจากขาดคุณสมบัติเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์และฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง จากกรณีมีคลิปเสียงสนทนากับฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา เกี่ยวกับปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา</p><p>แม้คำสั่งดังกล่าวจะเป็นเพียงการสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ แต่คำสั่งนี้ก็สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย นี่ไม่ใช่ครั้งแรกของการเมืองไทยที่เกิดเหตุเช่นนี้ เพราะในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองผ่านการตัดสินคดีความ จนนำไปสู่จุดเปลี่ยนทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นของรัฐบาล พรรคการเมือง รวมถึงระบอบประชาธิปไตย มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง</p><p>เพื่อทำความเข้าใจภูมิทัศน์ทางการเมืองของไทยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เราจะชวนย้อนดูบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในฐานะ ‘ผู้กำหนดจุดเปลี่ยนทางการเมืองไทย’ ผ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ดังนี้</p><h2>ปี 2549 - 2550: จุดเริ่มต้น ‘ตุลาการภิวัฒน์’ ล้มเลือกตั้ง ยุบพรรคไทยรักไทย</h2><p>การขึ้นสู่อำนาจด้วยคะแนนเสียงถล่มทลายของ พรรคไทยรักไทย ภายใต้การนำของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ฝ่ายอนุรักษนิยมจารีตหันมาใช้อำนาจตุลาการ คัดง้างกับหลักการเสียงข้างมากในระบอบประชาธิปไตย</p><p>ศาลรัฐธรรมนูญ เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลทักษิณกับ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ซึ่งกล่าวหารัฐบาลว่าเป็น ‘เผด็จการรัฐสภา’ ใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตน รวมถึงละเลยหลักนิติรัฐและละเมิดสิทธิมนุษยชน</p><p>ต่อมาในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 รัฐบาลทักษิณประกาศยุบสภาเพื่อคืนอำนาจให้ประชาชนตัดสิน ทว่า พรรคฝ่ายค้านนำโดยพรรคประชาธิปัตย์กลับ ‘บอยคอตการเลือกตั้ง’ วันที่ 2 เมษายน 2549 โดยมองว่าเป็นการหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ ผลจากการบอยคอตทำให้การเลือกตั้งมีปัญหาในหลายเขตเลือกตั้ง มีผู้สมัครจากพรรคเดียวหรือมีคนมาออกเสียงไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ และมีการกล่าวหาว่าพรรคไทยรักไทยจ้างพรรคเล็กให้ลงสมัคร</p><p>ต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญมี คำวินิจฉัยที่ 9/2549 ให้การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นโมฆะ โดยให้เหตุผลว่าไม่เที่ยงธรรม ไม่ได้ผู้แทนปวงชนอย่างแท้จริง และการจัดคูหาเลือกตั้งไม่เป็นความลับตามรัฐธรรมนูญ</p><p>แม้จะมีการกำหนดให้จัดการเลือกตั้งใหม่ แต่ยังไม่ทันดำเนินการ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ก็ได้รัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลทักษิณในวันที่ 19 กันยายน 2549 และดึงศาลรัฐธรรมนูญเข้ามามีบทบาทอีกครั้ง</p><p>หลังรัฐประหาร คมช. ได้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขึ้นมา ซึ่งกำหนดให้มี "คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ" ทำหน้าที่แทนศาลรัฐธรรมนูญ โดยหนึ่งในคำวินิจฉัยสำคัญคือ การยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคกว่า 101 คน จากข้อหาจ้างคนสมัครรับเลือกตั้ง แม้ภายหลังจะมีการเปิดเผยข้อเท็จจริงว่ามีการว่าจ้างพยานเท็จ รวมทั้งถูกวิจารณ์ว่าเป็นการตัดสินโดยใช้กฎหมายย้อนหลัง</p><p>จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ตามมาด้วยการรัฐประหารและการยุบพรรคไทยรักไทย ได้เปลี่ยนภูมิทัศน์การเมืองไทยอย่างสิ้นเชิง นำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองระลอกใหม่ที่แบ่งสังคมออกเป็นสองขั้ว ระหว่าง ‘คนเสื้อเหลือง’ (กลุ่ม พธม.) ผู้ต่อต้านรัฐบาลไทยรักไทย และ ‘คนเสื้อแดง’ (แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.) ผู้ต่อต้านการรัฐประหารและสนับสนุนรัฐบาลทักษิณ</p><h2>ปี 2551 – 2553: สั่งนายกฯ พ้นตำแหน่ง 2 คนรวด - ปูทางพลิกขั้วรัฐบาล</h2><p>หลังการรัฐประหารปี 2549 คมช. ได้ร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 และจัดการเลือกตั้งใหม่ พรรคพลังประชาชน ซึ่งถือเป็นพรรคต่อเนื่องจากไทยรักไทย ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย เนื่องจากนโยบาย ‘ประชานิยม’ ในยุครัฐบาลทักษิณยังคงครองใจประชาชน อาทิ การพักหนี้เกษตรกร, กองทุนหมู่บ้าน, OTOP และ 30 บาทรักษาทุกโรค ทำให้ สมัคร สุนทรเวช ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี</p><p>อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสมัครบริหารประเทศได้ไม่ถึง 1 ปี ศาลรัฐธรรมนูญก็วินิจฉัยให้สมัครพ้นจากตำแหน่ง โดยวินิจฉัยว่าเป็น ‘ลูกจ้าง’ และขัดต่อคุณสมบัติของรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 2550 คำวินิจฉัยในคดีนี้เป็นที่วิจารณ์ว่าเป็นการตีความที่ขยายความกฎหมายออกให้กว้างขวาง โดยมีเป้าประสงค์ทางการเมือง เนื่องจากเห็นว่า เป็น ‘นอมินี’ ทางการเมืองของพรรคไทยรักไทย หรือ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี</p><p>หลังนายกฯ สมัครพ้นจากตำแหน่ง พรรครัฐบาลเสนอชื่อ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน แต่เขาก็ดำรงตำแหน่งได้เพียง 75 วันท่ามกลางการประท้วงของ พธม.ที่ยึดทำเนียบฯ ยาวนานและปิดสนามบิน ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคพลังประชาชน ด้วยข้อกล่าวหาว่ากรรมการบริหารพรรคทุจริตการเลือกตั้ง ส่งผลให้สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งและถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง</p><p>เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมืองครั้งสำคัญ นั่นคือการเปลี่ยนขั้วรัฐบาล โดย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านในเวลานั้นขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยการสนับสนุนจากกลุ่ม ‘เพื่อนเนวิน’ ที่เคยสังกัดพรรคพลังประชาชน (ซึ่งต่อมาก่อตั้งเป็นพรรคภูมิใจไทย) ท่ามกลางข่าวลือว่ากองทัพอยู่เบื้องหลังการสลับขั้วครั้งนี้</p><p>คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่นำไปสู่การยุบพรรคหลักและตัดสิทธินักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ทำให้รัฐบาลอภิสิทธิ์เผชิญกับการต่อต้านอย่างรุนแรง กลุ่มคนเสื้อแดง (นปช.) เริ่มชุมนุมใหญ่ในปี 2552 เรียกร้องให้ยุบสภาและจัดเลือกตั้งใหม่ แต่ข้อเรียกร้องกลับถูกตอบโต้ด้วยการสลายการชุมนุมในปี 2553 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตไม่น้อยกว่า 94 ราย เหตุการณ์นี้ได้กลายเป็นบาดแผลใหญ่ในประวัติศาสตร์ความขัดแย้งทางการเมืองไทย</p><h2>ปี 2555 - 2557: ‘ตุลาการภิวัตน์’ ล้มกฎหมาย โค่นเลือกตั้ง ปูทางรัฐประหาร</h2><p>หลังรัฐบาลอภิสิทธิ์ยุบสภาและมีการเลือกตั้งใหม่ในปี 2554 พรรคเพื่อไทย ภายใต้การนำของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชนะการเลือกตั้งอีกครั้ง และต้องเผชิญกับบทบาทของ ‘ตุลาการภิวัตน์’ จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหลายครั้ง</p><p>บทบาทแรกของศาลรัฐธรรมนูญคือ&nbsp;<strong>การขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญถึง 2 ครั้ง</strong></p><ul><li aria-level="1"><strong>ครั้งแรก: </strong>การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้ง เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ศาลวินิจฉัยว่าการดำเนินการเช่นนี้ต้องทำประชามติก่อน</li><li aria-level="1"><strong>ครั้งที่สอง:</strong> การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อแก้ไขส่วนของสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเป็น ‘การล้มล้างการปกครอง’ เพราะเป็นกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ</li></ul><p>นอกจากนี้ ศาลยัง<strong>ล้มร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท</strong> (กฎหมายให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม) โดยให้เหตุผลว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ทั้งเรื่องการใช้จ่ายเงินแผ่นดินที่ไม่อยู่ในกรอบงบประมาณ, ไม่ใช่กรณีเร่งด่วน และไม่เป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลัง คำวินิจฉัยนี้ถูกวิจารณ์อย่างหนัก โดยเฉพาะเมื่อตุลาการบางคนแสดงความเห็นส่วนตัวถึงความไม่เร่งด่วน เช่น "ให้ถนนลูกรังหมดจากประเทศไทยก่อน" ซึ่งสะท้อนถึงอคติ</p><p>ต่อมา เมื่อสภาผู้แทนราษฎรผ่าน&nbsp;<strong>ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ‘ฉบับเหมาเข่ง’</strong> ทำให้เกิดการชุมนุมใหญ่ของ&nbsp;<strong>กลุ่ม กปปส.</strong> (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) รัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงตัดสินใจยุบสภาและกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แต่พรรคประชาธิปัตย์บอยคอตการเลือกตั้งอีกครั้ง และกลุ่ม กปปส. ได้ขัดขวางการรับสมัครและปิดคูหาเลือกตั้ง ทำให้บางเขตไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้</p><p>ต่อมาผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า&nbsp;<strong>พระราชกฤษฎีกาเฉพาะส่วนของการกำหนดวันเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและให้เป็นโมฆะ </strong>เพราะไม่ได้จัดการเลือกตั้งพร้อมกันทั่วราชอาณาจักร</p><p>การที่ศาลไม่ได้วินิจฉัยให้พระราชกฤษฎีกาทั้งฉบับเป็นโมฆะ ทำให้เกิด<strong>&nbsp;‘สุญญากาศทางการเมือง’ </strong>เนื่องจากไม่มีความชัดเจนว่า รัฐบาลจะออกพระราชกฤษฎีกาใหม่ได้ และ กกต. ไม่มีอำนาจจัดการเลือกตั้งในเขตที่มีปัญหา สุดท้ายคำวินิจฉัยดังกล่าวประกอบกับการชุมนุมยืดเยื้อของ กปปส.จึงเป็นชนวนนำไปสู่&nbsp;<strong>การรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557</strong> นำโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)</p><p>หลังการรัฐประหาร มีการชุมนุมต่อต้านอย่างกว้างขวาง นำไปสู่&nbsp;การคุกคามสิทธิเสรีภาพครั้งใหญ่ ประชาชนอย่างน้อย 929 คนถูก คสช. เรียกรายงานตัวและควบคุมตัวในค่ายทหาร มีผู้ถูกตั้งข้อหาชุมนุมทางการเมืองไม่น้อยกว่า 245 คน และถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่นตามมาตรา 116 ไม่น้อยกว่า 169 คน ซึ่งล้วนมาจากการแสดงออกต่อต้านคณะรัฐประหาร</p><h2>ปี 2557 - 2562: ศาลรัฐธรรมนูญยุค คสช. คุ้มกันการสืบทอดอำนาจ</h2><p>หลังการรัฐประหารปี 2557&nbsp;<strong>ศาลรัฐธรรมนูญยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป</strong> โดยกระบวนการแต่งตั้งตุลาการในช่วงนั้นถูกมองว่า&nbsp;<strong>ถูกแทรกแซงจาก คสช. อย่างชัดเจน</strong> ทั้งการใช้อำนาจตาม&nbsp;มาตรา 44 เพื่อต่ออายุตุลาการ และการให้ความเห็นชอบผ่าน&nbsp;<strong>สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)</strong> ซึ่งสมาชิกทั้งหมดมาจากการแต่งตั้งของ คสช.</p><p>บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในช่วงนี้ถูกวิจารณ์ว่า&nbsp;<strong>คุ้มกันอำนาจรัฐบาล คสช.</strong> (รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) และอาจกล่าวได้ว่า&nbsp;<strong>สนับสนุนการสืบทอดอำนาจ</strong></p><ul><li aria-level="1"><strong>วินิจฉัย พ.ร.บ.ประชามติ 2559 ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ</strong>: แม้กฎหมายดังกล่าวจะถูกวิจารณ์ว่าจำกัดสิทธิการแสดงออกของประชาชนอย่างกว้างขวาง ทำให้การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญไม่เสรีและไม่เป็นธรรมในการรณรงค์ แต่ศาลกลับวินิจฉัยว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ และทำให้คนที่ออกไปรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของคสช. ต้องถูกดำเนินคดี</li><li aria-level="1"><strong>ยกคำร้องห้ามชุมนุม 5 คนขึ้นไป: </strong>เมื่อภาคประชาชนร้องให้วินิจฉัยว่าคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน ขัดต่อเสรีภาพในการชุมนุมหรือไม่ ศาลยกคำร้องด้วยเหตุผลทางเทคนิคว่า ผู้ร้องต้องยื่นผ่านศาลอื่นหรือผู้ตรวจการแผ่นดินก่อน ไม่สามารถยื่นตรงได้</li><li aria-level="1"><strong>วินิจฉัยกฎหมาย ป.ป.ช. ไม่ต้องเซ็ตซีโร่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ: </strong>ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา 185 ที่กำหนดให้ประธานและกรรมการ ป.ป.ช. (ซึ่งมาจากการเห็นชอบของ สนช.) ยังอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนครบวาระนั้น&nbsp;ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยนี้ส่งผลให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับการเห็นชอบจาก สนช. ไม่ต้องถูก ‘เซ็ตซีโร่’ (เริ่มต้นนับวาระใหม่) เหมือนองค์กรอิสระอื่นๆ ที่ คสช. และ สนช. ยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบ เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)</li></ul><h2>ปี 2562-2566: ยุบพรรคตรงข้าม รัฐบาลประยุทธ์ได้ไปต่อ</h2><p>หลังรัฐธรรมนูญปี 2560 มีผลบังคับใช้และมีการเลือกตั้งในปี 2562 ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามามีบทบาทสร้างจุดเปลี่ยนทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญ ดังนี้</p><p><strong>1. การยุบพรรคการเมือง</strong></p><ul><li aria-level="1"><p><strong>ยุบพรรคไทยรักษาชาติ (2562):</strong> พรรคไทยรักษาชาติถูกมองว่าเป็นพรรคคู่ขนานของพรรคเพื่อไทยตามยุทธศาสตร์ ‘แตกแบงค์พัน’ เนื่องจากระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม (MMA) ถูกออกแบบมาเพื่อจำกัดที่นั่งพรรคใหญ่และเอื้อพรรคกลาง โดยถูกยุบจากการเสนอชื่อ&nbsp;<strong>ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี</strong> เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี
&nbsp;</p><p>คดีนี้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า เป็นการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แม้จะมีการถกเถียงว่า กกต. มีอำนาจเพียงพอที่จะถอนชื่อได้เอง แต่ศาลกลับวินิจฉัยยุบพรรค ทำให้พรรคไทยรักษาชาติไม่สามารถลงเลือกตั้งได้ และพรรคเพื่อไทยไม่สามารถส่งผู้สมัครได้ครบทุกเขต</p></li><li aria-level="1"><strong>ยุบพรรคอนาคตใหม่ (2563):</strong> ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่ กรณี&nbsp;<strong>ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ</strong> หัวหน้าพรรคให้พรรคกู้เงิน 191.2 ล้านบาท โดยถือว่าเป็นการรับบริจาคเงินโดยมิชอบ คำวินิจฉัยนี้ถูกวิจารณ์ว่าการกู้เงินไม่ใช่การบริจาค และการตีความกฎหมายไม่ครบถ้วนตามองค์ประกอบความผิด แต่มีเป้าหมายเพื่อลดจำนวน ส.ส. ฝ่ายค้านและเสริมสร้างเสถียรภาพให้รัฐบาลประยุทธ์ ซึ่งมีเสียงในสภาแบบปริ่มน้ำ</li></ul><p><strong>2. คุ้มกัน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา</strong></p><p>นอกจากนี้ ศาลรัฐธรรมนูญยังมีบทบาทในการคุ้มกันอำนาจของ&nbsp;<strong>พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา</strong> นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ในหลายกรณี เช่น</p><ul><li aria-level="1"><strong>คดีบ้านพักทหาร (ปี 2563):</strong> ศาลวินิจฉัยว่า พล.อ.ประยุทธ์ไม่ผิดกรณีใช้บ้านพักในค่ายทหารหลังเกษียณราชการ โดยให้เหตุผลว่าเป็นไปตามระเบียบของกองทัพและเป็นประโยชน์ต่อความมั่นคง&nbsp;</li><li aria-level="1"><strong>คดีดำรงตำแหน่งนายกฯ ครบ 8 ปี (ปี 2565):</strong> ศาลวินิจฉัยว่าการนับวาระ 8 ปีของพล.อ.ประยุทธ์ ควรเริ่มนับจากวันที่รัฐธรรมนูญปี 2560 ประกาศใช้ ทำให้เขาสามารถดำรงตำแหน่งนายกฯ ต่อไปได้อีก</li></ul><p><strong>3. ยื้อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ</strong></p><p>หลังการเลือกตั้ง ปี 2562 พรรครัฐบาลอย่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรคฝ่ายค้านที่นำโดยพรรคเพื่อไทยและก้าวไกล (อนาคตใหม่) ต่างเห็นตรงกันว่าควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและจัดทำฉบับใหม่โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) แต่กระบวนการนี้กลับถูกขัดขวางโดยสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. พวกเขายื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยอ้างว่ารัฐสภาไม่มีอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่</p><p>ในทางรูปธรรม ปฏิเสธได้ยากว่า บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญได้ขยายตัวจากการจัดการกับนักการเมือง พรรคการเมือง มาเป็นผู้กุมสภาพทางการเมืองทั้งในทางบริหารผ่านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และการออกกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 4/2564 ยืนยันว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่เป็นอำนาจของรัฐสภา แต่ต้องมีการทำประชามติก่อนเพื่อสอบถามประชาชนว่าเห็นชอบให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อมีร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว เพื่อสอบถามความเห็นชอบจากประชาชนอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ความไม่ชัดเจนของคำวินิจฉัยเรื่องจำนวนครั้งของการทำประชามติ ทำให้ ส.ว. ใช้เป็นข้ออ้างในการคว่ำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี 2564 และยังเป็นปัญหาการตีความของฟากฝ่ายการเมืองต่างๆ มาจนปัจจุบัน</p><h2>ปี 2566 - 2568:&nbsp; แช่แข็งเก้าอี้นายกฯ - สั่งนายกฯ พ้นตำแหน่ง - ยุบพรรคก้าวไกล</h2><p>หลังการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 พรรคก้าวไกล ชนะเป็นอันดับหนึ่ง แต่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค กลับเผชิญ ‘นิติสงคราม’ เริ่มจากกรณีถูกร้องเรียนเรื่องหุ้น ไอทีวี นำไปสู่การสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ สส. แม้พยานหลักฐานจะคลุมเครือและมีข้อกังขาถึงการหวังผลทางการเมือง การสกัดครั้งนี้สั่นคลอนเสถียรภาพของพรรค และลดทอนความชอบธรรมในการเป็นนายกฯ ของพิธา จนนำไปสู่การพลิกขั้วรัฐบาล โดยมี สว.แต่งตั้งของ คสช. เป็นผู้กำหนดเกมหลัก</p><p>ต่อมา พรรคก้าวไกลเผชิญนิติสงครามอีกครั้ง เมื่อถูกกล่าวหาว่า ล้มล้างการปกครองฯ จากข้อเสนอแก้ไข มาตรา 112 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าเป็นการล้มล้างการปกครองฯ ทั้งที่การแก้ไขกฎหมายเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ การกระทำนี้สะท้อนอำนาจตุลาการที่ก้าวล้ำเข้ามาแทรกแซงอำนาจรัฐสภา และส่งผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายในอนาคต</p><p>ไม่นานหลังจากนั้น ศาลรัฐธรรมนูญยังวินิจฉัยให้ความเป็นนายกรัฐมนตรีของ เศรษฐา ทวีสิน สิ้นสุดลง ด้วยเหตุผลด้านคุณสมบัติความซื่อสัตย์สุจริต จากการเสนอชื่อบุคคลที่เคยต้องโทษจำคุกเป็นรัฐมนตรี ทั้งที่กรณีดังกล่าวควรไปวินิจฉัยที่คุณสมบัติของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อ และล่าสุด ศาลรัฐธรรมนูญยังมีคำสั่งให้ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหยุดปฏิบัติหน้าที่ ด้วยเหตุผลเดียวกัน คือขาดคุณสมบัติ "ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์" และ "ฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง"</p><p>เหตุการณ์เหล่านี้ชี้ให้เห็นถึง ภาวะนิติสงคราม หรือการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือจัดการศัตรูทางการเมือง มากกว่าการพิทักษ์ประชาธิปไตย เพราะบทบัญญัติที่ใช้ตัดสินมักเป็น ‘อัตวิสัย’ หรือขึ้นอยู่กับการตีความของผู้มีอำนาจ ขาดความชัดเจน และเป็นกลไกที่เข้ามาแทรกแซงกระบวนการประชาธิปไตย ทั้งในส่วนอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" hreflang="th">ศาลรัฐธรรมนูhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">จริยธรรมนักการเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การยุบพรรคการเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C" hreflang="th">ตุลาการภิวัตนhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3" hreflang="th">แพทองธาร ชินวัตhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%AE%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%99-%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3" hreflang="th">คลิปเสียงฮุนเซน-แพทองธาร ชินวัตhttp://prachatai.com/journal/2025/07/113548
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.174 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้