[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 กรกฎาคม 2568 13:45:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ผ่านแล้ว! พ.ร.บ.ประชามติ หลังฟรีซ 180 วัน เหตุสว.แก้กลับ รอบแรกเอกฉันท์ รอบนี้งดออกเ  (อ่าน 62 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2568 16:42:43 »

ผ่านแล้ว! พ.ร.บ.ประชามติ หลังฟรีซ 180 วัน เหตุสว.แก้กลับ รอบแรกเอกฉันท์ รอบนี้งดออกเสียง 80
 


<span>ผ่านแล้ว! พ.ร.บ.ประชามติ หลังฟรีซ 180 วัน เหตุสว.แก้กลับ รอบแรกเอกฉันท์ รอบนี้งดออกเสียง 80</span>
<span><span>See Think</span></span>
<span><time datetime="2025-07-16T14:04:31+07:00" title="Wednesday, July 16, 2025 - 14:04">Wed, 2025-07-16 - 14:04</time>
</span>

            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>16 ก.ค. 2568 สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ที่เคยผ่านวาระ 3 ของสภาผู้แทนราษฎรแล้วแต่วุฒิสภาไม่เห็นชอบ จึงต้องพักการพิจารณาหรือยับยั้งไว้ 180 วัน (ครบกำหนด 17 มิ.ย.2568) ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 137(3) และมีการนำกลับมาพิจารณาใหม่เพื่อยืนยันร่างเดิมของสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้ ผลการลงมติปรากฏว่า สส.ลงมติเห็นด้วย 375 คน&nbsp; ไม่เห็นด้วย 0 คน งดออกเสียง 80 คน ไม่ลงคะแนน 1 คน</p><p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54658412690_9b04637275_o.jpg" width="2047" height="1071" loading="lazy">

ทั้งนี้ กล่าวได้ว่า ร่างพ.ร.บ.ประชามติ เป็นการใช้อำนาจของวุฒิสภาในการแก้เนื้อหาหลักของกฎหมายที่ผ่านสภาผู้แทนฯ มีผลยับยั้งการออกกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎรอย่างชัดเจน ซึ่งโดยปกติแล้วแทบเกิดขึ้น ที่มาที่ไปเริ่มจาก ร่าง พ.ร.บ.ประชามตินี้นำเสนอโดย พริษฐ์ วัชรสินธุ์ พรรคประชาชน และจาตุรนต์ ฉายแสง พรรคเพื่อไทย ซึ่งผ่านวาระ 3 ของสภาผู้แทนราษฎรไปในวันที่ 21 ส.ค.2567 ด้วยมติเอกฉันท์ 409 เสียง โดยจุดหลักมีการเปลี่ยนเกณฑ์ ‘เสียงข้างมาก 2 ชั้น’ (double majority) เป็น ‘เสียงข้างมากชั้นเดียว’ (simple majority) เมื่อไปถึงชั้นวุฒิสภา สว.มีมติเสียงข้างมากให้เปลี่ยนเนื้อหากลับไปที่ ‘เสียงข้างมาก 2 ชั้น’ แล้วส่งกลับมาที่สภาผู้แทนราษฎรว่าคิดเห็นอย่างไร ครั้งนี้ สส.เริ่มเสียงแตก แม้เสียงข้างมากยังโหวตไม่เห็นด้วยกับมติของวุฒิสภา แต่ สส.พรรคภูมิใจเปลี่ยนมาโหวตเห็นด้วยกับวุฒิสภา จากนั้นจึงมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วม 2 สภา เสียงส่วนใหญ่ของ กมธ.ยืนยัน ‘ล็อค 2 ชั้น’ อีก เมื่อมีการส่งกลับมาที่สภาผู้แทนราษฎร สส.ลงมติไม่เห็นชอบตามเสียงข้างมากของ กมธ.ยกเว้นสส.พรรคภูมิใจไทยที่อภิปรายเห็นด้วยกับการแก้ไขของสว. อย่างไรก็ดี ตามกติการัฐธรรมนูญเมื่อสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภาเห็นไม่ตรงกัน ต้องพักการพิจารณากฎหมายนี้ไป 180 วันจึงจะสามารถนำมาพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งเพื่อให้ สส.โหวตยืนยันดังที่เกิดขึ้นในวันนี้</p><p>สำหรับที่มาที่ไปนั้น กฎหมายประชามติของไทยแต่เดิมกำหนดเกณฑ์เสียงข้างมากชั้นเดียว และเพิ่งมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเสียงข้างมาก 2 ชั้น ในปี 2564 ในสมัยรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา</p><p><strong>พริษฐ์ วัชรสินธุ์</strong> สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ผู้เสนอร่างฯ กล่าวว่า เหตุผลที่พรรคประชาชนสนับสนุนให้เปลี่ยนเสียงสข้างมาก 2 ชั้นเป็น 1 ชั้น ไม่ใช่เพราะอยากให้เรื่องใดๆ ผ่านโดยง่าย แต่เป็นเพราะต้องการให้ประชามติทุกเรื่อง มีความเป็นธรรมมากขึ้นระหว่างฝ่ายที่อยากให้ผ่านกับอยากให้ไม่ผ่าน ถ้าใช้ 1 ชั้น จะ ‘ปิดช่อง’ ไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์จากการรณรงค์ให้ประชาชนไม่ออกไปใช้สิทธิ แต่ใช้แรงจูงใจตรงไปตรงมาในการนำเสนอความคิดตนเองเพื่อให้คนออกมาใช้สิทธิ์ของตน&nbsp; ที่ผ่านมา สส. 409 คน เคยเห็นชอบร่างดังกล่าวอย่างเป็นเอกฉันท์ หวังว่าจะยังคงยืนยันจุดยืนเดิมของตนเอง</p><p>พริษฐ์กล่าวว่า เพียงแค่มีกฎหมายประชามติ ฉบับใหม่ไม่เพียงพอ ทุกฝ่ายต้องมาร่วมมองไปข้างหน้า ว่าจะใช้ประโยชน์จากประชามติฉบับใหม่อย่างไรเพื่อแก้ปัญหาให้ประชาชนได้ สิ่งที่เชื่อมโยงปัญหาต่างๆ ในทางโครงสร้างคือ รัฐธรรมนูญ 2560 เข้าใจดีว่าแก้รัฐธรรมนูญไม่ใช่ยาวิเศษแก้ได้ทุกปัญหา แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่นี้เป็นผลไม้พิษที่เป็นอุปสรรคทางการเมืองไทย ไม่ว่าเราจะแก้ปัญหานี้โดยแก้รายมาตรา หรือจัดทำฉบับใหม่ไม่ว่าต้องทำ 2 หรือ 3 ครั้งล้วนต้องทำประชามติ รัฐบาลต้องคิดต่อและนำเสนอและเดินหน้าต่อให้เร็ว โดยควรใช้โอกาสนี้ในการแก้รัฐธรรมนูญและทำประชามติพร้อมกับการเลือกตั้งครั้งถัดไปที่อาจเกิดขึ้นเร็ว</p><p><strong>จาตุรนต์ ฉายแสง</strong>&nbsp;สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ผู้เสนอร่างฯ กล่าวว่า ตนเป็นคนยื่นญัตติให้มีการลงคะแนนยืนยันร่างกฎหมายหลังจากพ้นกำหนด 180 วันในครั้งนี้ เพราะหากเราไม่มีกฎหมายประชามติฉบับใหม่ทันเวลาจะกลายเป็นต้องลงประชามติกันด้วยกฎหมายที่มีอยู่ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โหวตวันนี้เพื่อเดินหน้าการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป

จาตุรนต์ กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น แทบทุกพรรคใช้ในการหาเสียง ประกาศต่อสาธารณชนในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว แต่กฎหมายประชามติเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการ เพราะใช้กติกาเสียงข้างมาก 2 ชั้น เลยมีการเสนอแก้ไขจากทั้ง ครม. และสภาคือ พรรคเพื่อไทย, พรรคประชาชนและพรรคภูมิใจไทย&nbsp; ให้เปลี่ยนเป็นการออกเสียงข้างมากธรรมดา ใช้เสียงข้างมากผู้มาออกเสียง โดยกำหนดด้วยว่าเสียงข้างมากต้องสูงกว่าคะแนน “งดออกเสียง” มันไม่ได้ทำให้เรื่องผ่านโดยง่าย แต่สร้างความชอบธรรมมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการทำประชามติรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา ทั้งฉบับ 2550 และ 2560 ก็ใช้กติกากำหนดเสียงข้างมากธรรมดา ไม่ได้กำหนด 2 ชั้น ดังนั้นไม่ควรใช้หลักเกณฑ์ที่ต่างกัน</p><p>จาตุรนต์กล่าวว่า การใช้เสียงข้างมากสองชั้นที่กำหนดผู้มาใช้สิทธิต้องมีจำนวนเกินกึ่งหนึ่งด้วย ทำให้คนที่ไม่มาใช้สิทธิ์กับคนที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญกลายเป็นฝ่ายเดียวกัน ถูกนับรวมกัน ฝ่ายไม่เห็นด้วยก็สามารถรณรงค์ให้คนไม่มาได้โดยง่าย แม้ลงประชามติจะมีเสียงเห็นชอบมากกว่าไม่เห็นชอบ แต่ก็ต้องตกไป หากคนมาออกเสียงไม่เกินกึ่งหนึ่ง หลักการนี้จะทำให้ทุกเรื่องที่ต้องการหาทางออกยากไปหมด ทำให้ไม่สามารถใช้ประชามติเป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงพัฒนาบ้านเมืองไปตามความต้องการของประชาชนได้&nbsp;</p><h2>ผู้อภิปราย</h2><p><strong>แนน บุญย์ธิดา สมชัย</strong>&nbsp;สส.อุบลฯ พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า พรรคภูมิใจไทยพูดชัดเจนตั้งแต่ในครั้งแรกตอน วาระ 1 ครั้งที่ 2 ตอนมีการตีกลับมาจากวุฒิสภา นี่ครั้งที่สาม ยืนยันว่า ภูมิใจไทยเห็นด้วยกับประชามติ แต่เมื่อต้องยืนยันเนื้อหาวิธีการให้เป็นแค่เสียงข้างมากชั้นเดียว เราก็มีความกังวลหากจะใช้เสียงจำนวนเท่าไรก็ได้ในการออกความคิดเห็นในเรื่องสำคัญๆ ทำให้พรรคภูมิใจไทยไม่สามารถบอกได้ว่า เห็นด้วยกับฉบับนี้ได้เต็มปาก</p><p>“เราไม่ได้กังวลเรื่องรัฐธรรมนูญอย่างเดียว เราอยากให้คนมาลงคะแนนมีชั้นกรองในการออกเสียง ถ้าในอนาคตต้องออกเสียงลงประชามติเรื่องความมั่นคงประเทศ MOU43,44 เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเป็นเสียงข้างมาก ดังนั้นควรเป็นว่า ชั้นแรกควรมีผู้มาใช้สิทธิเกินครี่งหนึ่ง แล้วจากนั้นก็เป็นเสียงข้างมาก จากผู้มาใช้สิทธิเกินครึ่ง แบบนี้จะปลอดภัยกว่า พรรคภูมิใจไทยก็คงไม่ถึงขั้นจะไม่เห็นด้วย เพียงแค่เนื้อในเราอยากให้มีแนวความคิดที่รอบคอบมากกว่านี้&nbsp;เป็นชั้นกรองให้ยืนยันกับประชาชนได้ว่านี่คือเสียงส่วนใหญ่ เราคงจะเห็นก็ไม่ได้ จะไม่เห็นด้วยก็ไม่ได้ เพราะเราอยู่ตรงกลางระหว่างความก้ำกึ่ง” แนน บุญย์ธิดา กล่าว</p><p><strong>ขัตติยา สวัสดิผล</strong> สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตามหลักการของธรรมนูญ สภาผู้แทนฯ มีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะโหวตยืนยันได้โดยไม่ต้องปรับแก้ตาม สว.</p><p>ขัตติยา กล่าวว่า หากการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่คือเป้าหมายสำคัญของสังคมไทย นี่อีกหมุดหมายสำคัญที่จะเข้าใกล้เป้าหมายมากยิ่งขึ้น พรรคเพื่อไทยยึดมั่นสัญญากับประชาชน แต่เราตระหนักว่ามีอุปสรรคในเชิงโครงสร้างและกฎหมายหลายฉบับขัดขวาง โดยเฉพาะกฎหมายประชามติที่วางไว้อย่างสลับซับซ้อน ทั้งที่ประชามติคือกลไกให้ประชาชนร่วมตัดสินใจ ถ้าอยู่ใต้เกณฑ์เสียงข้างมากสองชั้น เครื่องมือนี้จะไร้เสถียรภาพและไม่สามารถใช้ได้จริง จึงขอให้ สส.ร่วมกันลงมติยืนยันร่างดังที่เคยมติร่วมกันไปแล้ว เพื่อยืนยันว่าอำนาจประชาชาชนจะไม่ถูกบิดเบือน</p><p><strong>ณัฐวุฒิ บัวประทุม</strong> สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน กล่าวว่า ตนเองอยู่ใน กมธ.สภาผู้แทนฯ และ กมธ.ร่วมสองสภา ยอมรับตรงไปตรงมาว่า การพิจารณาช่วงปี 2563-2564 พิจารณาบนพื้นฐานยุทธศาสตร์ปฏิรูปประเทศ ตอนนั้นกังวลแต่เพียงว่า การออกเสียงประชามติกรณีต้องเป็นที่ยุติ อาจจำเป็นต้องมีความชอบธรรมอย่างสูงสุด แต่เราลืมนึกไปว่า สมการในการออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญ 2560 ก็ใช้หลักการการลงมติชั้นเดียว กรณีผู้ไม่เห็นด้วยอาจรวมไปกับผู้ไม่มาออกเสียงประชามติ ส่วนการออกเสียงนอกราชอาณาจักร ออกเสียงนอกเขต ออกเสียงล่วงหน้าก็แทบเป็นไปไม่ได้</p><p>“ไม่อาจปฏิเสธความจริงว่าผมมีส่วนร่วมในการสนับสนุนเกณฑ์ 2 ชั้น แต่ตอนนี้ในการพิจารณา เรายินดี เพราะไม่ได้พูดเรื่องการลงคะแนนเสียงอย่างเดียว การออกเสียงที่ถือเป็นข้อยุติ ต้องมีเสียงข้างมากสูงกว่าคะแนนไม่ออกเสียง” ณัฐวุฒิกล่าวพร้อมเพิ่มเติมว่า การทำประชามติแต่ละครั้งใช้งบมาก 3-4 พันล้าน ในเมื่อเรามีการเลือกตั้ง ไม่ว่า สส. หรือ อปท.ที่เกิดต่อเนื่อง จึงควรเขียนให้จัดทำการออกเสียงประชามติไปพร้อมกัน ซึ่งเนื้อหาก็มีอยู่ในร่างที่จะพิจารณาวันนี้&nbsp;</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4" hreflang="th">ร่าง พ.ร.บ.ประชามตhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4" hreflang="th">พ.ร.บ.ประชามตhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4" hreflang="th">ประชามตhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7" hreflang="th">เสียงข้างมากชั้นเดียhttp://prachatai.com/journal/2025/07/113755
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.199 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 17 กรกฎาคม 2568 00:37:40