[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 05:15:40 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ  (อ่าน 13281 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 12 มิถุนายน 2553 13:41:14 »

[ เนื้อหาทั้งหมดโดย อ.มดเอ็กซ์ คัดลอกมาจากบอร์ดเก่า ]






เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลงใหม่ๆ ป้อมค่ายทางเศรษฐกิจและการเมืองได้มีการแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายอย่างชัดเจน ฟากหนึ่งเป็นโลกทุนนิยมที่สหรัฐอเมริกาเป็นพี่เอื้อย ส่วนอีกฟากหนึ่งเป็นโลกสังคมนิยมที่มีสหภาพโซเวียต เป็นแกนและสาธารณรัฐประชาชนจีน

ณ เวลานั้นสามารถจำแนกมิตรและศัตรูกันได้ชัดเจน ถึงแม้จะมีกลุ่มไม่ฝักฝ่ายค่ายใดอยู่ประมาณ 30 ประเทศที่ขออยู่ตรงกลางไม่เป็นพวกใครเต็มตัวเป็นเกาะเล็กๆ ท่ามกลางทะเลแห่งการต่อสู้อย่างดุเดือดทางอุดมการณ์สองลัทธิ

การขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหารของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต จะไม่ลดละให้แก่ฝ่ายใดสักนิ้วเดียว สองอภิมหาอำนาจไม่ยอมให้มีการเพลี่ยงพล้ำดุลแห่งกำลังเป็นอันขาด เพราะการไม่คานกำลังกันโดยเฉพาะด้านกำลังอาวุธมันจะกลายเป็นการคุกคามความมั่นคงของแต่ละอภิมหาอำนาจ

พูดง่ายๆ เมื่อตาชั่งแห่งแสนยานุภาพทางทหาร เอียงไปข้างใดเกินไป โลกจะไม่มั่นคงทันที ในห้วงเวลาตั้งแต่พุทธศักราช 2488 ถึง 2533 แม้จะมีสงครามตัวแทนและสงครามเพื่อเอกราชประชา ธิปไตย ในทวีปแอฟริกา เอเชีย และอเมริกาใต้เกิดขึ้นตลอดเวลา แต่โลกก็ยังมีเสถียรภาพอยู่ เพราะแต่ละอภิมหาอำนาจรู้ดีว่า “เส้นแบ่งเสถียรภาพ” นั้นอยู่ตรงจุดใด และไม่ควรล้ำเส้นนี้ออกไป
มันเป็นโลกที่ดูเหมือนอันตราย แต่แก่นแท้แล้วมีเสถียรภาพมั่นคง เพราะมันตรรกะที่ชัดเจน มองเห็น “เส้น” ชัดเจนแต่ละฝ่ายสามารถคำนวณและหยั่งเชิงกันได้ ไม่ให้ “ออกนอกกรอบ” แห่งดุลกำลัง ทั้งสองฝ่ายรู้ว่าตนเองต้องเล่นตามกฎและกติกา เพื่อจะได้ไม่ปล่อยให้เรื่องเล็กๆ ความไม่เข้าใจกันหรือความเข้าใจผิดเล็กน้อย (ดังกรณีคิวบาในปี 2505 เกิดขึ้นอีก) มาทำให้เรื่องบานปลายเป็นสงครามนิวเคลียร์ ซึ่งพินาศย่อยยับกันทั้งคู่ มันเป็นโลกที่มีความชัดเจน และ “เป็นระเบียบ”

การพังทลายลงของกำแพงเบอร์ลินเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2532 โลกที่แบ่งค่ายและโลกที่ต่อสู้ กันทางเศรษฐกิจและการเมือง มีแสนยานุภาพที่ทำลายกันให้อีกฝ่ายย่อยยับนั้นได้สิ้นสุดลง มันกลายเป็นโลกใบเดียวทั้งทางกายภาพ ทางเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งถูกเสริมการพึ่งพากันและกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ด้วยสายใยเครือข่ายของการติดต่อสื่อสาร และสารสนเทศ โลกไร้พรมแดนที่มีเสถียรภาพและศานติ ดังเพลง Imagine ของจอห์น เลนนอน ส่อแววว่าจะเป็นความจริง

ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์การเมืองในเมื่อสหภาพโซเวียตและบริวารสังคมนิยม อันเป็นศัตรูสำคัญของระบบทุนนิยมเสรีได้ล้มครืนลงไปแล้ว จะมีใครหน้าไหนมาบังอาจตั้งตัว เป็นคู่ต่อสู้ของอภิมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาได้ มันมองไม่เห็นอันตรายที่จะคุกคามความสงบและเสถียรภาพของโลกได้เลย

จึงไม่เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจอันใดเลยเมื่อสหรัฐอเมริกาปราบกองทัพของซัดดัม ฮุสเซน ในสงครามที่ชื่อว่าพายุทะเลทราย” ได้สำเร็จด้วยความเหนือกว่าหลายขุมของอาวุธเทคโนโลยี เมื่อเสียเวลาเพียงประมาณ 3 สัปดาห์ และทหารอเมริกันเสียชีวิตเพียงไม่กี่สิบคน ย่อมทำให้ประธานาธิบดีบุช (ผู้พ่อ) ประกาศอย่างมั่นใจเต็มเปี่ยมเกินร้อยว่า “เรากำลังจัดระเบียบโลกใหม่” โดยผู้นำอเมริกันคิดว่าเขาสามารถควบคุมโลกให้เดินไปตามเส้นทางที่วอชิงตันกำหนดไว้ได้ โดยไม่มีการหักเหออกจากทิศทางที่วอชิงตันกำหนดไว้

แต่โลกที่เป็นจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ สหรัฐอเมริกาแม้จะมีอำนาจทางการเมือง ทางการทหารและทางวัฒนธรรมก็ไม่สามารถสนตะพายโลกแล้วจูงไปตามเส้นทางที่ตนเองปรารถนาได้
มันมีปัจจัยตัวแปรต่างๆ ที่สำคัญ เช่น digitalization, individualization ของโลก ซึ่งได้มีปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงกันไปมา ของเหตุการณ์ด้านต่างๆ ที่ก่อกำเนิดสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง จนทำให้นักวิชาการในสาขาต่างๆ หันมาศึกษาค้นคว้าโลกที่สลับซับซ้อนยุ่งเหยิงไร้ระเบียบ เพื่อรับมือในการอยู่กับโลกที่วุ่นวายนี้ให้ได้

ในการประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมไซเบอร์เนติกทางเศรษฐศาสตร์และสังคม เมื่อวันที่ 4-5 ตุลาคม 2534 ที่เมืองอาเชน (Aachen) ประเทศเยอรมนี ศาสตราจารย์ไฮโย ริกมันน์ (Heijo Rieckmann) แห่งสถาบันเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยคลาเก้นเฟิร์ต (Klagenfurt) ประเทศออสเตรีย ได้พูดประโยคสำคัญในการสัมมนาทางวิชาการดังนี้ “เราได้ก่อสร้างโลกที่ซับซ้อน อ่อนไหวและตื่นตระหนกง่ายขึ้นมาแล้ว”

ศาสตราจารย์ไฮโยมองเห็นว่า “เรายิ่งมีอำนาจทางเทคโนโลยีมากขึ้นเท่าใด อำนาจในการควบคุมยิ่งลดลงไปเท่านั้น และความเสี่ยงยิ่งสูงเพิ่มเป็นเงาตามตัวด้วย” ความอหังการของมนุษย์ ซึ่งมีกระบวนทัศน์เก่าครอบงำอยู่กว่า 200 ปีที่มองเห็นโลกเป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่เราสามารถควบคุมระบบการทำงานของมัน ให้เดินไปตามตรรกะของเหตุและผลที่เป็นเชิงเส้นกำลังคลอนแคลนอย่างถึงรากถึงโคน



ชาร์ลส์ แฮนดี้ (Charles Handy) ชาวอังกฤษผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ปราชญ์แห่งการบริหารจัดการ” ได้เขียนถึงโลกที่ขัดแย้ง และสวนทางกัน หรือโลกปฏิทรรศน์ (world of paradox) ไว้ในหนังสือ “คิดใหม่เพื่ออนาคต” (Rethink the Future) ซึ่งตีพิมพ์ในปี 2540 เขาให้ทรรศนะว่าเราจำเป็นต้องมี “สัมผัสใหม่” เพื่อเอาตัวให้รอดในโลกที่เป็นอนิจจัง


ในบทความ “ค้นหาญาณในความไม่แน่นอน” (Finding Sense in Uncertainty) ชาร์ลส แฮนดี้ ย้ำว่า “เรามีชีวิตอยู่ในห้วงเวลาที่สับสนยิ่ง เพราะเงื่อนไขปัจจัยต่างๆ ที่ก่อกำเนิดโครงสร้างแห่งชีวิตของเรานั้นได้ปลาสนาการไปแล้ว อนาคตข้างหน้าไม่มีใครมากำหนดมันเป็นไปได้ตายตัว แม้กระทั่งวิทยาศาสตร์ยังพูดถึงผลกระทบผีเสื้อ ซึ่งเรื่องเล็กๆ สามารถสร้างผลสะเทือนใหญ่บานปลายอย่างไม่มีใครคาดถึงได้ ดูไปแล้วมันเป็นเรื่องน่าห่วง เพราะเรากำลังอยู่ในช่วงของความยากลำบาก โลกไม่มีเส้นทางที่โรยด้วยกลีบกุหลาบอีกต่อไป

แต่ถ้ามองจากอีกมุมหนึ่งของโลกปฏิทรรศน์ในความไม่แน่นอนมันก็เป็นโอกาสของการเกิดสิ่งใหม่ ที่เราสามารถทำให้มันแตกต่างออกไปจากเดิมได้ หนทางสำคัญในการ

สร้างอนาคตให้แก่ตัวเราเอง ให้แก่องค์กรและสังคมนั้น มันไม่ได้อยู่กับใครที่ไหน มันอยู่ที่ตัวของเราเอง”

เราคงไม่ต้องอ้างนักวิชาการ หรือนักวิทยาศาสตร์คนใดมาเป็นหลักฐานยืนยันว่าโลกมันวุ่นวาย ไร้ระเบียบ ปั่นป่วน และเปลี่ยนแปลงฉับพลันอย่างคาดไม่ถึง เพราะเหตุการณ์ เช่น การถล่มตึกเวิรลด์เทรดฯ ในกรุงนิวยอร์กของคนในเครือข่ายของบินลาเดน เมื่อเดือนกันยายน 2544 การแพร่ระบาดของโรคซาร์ส และโรคระบาดไข้หวัดนกในทวีปเอเชีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตของผู้คนในที่ต่างๆ รวมไปถึงการระบาดของระเบิดพลีชีพและกิจการร้ายในทุกทวีป

สิ่งเหล่านี้คนไทยเคยได้ดูได้ฟังจากโทรทัศน์ วิทยุ และอ่านในหนังสือพิมพ์ แต่บัดนี้มันได้เข้ามาสู่ชีวิตประจำวันของเราแล้ว จากเหตุร้ายรายวันใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาสู่การวางระเบิดที่สนามบินหาดใหญ่และโรงแรมในจังหวัดสงขลา มันล้วนเป็นประจักษ์พยานของอันตรายอันมาจากความรุนแรงต่อชีวิตผู้บริสุทธิ์ ซึ่งเราคิดว่ามัน จะเกิดกับประเทศอื่น ความรุนแรงดังกล่าวเรา ไม่เคยอยู่ในจิตนาการมาก่อนว่าจะเกิดขึ้นในประเทศไทย

ในโลกใบเดียวที่เชื่อมโยงกันราวเป็นหมู่บ้านเดียวกัน ผลกระทบมันวิ่งถึงกันเร็วจี๋ ดูกรณีคลื่นยักษ์สึนามิที่ก่อตัวที่อินโดนีเซีย กวาดล้างชีวิตผู้คนนับแสน ยังกระทบมาถึงความตายของคนหลายพันคนในฝั่งทะเลอันดามันของไทยได้

ประโยคที่ว่า “มันไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศไทย มันมีแต่ในประเทศอื่น… มันคงจะไม่เกิดขึ้นกับเรา” จะนำมาใช้ไม่ได้อีกต่อไป



This entry was posted on Thursday, April 17th, 2008 at 12:22 am and is filed under บทความ. You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0 feed. Both comments and pings are currently closed.
 
http://www.chaiwatthirapantu.com/?p=57



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
 
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2553 13:41:28 »

ความไร้ระเบียบในความหมายทางวิทยาศาสตร์ คือ สภาพและกระบวนการของระบบที่ไร้เสถียรภาพ (unstable) อันมีความอ่อนไหวสูงยิ่งและเปราะบาง เมื่อมีการกระทบเพียงเล็กน้อยในสาเหตุเบื้องต้น (initial condition) แต่ เมื่อเกิดบ่อยๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เหตุเล็กๆ เพียงเบื้องต้นทำให้เกิดพัฒนาของระบบที่ดำเนินไปอย่างไม่เป็นเส้นตรง เป็นเส้นทางคดเคี้ยว กวัดแกว่ง บางครั้งถึงก้าวกระโดดฉับพลัน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจึงทำนายให้ถูกต้องแม่นยำได้ยาก
 
ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งตรงกันข้ามกับแนวคิดหลักที่เชื่อถือกันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่สามารถคำนวณได้อย่างถูกต้องไม่ผิดพลาด ขอให้รู้สมมติฐานอันเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นให้ชัดเจน จริงๆ จะสามารถทำนายผลลัพธ์ออกมาได้อย่างแม่นยำ



ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมนั้นเราสามารถศึกษาได้จาก Edward Lorenz แห่งสถาบัน MIT เมื่อกลางทศวรรษที่ 60 อาจารย์ด้านอุตุนิยมวิทยา (meteoro logy) ผู้ นี้พยายามสร้างโมเดลการคำนวณในการพยากรณ์อากาศโดยใช้สมการง่ายๆ แสดงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับกระแสลม เขาป้อนข้อมูลที่จุดทศนิยม 6 หลัก คือ 0.506127 เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งพิมพ์ผลออกมาทุกๆ นาทีด้วยความเบื่อที่นั่งคอยผลลัพธ์นานๆ เพราะคอมพิวเตอร์ยุคนั้นทำงานช้า Lorenz จึงตัดตัวเลขหลังจุดทศนิยมออกไปเสีย 3 หลัก ให้เหลือ 0.506 เขาเอาผลลัพธ์จากระยะหนึ่ง มาเป็นจุดเริ่มต้นของการคำนวณ แล้วสตาร์ตโปรแกรมใหม่ ผลของการคำนวณระยะแรกเหมือนกับการทดลองเก่าๆ ที่เคยทำมาครั้งแล้วครั้งเล่า หลังจากลุกไปชงกาแฟแล้ว กลับมาดูตัวเลขใหม่ ปรากฏว่าผลลัพธ์ต่างกันโดยสิ้นเชิง โมเดลของดินฟ้าอากาศไปกันคนละทิศทาง

Lorenz คิด ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์คงจะมีอะไรผิดพลาด จึงทดลองซ้ำอีก ผลคำนวณยังคงยืนยันว่าความแตกต่างดังครั้งแรก เขาทดลองอีกสองสามครั้ง ซึ่งก็ย้ำความถูกต้องของคอมพิวเตอร์
จนในที่สุด เขาก็ได้รู้ว่าความแตกต่างของโมเดลนั้นมาจากการลดตัวเลข 3 หลักหลังจุดทศนิยมซึ่งเป็น “เงื่อนไขเบื้องต้น” (initial condition) ในการคำนวณ เพราะความต่างของตัวเลขหลังจุดทศนิยมเพียงน้อยนิด ในเหตุเบื้องต้นคือ 1 : 1,000 เกิดเป็นผลลัพธ์ที่ต่างออกไป จากจุดเริ่มต้นจำนวนมหาศาลอย่างไม่น่าเชื่อ





เปรียบเสมือนการไหวตัวของกระแสลมเบาๆ ที่มาจากการกระพือปีกของผีเสื้อแต่กลับกลายไปสร้างผลกระทบใหญ่หลวง ทางดินฟ้าอากาศได้ Lorenz จึงขนานนามว่าเป็น “ผลกระทบผีเสื้อ” (butterfly effect) ซึ่งกลายเป็นถ้อยคำที่โด่งดังไปทั่วโลก

ศาสตราจารย์ Lorenz กล่าวว่า “ใน ทางทฤษฎีด้านอุตุนิยมวิทยา ผีเสื้อใหญ่ตัวหนึ่งกระพือปีกที่ฮ่องกง สามารถทำให้ดินฟ้าอากาศที่แคลิฟอร์เนียเปลี่ยนแปลงเป็นพายุได้เมื่อหนึ่ง เดือนให้หลัง”

ทฤษฎีไร้ระเบียบนอกจากพูดถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของสาเหตุเบื้องต้นแล้วยังพูดถึงเรขาคณิตเศษส่วน (fractal geometry) หรือ ไวยากรณ์แห่งทฤษฎีไร้ระเบียบ



มีคนแปลคำว่า geometry ในเชิงภาษาว่า “การวัดแผ่นดิน” และคำว่า fractal มาจากภาษาละติน fractus หรือ fractrum ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า fragmented (or irregular) เมื่อแปลเป็นไทย คือ แตกเป็นชิ้น เป็นเศษ

ขณะ ที่เรขาคณิตคลาสสิกของยูคลิดที่เราเรียนกันเมื่อเป็นเด็ก เป็นเรขาคณิตที่สนใจต่อแบบฟอร์มและรูปร่างในอุดมคติ คือ มีรูปร่างเป็นเส้นตรง วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หรือวงรี รูปร่างและทรงต่างๆ ในเรขาคณิตยูคลิดจึงสะอาด ราบเรียบ สม่ำเสมอ และชัดเจน

แต่เรขาคณิตเศษส่วน หรือ fractal geometry สนใจ ค้นคว้ารูปทรงที่เป็นจริงของธรรมชาติซึ่งขรุขระ ไม่เรียบร้อย เช่น ใบไม้ ก้อนเมฆ สายฟ้าแลบ ชายฝั่งทะเล ภูเขาและโตรกผา ปอดของมนุษย์ เป็นต้น มิติของเรขาคณิตเศษส่วนจึงมีลักษณะคล้ายทศนิยมไม่รู้จบ เช่น มิติเศษส่วนของสมองเรา คือ 2, 79 และของก้อนเมฆ คือ 2, 35 มิติเศษส่วนหรือ fractal ในที่นี้จะเป็นสองมิติของพื้นที่ หรือเป็นสามมิติของพื้นที่ หรือเป็นสามมิติแบบทรงลูกเต๋า หรือลูกกลมก็ได้

คุณสมบัติสำคัญของ fractal หรือเศษส่วนไม่รู้จบ คือ “ความคล้ายตนเอง” (self-similarity) นั่นคือ โครงสร้างของเศษส่วนที่ขยายตัวออกไปอย่างไม่สิ้นสุด ไม่ว่าในมิติทางกาล (time) หรือมิติทางเทศะ (space) ล้วนแล้วแต่มีรูปร่างคล้าย คลึงซ้ำกับแบบแผน (pattern) อันแรก อันเป็นแม่แบบของมัน (ดูภาพประกอบ)




Benoit Mandelbrot ผู้ค้นคว้าทฤษฎีไร้ระเบียบทางคณิตศาสตร์ สรุปความเชื่อมโยงแนบแน่นระหว่างคณิตศาสตร์เศษส่วนกับทฤษฎีไร้ระเบียบไว้ดังนี้

ความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่างที่เป็นเศษส่วน (fractal) กับระบบที่ไร้ระเบียบ (chaotic system) เกิดจากคุณสมบัติข้อที่บอกว่า การเปลี่ยนแปลงที่ขึ้นต่อ (depend) ความ อ่อนไหวอย่างยิ่งยวดของเงื่อนไขเบื้องต้น ประกอบกับการพัฒนาลักษณะพลวัตอันซับซ้อนและยอกย้อนกลับไปกลับมา ทำให้เศษส่วนแต่ละอัน จึงไม่เหมือนกันร้อยเปอร์เซ็นต์ รูปลักษณ์แต่ละภาพจะมีความคลาดเคลื่อนไปบ้าง เช่น ปุยเมฆแต่ละก้อน ต้นไม้แต่ละต้น ใบไม้แต่ละใบ หัวใจแต่ละดวง และสมองแต่ละก้อน ย่อมต่างกันไปบ้าง



อย่าง ไรก็ตาม เมื่อเรามองเห็นก็รู้ได้ทันทีว่านี่คือต้นมะม่วง นี่คือต้นมังคุด นี่คือใบโพธิ์ เป็นต้น และนี่เป็นสิ่งที่ทฤษฎีไร้ระเบียบ พยายามตอบคำถามว่า ทำไมเกล็ดหิมะแต่ละเกล็ดที่โปรยปรายลงมา จึงมีความแตกต่างกันไปเล็กน้อย ก็เนื่องจากว่าผลรวมของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการเกิดเกล็ดแต่ละเกล็ดต่างกัน

การค้นคว้าในมิติเศษส่วน (fractal) จึง มิใช่การนิยามสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเอง แต่เป็นการนำเสนอให้เห็นคุณสมบัติอันแท้จริงของสภาพแวดล้อมในระดับต่างๆ ตั้งแต่ขนาดจิ๋ว (micro) จนถึงขนาดยักษ์ (macro) ซึ่งปรากฏอยู่ในโลก
การพัฒนาที่ดำเนินไปในลักษณะเศษส่วนและไร้ระเบียบนั้น น่าสนใจ มิใช่เพียงว่าได้แสดงให้เห็นโครงสร้างที่ไม่สม่ำเสมอ ในระบบพลวัตที่ไม่เป็นเส้นตรงเท่านั้น ความสำคัญอีกข้อหนึ่งซึ่งจะมีประโยชน์ในการสังเกตดูแบบแผนของสรรพสิ่งในโลก (รวมถึงสังคม) คือโครงสร้างไร้ระเบียบ (chaotic structure) เป็น โครงสร้างพื้นฐานของกระบวนการสร้างสรรค์ในธรรมชาติ ธรรมชาติมีพลังสร้างสรรค์ในการจัดตั้งรูปแบบอย่างมหัศจรรย์ เมื่อได้สร้างแม่แบบเบื้องต้น ขึ้นแล้วรูปแบบอื่นก็จะลอกเลียนตามมา นักวิจัยไร้ระเบียบเรียกเศษส่วนคล้ายธรรมชาตินี้ว่า “ภาษา ของธรรมชาติ” พวกเขาเชื่อว่าวิธีการและรูปแบบที่เรขาคณิตเศษส่วนและทฤษฎีไร้ระเบียบได้ ถ่ายทอดความเป็นจริงของโลกออกมานั้น พอจะกล่าวได้ว่าทฤษฎีไร้ระเบียบเป็นเสาหลักของโลกทัศน์ใหม่ได้ และความสำคัญของเศษส่วน (fractal) ในการวิจัยคือ การช่วยทำให้เข้าใจ “จุดดึงดูดไร้ระเบียบ” (chaotic attractors) ได้ดีขึ้น เพราะมันมีโครงสร้างเศษส่วน (fractal structure) อยู่ในนั้น



สรุป อีกครั้งหนึ่งว่า เมื่อระบบพลวัตเคลื่อนตัวเข้าสู่สภาพไร้ระเบียบ รูปแบบและโครง สร้างของความไร้ระเบียบสามารถใช้เรขา คณิตเศษส่วนอธิบายให้เข้าใจ และในทางกลับกัน ทฤษฎีไร้ระเบียบช่วยในการคิดค้นว่า โมเดลอะไร กลไกอะไร ที่มีส่วนทำให้เกิดโครงสร้างเศษส่วนขึ้นมา การค้นพบดังกล่าวทำให้เกิดประโยคที่ว่า การวิจัยความไร้ระเบียบคือรากฐานของศาสตร์แขนงใหม่ เป็น “ศาสตร์อนิจจัง” (science of becoming)
 
http://www.chaiwatthirapantu.com/?p=49
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2553 13:41:40 »



ในหนังสือชื่อ “บันทึกนึกได้เอง” ที่ นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช ได้จัดพิมพ์ขึ้นด้วยการถ่ายสำเนาลายมือท่านพุทธทาส ที่บันทึกไว้ในหนังสือไดอะรี่ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2495 ท่านได้เขียนว่า



“ครั้นบัดนี้โลกโคลง เร่าร้อนอย่างยิ่ง จนเราต้องเตรียมใจกันใหม่เพื่อรับหน้า”

ต่อมาวันที่ 16 เมษายน ท่านได้ตั้งคำถามว่า “โลกต้องการอะไรบ้าง เพื่อลดความเร่าร้อนรุนแรงให้เย็นลง” ซึ่งท่านได้วงเล็บภาษาอังกฤษกำกับไว้ด้วย to cool the present turmoil

ในปีเดียวกันอีกนั่นเอง ท่านบันทึกไว้ในสมุดที่เป็นหน้าของวันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2495 ท่านเขียนตัวโตไว้กลางกระดาษ เพื่อย้ำความสำคัญเป็นอักษรพาดหัวใหญ่ว่า “โลกหมุนเร็วขึ้นทุกที ?” แล้วเสริมรายละเอียดข้อสังเกตด้วยลายมือของท่านเองดังนี้

“นักวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะทาง physics ย่อมไม่เชื่อและเห็นด้วย แต่สำหรับนักธุรกิจ นักรัฐศาสตร์ หรือนักการเมือง และอื่นๆ อีกเป็นอันมากย่อมมองเห็นชัด และเชื่อว่าโลกหมุน “จี๋” ยิ่งขึ้นทุกที และจะหมุนเร็วขึ้นอีกจนละลายไป เพราะการหมุนเร็วเกินขอบขีดนั้นก็ได้”

นี่เป็นข้อห่วงใยที่ท่านพุทธทาสมีต่อโลกและมนุษยชาติ สิ่งที่ท่านได้เขียนเอาไว้และกล่าวไว้ในหลายๆ ที่ในเวลาต่อมา ไม่ได้ต่างไปจากช่วงเวลานั้นเลย
นักรัฐศาสตร์ นักธุรกิจและนักสังคมศาสตร์ ได้พูดถึงโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็วจี๋ โลกที่พึ่งพิงอิงกันและกัน เขย่ากันไปมาจนโคลงเคลงเสียศูนย์ เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมานี้เอง

แต่ท่านพุทธทาส ท่านได้ “เห็น” โลกหมุนจี๋ เมื่อ 50 กว่าปีมาแล้ว อัจฉริยะอันน่าอัศจรรย์ในการมองเห็นภาพใหญ่ของโลก ได้อย่างถูกต้องของท่าน มีต้นตอหรือแหล่งที่มาจากแหล่งใด ?

ท่านพุทธทาสมีสายตาที่แหลมคมมองเห็นจุดเล็กนิดเดียวกับฝุ่นบางๆ ที่เกิดขึ้น ณ เบื้องขอบฟ้าอันไกลโพ้น แล้วท่านหยั่งรู้ได้ว่ามันนำไปสู่อะไร แค่เห็นเงื่อนไขเบื้องต้นเพียงนิดเดียวก็ประเมินผลลัพธ์ที่ใหญ่หลวงได้

นี่คือความหยั่งรู้ หรือญาณ หรือ sense ที่ชาร์ล แฮนดี้ พูดถึงใช่หรือไม่ ว่าเราต้องพัฒนาทักษะตัวนี้ขึ้นมาให้ได้ เพื่อรับมือกับโลกปฏิทรรศน์

เรื่องที่ท่านพุทธทาสเขียนไว้เมื่อปี พ.ศ.2495 สังคมไทยย่อมตามไม่ทัน มองไม่เห็น และเข้าใจได้ยากเพราะล้ำสมัยมากๆ

ขณะนั้นเรายังไม่มีโทรทัศน์ดูกัน โทรศัพท์ยังมีกันไม่มาก เครื่องบินไอพ่นที่นำนักท่องเที่ยวจำนวนมากมาประเทศไทยก็ยังไม่มี การทำมาค้าขายกับธุรกิจต่างประเทศก็ยังมีไม่กี่รายการ ไม่มี CNN ไม่มีอินเทอร์เน็ต ไม่มีมือถือและ MTV เรายังปฏิสัมพันธ์กับโลกอย่างช้าๆ และเบาบาง ไม่เข้มข้น และถี่ยิบเป็นวินาทีดังตลาดหุ้นวันนี้ ในบริบทดังกล่าวเป็นเรื่องยาก ที่คนธรรมดาจะมีจิตนาการได้ลึก

เมื่อพิจารณาตามสภาพของโลกเครือข่ายในวันนี้ เรื่องที่ท่านพุทธทาสสอนเอาไว้จึงมีความหมายอย่างยิ่งยวด สำหรับคนไทยในปัจจุบัน และอนาคตไปอีกหลายสิบปี

เราจำเป็นจะต้องศึกษาค้นคว้าสิ่งที่ท่านได้บรรยายเอาไว้ในที่ต่างๆ และเวลาต่างๆ อย่างเอาจริงเอาจัง เพื่อสามารถนำไปปฏิบัติได้ด้วย

มันเป็นเรื่องธรรมดาที่คนทั่วไปจะเข้าใจ “ความรู้” บางเรื่องที่ล้ำลึกและมาก่อนกาล ต้องใช้เวลานานกว่า ดูกรณีทฤษฎีสัมพันธภาพ (relativity theory) ของไอน์สไตน์ ซึ่งถูกเสนอเมื่อปี 2448 กว่านักฟิสิกส์จำนวนมากจะเข้าใจ และพิสูจน์ได้ว่าจริงก็ผ่านไปหลายสิบปี

“บันทึกนึกได้เอง” ของท่านพุทธทาส เมื่อปีพุทธศักราช 2495 ที่เตือนเรื่องโลกโยกโคลง และหมุนเร็วจี๋เกินขอบเขต กว่าที่คนทั่วไปจะตระหนักและเตรียมรับมือกับมันย่อมต้องใช้เวลาเช่นกัน
 

 
 
http://www.chaiwatthirapantu.com/?p=42
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2553 13:41:52 »

จากการได้ติดตามอ่านสิ่งที่ท่านพุทธทาสได้กล่าวเตือนเรื่องโลกที่กำลังอันตรายจากการโยกโคลงและหมุนเร็วจี๋เกินขอบเขต ทำให้ผมอดถามตนเองไม่ได้ว่าท่านพุทธทาสสามารถมองเหตุการณ์ล่วงหน้าได้เร็วกว่านักวิชาการตะวันตกถึง 30-40 ปีได้อย่างไร ? ท่านใช้หลักอะไร และวิธีการอะไร ในการมองทะลุ (insight) ทั้งๆ ที่สมัยนั้นยังไม่มีอินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ คำว่าโลกาภิวัตน์ยังไม่ได้บัญญัติ แต่ท่านบอกว่าโลกกำลังอยู่ใน turmoil ท่านก็รู้ล่วงหน้าแล้วว่าอันตรายใหญ่หลวงน่ากลัวต่อมนุษยชาติได้เกิดขึ้นแล้ว ท่านเตือนเรื่องการอยู่อย่างเท่าทันโลก ไม่ให้ถูก “เขี้ยวของโลก” ขบกัดได้ เสมือนลิ้นงูที่อยู่ในปากงูแต่ไม่ถูกเขี้ยวงูขบกัด



ถ้าจะเปรียบกับทฤษฎีไร้ระเบียบ ท่านพุทธทาสมีความเข้าใจลึกซึ้งต่อะบบที่ห่างไกลจากจุดสมดุล (system far from equilibrium) ท่านรู้กฎของวิทยาศาสตร์แห่งความอนิจจัง (science of becoming) เป็นอย่างดี ดังนั้นเมื่อท่านจับการเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไขเบื้องต้น (initial condition) และเห็นการเชื่อมโยงป้อนกลับของปัจจัยต่างๆ ที่กระทำต่อกันและกัน ท่านจึงรู้เรื่อง “ผลกระทบผีเสื้อ” (butterfly effect) ที่เหตุเล็กๆ สามารถสร้างผลสะเทือนใหญ่ได้

พูดง่ายๆ ท่านเข้าใจแก่นแท้ของศาสตร์แห่งความไร้ระเบียบอย่างดียิ่ง โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องพูดตัวทฤษฎี

ปริศนาที่ผมถามตัวผมเอง และพยายามค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ผมพอสรุปเป็นข้อมูลสมมติฐานว่าอัจฉริยภาพของท่านพุทธทาสในการเข้าใจแก่นของทฤษฎีไร้ระเบียบ น่าจะมาจากการที่หลักการการคิดและวิธีการแสวงหาปัญญา ดังนี้

ข้อที่หนึ่ง ว่าด้วยหลักอิทัปปจยตา อันเป็นกฎที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เป็นเรื่องการพึ่งพิงอิงกันของปัจจัยต่างๆ ที่เชื่อมโยงกระทบถึงกันและกันหมด และเมื่อเหตุปัจจัยดังกล่าวได้มาพบพานพร้อมกัน “สิ่ง” นั้นจึงอุบัติขึ้นมา

“สภาวะต่างเป็นที่เกี่ยวพันกันอยู่อย่างไม่รู้จักจบสิ้น” นั่นก็คือ การพิจารณาการปรากฏขึ้นของปรากฏการณ์ต่างๆ ที่ต้องอิงอาศัยกันและกัน การพิจารณาเช่นนี้จะช่วยปลดปล่อยเราให้เป็นอิสระจากบัญญัติแห่ง “เอกภาพ-ความหลากหลาย” หรือบัญญัติแห่ง “หนึ่ง-ทั้งหมด” การพิจารณานี้จะช่วยแยกสลายบัญญัติแห่ง “ตัวฉัน” เพราะว่าบัญญัติแห่งตัวตนนั้น สร้างอยู่บนพื้นฐานของความแตกต่างระหว่างเอกภาพกับความหลากหลาย เมื่อเราคิดถึงฝุ่นผงหนึ่งอณู ดอกไม้ดอกหนึ่งหรือมนุษย์ผู้หนึ่ง ความคิดของเรามิอาจหลุดพ้นออกมาจากความเป็นหนึ่งหรือเอกภาพนั้นได้ เรามองเห็นเส้นที่คั่นอยู่ระหว่างหนึ่งกับสิ่งอื่นๆ ที่มีอยู่มากหลายระหว่างหนึ่งกับสิ่งที่มิได้เป็นหนึ่งนั้น ในชีวิตประจำวัน เราต้องการสิ่งเดียวกันนี้ เช่นเดียวกับที่รถไฟอาศัยราง แต่ถ้าเราประจักษ์แจ้งในธรรมชาติที่ต้องอิงอาศัยกันและกันของฝุ่น ดอกไม้ และมนุษย์ เราจะสามารถมองเห็นได้ว่าเอกภาพนั้นมิอาจดำรงอยู่ได้โดยปราศจากความหลากหลาย ทั้งเอกภาพและความหลากหลายสามารถเหลื่อมล้ำกันได้อย่างเป็นอิสระ เอกภาพก็คือความหลากหลาย นี่คือหลักการของการต่างเป็นและต่างอยู่ในกันและกันของอวตังสกสูตร
ต่างเป็นนั้นหมายถึง “นี่ก็คือนั่น” และ “นั่นก็คือนี่” เมื่อเราพิจารณาลึกๆ ลงไปในความต่างเป็นและต่างอยู่ในกันและกัน เราจะเห็นว่าความคิดเรื่องหนึ่งกับมากมายนั้นคือสังขารที่จิตใจปรุงแต่งขึ้นมา ดุจเดียวกับถังที่ใช้โอบอุ้มน้ำ ครั้นเมื่อเราหลุดพ้นออกจากข้อจำกัดอันนี้ เราก็จะเหมือนกับรถไฟที่วิ่งไปได้โดยไม่ต้องอาศัยราง เช่นเดียวกับเมื่อเราประจักษ์ว่าเราอยู่บนโลกกลมๆ ที่หมุนรอบตัวเองและหมุนรอบดวงอาทิตย์ บัญญัติเรื่องข้างบนข้างล่างก็จะสลายตัวไปเอง เมื่อเราประจักษ์แจ้งในการอิงอาศัยกันและกันของสิ่งทั้งหลายทั้งปวง เราก็จะเป็นอิสระจากความคิดเรื่อง “หนึ่ง-มากหลาย”

ในอวตังสกสูตรได้มีการใช้ภาพของร่างแหแห่งรัตนะ เพื่อแสดงถึงปฏิสัมพันธ์ และความเกี่ยวพันอันหลากหลาย และไม่มีที่สิ้นสุดของสรรพสิ่ง ร่างแหนั้นประกอบด้วยรัตนะอันทอประกายสดใส ซึ่งมีหลากหลายชนิด และแต่ละรัตนะนั้นก็เจียระไนให้มีหลายแง่หลายมุม รัตนะหนึ่งๆ ได้ประมวลภาพของบรรดารัตนะทั้งหลายเอาไว้ในตัว เช่นเดียวกับที่มีภาพตัวอยู่ในรัตนะอื่นๆ ทั้งมวล ในภาพนี้เองที่แต่ละรัตนะย่อมบรรจุไว้ด้วยรัตนะอื่นๆ ทั้งหมด

เราสามารถให้ตัวอย่างจากรูปทรงทางเรขาคณิตไว้ด้วย
ยกตัวอย่างรอบวงกลมที่มี ก. เป็นจุดศูนย์กลางวงกลม ก็จะประกอบด้วยจุดต่างๆ รอบๆ ก. ที่มีความห่างจาก ก. เท่าๆ กัน วงกลมเกิดขึ้นได้ก็เพราะมีจุดต่างๆ ทุกจุดอยู่ที่นั่น ถ้าขาดจุดใดจุดหนึ่งวงกลมก็จะไม่เป็นวงกลมเช่นเดียวกับบ้านที่สร้างขึ้นมาจากสำรับไพ่ หากชักไพ่ใบใดใบหนึ่งออกบ้านทั้งหมดก็จะพังลง ไพ่แต่ละใบต้องขึ้นต่อกันและกัน ถ้าขาดหายไปเพียงหนึ่งใบ บ้านก็จะไม่มี การปรากฏของจุดจุดหนึ่งในวงกลมขึ้นอยู่กับการปรากฏของจุดอื่นๆ ณ จุดนี้เราจะเห็นได้ว่า “หนึ่งคือทั้งหมด ทั้งหมดคือหนึ่ง” จุดทุกจุดในวงกลมมีความสำคัญทัดเทียมกัน ไพ่แต่ละใบในบ้านที่สร้างด้วยไพ่ ย่อมมีความสำคัญเท่าๆ กัน แต่ละใบย่อมมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของทั้งหมด และย่อมหมายถึงความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของส่วนอื่นๆ ด้วย นี่ก็คือการอิงอาศัยกันและกัน…



…หลากหลายในหนึ่ง มองเห็นหนึ่งในความหลากหลาย มองเห็นหนึ่งในสิ่งที่มิอาจประมาณได้ มองเห็นสิ่งมิอาจประมาณได้ในหนึ่ง การเกิดและการดำรงอยู่ของธรรมทังหลายทั้งปวง มีธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสิ่งไม่จริงแท้ และไม่อาจแตะต้องสัมผัสผู้ตรัสรู้ได้ ดังที่ฉันได้กล่าวถึงความคิดประการหนึ่งในวิชาฟิสิกส์ร่วมสมัย คือความคิดเรื่อง “หูรองเท้าบูต” คือหูรองเท้าบูตที่ใช้จับเพื่อดึงเวลาสวมรองเท้าบูต ซึ่งเป็นความคิดที่ใกล้เคียงกับความคิดเรื่องต่างเป็นและต่างอยู่ในกันและกันมาก ความคิดเรื่อง “หูรองเท้าบูต” เป็นความคิดที่ปฏิเสธความคิดหน่วยพื้นฐานของสสาร (ความคิดหน่วยพื้นฐานของสสารที่กล่าวไว้ว่า สสารนั้นเมื่อแยกย่อยลงไปเรื่อยๆ เราจะพบหน่วยที่เล็กที่สุดที่มิอาจแบ่งแยกอีกต่อไปได้ หน่วยดังกล่าวนั้นคือหน่วยพื้นฐานของสสาร) จักรวาลนี้ก็คือ เครือข่ายและโยงใยของปรากฏ การณ์ ที่ปรากฏการณ์หนึ่งจะเกิดขึ้นจากการเกี่ยวโยงของปรากฏการณ์ต่างๆ ทั้งมวล สิ่งที่เราเรียกว่าอนุภาค แท้ที่จริงก็คือความสัมพันธ์ระหว่างอนุภาคต่างๆ นั่นเอง”



หนังสือที่เราเคยอ่าน เช่น “จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ” และ “ข่ายใยแห่งชีวิต” ได้สะท้อนโลกทัศน์แบบองค์รวมที่ฟริตจอฟ คาปรา (Fritjof Capra) นำไปพัฒนาเป็น “ระบบทัศน์แห่งชีวิต” (system view of life) ก็ดี และวิธีคิดกระบวนระบบ (system thinking) ที่ปีเตอร์ เซ็งเก้ ใช้อธิบายถึงการเปลี่ยนรูปของสังคม (social transformation) ก็ดี ล้วนมีหลักการเดียวกับอิทัปปจยตา ความแตกต่างเพียงเล็กน้อยอยู่ที่การใช้ภาษาถ้อยคำและเทคนิคในการอธิบายเท่านั้น

ข้อที่สอง การอธิบายเรื่องหลักการของอิทัปปจยตาเป็นเรื่องไม่ยาก แต่การฝึกให้เรามีทักษะในการคิดเป็นองค์รวม และเห็นความเชื่อมโยง มองทะลุปรากฏการณ์ไปสู่สาเหตุที่แท้จริงเป็นเรื่องยาก บทเรียนจากการฝึกเรื่องวิธีคิดกระบวนระบบหรือ system thinking ได้พิสูจน์มาแล้ว เพราะคนธรรมดาทั่วไปคิดแบบแยกส่วนมานาน และการคิดแบบธรรมดายังอาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย อันเป็นมูลฐานแห่งการสัมผัส ท่านพุทธทาสเห็นว่า “อายตนะต่างๆ เท่าที่เรามีนั้น อาจสัมผัสสิ่งต่างๆ ได้ภายในขีดอันจำกัด คือเท่าที่ประสิทธิภาพของมันพึงมี”


 
ดังนั้นการมองด้วยสายตาที่แหลมคมจนเห็น “การเชื่อมโยงที่ซ่อนเร้น” (hidden connection) ที่ ฟริตจอฟ คาปรา เขียนไว้จึงต้องอาศัย “ตาใน” หรืออินทรีย์พิเศษ อินทรีย์ขั้นพิเศษของท่านพุทธทาส คือ ปัญญา และตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่ถูกควบคุมไว้ได้ภายใต้อำนาจของปัญญาอีกชั้นหนึ่ง แต่การที่เราจะเข้าถึงปัญญาที่ลึกซึ้งเช่นนี้ได้ ก็ต้องมีการปฏิบัติสมาธิให้จิตสงบแน่วแน่เสียก่อน

ข้อที่สาม การที่จะเข้าใจและรับมือกับโลกที่กำลังอยู่ในอันตรายได้นั้น จำเป็นจะต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่มีพลวัตสูง ต้องตระหนักว่าสิ่งที่เราเห็น เราเป็นอยู่ในวันนี้ วันพรุ่งก็จะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นก็ได้ ในโลกยุคดิจิทัล ปัจจุบันเราสามารถเปลี่ยนเป็นอดีตในชั่วพริบตา ดังกรณีการพลัดพรากจากกันของครอบครัว การล้มครืนลงฉับพลันของธุรกิจและชีวิตชุมชน เมื่อครั้งเกิดคลื่นสึนามิ ที่พังงาและภูเก็ต

การเรียนรู้จากโลกที่จะผุดบังเกิด (emergence) จะต้องไม่ยึดมั่นอยู่กับทฤษฎีเก่าๆ และความคิดเก่าๆ ที่เชื่อตามกันโดยไม่ได้พิสูจน์ การทดลองค้นหาความจริงที่แท้นั้นต้องออกนอกกรอบของวิถีเดิมๆ ในหนังสือ “ภูมิปัญญาการนำทางสู่เนื้อธรรมของท่านพุทธทาส” ที่เขียนโดย อำนวย ยัสโยธา ได้อุปมาวิถีการค้นหาภูมิปัญญาแห่งอิสรภาพขั้นสูงสุดของท่าน ดุจดังนกนางนวล โจนาธาน ลิฟวิงสตัน ที่กล้าแตกฝูงไปพบโลกใหม่ด้วยความกล้าหาญที่ต้องการพิสูจน์ของสมมติฐานของตนว่าจะเป็นจริงหรือไม่ ด้วยการปฏิบัติซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อยืนยันความเป็นวิทยาศาสตร์ และว่าไม่ใช่เรื่องบังเอิญ

ผมคิดว่าท่านพุทธทาสมีจิตใจที่เปิดกว้าง เป็นอิสระ ไม่ยึดติดกับสิ่งใดๆ ท่านจึงสามารถใช้ภาษาและความคิดใหม่ๆ ของศาสนาอื่น นิกายอื่น มาอธิบายธรรมะให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่ายดังตัวอย่างที่ท่านได้เขียนคำว่า โอปนยิโก ไว้ในสมุดบันทึกวันพุธที่ 26 มีนาคม 2495 ท่านตั้งข้อสังเกตไว้ดังนี้ “คำว่า โอปนยิโก ซึ่งเป็นคุณบทบทหนึ่งของพระธรรมนั้น พวกลังกาไม่ได้แปลว่าควรน้อมเข้ามาในตน เหมือนดังที่แปลกันในเมืองไทย แต่แปลว่า is free and open to all ว่าเป็นสิ่งที่ควรคิดดูอย่างยิ่ง”

การฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถและทักษะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ดังที่สรุปมาแล้ว ทั้งสามข้อน่าจะสร้างฐานกำลังของการรับมือกับโลกที่ปั่นป่วนและซับซ้อนได้
 
http://www.chaiwatthirapantu.com/?p=28
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2553 13:42:06 »



เมื่อไม่นานมานี้ มีนักเขียนหนุ่มชาวอินเดีย ชื่อ ซาอิด ฮัสซัน (Zaid Hassan) ได้เขียนบทความชิ้นหนึ่ง ชื่อ “อักษรยู : ภาษาแห่งการฟื้นฟูพลัง” (The U : Language of Regeneration) เขาพูดถึงความจำเป็นที่มนุษย์ในปัจจุบัน ต้องสนใจฝึกฝนตนเองให้มีวิธีมอง “แบบใหม่” เพื่อทำให้มีสายตาที่แหลมคม (insight) “วิธีมองแบบใหม่” นี้ เป็นสิ่งที่ผู้รู้หรือนักปราชญ์ในอดีตสามารถทำได้เป็นกิจวัตร ซาอิดบรรยายถึงความสำคัญในการใช้ทักษะนี้พินิจพิจารณาโลก เพราะโลกวันนี้มันเปลี่ยนแปลงพลิกผันเร็วจี๋อย่างไม่มีใครคาดเดาได้ เปรียบเสมือนว่าเรากำลังเผชิญสัตว์ร้ายที่คาดเดาอารมณ์มันไม่ถูก เมื่อเราเผชิญหน้ากับสัตว์ร้ายตัวนี้ เราก็ต้องรับมือกับมันให้ได้

อุปมาอุปไมยที่ซาอิดยกขึ้นมาใน พ.ศ.2548 นั้น ท่านอาจารย์พุทธทาสกล่าวเอาไว้เมื่อหลายสิบปีมาแล้วว่า เราต้องระวัง “เขี้ยวของโลก” อย่าให้เขี้ยวของโลกมาขบกัดเราได้ เราต้องทำตัวเสมือนลิ้นงูที่อยู่ได้ในปากงูโดยไม่ถูกเขี้ยวงูทำร้าย

ชีวิตประจำวันของเราคนไทย ไม่ว่าจะอยู่ในกรุงเทพฯหรือหมู่บ้านไกลปืนเที่ยงล้วนมีโอกาสถูก “เขี้ยว” ของโลกขบกัดได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอันตรายฉับพลันจากธรรมชาติ จากอาชญากรรม จากโรคระบาด จากอุบัติภัย ทุพภิกขภัย และภัยจากโรคระบาด หรือโอกาสของการพลิกผันของสถานการณ์ธุรกิจและการเมืองเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ในระยะสิบปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการล้มระเนนระนาดของเผด็จการในประเทศต่างๆ เช่น ในอดีตประเทศที่เคยอยู่กับสหภาพโซเวียตมาก่อน

ไม่เพียงแต่การล่มสลายของระบบการเมืองผูกขาด บรรษัทใหญ่ๆ ของโลกที่นิตยสารธุรกิจเคยยกย่องว่า มีอำนาจและอิทธิพลไปทั่วโลก เช่น Enron, WorldCom หรือ Adelphia ความมั่นคงแข็งแรงทางธุรกิจล้มครืนลงชั่วข้ามคืน และผู้บริหารบรรษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ก็ถูกจับในฐานะอาชญากรทางการเงิน

ข้อมูลที่ผ่าน BBC หรือ CNN หรือผ่านอินเทอร์เน็ตก็ดี ในหน้าหนังสือพิมพ์ก็ดี ล้วนสร้างบรรยากาศของความไม่ไว้วางใจไปทั่วโลก เมื่อ 2-3 ปีก่อนสหประชาชาติได้ตำหนิ 85 บรรษัทใหญ่ที่ได้มีส่วนร่วมในการ “ปล้น” ทรัพยากรธรรมชาติในคองโก และเมื่อรายงานทางด้านเศรษฐกิจฉายข้อมูลออกมาว่า ช่องว่างระหว่างคนรวยที่มีไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์กับคนจนกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ ในแต่ละประเทศได้ถ่างกว้างออกไปอีก แล้วยังมีข่าวที่ไมเคิล ไอส์เนอร์ (Michael Eisner) ซีอีโอแห่งบริษัทดิสนีย์ มีรายได้ถึง 576 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 23,040 ล้านบาท) ย่อมสร้างความขุ่นเคืองให้ผู้คนทั่วไป แม้กระทั่ง อลัน กรีนสแปน (Alan Greenspan) นายใหญ่แห่งธนาคารกลางสหรัฐ ยังเอ่ยปากตำหนิบรรดาซีอีโอใหญ่ๆ ทั้งหลาย “โรคไวรัสแห่งความโลภได้ระบาดในโลกธุรกิจเสียแล้ว”

การเคลื่อนไหวประท้วงองค์กรที่โลกเห็นแก่ได้ และขาดธรรมชาติ บางทีปรากฏถี่ขึ้นในสังคมตะวันตก เช่น เมื่อ 10 ปีก่อน กลุ่มกรีนพีซได้นำประชาชนในยุโรปตะวันตกประท้วงกรณี Brent Spar ทำให้บริษัทเชลล์ ต้องประสบความเสียหายทางธุรกิจน้ำมัน ต่อมากลุ่ม Free Burma Coalition ก็บีบบริษัทใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ต้องถอยออกจากพม่า และเครือข่าย Rain Forest Action Network รณรงค์คัดค้านบริษัทค้าไม้ Home Depot จนทำให้ต้องปรับนโยบายใหม่

การประท้วงของกลุ่มพลเมืองที่รักความเป็นธรรมและต้องการสันติภาพต่อธุรกิจที่ไม่รับผิดชอบต่อสังคมมีถี่ขึ้นเรื่อยๆ โดยพุ่งเป้าเข้าสู่ความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ขององค์กร เมื่อปี 2546 และ 2547 ได้มีการประชุมเครือข่ายรากหญ้าที่นิวยอร์ก เรื่อง Brand Bashing Culture Jamming และ Subvertising การบ่อนเซาะภาพลักษณ์ของธุรกิจ ไม่อาจประมาทคนรากหญ้าได้เลย
ถึงแม้กลุ่มคนที่เอาการเอางานจะมีไม่มาก แต่พลังของพวกเขาอยู่ที่ระบบ IT ดังเช่น walmartwatch.com, chasebanksucks หรือ McSpotlight เมื่อเรื่องราวได้ถกกันมากใน “ห้องสนทนา” เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ การกระจายข่าวของผู้บริโภค สู่พนักงานบริษัท ไปยังนักข่าวแล้วกระจายออกสื่อสารมวลชน มันก็กลายเป็นแรงกดดันมหาศาลไปทั้งโลก กลุ่มนักกิจกรรมพูดว่า “ธุรกิจมีชีวิตและตายด้วยภาพลักษณ์” จึงไม่น่าแปลกใจอันใดที่ชนชั้นนำทั้งหลายเมื่อพบกันใน World Economic Forum ที่ Davos เมื่อปี 2003 จึงตั้งหัวข้อสนทนาว่า “การฟื้นฟูความเชื่อมั่น” (rebuilding trust)

ถ้ากวาดสายตาให้กว้างออกไปทั้งโลก จะพบว่าการฟื้นฟูความเชื่อมั่น มันไม่ได้จำกัดตัวอยู่ในภาคธุรกิจเท่านั้น ภาคการเมืองก็มีปัญหาหนักหน่วงไม่แพ้กัน งานวิจัยของโรเบิร์ต พุตนัม (Robert Putnum) ที่ได้ตีพิมพ์เมื่อปี 2539 พบว่าประชาชนในประเทศประชาธิปไตยมีความไว้วางใจพรรคการเมืองและนักการเมืองของตน น้อยกว่าเมื่อ 30 ปีที่แล้วมาก นักหนังสือพิมพ์ชาวอิตาเลียนชื่อ อันโตนิโอ โปลิโต (Antonio Polito) ได้เกริ่นนำในหนังสือ “การสนทนาว่าด้วยวิกฤตประชาธิปไตย” ปี 2546 ว่า

“หลังจากที่ได้ผ่านการทดสอบมาร่วมสองร้อยปี ระบอบประชาธิปไตยกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤตอย่างหนักหน่วง จึงไม่รู้ว่าทางออกจะเป็นอย่างไร”

การหาทางออกที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีการ “ย้ายกระบวนทัศน์ใหม่” (paradigm shift) ทั้งในระดับปัจเจกและระดับองค์กรหรือสถาบัน (institution) ความสนใจเรื่องการพัฒนาองค์กรและสถาบันที่ไม่ได้เป็นเครื่องจักร แต่เป็นเรื่องของความลึกซึ้ง ด้านความหมายแห่งชีวิตและคุณค่าแห่งความ เป็นมนุษย์ได้เริ่มก่อร่างสร้างตัวอย่างเป็นกิจจะ ลักษณะ เมื่อ ชาร์ลี คีเฟอร์ (Charly Kiefer) และ ปีเตอร์ เซงเก้ ได้เขียนบทความที่กลั่นออกมาจากงานเป็นที่ปรึกษา และจัดสัมมนาปฏิบัติการ ตอนปลายทศวรรษที่ 70 ว่าด้วย “องค์กรเมทาโนอิก” (metanoic organization) คำว่า เมทาโนอิก เป็นภาษากรีก แปลว่า “การเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของจิต” (fundamental shift of mind) ซึ่งต่อมาชาวคริสเตียนยุคต้น ได้ให้การอรรถาธิบายใหม่จากมุมของตนว่า เป็นการ “ตื่นแห่งศรัทธา” ซึ่งเห็นความสำคัญของวิสัยทัศน์และการมีคุณค่าแห่งชีวิต องค์กร “เมทาโนอิก” จึงไม่เพียงดำรงอยู่เพื่อทำเป้าหมายขององค์กรให้เป็นจริงเท่านั้น ทว่าต้องรับใช้สังคมด้วย



เมื่อปีเตอร์ เซงเก้ ได้อาศัยข้อมูลและผลวิจัยจากการสัมมนาเชิงปฏิบัติการที่ได้ทำมากว่าสิบปีแล้วลงมือเขียนหนังสือ The Fifth Discipline (วิชาที่ห้า) เขาพบว่าคำว่า discipline ซึ่งแปลว่าวิชาหรือวินัยนั้น มีนัยซ่อนอยู่ การที่เราจะเชี่ยวชาญวิชาใดวิชาหนึ่งนั้นจำเป็นต้องมีวินัยในการเรียนรู้และวินัยในการปฏิบัติ ดังชื่อในการสอนในวิชาศิลปะ หรือในศาสนา ที่มนุษย์จะบรรลุเป้าหมายที่ปรารถนาได้ ต้องมีวินัย ต้องฝึกฝนตนเองอย่างเข้มงวด
สิ่งที่ปีเตอร์ เซงเก้ ค้นพบจากงานฝึกอบรมและสัมมนาก็คือ การสร้างองค์กรเรียนรู้ (learning organization) หรือประชาคมแห่งการปฏิบัติ (communities of practice) นั้น ล้วนเกี่ยวพันกับเรื่องการเจริญสติและมีสมาธิ ยกตัวอย่างเช่น การทำ “ภาวนาสนทนา” (dialogue) ในกลุ่มจะต้องมีความเงียบเพื่อครุ่นคิดลึกๆ สำรวจความรู้สึกนึกคิดของตนเอง การฝึกฝนตนเองให้มีทักษะในการนิ่งอยู่ในความเงียบ และสงบจิตสงบใจ ได้กลายเป็นเรื่องสำคัญของการบริหารจัดการสมัยใหม่ในโลกที่มีพลวัต ซับซ้อน

ในขณะที่การบริหารจัดการเริ่มมีการย้ายกระบวนทัศน์ ก็มีปรากฏการณ์คู่ขนานที่น่าสนใจเกิดขึ้น คือนับแต่ทศวรรษที่ 90 เป็นต้นมา นั่นคือ การสร้างความรู้และปฏิบัติการเรียนรู้ภาคการบริหารจัดการ ได้นำความรู้ของวิทยาศาสตร์ใหม่ (new science) เช่น ทฤษฎีไร้ระเบียบ ทฤษฎีซับซ้อน (complexity theory) มาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรที่ให้ความสำคัญ ของพลังจิตวิญญาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ



ในห้วงเวลาเดียวกันก็ได้มีการสนทนาแลกเปลี่ยนมุมมอง และค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์ใหม่ กับพุทธศาสนาถี่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเราสามารถหาอ่านได้จากหนังสือหลายเล่ม เช่น The Lotus and Quantum, Buddhism and Breaking New Ground และ The Psychology of Awakening : Buddhism, Science and Our Day to Day Lives เป็นต้น
ในการสนทนาระหว่างภูมิปัญญาลึกล้ำของตะวันออกกับวิทยาศาสตร์ใหม่นั้น ทางฝ่ายพุทธศาสนามีท่านดาไลลามะเป็นผู้นำ และบางครั้งก็มีตัวแทนของไทยเข้าร่วมแลกเปลี่ยนด้วย
ตัวท่านพุทธทาสเองได้ศึกษาวิทยาศาสตร์ใหม่มาด้วยตนเองและสามารถนำไปใช้ในการอธิบายเรื่องอิทัปปจยตามาแล้ว เมื่อท่านได้พูดถึง “ทฤษฎีของสี” ระหว่างปาฐกถาพิเศษเรื่อง “วิถีแห่งการเข้าถึงพุทธธรรม” ณ พุทธสมาคม เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2483

การเชื่อมเข้าหากันของปราชญ์และมี “สนาม” อันเป็นพื้นที่ที่ทำให้เกิดการสอดบรรสานของภูมิปัญญาตะวันออก และภูมิปัญญาตะวันตกในปัจจุบัน และการวิวัฒนา การต่อไปข้างหน้าสะท้อนการมองการณ์ไกลของท่านพุทธทาสได้ดี
 
http://www.chaiwatthirapantu.com/?p=24
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2553 13:42:24 »

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2548 หนังสือพิมพ์รายวัน “ทาเกสสปีเกิล” ในกรุงเบอร์ลิน ได้ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์จิตแพทย์คนหนึ่งแห่งโรงพยาบาล “ชาร์ริแทร์” เธอพูดว่า ขณะนี้จำนวนผู้ป่วยจากความเครียดในประเทศเยอรมนีมีจำนวนเพิ่มสูงมากในระยะ 5 ปีหลัง ชาวเยอรมันจำนวนค่อนข้างมากมีความวิตกกังวลต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างคาดไม่ถึงสูงขึ้น คำว่า angst อันเป็นภาษาเยอรมันซึ่งแปลว่า “ความกลัว” ปรากฏมากขึ้นในสื่อมวลชนเยอรมัน และที่น่าสนใจก็คือในนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษก็รับคำว่า angst ไปใช้มากขึ้น เพราะมันสะท้อนความกลัวที่ลึกไปกว่าคำว่า fear ในภาษาอังกฤษ
 
ถ้าเรากวาดสายตาไปรอบโลกจะพบว่าความกลัว (angst) ต่ออนาคตที่คาดเดาไม่ได้นั้น ไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นในประเทศเยอรมนีเท่านั้น ประเทศอื่นๆ อีกมากน่าจะมีผู้คนที่หวาดหวั่นต่ออนาคตที่ยังมาไม่ถึง

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ? ทั้งๆ ที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก้าวไปไกลมากจนถึงสามารถชะลอความตายของมนุษย์ได้ อายุโดยเฉลี่ยก็สูงขึ้น ความสมบูรณ์พูนสุขทางวัตถุก็มีจนล้นเหลือ แต่คนส่วนใหญ่โดยเฉพาะประเทศที่ก้าวหน้าในตะวันตกและญี่ปุ่นยังคงไม่ได้มีความสุขกว่า 50 ปีก่อน หรือกล่าวให้ชัดลงไปความสุขกลับน้อยลงกว่าอดีต

มันเป็นโลกปริทรรศน์โดยแท้

จากความกลัวและความทุกข์ที่สังคมต่างๆ เผชิญในวันนี้ ทำให้นักคิด นักวิชาการ และประชาชน จำนวนหนึ่งเริ่มตั้งคำถามต่อทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นตัวเลขของความเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ แต่ไม่ได้คำนึงถึงเงื่อนไขด้านอื่นๆ ของสังคมว่าเป็นเป้าหมายที่ยังคงต้องเดินไปหามันหรือไม่
 

 
ริชาร์ด เลยาร์ด (Richard Layard) ได้เขียนหนังสือ เล่มหนึ่งชื่อ “Happiness is back” พูดถึงความ จำเป็นที่รัฐจะต้องปรับเปลี่ยนนโยบายสาธารณะเสียใหม่ และปัจเจกชนเองก็ต้องปรับทัศนคติหรือปรัชญาชีวิตเสียใหม่ด้วย โดยเอา “ความสุข” เป็นเป้าหมายแทนความร่ำรวยทางวัตถุฝ่ายเดียว

เรื่องที่ริชาร์ด เลยาร์ด นำเสนอนั้นเป็นตัวอย่างหนึ่งของการเคลื่อนไหวของกระบวนการกระบวนทัศน์ใหม่ ถ้าบทความนี้ถูกเสนอเมื่อ 20 ปีก่อน ความคิดเช่นนี้อาจจะถูกโจมตีว่าเพ้อฝัน เพราะการวัดความสุขที่เกิดขึ้นในสมองมนุษย์ เป็นเรื่องที่วัดได้ยาก ทำให้ขาดน้ำหนักในการผลักดัน แต่วันนี้ “วิทยาศาสตร์ใหม่”“อยู่เย็นเป็นสุข” โดยเฉพาะ neuroscience สามารถวัดความสุขได้จริง จึงน่าจะทำให้การผลักดันนโยบายสาธารณะมีพลังมากขึ้น ในสังคมไทยเองสำนักงานปฏิรูปสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) ก็กำลังเคลื่อนไหวนโยบาย ว่าเป็นเป้าหมายที่เราควรเพิ่มเข้าไป

อย่างไรก็ตาม การเอาชนะกลุ่มเศรษฐกิจกระแสหลักให้ได้มันยังเป็นหนทางที่ยาวไกลอยู่ ซึ่งควรศึกษาบทเรียน ของกระบวนการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่ามีความคดเคี้ยวของการเดินทางอย่างไร
 
 

 
ดูจากจุดเริ่มต้นของความคิดซึ่งส่องประกายจากหนังสือ The Silent Spring (ฤดูใบไม้ผลิที่เงียบงัน) ของ ราเชล คาร์สัน (Rachel Carson) ซึ่งออกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 2505 ทำให้สังคมตะวันตกต้องตะลึงงันกับ “ความจริงใหม่” ที่ถูกมองข้าม และเริ่มก่อตัวเคลื่อนไหว น้ำหนักของกระบวนการเริ่มมีมากขึ้น เดนนิส มีดอฟ (Dennis Meadows) ได้เขียนหนังสือชื่อ “การเติบโตที่จำกัด” (limits to growth) ในปี 2515 ความคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนก็ได้มีการค้นคว้าทดลองทำอย่างจริงจัง จนหลายประเทศแถบสแกนดิเนเวียได้รับความสำเร็จค่อนข้างสูง และก็มีพรรคการเมืองที่ให้ความสำคัญ ต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมดังที่เรียกกันว่า พรรคกรีน เกิดขึ้นในหลายประเทศ
 

อย่างไรก็ตามมองภาพรวมทั้งโลกการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมยังไม่สามารถยับยั้งทิศทางการทำลายโลก จากนโยบายเศรษฐกิจที่เน้นความรวยและความโลภเป็นสรณะ แม้กระทั่งพรรคกรีนแห่งเยอรมนี ซึ่งมีทีท่าว่า จะเป็นพลังแห่งกระบวนทัศน์ใหม่ก็ขาดพลังทางสังคม และพลังทางการเมืองอย่างน่าใจหาย วิกฤตโลกมันโบยแส้ใส่เราทุกวันจากรายงานดินฟ้าอากาศที่วิปริตทำให้ผู้คนล้มตายลงครั้งละมากๆ จากภัยธรรมชาติ และยังไม่นับหายนะลูกใหม่ที่จ่อคอหอยมนุษยชาติอยู่คือ โรคระบาดไข้หวัดนกที่อาจกลายพันธุ์เข้าไป สู่ผู้คน แล้วกลายเป็นโรคระบาดครั้งใหญ่ในยุคโลกาภิวัตน์ที่อาจจะมีผู้ตายนับล้านคน

มนุษย์จะต้องหันทิศทางการพัฒนาจากการสร้างงาน สร้างเศรษฐกิจของการผลิตเชิงปริมาณ มาสู่การผลิตเชิงคุณภาพด้วย ใช้หลักคิดเดียวกับเรขาคณิตเศษส่วน (fractal geometry) ที่มีอยู่ในทฤษฎีไร้ระเบียบสร้างเป็นโมเดลของการผลิตซ้ำในทางลึก ที่ละเอียดอ่อน แทนที่จะขยายออกในทางปริมาณ แต่กลับให้งานเกิดขึ้นจากการให้เวลานั่งผลิตงานแต่ละชิ้นให้ประณีต ให้มีคุณภาพ ทำให้ได้คุณค่าทางจิตใจของผู้ผลิตและผู้บริโภคด้วย เรขา คณิตเศษส่วนน่าจะเป็นโมเดลเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ในยุคที่ทรัพยากรต่างๆ เริ่มจำกัดขณะที่ตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ในจีนและอินเดียกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะโดยหลักคิดแบบเรขาคณิตเศษส่วนเรื่องการขยายตัวของ self similarity มันสามารถขยายซ้ำแล้วซ้ำอีกอย่างไม่มีวันสิ้นสุด

การเคลื่อนไหวสังคมไปสู่การพัฒนาทิศทางใหม่ที่เชื่อมวัตถุกับจิตใจเข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน แม้จะมิใช่กระแสหลักแต่เมื่อศึกษางานเขียนชิ้นสำคัญๆ ในการทำนายอนาคตโลกก็พอมองเห็นแสงสว่างรำไรที่ปลายอุโมงค์ จากหนังสือ “คลื่นคอนดราเทียฟลูกที่ 6″ ที่เขียนโดย ลีโอ เนฟิโอดอฟ (Leo Nefiodow) ซึ่งนำความรู้นักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซียชื่อ คอนดราเทียฟ (Kondratieff) ซึ่งวิเคราะห์คลื่นความยาวทางเศรษฐกิจทุนนิยมที่มีอายุคลื่นแต่ละคลื่นประมาณ 50 ปี ซึ่งมีช่วงคลื่นเศรษฐกิจขาขึ้นจนถึงขาลงว่ามาจากผลนวัตกรรมทางเทคโนโลยี คอนดราเทียฟวิเคราะห์ลูกแรกที่สำคัญเมื่อปี ค.ศ.1800 ว่าเกิดจากนวัตกรรมเครื่องจักรไอน้ำมาใช้ในการผลิตอุตสาหกรรมผ้าฝ้าย เนฟิโอดอฟนำความรู้นี้มาพัฒนาต่อเมื่อ 20 ปีก่อน เขาบอกว่าขณะนี้สังคมตะวันตกซึ่งเป็นหัวจักรเศรษฐกิจโลกนั้นกำลังอยู่ในช่วงคลื่นยาวคอนดราเทียฟลูกที่ 5 ซึ่งตัวเทคโนโลยีสำคัญคือ เทคโนโลยีสารสนเทศ และผลิตผลสำคัญคือความรู้จะเป็นตัวขับเคลื่อนการจ้างงาน และสร้างรายได้ให้แก่สังคม เนฟิโอ ดอฟคาดคะเนว่าอีก 10 ปีข้างหน้า เทคโนโลยีสำคัญในการสร้างความสามารถทางการผลิตของสังคม จะย้ายไปอยู่ที่จิตวิทยาสังคมอันเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ไม่ใช่วัตถุ และสุขภาวะจะเป็น “ผลิตภัณฑ์” ที่มนุษย์ปรารถนา (ภาษาเยอรมัน Psychosozial, Gesundheit )

เนฟิโอดอฟเชื่อว่าความสามารถของสังคมที่ดีจะเกี่ยวข้องกับสภาพความคิด และจิตใจของคนในสังคมที่สามารถร่วมกันคิดและร่วมกันทำ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดอย่างลุ่มลึก มีญาณทัสนะ และมีปัญญาจะเอาชนะความซับซ้อนและความผันผวนที่ถาโถมเข้ามาได้
 
 

เนฟิโอดอฟให้ความสำคัญต่อภูมิปัญญาตะวันออกที่มีปรัชญาพื้นฐานของการมองโลกแบบองค์รวม และเสนอว่าตะวันตกจะต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์เสียใหม่ และต้องสนใจ ศึกษาพัฒนาความลึกซึ้งทางจิตวิญญาณ (spiritual) อย่างจริงจังและเป็นวิทยาศาสตร์
 
 
 
 
 
http://www.chaiwatthirapantu.com/?p=17
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2553 13:42:38 »



เมื่อเราได้เดินทางสืบค้นภูมิปัญญาของท่านพุทธทาสมาจนถึงบทนี้ เราจะพบว่าท่านพุทธทาสมี “อินทรีย์พิเศษ” ที่ทำให้ท่านมองได้อย่างแหลมคมและลึกซึ้งกว่าคนธรรมดาหลายสิบปี เนื่องจากท่านเดินบนเส้นทาง “พุทธมรรควิถี”“หลุดพ้นเสียจากความหลุดพ้น” เมื่อท่านไม่ยึดติดกับเปลือกท่านจึงพลิกแพลงและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ในการที่จะสื่อสารให้คนธรรมดาสามารถก้าวเข้าสู่เส้นทางของผู้ตื่น ผู้รู้ และผู้เบิกบานได้ อย่างแท้จริง ทำให้ท่านไม่จำเป็นจะต้องยึดมั่นถือมั่นดังที่ท่านได้บรรยายในหัวข้อ

ท่านจึงสามารถนำความรู้ทางวิทยาศาตร์ นำเรื่องจิตวิเคราะห์ของซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) หรืออัลเฟรด อาดเลอร์ (Alfred Adler) มา ทดลองใช้ในการสอนธรรมะได้ ท่านพุทธทาสยังคงให้ความสนใจเรื่องศิลปะและใช้งานศิลป์เป็นเครื่องมือในการแสดงธรรม ดังตัวอย่างที่ท่านได้บรรยายในหัวข้อ “ศิลปะสำหรับการมีชีวิตอยู่ในโลก” และได้สร้างโรงมหรสพทางวิญญาณขึ้นดังข้อความบางตอนที่ท่านได้เขียนจดหมายถึงสหายธรรมทาน

“…อนึ่ง ขอวิงวอนผู้สนใจในการประกาศธรรมจงได้ร่วมมือกันสร้าง “โรงหนัง” แบบนี้ในลักษณะ ที่เหมาะแก่ท้องถิ่นของตัวกันขึ้นให้ทั่วหัวระแหงด้วยเถิด จะเป็น moral rearmament ทางศีลธรรมที่มีลักษณะเป็น dynamic อันมองไม่เห็นตัวอย่างรุนแรงในบรรยายกาศทั่วไป เพื่อประโยชน์แก่สันติภาพอันถาวรของมนุษย์เรา…”

ท่านพุทธทาสท่านก้าวเร็วล้ำหน้าคนทั่วไปมากจนสิ่งที่ท่านพร่ำเตือนไว้เมื่อกว่า 50 ปีก่อนจึงยังไม่เข้าสู่หัวใจคนไทย เพราะคนทั่วไปยังไม่ประสบกับอันตรายอย่างชัดเจน แต่วันนี้สถานการณ์ของความเร้าร้อนรุนแรง (turmoil) มันอยู่รอบตัวเราทุกๆ วัน ตั้งแต่ความรุนแรงของวัยรุ่นในรูปแบบต่างๆ ความเสื่อมทางศีลธรรมของผู้นำทุกระดับและทุกวงการ จนถึงภัยพิบัติจากธรรมชาติ และการฆ่าฟันรายวันในทุกภาคโดยเฉพาะชายแดนภาคใต้ ไฟกำลังไหม้ห้องเก็บของของบ้านเราแล้ว ถ้าเราไม่ช่วยกันดับไฟนี้เราจะไม่มี “บ้าน” ให้อยู่กันอย่างอบอุ่นเป็นสุขอีกต่อไป

แต่เราจะมองแต่บ้านเราหลังเดียวไม่ได้แล้ว เพราะบ้านของเรานั้นอยู่ใน “หมู่บ้านโลก” ซึ่งมีอีกหลายหลัง ไฟกำลังลุกไหม้อยู่เราคงไม่เพียงแต่ต้องดับไฟของบ้านเราเท่านั้น เราต้องช่วยดับไฟของบ้านเพื่อนด้วย เพราะนอกจากช่วยเขาให้พ้นทุกข์แล้ว มันยังช่วยให้เราอยู่เย็นเป็นสุขด้วย

วันนี้คนไทยพุทธมีพันธกิจที่ต้องปฏิบัติเพื่อถวายเป็นการบูชาท่านพุทธทาส ด้วยการสืบทอดปณิธานของท่านที่เพียรพยายามทำให้เป็นจริง

ปณิธาน 3 ประการของท่านพุทธทาส

1.การเข้าถึงหัวใจของศาสนาตน เพราะทุกศาสนามุ่งให้คนเป็นคนดีอย่างแท้จริง
2.ช่วยทำให้เกิดความเข้าใจระหว่างศาสนา ซึ่งเป็นการลดความขัดแย้งต่างๆ ที่ติดตามมาทั้งในสังคมและในโลก
3.ทำให้หลุดออกจากวัตถุนิยมสุดโต่งมาสู่ความสมดุลของวัตถุนิยมและจิตนิยม อย่าให้วัตถุมาอยู่เหนือจิตใจ เพราะความสุขที่แท้จริงอยู่เหนือวัตถุ

นับแต่วันนี้เราต้องช่วยกันทำให้จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญเกิดขึ้นในสังคมไทยได้ไหม ?
 
ถ้า “ผีเสื้อ” ตัวกระจ้อยร่อยอย่างพวกเรามาช่วยกันกระพือปีกแรงๆ พายุใหญ่แห่งการอภิวัฒน์น่าจะเกิดขึ้นได้แม้เวลาที่เกิดขึ้นจริงจะทอดยาวออกไปบ้าง
 
 
http://www.chaiwatthirapantu.com/?p=15
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2553 13:42:56 »




ทฤษฎีไร้ระเบียบกับซุนหวู่
โดย ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์


นักวิชาการหลายคนที่สนใจเรื่องระบบซับซ้อน(complex system) ได้แบ่งประเภทของความซับซ้อนไว้อย่างน่าสนใจว่ามันมีด้วยกัน 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ


ความซับซ้อนที่มีพลวัต(dynamic complexity)
ความซับซ้อนทางสังคม( social complexity )
และความซับซ้อนที่บานปลาย(generative complexity)


ถ้าระบบใดที่ความซับซ้อนยังมีดีกรีต่ำการแก้ปัญหาแบบวิธีเดิมก็พอจะเอาตัวรอดได้ แต่ถ้าระบบใดที่มีความซับซ้อนสูงจนถึงขั้นสูงยิ่ง วิธีแก้ปัญหาแบบเดิมๆที่เคยใช้ได้ผลมาแล้ว เช่นวิธีการ “สั่งการและควบคุม”(command and control) จะไม่ได้ผลอีกต่อไป เพราะระบบที่มีความซับซ้อนสูงจะไม่ทำงานดุจดังเครื่องจักรที่เดินไปเป็นเส้นตรง

และยิ่งความซับซ้อนทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวมาแล้วข้างต้นมาปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงกันและกัน ระบบมันจะเดินไม่ปกติ มันจะคดเคี้ยวพลิกผันได้ง่าย สถานการณ์และพฤติกรรมของระบบจะขึ้นๆลงๆ มีทิศทางที่คาดเดายาก ระบบใดก็ตามเมื่อเข้ามาอยู่ในสภาวะเช่นนี้จะเปราะบาง กระทบง่ายเรื่องเล็กๆสามารถส่งผลกระทบปฏิกริยาลูกโซ่และมีการป้อนกลับกันไปมาเชิงยกกำลัง(reinforcing feedback) จนบานปลายกลายเป็นเรื่องใหญ่ ทฤษฎีไร้ระเบียบหรือบางคนเรียกว่าทฤษฎีโกลาหล(chaos theory) ได้พูดเชิงอุปมา “ผลกระทบผีเสื้อ”(butterfly effect) ผลกระทบผีเสื้อนั้นคนไทยเราน่าจะยังจดจำกันได้ดีเพราะมีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับสังคมไทยมาแล้วสองครั้งในเวลาไม่ถึง10ปี

ครั้งแรกคือเศรษฐกิจฟองสบู่แตกในกรุงเทพฯแล้วเป็นโรคระบาดลามไปทั่วทั้งทวีปเอเซียจนกระทบไปถึงทวีปอเมริกาใต้ที่ฝรั่งเรียกว่า “โรคระบาดต้มยำกุ้ง” เหตุการณ์เชิง “ผีเสื้อกระพือปีก”ครั้งที่สองก็เป็นกรณีที่หนังสือพิมพ์เขมรอ้างว่า “น้องกบ”สุวนันท์ คงยิ่งกล่าววาจาดูถูกคนเขมรทำให้เกิดการชุมนุมประท้วงคนไทยจนเกิดบานปลายถึงขั้นเผาสถานทูตไทยและกิจการร้านค้าของคนไทย จากเรื่องที่ไม่มีอะไรกลายเป็นความขัดแย้งรุนแรงระหว่างประเทศ
ทฤษฎีไร้ระเบียบเตือนให้เราคิดและทำด้วยจิตปัญญา

(contemplative thinking) ให้มองเห็นภาพใหญ่ทั้งหมดของระบบ และตระหนักต่อสภาพอ่อนไหวเปราะบางของระบบเมื่อมันเคลื่อนตัวไกลออกมาจากจุดสมดุลย์(far from equilibrium) ทฤษฎีไร้ระเบียบย้ำอย่าหนักแน่นว่าการจัดการกับสถานการณ์ที่อ่อนไหวยิ่งเช่นนี้ไม่ควรใช้กำลังและความรุนแรงเข้าแก้ปัญหาเพราะจะยิ่งทำให้ทำให้เรื่องราวเลวร้ายลงไปกว่าเดิมอีก


ผมมีโอกาสได้อ่านบทความของจิม จิเมียน( Jim Gimian) ที่เขียนลงในนิตยสาร Shambhala Sun ฉบับมกราคม 2544 เขาได้ตีความตำราพิชัยสงครามซุนหวู่ไว้อย่างน่าสนใจ และผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสถานการณ์สังคมและการเมืองที่เปราะบางกระทบง่าย ณ เวลานี้


ซุนหวู่ได้ย้ำ ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่โดยไม่ต้องทำสงคราม ซึ่งหมายถึงการเอาชนะความขัดแย้งโดยไม่ต้องใช้กำลังนั่นเอง


จิมพูดว่าจะทำเช่นนี้ได้ ต้อง taking whole หรือหมายถึงต้องคิดเป็นองค์รวม ต้องเห็นภาพใหญ่ทั้งหมด คือ เห็นทั้งตัวเรา เห็นคู่ต่อสู้และเห็น “ฟ้า”คือสภาพที่อยู่เหนือการควบคุมของเรา เป็นอิทธิพลที่เราทำอะไรไม่ได้ แต่เราอาจจะมี ญาณทัศน์(intuition) พอจะสัมผัสได้บางๆ(sense) ว่าจะเป็นอย่างไรหรือไปทิศใด ขณะเดียวกันเมื่อรู้ฟ้า แล้วก็ต้องรู้ดิน ดินคือสภาพการณ์หรือสถานการณ์ที่เป็นจริงในเวลานี้ว่าเป็นอย่างไร เราและคู่ต่อสู้ยืนอยู่ตรงไหน และอย่างไร ดินหรือสถานการณ์เองก็ไม่ได้นิ่ง มันเคลื่อนตัวไปมา เราจำเป็นต้องตระหนักต่อสภาวะดังกล่าวตลอดเวลา ข่าวสารข้อมูลที่แม่นยำเป็นสิ่งจำเป็น ผู้นำจะต้องมีอารมณ์สงบรักษาความแจ่มชัดในการพินิจพิจารณาตลอดเวลา สายตาต้องไม่ฝ้ามัวด้วยความโกรธหรือมิจฉาทิฐิ


จิมพูดถึงศิลปะของซุนหวู่ในการทำงานกับความปั่นป่วนและไร้ระเบียบ (chaos) ไว้อย่างน่าสนใจดังนี้ “แก่นแท้ของการยุทธ์ และชีวิตที่แท้จริงมักจะทำนายให้แม่นยำได้ยาก มันเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและสับสนวุ่นวาย ความไร้ระบียบมันเกิดขึ้นเมื่อกติกาเก่า กฎเกณท์เก่าและระบอบเก่ากำลังจะหมดสภาพ แต่ระเบียบใหม่ กติกาใหม่และระบอบใหม่ก็ยังไม่ทันเกิด มันเป็นห้วงเวลาที่ไม่มีอะไรแน่ และเป็นอันตรายเมื่อสรรพสิ่งที่ดูข็งแกร่งได้แตกลงเป็นเสี่ยง ผู้นำที่ชาญฉลาดจะไม่หวั่นไหวกับความปั่นป่วนเขายังสงบเยือกเย็นเพราะเห็นภาพรวม เพราะท่ามกลางความปั่นป่วนสับสนนี้เขาได้เห็นร่องรอยของระบบที่กำลังฟอร์มตัวขึ้นมา ดังเช่นท่ามกลางความดกลาหลวุ่นวายของพายุเฮอริเคนที่เคลื่อนตัวแถบชายฝั่งดูเสมือนทำนายยาก เราสามารถมองเห็นรูปร่าง( pattern) ของมันได้ ความไร้ระเบียบกับความเป็นระเบียบจึงเป็นสองด้านของเหรียญ ทั้งสองส่วนนี้แหละประสบการณ์องค์รวมของเรา เราเห็นความดีและความชั่ว เห็นความไม่เป็นธรรมกับความยุติธรรม เห็นทั้งความสับสนและความแจ่มชัด รู้ว่าทั้งหมดนี้เชื่อมโยงกันและกันและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา


“ความไร้ระเบียบเกิดจากความมีระเบียบ
ความกลัวเกิดจากความกล้า
ความอ่อนแอเกิดจากความเข้มแข็ง”


ห้วงเวลาที่มีความไร้ระเบียบเกิดขึ้นมักเป็นช่วงที่มีความยากลำบากและทุกข์ใจ แต่ในขณะเดียวกันมันก็เป็นห้วงเวลาที่มีพลวัต เป็นเวลาของการเปิดกว้างครั้งใหญ่ ทุกอย่างเป็นไปได้ทั้งนั้น มันเป็นโอกาสของการสร้างสรรค์ ผู้นำที่ฉลาดต้องมองทะลุเรื่องนี้เห็นศักยภาพของสรรพสิ่งที่กำลังก่อตัวแล้วชื่นชมมัน เพราะเขาไม่หุยดนิ่งอยู่กับที่ทำตัวได้เสมือนน้ำ ความไร้ระเบียบจึงไม่ได้เป็นภัยคุกคามเขา


เมื่อความไร้ระเบียบคือห้วงเวลาที่มีพลานุภาพ เขาจึงรู้จักใช้มันให้เป็นประโยชน์ เขาจึงไม่ด่วนลงมือปฎิบัติการเมื่อมันยังไม่สุกงอม เขารู้จักรอคอยอย่างสงบ รอคอยจังหวะที่จะใช้ “พลังฉี” แม้มันจะไม่มากแต่พลิกสถานการณ์ได้ ผู้นำจะต้องไม่คลาดสายตาจากภาพรวมไม่ปล่อยให้ “เฉพาะส่วน”ที่มาทำลาย “ส่วนใหญ่” เขาจึงฝึกฝนตนเองให้มีความลุ่มลึกในวิธีพิจารณา มีสติ และปล่อยวางพฤติกรรมเดิมๆ เขาเห็นทั้งหมด เห็น “ฟ้า” เห็น “ดิน” เห็น คู่ต่อสู้ และเห็นตนเองทั้งอารมณ์ความรู้สึก จิตใจทั้งจุดอ่อนจุดแข็งของตนโดยไม่เข้าข้างตนเอง


สังคมไทยได้ก้าวมาถึงจุดที่มีความเป็นไปได้ทุกอย่าง เรามองเห็นการฟอร์มตัวของสิ่งใหม่ที่ซ่อนตัวอยู่หลังเมฆดำทมึนหรือไม่ว่ายังมีดวงสุริยานับพันดวงที่กำลังรอจะฉายแสงออกมา Scott Peck ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า A World is Waiting to Be Born เราตระหนักกันใหมว่า “สังคมไทยที่มีพลังเข้มแข็งของพลเมืองกำลังรอที่จะผุดบังเกิด”


พวกเราทุกคนคือผู้ที่ทำการเปลี่ยนแปลง การเป็นผู้นำที่แท้คือทำสิ่งที่ดีให้เป็นจริง เวลาของผู้นำยุคใหม่มาถึงแล้ว เพราะท่ามกลางความไร้ระเบียบนี่แหละคือโอกาสที่ระบบที่เราปรารถนากำลังก่อรูป
เห็นหน่ออ่อนอันงดงามมีวุฒิภาวะของเยาวชนเพื่อประชาธิปไตยไหม?


ทำไมเราคนไทยจึงไม่ช่วยกันให้ความใฝ่ฝันอันดีงามของเด็กๆเหล่านี้ได้เป็นจริง

 
ดูภาพใหญ่ที่เป็นอนาคตของชาติเราไว้ ให้แจ่มชัด รักษาอารมณ์ความรู้สึกและความกล้าหาญในการก้าวข้ามกรอบเดิมๆให้ดี อีกไม่นานวันเราจะสู่ “ภพใหม่”ของสังคมพลเมืองกันแล้ว
จาก ผู้จัดการออนไลน์ 3 มีนาคม 2549 18:25 น.
 
 
http://www.chaiwatthirapantu.com/?p=10
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2553 13:43:13 »



“มีสัญญาณอันตราย เต็มไปหมดในประเทศนี้”


โดย..ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ผู้นำสาร Chaos Theory


ไม่ว่า ถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ จะเข้าใจทฤษฎีไร้ระเบียบ (Chaos Theory) ถูกหรือผิด แต่หลังจากที่เขาเสนอทฤษฎีนี้ขึ้นมาวิเคราะห์การทำงานของพรรคไทยรักไทย ก็นับว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยไม่น้อย ทำให้เป็นจุดสังเกตที่จะหันกลับไปศึกษาทฤษฎีดังกล่าวอีกครั้งกับบุรุษไปรษณีย์ ผู้นำสารนี้จากประเทศเยอรมนีเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2536


ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ วิเคราะห์สังคมไทยผ่านทฤษฎีดังกล่าวอยู่ในหนังสือ ‘ทฤษฎีไร้ระเบียบ (Chaos Theory) กับทางแพร่งของสังคมไทย ความท้าทาย ณ จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ’ ซึ่งตีพิมพ์เป็นครั้งที่ 5 ภายในระยะเวลา 10 ปี โดยมูลนิธิภูมิปัญญา

ใครจะเชื่อว่า แท้จริงแล้ว สาระสำคัญของ ‘ทฤษฎีไร้ระเบียบ’ นั้นคือ ‘ผลสะท้อนของกฎแห่งกรรม’!

คือกฎแห่งธรรมชาติที่มีเหตุ มีผล เป็นอย่างยิ่งจากการกระทำของมนุษย์เรานั่นเอง ที่เข้าไปควบคุมธรรมชาติ ควบคุมผู้อื่น พยายามจัดทุกอย่างตามใจปรารถนา แต่ความปรารถนาของผู้หนึ่ง หากไปเบียดเบียนผู้อื่นต่อ ก็ย่อมมีผลสะท้อนกลับเป็นลูกโซ่ตามมาไม่หยุดนิ่ง และก็จะกระทบกลับไปยังผู้จุดไฟปรารถนาทั้งมวลพร้อมๆ กับเกิดแรงกระเทือนเป็นทวีคูณที่ควบคุมไม่ได้อีกต่อไป สุดท้ายก็จะเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่คาดไม่ถึง คล้ายกับคำเปรียบเปรยของพอล โอร์มีรอด นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษได้เสนอว่า นักเศรษฐศาสตร์ควรเรียนรู้ทฤษฎีไร้ระเบียบของ Edward Lorenz และเปรียบปรากฎการณ์ลดค่าเงินบาทของไทยเมื่อปี พ.ศ.2540 ว่าเสมือนผีเสื้อตัวเล็กๆ เมื่อกระพือปีกก็จะทำให้เกิดพายุใหญ่ในอีกทวีปหนึ่งได้


ขณะที่การทำลายโลกโดยน้ำมือมนุษย์กำลังคืบคลานไปและกำลังจะกลับมากัดกินตัวเอง ‘ทฤษฎีไร้ระเบียบ’ ไม่เพียงบอกกล่าวถึงผลสะท้อนกลับด้านลบที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ยังหาทางออกที่งดงามไว้ด้วย โดยมอบกุญแจไขความลับในการช่วยเหลือสถานการณ์อันเลวร้ายที่กำลังปั่นป่วนและสับสนอยู่ในขณะนี้ดอกหนึ่ง คือการกลับมาสนใจพลังของคนเล็กคนน้อย ที่คล้ายกับผีเสื้อตัวกระจ้อยร่อยอีกตัวหนึ่ง ที่เมื่อกระพือปีกก็จะพัดพาละอองเกสร ไปผสมให้กับมวลหมู่ดอกไม้ได้ขยายพันธุ์สีเขียวชอุ่มไปทั่วโลกได้เช่นกัน

“ไม่มีเรื่องใดบังเอิญ หากแต่ความบังเอิญที่เกิดขึ้น เป็นเพราะเราขาดการสังเกตด้วยสติและปัญญาต่างหาก”

เช่นเดียวกับนิทานเรื่องเจ้าชายกบ เดิมเจ้าหญิงจูบเจ้าชายกบ กบนั้นจะกลายเป็นผู้ชายขึ้นมา แต่เราไม่เคยคิดเป็นมุมกลับว่า บางทีเมื่อจูบไป เจ้าหญิงอาจกลายเป็นกบตัวเมียอีกตัวหนึ่งก็ได้ หรือในความเป็นจริง กบตัวหนึ่ง ในพื้นที่หนึ่ง อาจกลายเป็นอาหารโอชะของคนๆ หนึ่ง ขณะที่กบอีกตัวหนึ่ง ในอีกที่หนึ่ง กลับกลายเป็นเพื่อนรักของเด็กคนหนึ่งก็เป็นได้เช่นกัน!

************************

0 ‘ทฤษฎีไร้ระเบียบ’ ถูกปลุกขึ้นมาวิเคราะห์สังคมไทย ในฐานะที่อาจารย์เป็นผู้นำเข้ามาจากประเทศเยอรมัน ช่วยขยายความหน่อยค่ะ


ผมไม่รู้ว่าผู้ที่หยิบทฤษฎีไร้ระเบียบไปพูดเขาเข้าใจขนาดไหน แต่หัวใจอันแรกที่เราต้องจับให้ได้คือ ทฤษฎีไร้ระเบียบนี้เป็นทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมันมีการยืนยันทางด้านคณิตศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา ฟิสิกส์ เคมีก็พิสูจน์กันมาเยอะแล้ว ตอนที่ผมนำทฤษฎีนี้เข้าสู่สังคมไทยมันกี่ปีมาแล้วล่ะ ประมาณ 10 ปี ตอนนั้นคนยังสงสัยว่าจะนำมาประยุกต์ใช้วิเคราะห์กับสังคมไทยได้อย่างไร

แต่ตอนนี้เราก็คงจะยืนยันได้ว่า Chaos Theory หรือทฤษฎีไร้ระเบียบนี้ในต่างประเทศเขานำไปใช้หลายเรื่อง ทั้งในตลาดหุ้น การตลาด แม้กระทั่งทางด้านเศรษฐาสตร์และสังคมศาสตร์บางส่วนเขาก็นำไปประยุกต์ใช้ แต่คนที่นำไปใช้ต้องเข้าใจแก่นของมันก่อน

แก่นที่สำคัญคือ เราต้องรู้ว่า ทฤษฎีไร้ระเบียบเป็นคู่ฝาแฝดของอีกทฤษฎีหนึ่ง คือทฤษฎีซับซ้อน เพียงแต่ว่าทฤษฎีไร้ระเบียบเกิดขึ้นช่วงที่สภาวะกำลังปั่นป่วน กำลังจะพลิกผันนี่แหละ แต่ทั้งสองทฤษฎีนี้อยู่ในวิธีคิดวิธีหนึ่ง คืออาณาจักรของ System Thinking หรือระบบวิธีคิด ซึ่งในจุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ ของ ฟริตจ๊อฟ คาปร้า เขาเขียนไว้เยอะ

หัวใจของมันอยู่ตรงที่ว่า เมื่อสังคมที่ซับซ้อนแล้วเชื่อมโยงถึงกันและกันหมด มันก็มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ทุกอย่างอยู่บนกฎอนิจจัง คือไม่หยุดนิ่ง เป็นระบบพลวัต

แล้วมันมาเปลี่ยนเอาตอนไหนล่ะ ทุกอย่างอาจเปลี่ยนช้าๆ โดยไม่รู้ตัว หรือบางอย่างอาจมาถึงจุดๆ หนึ่งแล้วพัวะขึ้นมาเลย ทฤษฎีไร้ระเบียบมาจับตรงที่มันเปลี่ยนแบบพัวะพะฉับพลันทันใด


0 ยกตัวอย่างง่ายๆ ชัดๆ


จริงๆ แล้วทุกอย่างที่จะเกิดขึ้น เปลี่ยนพัวะอย่างคาดไม่ถึงนั้น มันสั่งสมตัวมาก่อน โดยที่เราไม่ทันสังเกต คือมันละเอียดอ่อนมากโดยที่เราไม่รู้ตัว ตรงนั้นทำให้เราอาจจะละเลย ทฤษฎีไร้ระเบียบ มันก่อตัวจากเหตุเล็กๆ นิดๆ สะสมมาเรื่อย เป็นปี สองปี สามปี พอถึงจุดๆ หนึ่งมันออกฤทธิ์เลย ก็ตายแล้ว แย่แล้ว เช่น ฟองสบู่แตกของประเทศไทย ที่เราเรียกว่าโรคต้มยำกุ้งระบาดไปทั่วนี่แหละ จากเมืองไทยระบาดไปที่สิงคโปร์ ฮ่องกง เลยไปถึงเกาหลีใต้ ไต้หวัน กระทบไปถึงรัสเซียช่วงหนึ่ง ถ้าไปย้อนดูมันกระแทกไปหลายแห่ง


คิดดูประเทศไทยสั่งสมความมั่งคั่งมากว่า 50 ปี ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองมา แล้วภายในสองสัปดาห์สังคมไทยจนลงโดยฉับพลัน จริงหรือเปล่า เป็นหนี้ตั้ง 2 ล้านล้านภายในสองสัปดาห์ หลังจากนั้นก็มีหนี้ทบเข้าไปอีกเป็น 5 ล้านล้าน จำได้ไหม เกิดขึ้นโดยฉับพลันมาจากไหน อยู่ดีๆ ก็ตูมขึ้นมา

นี่คือทฤษฎีไร้ระเบียบ ทำนายไม่ได้ เขาจึงตั้งชื่อว่า Chaos Theory มันไม่รู้จะไปทางไหน อย่างกรณีฟองสบู่แตกของไทย ประเทศที่รับหนักที่สุดคืออินโดนีเซีย ตอนนั้นซูฮาร์โตกำลังครองอำนาจอยู่ เศรษฐกิจของอินโดนีเซียก็ซวนตามไปด้วย ความไม่พอใจซูฮาร์โต เผด็จการมากี่ปีก็ไม่รู้ เกิดการเดินขบวนประท้วงซูฮาร์โต จนเขาต้องลงจากอำนาจไป

มาถึงยุคของนางเมกาวะตี ลูกสาวคนโตของอดีตประธานาธิดีซูการ์โน (ผู้ก่อตั้งประเทศอินโดนีเซียโดยการประกาศเอกราช พ้นจากสภาพอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์หลังสงครามโลกครั้งที่สอง) อำนาจของซูฮาร์โตที่เคยรวบอำนาจไว้กับมือ ก็ทำให้ความไม่พอใจทั้งหลายที่ก่อตัวเงียบๆ อยู่ในอินโดนีเซีย มันก็ระเบิดขึ้นมาอีกหลายอย่าง ทำให้เกิดกลุ่มอาเจะห์ ก็เนื่องมาจากการไม่ได้รับความเป็นธรรม หลายเรื่องก็มาจากเรื่องที่สะสมเอาไว้นานแล้ว

0 ถ้ามองอย่างรูปธรรม ทฤษฎีนี้กำลังพูดถึงการเบียดเบียนคนเล็กคนน้อยมานานจนกระทั่งวันหนึ่งเราทนไม่ได้ก็ลุกฮือขึ้นมา?


คำว่าเล็กๆ น้อยๆ มีหลายอย่าง อาจเป็นการสร้างความไม่พอใจนานัปการ ตั้งแต่เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องวัฒนธรรม เรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งมันกระทบต่อความทุกข์ของชีวิตมนุษย์ มันสั่งสมมาเรื่อยๆ มันไม่เกิดในตอนแรก แต่พอถึงจุดๆ หนึ่งมันก็เป็นไฟลามทุ่งเลย พูดง่ายๆ คือ มีดินปืนวางอยู่เต็มไปหมด แล้วมีคนมือบอนสูบบุหรี่อยู่แถวนั้น โยนไม้ขีดไฟทิ้งโดยไม่ทันเห็นว่าไปโดนดินปืน มันก็ระเบิดตูมๆๆๆ ขึ้นมา


อีกอย่างหนึ่งมาดูกันก็ได้ อย่างกรณีการจี้เครื่องบินไปชนตึกเวิลด์เทรดที่สหรัฐอเมริกา จากการกระทำของคนไม่กี่คน แต่เปลี่ยนโลกไปอย่างสิ้นเชิง เปลี่ยนไปในเรื่องของความสัมพันธ์ ประเด็นปัญหา ยังไม่รู้ว่าจะไปจบลงอีท่าไหน หลังจากนั้น อเมริกันก็จับเรื่องก่อการร้ายเป็นเรื่องใหญ่ พยายามสร้างเรื่องก่อการร้ายขึ้นเพื่อสร้างบทบาทให้ตัวเองเข้ามาคุมโลกทั้งโลก เข้ามาจัดการกับประเทศ กลุ่มคนที่คิดว่าจะเป็นอันตรายต่อตัว ซึ่งจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้
อย่างกรณีเข้าไปในอิรัก จะจัดการกับเกาหลีเหนือ ไปว่าอิหร่านเขา แม้แต่กิจการในประเทศไทยก็เข้ามาแซกแทรง กรณีจับพี่น้องมุสลิมสามคนเรื่องเป็นเจไอหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่สหรัฐนั่นแหละตัวการสำคัญ


ทำไมอยู่ดีๆ มนุษย์ถึงมาจี้เครื่องบินแล้วเอาไปบินชนตึกล่ะ สาเหตุมาจากไหน ก็ต้องมีสาเหตุที่สั่งสมมานาน


สรุปสั้นๆ ว่าหัวใจของทฤษฎีไร้ระเบียบ มันอยู่ที่ว่าสถานการณ์ของสังคมนั้น ระบบนั้นมันเปราะบาง เหตุเล็กๆ ที่เราไม่ได้สังเกต ไม่ได้เอาใจใส่มัน ถ้ามันเกิดขึ้นซ้ำซากมานานมากมาย เหตุเล็กๆ เหล่านี้สามารถกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ โดยเราคาดไม่ถึง อาจพลิกผันเป็นสถานการณ์อื่นๆ ได้ เพราะว่าภายใต้สถานการณ์ที่เปราะบางมีอะไรเล็กน้อยเข้าไปก็พลิกผันเป็นอย่างอื่นได้ เขาจึงเปรียบเทียบว่า ผีเสื้อตัวหนึ่งถ้ากระพือปีกแรงๆ ที่ฮ่องกง ก่อกระแสคลื่นเล็กๆ จากปลายปีก อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดพายุใหญ่ในแคลิฟอร์เนียได้ในอีกหนึ่งเดือนให้หลัง


0 คล้ายกับไม้ใหญ่ถูกตัดรากไป เจอพายุใหญ่น้ำก็ท่วมฉับพลัน?


เพราะสถานการณ์บนโลกตอนนี้เชื่อมถึงกันหมด เรื่องอะไรเกิดขึ้นที่ไหนนิดเดียวก็ถึงกันหมด ยกตัวอย่างกรณีของโรคซาร์ส ตัวอย่างหนึ่งของผลจากทฤษฎีไร้ระเบียบ คนตายทั้งโลกประมาณ 1,000 คนเท่านั้น ที่เมืองจีนก็ 200 กว่าคน เมืองไทยก็มี 4-5 คน ฮ่องกงก็ 100 กว่าคน ไต้หวันก็ 100 กว่าคน ที่แคนาดา 40 กว่าคน ปีหนึ่งอุบัติเหตุเมืองไทยมากกว่าตั้งไม่รู้กี่เท่า แต่ซาร์สทำไมบานปลายไปทั่วโลก ทำไมก่อให้เกิดคนไม่เดินทาง ไม่ท่องเที่ยว ทำให้เศรษฐกิจของภูเก็ต ของหลายๆ พื้นที่ต้องหยุดชะงักลง เพราะอะไร เพราะเป็นเรื่องของจิตวิทยา

มันไม่ได้อยู่ที่จำนวนคนตาย แต่มันอยู่ที่ความเชื่อ ก็ไอ้ความเชื่อเหล่านี้ถูกแพร่ขยายโดยปากต่อปาก เพราะฉะนั้นเรื่องหลายเรื่องที่ไม่สำคัญ กลับเป็นเรื่องใหญ่ได้ เพราะอะไรครับ เพราะระบบการสื่อสารที่ถึงกันทั้งโลก บวกกับความตื่นตระหนกและความกลัวของคนทั้งหลายก็ขยายผลอย่างรวดเร็ว

เพราะฉะนั้นหลายๆ เรื่อง อย่าประมาทกับเรื่องเล็กๆ ในสังคม โดยเฉพาะสังคมซึ่งเปราะบาง สังคมใดที่ขาดวุฒิภาวะ เรื่องเล็กๆ มันแตกตื่นได้ง่าย ข่าวลือทำให้กลายเป็นเรื่องใหญ่ที่คาดไม่ถึงได้ พอคนแตกตื่นข่าวลือ วิทยุ ทีวีประโคมซ้ำ มันก็ยิ่งบานปลายได้เสมอ
ทฤษฎีนี้สอนให้คนสนใจ ให้เป็นคนละเอียดอ่อน ไม่ประมาทต่อเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แล้วจัดการปัญหาอย่างละเอียดอ่อน อย่าปล่อยให้ปัญหาสั่งสม เพราะถ้าสั่งสมไปสักพักจะบานปลายได้ เพราะหัวใจมันบอกแล้วว่า เหตุเล็กๆ สามารถกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้
ผมไม่รู้ว่าคุณถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เสนอไปว่าอย่างไร แต่ทฤษฎี Chaos เป็นได้ทั้งทางบวกและทางลบ ถ้าเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงไปในทางร้ายๆ มันก็บานปลายไปใหญ่ แต่ถ้าทำดีๆ มันจะกลายเป็นพลังด้านบวกไป ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่เลวร้ายเสมอไป แต่สามารถเป็นพลังทวีคูณด้านบวกได้ เช่น ถ้าไปทำแล้วเกิดความดี คนเห็นแล้วชอบ เกิดกำลังใจแล้วไปพูดต่อๆ ช่วยกันทวนกระแสกันก็จะเกิดผลในทางที่ดี


0 จุดที่อาจารย์สนใจทฤษฎีไร้ระเบียบคงเป็นทางด้านบวก?

ใช่ เพราะเริ่มต้นจากผมคิดว่า คนเล็กๆ สามารถเปลี่ยนโลกได้ ทำให้โลกดีได้ เป็นเรื่องของคนเล็กๆ ทั้งหลายที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ มาช่วยกันคิด ช่วยกันทำแล้วค้นหาวิธีการว่าจะทำอย่างไรให้โลกเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีได้ เพราะถ้าเราทำได้ดี มันสามารถส่งผลไปถึงทั้งโลกทางด้านดีได้เช่นกัน เพราะโลกเชื่อมโยงกันทั้งโลก


ขณะนี้การเชื่อมเครือข่ายของคนในโลกที่พยายามทำงานด้านสังคมจึงมีมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างเช่นการต่อต้านสงครามอิรักเกิดขึ้นพร้อมๆ กันทั่วโลก คนจำนวน 20-30 ล้านคนออกมาเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วภายในสองสัปดาห์

0 แต่พลังก็ยังไม่พอที่จะหยุดยั้งการกระทำอันป่าเถื่อนของผู้นำสหรัฐได้

แน่นอน มันยังไม่พอ แต่เราลองคิดดูว่ามีปัญหาอะไรในโลกที่คนเหล่านี้จะผลักดันได้ มันต้องใช้เวลา และฟันฝ่ากันต่อ คือเชื่อมพลังด้านบวกเข้าหากัน แต่ที่ผ่านมาพลังเหล่านี้ไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านบวก แต่กลับถูกพวกทุน พวกธุรกิจดูดไปใช้งานหมด พลังมันเลยไม่พอ นี่คือจุดอ่อนของคนทำงานเพื่อสังคมในโลกยังเชื่อมโยงกันไม่ได้เข้มแข็งพอ ไม่เหมือนกับพวกกลุ่มธุรกิจ เขาจะใช้เครือข่ายทั้งโลกมาเพื่อประโยชน์ของเขา เขามีการศึกษาค้นคว้าพลังของเครือข่าย และทำให้พลังเครือข่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการทำงานของเครือข่ายในฝ่ายพลังด้านบวกยังสู้เขาไม่ได้ ยังมีจุดอ่อน


0 ถ้าอย่างนั้นจะทำอย่างไรให้เครือข่ายพวกกลุ่มทุน นักธุรกิจหันกลับมาสนใจพลังด้านบวก เห็นผลเสียจากการกระทำของเขาเองก่อนในระยะยาว และหันมานึกถึงในเขาใจเรา?


ก็เริ่มมีการก่อตัวขึ้นบางแล้ว เราจะเห็นกลุ่มทุน กลุ่มนักธุรกิจเพื่อสังคมเกิดขึ้นมาแล้วในสังคมไทย ในต่างประเทศก็เกิดขึ้น รับรองได้ว่าทุนนิยมจะต้องถูกการท้าทายอย่างมาก ต้องปรับตัว ขืนเป็นอย่างนี้ต่อไปไม่ได้ แต่จะใช้เวลาอีก 10 ปี 20 ปี 30 ปี ผมไม่ทราบ เท่าที่ผมเดินทางไปต่างประเทศ ไปอบรมกับกลุ่มนักธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม ต่อสิ่งแวดล้อม คนจำนวนนี้กำลังเพิ่มมากขึ้น ถ้าเชื่อมโยงกับนักธุรกิจไทยที่รับผิดชอบต่อสังคมก็จะยิ่งมีพลังมากยิ่งขึ้น สิ่งนี้กำลังก่อตัว เกิดขึ้นเรื่อยๆ เพียงแต่ว่าพลังยังไม่มาก เพราะว่าวิธีคิดแบบนี้เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่กี่ปี แต่ทุนนิยมมาเป็น 100 ปีแล้ว แต่ผมมองแล้วอนาคตจะขยายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ


0 เป็นเพราะว่านักธุรกิจที่ยังไม่สนใจเรื่องสังคม เขายังไม่เห็นผลกระทบการการกระทำของเขาเองที่จะย้อนกลับมา?


ใช่ ส่วนใหญ่ยังมองไม่เห็นว่า ธุรกิจ อุตสาหกรรมทั้งหลายที่ลายธรรมชาติแล้วได้เงินเป็นการตอบแทนนั้นจะกลับมาทำร้ายเขาในตอนหลังอย่างไร ซึ่งกลุ่มนี้มีอยู่ 1% ในโลก หัวใจที่ผมมาศึกษาทฤษฎีไร้ระเบียบก็เพราะว่า คนเล็กๆ 1-2% ทำอย่างไรให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ได้ ผมอ่านหนังสือที่นักหนังสือพิมพ์ชาวอิตาเลียนเขาสัมภาษณ์ศาสตราจารย์คนหนึ่งเป็นชาวเยอรมัน เขาสนใจเรื่องประชาธิปไตยมาก เขาบอกว่า โลกทั้งโลกถูกคนเพียง 1% คุม ในประเทศก็เหมือนกัน ถูกคนเพียง 1% คุม ทำไมเราไม่คิดว่าคน 1% คุมได้ แล้วคน 5% หรือ10% จะเปลี่ยนแปลงเขาไม่ได้หรือ เพียงแต่เรายังไม่ได้ร่วมมือกันได้อย่างไร

 
เพราะฉะนั้น ขณะนี้จะทำเครือข่ายอย่างไรให้เกิดพลังด้านบวกขึ้น เพื่อคานกำลังกับ 1% ให้ได้ เพราะคน 1% นั้นอยู่ได้เพราะคนอีก 99% เอื้อให้เขาขึ้นไปอยู่บนนั้นแล้วคุมเขาได้หมด มันอาจจะยังไม่เกิดขึ้นภายในปีสองปี แต่อาจจะเกิดขึ้นภายใน 10 ปี 20 ปี

(จาก เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 581 วันที่ 21 - 27 ก.ค. 2546)
 
 
http://www.chaiwatthirapantu.com/?p=8
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2553 13:43:31 »




การบูรณาการระหว่างกายกับจิตวิญญาณวิทยาศาสตร์แห่งบูรณาการ

ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์

ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมาพูดในวันนี้ อย่างไรก็ตาม ขอเรียนว่า สิ่งที่ผมพูดเหล่านี้ไม่มี อะไรใหม่ เมื่อสองพันกว่าปีนักปราชญ์และศาสดาก็ได้กล่าวไว้แล้ว แต่ผมจะเรียบเรียงและใช้ภาษาใหม่ให้ สอดคล้องยุคสมัยของต้นศตวรรษที่ 21

แกรี่ ซูคอฟ (Gary Zukav) อดีตนักฟิสิกส์ที่หันมาสนใจค้นคว้าเรื่องจิตวิญญาณ กล่าวว่า


“จิตที่เป็นพลังบวกและมีเป้าหมาย มันเป็นแก่นแห่งความดำรงอยู่ของท่าน… เมื่อพลังแห่งจิตถูกรับรู้และยอมรับร่วมกันว่ามีคุณค่า พลังนี้เริ่มปลุกชีวิตแห่งบุคลิกภาพของท่าน และเมื่อบุคลิกภาพของท่านรับใช้พลังแห่งจิตเมื่อใด นั่นแหละคืออำนาจที่แท้จริง”
 
สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการบูรณาการอย่างไร? ผมอยากจะชวนตั้งคำถามว่า ทำไมเราต้องสนใจศึกษาค้นคว้า

 
และฝึกฝนทักษะ “บูรณาการ” เราจะคิดและทำโดยไม่บูรณาการได้หรือไม่? หากเรายังตอบไม่ได้ว่าจะเรียนรู้และฝึกฝนทักษะ

“บูรณาการ” ไปทำไม และตัวเราเองยังมองไม่เห็นความหมายและความสำคัญที่แท้จริงการบูรณาการ


ก็จะเป็นเพียงความรู้ที่ได้แต่พูดออกมาแต่ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้

ในระยะสิบปีที่ผ่านมา ผมสังเกตเห็นว่าสังคมไทยมักจะมีกระแสความสนใจกับบางเรื่องเป็นพักๆเป็น


เหมือนแฟชั่นและหายไปโดยที่ยังไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่นำมาพูดกันอย่างแท้จริงได้ เช่น เรื่องการทำงานเชิง

พหุภาคี การสร้างประชาคม การพัฒนาทุนทางสังคม แม้กระทั่งงานวิจัยเครือข่ายต่างๆ และผมเองก็เป็นห่วงว่า

ความสนใจต่อเรื่องการบูรณาการก็อาจจะเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน

ผมอยากจะแสดงความชื่นชมกับทรานส์ทีม (Transteam) และคิดว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของความพยายาม

ทำงานบูรณาการให้เป็นจริงเพราะเมื่อพลังจิตเริ่มพุ่งไป ไม่ช้าก็เร็วพลังจิตนั้นจะทำสิ่งที่เราปรารถนาให้เป็นจริง
ออกมาได้

สำหรับผมเคล็ดลับแห่งการบูรณาการนั้นอยู่ที่กระบวนการพัฒนาศักยภาพภายในตัวตนของเราเป็นเรื่อง

พัฒนาจิตให้เป็น “มนุษย์ที่แท้” เพราะมนุษย์นี่เองคือแหล่งกำเนิดของการบูรณาการ เนื่องจากการบูรณาการเป็น

ระบบธรรมชาติ มนุษย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ มนุษย์กับโลกไม่ได้แยกจากกัน


ในวันนี้ผมอยากจะนำเสนอประเด็นที่สำคัญ 3 ประเด็นที่สำคัญ คือ

1) ภาพความคิดเรื่องการบูรณาการ
2) ทักษะที่สำคัญของปัจเจกบุคคลในการปฏิบัติเชิงบูรณาการ
3) ความรู้และการเรียนรู้ขององค์กร หรือประชาคมในการบูรณาการ


ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ผมเป็นผู้สังเกตการณ์ โครงการเชิงบูรณาการหลายโครงการอย่างใกล้ชิด ภาพความคิดเรื่องการบูรณาการในหัวสมองของคนส่วนหนึ่งเป็นภาพของ“การนำชิ้นส่วนต่างๆ มากองรวมกันแล้วก็คิดว่าชิ้นส่วนที่กองรวมกันนี้จะกลายเป็นเครื่องจักรที่ทำงานได้” ดุจเดียวกับการนำเอาหน่วยงานต่างๆมาประชุมร่วมกัน แล้วเรียกว่า “การบูรณาการ”


แท้จริงแล้วถึงแม้ชิ้นส่วนของเครื่องจักรนั้นจะครบทุกชิ้น แต่ชิ้นส่วน เหล่านั้นไม่ได้มีการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน ไม่ได้เชื่อมโยงปฏิสัมพันธ์ให้เกิดคุณภาพใหม่ของการปฏิบัติ ชิ้นส่วนนั้นก็เปรียบเสมือนกองของเศษเครื่องจักรที่ไม่ทำงาน
ความคิดเรื่องภาพการบูรณาการของคนอีกจำนวนหนึ่งเข้าใจว่าการบูรณาการจะเกิดขึ้น หลังจากนำ

ชิ้นส่วนต่างๆ มาประกอบกันเป็นเครื่องจักร ที่สามารถขับเคลื่อนให้ทำงานได้ ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ นี่คือภาพ

ของการบูรณาการแบบระบบกลไก หรือ การบูรณาการแบบไม่มีชิวิต (Non- Living System) เป็นภาพของระบบที่ มีลักษณะจำกัด ปรับตนเองไม่ได้ เรียนรู้พัฒนาตนเองไม่ได้ เป็นการบูรณาการที่สถิตย์นิ่ง เป็นระบบที่ไม่มีชีวิตไม่ปรับตัวให้สอดคล้องกับสังคมไทยและสังคมโลกที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา
ภาพความคิดเรื่องการบูรณาการ 2 ภาพนี้มักเป็นภาพที่ติดอยู่ในสมองของมนุษย์ เพราะมนุษย์มักจะถูก

ฝึกอบรมและเรียนรู้ภายใต้กระบวนทัศน์แบบเก่า ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ของการมองปัญหาแบบแยกส่วน

ดังนั้นแล้วการบูรณาการแบบระบบที่มีชีวิตเป็นอย่างไร?


หากเปรียบเทียบการบูรณาการเป็นระบบมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการต่อเนื่องไม่มีวันหยุดนิ่ง ผมขอเปรียบเทียบตัวอย่างนี้กับ “การเจริญเติบโตของเมล็ดเงาะ” เมล็ดเล็กๆซึ่งย่อมไม่สามารถเติบโตเป็นไม้ยืนต้นด้วย ตนเองได้เพียงลำพัง การเติบโตของต้นเงาะนั้นต้องมาจากสภาพแวดล้อมที่ดำรงอยู่ด้วย ต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆมาประกอบเช่น ดิน น้ำ อากาศ แสงอาทิตย์ และแร่ธาตุอื่นๆ หากแต่เมล็ดนี้ให้สิ่งอันเป็นกุญแจที่สำคัญสำหรับกระบวนการเจริญเติบโต (Generate Growth) คือ การเป็นพาหะ (Place) อันเป็นองค์รวมให้เกิดการบูรณาการการ เจริญเติบโต เมื่อเมล็ดนี้เริ่มผลิดอก ออกผลและเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ เมล็ดจึงเป็นผู้ที่จัดการ (Organize) ให้เกิดกระบวนการเจริญเติบโต (Generate Growth) เช่นเดียวกับระบบชีวิตที่มีวิวัฒนาการต่อเนื่อง เป็นเสมือนประตูแห่ง อนาคตที่เจริญเติบโตสืบไป


การบูรณาการจึงเป็นเรื่องของการรู้ลึกซึ้งถึงสรรพสิ่งที่เป็นพลวัตร เป็นเรื่องของระบบชีวิตที่ไม่มี


วันหยุดนิ่ง สามารถเข้าใจระบบที่เป็นวิวัฒนาการ โดยตัวเราคือผู้เชื่อมโยงสรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งตัวเรา ธรรมชาติ
และจักรวาล เข้าด้วยกัน เราจึงต้องเรียนรู้ในการเดินทางเข้าสู่ภายในตัวตนของเรา


ดังนั้น กุญแจดอกแรก ที่จะนำไปสู่การบูรณาการที่แท้จริง คือ การตระหนักและมีสติต่อการคิดของ


ตนเอง โดยการสำรวจกระบวนทัศน์ ทัศนคติ และพฤติกรรมของเราที่เรียกรวมกันว่า Mental Model ของตนเอง ว่าเป็นกระบวนทัศน์แบบใด แบบองค์รวมหรือแบบแยกส่วน ต้องตระหนักหรือรู้ตนเองว่าตนเองมีภาพของ


การบูรณาการในสมองว่าเป็นภาพแบบใด และต้องท่องไว้ในใจว่า ตัวเรานี่แหละคือประตูแห่งกระบวนการบูรณา

การกุญแจดอกที่สอง คือ การปฏิบัติ ปฏิบัติและปฏิบัติ เพื่อนำไปสู่การบรรลุถึงความสัมพันธ์ของกายกับจิตที่แท้จริง

ผมได้มีโอกาสเข้าอบรมในคอร์ส Foundation for Leadership กับปีเตอร์ เซ็งเก (Peter Senge) ในเดือนพฤษภาคม 2547 ที่ผ่านมา ขณะที่เกริ่นนำการอบรม ปีเตอร์กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่สุดของการเรียนรู้คือ การปฏิบัติ ปฏิบัติ และปฏิบัติ และผมเริ่มเข้าใจสิ่งที่ปีเตอร์พูดได้ดีมากขึ้น จากการหยิบหนังสือเรื่องมูซาชิของมิยาโมโต มูซาชิ (Miyamoto Musashi) มาอ่านอีกครั้ง โดยในตอนหนึ่งของหนังสือ มูซาชิย้ำถึงการใช้ดาบสองมือว่าต้องฝึก ฝึกแล้วฝึกอีก ฝึกนับเป็นพันๆ ครั้งแล้ววิญญาณของดาบจะปรากฎให้เห็น เช่นเดียวกับการศึกษาเรื่องบูรณาการ
ถ้าจะให้อธิบายให้เกิดความลึกซึ้งนั้นเป็นเรื่องยาก แต่ต้องฝึก ฝึกแล้วฝึกอีกนับเป็นพันๆครั้ง แล้วความเข้าใจ

ลึกซึ้งต่อวิญญาณแห่งบูรณาการนั้นจึงจะปรากฎออกมา
ผมจึงคิดว่า การฝึกจนกระทั่งเห็นวิญญาณของบางสิ่งบางอย่าง เป็นสิ่งสำคัญมาก ซึ่งเรื่องนี้อาจถือเป็น

เรื่องธรรมดาสำหรับคนในอดีต แต่กลายเป็นเรื่องใหม่สำหรับเราในโลกยุคอุตสาหกรรมและสารสนเทศ

การเรียนรู้เรื่องศาสตร์แห่งการบูรณาการจึงเป็นเรื่องของการเชื่อมโยงสรรพสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในโลก ให้เกิด

พลังที่ดีโดย สัมพันธ์กับความรู้และทักษะของการพัฒนาพลังในตน เช่นเดียวกับบทความตอนหนึ่งจากหนังสือ

ธรรมนูญชีวิตของท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฏก โดยกล่าวถึง พลังทั้ง 4 ประการ อันได้แก่ ปัญญาพละ วิริยะพละอนวัชชะพละ (กำลังสุจริต) และสังคหะพละ(กำลังของการสงเคราะห์ให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์) พลังที่ดี

เหล่านี้ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้เชื่อมโยงเข้ากับความรู้เรื่องของการบูรณาการ ดังนั้น การพัฒนาพลังในตนตาม

ความหมายที่ท่านเจ้าคุณธรรมปิฏกได้กล่าวนี้ จึงหนีไม่พ้นเรื่องการพัฒนาการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง DeeperKnowing) โดยมีฐานอยู่บนคุณค่าที่เรายึดถือ เพราะท้ายที่สุดแล้ว ผลลัพธ์แห่งบูรณาการที่เราต้องการสร้าง คือ สังคมที่น่าอยู่ เป็นสุขและศานติ มีชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ

ผมขอย้ำพลังบูรณาการแห่ง “ภายใน” กับ “ภายนอก” ที่ผมประทับใจมากๆ จากประโยคต่อไปนี้จาก คำ

สัมภาษณ์ของ Mohini Panjabi จาก Brahma Kumaris World Spiritual University หรือ กลุ่มราชาแห่งโยคะ ซึ่งเธอกล่าวว่า

“อะไรที่อยู่ในหัวใจต้องนำสู่การปฏิบัติ อะไรที่อยู่ในใจนั้นเป็นของคุณ
แต่อะไรที่คุณนำไปปฏิบัตินั้นเป็นของโลก”


ประโยคดังกล่าวช่วยให้ผมรู้ว่า ความสามารถในการบูรณาการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพการ

มองเห็น (Seeing) การมองแล้วเห็นทำให้เรามีความคิดที่ลุ่มลึกซึ่งจะช่วยให้เกิดความสามารถในการเปลี่ยนแปลง โลก การพัฒนาทักษะการเพ่งพินิจอย่างลึกซึ้งเข้าไปภายในตัวตนของเราเอง จึงส่งผลต่อการพัฒนาด้านอื่นๆ ของตัวเราด้วย

เหตุใดเราจึงให้ความสำคัญต่อการมองเห็น? เพราะเนื่องจากว่า คนจำนวนไม่น้อยที่มักอ้างว่าทำอะไร

ผิดเพราะมองไม่เห็น เพราะหลายสิ่งหลายอย่างบดบังดวงตาของพวกเขา

Goethe นักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงจากประเทศเยอรมัน ย้ำเรื่องการมองอย่างบูรณาการ ดังนี้

“Man knows himself only the extent that he knows the world;
he becomes aware of himself only within the world,
and aware of the world only within himself.
Every object, well contemplated, opens up a new organ within us”

หรือแปลอย่างง่ายๆ ว่า

“มนุษย์รู้จักตนเองเท่าที่เขารู้จักโลก
เขาตระหนักต่อตนเองเมื่อเขาอยู่บนโลกนี้
และเขาก็ตระหนักว่าโลกก็อยู่ในตัวของเขา
เมื่อเขาพินิจพิจารณาอย่างลึกซึ้งต่อวัตถุใด
สิ่งนั้นจะสร้างอวัยวะใหม่ขึ้นมาภายในตัวเรา”


ท่านเชื่อหรือไม่ว่าถ้าเราพินิจพิจารณาสิ่งใดนานๆ จะมีอวัยวะใหม่บางอย่างเกิดขึ้นในการรับรู้ของเรา


การฝึกฝนการมองให้เห็นจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ ฟรานซิสโก บาเลร่า (Francisco Varera) ผู้เชี่ยวชาญด้าน

ประสาทวิทยาชาวชิลี กล่าวถึง ความพยายามในการฝึกฝนเรื่องการมอง(Seeing) เขายกตัวอย่างที่นักวิจัยได้ทำการทดลองกับลูกแมวที่เกิดใหม่สองตัว ตัวหนึ่งถูกปล่อยให้คลานบนพื้น 2-3 วัน ต่อมาลูกแมวตัวนี้สามารถเปิดตาได้ ก็จะมองเห็น แต่ลูกแมวอีกตัวหนึ่งถูกผูกแขวนไว้โดยไม่ให้ขาแตะกับพื้น ลูกแมวตัวนี้ไม่ได้เดินในสามวันแรกจึงตาบอดตลอดชีวิต

ดังนั้นจึงมีคำกล่าวว่า “Seeing is movement” “การเห็น คือ การเคลื่อนไหว” ซึ่งผมคิดว่าจริง เพราะ

หากผมเปลี่ยนมุมมองไปเรื่อย ๆ เดินไปเดินมา เดินอยู่ข้างบนบ้างข้างล่างบ้าง ผมก็จะเห็นมุมมองต่างๆ อย่างที่ผมไม่เคยนึกมาก่อน การเปลี่ยนมิติการมองของเราจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ถูกมองข้าม
แต่อย่างไรก็ตาม การมองที่เป็นการเคลื่อนไหวที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การมองที่ทะลุออกจากกำแพง

เดิมๆ ของเรา เพราะเรามักจะไม่รู้ตัวว่าเราอยู่ในกำแพงบางอย่าง เราอยู่ในขอบเขต อยู่ในคุกของความคิดที่สกัดกั้นการมองของเราเอง


ในยุคโลกาภิวัตน์การข้ามพรมแดนเป็นไปอย่างรวดเร็ว มนุษย์สามารถเคลื่อนไหวไปมาได้ทั้งโลก

สินค้าวัตถุต่างๆ ข้ามพรมแดนได้ แต่พรมแดนที่มนุษย์ข้ามไม่ได้ คือ การข้ามพรมแดนการมองของตนเอง การฝึกการมองให้เห็นจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะหากเราฝึกจนกระทั่งภายในของเราพร้อม จิตวิญญาณของสิ่งนั้นจะปรากฎให้เห็น เช่นเดียวกันกับ ประโยคที่ว่า “ดาบคือเรา เราคือดาบ ดาบอยู่ในเรา ดาบอยู่ในใจ”
สำหรับผม วิทยาศาสตร์แห่งการบูรณาการ มี 2 ส่วนที่สำคัญ ส่วนหนึ่ง คือ วิทยาศาสตร์ใหม่อีกส่วน

หนึ่งคือปรัชญาหรือหลักธรรม ซึ่งการฝึกฝนทักษะนี้ ในหนังสือชัมบาลา (Shambhala) หน้า 106 กล่าวว่า


“การท้าทายที่แท้จริงก็คือ การอยู่เหนือการแบ่งแยกทั้งปวง มีความเป็นไปได้ที่จะประสานพลังซึ่งอยู่

เหนือการแบ่งแยก อยู่เหนือความก้าวร้าว เป็นพลังซึ่งไม่ส่งเสริมหรือต่อต้านตัวคุณ นั่นคือ “พลังแห่งดราละ”

ดราละไม่ใช่เทพหรือเจตภูติ แต่โดยพื้นฐานแล้วคือการเชื่อมโยงปรีชาญาณของคุณ เข้ากับพลังของสรรพสิ่งดังที่เป็นอยู่ ถ้าคุณสามารถเชื่อมโยงทั้งสองสิ่งเข้าด้วยกันได้ คุณอาจพบอำนาจวิเศษในทุกๆ สิ่ง”

ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า อะไรคือสิ่งที่เชื่อมโยงคุณกับสิ่งนั้นได้ สำหรับผมพบว่าไม่มีอะไรใหม่เลยใน

หนังสือชัมบาลา มันเป็นความรู้ที่สอนกันนับเป็นหลายพันปี แต่สิ่งที่ขาด คือ การปฏิบัติที่เราไม่สามารถปฏิบัติได้

ดังเช่นในหนังสือเมื่อกล่าวถึงการฝึกทักษะของปัจเจกบุคคลในการปฏิบัติเชิงบูรณาการ ผมใคร่ขอเพิ่มว่า นอกจากทักษะ

การมองอย่างลึกซึ้งที่เป็นการมองด้วยสมองข้างขวา หรือมองด้วยใจนั้น ไม่สามารถแยกออกได้จากทักษะการฟัง

อย่างลึกซึ้งผู้ที่มีความสามารถขั้นสูงในการบูรณาการ คือ ผู้ที่มีความสามารถในการฟังมากกว่าคนธรรมดา คือ

ความสามารถในการฟังเสียงภายในของตน (Inner Call) ฟังเสียงจักรวาล และฟังเสียงจากโลกที่ไหลผ่านตนเอง ออกมา สู่ความสามารถในการปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักธรรมชาติ เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ เป็นหนึ่งเดียวกับเต๋า

สิ่งต่างๆ เหล่านี้ท่านเชื่อหรือไม่ว่า มีจริง?

สิ่งที่ผมคิดว่าสำคัญมากสำหรับในบางครั้ง นักวิชาการส่วน
ใหญ่มักจะมองข้ามการฝึกทักษะการมองด้านหนึ่งที่มักจะมีในสายศิลปวัฒนธรรม คือ การฝึกทักษะการมองและ

ฟังด้วยหัวใจ เพราะเรามักมองด้วยสมองข้างซ้ายจนมองข้ามการมองด้วยสมองข้างขวา

เพราะฉะนั้น สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดในการบูรณาการ คือ การใช้ศักยภาพกายของเราทั้งหมด ทั้งสมอง

ข้างซ้าย สมองข้างขวา และผัสสะทั้งหมดที่รวมถึงผัสสะที่ 6 (the sixth sense) เราจึงจะรับรู้สิ่งใหม่ๆได้

ถึงแม้ปัจเจกบุคคลจะสามารถบูรณาการบางสิ่งบางอย่างได้ แต่สำหรับปัญหาบางอย่างที่มีความยิ่งใหญ่

และสลับซับซ้อน ไม่สามารถทำให้สำเร็จได้โดยคนคนเดียว ก็ต้องการการทำงานที่มีผู้คนร่วมมือกันในระดับ

องค์กรและระดับประชาคม ดังนั้นนอกจากการพัฒนาทักษะการบูรณาการในระดับปัจเจกบุคคลแล้ว ทักษะ

การบูรณการระดับองค์กรหรือประชาคมหรือระดับกลุ่ม (Collective) จึงเป็นอีกความสามารถส่วนหนึ่งที่มี
ความจำเป็น

ผมจึงอยากนำหลักการของศาสตร์แห่งการจัดการการเปลี่ยนแปลงจากหนังสือเรื่อง The Fifth Discipline

ของ Peter Senge มาเป็นตัวอย่างของการบูรณาการ 5 วิชาที่สำคัญซึ่งต้องฝึกฝนร่วมกันทั้งระดับปัจเจกบุคคล และ ระดับองค์กรโดยขอเปรียบเทียบศักยภาพในการเรียนรู้ที่สำคัญๆ เสมือนเก้าอี้สามขา คือ

1) แรงบันดาลใจ (Aspiration) ในความหมายของผม คือ สัมมาทิฐิ เพราะหากไม่มีสัมมาทิฐิแล้ว เรา

จะไม่มีพลังฟันฝ่าอุปสรรค อันประกอบด้วยวิชาสำคัญอีก 2 วิชา คือ การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน

(Shared Vision) และการพัฒนาตัวตนไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่แท้ (Personal Mastery)

• Shared Vision
• Personal Mastery
อนาคตที่เราปรารถนา
Core Learning Competency
• Team Learning
(Dialogue)
• Mental Model
• System Thinking
• Mental Model
Reflective
Genarative
Conversation
Aspiration Understanding
Complex System

2) การสนทนาอย่างครุ่นคิด (Reflective) และการสนทนาอย่างออกดอกออกผล (Generative
Conversation) อันจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของการสนทนาอย่างลึกซึ้ง (Dialogue) และกระบวนทัศน์ภายในตัวตนของเรา (Mental Model)

3) ความเข้าใจโลกที่ซับซ้อน (Understanding Complex System) โดยการจะเข้าใจโลกที่ซับซ้อนได้ต้องเรียนรู้วิชาวิธีคิดกระบวนระบบ (System Thinking) ซึ่งสำหรับผมเป็นวิชาที่มีหลักคิดเดียวกัน
กับอิทัปปจยตาและปฏิจจสมุปบาทหากนำความสามารถทั้ง 3 ด้านนี้มาพิจารณาในทางพุทธศาสนา ผมมองว่าแรงบันดาลใจ (Aspiration)คือ สัมมาทิฐิ การสนทนาอย่างครุ่นคิด (Reflective) และการสนทนาอย่างออกดอกออกผล (GenerativeConversation) คือ โยนิโสมนสิการ และความเข้าใจโลกที่ซับซ้อน (Understanding Complex System) คือ อิทัปปจยตาและปฏิจจสมุปบาท ซึ่งมีความสอดคล้องกันอย่างไม่น่าเชื่อ โดยวิชาทั้งหมดที่กล่าวมานี้เราควรฝึกร่วมกับผู้อื่นอย่างจริงจังเพราะความรู้ในการบูรณาการสังคมไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากคนเพียงคนเดียวสิ่งที่น่าสนใจในระยะ 10 ปีหลังจากที่ปีเตอร์ เซ็งเก (Peter Senge) เขียนเรื่อง The Fifth Discipline ได้ เกิดกลุ่มที่กำลังวิจัยความรู้ใหม่ขึ้นอีกกลุ่มหนึ่ง คือ The Sixth Discipline โดยวิชานี้เรียกว่า presencing ในความหมายของ pre ที่แปลว่า “ก่อนหน้า” sencing เป็นคำสมาสของคำ 2 คำคือ sense ที่แปลว่าญาณ และ cing คือ การเรียนรู้จากอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น อันเป็นผลจากโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเรียนรู้ในสิ่งที่ยังมาไม่ถึงจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากในอนาคต ดังนั้นเราจึงต้องนำสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตมาสู่ปัจจุบันและเตรียมการเพื่อรับมือกับสิ่งนั้น
ท่านติช นัท ฮันท์ เคยกล่าวถึงวินาทีหรือนาทีของปัจจุบันกาลที่อดีต ปัจจุบัน และอนาคตรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ดังคำกล่าวว่า “อดีต ปัจจุบัน และอนาคตบนปลายเส้นผม” จากหนังสือ “ดวงตะวันดวงใจฉัน”

ดังนั้น การจะสามารถพัฒนาความรู้ที่เป็นความรู้เชิง presencing ได้ มีเพียงวิธีเดียวที่ทำได้ คือ การฝึกให้บ่อยเท่านั้นเองNefiodof นักคิดชาวเยอรมัน กล่าวถึง เรื่องของคลื่นยาว Kondratief ว่าทุกๆ 50 ปี จะมีการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นเสมอ ขณะนี้เทคโนโลยีสำคัญที่เรากำลังใช้ คือ เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร(CommunicationTechnology) และเทคโนโลยีสารสนเทศข้อมูลข่าวสาร (Information Technology) อยู่ในคลื่นลูกที่ห้า แต่ในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า เทคโนโลยี “จิตวิทยาสังคม” (Phycho-Social) จะแทนที่เข้ามา เป็นเทคโนโลยีใหม่ เนื่องจากในโลกแห่งอนาคตการพัฒนาเทคโนโลยีจะรุดหน้าไปเรื่อยๆ จนไม่สามารถมีใครหยุดยั้งได้ คุณภาพของการเป็นมนุษย์ ในความหมายของมนุษย์ที่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างบูรณาการเพื่อให้ประสบผลสำเร็จจะเป็นสิ่งชี้ขาดของสังคมยุคหลังทันสมัย
 
สุดท้ายนี้ผมจึงขอกล่าวว่า สิ่งที่ทรานส์ทีมกำลังศึกษาและทดลองเรียนรู้ประสานไปกับการปฏิบัตินั้น
เป็นทิศทางที่สมควรก้าวต่อไป แม้ว่าจะไม่ราบรื่นก็ตามเพราะมันเป็นทิศทางที่สอดคล้องกับวิถีของโลกในอนาคตเป็นอย่างยิ่ง.
 
http://www.chaiwatthirapantu.com/?p=6
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2553 13:43:52 »

ทฤษฎีไร้ระเบียบ พลิกมุมมองต่อโลกธรรมชาติสู่กระแสวิทยาศาสตร์ใหม่ หน้า 1 จาก 206
 
Introducing chaos
ทฤษฎีไร้ระเบียบ พลิกมุมมองต่อโลกธรรมชาติสู่กระแสวิทยาศาสตร์ใหม่
 
เมธาวี เลิศรัตนา แปล Ziauddin Sardar เขียน Iwona Abrams ภาพประกอบ


สารบัญ
  • [/B]
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2553 14:26:25 »





รัก

 เหงื่อตก  เมพขิงจิงๆ ครึ่งนาที ๑ กระทู้
สอนวิธีได้มั๊ยคะ? น้องแม๊ค!     โอ๊ะ

 ช๊อค
บันทึกการเข้า
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2553 14:49:04 »

ก๊อปเอาครับ


ใช้วิธีเลือกอ้างถึง

จากกระทู้ต้นทาง
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 12 มิถุนายน 2553 15:39:56 »





รัก อายจัง รัก
 ยิ้ม
ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
คำค้น: พุทธทาส ทฤษฎีไร้ระเบียบ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ตามรอย “พุทธทาส” ในมุมที่คุณอาจไม่เคยรู้!
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
มดเอ๊ก 0 1722 กระทู้ล่าสุด 19 สิงหาคม 2559 23:40:09
โดย มดเอ๊ก
การทำลายซึ่งตัวกูของกู (พุทธทาส ภิกขุ )
เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
มดเอ๊ก 0 1272 กระทู้ล่าสุด 03 ตุลาคม 2559 20:24:10
โดย มดเอ๊ก
การวางของหนักคือการดับทุกข์ (พุทธทาส ภิกขุ )
เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
มดเอ๊ก 0 1192 กระทู้ล่าสุด 03 ตุลาคม 2559 20:26:40
โดย มดเอ๊ก
วัตถนิยม กับ มโนนิยม ( ท่าน พุทธทาส อินฺทปญฺโญ )
เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
มดเอ๊ก 0 1119 กระทู้ล่าสุด 06 ตุลาคม 2559 16:28:06
โดย มดเอ๊ก
พุทธทาส ● โลกพระศรีอาริย์อยู่แค่ปลายจมูก
เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ
มดเอ๊ก 0 1456 กระทู้ล่าสุด 26 ธันวาคม 2559 21:01:27
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 3.195 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 04 มีนาคม 2567 05:13:53