[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 กันยายน 2567 06:48:46 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ต่อมรับรสบนลิ้นที่เรียนกันมามันก็แค่เรื่องเท็จ และยังอยู่ในตำราเรียน  (อ่าน 6237 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7862


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 16.0.912.75 Chrome 16.0.912.75


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 22 มกราคม 2555 22:56:28 »

ต่อมรับรสบนลิ้นที่เรียนกันมามันก็แค่เรื่องเท็จ
แถมยังไม่มีที่ท่าว่าจะเอาออกจากตำราเรียนซะด้วย




แผนที่ลิ้นที่คุณครูสมัยประถมเคยบังคับให้ท่องจำแล้วออกข้อสอบ
แท้จริงแล้วมันคือความผิดพลาดในการทดลองเมื่อปลายทศวรรษ 1800
แต่ก็น่าแปลกใจเหลือเกิน เพราะดูเหมือนกันว่ามันจะไม่มีทางถูกลบออกจากตำราเรียนได้เลย..
พับผ่าสิ! ครูเคยสอนว่า มนุษย์รับรสหวานจากปุ่มรับรส (Taste Bud) ตรงปลายลิ้น ,รสเปรี้ยวจากข้างลิ้น ,
รสขมที่ด้านในสุดของลิ้น และรสเค็มตาม แนวขอบลิ้น แถมยังเอาของเข้าปากให้เราทดลองแล้วบังคับให้เชื่อตามแผนที่
(ทั้งที่เราไม่ เห็นด้วยเลยซักนิด) ตอนนี้มีหลักฐานยืนยันแล้วว่า มันเป็นเรื่องโกหกทั้งเพ!
จากการวิจัยจนถึงวินาทีนี้ ยังไม่มีหลักฐานไหนฟันธงได้เลยว่า ลิ้นแยกระดับความไวในการรับรสชัดเจนขนาดนั้น
รสต่างๆ มันเกิดจากสมอง ตีความปฏิกิริยาเคมีในปุ่มรับรส ทำให้ประจุไฟฟ้ารวมภายในเซลล์รับรสเปลี่ยนไป
เซลล์รับรสก็จะกระตุ้นเซลล์ประสาทให้ส่งสัญญาณไปยัง สมองเพื่อตีความ
เรารับหลายรสได้พร้อมกัน เหมือนกับที่ดวงตาเห็นรูปร่าง ความสว่าง
สีและการเคลื่อนไหวได้พร้อมๆกันในคราวเดียว... เพื่อเห็นแก่อนาคตของชาติโยนตำราเล่มเก่าทิ้งได้แล้ว!
 
** แต่ฝันไปเหอะ ว่ามันจะโดนลบออกจากตำราเรียน !! **

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กันยายน 2557 02:11:51 โดย Mckaforce » บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7862


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 37.0.2062.120 Chrome 37.0.2062.120


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 20 กันยายน 2557 02:09:12 »


แผนที่ลิ้นลวงโลก!! 


        แผนที่ลิ้นที่เขียนอยู่ในตำราเรียนนั้นเป็นผลจากการตีความผิดพลาดของงานวิจัยเมื่อเกือบสองร้อยปีก่อน แต่ดูเหมือนว่า แผนที่นี้ไม่มีทางที่จะถูกลบออกจากตำราเรียนได้เลย ส่วนความรู้ที่ว่าเซลล์บนลิ้นของเรารู้ได้อย่างไรว่านี่คือรสหวาน นี่คือเค็ม เปรี้ยว หรือขมนั้นกำลังถูกนักวิทยาศาสตร์เปิดเผยความจริงที่อยู่เบื้องหลังออกมา
        โดยทั่วไปแล้ว นักวิทยาศาสตร์มักจะจำแนกความสามารถในการรับรู้รสออกเป็นสี่ลักษณะ คือ รสเค็ม (saltiness) รสเปรี้ยว (sourness) รสหวาน (sweetness) และ รสขม (bitterness) อย่างไรก็ตาม ได้มีนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้เสนอไว้ว่า ยังมีอีกรสหนึ่งอยู่ด้วย เรียก รสอุมามิ (umami) หรือ รสปะแล่ม รสนี้เป็นรสของสารกลูทาเมต (glutamate) หนึ่งในกรดอะมิโน 20 ตัวที่เป็นองค์ประกอบของโปรตีนในเนื้อ ปลา และถั่ว คนไทยรู้จักสารกลูทาเมตนี้เป็น อย่างดีจากการที่มันเป็นองค์ประกอบหลักของสารช่วยเพิ่มรสชาติของอาหาร ดังเช่น ผงชูรส (monosodium glutamate, MSG) นั่นเอง
        ในช่วงเวลาไม่นานมานี้ ได้มีการวิจัยรุดหน้าไปมากในการอธิบายว่ารสต่างๆ เกิดขึ้นได้อย่างไรกันแน่ นักชีวประสาทวิทยา (neurobiologist) ได้ค้นพบโปรตีนหลักของเซลล์รับรส (taste cell) ที่ทำหน้าที่ตรวจจับสารเคมีที่มีรสหวานและขมได้ รวมทั้งพบด้วยว่าโปรตีนดังกล่าวนั้นคล้ายคลึงเป็นอย่างมากกับโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มได้ ค้นพบหลักฐานที่แสดงด้วยว่าเซลล์ประสาท (nerve cell, neuron) ในสมองสามารถจะตอบสนองต่อสัญญาณจากรสครั้งละมากกว่าหนึ่งรสได้ในลักษณะเดียวกับเซลล์ประสาทประมวลผลการมองเห็นจากจอตา (retina) ภายในดวงตา ที่สามารถตอบสนองต่อสีได้มากกว่าหนึ่งสี การค้นพบดังกล่าวเหล่านี้กำลังจะทำให้เรารู้จักสัมผัสชนิดนี้ที่ครั้งหนึ่งเคยถือกันมานานว่าเป็นสัมผัสที่เราเข้าใจกันน้อยที่สุดได้ดีขึ้น



บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7862


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 37.0.2062.120 Chrome 37.0.2062.120


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 20 กันยายน 2557 02:10:45 »


  แผนที่ลิ้นไม่มีจริง 

        สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งน่าสงสัยที่สุดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับรส แต่กลับถูกสอนกันอยู่ทั่วไปในตำราเรียน ก็คือ แผนที่ ลิ้น (tongue map)  ซึ่งเป็นภาพที่แสดงให้เห็นพื้นที่ที่แตกต่างกันในการรับรสบนลิ้นของมนุษย์ แผนที่นี้อธิบายว่าคนเราจะรับรสหวานได้จากปุ่มรับรส (taste bud) บริเวณปลายของลิ้น รสเปรี้ยวจากด้านข้างของลิ้น รสขมที่ด้านในสุดของลิ้น และรสเค็มตามแนวขอบลิ้น
         นักวิจัยที่ศึกษาด้านรสได้ค้นพบมานานหลายปีแล้วว่า แผนที่ลิ้นดังกล่าวนั้นไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง แผนที่นี้เกิดขึ้นเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 จากการตีความผลการทดลองอย่างผิดพลาดของงานวิจัยที่ทำไว้ตั้งแต่สมัยปลายทศวรรษ 1800 (ช่วง พ.ศ. 2343-2352) แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่าแผนที่นี้กลับดูเหมือนจะไม่มีทางที่จะถูกลบออกจากตำราเรียนได้เลยหลังจากนั้นมา
        ในความเป็นจริงแล้ว เราไม่สามารถบอกรสได้จากบริเวณใดๆ ของลิ้นที่มีปุ่มรับรสอยู่ จากศึกษาวิจัยจนถึงในขณะนี้ ยังไม่พบหลักฐานใดเลยที่บอกว่า มีการแบ่งแยกอย่างชัดเจนของระดับความไวในการรับรสในบริเวณต่างๆ บนลิ้น ถึงแม้ว่าจะพบความแตกต่างอยู่บ้างระหว่างลิ้นและเพดานปาก (palate) โดยเฉพาะในกลุ่มสัตว์ฟันแทะ (rodent)





บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7862


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Chrome 37.0.2062.120 Chrome 37.0.2062.120


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 20 กันยายน 2557 02:12:21 »


พื้นฐานของการรับรส 

       รสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรสพื้นฐานทั้งสี่ คือ เค็ม เปรี้ยว หวาน ขม และอาจรวมถึงรสอุมามิด้วยนั้น จะเกิดจากการที่สมองตีความปฏิกิริยาทางเคมีต่างๆ ในเซลล์รับรสของปุ่มรับรส สารให้รส (tastant) นั้นจะทำให้ประจุไฟฟ้ารวมภายในเซลล์รับรสเปลี่ยนไป และทำให้เซลล์รับรสปลดปล่อยสัญญาณทางเคมีออกไปกระตุ้นเซลล์ประสาทให้ส่งสัญญาณประสาทออกไปยังสมองเพื่อตีความ
        เซลล์รับรสก็เหมือนเซลล์ประสาท คือในสภาวะปกติจะมีความเป็นขั้ว(polarized)  มีประจุรวมภายในเป็นลบ ส่วนประจุรวมภายนอกเป็นบวก (ในเซลล์ประสาทจะมีประจุของ โซเดียม (Na+) อยู่ด้านนอก และ ประจุโพแทสเซียม (K+) อยู่ด้านใน  แต่เซลล์รับรสนั้นมีประจุแคลเซียม (Ca++)อยู่ด้านนอก)  เมื่อมีสารให้รสชนิดต่างๆ เข้ามาที่เซลล์รับรส ก็จะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางประจุ ให้เกิดสมดุลระหว่างภายในกับภายนอกเซลล์ เรียกว่า การลดขั้ว (depolarization) แคลเซียมไอออนที่อยู่ด้านนอกจะไหลเข้าไปภายในเซลล์ กระตุ้นให้เซลล์รับรสปลดปล่อยสัญญาณทางเคมีที่เรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ซึ่งจะเป็นตัวนำสัญญาณไปตีความที่สมองต่อไป
        สารเคมีที่ทำให้เกิดรสเค็มและเปรี้ยวจะทำปฏิกิริยาโดยตรงกับเซลล์รับรสโดยผ่านช่องไอออน ในขณะที่สารที่ก่อให้เกิดรสหวานและขมนั้นจะจับเข้ากับรีเซปเตอร์ก่อน แล้วทำให้เกิดสารสัญญาณกลุ่มหนึ่งส่งไปยังด้านในของเซลล์ ที่ซึ่งสุดท้ายแล้วจะส่งผลให้เกิดการเปิดหรือปิดช่องไอออน
        เรื่องของรสนั้นมีอะไรที่มากกว่าจะเป็นแค่เรื่องของรีเซปเตอร์สำหรับสารให้รสเพียงสี่ (หรือห้า) รส และปฏิสัมพันธ์ทางชีวเคมีที่สารเหล่านั้นกระตุ้นให้เกิดขึ้นในเซลล์รับรส ถึงแม้ว่าเรามักจะคิดถึงรสเพียงแค่ว่าสารนั้นมีรสเค็ม เปรี้ยว หวาน หรือขมมากน้อยเพียงใด แต่ระบบรับรสของคนเรานั้นยังแสดงให้เห็นถึงสิ่งเร้า (stimuli) เชิงเคมีอื่นๆ ไปพร้อมๆ กันด้วย เราสามารถรับรู้ได้ถึงระดับความเข้มข้นของรสต่างๆ เช่น หวานเจี๊ยบ เปรี้ยวจี๊ด เค็มปะแล่มและทราบได้ว่าเป็นรสที่น่าพอใจ หรือไม่น่าพอใจ หรือเฉยๆ รวมทั้งระดับของสิ่งเร้าทางการสัมผัสและอุณหภูมิได้เช่นกัน เซลล์ประสาทต่างๆ ในวิถี (pathway) ของการรับรสนั้นสามารถจดจำคุณสมบัติเหล่านี้ได้พร้อมกันอย่างน่าอัศจรรย์ เหมือนกับที่ระบบการมองเห็นสามารถแสดงให้เห็นถึงรูปร่าง ความสว่าง สี และการเคลื่อนไหวได้พร้อมๆ กัน



                                               โดย อ.ดร. ว่าที่  ร.ต. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์


บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: ต่อมรับรส ลิ้น ความเชื่อ ผิด ทดลอง 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.213 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 17 สิงหาคม 2567 21:39:59