[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 04:35:19 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ดวงตะวันในใจฉัน : ภาค จักรวาลในของฝุ่นผง  (อ่าน 9863 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 11:17:25 »

[ โดย อ.มดเอ็กซ์ บอร์ดเก่า ]





 
 
จักรวาลในของฝุ่นผง

 
เมื่อบ่ายวันก่อน เมื่อฉันกลับมายังที่พำนัก ฉันปิดประตูและหน้าต่างทุกบาน เพราะลมพัดแรง เช้าวันนี้ เปิดหน้าต่างเอาไว้ ฉันสามารถมองเห็นป่าไม้เขียวชอุ่มที่เย็นยะเยือก ดวงตะวันสาด แสงลงมาและนกตัวหนึ่งส่งเสียงร้องเจื้อยแจ้ว ตุยน้อยไปโรงเรียนแล้ว ฉันจะหยุดเขียนหนังสือ สักครู่หนึ่ง เพื่อจะมองดูบรรดาต้นไม้ที่ทอดกิ่งอยู่ข้างเชิงเขา ฉันรับรู้ถึงการมีอยู่ของต้นไม้และ ตัวของฉันเอง ไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องปิดประตูการรับรู้ทางอายตนะ เพื่อที่จะได้เกิดสมาธิ สำหรับผู้เริ่มปฏิบัติสมาธิใหม่ ๆ อาจจะพบว่าการหลับตาลงตลอดจนการได้อยู่ในที่ที่มีเสียงรบ กวนน้อย อาจจะช่วยให้การตามลมหายใจ หรือการปฏิบัติสมาธิด้วยวิธีอื่น ๆ ง่ายขึ้น แต่การ ปฏิบัติก็อาจเป็นไปได้เมื่อเปิดหน้าต่างของอายตนะ วัตถุที่อยู่ในความรับรู้ของเรามิได้อยู่นอกกาย เสมอไป ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้มองเห็นรูป ไม่ได้ยินเสียง ไม่ได้ดมกลิ่น หรือไม่ได้ลิ้มรส แต่เรา ก็ไม่สามารถมองข้ามการรับรู้ความรู้สึกภายในร่างกายของเราได้ เมื่อคุณปวดฟันหรือเป็นตะคริว ที่ขา คุณจะรู้สึกถึงความเจ็บปวด เมื่ออวัยวะทุกอย่างของคุณเป็นปกติ คุณจะรับรู้ถึงความสุขสบาย ของร่างกาย พุทธศาสนาพูดถึงความสุข ๓ ประการด้วยกัน คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ และกลาง ๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ แต่จริง ๆ แล้ว ความรู้สึกกลาง ๆ ก็เป็นความรู้สึกรื่นรมย์ไม่น้อย ถ้าเราตื่นตัวอยู่เพื่อ รับรู้ความรู้สึกนั้น ๆ


ความรู้สึกภายในกาย เป็นสายธารที่ไหลอย่างต่อเนื่องมิได้ขาดสาย ไม่ว่าเราจะระลึกรู้หรือไม่ก็ตาม ด้วยเหตุนี้การที่จะปิดประตูอายตนะทั้งปวง จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หรือแม้ว่าเราจะกักกั้นมันด้วย วิธีหนึ่งใดก็ตาม จิตและความรับรู้ ( วิญญาณ ) ก็ยังคงทำงานของมันต่อไป เรายังคงมีภาพบัญญัติและ ความคิดจากความทรงจำของเรา บางคนคิดว่าการนั่งสมาธิ ก็คือการแยกตัวออกมาจากโลกของ ความคิดและความรู้สึก กลับสู่สภาวะบริสุทธิ์ ที่จิตมีตัวเองเป็นวัตถุแห่งการภาวนา และจิตจะกลาย เป็น " จิตเดิมแท้ " นั้น เป็นความคิดที่สวยสดงดงาม แต่เป็นความคิดที่ผิดพลาดในขั้นพื้นฐานเลยทีเดียว เพราะจิตมิได้เป็นอยู่โดยแยกขาดออกจากความคิดและความรู้สึก จิตจะผละออกไปอยู่กับตัวเองได้อย่างไร เมื่อฉันมองดูต้นไม้ข้างหน้า จิตของฉันไม่ได้ออกจากตัวฉันเข้าไปอยู่ในป่า หรือจิตไม่ได้เปิดประตูเพื่อ ให้ต้นไม้เข้ามาอยู่จิต อันที่จริงจิตของฉันอยู่ที่ต้นไม้ แต่ทั้งสองจิตและต้นไม้มิใช่สองสิ่งที่ดำรงอยู่เป็น เอกเทศ จิตของฉันและต้นไม้เป็นหนึ่งเดียว ต้นไม้เป็นเพียงหนึ่งในการสำแดงให้ปรากฏแห่งจิตอันน่ามหัศจรรย์
 
 
ป่าไม้
ภาพร่างแห่งต้นไม้นับพัน และจิตของฉัน
ใบไม้พลิ้วเป็นคลื่น
หูได้ยินเสียงเพรียกของลำธาร
ตาเห็นท้องฟ้าแห่งใจ
รอยแย้มยิ้มสถิตอยู่ทั่วทุกใบของใบไม้
มีป่าไม้อยู่ที่นี่
เพราะฉันอยู่ที่นี่
จิตติดตามป่าไม้
และได้นุ่งห่มอาภรณ์สีเขียว
 
ปราชญ์เข้าสู่มาธิ เขาหรือเธอไม่รู้หรอกว่า นี่โลกภายนอกที่จะต้องหนีออกมา หรือมีโลกภายใน ที่จะต้องเทรกเข้าไป โลกปรากฏตนขึ้นเอง แม้ดวงตาทั้งสองจะปิดลง โลกไม่ใช่จะอยู่ภายในหรือ ภายนอก ในทุก ๆ วัตถุแห่งการภาวนาจะเป็นโลกอยู่พร้อมมูลไม่ว่าจะเป็นลมหายใจ ปลายจมูก หรือสิ่งอื่น ๆ ก็ตาม ทั้งนี้แม้จะมีขนาดเล็กเพียงฝุ่นผงหรือ ยิ่งใหญ่ปานขุนเขาก็ตาม จะเป็นวัตถุใด ก็ตาม วัตถุนั้นหาได้เป็นเพียงเสี้ยวส่วนของความจริงอันสูงสุดไม่ อันที่จริงวัตถุนั้นได้คลอบคลุม ความเป็นจริงทั้งมวลอันกว้างใหญ่ไพศาลนั้นไว้แล้ว



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 11:17:30 »


 
 
เล็กมิได้ภายอยู่ใน ใหญ่มิได้อยู่ภายนอก

 
ฉันขอเชื้อเชิญเธอให้มาเข้าสมาชิกกับฉัน โปรดนั่งในท่าที่สบายผ่อนคลาย ให้ความสนใจ ของเธอไปอยู่ที่ลมหายใจ ปล่อยลมหายใจให้อ่อนโยนอย่างยิ่ง เบาสบายอย่างยิ่ง สักชั่วครู่ เคลื่อนย้ายความสนใจไปสู่ความรู้สึกในร่างกายของเธอ ถ้าเธอรู้สึกเจ็บปวดหรือไม่สบาย ประการใด หรือถ้าความรู้สึกสุขสบายประการใด ให้นำความใส่ใจไปไว้ที่นั่น มีปีติกับความ รู้สึกนั้นด้วยความตื่นรู้ที่เต็มเปี่ยม อีกสักครู่เปลี่ยนมาสังเกตุอวัยวะต่าง ๆ ภายในที่ทำงาน แตกต่างกันไป เช่น หัวใจ ปอด ตับ ไต ระบบย่อยอาหาร และอื่น ๆ โดยปกติอวัยวะเหล่านี้ จะทำงานอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยปราศจากความลำบากยากเย็น ประการใด สำรวจผ่านไปโดย ไม่ไปยึดอยู่กับอวัยวะต่าง ๆ เหล่านั้น นอกจากว่ามันจะเจ็บปวด สังเกตกระแสเลือดที่หลั่ง ไหลประดุจดังแม่น้ำที่ไหลในชนบทนำความชุ่มฉ่ำมาหล่อเลี้ยงท้องทุ่งด้วยน้ำใสสะอาด

เธอคงรู้ว่าธาราแห่งเลือดนี้จะหล่อเลี้ยงเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย และอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยเซลล์ก็จะให้อาหาร ( ระบบย่อยอาหาร ) แก่เลือด ทำความสะอาดเลือด ( ตับ และปอด ) ตลอดจนสูบฉีด ( หัวใจ ) เลือดไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอวัยวะต่าง ๆ ของ ร่างกายล้วนอิงอาศัยกันและกันในการดำรงอยู่ ปอดมีความสำคัญต่อเลือด เลือดมีความสำคัญ ต่อปอด เลือดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับปอด เลือดจึงเป็นส่วนหนึ่งของปอด และปอดเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับเลือด ปอดจึงเป็นส่วนหนึ่งของเลือด ในลักษณะเช่นเดียวกัน เราอาจจะกล่าวว่า ปอด เป็นส่วนหนึ่งของหัวใจ ตับเป็นส่วนหนึ่งของปอด และอื่น ๆ เราจะเห็นได้ว่าอวัยวะหนึ่ง ๆ ในร่างกายย่อมหมายถึงการดำรงอยู่ของอวัยวะอื่นทั้งหมดในร่างกาย นี่คือ " การอิงอาศัยอยู่ซึ่งกันและกัน "ใน อวตังสกสูตร เหตุและผลจึงไม่ถูกมองเห็นเป็นเส้นตรง แต่เป็นโยงใยประดุจ ดังตาข่ายและก็ไม่ใช่ตาข่ายที่เป็นเพียงสองมิติ แต่หากเป็นระบบโยงใยเกี่ยวพันกันไปในทุกทิศ ทุกทาง คือเป็นเครือข่ายโยงใยหลายมิติออกไป ไม่เพียงแต่อวัยวะหนึ่งจะมีการดำรงอยู่ของ อวัยวะอื่น ๆ ร่วมอยู่ด้วยในขณะเดียวเท่านั้น แต่เซลล์แต่ละเซลล์ ยังเป็นเซลล์ทั้งหมดทุกเซลล์ ด้วยหนึ่งดำรงอยู่ในทั้งหมด และทั้งหมดดำรงอยู่ในหนึ่ง สิ่งนี้ได้มีการแสดงไว้อย่างชัดเจน ในอวตังสกสูตร " หนึ่งคือทั้งหมด ทั้งหมดก็คือหนึ่ง "

เมื่อเราจับความจริงข้อนี้ได้ เราก็จะหลุดพ้นออกจากห้วงเหวของความคิดเรื่อง " หนึ่ง " หรือ " มากหลาย " อันเป็นนิสัยที่คุมขังเราเอาไว้เป็นเวลานาน เมื่อฉันพูดว่า " เซลล์เซลล์หนึ่งมีเซลล์อื่น ๆ อยู่ในตัวของมัน " อย่าเข้าใจผิด โดยคิดไปว่าเซลล์เซลล์หนึ่งจะสามารถยึดหนังเซลล์ออกครอบ คลุมเซลล์อื่น ๆ เอาไว้ทั้งหมด ฉันหมายถึงว่าการปรากฏของเซลล์เซลล์หนึ่ง ย่อมหมายถึงการ ปรากฏของเซลล์อื่น ๆ ด้วย เพราะเซลล์เซลล์หนึ่งไม่สามารถเป็นอยู่ต่างหากจากเซลล์อื่น ๆ ได้ พระอาจารย์เซนชาวเวียดนามเคยกล่าวว่า " ถ้าหากฝุ่นผงอณูหนึ่งมิได้มีอยู่ จักรวาลหนึ่งทั้งหมด ก็หามีอยู่ไม่ " ผู้รู้แจ้งเมื่อเห็นอณูหนึ่งของฝุ่นผงก็จะเห็นก็จะเห็นจักรวาลด้วย สำหรับผู้เริ่มต้นฝึก สมาธิ แม้จะไม่สามารถมองเห็นความจริงข้อนี้ได้อย่างเดียวกับที่สามารถมองเห็นแอปเปิ้ลในมือ ของเขา เขาก็อาจจะเข้าใจความจริงข้อนี้ ได้ด้วยการสังเกตและการพิจารณาในอวตังสกสูตรมีวลี ที่จะทำให้ผู้อ่านสับสนและตระหนกตกใจ ถ้าหากมิได้ผ่านการปฏิบัติสมาธิในหลักการของการ อิงอาศัยซึ่งกันและกัน " ในทุก ๆ อณูของฝุ่นผง ฉันเห็นโลกของพระพุทธเจ้านับประมาณมิได้ ในโลกแต่ละโลกนี้ มีพระพุทธเจ้านับประมาณมิได้ เปล่งรัศมี ... " " เอาโลกหนึ่งมาใส่ไว้ในหลาย ๆ โลก และเอาหลายโลกมาใส่ไว้ในโลกหนึ่ง " " ภูเขาพระสุเมรุหลาย ๆ ลูกสามารถนำมาแขวนไว้ ณ ปลายเส้นผม " ในโลกแห่งปรากฏการณ์ สิ่งต่าง ๆ ดูเหมือนจะเป็นอยู่ต่างหากจากกัน ซึ่งจะ กินเนื้อที่ของตนเองอยู่โดยเฉพาะ " นี่ " อยู่นอก " นั่น " แต่เมื่อเราเจาะทะลวงเข้าไปในหลักการแห่ง การอิงอาศัยกัน เราจะเห็นว่าความรู้สึกของการแยกกันอยู่ต่างหากจากกันนี้ เป็นความเข้าใจผิด วัตถุหนึ่งประกอบขึ้นด้วยวัตถุอื่น ๆ และครอบคลุมวัตถุอื่น ๆ อยู่ในตัววัตถุนั้น ภายในแสงแห่ง สมาธิว่าด้วยการอิงอาศัยซึ่งกันและกัน ความคิดเรื่อง " หนึ่ง - มากหลาย " จะล่มสลายลงไปด้วย กวี เหงียน กอง ตรู เมื่อประจักษ์แจ้งในความคิดข้อข้อนี้ ได้เปล่งวาจาออกมาว่า
 
ในโลกนี้ และในโลกอื่น ๆ ข้างหน้า
พระพุทธองค์นั้นหาผู้เปรียบมิได้
เล็กมิได้อยู่ภายใน
ใหญ่มิได้อยู่ภายนอก
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 11:17:37 »


 
ดวงตะวันในใจฉัน

 
เมื่อเราประจักษ์แจ้งว่า " หนึ่งคือทั้งหมด และ ทั้งหมดก็คือหนึ่ง " ในระดับภายในร่างกายของเรา เราอาจจะก้าวไปอีกก้าวหนึ่ง โดยพิจารณาจักรวาลทั้งมวลให้ปรากฏอยู่ภายใต้กายของเรา เรารู้ว่า ถ้าหัวใจหยุดเต้น สายธารแห่งชีวิตก็จะหยุดไหล ด้วยเหตุนี้ เราจึงทะนุถนอมหัวใจของเรามาก แต่ กระนั้นเราก็ไม่ค่อยจะได้มีเวลาสังเกตสังกาว่าภายนอกตัวเรา มีสิ่งหนึ่งที่จำเป็นต่อการอยู่รอดของ เราเช่นกัน ดูที่แสงอันท่วมท้นนั้นทีเราเรียกว่าดวงตะวัน นั้นคือ หัวใจอันที่สอง เป็นหัวใจที่อยู่นอก ร่างกายของเรา หัวใจที่มีแสงสว่างอันมหาศาลนี้ได้ให้ความอบอุ่นแก่ชีวิตทุกชีวิตบนพื้นโลก ซึ่ง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ มีชีวิตอยู่ได้ก็เพราะดวงตะวัน ใบไม้ได้ซึมซับแสงอาทิตย์ และคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ เพื่อผลิตอาหารให้แก่ต้นไม้ ดอกและลำค้น และเราต้องขอบคุณ พืชทั้งหลายที่ทำให้สัตว์มีชีวิตอยู่ได้ เราทุกชีวิตคือมนุษย์และพืชต่างก็ " บริโภค " ดวงตะวัน ทั้งโดย ตรงและโดยอ้อม เราคงไม่สามารถเริ่มบรรยายผลกระทบของดวงตะวันที่มีต่อเราได้ เพราะดวงตะวัน เปรียบเสมือนหัวใจอันยิ่งใหญ่ที่อยู่นอกกายกายเรา อันที่จริงร่างกายของเรามิได้จำกัดออยู่แต่ภายใน ผิวหนังที่ห่อหุ้มอยู่เท่านั้น ร่างกายของเรายิ่งใหญ่กว่านั้นมาก ยิ่งใหญ่จนมิอาจประมาณได้ เช่น ถ้าผิว อากาศที่ห่อหุ้มอยู่รอบ ๆ โลกสูญหายไป ชีวิตของเราก็คงจะต้องจบสิ้นลง ไม่มีปรากฏการณ์อันใด ในจักรวาลนี้หรอกที่จะไม่เกี่ยวข้องกับเราอยู่อย่างไกล้ชิด จากก้อนกรวดที่นอนนิ่งออยู่กับมหาสมุทร ไปจนถึงการเคลื่อนตัวของกาแล็คซี่ ซึ่งอยู่ห่างจากเราออกไปหลายล้านปีแสง วอลต์ วิตแมน ผู้เป็น กวีได้กล่าวว่า " ฉันเชื่อว่าใบหญ้าใบหนึ่งก็มิได้ยิ่งหย่อนไปกว่าการโคจรของหมู่ดาว " ถ้อยคำเหล่านี้ มิได้เป็นปรัชญา แต่หากมาจากส่วนลึกแห่งหัวใจของเขา เขากล่าว " ฉันใหญ่โต ฉันมีสิ่งต่าง ๆ หลาก หลายบรรจุอยู่ในตัวฉัน "
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 11:17:46 »

http://img151.imageshack.us/img151/9904/26annuz6.jpg
ดวงตะวันในใจฉัน : ภาค จักรวาลในของฝุ่นผง

 
ต่างเป็นและต่างอยู่ในกันและกัน
 
การทำวิปัสสนาอย่างที่แนะนำมานี้อาจจะเรียกว่า " สภาวะต่างเป็นที่เกี่ยวพันกันอยู่อย่างไม่รู้จักจบสิ้น " นั่นก็คือ การพิจารณาปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่ต้องอิงอาศัยกันและกัน การพิจารณาเช่นนี้จะช่วยปลดปล่อย เราให้เป็นอิสระจากบัญญัติแห่ง " เอกภาพ - ความหลากหลาย " หรือบัญญัติแห่ง " หนึ่ง - ทั้งหมด " การพิจารณาเช่นนี้จะช่วยแแยกสลายบัญญัติแห่ง " ตัวฉัน " เพราะบัญญัติแห่งตัวตนนั้น สร้างอยู่บน พื้นฐานของความแตกต่างระหว่างเอกภาพกับความหลากหลาย เมื่อเราคิดถึงฝุ่นหนึ่งอณู ดอกไม้ดอก หนึ่งหรือมนุษย์ผู้หนึ่ง ความคิดของเรามิอาจหลุดพ้นออกมาจากความเป็นหนึ่งหรือเอกภาพได้ เรามอง เห็นเส้นที่คั่นอยู่ระหว่างหนึ่งกับสิ่งอื่น ๆ ที่มีอยู่มากหลายระหว่างหนึ่งกับสิ่งที่มิได้เป็นหนึ่งนั้น ในชีวิต ประจำวัน เราต้องการสิ่งเดียวกันนี้ เช่นเดียวกับที่รถไฟต้องกาศัยราง แต่ถ้าเราประจักษ์แจ้งในธรรมชาติ ที่ต้องอิงอาศัยกันและกันของฝุ่น ดอกไม้ และมนุษย์ เราจะสามารถมองเห็นได้ว่า เอกภาพนั้นมิอาจ ดำรงอยู่ได้โดยปราศจากความหลากหลาย ทั้งเอกภาพก็คือความหลากหลาย นี่คือหลักการของการต่าง เป็นและต่างอยู่ในกันและกันของอวตังสกสูตร
 
ต่างเป็นนั้นหมายถึง " นี่ก็คือนั่น " และ " นั่นก็คือนี่ " เมื่อเราพิจารณาลึก ๆ ลงไปในความต่างเป็น และต่างอยู่ในกันและกัน เราจะเห็นว่า ความคิดเรื่องหนึ่งกับมากมายนั้นคือสังขารที่จิตใจปรุงแต่ง ขึ้นมา ดุจเดียวกับถังที่ใช้โอบอุ้มน้ำ ครั้นเมื่อเราหลุดพ้นออกจากข้อจำกัดอันนี้ เราก็จะเหมือนกับ รถไฟที่วิ่งไปได้โดยไม่ต้องอาศัยรางเช่นเดียวกับเมื่อเราประจักษ์ว่าเราอยู่บนโลกกลม ๆ ที่หมุนรอบ ตัวเองและหมุนรอบดวงอาทิตย์ บัญญัติเรื่องข้างบนข้างล่างก็จะสลายตัวไปเอง เมื่อเราประจักษ์แจ้ง ในการอิงอาศัยกันและกันของสิ่งทั้งหลายทั้งปวง เราก็จะเป็นอิสระจากความคิดเรื่อง " หนึ่ง - มากหลาย "
 
ในอวตังสกสูตรได้มีการใช้ภาพของร่างแหแห่งรัตนะเพื่อแสดงถึงปฏิสัมพันธ์และความเกี่ยวพัน อันหลากหลายและไม่มีที่สิ้นสุดของสรรพสิ่ง ร่างแหนั้นประกอบด้วยรัตนะอันทอประกายสดใส ซึ่งมีหลากหลายชนิด และแต่ละรัตนะนั้นก็เจียรไนให้มีหลากหลายแง่มุม รัตนะหนึ่ง ๆ ได้ประมวล ภาพของบรรดารัตนะทั้งหลายเอาไว้ในตัว เช่น เดียวกับที่มีภาพตัวอยู่ในรัตนะอื่น ๆ ทั้งมวล ในภาพ นี้เองที่แต่ละรัตนะย่อมบรรจุไว้ด้วยรัตนะอื่น ๆ ทั้งหมด

เราสามารถให้ตัวอย่างจากรูปทรงเรขาคณิตไว้ด้วย ยกตัวอย่างวงกลมที่มี ก. เป็นจุดศูนย์กลาง ก็จะ ประกอบด้วยจุดต่าง ๆ ก. ที่มีความห่างจาก ก. เท่า ๆ กัน วงกลมเกิดขึ้นได้ก็เพราะมีจุดต่าง ๆ ทุกจุด อยู่ที่นั่น ถ้าขาดจุดใดจุดหนึ่งวงกลมก็จะไม่เป็นวงกลม เช่นเดียวกับบ้านที่สร้างขึ้นมาจากสำรับไพ่ หากชักไพ่ใบใดใบหนึ่งออกบ้านทั้งหมดก็จะพังลง ไพ่แต่ละใบต้องขึ้นต่อและกัน ถ้าขาดหายไป เพียงใบหนึ่ง บ้านก็จะไม่มี การปรากฏของจุดหนึ่งในวงกลมขึ้นอยู่กับการปรากฏของจุดอื่น ๆ ณ จุดนี้เราจะเห็นได้ว่า " หนึ่งคือทั้งหมด ทั้งหมดคือหนึ่ง " จุดทุกจุดในวงกลมมีความสำคัญทัดเทียม กัน ไพ่แต่ละใบ ในบ้านที่สร้างด้วยไพ่ ย่อมมีความสำคัญเท่า ๆ กัน แต่ละใบย่อมมีความสำคัญต่อ การดำรงอยู่ของทั้งหมด และย่อมหมายถึงความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของส่วนอื่น ๆ นี่ก็คือการอิงอาศัยกันและกัน

เพื่อให้เข้าใจถึงธรรมชาติอันเกี่ยวพันของความสัมพันธ์ซึ่งทั้งโดยนัยของความต่างเป็น และการ เป็นอยู่ในกันและกัน เราลองนึกถึงรูปทรงกลมที่มีจุดต่าง ๆ ที่ผิวพรรณ และมีจุดต่าง ๆ ที่ประกอบ ขึ้นเป็นปริมาตรภายใน ทรงกลมจะประกอบด้วยจุดเป็นจำนวนมากมายแต่หากปราศจากจุดเหล่านี้ เพียงหนึ่งเดียว ทรงกลมจก็มิอาจดำรงอยู่อยู่ ทีนี้ลองมาใช้จินตนาการดูว่า ถ้าเราเชื่อมโยงจุด ก. ซึ่งเป็นจุดหนึ่งในทรงกลมเข้ากับจุดอื่น ๆ ทุกจุดในทรงกลม และเราก็เชื่อมโยงจุด ข. ซึ่งเป็นจุดหนึ่ง ในทรงกลม เข้าถึงจุดอื่น ๆ ทุกจุดในทรงกลมรวมนับจุด ก. ด้วย เธอคงเห็นเส้นโยงใยจุดต่าง ๆ เกี่ยวพันกันอยู่อย่างหนาแน่น

พระโพธิสัตว์ย่อมมองเห็นธรรมชาติที่ต้องเกี่ยวข้องอิงอาศัยกันและกันอยู่ของสรรพสิ่ง มองเห็น ธรรมข้อหนึ่งในธรรมทั้งหลาย มองเห็นธรรมทั้งหลายในธรรมข้อหนึ่ง มองเห็นความหลากหลาย ในหนึ่ง มองเห็นหนึ่งในความหลากหลาย มองเห็นหนึ่งในสิ่งที่มิอาจประมาณได้ มองเห็นสิ่งที่ มิอาจประมาณได้ในหนึ่ง การเกิดและการดำรงอยู่ของธรรมทั้งหลายทั้งปวง มีธรรมชาติที่เปลี่ยน แปลงอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสิ่งที่ไม่จริงแท้ และไม่อาจแตะต้องสัมผัสผู้ตรัสรู้ได้ ดังที่ฉัน ได้กล่าวถึงความคิดประการหนึ่งในวิชาฟิสิกส์ร่วมสมัย คือความคิดเรื่อง " หูรองเท้าบู๊ต " เป็นความ คิดที่ปฏิเสธความคิดหน่อยพื้นฐานของสสาร ( ความคิดหน่วยพื้นฐานของสสารที่กล่าวไว้ว่า สสารนั้น เมื่อแยกย่อยลงไปเรื่อย ๆ เราจะพบหน่วยที่เล็กที่สุดที่มิอาจแบ่งย่อยอีกต่อไปได้ หน่วยดังกล่าวนั้น คือหน่วยพื้นฐานของสสาร ) จักรวาลนี้คือ เครือข่ายและโยงใยของปรากฏการณ์ ที่ปรากฏการณ์ หนึ่งจะเกิดขึ้นจากการเกี่ยวโยงใยของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งมวล สิ่งที่เราเรียกว่า อนุภาค แท้ที่จริง ก็คือความสัมพันธ์ระหว่างอนุภาคต่าง ๆ นั่นเอง

บางคนอาจตั้งคำถามขึ้นมาว่า " ถึงแม้ฉันจะเห็นด้วยว่าปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ ย่อมจะต้องขึ้นต่อปรากฏ การณ์อื่น ๆ ทั้งมวล ในแง่ของการเกิดขึ้นและการตั้งอยู่ของปรากฏการณ์นั้น ๆ แต่แล้วสิ่งที่เรียกว่า ' ทั้งหมด ' ซึ่งเป็นสิ่งที่รวมปรากฏการณ์ทั้งหลายเข้าด้วยกันนั้น จะมาจากใหน " คุณจะกรุณาให้คำตอบ แก่เขาได้หรือไม่
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 11:17:56 »


 
 
ดวงตาที่เปิดออกในสมาธิ

 
สมาธิมิใช่สมาธิแต่เป็นงานสร้างสรรค์ นักปฏิบัติสมาธิที่เอาแต่เลียนแบบครูผู้สอนย่อมไปไม่ได้ไกล สิ่งนี้เป็นจริงด้วยในกิจกรรมอื่น ๆ เช่นการปรุงอาหาร เป็นต้น กุ๊กที่เก่งจะต้องมีจิตใจสร้างสรรค์ คุณสามารถเข้าถึงการพิจารณาว่าด้วยเรื่องการอิงอาศัยต่อกันและกันของปรากฏการณ์ทั้งมวลได้หลาย ทางด้วยกัน เช่นการพิจารณาอวัยวะภายในของคุณ อันได้แก่ เลือด หัวใจ ลำไส้ ปอด ตับ ไต และอื่น ๆ หรือจะพิจารณาเรื่องราวอื่น ๆ เช่น ความคิด ความรู้เสึก ภาพพจน์ กวีนิพนธ์ ความฝัน แม่น้ำ ดวงดาว ใบไม้ และอื่น ๆ
 
นักปฏิบัติสมาธิที่ดี จะน้อมนำสมาธิเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเขาในทุก ๆ ด้าน ไม่ยอมให้ โอกาสอันใดแม้หนึ่งเดียวผ่านไป ทั้งนี้เพื่อจะเห็นถึงธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกันอยู่ วันทั้งวันจะปฏิบัติด้วยสมาธิที่เต็มเปี่ยมอยู่ตลอดเวลา จะเปิดตาหรือปิดตาจิตก็เป็นสมาธิได้ ไม่ควรจะยึดติดในความคิดที่ว่า เราปิดตาเพื่อจะมองเข้าไปด้านในและเปิดตาเพื่อที่จะมองออกด้านนอก ต่างก็เป็นวัตถุแห่งความรู้สึกด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่มีอะไรอยู่ข้างนอกหรือข้างในสมาธิอันยิ่งใหญ่จะเกิดขึ้นได้ก็เพราะเธอธำรงอยู่อย่างเต็มเปี่ยม ด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างลึกซึ้ง กับความเป็นจริงที่มีชีวิตชีวา ณ ช่วงเวลาเช่นนั้นเองที่ความแตกต่างระหว่างประธานและกรรมสูญสลายตัวไป เธอเข้าถึงความเป็นจริงที่มีชีวิตนั้นได้โดยง่ายดาย และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะเธอ ได้ปล่อยวางลงเสียแล้ว ซึ่งเครื่องไม้เครื่องมือที่ไว้ใช้ตรวจสอบความรู้ อันเป็นความรู้ที่ทางพุทธศาสนา กล่าวว่าเป็น " ความรู้ที่ผิด "
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 11:18:06 »


 
การเห็นและความรักไปด้วยกันเสมอ
 
มีบางเวลาที่เราเฝ้าดูเด็กที่กำลังเล่นอะไรอยู่ เราจะคิดเรื่องอนาคต เรารู้ว่าชีวิตเต็มไปด้วยความ วิตกกังวล ความกลัว ความหวัง และความผิดหวัง เราจะวิตกกังวลและคิดถึงความดิ้นรนขวน ขวายที่พวกเขาต้องเผชิญในอนาคต ณ ชั่วขณะหนึ่งนั้นนั่นเองที่เราเข้าไปในตัวเด็ก ๆ เป็นการ ง่ายที่จะเข้ากับพวกเขา เพราะเด็ก ๆ เหล่านี้ก็คือเลือดเนื้อเชื้อไขของเรา

การปฏิบัติสมาธิก็เป็นเช่นเดียวกันนี้เอง เมื่อเราพิจารณาความอิงอาศัยซึ่งกันและของสรรพสิ่ง เราสามารถเข้าถึงความเป็นจริงได้โดยง่าย เราสามารถมองเห็นความกลัว ความรวดร้าว ความหวัง และความสิ้นหวัง มองดูตัวหนอนแก้วบนใบไม้ เราสามารถเข้าใจความสำคัญของหนอนแก้ว ทั้งนี้ไม่ใช่จากมุมมองของมนุษย์ แต่ด้วยการเข้าถึงที่อิงอาศัยรากฐานของความอิงอาศัยซึ่งกันและ กันของสรรพสิ่งประจักษ์ในคุณภาพชีวิตของทุกชีวิต เราไม่สามารถพรากชีวิตหนอนแก้วตัวนี้ลง ได้ ถ้าวันหนึ่งวันใดเราจะต้องฆ่าหนอนแก้วตัวหนึ่ง เรารู้สึกประหนึ่งว่า เรากำลังฆ่าตัวเราเอง ที่บางสิ่งบางอย่างใกล้ชิดตัวเราได้ตายไปพร้อม ๆ กับหนอนแก้วตัวนั้น

นับตั้งแต่โบราณกาล มนุษย์ออกล่าสัตว์เพื่อเลี้ยงชีวิตตนเองและครอบครัว พวกเขาทำเช่นนี้ เพื่อความอยูรอด มิได้ทำไปเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ทุกวันนี้คนบางล่าเพื่อความสนุก สนาน หลักแห่งการอิงอาศัยกันซึ่งกันและกันของทุก ๆ ปรากฏการณ์ ผู้ปฏิบัติสมาธิภาวนาย่อม จะมองเห็นว่า " สรรพชีวิตเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน " เธอย่อมมีความกรุณาต่อสรรพชีวิตอย่าง ท่วมท้น เมื่อเธอรู้สึกถึงความรักเช่นนี้ เธอจะรู้ได้ทันทีว่า สมาธิของเธอเริ่มผลิดอกออกผล เห็นและรักย่อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความเข้าใจที่ตื้นเขิน ย่อมมีความกรุณาที่ตื้นเขินเป็น คู่เคียง ความเข้าใจที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไปด้วยกันกับความกรุณาที่ยิ่งใหญ่
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 11:18:15 »


 
ความเจ็บปวดใจ
 
เธอเคยเห็นสารคดีชีวิตสัตว์ป่าที่นำออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ของภาครัฐบาลหรือไม่ เมื่อสัตว์กินเนื้อล่าสัตว์อื่น ๆ เป็นอาหารเสือล่ากวาง หรืองูเขมือบกบ ภาพยนต์สารคดี เหล่านี้ก่อให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้นหวาดเสียว เราหวังว่ากวางจะเห็นเสือไปได้ และกบจะ รอดพ้นการถูกเขมือบ เป็นความเจ็บปวดเมื่อเราเห็นเสือขยุ้มกวางหรืองูเขมือบกบ ราย การเหล่านี้ไม่ใช่เป็นการตกแต่งเรื่องราวให้เกิดขึ้น แต่เป็นเพียงเรื่องจริง เรามักรู้สึกหว่งใย กวางและกบ แต่เรามักจะไม่ได้ใคร่ครวญว่า อันที่จริงเสือและงูจะต้องกินอาหารเพื่อดำรง อยู่ มนุษย์เรากินไก่ หมู กุ้ง ปลา เนื้อวัว เช่นเดียวกับที่เสือและงูกินกวางและกบเช่นกัน แต่เนื่องจากมันเป็นสิ่งเจ็บปวดที่จะเห็นสัตว์ชนิดหนึ่งเป็นเหยื่อของสัตว์อีกชนิดหนึ่ง เรา จึงเอาใจให้ไปอยู่ข้างผู้ที่เป็นเหยื่อและหวังว่ามันจะหนีรอดไปได้

ในสภาพการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ในฐานะของผู้ปฏิบัติสมาธิ เราจะต้องมีความกระจ่างชัดเอา ไว้ให้มาก เราไม่ได้อยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพราะว่าเราจะอยู่ร่วมกันทั้งสองฝ่าย คนบางคนอาจ จะตื่นเต้นและสนุกสนานกับการได้ดูเสือฉีกเนื้อเหยื่อ แต่พวกเราส่วนใหญ่รู้สึกเจ็บปวดไป กับเหยื่อและการเอาใจเข้าข้างเหหยื่อ ถ้าเราอยู่ในเหตุการณ์เราอาจจะหาทางช่วยกวางหรือ กบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่ขอให้ระมัดระวังว่าที่จะทำไปเช่นนั้น เราควรจะเจ็บปวดไปกับ เสือและงูด้วย หากพวกเขาไม่สามารถมีอาหารหล่อเลี้ยงชีวิตได้ สรรพชีวิตต่างก็ดิ้นรนเพื่อ ความอยู่รอด ยิ่งเราเข้าไปในชีวิตลึกเข้าไปเท่าใด เรายิ่งจะพบความมหัศจรรย์มากยิ่งขึ้น โดยที่พร้อม ๆ กันไปเราก็จะพบเรื่องราวที่ทำให้ปวดร้าวหัวใจและน่าหวาดหวั่นมากยิ่งขึ้น เท่านั้น คุณเคยเห็นชีวิตของแมงมุมหรือยัง คุณเคยมีชีวิตอยู่ท่ามกลางสงครามไหม คุณเคย เห็นชีวิตของแมงมุมหรือยัง คุณเคยมีชีวิตอยู่ท่ามกลางสงครามไหม คุณเคยเห็นโจรสลัด ข่มขืนเด็กสาวในทะเล ที่ไม่ได้อยู่ในเขตของประเทศใดประเทศหนึ่งไหม
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 11:18:23 »


 
การคืนดีที่เกิดขึ้นในหัวใจแห่งความกรุณา
 
คนนับล้านติดตามรายการกีฬา ถ้าคุณชอบฟุตบอล คุณอาจจะเลือกทีมที่ชื่นชอบทีมใดทีมหนึ่ง และรู้สึกร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับทีมนั้น คุณจะดูรายการฟุตบอลนั้นด้วยความรู้สึกสมหวัง และผิดหวังบางทีคุณอาจจะออกท่าออกทางเพื่อให้ฟุตบอลกลิ้งไปอีกหน่อยด้วยซ้ำ ถ้าคุณไม่ ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง การดูฟุตบอลก็คงไม่สนุก ในสงครามเราก็จะเลือกข้างเช่นเดียวกัน โดย มากเรามักจะเลือกฝ่ายถูกคุกคาม ขบวนการเพื่อสันติภาพมักจะเกิดขึ้นเพราะความรู้สึกเช่นนี้ เรารู้สึกโกรธ เราตะโกน แต่เราไม่เคยพยายามไปให้พ้นความรู้สึกเช่นนี้และกลับมามองปัญหา ความขัดแย้งอีกครั้ง ดุจเดียวกับที่มารดามองดูลูกสอนคนของตนเองทะเลาะกัน เพราะเธอหวัง แต่จะให้ลูกทั้งสองคืนดีกันเท่านั้น ความพยายามอย่างแท้จริงเพื่อการคืนดีจะต้องมาจากหัวใจ แห่งความกรุณา ซึ่งจะเกิดจากการใช้สมาธิพิจารณา ธรรมชาติของสภาวะต่างเป็น และอยู่อาศัย กันและกันของสรรพสิ่ง

ในชีวิตของเรา เราอาจจะโชคดีที่ได้พบคนบางคนที่ขยายความรักออกสู่สัตว์และพืชด้วย และอาจ จะได้รู้จักคนบางคนด้วย ที่แม้ว่าพวกเขาจะมีชีวิตอยู่ในสภาวะที่ปลอดภัย หากพวกเขายังได้ตระหนัก ถึงว่ามีมนุษย์อยู่เป็นจำนวนมากที่อดอยาก เจ็บไข้ได้ป่วย และถูกกดขี่เบียดเบียน พวกเขาได้แสวงหา หนทางช่วยเหลือผู้คนที่ตกทุกข์ได้ยากเหล่านั้น พวกเขาไม่สมควรลืมผู้คนที่ตกทุกข์ได้ยากเหล่านั้นได้ แม้ว่าพวกเขาจะประสบกับสภาวะกดดันใด ๆ ก็ตาม อย่างน้อยคนที่มีสำนึกเช่นนั้น ถือได้ว่าพวกเขา ได้ประจักษ์แจ้งในธรรมชาติที่อิงอาศัยกันและกันของชีวิต พวกเขารู้ดีว่าความอยู่รอดของประเทศ ด้อยพัฒนาทั้งหลายมีความเกี่ยวกันกันอยู่อย่างแยกไม่ออกกับประเทศร่ำรวยซึ่งมีเทคโนโลยีที่พัฒนาแล้ว ความยากจนและการกดขี่ทำให้เกิดสงครามในยุคสมัยของเรา สงครามทุกสงครามเกี่ยวข้องอยู่กับประเทศ ต่าง ๆ ทั้งมวล ชะตากรรมของประเทศหนึ่ง ๆ เกี่ยวโยงอยู่ในชะตากรรมของประเทศอื่น ๆ ด้วยเช่นเดียว กัน
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 11:18:33 »


 
 
ห้องเล็ก ๆ สำหรับความกรุณา
 
ในอารยธรรมที่เทคโนโลยีเป็นสิ่งจำเป็นต่อความสำเร็จ จะมีที่ทางสำหรับความกรุณาน้อยมาก แต่เมื่อเรา พิจารณาดูชีวิตอย่างลุ่มลึก เราจะเห็นความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แม้กระทั่งมดและหนอนแก้ว ถ้าเรา เป็นชาวไร่ชาวนา เราก็อาจจะล้มเหลวหากเราไม่ใช้ยาฆ่าแมลงที่จะใช้กำจัดแมลงต่าง ๆ และถ้าเราไม่มี กะจิตกะใจจะเข่นฆ่าสัตว์ แล้วเราจะยกปืนจ้องไปที่มนุษย์ได้อย่างไร ถ้าเป็นเช่นนั้น ถ้าเราเป็นเจ้าหน้าที่ ในกระทรวงกลาโหม เราก็อาจจะส่งเสริมให้ผู้คนพากันหนีทหารกระนั้นหรือ หรือถ้าเราเป็นผู้ว่าการรัฐ เราก็จะต่อต้านการมีเตาปฏิกรณ์ปรามาณู เพื่อผลิตไฟฟ้าขึ้นในรัฐของเรา ถ้าเป็นเช่นนี้เราก็จะถูกผู้คนขับ ออกมานอกระบบ พวกเราหลายต่อหลายคนก็มีความรู้สึกเช่นนี้ เรารู้สึกไม่สบายใจต่อสภาพหลายสิ่ง หลายอย่างในสังคมนี้ และก็พากันแสดงออกซึ่งความคิดต่อต้านในหลาย ๆ หนทางด้วยกัน

 
เดวิด โบห์ม ศาสตราจารย์ฟิสิกส์ แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอนกล่าวว่า " ถ้าหากเราต้องการให้สังคมเปลี่ยน แปลง ความเปลี่ยนแปลงระดับปัจเจกบุคคลที่ฉาบฉวยหหรือความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจนั้น มิอาจส่ง ผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมจริง ๆ จัง ๆ ได้ หากจะต้องเปลี่ยนจิตสำนึก ( การเปลี่ยนแปลงในระดับ การรับรู้ของมนุษย์ ) เลยทีเดียว เรายังไม่รู้ว่าจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นในตัวมนุษย์ได้อย่างไร แต่ผมเองอาจคิดว่า ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด " การเปลี่ยนแปลงจิต สำนึกนี้จะเกิดขึ้นได้โดยการมองเห็นธรรมชาติของการอิงอาศัยซึ่งกันและกันของสรรพสิ่ง การประจักษ์แจ้ง นี้จะเกิดขึ้นเฉพาะตน การประจักษ์แจ้งดังกล่าวไม่ใช่อุดมการณ์หรือระบบความคิด หากเป็นผลมาจากการ รับรู้ประสบการณ์โดยตรง ในความเป็นจริงที่มีมุมของความสัมพันธ์อันหลากหลายความจริงข้อนี้จะเข้าถึงได้ ก็ต่อเมื่อเราได้ละทิ้งความคิดตามปกตินิสัย ซึ่งมักจะมองความเป็นจริงเพียงแง่มุมใดแง่มุมหนึ่ง ซึ่งเป็นเพียง เสี้ยวส่วนหนึ่งของความเป็นจริงเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงนั้นมิอาจถูกตัดทอนหรือแยกขาดออกเป็นเสี้ยว ส่วนได้เลย
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 11:18:43 »


 
 
ความไม่กลัวในท่ามกลางการเกิดและการตาย
 
เมื่อปฏิบัติสมาธิด้วยการพิจารณา การอิงอาศัยซึ่งกันและกันของสรรพสิ่งต่อไปอีกสักหน่อย เธอจะเห็น ได้ว่ามุมมองของเธอกว้างขึ้น และเธอจะเห็นว่าเธอมีความเมตตากรุณาต่อสรรพชีวิตมากยิ่งขึ้น ความขุ่นข้อง และความเกลียดซึ่งความคิดไม่สามารถแทรกแซงเข้าไปถึง จะค่อย ๆ สลายตัวและเธอจะมีความรู้สึกเอาใจ ใส่แต่ละชีวิตและชีวิตทุก ๆ ชีวิตมากยิ่งขึ้นและที่สำคัญยิ่ง เธอไม่กลัวการเกิดและการตายอีกต่อไป

บางทีเธออาจจะเคยได้ยินชื่อ เออวิน ชโรดิงเจอร์ ผู้คนพบกลไกกระแสคลื่น เมื่อใคร่ครวญถึงตัวตน ชีวิต ความตาย จักรวาล เอกภาพ และความหลากหลาย เขาได้เขียนบันทึกไว้ว่า

ดังนั้น คุณจึงนอนจนเหยียดยาวลงแม่พระธรณี ด้วยความเชื่ออย่างแน่วแน่ว่าคุณเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กับเธอ และเธอก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับตัวคุณ คุณมีความมั่นคงและไม่เปราะบางดุจเดียวกับเธอ อันที่จริง คุณจะรู้สึกมั่นคงและไม่เปราะบางยิ่งกว่าเธอพันเท่า แน่นอน เธอจะโอบอุ้มคุณในวันพรุ่งนี้ และเธอก็จะ ให้กำเนิดแก่คุณใหม่ เพื่อความทะยานอยากอย่างใหม่และความทุกข์อย่างใหม่ ปรากฏการณ์เช่นนี้ มิใช่เพียง แต่จะเกิดขึ้นเป็นบางวันเท่านั้น หากจะเกิดขึ้น ณ ขณะนี้วันนี้และทุก ๆ วัน เธอจะให้กำเนิดแก่คุณ และไม่ เพียงครั้งหนึ่งเท่านั้น หากนับเป็นพัน ๆ ครั้ง เช่นเดียวกับที่เธอจะกลืนกินคุณเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเธอ นับพัน ๆ ครั้งเช่นกัน ตลอดไปชั่วนิรันดร์ จะมีแต่ชั่วขณะนี้ ชั่วขณะแห่งปัจจุบันที่เป็นหนึ่งเดียวและเป็น ชั่วขณะนี้ อันเดิมอันเดียวกันนั้นเอง ปัจจุบันเป็นเพียงสิ่งเดียวที่ไม่มีจุดจบ

ถ้าหากทัศนะของชโรดินเจอร์หยั่งรากลงในวิถีชีวิตประจำวันของเรา เราจะไม่ไหวติงแม้ต่อหน้าการเกิด และการตาย
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 11:18:52 »


 
 
อดีต ปัจจุบัน และอนาคตบนปลายเส้นผม
 
ข้อสังเกตุของชโรดินเจอร์เกี่ยวกับเรื่องของกาลเวลาช่วยให้ เราเกิดความกล้าขึ้นมาอีก ที่จะก้าวไปสู่อีกขั้นหนึ่ง ของการทำสมาธิพิจารณาการอิงอาศัยกันและกันของสรรพสิ่ง บัญญัติแห่งในหรือนอก หนึ่งหรือหลากหลาย กำลังล่มสลายไป เมื่อเราเพ่งพินิจธรรมชาติของการต่างเป็นและต่างอยู่อาศัยซึ่งกันและกันของสรรพสิ่ง แต่ความ คิดเหล่านี้จะไม่ล่มสลายไปโดยสมบูรณ์แบบ ตราบใดที่เรายังเชื่อเทศะและกาละในแนวความคิดแบบสมบูรณ์ ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการก่อเกิดของปรากฏการณ์ทั้งหลาย ในกาลก่อนที่มีนิกายทางพุทธศาสนา ชื่อว่า ธรรมลักษณะ ( การทำสมาธิพิจารณาปรากฏการณ์ ) ถูกมองว่าเป็นความจริงอันสมบูรณ์ ซึ่งอยู่นอกเหนือการเกิดและการตาย แต่เมื่อได้เกิดมี มัธยมิกนิกาย กาละเทศะจะถูกมองว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะกาละและเทศะจะดำรงอยู่ได้ต้องอิงอาศัยกัน และกันอยู่ เมื่อหลักการของการต่างเป็นต่างอยู่อาศัยซึ่งกันและกันของอวตังสกสูตรปฏิเสธที่จะยอมรับ บัญญัติ ใน-นอก ใหญ่-เล็ก หนึ่ง-หลากหลาย ว่าเป็นจริง มันก็ได้ปฏิเสธบัญญัติที่ว่าเทศะเป็นความจริงอันสมบูรณ์ลงเสียด้วย เมื่อกล่าวถึง กาละ บัญญัติที่แบ่งแยกชัดระหว่างอดีต ปัจจุบัน อนาคตก็ได้ถูกทำลายลงเสียด้วย อวตังสกสูตรกล่าวว่า อดีต ปัจจุบัน และอนาคตนั้น สามารถนำมาใส่ลงในปัจจุบันได้ และปัจจุบันก็สามารถนำใส่ลงไปในอนาคต และปัจจุบัน อนาคตก็สามรถ ใส่ลงไปในอดีตได้ ในที่สุดกาลเวลาชั่วนิรันดร์ก็จะสามารถใส่ลงไปในชั่วขณะหนึ่งได้ ซึ่งเป็นช่วงแห่งเวลาสั้นที่สุด ก็จะถูกประทับตราแห่งการต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน ชั่วขณะหนึ่งจึงบรรจุลงไว้ด้วยอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

อดีตอยู่ในกาลปัจจุบันและอนาคต อนาคตอยู่ในกาลปัจจุบันและอดีต กาลทั้งสามตลอดจนกาลเวลานับหลาย ๆ อสงไขย แม้ที่จริงแล้วเป็นเวลาชั่วขณะ ไม่สั้น ไม่ยาว นั่นคืออิสรภาพ ฉันสามารถล่วงล้ำอนาคต รวบรวมกาลนิรันดร์ลงสู่ชั่วขณะหนึ่งเดียว

อวตังสกสูตร ขยายความต่อไปว่า " ไม่เพียงแต่อณูหนึ่งของฝุ่นผงจะบรรจุไว้ด้วยเทศะ( เนื้อที่ ) อันกว้างใหญ่ไพศาล ไม่มีที่สิ้นสุดเท่านั้น หากมันยังบรรจุไว้ซึ่งกาลเวลาอันไม่มีที่สิ้นสุดด้วย และในชั่วขณะหนึ่งของกาลเวลา เราจะพบ กาลเวลา เราจะพบทั้งกาลเวลาอันไม่มีที่สิ้นสุด และเทศะอันกว้างไหญ่ไพศาลที่ไม่มีที่สิ้นสุด "
อดีต ปัจจุบัน อนาคต อยู่ที่ปลายผม พร้อมทั้งพุทธโลกธาตุอันเอนกอนันต์ เข้าสู่โลกของการอิงอาศัยกันและกัน ด้วยทฤษฎีสัมพันธภาพ

อวตังสกสูตรกล่าวไว้ว่า กาละและเทศะจะมีกันและกันอยู่ ต่างอิงอาศัยกันและกัน จึงสามารถดำรงความมีอยู่เป็นอยู่ได้ มิอาจแยกออกจากกันได้ ทฤษฎีสัมพันธภาพ ของ ไอน์สไตน์ ที่ค้นคิดขึ้นหลังจากพระสูตรนี้ ๒, ooo ปี ได้ย้ำความรู้ ความสัมพันธ์อันไม่สามารถแยกออกจากกันได้ของกาละและเทศะ เวลาได้กลายมาเป็นมิติที่สี่ของเทศะซึ่งมีอยู่ ๓ มิติ ทฤษฎีนี้ได้ปฏิเสธเทศะในฐานะที่เป็นกรอบอ้างอิงสมบูรณ์ จักรวาลจะสถิตอยู่ในกรอบอ้างอิงสมบูรณ์นี้ ความคิดเรื่อง กาละอันสมบูรณ์อันเป็นสากลก็พลอยถูกลบล้างลงด้วย ทฤษฎีสัมพันธภาพกล่าวว่า เทศะเป็นเพียงความสัมพันธ์หนึ่งของ สิ่งต่าง ๆ ในกรอบอ้างอิงอันหนึ่งเท่านั้น และเวลาก็เป็นเพียงลำดับก่อนหลังของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในกรอบอ้างอิงหนึ่ง ๆ

เวลาจึงเป็นเรื่องเฉพาะส่วน และมิใช่เป็นสากล ด้วยเหตุนี้บัญญัติ " บัดนี้ " จึงใช้ได้เฉพาะ " ที่นี่ " เท่านั้น มิใช่ว่าจะใช้ กับที่ไหนก็ได้ในจักรวาลในทำนองเดียวกัน " ที่นี่ " ก็สามารถใช้กับ " บัดนี้ " เท่านั้น และไม่สามารถใช้กับอดีตหรืออนาคต ทั้งนี้เพราะกาละและเทศะที่จะต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกันในการดำรงอยู่ ทั้งสองต่างไม่สามารถดำรงอยู่เป็นอิสระต่างหาก ออกจากกัน ทฤษฎีนี้ทำให้เราสามารถล้มล้างบัญญัติที่ว่าด้วยเทศะอันไม่มีขอบเขตสิ้นสุด และกาละที่ไม่มีจุดจบได้ เราจะ เห็นคู่ของบัญญัติที่เป็นสองขั้ว อันเราจะต้องแยกสลายบัญญัตินั้น ๆ ลงเสีย คู่เหล่านั้นได้แก่ มีที่สิ้นสุด - ไม่มีที่สิ้นสุด นอก-ใน ก่อน-หลัง เป็นต้น ถ้าเรามองดูท้องฟ้า แล้วเกิดความสงสัยว่า มีอะไรอยู่ ณ สุดขอบจักรวาล นั่นก็แสดงให้เห็น ว่าเรายังไม่เข้าใจทฤษฎีสัมพันธภาพและยังไม่ได้ล้มล้างบัญญัติแห่งเทศะอันสมบูรณ์ ซึ่งเป็นบัญญัติที่ทำให้เราเข้าใจว่า เทศะดำรงอยู่ต่างหากจากสิ่งอื่น ๆ โดยไม่ขึ้นต่อสิ่งอื่น ๆ และถ้าเรากำลังตั้งคำถามว่า จักรวาลของเรากำลังวิ่งไปสู่ทิศทางใด นี่ก็หมายความว่าเราเชื่อในกาลเวลา นี่เป็นสากล กาลเวลาที่ไม่มีที่สิ้นสุด ทฤษฎีสัมพันธภาพได้นำความก้าวหน้ามาสู่ทั้ง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และปรัชญา เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่ไอน์สไตน์มิได้นำความคิดอันวิเศษของเรานี้ ซึ่งเปรียบได้กับ ยานอวกาศ โคจรเข้ามาสู่เรื่องราวของความเป็นจริงในโลกที่เห็นและเป็นอยู่
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 11:19:01 »


ภาพ เวลาที่หลอมเหลว โดย Dali : The Persistence of Memory, 1931
 
 
แพข้ามแม่น้ำ
 
การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ ทำให้ความคิดเก่า ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการอธิบายความเป็นจริงในโลกต้องล่มสลายลงไป คุณประโยชน์หนึ่งของทฤษฎีสัมพัทธภาพนั้นก็คือการล้มล้างความคิดเรื่อง กาละ - เทศะแบบเก่าลงอย่างสิ้นเชิง ด้วยความ คิดใหม่ของการเกี่ยวเนื่องอยู่ของกาละ-เทศะตามทฤษฎีนี้ ทุกสิ่งจะมีโครงสร้างจาก ๔ มิติ เป็น ๔ มิติของกาละเทศะนี้แสดง ให้ปรากฏได้ด้วยกราฟเส้นโค้งในความสัมพันธ์ ๔ มิติ ของกาละ-เทศะ ไอน์สไตน์ทิ้งแบบจำลองจักรวาลแบบ ๓ มิติซึ่งเป็น เส้นตรงแบบยูคลิ ( คือแบบเรขาคณิตที่เราร่ำเรียนกันมา ) เขาได้จินตนาการและจำลองจักรวาลที่ประกอบขึ้นด้วยเส้นโค้ง ด้วยกาละ-เทศะจะเกี่ยวเนื่องกันเป็น ๔ มิติ ในปี ๑๙๑๗ เขาได้นำเสนอแบบจำลอง ๔ มิติ ซึ่งมีกาลเวลาเป็นแกน ในแต่ละ นาที รูปทรงของแต่ละเนื้อที่จะไม่ใช่รูปทรงเดียวกัน แต่กระนั้นก็ไม่ได้แยกขาดออกจากกัน เปรียบประดุจแผ่นฟิล์มที่จะให้ ภาพต่อเนื่องกันไป จักรวาลของไอน์สไตน์เป็นทั้งจักรวาลที่สิ้นสุดและไม่สิ้นสุด ในขณะเดียวกัน มดที่เดินอยู่บนผลส้มก็ สามารถเดินตรงไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะมดเดินอยู่บนผิวโค้ง แต่มดก็เดินอยู่บนผลส้มนั่นเอง ซึ่งนั่นก็คือข้อจำกัดของมัน ไอน์สไตน์ขยายมิติของเส้นตรงขึ้นมาเป็นเส้นโค้ง และได้พบจุดผสานระหว่างความสิ้นสุดและความไม่สิ้นสุด


 
แต่ถ้ากาละและเทศะอันไม่สิ้นสุดเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของการรับรู้แห่งจิตแล้วไซร้ แบบจำลองเส้นโค้ง ๔ มิติ แห่งกาละและ เทศะ ถึงแม้จะเข้าไปไกล้ความเป็นจริงมากขึ้นก็ตาม ก็ยังจะคงเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของการรับรู้เท่านั้น ถ้าหากการมองดูยัง ไปไม่พ้นการปรากฏของ " สิ่งของ " ๔ มิติแห่งกาละและเทศะนี้ก็ยังไปไม่พ้นรูปแบบทางความคิดหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้น ด้วยความ คิดที่ว่าด้วย " สิ่งของ " และ " ความเคลื่อนไหว " เส้นโค้งในมิติแห่งกาละและเทศะที่ควรจัดอยู่ในความคิดหนึ่งที่เข้ามาแทนที่ ความคิดที่มองจักรวาลเป็น ๓ มิติแห่งเทศะ ที่ดำรงอยู่ในกาละอันไม่สิ้นสุด และที่ใช้แบบจำลองแบบเส้นตรง เราจะต้องทิ้ง ความคิดนี้ไว้เบื้องหลัง เช่นเดียวกับที่เมื่อถึงฝั่งเราจะต้องทิ้งแพ เราจึงจะสามารถข้ามฟากได้
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 11:19:10 »

http://i431.photobucket.com/albums/qq32/arsom/Water/ripples.jpg
ดวงตะวันในใจฉัน : ภาค จักรวาลในของฝุ่นผง

 
 
ความสามารถในการละทิ้ง และความสามารถในการค้นพบ
 
ความเป็นจริงถูกแปรสภาพไปทันทีที่เรามองดู เพราะว่าเราจะเข้าถึงความเป็นจริงนั้น ๆ ด้วยบัญญัติและความคิดทั้งหลายทั้งปวง ของเราหนึ่งกระบุงโกย นักฟิสกส์สมัยใหม่ตระหนักรู้ในสิ่งนี้เป็นอย่างดี พวกเขาบางคนได้ละทิ้งบัญญัติบางประการที่ไม่เคยเป็น พื้นฐานให้แก่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาเป็นเวลานานเสียแล้วด้วยซ้ำ ยกตัวอย่าง เช่น ความคิดเรื่องเหตุและผลแบบวิทยาศาสตร์ และบัญญัติแห่งกาลเวลาที่ว่าด้วยอดีต ปัจจุบัน อนาคต เป็นต้น แต่การละทิ้งบัญญัติต่าง ๆ นั้น มิใช่เรื่องที่ง่ายเลย เราจะรู้สึกว่า การเข้าหาความจริงโดยไม่ได้ติดอาวุธแห่งบัญญัติและความคิดทั้งหลาย ก็เหมือนกับการเข้าสงครามโดยปราศจากอาวุธติดมือเลย อาวุธของนักวิทยาศาสตร์นั้นก็ได้แก่ ระบบความคิดที่เขาแสวงหารวบรวมเข้ามาได้นั่นเอง จะไม่ง่ายเลยที่จะละทิ้งระบบคิดดังกล่าว ข้าพเจ้าเชื่อว่านักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถที่จะละทิ้ง " การติดอาวุธ " นี้มากที่สุด ก็คือนักวิทยาศาสตร์ที่จะมีความสามารถ ในการค้นพบความรู้ทางวิทยาศาสตร์มากที่สุด
 
ผู้แสวงหาความเข้าใจทางศาสนธรรม มักจะได้รับการเตือนให้ระลึกถึงอยู่เสมอว่า พวกเขาจะต้องละวางบัญญัติทั้งหลายทั้งปวง ก่อนพวกเขาจึงจะสามารถเข้าไปที่การณ์โดยตรงต่อความเป็นจริงได้ เช่น บัญญัติแห่งตนเอง-ผู้อื่น เกิด-ตาย นิจจะ - อนิจจา ดำรงอยู่ - ไม่ดำรงอยู่ เป็นต้น ถ้าหากความเป็นจริงถูกพรรณาว่าเป็นสิ่งที่มิอาจจินตนาการได้แล้วไซร้ เครื่องมือประการเดียวที่จะ มีประสบการณ์โดยตรงต่อความเป็นจริงได้ก็คือ จิตจะต้องละวางบัญญัติทั้งปวง กล่าวคือจิตจะต้องปราศจากบัญญัติทั้งหลายทั้งปวง โดยสิ้นเชิง
 

- คัดจาก ดวงตะวันในใจฉัน บทที่ ๓ จักรวาลในฝุ่นผง หน้า ๔๗ -๗๖ -
- ผลงานของ พระเดชพระคุณ องค์หลวงปู่ ติช นัท ฮันห์ -


http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=29912


เกี่ยวข้องกัน

ทฤษฎี พระแม่ธรณี กายา (Gaia Theory) เชื่อหรือไม่ว่า โลกนี้มีชีวิต

http://www.ufoatkaokala11.com/index.php?topic=293.0

“พุทธทาส” กับทฤษฎีไร้ระเบียบ

http://www.ufoatkaokala11.com/index.php?topic=294.0

พระสูตรพวงดอกไม้ ข่ายใยรัตนะ อิทัปปัจจยตา ( หนึ่งคือทั้งหมด ทั้งหมดคือหนึ่ง )

http://www.ufoatkaokala11.com/index.php?topic=295.0





บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: ดวงตะวันในใจฉัน จักรวาลในของฝุ่นผง  
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.477 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 6 ชั่วโมงที่แล้ว