[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 09:14:14 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทฤษฎี พระแม่ธรณี กายา (Gaia Theory) เชื่อหรือไม่ว่า โลกนี้มีชีวิต  (อ่าน 4693 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 11:24:12 »

[ โดย อ.มดเอ็กซ์ บอร์ดเก่า ]



ทฤษฎีกายา โลกมีชีวิตในตัวเอง
ณัฐฬส วังวิญญู
สถาบันขวัญเมือง เชียงราย
ต้องการเอกสาร word กด >

 
การค้นพบทางวิทยาศาสตร์อีกชิ้นหนึ่งที่นำมาซึ่งความมหัศจรรย์ใจในความสามารถ ในการดูแลควบคุมตัวเองได้ของโลก คือ ทฤษฎีกายา (Gaia Theory)
 
ในช่วงปีพ.ศ. ๒๕๐๓ - ๑๒ (๑๙๖๐s) มีการส่งยานอวกาศขึ้นไปสู่นอกโลก เป็นครั้งแรกของมนุษยชาติที่ได้มีโอกาสเห็นภาพอันสวยงามของโลกที่ตัวเองอาศัยอยู่ โลกที่ให้กำเนิดชีวิตทั้งมวล นักบินอวกาศหลายคนยอมรับว่าการที่ได้ขึ้นไปเห็นภาพของดาวเคราะห์ที่มีสีสันในโทนน้ำเงินขาว ล่องลอยอยู่ในอวกาศอันมืดมิดและกว้างใหญ่ไพศาลนั้น เปรียบได้กับประสบการณ์ทางจิตวิญญาณเลยทีเดียว เพราะมีผลให้เปลี่ยนทัศนคติและความสัมพันธ์ของตนที่มีต่อโลกไม่มากก็น้อย ในช่วงเดียวกันนั้นนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพของโลกในด้านต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจกลไกการทำงานของดาวโลก และดาวอื่นๆ ในระยะข้างเคียง ได้แก่ ดวงจันทร์ ดาวศุกร์และดาวอังคาร
 
ในช่วงเวลานั้นเอง องค์การนาซ่าได้เชิญนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง ผู้มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของชั้นบรรยากาศโลก คือ เจมส์ เลิฟลอค (James Lovelock) ในการออกแบบอุปกรณ์ตรวจค้นชีวิตบนดาวอังคาร ตามแผนการส่งยานอวกาศไปเก็บตัวอย่างดินจากดาวอังคารมาวิเคราะห์และศึกษาต่อไป
 
จากการศึกษาธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต เลิฟลอคค้นพบว่า คุณสมบัติที่ชีวิตทั้งหลายมีร่วมกันคือ การรับพลังงานและสสาร และถ่ายเทของเสียออก เขาตั้งสมมติฐานว่าในดาวเคราะห์ที่มีสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตในดาวเคราะห์นั้นจะต้องมีการนำเอาสสารและพลังงานจากชั้นบรรยากาศ และมหาสมุทรไปใช้ในเพื่อการดำรงอยู่และผลิตของเสีย ดังนั้น หากดาวอังคารมีสิ่งมีชิวิตอยู่จริง ก็ต้องสามารถตรวจจับองค์ประกอบก๊าซที่สามารถเป็นตัวบ่งชี้ได้ วิธีการนี้สามารถกระทำได้บนโลกและไม่ต้องลงทุนส่งยานอวกาศเดินทางไปสำรวจถึงดาวอังคาร
 
หลังจากทำการทดลอง และเปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของชั้นบรรยากาศ ระหว่างโลกกับดาวอังคารดูแล้ว เห็นว่ามีความต่างกันโดยสิ้นเชิง ดาวอังคารนั้นมีปริมาณก๊าซออกซิเจนน้อยมาก มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง และไม่มีก๊าซมีเทนเลย ส่วนในชั้นบรรยากาศโลกนั้นประกอบด้วยก๊าซออกซิเจนจำนวนมาก แทบจะไม่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เลย และมีก๊าซมีเทนอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้เลิฟลอคสรุปว่า ในดาวอังคารนั้น เนื่องจากไม่มีสิ่งมีชีวิตมีส่วนร่วมอยู่เลย ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นระหว่างสารเคมีต่างๆ ได้ดำเนินมาจนสิ้นสุด และกลายเป็นสภาพเสถียรและสมดุลมานานแล้ว ซึ่งตรงข้ามกับโลกโดยสิ้นเชิง เพราะในชั้นบรรยากาศของโลกนั้นเต็มไปด้วยก๊าซออกซิเจน และมีเทนที่มีแนวโน้มที่จะทำปฏิกิริยาทางเคมีอย่างต่อเนื่อง เป็นสภาวะที่ไกลจากสมดุลทางเคมีมาก นอกจากนั้น สิ่งมีชีวิตบนโลกได้ดูดซับเอาก๊าซเหล่านี้ไปใช้ตลอดเวลา พืชและต้นไม้ผลิตก๊าซออกซิเจนอย่างต่อเนื่อง สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ก็ผลิตก๊าซชนิดอื่น ชั้นบรรยากาศโลกจึงเป็นระบบเปิดที่มีการถ่ายเทแลกเปลี่ยนสสารและพลังงานกับระบบอื่นตลอดเวลา ทำให้มีสภาวะของความเคลื่อนไหวและห่างไกลจากจุดสมดุลทางเคมี แต่มีองค์ประกอบทางเคมีค่อนข้างคงที่แน่นอน
 
การค้นพบในครั้งนี้นำมาซึ่งความมหัศจรรย์ใจคล้ายประสบการณ์ของการรู้แจ้งเลยทีเดียว และทำให้เขาตั้งข้อสังเกตว่า สิ่งมีชีวิตบนโลกไม่เพียงแต่ทำหน้าที่ผลิตก๊าซต่างๆ อย่างเดียว แต่ยังทำหน้าที่กำหนดควบคุมปริมาณก๊าซต่างๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตเองด้วย เพราะข้อมูลทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ยืนยันว่า อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ๒๕ นับตั้งแต่สิ่งมีชีวิตได้อุบัติขึ้นในโลก และอยู่ในระดับที่คงที่มาตลอดระยะเวลาสี่พันล้านปีมาแล้ว ซึ่งทำให้เขาตั้งคำถามว่า โลกสามารถควบคุมลักษณะทางกายภาพต่างๆ ของตัวเอง เช่น อุณหภูมิ ระดับความเข้มข้นของเกลือในมหาสมุทร เพื่อให้เหมาะกับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ได้หรือไม่ เพราะนั่นจะหมายความว่า โลกจะมีระบบการควบคุมตัวเองเหมือนกับระบบชีวิตอื่นๆ เลิฟลอครู้ว่าสมมติฐานนี้กำลังจะพลิกผันความเข้าใจเดิมของวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลกเลยทีเดียว
 
ทัศนะเดิมมองโลกว่า ประกอบไปด้วยลักษณะทางกายภาพที่ไร้ชีวิต เช่น หิน ทราย ก๊าซต่างๆ น้ำ ซึ่งมีฐานะเป็นเพียงแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ต่างกับทฤษฎีกายาที่มองโลกแบบองค์รวมและเห็นว่า สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน และเป็นส่วนที่ก่อให้เกิดระบบกลไกการควบคุมตัวเอง (Self-regulating system)
 
 
 
ตอนนั้นนักวิทยาศาสตร์ขององค์การนาซ่าไม่ยอมรับและไม่ชอบการค้นพบของเลิฟลอคเลยทีเดียว ยังดึงดันที่จะส่งกระสวยอวกาศไปสำรวจดาวอังคาร ถึงแม้เลิฟลอคจะบอกว่าไม่มีความจำเป็น เพราะสามารถกระทำได้โดยการใช้กล้องส่องทางไกลคุณภาพสูง เพื่อวิเคราะห์เสปคตรัมของชั้นบรรยากาศบนดาวอังคาร เป็นสิ่งที่ทำได้จากพื้นดิน และในที่สุดนาซ่าก็ส่งยานอวกาศไปถึงดาวอังคาร และค้นพบเพียงร่องรอยของความว่างเปล่า ปราศจากสิ่งมีชีวิตตามที่เลิฟลอคคาดการณ์ไว้
 
 
 

 
 
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เลิฟลอคได้นำเสนอการค้นพบดังกล่าวในการประชุมทางวิทยาศาสตร์ที่ปริ้นซตั้น หลังจากนั้นก็มีนักเขียนวรรณกรรมคนหนึ่งที่เห็นว่าสิ่งที่เลิฟลอคนำเสนอนั้น ตรงกับความเชื่อโบราณของกรีก เกี่ยวกับพระนางกายา (เทียบได้กับพระแม่ธรณี) และเสนอให้เลิฟลอคใช้ชื่อ “กายา” เพื่อเป็นเกียรติแก่เธอ เลิฟลอครับเอาชื่อนี้มาด้วยความยินดี และในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เขาได้เขียนและตีพิมพ์หนังสือชื่อ “มองกายาผ่านชั้นบรรยากาศ”
 
แม้กระนั้น เลิฟลอคก็ยังไม่สามารถไขปริศนาของกระบวนการควบคุมองค์ประกอบ และระดับปริมาณของสารเคมีในชั้นบรรยากาศโดยสิ่งมีชีวิต รู้แต่เพียงว่าต้องมีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และก็ไม่รู้ว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายผลิตก๊าซอะไรออกมากันบ้าง ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันนั้น ลินน์ มาร์กุลิส (Lynn Margulis) นักจุลชีววิทยากำลังศึกษาสิ่งที่เลิฟลอคต้องการรู้อยู่พอดี นั่นคือ การผลิตและดูดซับก๊าซต่างๆ โดยสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย รวมทั้งแบคทีเรียในดินที่มีจำนวนมากมายมหาศาล นับเป็นการพบกันที่ลงตัวของความรู้ ทั้งสองแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตัวเองค้นพบ เลิฟลอคอธิบายเกี่ยวกับหลักการทางเคมี หลักการเทอร์โมไดนามิกส์ และไซเบอร์เนติกส์ (ระบบควบคุมตัวเองอัตโนมัติ) ส่วนมาร์กุลิสก็อธิบายถึงก๊าซของชั้นบรรยากาศที่เกิดจากระบบสิ่งมีชีวิต ในที่สุดทั้งสองก็ได้ประมวลความรู้ทั้งหมด และอธิบายระบบควบคุมตัวเองของโลก ดังนี้
 
กระบวนการควบคุมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด นับตั้งแต่การกระทุขึ้นของภูเขาไฟต่างๆ บนโลก มีผลให้บรรยากาศโลกมีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น และอยู่ในระดับสูงอยู่เป็น เวลาหลายล้านปี เนื่องจากก๊าซนี้ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก และจะทำให้โลกร้อนขึ้น กายาจึงต้องสร้างกลไกในการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้อยู่ในสภาวะที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิต พืชและสัตว์ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และออกซิเจนผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสง หายใจและกระบวนการผุพังเน่าเปื่อย อย่างไรก็ตาม การแลกเปลี่ยนดังกล่าวมักมีปริมาณเท่าๆ กันและสมดุล ไม่ส่งผลต่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนเกินที่อยู่ในบรรยากาศได้ ตามทฤษฎีกายา กระบวนการที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดวงจรป้อนกลับ (feedback loop) ในระดับใหญ่เพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนเกินคือ กระบวนการผุกร่อนของหิน
 
ในกระบวนการผุกร่อนของหินนั้น หินและน้ำฝน จะทำปฏิกิริยากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เกิดเป็นสารเคมีองค์ประกอบต่างๆ ที่เรียกว่า คาร์บอเนท นั่นหมายความว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถูกดูดออกจากชั้นบรรยากาศมาอยู่ในรูปของเหลว กระบวนการนี้ยังไม่มีสิ่งมีชีวิตเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม เลิฟลอคและคณะได้ค้นพบแบคทีเรียในดินทำหน้าที่เป็นตัวเร่งให้กระบวนผุกร่อน ของหินทางเคมีนั้นมีอัตราเร็วขึ้น
 

 
 
 
หลังจากนั้นคาร์บอเนตก็ถูกชะไหลลงสู่ทะเล ที่มีอัลจี (algae) หรือพืชทะเลจำพวกเห็ดราซึ่งมีขนาดเล็กจนมองไม่เห็นอยู่เป็นจำนวนมาก พืชทะเลเหล่านี้จะทำการดูดสารคาร์บอเนตไปใช้ในการสร้างเปลือกชอล์ก (สีขาว) ในรูปเบบอันวิจิตร ตอนนี้คาร์บอนไดออกไซด์ในถูกแปรสภาพไปอยู่ในเปลือกหุ้มของพืชทะเลจิ๋วเหล่านี้ นอกจากนั้นพืชทะเลเหล่านี้ยังดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ จากบรรยากาศเหนือทะเลโดยตรงอีกด้วย
 
พออัลจีตาย ก็จะจมดิ่งและสะสมอยู่ใต้ท้องทะเลและมหาสมุทร ทับถมเป็นตะกอนหินปูน จนกระทั่งมีน้ำหนักมากพอที่จะจมลงไปถึงขั้วโลก และถูกหลอมละลายอีกครั้งหนึ่ง และบางทีก็ส่งผลให้เกิดการไหวตัวของแผ่นดิน และปะทุให้มีการระเบิดของภูเขาไฟอีกครั้ง
 
จะเห็นว่าวงจรป้อนกลับทั้งหมด นับตั้งแต่ภูเขาไฟ การผุกร่อนทางเคมีของหิน แบคทีเรียในดิน อัลจีหรือพืชทะเล ตะกอนหินปูน กลับไปยังภูเขาไฟนี้เป็นวงจรป้อนกลับที่ใหญ่พอที่ สามารถปรับเปลี่ยนอุณหภูมิของโลกได้ ในกรณีที่ดวงอาทิตย์แผ่รังสีร้อนขึ้นและมีผลทำให้โลกร้อนขึ้น แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดินจะถูกกระตุ้น และส่งผลให้เกิดกระบวนการผุกร่อนทางเคมีของหิน และดึงเอาคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้ จนทำให้โลกมีอุณหภูมิเย็นลง เมื่อเป็นเช่นนี้สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม (ที่ไร้ชีวิต) จึงเป็นส่วนเดียวกันในการดำรงอยู่ อากาศและหินจึงไม่ได้อยู่ในฐานะที่เป็นเพียง “สิ่งแวดล้อม” ที่แวดล้อมชีวิตอีกต่อไป แต่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทั้งหมด เช่นเดียวกับที่หลอดเลือดในร่างกายเราเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มิได้เป็นเพียงสิ่งแวดล้อมของหัวใจ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในโลกก็ไม่ได้มีฐานะเป็นเพียงผู้มาเยือน หรือผู้มาอยู่อาศัยชั่วคราว ด้วยความบังเอิญที่โลกมีสภาวะที่เอื้อต่อชีวิตตามทัศคติเดิมเท่านั้น หากมีส่วนในการควบคุมและกำหนดสภาวะเงื่อนไขทางกายภาพ ให้เหมาะสมการดำรงอยู่ของชีวิตเองด้วย
 
ถึงแม้ว่าความคิดในเรื่องของกายาจะเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในหมู่นักสิ่งแวดล้อม และเหล่าศาสนิกที่ยังเชื่อในความมีตัวตนของจิตวิญญาณใหญ่ที่ปกครองและบำรุงเลี้ยงโลกอยู่ ลินน์ มาร์กูลิสเตือนว่าการใช้บุคลาธิฐานที่ยังมองเห็นโลกเป็นตัวเป็นตนนั้น ไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เธอและเลิฟลอคพยายามนำเสนอ เนื่องจาก กายา ไม่ใช่ ”สิ่ง” มีชีวิต เพราะไม่ได้กิน หรือสังเคราะห์แสง หรือถ่ายของเสีย แต่เป็น “ระบบ” ที่มีชีวิต ที่รับเอาสสารและพลังงานทั้งหลายมาใช้ใหม่ หากนิยามของการมีชีวิตคือความสามารถในการผลิตใหม่ ซึ่งหน่วยชีวิต (reproducibility) และการเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคัดสรรตามธรรมชาติ (natural selection) ความเป็นกายาเป็นลักษณะที่โผล่ปรากฏตามเหตุปัจจัยทางนิเวศวิทยาของชั้นบรรยากาศโลก ชีวภูมิศาสตร์ กายวิภาค และกระบวนลูกโซ่แห่งปฏิสัมพันธ์อันหลากหลายและซับซ้อนในหมู่สิ่งมีชีวิต ๑๐ ล้านสปีชี่ เธอกล่าวว่ามนุษย์ไม่มีอำนาจพอที่ จะทำลายกระบวนการนี้ ได้แม้จะใช้ระเบิดนิวเคลียร์สักกี่ลูก แต่มนุษย์สังหารเผ่าพันธุ์ตนเองให้สูญสิ้น ได้ด้วยความไม่รู้และความอหังการ์ของตัวเอง และหากมนุษย์สูญพันธุ์ไปจริงๆ หรือหากมนุษย์ตัดป่าเขตร้อน และทำลายระบบนิเวศลงเสียหมดจริงๆ กายา ในฐานะกระบวนการจัดการตัวเองก็จะยังคงดำเนินต่อไป
 
 
 
 
บทความเกี่ยวข้องกับเรื่องนิเวศวิทยา อื่นๆ
๑. บันทึกจากฉัน..ถึงโลก ( ในวันที่เราหายใจไปพร้อมๆ กัน ) .. อ่าน๒. จาก The Day After Tomorrow ถึง นิเวศวิทยาแนวลึก ... อ่าน
๓. คำประกาศชุมชนอยู่ร่วมกับป่า ในภาคภาษาไทย ...อ่าน
๔. วิทยานิพนธ์เรื่อง คำประกาศชุมชนอยู่ร่วมกับป่า ...อ่าน

๕. บทสัมภาษณ์เรื่อง "นิเวศวิทยาแนวลึก" พิธีกร คุณประชา หุตานุวัตร แขกรับเชิญ John Seed นักรณรงค์เพื่อป่าเขตร้อนจากออสเตรเลีย ...อ่าน

 
จาก
http://www.semsikkha.org/article/article121.php


http://board.agalico.com/showthread.php?t=19953



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: ทฤษฎี พระแม่ธรณี กายา Gaia Theory โลกนี้มีชีวิต  
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
The Revenge of Gaia : เมื่อโลกแก้แค้น
คำทำนายภัยพิบัติที่จะเกิด
มดเอ๊ก 2 4144 กระทู้ล่าสุด 15 เมษายน 2554 11:23:44
โดย มดเอ๊ก
ตำนาน พระแม่ธรณี ผู้กำเนิดและ้ำค้ำชูมนุษย์
เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
เงาฝัน 4 10955 กระทู้ล่าสุด 25 พฤศจิกายน 2554 12:20:40
โดย เงาฝัน
ทฤษฏีแห่งสรรพสิ่ง (Theory of Everything) มีจริงในพุทธศาสนา
กระบวนการ NEW AGE
มดเอ๊ก 0 3481 กระทู้ล่าสุด 26 กรกฎาคม 2559 12:34:07
โดย มดเอ๊ก
พระแม่ธรณี : สัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์
เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ
ใบบุญ 0 2293 กระทู้ล่าสุด 07 มกราคม 2561 18:57:53
โดย ใบบุญ
ตำนานโลกแบน ทำไม เขาเหล่านั้นถึงเชื่อว่าโลกนี้ไม่ได้มีทรงกลม (Flat Earth Theory)
วิทยาศาสตร์ - จักรวาล - การค้นพบ
มดเอ๊ก 0 254 กระทู้ล่าสุด 19 กุมภาพันธ์ 2566 10:06:17
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.606 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 8 ชั่วโมงที่แล้ว