[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 17:29:49 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มองปัญหาด้วยปัญญา : กึ่งพุทธกาล , ศาสนากับความขัดแย้ง  (อ่าน 3548 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 8.0 MS Internet Explorer 8.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 11:26:32 »

[ โดย อ.มดเอ็กซ์ บอร์ดเก่า ]



 
 
เหตุแห่งความเสื่อมโทรมของศาสนา
อยู่ที่การปฏิบัติดีหรือไม่ ของพุทธบริษัท 4
 
ปุจฉา
กึ่งพุทธกาล
 
ปี 2500 ที่คนมักเรียกกันว่า กึ่งพุทธกาล ความจริงเป็นอย่างไร พระพุทธศาสนาจะมีอายุ 5,000 ปี ใช่หรือไม่
 
วิสัชนา
 
ที่สงสัยว่าพุทธกาลของเรามีแค่ 5,000 ปีเท่านั้นเองหรือ อยากจะถามว่าใครบอก พระพุทธเจ้าไม่เคยคำนวณหรือไม่เคยทายทักอายุพระศาสนา พระองค์ทรงบอกว่า ไม่มีประโยชน์อันใดที่เราตถาคตจะไปทำนายทายทักอายุพระศาสนา ตราบใดที่พระธรรมวินัยของเราตถาคต ยังมีภิกษุ บริษัทสี่ ปฏิบัติได้ไม่ขาดไม่เกิน ถือว่าตราบนั้นศาสนาเราก็จะยิ่งใหญ่ไม่เสื่อมโทรม และเจริญรุ่งเรือง
 
พุทธบริษัทสี่ มีใครบ้างล่ะ ก็มี ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา สี่เหล่านี้ปฏิบัติธรรมะ เรียนรู้ธรรมะ ศึกษาธรรมะ ใช้ปัญญาญาณใคร่ครวญ วิจารณ์พิจารณาธรรมะ ปฏิบัติ รับเอามาศึกษา มาท่องจำท่องบ่น อบรมดัดกาย วาจา ใจ ของตนได้อย่างไม่ขาดไม่เกินแล้วนี้ ศาสนาอยู่ได้เป็นล้านปี
 
แต่ถ้าตราบใดที่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ละเลยเพิกเฉย ไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของเราตถาคต ถือว่าเมื่อนั้นก็ถึงกาลวิบัติ กาลฉิบหาย และแตกสลายของพระศาสนา แสดงว่าพระองค์ไม่ได้ทำนายไว้ว่าเมื่อไรจะฉิบหาย ไอ้ที่ทำนายกันไม่ใช่พระพุทธเจ้าหรอก หมอดูโคนต้นไม้ นักบวชชั้นหลังเขาเขียนกันไว้ ที่บอกพุทธทำนาย ไม่จริงหรอกพระพุทธเจ้า ไม่เคยทำนาย
 
พระสารีบุตรเคยถามว่าพระพุทธศาสนาจะเจริญกี่ร้อยกี่พันปี พระองค์ทรงวิจารณ์ให้ฟังเหมือนกันว่า จากหลัง 2,000 ปีจะไม่มีภิกษุณี พระอรหันต์จะลดน้อยลง อะไรอย่างนี้ แต่ไม่ใช่ทำนายอายุว่ากี่พันปีศาสนาจะเสื่อมโทรม
 
ความเสื่อมโทรมไม่ได้อยู่ที่การทำนาย แต่อยู่ที่การปฏิบัติดีหรือไม่ของพุทธบริษัท 4 คนมันเสื่อมนะ ไม่ใช่ศาสนาเสื่อม ใจคนมันเสื่อม พอใจเสื่อมไม่อยากทำก็เลยเสื่อมตามไปหมด ความเสื่อมของหัวใจมัน มีความ เสื่อมของคนมันมี มันก็ทำให้ข้อวัตรปฏิบัติของศาสนาซึ่งเป็นของส่วนกลางเสื่อม พวกเราเข้าใจเสียใหม่ว่า ศาสนาไม่ใช่แผนที่ ไม่ใช่เข็มทิศ ไม่ใช่ตำรา ไม่ใช่คัมภีร์อักษรภาษา ไม่ใช่วัตถุธาตุ ศาสนาเป็นนามธรรม ไม่มีใครทำลายพลังแสง สี เสียง ของอาทิตย์ได้ฉันใด ก็ไม่มีใครทำลายศาสนาได้ฉันนั้น เราไม่ใช่มัน มันก็ยังคงที่อยู่ตรงนั้น ศาสนาเป็นของที่มีมาแล้ว พระพุทธเจ้าเป็นผู้ฉลาดกว่าเพื่อนจึงเอามาใช้
 
เพราะฉะนั้น คำสอนและธรรมะเป็นของที่ปรากฏอยู่แล้ว เป็นของที่มีอยู่แล้ว ทุกข์ก็มีอยู่แล้ว สมุทัยก็มีอยู่แล้ว นิโรธก็มี อยู่แล้ว มรรคก็มีอยู่แล้ว แต่ไม่มี ใครรู้จัก พระพุทธเจ้ารู้จักก่อน จึงเอามาใช้เอามาบอกมาสอน
 
เพราะฉะนั้น อย่าเข้าใจว่าศาสนาจะเสื่อมโทรมและโดนทำลายด้วยมือบุคคล ที่มันไม่เจริญเพราะคนไปทำมันเท่านั้นเอง แต่ทำลายสูญหายไม่มีหรอก อย่างน้อยก็ยังมีอยู่ในหัวใจ
 
อย่าลืมว่า เรามีศาสนากันมาตั้งแต่เกิดแล้ว ออกจากท้องแม่รู้จักเรียกขานว่า 'แม่' นั่นแหละเป็นคำสอนของศาสนาแล้ว เพราะคำว่าแม่ เป็นคำยกย่องคนที่เหนือชีวิตตน ยอมรับเรื่องของบุญคุณ และยอมรับพระคุณของผู้เป็นแม่ คำว่าแม่มีสอนในศาสนาแล้วยอมรับคือผู้น้อยยอมรับผู้ใหญ่ เป็นการเคารพกันและกัน อย่างนี้ถือว่ามีศาสนาแล้ว ไม่จำเป็นต้องมาแสดงตนเป็นพุทธมามกะ อุบาสก อุบาสิกา
 
เพราะฉะนั้น จะเห็นว่าศาสนามีอยู่ในชีวิตวิญญาณแล้ว ไม่จำเป็นต้องคอยมาบอกมาสอน แต่ที่ต้องมาบอกมาสอน เพื่อให้รู้มากขึ้น ให้เข้าใจมากขึ้น ให้กระจ่างชัดมากขึ้น และจะได้ทำให้ถูกต้อง ไม่โดนต้ม และก็จะไม่บ้าไปตามคำนิยมของชาวบ้านเท่านั้นเอง
 
ปุจฉา
ศาสนากับความขัดแย้ง
 
การรบราฆ่าฟันกันระหว่างศาสนา ควรจะทำอย่างไร ศาสนาไม่ได้ช่วยขจัดความ ขัดแย้งหรือ
 
วิสัชนา
 
ถ้าจะถามกันตรงๆ ว่า ศาสนาจะช่วยให้คนหยุดรบกันบ้างไม่ได้หรือ ที่จริงแล้ว สำหรับความขัดแย้งนี้ หลวงปู่ไม่อยากจะตอบให้มันเกี่ยวกับศาสนา มนุษยชาติมีปกติแห่งความขัดแย้ง ซึ่งเขาถือกันได้อย่างนั้น แต่ถ้าตามธรรมชาติแล้ว ถือเป็นความผิดปกติ
 
สำหรับสังคมของสัตว์มนุษย์ หรือมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคม มีความเป็นปกติที่จะต้อง อยู่แล้วก็อยู่ อะไรที่ทำให้ตัวเองต้องอยู่ไม่ได้ ทำให้ตัวเองต้องอยู่น้อยลงกว่าเก่า ก็แสดงว่าต้องเป็นปฏิปักษ์ เหตุอันนี้แหละจึงเป็นตัวต้นเหตุแห่งความขัดแย้ง ซึ่งไม่เกี่ยวกับกระบวนการศาสนา
 
ก็อย่างที่เราเข้าใจแล้วว่า ศาสนาทุกศาสนาเขาสอนให้เราเป็นคนดี เขาคงจะไม่สอนให้คนฆ่ากันแน่ คนที่ฆ่ากันคงไม่เกี่ยวกับศาสนา มันเกี่ยวกับกระบวนการขัดแย้งผลประโยชน์ที่เกิดจากหัวใจตนก่อน เช่น คำว่าสัตว์สังคมที่ต้องอยู่ แต่อยู่ไปอยู่มาตัวเองกลับไม่ได้อยู่หรืออยู่น้อยกว่าเก่า ก็มีความรู้สึกต้องขัดแย้งเป็นธรรมดา ความขัดแย้งอันนั้นอาจ จะก่อกำเนิดจากหัวใจของตนก่อน ซึ่งเป็นความขัดแย้งที่เป็น เรื่องส่วนตัวและก็แพร่ขยายออกเป็นขบวนการส่วนรวม จึงก่อตัวออกมาเป็นลักษณะของการต่อสู้ ฆ่าฟัน ในระบบศาสนานิกายหรือลัทธิ ซึ่งจริงๆ แล้วกระบวนการของศาสนานี้ เป็นกระบวนการของการจรรโลง ครอบคลุม สร้างสรรค์ แล้วก็อุดหนุนจุนเจือ นี่คือคำนิยามของทุกศาสนา
 
แล้วถ้าอะไรที่มันผิดคำนิยาม ก็ถือว่านั่นไม่ใช่ศาสนา มันเป็นกระบวนการของบุคคล กลุ่มชน และสังคม ทีนี้เมื่อมีกระบวนการของบุคคล กลุ่มชน และสังคม ก็ต้องไปยึดถือเอาตัวการใหญ่ว่า ไอ้กลุ่มชนอันนั้น กระบวนการอันนั้น สังคมอันนั้น มันนับถืออะไรเป็นสัญลักษณ์จะเรียกขานมัน ก็เลยไปให้สัญลักษณ์ว่า นี่ฝ่ายพุทธนะ นั่นฝ่ายคริสต์ โน่นฝ่ายอิสลาม
 
จริงๆ แล้วตัวศาสนาระหว่างคริสต์ พุทธ อิสลาม ไม่ได้กัดกัน ศาสนาไม่ได้กัดกัน แต่กลุ่มคนสังคมต่างหากกัดกันแล้วก็นำพาเอาศาสนาไปกัดด้วย ซึ่งจะว่ากันแล้ว ศาสนาก็เปรียบเหมือนกับเงา ไม่ได้รู้เรื่องอะไรกันเลย เพราะมันมีกระบวนการคำนิยามของมันแล้วว่า จรรโลง สร้างสรรค์ ครอบคลุมรักษาอยู่ มันไม่ต้องการฆ่าฟันแก่งแย่งชิงดีกันอยู่แล้ว
 
เพราะฉะนั้น การที่เป็นเช่นนี้ก็ต้องถือว่าเป็นไปตามอำนาจกฎแห่งกรรมชนิดหนึ่ง อีกเรื่องหนึ่งก็คือ เป็นไปตามสภาวะกิเลสของสัตว์สังคม ยิ่งสังคมของวัตถุเจริญรุ่งเรือง สังคมของจิตนิยมต่ำทราม สังคมของคนแบ่งแยกชนชั้น เหยียดหยาม ดูถูก แบ่งพรรคแบ่งพวกก็จักตามมา
 
แต่ถ้ายุคใดสมัยใดมีสังคมแห่งจิตนิยมรุ่งเรืองวัตถุนิยมลดน้อย จิตนิยมยิ่งใหญ่ ยุคนั้นสมัยนั้นก็จะรู้สึกว่า อะไรๆ มันก็จะรักกัน บูชากัน เทิดทูนกัน ยอมรับเหตุผลของกันและกัน
 
กระบวนการจิตนิยม คือ ความมีจิตมีใจเป็นระบบมีระเบียบอยู่ในสังคม คือ เรานิยมชมชอบกันด้วยความสมานฉันท์ รักใคร่กลมเกลียวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เห็นอกเห็นใจกัน เคารพในสิทธิของตนและคนอื่น อย่างนี้เขาเรียกว่าเป็นกระบวนการจิตนิยม
 
แต่ถ้ายุคใดสม้ยใด ผู้คนต่างพากันมาสนใจแต่วัตถุ นิยมวัตถุ บูชาวัตถุ ผู้คนเหล่านั้น สังคมนั้นๆ ก็จักทำทุกวิถีทาง เพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุ ยื้อแย่งวัตถุ หวงแหนวัตถุ ปกป้องรักษาวัตถุ แล้วก็พร้อมทุกอย่างที่จะสะสมวัตถุ เพราะฉะนั้น กระบวนการอย่างหลังนี่แหละจึงเป็นต้นเหตุเป็นสาเหตุของการรบราฆ่าฟันในโลก
 

http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9520000073317



Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: ปัญหา ปัญญา กึ่งพุทธกาล ศาสนา ความขัดแย้ง  
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.393 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 12 มกราคม 2567 19:58:04