[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 เมษายน 2567 11:52:34 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระคัมภีร์พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ แปลโดย.....เสถียร โพธินันทะ  (อ่าน 2263 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 15 มิถุนายน 2553 20:45:48 »




ในลัทธิมหายานมีพระคัมภีร์อรรถว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (ศากยมุนี) ตรัส พระอมิตาภะสูตร (ออนีท้อเก็ง) แก่พระสารีบุตรเถระ มีใจความย่อดังนี้.-

"จำเดิมแต่เวลาล่วงมาถึง 10 กัปป์แล้ว ได้มี พระพุทธอมิตาภะ (ออนีท้อฮุก) ประทับ อยู่ ณ แดนสุขาวดีทางทิศปัจฉิม (เกกลักสี่ก่าย-ไซที) พระพุทธอักโษภยา ทางทิศบูรพา, พระพุทธรัตนสมภพ ทางทิศทักษิณ พระพุทธอโมฆสิทธิ์ ทางทิศอุดร พระพุทธไวโรจน์ อยู่ศูนย์กลาง ฯลฯ พระพุทธเจ้า เหล่านั้นล้วนเป็นพระฌานีพุทธ (ไม่ได้เสด็จลงมาตรัสในโลกมนุษย์)

กับยังมีพระฌานีโพธิสัตว์จำนวนมากไม่สมัครพระทัยที่จะเสด็จเข้าสู่พุทธภูมิ ดับขันธ์เพียงแค่ชาตนั้น (เป็นพระพุทธเจ้าไปแต่ก็ไม่มีแม้เยื่อใยเหลือไว้แก่โลกอีก คือไม่โปรดสัตว์แล้ว) ทรงตั้งปณิธานขอโปรดสัตว์โลกในไตรภูมิต่อไป เพื่อให้สัตว์โลกในอนคตได้รับพระเมตตากรุณาเช่นเดียวกับสัตว์โลกในอดีต"

มีพระมหาโพธิสัตว์องค์สำคัญยิ่งมีพระนามว่า พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ หรือ พระกวนอีม เป็นพระมหาโพธิสัตว์ที่บรรดาพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานเคารพนับถือมากที่สุด ด้วยพระองค์ทรงพระเมตตากรุณาโปรดสัตว์ทั่วทั้งไตรภูมิให้พ้นจากกองทุกข์ เนื่องด้วยพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ ทรงมีพระวทัญญู (ความเมตตากรุณาธิคุณ) คอยปลดเปลื้องความทุกข์ภัยของสัตว์โลก จึงมี พระเนมิตตกนาม (นามที่มาจากลักษณะและคุณสมบัติ) ตามภาษาจีนเรียกว่า พระกวนซีอิมไต่พู่สัก แปลว่า พระมหาโพธิสัตว์ที่มีพระกรรณาวธานโลกาศัพย์ หรือที่เรียกง่าย ๆ คือ พระมหาโพธิสัตว์ที่เงี่ยหูฟังเสียงโลก (พวกที่มีทุกข์ใจไปบนบานถือศีลกินเจ แล้วมักจะเกิดผลดีในทางจิตใจ พวกที่กินเจไม่ได้เลย?ก็ยังช่วยทำบุญก็มีมาก คืออุทิศเงินให้ผู้อื่นถือศีลแทนตน)

ตามคติในมหายานกล่าวว่า เมื่อพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ หรือพระกวนอีมจะเสด็จไปโปรด ท้าวพระยามหากษัตริย์ พระองค์ก็แปลงพระองค์เป็น เมธาตถมาณพทรงเครื่องภูษามาลามหากษัตริย์ ถนิมอลังการสง่ากว่าพระมหากษัตริย์องค์นั้น เมื่อพระองค์เสด็จไปโปรด ท้าวนางพระยาและบรรดาสตรีเพศ พระองค์ทรงจำแลงพระองค์เป็น สตรีอันทรงอิตถีรูป (มีความงามของผู้หญิง) ทรงสมรรถนะเป็นที่น่าวันทาอภิวันท์ พระองค์ทรงปฏิบัติพระองค์เช่นนี้ ให้เหมาะสมกัลกาละเทศะ เพื่อว่าง่ายสอนง่าย

พระรูปของพระองค์ส่วนมากมักนิยมทำหรือเขียนเป็นพระมหาโพธิสัตว์ผู้หญิง และเป็นพระมหาโพธิสัตว์องค์เดียวเท่านั้นที่บรรดาสตรีจีน ทั้งในประเทศและนอกประเทศจีนรู้จักกันและเคารพนับถือมากที่สุด

พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ หรือ พระกวนอีม ในพระสูตร (โพ้วมึ้งปิ้ง) มีกล่าวว่า ถ้าบุคคลใดจะเป็นบุรุษหรือสตรีก็ตาม เมื่อระลึกถึงพระองค์ด้วยความเลื่อมใสอ้อนวอนขอให้พระองค์ช่วยเหลือ พระองค์จะแผ่เมตตากรุณามาปลดเปลื้องทุกข์ภัยของผู้นั้นสมประสงค์ (เป็นสื่อกลางดึงดูดบันดาลใจให้คนมีเมตตากรุณาจิตมาก)

ในพระสัทธรรมปุณฑริกสูตร (ฮวบฮั้วเก็ง)
พระคัมภีร์กล่าวว่า พระมหาโพธิสัตว์กวนอีม มี พระคุณาลังการ อันประกอบด้วย
1.พระปัญญาคุณ 2. พระสันติคุณ และ 3. พระเมตตากรุณาธิคุณ
ผู้ใดเข้าถึงหรือมีคุณาการ (บ่อรวมความดี) ตามอย่างพระองค์ก็จะเป็นผู้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งหลายได้จริง การภาวนาพระคาถาของพระองค์จะต้องการะทำประกอบพร้อมทั้งองค์ 3 คือ กาย วาจา และ ใจ โน้วน้าวไปตาม ธรรมานุธรรมปฏิบัติ (ความประพฤติดีงามตามสถานะ) จึงจะเกิด ธรรมสาระคุณ (คุณในแก่นแห่งธรรม) คือบรรลุถึง "วิปัสสนาปัญญา" เช่น
1. คุณในปัญญา
2. คุณในสันติและ
3. คุณในเมตตากรุณา

พระองค์เป็นแต่ผู้ให้ คุโณปการ (การอุดหนุนให้ทำคุณงามความดีต่าง ๆ ) ชี้ทางและเตือนใจให้สร้างคุณธรรมนั้น ๆ ขึ้น อนึ่ง ในลัทธิมหายาน มักจะมีอรรถข้อความเรียกว่า กลบท หรือเป็น ธรรมปริศนา แบบต้นตออินเดียของเดิมแท้นั้น ไว้ให้ขบคิดกันเอง ถ้าขบคิดไม่ตก ก็แปลว่ายังค้นหาช่องทางไม่ถูก เข้ายังไม่ถึงหรือว่ายังมองไม่ทะลุ ธรรมบท นั้น ๆ ถ้าขบคิดตกแล้วก็หมายถึงซึ่งความสว่างแล้ว ดังในพระสูตรกล่าว เช่น .-

ในกรณีโจรภัย

พระคัมภีร์กล่าวว่า : "บุคคลใดกล่าวภาวนาคาถาของพระมหาโพธิสัตว์ กวนอีม โจรภัยก็ปราศจากไป คำว่า โจร ณ ที่นี้ ในธรรมาธิษฐานมีความหมายถึง โจรแห่งอารมณ์ฟุ้งซ่าน หาใช่โจรธรรมดาไม่ โจรที่จุดคบไฟแดงโห่ร้องเข้าปล้นบ้านนั้น เป็นโจรชนิดออกหน้าออกตามาให้แลเห็น แต่โจรแห่งอารณ์ฟุ้งซ่านนั้น เป็นโจรชนิดไม่มีตัวตน (เพราะตาเรามองไม่เห็นตัวตนของมัน) ปล้นอย่างเงียบ ๆ และใจเย็น รุมกันเข้าปล้นเราทาง รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ ใจ ผู้ถูกปล้น มีสติเพลิดเพลินหลงใหลทรัพย์สินเงินทองสมบัติหมดเปลือง ถูกขนของออกจากบ้านไป โดยการปล้นชนิดนี้ทีละเล็กทีละน้อยจนหมดเนื้อประดาตัว โจรชนิดนี้ไม่ใช่โจรที่จะมาปล้นเป็นครั้งคราว มันทำการปล้นทั้งกลางวันและกลางคือทุกวัน ทั้ง ๆ ที่ผู้ถูกปล้นอยู่ในขณะมีสติสัมปชัญญะดีอยู่ด้วย ตัวอย่างเช่น.-

ทางหู อยากฟังเสียงขับร้องเสนาะเพราะ ๆ อยากฟังเสียงอ่อนหวานยวนยีให้เกิดอารมณในตัณหา เสียงที่ยกยอปอปั้นจากบุคคลหัวประจบ ส่งเสริมไปในทางอบายมุข เหล่านี้เรียกว่า โจรปล้นทางหู

ทางตา อยากดูหนังแล้วก็พากันไปที่โรงภาพยนต์คิงส์ หรือ ควีน อยากดูละคร ก็พากันไปที่โรงละครศรีอยุธยา, อยากดูงิ้ว ก็พากันไปโรงงิ้วแถวทีกัวที, อยากดูของงาม ๆ หรือภาพสวย ๆ ก็ไปจัดซื้อหามาเก็บไว้ดูเพลิน ๆ เหล่านี้คือโจรปล้นทางตา

ทางจมูก อยากสูดกลิ่นเสาวคนธ์ กลิ่นหอมระรวยต่าง ๆ ก็พากันไปซื้อน้ำอบฝรั่งอย่างชนิดดี ๆ จะแพงเท่าไหร่ไม่ว่า ยิ่งชนิดเข้าชะมดเชียงหอมทนได้ตั้งอาทิตย์สองอาทิตย์ยิ่งดีใหญ่ ทั้งที่นอนหมอนมุ้ง ตลอดจนอาบน้ำก็ชะโลมด้วยเครื่องหอม เหล่านี้คือโจรปล้นทางจมูก

ทางปาก อยากรับประทานของที่มีรสอร่อย ๆ เช่น กับข้าวฝรั่งก็พากันไปยังโฮเต็ลโทรคาเดโร, โอเรียลเต็ล กับข้าวจีนก็ไปยังห้อยเทียนเหลา เยาวยื่น กับข้าวไทยก็ไปภัตตาคารสวนลุมชายทะเล ยิ่งแถมสุราเข้าไปด้วยก็ยิ่งไปกันใหญ๋ โจรเหล่านี้คือ โจรปล้นทางปาก

ทางกาย อยากแต่งตัวด้วยอาภรณ์จินดา อยากนั่งรถยนต์คันโต ๆ โก้สง่า อยากอยู่ตึกหลังใหญ่ ๆ มีการรื่นเริงเลี้ยงดูกันด้วย สุรานารี ฟ้อนรำ ทำเพลงสนุกสนาน เมื่อขัดสนเข้าก็กู้เงินเขามาใช้จ่ายโดยเสียดอกเบี้ย อย่างนี้คือโจรปล้นทางกาย ปล้นทั้งเงินทองและปล้นทั้งสุขภาพอนามัย และหนัก ๆ เข้าก็ปล้นถอนเอาเสาเรือนเป็นหลัง ๆ ไปเลย

ทางใจ เมื่อใจคิดอยากได้ในสิ่งต่าง ๆ ไม่ประสบผลสมประสงค์อย่างหนึ่ง คือความอยากใด ๆ ได้บรรลุผลสมความปรารถนามาแล้ว แต่ถึงขนาดสภาพมีรายได้มาปิดหีบไม่ลง ใจก็เกิดฟุ้งซ่านเดินเลยขอบเขตอันดีงามไป คือ คิดวิธีหาเงินในทางอกุศล แล้วอกุศลกรรมก็นำไปสู่ความหายนะอย่างนี้ คือโจรปล้นทางใจ โจรชนิดนี้ยังปล้นเอาความอิสรภาพไปอีกด้วย

หากบุคคลใดสามารถไตร่ตรองตามทำนองในพระคาถาของพระมหาโพธิสัตว์กวนอีม โดยนำเอาเพียง ปัญญาคุณ อย่างเดียวพิจารณา ก็จะแลเห็นว่า ทรัพย์ที่ได้พยายามหามาด้วยการลำบากยากและเหน็ดเหนื่อยนั้น ได้ถูกปล้นไปในทางแห่งอารมณ์ฟุ้งซ่าน ถ้าจะเอาปัญญาคุณมาใช้ โจรภัยแห่งอารมณ์ฟุ้งซ่านเหล่านี้ ก็จะปราศจากไปเอง

ในกรณีอัคคีภัย กล่าวว่า: บุคคลใดเมื่อภาวนาคาถาของพระมหาโพธิสัตว์กวนอีม อัคคีภัยจะทำอะไรไม่ได้

พระคัมภีร์นี้ถ้าถอดเป็นพระธรรมาธิษฐาน อัคคีภัย ณ ที่นี้ หมายถึง
1. โลภะ อัคนี
2. โทสะ อัคนี และ
3. โมหะ อัคนี

หาใช่อัคคีภัยที่เผาผลาญบ้านเรือนไม่ อัคคีภัยที่เกิดถึงขนาดร้ายแรง เช่น เกิดจากลูกระเบิด ปรมาณูไหม้กันวินาศหมดไปทั้งเมืองก็ยังสามารถดับได้ด้วยน้ำ แต่ไฟชนิดอันมีนามว่า อัคคีแห่งกิเลสราคะ นั้น จะอาศัยเอาน้ำในมหาสมุทรมาดับก็ไม่ยังผล อัคคีชนิดนี้ลุกลามแพร่แผ่ไพศาลครอบงำมนุษย์ทั่วโลกและกำลังคุกคามเผาโลกให้ลุกเป็นเปลวแดงอยู่ในขณะนี้ (90 % คนมองข้ามไฟนี้ไป กรรม?)

อัคคีภัยแห่งกิเลสราคะ นั้น คอยจี้มนุษย์ให้ร้อนเป็นไฟโดยมิรู้สึกตัว (ร้อนในทางเลือดไม่ใช่ร้อนทางกาย) ถึงขนาดเจ้าโลภะ โทสะ และ โมหะ ก็เข้าบงการจิตใจ เช่น :-
1. รบราฆ่าฟันกัน
2. ไปลอบฆ่าคนตาย
3. ไปทำร้ายร่างกาย
4. ไปปล้นทรัพย์
5. ไปฉ้อฉลยักยอก
6. ไปผิดศีลธรรมในลูกเมียเขา

เมื่อเหตุก่อเกิดขึ้น ผลก็มาตามหลัง คือตกทุกข์ได้ยากและต้องรับโทษทัณฑ์ ก็เนื่องจากกองอัคคีดังกล่าวนี้ ผู้ที่เจริญพระคาถาของพระกวนอีม หากนำเอาคำในพระคัมภีร์มาพิจารณาใช้ก็จะเกิดประโยชน์ กล่าวคือ:-
1. อัคคีภัยแห่งราคะ จะดับได้ด้วย สันติคุณ
2. อัคคีภัยแห่งโทสะ จะดับได้ด้วย เมตตากรุณาธิคุณ
3. อัคคีภัยแห่งโมหะ จะดับได้ด้วย ปัญญาคุณ

ในเมื่อบุคคลใดขบคิดปัญหากลบท หรือเรียกว่าปริศนาธรรมในพระคาถาของพระมหาโพธิสัตว์กวนอีมแตกฉาน อัคคีภัยที่กล่าวข้างต้นก็จะทำอะไรไม่ได้จริง ๆ

ในกรณีมหาวาตภัยเรือล่มในทะเล

กล่าวว่า : บุคคลใดถ้าภาวนาระลึกถึงพระมหาโพธิสัตว์กวนอีมก็จะรอดพ้นจากการจมน้ำตาย ทะเล ในกรณีนี้ พระคัมภีร์มีความหมายถึง ทะเลทุกข์ ซึ่งเรียกกันในพระพุทธศาสนา สัตว์โลกอุปมาดังผู้อาศัยอยู่ในเรือน้อยลอยลำร่อนเร่พเนจรอยู่ในกลางทะเลทุกข์ อันเป็นวัฏฏสงสาร เวียนเกิดเวียนตายอยู่ในโลก คือได้แก่:-
การเกิด การแกè การเจ็บ และ การตาย

สัตว์โลกจะหนีรอดพ้นจากอาการทั้งสี่ที่กล่าวนี้ไม่ได้ ต้องอยู่ในสภาพอันผันแปรอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก เช่น :-
1. สภาพเป็นเด็กเล็กแล้วก็ผันแปรเปลี่ยนแปลงไปเป็นผู้ใหญ๋
2. สภาพเป็นคนหนุ่มแน่นภายหลังก็ผันแปรเปลี่ยนแปลงไปเป็นคนแก่ชรา
3. สภาพเป็นคนแข็งแรงในสุขภาพ แล้วก็ผันแปรเปลี่ยนแปลงไปเป็นคนเพียบไปด้วยโรคาพยาธิ
4. สภาพเป็นคนเกิดมาในโลก แล้วก็ผันแปรเปลี่ยนแปลงไปเป็นคนตายไปจากโลก
การผันแปรเปลี่ยนแปลงอยู่ทุก ๆ นาทีนี้ เช่นเดียวกับการลาดเอียงสูงต่ำแห่งกระแสคลื่นในทะเล จะมีอะไรเป็นแก่นสารก็หาไม่ ขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็อยู่เพียงระยะชั่วเวลาหนึ่งเท่านั้น ไม่มีอะไรจะคงทนอยู่ได้ตลอดกาล โดยไม่มีการผันแปรเปลี่ยนแปลงเสื่อมคลาย และสูญดับ

อนิจจัง คือ ความไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง
ทุกขัง คือ ความทุกข์ ความยาก
อนัตตา คือ สิ่งที่ไม่ใช่เป็นตัวตนของตนเอง

เหล่านี้เป็นไปตาม กรรมบถ คือ ทางของกุศลกรรมคลุกเคล้าอกุศลกรรม เป็นปัจจัยกระทำให้สัตว์โลกมีการเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในทะเลทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น (จมน้ำตายกันอย่างนี้)
ถ้าบุคคลใดตีปัญหาปริศนาธรรมในพระคาถาของพระมหาโพธิสัตว์กวนอีมแตก ก็จะเกิดปัญญาคุณ คือ มีปัญญาหลักแหลมมองทะลุความจริงได้ ก็เท่ากับสามารถนำเรือของตนเข้าถึงฝั่งจากมหาวาตภัยและรอดจากการจมน้ำตายได้จริง

ในกรณีศัสตราภัย

กล่าวว่า : - บุคคลใดเมื่อภาวนาพระคาถาของพระมหาโพธิสัตว์กวนอีม อาวุธแหลมทุกชนิดจะไม่สามารถระคายผิวได้

คำในคาถาข้อสุดท้ายนี้แหละ แสดงให้แลเห็นเด่นชัดว่าในมหายานมีธรรมคาถาเป็น กลบท ชั้นเชิงทำให้ฉงนไปในทางหนึ่งนัยว่า ต้องการให้มีความไหวพริบ คือ ปัญญา (ให้เกิดปัญญาขึ้นในตัวไม่ต้องไปหาปัญญาจากที่อื่น) ถ้าเกิดปัญญาคุณขึ้นแล้วก็มองทะลุความจริงว่า พระคาถานี้หาได้มีความหมายตายตัวตามศัพท์ที่ว่าไม่ เพราะผิวหนังมนุษย์ไม่ใช่เหล็กกล้าจึงจะคงกระพันชาตรี เมื่อเป็นเช่นนี้อรรถในพระคาถานี้คงหมายความเป็นปริศนาธรรมให้ขบคิด และจุดอันแท้จริงของพระคาถานี้ ได้แก่ :-

บุคคลที่สามารถรักษา อายตนะทั้งหก คือ อินทรีย์ทั้ง 6 นั้นเอง อายตนะ มี ตา ËÙ จมูก ปาก กาย และใจ อันเชื่อมโยงไปใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ อารมณ์

ถ้าบุคคลใดมีความสามารถ ไม่ยองใย และตัดขาดจากสิ่งที่จะมากระทบให้เกิดอกุศลกรรม กล่าวคือ :-
1. เมื่อหูได้ยิน ในสิ่งอกุศล ก็ทำเป็น เช่นหูไม่ได้ยิน
2. เมื่อตาและเห็น ในสิ่งอกุศล ก็ทำเป็น เมินไม่แลเห็น
3. เมื่อจมูกได้กลิ่น ในสิ่งอกุศล ก็ทำเป็น เหมือนมิได้ดมกลิ่น
4. เมื่อลิ้มรส ในสิ่งอกุศล ก็ทำเป็น เหมือนมิได้รับรสรู้
5. เมื่อกายสัมผัส ในสิ่งอกุศล ก็ทำเป็น ประดุจไม่ได้สัมผัส
6. เมื่อใจได้รับอารมณ์ ในสิ่งอกุศล ก็ทำเป็น เฉยเฉื่อยไม่ได้รับรู้ในอารมณ์นั้น ๆ และไม่หวั่นไหว ระงับ ตัณหา ที่จะเป็นปัจจัยให้เกิด อกุศล เจตนาขึ้น คือ :-
1. ความปรารถนา
2. ความดิ้นรน
3. ความอยาก และ
4. ความเสน่หา

เมื่อสิ่งเหล่านี้ไม่บังเกิดขึ้น อำนาจแห่ง ธรรมมิตร ก็เข้าชักจูงเรียกร้องดูดดึงเอา สันติคุณ ตลอดจน เมตตากรุณาธิคุณ เข้ามาไว้ในตัว ก็จะเสมือนว่า เป็นเกราะบังป้องกันศัตราวุธไม่ระคายผิวหนังตามพระคาถาได้ไม่ต้องสงสัย

เท่าที่บรรยายมาเบื้องต้น พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ หรือ พระกวนอีม จึงเป็นที่เคารพบูชานับถือว่า พระองค์เป็นที่พึ่งของปวงสัตว์โลก ทั้งเป็นผู้มีพระเมตตาช่วยปลดเปลื้องทุกข์ภัยของสัตว์โลกทั่วไตรภูมิ และทรงปฏิบัติเช่นนี้เป็นนิจสิน

พระคาถาของพระมหาโพธิสัตว์กวนอีมนั้น ไม่ใช่แต่เพียงท่องบ่นอย่างเดียว เป็นกลบทในปริศนาธรรมให้ขบคิดด้วยพร้อมกัน และในเมื่อบุคคลใดสามารถขบปัญหาแตกกับปฏิบัติได้ครบถ้วนสมบูรณ์ ก็ได้ชื่อว่าอัญเชิญพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์มาอยู่ในดวงจิตของบุคคลนั้น และบุคคลผู้นั้นก็ปลอดภัยจากอันตรายนานาประการ ดังได้บรรยายมาแล้ว

พระอวโลกิเตศวร หรือพระกวนอีมมหาโพธิสัตว์นี้ ทางอุตรนิกายนับถือว่า เป็นพระปัทมปาณีมหาโพธิสัตว์ ได้โปรดสัตว์โลกในอดีตมานานแล้ว ทั้งทรงตั้งปณิธานวัฒนาการโปรดสัตว์โลกต่อไปอีกในอนาคต จึงยังไม่เสด็จเข้าสู่พระพุทธภูมิ

อนึ่ง มวลพิธีที่มีในนิกายนี้ เช่น มีพิธีกงเต็ก เป็นต้น พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์อัญเชิญพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับพระพุทธเจ้าองค์อื่น ๆ เสด็จมาประทับรับการบูชาในพิธีเพื่ออานิสงส์ ส่วนพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ และองค์อื่น ๆ นั้น อัญเชิญมาเป็นประมุขในการประกอบพิธีโปรดสัตว์โลกให้รอดตาย คือไม่ฆ่าชีวิตสัตว์ และยังไม่เสพเลือดเนื้อสัตว์ เจริญมหาเมตตากรุณาธรรมจริง ๆ ตามลัทธิ ด้วยประการฉะนี้ ขอจบการวิสัชชนา เรื่องพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ หรือ พระมหาโพธิสัตว์กวนอีม แต่เพียงนี้

ที่มา : จากหนังสือพระคัมภีร์ กวนอีมมหาโพธิสัตว์ แปลโดย เสถียร โพธินันทะ พิมพ์แจกเป็นธรรมทานโดย ชมรมธรรมทาน ทางไปรษณีย์ พุทธสถานโรงเจ เป้าเก็งเต๊ง ซอยปลูกจิต 2 ถนนพระราม 4 กทม.

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
มโนคำนึง เสถียร โพธินันทะ
ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4
เงาฝัน 0 3036 กระทู้ล่าสุด 02 กุมภาพันธ์ 2554 15:17:56
โดย เงาฝัน
ปรัชญาแห่งความมีอยู่ เสถียร โพธินันทะ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 5 4700 กระทู้ล่าสุด 06 กุมภาพันธ์ 2554 19:10:12
โดย หมีงงในพงหญ้า
ตกนรกทันตาเห็น : เสถียร โพธินันทะ
กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ
เงาฝัน 0 2776 กระทู้ล่าสุด 30 กันยายน 2554 08:01:15
โดย เงาฝัน
พุทธศาสนาในธิเบต อ.เสถียร โพธินันทะ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1764 กระทู้ล่าสุด 11 กรกฎาคม 2559 07:16:23
โดย มดเอ๊ก
นักปราชญ์ชาวพุทธของเมืองไทย อ.เสถียร โพธินันทะ ผู้ปรารถนาพุทธภูมิ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 1278 กระทู้ล่าสุด 06 ธันวาคม 2560 16:22:34
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.554 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 25 มกราคม 2567 19:41:32