[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
18 เมษายน 2567 21:41:23 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระมหากัสสปะ ร่างของท่านยังอยู่ ยุควิสุทธิภูมิพระเมตไตรย ถึงจะฌาปนกิจสรีระ  (อ่าน 16311 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 15 มิถุนายน 2553 20:57:40 »

พระมหากัสสปะ


พระมหากัสสปะ


พระมหากัสสปเถระเจ้า ทรงนั่งเข้านิพพานมานาน สองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้ว สรีระของท่านไม่เน่าเปื่อย เพราะท่านทำความเพียรอย่างแรงกล้า ด้วยกำลังแห่งอนิมิตตเจโตสมาธิ ปธานสังขารอิทธิบาทภาวนา ส่วน ตา หู จมูก และ ฟัน ก็ยังสมบรูณ์อยู่อย่างอัศจรรย์ ตามตำนานได้กล่าวว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ศรีอาริยเมตไตร จะเป็นผู้เสด็จมาประทานการฌาปนกิจสรีระ ด้วยพระองค์พร้อมทั้งพระสงฆ์หมู่ใหญ่ในยุคภัทรกัลป์สุดท้าย สรีระของท่านบัดนี้อยู่ ณ หุบเขาแห่งหนึ่งในประเทศจีน

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
 
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2553 20:58:07 »


 
* ภาพ พระมหากัสสปะ ต้นสาย นิกายเซน




พระมหากัสสปะ เป็นบุตรของกปิลพราหมณ์ ตระกูลกัสสปะในบ้านมหาติฏฐะ
แคว้นมคธ ชื่อเดิมของท่านคือ “ปิปผลิ” แต่คนทั่วไปมักเรียกท่านตามวงศ์ตระกูลว่า
“กัสสปะ” เมื่อท่านอายุได้ ๒๐ ปี ได้ทำการอาวาหมงคลกับนางภัททกาปิลานี ซึ่งเป็นสาวงาม
วัย ๑๖ ปี ธิดาของพราหมณ์ตระกูลโกลิยะ ณ เมืองสาคลนคร แคว้นมคธ
เมื่อปิปผลิมาณพ อายุได้ ๒๐ ปี บิดามารดาได้ปรึกษากันว่าจะหาภรรยาให้แก่บุตรชาย
จึงได้มอบเงินและทองให้แก่พราหมณ์ ๘ คน เพื่อสืบแสวงหาสาวงานที่มีฐานะเสมอกัน
พราหมณ์เหล่านั้นเที่ยวสืบแสวงหาไปตามเมืองต่าง ๆ มาจนถึงสาคลนคร ได้พบธิดาของ
โกลิยพราหมณ์นามว่า “ภัททกาปิลานี” วัย ๑๖ ปี เป็นที่ถูกอกถูกใจยิ่ง จึงสู่ขอกับบิดามารดา
ของนาง ตกลงแล้วได้มอบสิ่งของเงินและทองหมั้น กำหนดวันอาวาหมงคลแล้วกลับไปแจ้งข่าว
สารแก่กปิลพราหมณ์
ปิปผลิมาณพ ได้ทราบข่าวสารนั้นแล้วรู้สึกไม่สบายใจ เพราะตนไม่มีความปรารถนาจะ
แต่งงาน จึงหลบเข้าไปในห้อง เขียนจดหมายบรรยายความประสงค์ของตนให้นางทราบว่า
“ตนไม่ปรารถนาจะแต่งงาน ขอให้นางจงแต่งงานกับชายที่มีชาติตระกูลเสมอกัน และอยู่ครอง
ชีวิตคู่ด้วยความสุขสำราญเถิด ส่วนข้าพเจ้าจะออกบวช” เมื่อเขียนเสร็จแล้ว ก็มอบให้คนใช้
สนิทนำไปส่งให้แก่นางภัททกาปิลานี
แม้นางภัททกาปิลานีก็มีใจตรงกัน และได้เขียนจดหมายซึ่งมีใจความเหมือนกัน มอบให้
คนรับใช้นำไปส่งให้แก่ปิปผลิมาณพ บังเอิญคนถือจดหมายทั้งสองฝ่ายมาพบกันระหว่างทาง ทัก
ทายปราศรัยถามไถ่กิจธุระของกันและกันแล้วนำจดหมายทั้งสองฉบับออกอ่าน ทราบความโดย
ตลอดแล้วฉีกทำลายทิ้งแล้วเขียนจดหมายขึ้นมาใหม่ บรรยายความรักแก่กันและกันแล้วนำไปส่ง
ให้แก่เจ้านายของตน การอาวาหมงคลระหว่างคนทั้งสองจึงเกิดขึ้น
 
 
ภายหลังจากแต่งงานกันแล้ว การครองคู่ของคนทั้งสองนั้นไม่เหมือนสามีภรรยาคู่อื่น ๆ
เพราะสักแต่ว่าอยู่ร่วมห้องกันเท่านั้น ต่างก็ไม่มีจิตคิดจะร่วมสังวาสกัน แม้เวลาจะขึ้นเตียงนอนก็
ขึ้นกันคนละข้าง มีแจกันดอกไม้ตั้งอยู่ตรงกลางเตียง ตลอดระยะเวลาที่ทั้งสองอยู่ร่วมกันนั้น มิ
ได้สัมผัสถูกต้องกันเลยจึงไม่มีบุตรหรือธิดาสืบสกุล
เมื่อบิดามารดาถึงแก่กรรมแล้ว ทรัพย์สมบัติและหน้าที่การงานทุกอย่างจึงเป็นภาระของ
สองสามีภรรยา และเนื่องจากตระกูลทั้งสองเป็นตระกูลมหาเศรษฐีมีทรัพย์มาก เมื่อรวมสอง
ตระกูลเข้าเป็นตระกูลเดียวกันแล้วทรัพย์สมบัติก็ยิ่งมากมายมหาศาล มีสัตว์เลี้ยงและคนงาน
จำนวนมาก สองสามีภรรยาต้องบริหารสั่งการทุกอย่าง
จนกระทั่งวันหนึ่ง ในขณะที่ปิปผลิกำลังตรวจดูทาสและกรรมกรทำงานอยู่ในไร่นา ได้
เห็นนกกาจิกกินสัตว์น้อยมีไส้เดือนเป็นต้น ก็รู้สึกสงสารและสลดใจที่สัตว์เหล่านั้นต้องตาย
เพราะตนเป็นเหตุ ส่วนนางภัททกาปิลานี ก็ให้คนนำเมล็ดถั่วงาออกมาตากที่ลานหน้าบ้าน เห็น
หมู่นกกามาจิกกินตัวหนอนและแมลงต่าง ๆ ก็เกิดความสงสารและสลดใจเช่นกัน เมื่อสองสามี
ภรรยามีโอกาส อยู่กันตามลำพังได้สนทนาถึงเรื่องความในใจของกันและกันแล้ว จากนั้นทั้งสอง
ก็มีความคิดตรงกันว่า
“ผู้อยู่ครองเรือน แม้จะไม่ได้ลงมือทำการงานเอง แต่ก็ต้องคอยรับบาปที่ทาสและ
กรรมกรทำให้” จึงเกิดความเบื่อหน่ายเพศฆราวาสพร้อมใจกันสละทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้ญาติ
และบริวาร
ส่วนทั้งสองสามีภรรยาพากันออกบวช จัดหาผ้ากาสาวพัสตร์และบริขารพากันปลงผม
แล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์ อธิฐานเพศบรรพชิตบวชอุทิศต่อพระอรหันต์ในโลกแล้วเดินร่วมทาง
กันไป พอถึงทางสองแพร่งจึงแยกทางกัน ปิปผลิไปทางขวา ส่วนนางภัททกาปิลานี ไปทางซ้าย
นางเดินทางไปพบสำนักปริพาชกแล้วได้เข้าไปขอบวชในสำนักนั้น เนื่องด้วยขณะนั้น พระผู้มี
พระภาคยังมิได้ทรงอนุญาตให้สตรีบวชในพระพุทธศาสนา ต่อเมื่อพระนางปชาบดีโคตรมีได้
บวชแล้ว นางจึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระเถระ ศึกษาพระกรรมฐาน บำเพ็ญ
วิปัสสนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล
 
 
 
ปิปผลิ เดินทางไปตามลำดับ ได้พบพระผู้มีพระภาคเสด็จประทับที่ภายใต้ร่มไทร
ระหว่างกรุงราชคฤห์กับนาลันทา เห็นพุทธจริยาน่าเลื่อมใสแปลกกว่านักบวชอื่น ๆ ที่ตนเคยพบ
มา ปลงใจเชื่อว่าต้องเป็นพระอรหันต์แน่นอน จึงน้อมกายกราบถวายบังคมแทบพระบาท กราบ
ทูลขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
พระพุทธองค์ ประทานการอุปสมบทด้วยวิธีให้รับโอวาท ๓ ข้อ เรียกว่า
“โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา” โอวาท ๓ ข้อนั้นคือ
๑) กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักตั้งความละอายและความเกรงใจไว้ในภิกษุทั้งที่
เป็นพระเถระผู้เฒ่า ผู้มีพรรษาปานกลาง และทั้งผู้บวชใหม่
๒) กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักฟังธรรม บทใดบทหนึ่งอันประกอบด้วยกุศลด้วย
ความตั้งใจฟังโดยเคารพ และพิจารณาจดจำเนื้อความธรรมบทนั้น
๓) กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจะไม่ละสติไปในกาย คือ พิจารณากายเป็นอารมณ์
โดยสม่ำเสมอ
 

เมื่อท่านอุปสมบทแล้วทำความเพียรไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตผล หลังจากอุปสมบท
ได้ ๘ วัน พุทธบริษัททั้งหลายรู้จักท่านในนาม “พระมหากัสสะ” ท่านได้ช่วยรับภารธุระอบรม
สั่งสอนพระภิกษุและพุทธบริษัทอื่น ๆ จนมีภิกษุเป็นบริวารจำนวนมาก ท่านมีปกติสมาทาน
ธุดงค์ ๓ ประการ อย่างเคร่งครัด คือ:-
๑) ถือการนุ่งห่มบังสุกุลเป็นวัตร
๒) ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
๓) ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
เพราะการปฏิบัติในธุดงค์คุณทั้ง ๓ ประการนี้อย่างเคร่งครัด พระบรมศาสดาจึงทรงยก
ย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ทรงธุดงค์
นอกจากนี้ พระบรมศาสดายังทรงยกย่องท่านในทางอื่น ๆ อีกหลายประการ กล่าวคือ:-
 
ครั้งหนึ่ง ท่านติดตามพระพุทธองค์ไปประทับที่ภายใต้ร่มไม้ต้นหนึ่งท่านได้พับผ้า
สังฆาฏิของท่านเป็น ๔ ชั้นแล้วปูถวายให้พระพุทธองค์ประทับนั่งพระพุทธองค์ตรัสว่า:-
“กัสสปะ ผ้าสังฆาฏิของเธอนุ่มดี”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์ทรงใช้สอยเถิด พระเจ้าข้า”
“กัสสปะ แล้วเธอจะใช้อะไรทำสังฆาฏิเล่า ?”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อข้าพระองค์ได้รับจากพระองค์ ก็จะใช้เป็นสังฆาฏิ
พระเจ้าข้า”
ครั้นแล้ว พระบรมศาสดาได้ประทานผ้าสังฆาฏิของพระองค์ ซึ่งเก่าคร่ำคร่าให้แก่ท่าน
แล้วทรงยกย่องท่านอีก ๔ ประการคือ:-
๑) กัสสปะ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอด้วยตถาคต เป็นผู้มักน้อยสันโดษภิกษุทั้ง
หลายควรถือเป็นแบบอย่าง
๒) กัสสปะ เมื่อเธอเข้าไปใกล้ตระกูลแล้ว ชักกายและใจออกห่างประพฤติตนเป็นคน
ใหม่ ไม่คุ้นเคย ไม่คะนองกาย วาจา และใจ ในสกุลเป็นนิตย์ จิตไม่ข้องอยู่ในสกุลนั้น
ตั้งจิตเป็นกลางว่า “ผู้ใคร่ลาภจงได้ลาภ ผู้ใคร่บุญจงได้บุญ ตนได้ลาภแล้วมีจิตเป็นฉันใด ผู้อื่นก็
มีใจเป็นฉันนั้น”
๓) กัสสปะ มิจิตประกอบด้วยเมตตา กรุณา แสดงธรรมแก่ผู้อื่น
๔) ทรงแลกเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิกับท่านไปใช้สอย ทรงสอนภิกษุให้ประพฤติดีปฏิบัติ
ชอบ โดยยกพระมหากัสสปะขึ้นเป็นตัวอย่าง

 
 
ครั้งหนึ่งพระเถระพักอยู่ที่ถ้ำปิปผลิ เข้าฌานสมาบัติอยู่ ๗ วัน ออกจากฌานแล้วเข้าไป
บิณฑบาต ในบ้านหญิงสาวคนหนึ่งเห็นพระเถระแล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใส ได้นำข้าวตอกใส่บาตร
พระเถระแล้วตั้งความปรารถนา ขอเข้าถึงส่วนแห่งธรรมที่พระเถระบรรลุแล้ว พระเถระกล่าว
อนุโมทนาแก่เธอแล้วกลับยังที่พัก
ฝ่ายนางกุลธิดานั้นมีจิตเอิบอิ่มด้วยทานที่ตนถวาย ขณะเดินกลับบ้านถูกงูพิษกัดตาย และ
ได้ไปเกิดเป็นเทพธิดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นามว่า “ลาชา” (ลาชา = ข้าวตอก) มีวิมานทอง
ประดับด้วยขันทองห้อยอยู่รอบ ๆ วิมาน ในขันนั้นเต็มด้วยข้าวตอกทองเช่นกัน นางมองดูสมบัติ
ทิพย์ที่ตนได้แล้วก็ทราบว่าได้มาเพราะถวายข้าวตอกแก่พระมหากัสสปะ ซึ่งเป็นบุญเพียงเล็กน้อย
นางต้องการที่จะเพิ่มผลบุญให้มากยิ่งขึ้น จึงลงจากเทวพิภพเข้าไปปัดกวาดเสานาเสานะและ
บริเวณที่พักของพระเถระ จัดตั้งน้ำใช้น้ำฉันเสร็จแล้วกลับยังวิมานของตน
พระเถระคิดว่ากิจเหล่านี้คงจะมีพระภิกษุหรือสามเณรมาทำให้ ในวันที่สองที่สาม นาง
เทพธิดามาทำเหมือนเดิม แม้พระเถระก็คิดเช่นเดิม แต่พระเถระได้ยินเสียงไม้กวาดและเห็นแสง
สว่างจากช่องกลอนประตูจึงถามว่า “นั่นใคร ?”
“ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเทพธิดาชื่อลาชา เป็นอุปัฏฐายิกาของท่าน”
พระเถระคิดว่า หญิงผู้เป็นอุปัฏฐากของเราชื่ออย่างนี้ไม่มี จึงเปิดประตูเห็นนางเทพธิดา
กำลังปัดกวาดอยู่ จึงสอบถามทราบความโดยตลอดตั้งแต่ต้นแล้ว จึงกล่าวห้ามว่า “กิจที่เธอทำ
แล้วก็ถือว่าแล้วกันไป ต่อแต่นี้เธอจงอย่างมาทำอีก เพราะในอนาคต จะมีพระธรรมกถึกยกเอา
เหตุนี้เป็นตัวอย่างอ้างแก่พุทธบริษัททั้งหลาย ว่า “พระมหากัสสปะมีนางเทพธิดามาปฏิบัติใช้
สอย ดังนั้น เธอจงกลับไปเถิด”
นางเทพธิด้านอ้อนวอนช้ำแล้วช้ำเล่าว่าขอพระคุณเจ้าอย่างทำให้ดิฉันประสบหายนะเลย
ขอให้ดิฉันได้ครองสมบัติทิพย์นี้ตลอดกาลนานเถิด
พระเถระเห็นว่านางเทพธิดาดื้อดึงไม่ยอมฟังคำ จึงโบกมือพร้อมกล่าวขับไล่นางออกไป
นางลาชาเทพธิดาไม่สามารถดำรงอยู่ได้ จงเหาะขึ้นไปบนอากาศยืนประนมมือร้องไห้เสียดายที่
ไม่มีโอกาสทำทิพยสมบัติของตนให้ถาวรได้
 
 
พระมหากัสสปะเถระ เป็นประธานปฐมสังคายนา
ด้วยความที่ท่านเป็นผู้ยินดีในการอยู่ป่า มักน้อย สันโดษ ประวัติของท่านจึงไม่ค่อย
โดดเด่นเป็นที่รู้จักกันมากนัก จวบจนสมัยที่พระบรมศาสดาปรินิพพานได้ ๗ วัน ขณะที่ท่าน
กำลังเดินทางพร้อมด้วยภิกษุบริวารของท่านเพื่อไปเข้าเฝ้าประบรมศาสดา ได้ทราบข่าวจาก
อาชีวกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ทำให้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นปุถุชนพากันร่ำไห้เสียใจ
รำพึงรำพันถึงพระบรมศาสดา รำพึงรำพันถึงพระบรมศาสดา แต่มีภิกษุวัยชรานามว่า สุภัททะ
พูดห้ามปรามภิกษุเหล่านั้นมิให้ร้องไห้โดยกล่าว่า “ท่านทั้งหลาย อย่าร้องไห้เสียใจไปเลย พระ
พุทธองค์ปรินิพพานเสียได้ก็ดีแล้ว ต่อไปนี้พวกเราพ้นจากอำนาจของพระศาสดาแล้ว จะทำ
อะไรก็ย่อมได้ ไม่มีใครมาบังคับว่ากล่าวห้ามปรามพวกเราอีกแล้ว”
พระเถระ ได้ฟังคำของพระสุภัททะแล้วเกิดความสังเวชสลดใจว่า “พระพุทธองค์
ปรินิพพานได้เพียง ๗ วัน ยังมีผู้กล่าวจ้วงจาบล่วงเกินพระธรรมวินัยถึงเพียงนี้ ต่อไปภายหน้าก็
คงจะหาผู้เคารพในพระธรรมวินัยได้ยากยิ่ง”
ด้วยคำพูดของพระสุภัททะเพียงเท่านี้ หลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว ท่านได้
ชักชวนพระเถระผู้เป็นพระอรหันต์ ประชุมกันทำปฐมสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยตั้งไว้
เป็นหมวดหมู่ เป็นตัวแทนองค์พระบรมศาสดาปกครองหมู่สงฆ์ต่อไป
สาระสำคัญของปฐมสังคายนา
๑) พระมหากัสสปะเถระ เป็นประธาน มีหน้าที่ซักถามเกี่ยวกับพระธรรมวินัย
๒) พระอุบาลี เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับขอบัญญัติพระวินัย
๓) พระอานนท์ เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับพระสูตร และพระอภิธรรม
๔) กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา แห่งภูเขาเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์
๕) พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นองค์ศาสนูปถัมภ์
๖) กระทำอยู่ ๗ เดือน จึงสำเร็จ
 
พระมหากัสสปะเถระ เมื่อทำหน้าที่เป็นประธานใน
การทำปฐมสังคายนาแล้ว ได้พักอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ดำรงอยู่ถึง ๑๒๐ ปี
ก่อนที่ท่านจะนิพพาน ๑ วัน ท่านได้ตรวจดูอายุสังขารของท่านแล้วทราบว่าจะอยู่ได้อีกเพียงวัน
เดียวเท่านั้น ท่านจึงประชุมบรรดาภิกษุผู้เป็นศิษย์ของท่านแล้วให้โอวาทเป็นครั้งสุดท้าย สั่งสอน
ภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชนมิให้เสียใจกับการจากไปของท่าน ให้พยายามทำความเพียรและอย่าประมาท
แล้วพระเถระก็เข้าไปถวายพระพรลาพระเจ้าอชาตศัตรู จากนั้นท่านได้พาหมู่ภิกษุไปยัง
ภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพต แสดงอิทธิปาฏิหาริยิ์ และให้โอวาทแก่พุทธบริษัทแล้ว อธิษฐานจิต
ขอให้ภูเขาทั้ง ๓ ลูกมารวมเป็นลูกเดียวกัน ซึ่งในภูขาทั้ง ๓ ลูกนั้นมีภูเขาเวภารบรรพตสถานที่ทำ
ปฐมสังคายนารวมอยู่ด้วย แล้วท่านก็ดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน ณ ที่นั้น
ท่านยังอธิษฐาน ขอให้สรีระของท่านยังคงสภาพเดิมไม่สูญสลาย จนกระทั่งพระศาสนา
พระศรีอริยเมตไตร ซึ่งพระองค์จะพาหมู่ภิกษุสงฆ์มายังภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพตแล้ว ยกสรีระ
ของพระเถระวางบนพระหัตถ์ขวาชูขึ้นประกาศสรรเสริญคุณของพระเถระแล้ว เตโชธาตุก็จะเกิด
ขึ้นเผาสรีระของท่านบนฝ่าพระหัตถ์ของพระศรีอริยเมตไตรพุทธเจ้านั้น

คำสอน
โลกเลอะเลือน เรารู้แล้วละโลก จะลุโลกุตระธรรม ละโลกเลอะเลือน
 
http://www.arayun.com/pra%20mahakasapa.htm
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2553 20:58:28 »

โดยละเอียด

 
ครั้งรุ่งเช้าพระมหาเถระจึงให้ประชุมสงฆ์ แล้วสั่งสอนว่า อย่าประมาท อุตส่าห์พยายามอย่าให้ขาดเวลา จงปฎิบัติตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา ตัวท่านนั้นสิ้นอายุแล้ว จะนิพพาน ณ เพลาเย็นวันนี้แล้ว บรรดาพระภิกษุที่เป็นปุถุชน ได้ฟังก็พากันโศกา ร่ำร้องไห้พิไร บรรดาพระขีณาสพทั้งหลายครั้นแจ้งเหตุ ต่างก็สงสารสังเวชว่า เกิดมาเป็นสัตว์สังขารแล้ว มีแต่จะสูญสิ้นไปเป็นที่สุด เกิดแล้วดับไป ถ้าแม้นระงับสังขารธรรมลงเสียได้ แล้วนั่นแหละจึงจะเป็นสุข ฝ่ายพระมหาเถระเห็นดังนั้น จึงได้ประโลมปลอบให้ชอบตามพระพุทธฎีกาว่า อันเกิดมาเป็นสังขารแล้วไม่เที่ยงแท้ ย่อมปรวนแปรไปมา พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ตรัสในอดีต อนาคต และปัจจุบันนั้น ย่อมเทศนาไว้ทุก ๆ พระองค์ว่า เกิดมาเป็นสัตว์เป็นสังขารแล้ว ไม่แคล้วอนิจจังเลย เมื่อเห็นชัดฉะนี้แล้ว พึงเร่งกระทำเพียรพยายาม ยกตนให้พ้นอนิจจังให้จงได้ อันพระยามัจจุราชนี้ไซร้ ยากที่บุคคลจะข้ามพ้น เว้นไว้แต่พระอริยบุคคลที่ท่านสำเร็จพระนิพพาน อนึ่ง เล่าพระภิกษุทั้งหลาย จะใคร่เห็นเราในขณะเมื่อเข้าสู่พระนิพพาน จงไปประชุมอยู่แทบเชิงเขากุกกุฎปาตบรรพตนั้นเถิด

พระมหาเถระบอกเล่าพระสงฆ์ฉะนี้แล้ว เพลานั้นเล่าก็ควรจะบิณฑบาต ท่านจึงออกจากเวฬุวนาราม เพื่อไปบิณฑบาต บทจรเข้าสู่เมืองราชคฤห์ เที่ยวบิณฑบาตโดยลำดับตรอก ได้จังหันพอแล้วจึงหลีกออกจากบิณฑบาต กลับมาสู่ที่สำราญ กระทำภัตตกิจ

เมื่อกระทำภัตตกิจเสร็จแล้วจึงดำริว่า พระเจ้าอชาตสัตรูมีอุปการะแก่ท่านเป็นอันมาก มีศรัทธาบริจาคจตุปัจจัยถวายพระสงฆ์มิได้ขาด เคารพนบนอบในพระรัตนตรัย ช่วยท่านในการปฐมสังคายนา จำท่านจะไปบอกเล่า ให้พระเจ้าอชาตสัตรูรู้ก่อนจึงจะสมควร คิดแล้วท่านจึงเข้าไปในเมืองราชคฤห์ เมื่อเวลาเที่ยงไปสู่หน้าพระลานหลวง เวลานั้นพระเจ้าอชาตสัตรูบรรทมอยู่ ท่านจึงได้แจ้งแก่บรรดาอำมาตย์ทั้งหลายว่า ท่านประสงค์จะมาลาพระเจ้าอชาตสัตรู เพื่อเข้าสู่พระนิพพานในเวลาเย็นวันนี้ จากนั้นท่านก็กลับสู่เวฬุวนาราม วัตตปฎิบัติสิ่งใดที่ควรจะกระทำ ท่านก็ทำเสร็จทุกประการ แล้วจึงจากเวฬุวันพร้อมพระสงฆ์เป็นอันมาก เดินทางไปยังกุกกุฏบรรพต ไปถึงเมื่อเวลาเย็น แล้วท่านก็แสดงปาฎิหาริย์ต่าง ๆ พลางเทศนาโปรดมหาชนทั้งปวง

ให้ลุล่วงเข้าสู่อริยภูมิเป็นอันมาก จากนั้นท่านได้อำลาพระสงฆ์ทั้งหลายว่า ให้อุตสาห์เจริญสมณธรรม อย่าประมาทในคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา เราจะลาท่านทั้งหลายเข้าสู่พระนิพพานแล้ว จากนั้นท่านจึงเข้าไปสู่ระหว่างภูเขาทั้งสามลูก คิดอยู่ในใจว่าท่านจะนิพพานในปีนี้ แล้วพระมหาเถระจึงขึ้นสู่ที่ไสยาสน์ นั่งพับพะแนงเชิง เข้าสู่ผลสมาบัติ เมื่อออกจากผลสมาบัติแล้ว จึงตั้งอธิฐานไว้ว่า ถ้าแหละท่านดับสูญสิ้นอายุสังขาร เข้าสูนิพพานแล้วเมื่อใด ภูเขาทั้งสามลูกนี้จงมาประชุมกันเป็นลูกเดี่ยว ให้ปรากฎเป็นห้องหับอยู่ภายในภูผา อุปมาดังห้องที่ไสยาสน์ พระมหาเถระได้ตั้งอธิฐานอีกว่า ตั้งแต่บัดนี้ไป มนุษย์ทั้งหลายอายุจะน้อยถอยลงทุกที ตราบเท่าถึง 10 ปี อายุขัย กาลครั้งนั้นจะเกิดการฆ่าฟันกันตาย เกิดมิคสัญญี มนุษย์ทั้งหลายเห็นกันสำคัญว่าเป็นเนื้อ ต่างเข้าไล่ฆ่าฟันกันตายจนสิ้นสุด ยังเหลืออยู่แต่มนุษย์ ที่หนีไปหลบซ่อนอยู่ผู้เดียว จึงอยู่ได้ ครั้งต่อมาบรรดาผู้ที่หลบซ่อนนั้น ออกมาพบกันบังเกิดเมตตาต่อกัน ประพฤติแต่สุจริตธรรม เมื่อสืบเชื้อสายกันต่อมา ก็มีอายุเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ จนถึงอสงไขยเป็นที่สุด คนทั้งหลายก็ประมาทมิได้ประพฤติธรรม อายุก็ลดน้อยถอยลงจนเหลือ 8 หมื่นปี ในกาลครั้งนั้นชมพูทวีป ก็ราบรื่นเสมอสมาน ปานประหนึ่งหน้ากลอง สรรพจะมีไพบูลย์ทุกสิ่งทุกประการ

ในกาลครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระเมตไตรย ก็จะมาตรัสในโลกนี้ พระองค์จะเสด็จมา ณ ที่นี้ แล้วตรัสบอกแก่พระสงฆ์ว่า ท่านผู้นี้เป็นสาวกผู้ใหญ่ในศาสนา พระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า มีนามปรากฎว่า อริยกัสสปเถระ ถือธุดงค์ได้สิ้นทั้ง 13 ประการ ตราบเท่าสิ้นชีวิตของท่านคือ ถือบังสุกุลิกธุดงค์ เตจีวริกธุดงค์ บิณฑบาติกาธุดงค์ สัปปทานจาริกธุดงค์ เอกาสนิกธุดงค์ ปัตตบินฑิกธุดงค์ ขลุปัจฉาภัตติกธุดงค์ อารัญญิกธุดงค์ รุกขมลิกธุดงค์ อัพโภกาสิกธุดงค์ โสสานิกธุดงค์ ยถาลันตติกธุดงค์ เนสัชชิกธุดงค์ ตั้งแต่วันอุปสมบทมา ตราบเท่าถึงวันเข้าพระนิพพาน

เมื่อพระมหาเถระ อธิฐานแล้ว จึงเอนองค์ลงเหนือแท่นที่ไสยาสน์โดยบุรพเบื้องทักขิณา ลำดับหัตถบาทเป็นระเบียบ บ่ายพระเศียรสู่อุดรทิศา ก็ดับเบญจขันธ์ เข้าสู่พระอมตมหานิพพาน สูญสิ้นทั้งวิบากขันธ์และกรรมมัชรูปไม่เหลือ มิได้สืบต่อรูปกายให้ปรากฎในภพหน้า ก็ปรากฎชื่อว่า อนุปาทิเสสปรินิพพาน

พระเจ้าอชาตสัตรู เมื่อทราบข่าวพระมหาเถรปรินิพพานก็เศร้าโศกเสียพระทัยยิ่งนัก จึงได้เดินทางไปเคารพศพพระมหาเถระ แล้วให้จัดการสมโภชพระมหาเถระ 7 วัน เมื่อครบกำหนดแล้วจึงได้เสด็จกลับคืนสู่พระนคร ท้าวเธออุตส่าห์รักษาศีลบำเพ็ญทานเป็นเนืองนิจ ด้วยพระทัยคิดถึงคำสอนแห่งพระมหาเถระผู้เป็นอุปัชฌาย์ ตกว่าซากศพพระมหาเถระนั้น ทุกวันนี้ก็ยังปรากฎเป็นปรกติมิได้เปื่อยเน่า เครื่องสักการะบูชาก็ยังตั้งอยู่เป็นปรกติ มิได้ดับสาปสูญไป

สัปบุรุษทั้งหลายผู้มีปัญญาพิจารณา เห็นความอนิจจังดังกล่าวมาฉะนี้ จงมีสติอุตส่าห์ขวนขวายสิ่งอันเป็นแก่นสาร คือรักษาศีล บำเพ็ญทานการกุศลสุจริต ให้ตั้งจิตจำเริญกุศลกรรมบถ 10 ประการ จงอุตส่าห์สร้างสมไปอย่างได้ขาด จะเป็นเสบียงเลี้ยงตนไปในมรรคาอันไกลคือ วัฏฏสงสาร ตราบเท่าสำเร็จพระนิพพาน

อดีตชาติตั้งความปรารถนา

ในกาลแห่งพระศาสนาของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระมหากัสสปเถระนี้ ได้บังเกิดขึ้นในเรือนตระกูลหงสาวดีนคร มีชื่อว่า " เวเทหะ " วันหนึ่งได้ไปสดับฟังพระธรรมเทศนาของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลาจบการแสดงพระธรรมเทศนา ท่านได้เห็นพระภิกษุรูปหนึ่งได้รับตำแหน่งเอตทัคคะด้านสมาทานธุดงค์ แล้วเกิดศรัทธาปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง

ท่านแสดงศรัทธาให้ปรากฏด้วยการถวายมหาทานแด่พระปทุมุตตสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสาวก ขณะที่พระพุทธเจ้าและพระสาวกกำลังฉันภัตตาหารอยู่ที่บ้านของท่านนั้น พระมหานิสภะเดินบิณฑบาตผ่านมาพอดี ท่านจึงนิมนต์ให้เข้าไปฉันภัตตาหารในบ้าน พระมหานิสภะปฏิเสธเพราะท่านสมาทานธดงค์ครอบทั้ง ๑๓ ข้อ และธุดงค์อยู่ในข้อหนึ่งว่าด้วยการฉันแต่เฉพาะอาหารที่บิณฑบาตได้มา

โดยจะไม่ยอมฉันในที่นิมนต์ ท่านจึงให้คนจัดอาหารมาใส่บาตร ครั้นพระมหานิสภะกลับไปแล้ว ท่านได้กราบทูลเรื่องพระมหานิสภะให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ พระพุทธเจ้าได้ตรัสสรรเสริญพระมหานิสภะในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องธุดงค์ ยิ่งทำให้ท่านเกิดความเลื่อใสจึงถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกเพิ่มอีกเป็น ๗ วัน วันสุดท้ายหลังจากพระพุทธเจ้าและพระสาวกฉันภัตตาหารแล้ว ท่านได้ถวายผ้าไตรจีวรให้พระพุทธเจ้าและพระสาวกครอง แล้วกราบลงแทบพระบาทของพระสัมปทุมุตรพุทธเจ้าพลางกราบทูลว่า

" ข้าแต่พระบรมศาสดาจารย์ ตลอด ๗ วันที่ข้าพระองค์ถวายมหาทานอยู่นี้ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ประกอบด้วยเมตตา ข้าพระองค์ไม่จำนงถึงซึ่งสมบัติอย่างอื่น ไม่ว่าสวรรค์สมบัติหรือมนุษย์สมบัติ นอกจากนิพพานสมบัติเท่านั้น ด้วยผลบุญนี้ขอให้ข้าพระองค์ได้เป็นผู้เลิศกว่าพระภิกษุทั้งหลายในด้านสมาทานธุดงค์เหมือนพระมหานิสภะ ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในกาลข้างหน้านี้เถิด พระเจ้าข้า "

พระปทุมุตตพุทธเจ้า ทรงพิจารณาเห็นว่าการตั้งปณิธานของกุลบุตรผู้นี้จักสำเร็จสมมโนรถเป็นแน่แท้ จึงมีกระแสพระพุทธฏีกาว่า

" ในที่สุดอีกแสนกัปข้างหน้า จะมีพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระโคดม จะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ จักได้บรรลุอรหัตผลและได้รับตำแหน่งเอตทัคคะด้านสมาทานธุดงค์"

ท่านได้ฟังพระปทุมุตตพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่น ๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่าง ๆ จนมาถึง

ในสมัยของพระวิปัสสีสัมพุทธเจ้า ท่านได้มาเกิดพราหมณ์ยากจนชื่อ " จูเฬกสาฏก" ได้นางพราหมณียากจนคนหนึ่งเป็นภรรยา จูเฬกสาฏกกับภรรยาต่างผลัดเปลี่ยนกับไปฟังธรรมของพระพุทธเจ้า ภรรยาไปฟังธรรมตอนกลางวัน ส่วนเฬกสาฏกไปฟังธรรมตอนกลางคืน เหตุที่ทั้งสองสามีภรรยาไม่สามารถไปฟังธรรมพร้อมกันได้เหราะมีผ้าห่มออกข้างนอกเพียงผืนเดียว ซึ่งต้องผลัดกันใช้ คืนวันหนึ่ง ขณะที่นั่งฟังพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่นั้น จูเฬกสาฏกเกิดศรัทธาจึงได้ถวายผ้าห่มที่มีอยู่ผืนเดียวของตนนั้นเป็นพุทธบูชา พร้อมทั้งเปล่งวาจาว่า " ข้าพระองค์ชนะแล้ว "

ชัยชนะที่จูเฬกสาฏกหมายถึง คือ ชนะความตระหนีในใจของตนเองได้ พระเจ้าพันธุมราชกษัตริย์แห่งเมืองพันธุมดีทรงทราบความจริงจึงพระราชทานทรัพย์ให้เขาเป็นจำนวนมาก ซึ่งช่วยให้เขาพ้นจากความยากจน จูเฬกสาฏกกับภรรยาแม้จะมั่งมีขึ้นก็ไม่ได้ประมาท ทั้งสองได้บริจากทรัพย์ส่วนหนึ่งบำรุงพระพุทธศาสนาและบุญอื่น ๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่าง ๆ จนมาถึงพุทธดรหนึ่ง ( ช่วงระยะเวลาที่โลกว่างพระพุทธเจ้า ไม่มีพระพุทธศาสนา)

ชาติหนึ่งในพุทธันดรนั้นท่านได้เกิดเป็นบุตรกฏมพี วันหนึ่งขณะเดินไปตามริมฝั่งน้ำพบพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่งกำลังทำจีวรอยู่ ทราบว่าผ้าสำหรับทำอนุวาตะ ( ผ้าทาบชายจีวร ) ไม่พอท่านจึงได้ถวายผ้าชิ้นหนึ่ง และท่านยังได้ทำบุญอื่น ๆ สนับสนุนอีกอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพพูมิต่าง ๆ จนมาถึงพุทธกาลของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านได้เกิเเป็นบุตรเศรษฐีชาวเมืองพาราณสี ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พุทธบริษัทได้ช่วยกันสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ท่านได้สละทรัพย์จำนวนหนึ่งออกร่วมทำบุญถวายเป็นพุทธบูชา

นอกจากนั้นยังได้จัดดอกไม้บูชาพระเจดีย์จนดูสวยงาม ท่านยังได้ทำบุญอื่น ๆ สนับสนุนอีกอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่าง ๆ จนมาถึงพุทธกาลของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ท่านได้เกิดเป็นบุตรของพราหมณ์กปิละดังกล่าวมาแล้ว ครั้นท่านออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผล...


http://phra-si-arn.tht.in/menu-17.html
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2553 20:58:46 »




ชีวิตในบั้นปลายของพระมหากัสสปะเถระ
 
http://84000.org/one/1/18.html
 
ในคัมภีร์พระสาวกนิพพานกล่าว่า พระมหากัสสปะเถระ เมื่อทำหน้าที่เป็นประธานในการทำปฐมสังคายนาแล้ว ได้พักอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ดำรงอยู่ถึง ๑๒๐ ปี ก่อนที่ท่านจะนิพพาน ๑ วัน ท่านได้ตรวจดูอายุสังขารของท่านแล้วทราบว่าจะอยู่ได้อีกเพียงวันเดียวเท่านั้น ท่านจึงประชุมบรรดาภิกษุผู้เป็นศิษย์ของท่านแล้วให้โอวาทเป็นครั้งสุดท้าย สั่งสอน ภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชนมิให้เสียใจกับการจากไปของท่าน ให้พยายามทำความเพียรและอย่าประมาท แล้วพระเถระก็เข้าไปถวายพระพรลาพระเจ้าอชาตศัตรู จากนั้นท่านได้พาหมู่ภิกษุไปยัง ภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพต แสดงอิทธิปาฏิหาริยิ์ และให้โอวาทแก่พุทธบริษัทแล้ว อธิษฐานจิตขอให้ภูเขาทั้ง ๓ ลูกมารวมเป็นลูกเดียวกัน ซึ่งในภูขาทั้ง ๓ ลูกนั้นมีภูเขาเวภารบรรพตสถานที่ทำปฐมสังคายนารวมอยู่ด้วย แล้วท่านก็ดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน ณ ที่นั้น
 
ท่านยังอธิษฐาน ขอให้สรีระของท่านยังคงสภาพเดิมไม่สูญสลาย จนกระทั่งพระศาสนาพระศรีอริยเมตไตร ซึ่งพระองค์จะพาหมู่ภิกษุสงฆ์มายังภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพตแล้ว ยกสรีระของพระเถระวางบนพระหัตถ์ขวาชูขึ้นประกาศสรรเสริญคุณของพระเถระแล้ว เตโชธาตุก็จะเกิดขึ้นเผาสรีระของท่านบนฝ่าพระหัตถ์ของพระศรีอริยเมตไตรพุทธเจ้านั้น
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2553 20:59:08 »


 

 
การพัฒนาของประเทศในยุคปัจจุบันหรือที่เราท่านมักเรียกว่ายุคคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตนี้ ทำให้คนไทยได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดแข่งขันในเชิงธุรกิจรุนแรงมากขึ้นด้วย ตัวอย่างชัดเจน เช่น การตรวจสอบผลเอ็นทรานซ์ในช่วงที่ผ่านมา ก็ใช้ระบบอินเตอร์เน็ทในการตรวจสอบ ซึ่งสามารถให้ความสะดวกสบายและยังประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาการเดินทาง ด้วยเหตุนี้คนไทยจึงหันมาให้ความสนใจกับเทคโนโลยีการสื่อสารชนิดนี้เป็นอันมาก จนทำให้ผู้คนในสังคมต้องดิ้นรนใฝ่หาสิ่งเหล่านี้เพื่อมาตอบสนองความต้องการของตน ก่อให้เกิดกิเลสตัณหาเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว กลายเป็นความทุกข์ใจขึ้นได้
 
ครั้งหนึ่งหลังจากที่ได้ตั้งปรารถนาพุทธภูมิ สมเด็จพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า เคยเสวยพระชาติเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าสัตตุตาปนราธิราช" ทรงมีพระเดชานุภาพมาก ทรงปกครองไพร่ฟ้าประชาชนด้วยทศพิธราชธรรม องค์พระโพธิสัตว์ในภพชาตินี้ ทรงมีพระทัยรักใคร่ในหัตถีพาหนะคือช้างเป็นอันมาก หากแม้ทราบว่าที่ใดมีช้างลักษณะดีแล้ว ก็จะทรงมีพระอุตสาหะไปประทับแรมอยู่ ณ ที่นั้น จนกว่าจะจับมงคลคชสารได้ จึงจะกลับสู่พระนคร แล้วทรงมอบให้นายหัตถาจารย์ผู้ชำนาญเวทย์เป็นผู้ฝึกสอนช้างต่อไป
 
สมัยนั้น มีนายพรานผู้หนึ่งได้พบมงคลคชสาร ท่องเที่ยวอยู่ใกล้สระโบกขรณี จึงได้นำเรื่องไปกราบทูลเจ้าเหนือหัวเพื่อหวังได้ทรัพย์สินเงินทองเป็นการตอบแทน ครั้นพระราชาทรงทราบข่าวก็มีรับสั่งให้เตรียมพหลพาหนะออกเดินทางไปสู่ที่แห่งนั้น เมื่อทรงทอดพระเนตรเห็นมงคลคชสาร ก็ทรงโสมนัสดำรัสสั่งให้ทหารจับช้างนั้นไว้ให้จงได้ แล้วทรงนำกลับพระนครให้นายหัตถาจารย์เป็นผู้ฝึกสอนช้าง และมีพระราชโองการว่า
 
"ดูกรพ่อหัตถาจารย์ ! ในระหว่าง ๗ - ๘ วันนี้ ท่านจงเร่งฝึกสอนมงคลคชสารที่เราจับมาจากป่านี้ให้มีมารยาทอันดี เราจะเล่นนักขัตฤกษ์มหรสพด้วยมงคลหัตถีอันประเสริฐตัวนี้"
 
เมื่อนายหัตถาจารย์รับพระราชโองการแล้ว ก็รีบฝึกช้าง เมื่อครบ ๓ วันแล้ว ก็รีบนำมาถวายได้ตามกำหนด ครั้นพอถึงวันนักขัตฤกษ์พระราชาก็สั่งให้ประดับมงคลคชสารนั้น ด้วยมงคลหัสดาภรณ์พิเศษ แล้วเสด็จทรงมงคลคชสารนั้นออกว่าราชการและเสด็จทำประทักษิณพระนครคือเลียบเมืองเป็นที่สำราญพระราชหฤทัย และในคืนนั้นเองฝูงช้างป่าก็ได้เข้ามาในพระราชอุทยานทำลานพรรณพฤกษาชาติน้อยใหญ่ให้แหลกยับ มิหนำซ้ำยังถ่ายมูตรกรีสลงไว้ในที่นั้นเกลื่อนกลาดแล้วพากันหลีกไป พอรุ่งสางนายอุทยานเห็นเช่นนั้น ก็เข้าเฝ้าถวายกราบบังคมทูลเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อพระสัตตุตาปราชาทรงสดับเช่นนั้น ก็ตรัสสั่งให้เสด็จออกทอดพระเนตรอุทยาน
 

 
ในขณะนั้นพญามงคลคชสารบังเอิญได้สูดดมกลิ่นแห่งนางพังช้างตัวเมียทั้งหลาย ซึ่งยังมีกลิ่นติดอยู่ในที่นั่นก็เกิดความมัวเมาขึ้นมาภายใน ด้วยอำนาจราคะดำกฤษณาให้เกิดความเสียวกระสัน จึงสลัดกายให้นายควานท้ายตกลง แล้วคลุ้มคลั่งแทงทำลายกำแพงอุทยานทลายลง แม้พระราชาจะทรงพระแสงขอคอเกี่ยวเหนี่ยวไว้ด้วยพละกำลัง ก็มิสามารถทำให้พญามงคลคชสารนั้นหมดความบ้าคลั่งและรู้สึกตัวกลัวเจ็บได้ ครั้นแล่นมาถึงป่าแล้วพระองค์ก็ได้รับความลำบากบอบช้ำ
 
กายหนักหนา จึงมีสติจึงโน้มเอากิ่งมะเดื่อเป็นหลักเกาะยึดเพื่อทรงกาย แล้วปล่อยให้พญาคชสารนั้นวิ่งแล่นเตลิดไป ข้างฝ่ายไพร่พลทหารทั้งหลายก็ไล่ติดตามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของตน จึงเร่งรีบตามรอยช้างมาจนถึงป่าใหญ่ แล้วร้องเรียกหาพระราชาเจ้า ครั้นเมื่อพบแล้วก็เชิญเสด็จรับพระองค์ลงมาจากคบพฤกษา และประโคมดุริยดนตรีเชิญพระองค์กลับสู่พระนคร เมื่อถึงพระนครแล้วก็ทรงดำรัสสั่งให้นำนายหัตถาจารย์เข้ามาเฝ้า แล้วตรัสถามว่า
 
"ดูกร นายหัตถาจารย์ผู้เจริญ ! ตัวท่านนี้มีความผิด ด้วยประสงค์จะใคร่ฆ่าเราเสียมิใช่หรือ ?" นายหัตถาจารย์จึงกราบทูลว่า
 
"ข้าแต่พระราชาผู้เป็นใหญ่ ! เหตุไฉนพระองค์จึงดำรัสกับข้าพเจ้าเช่นนี้เล่า ? เหตุที่ทำให้พญาหัตถีมีอันวิปริตเป็นเช่นนั้น เป็นเพราะอำนาจความเร่าร้อนแห่งราคะกิเลส แม้ได้สมความต้องการของตนแล้ว ก็คงจะกลับมาดอกพระเจ้าข้า" เมื่อสดับดังนั้นแล้วก็ให้ควบคุมตัวนายหัตถาจารย์ไว้ก่อนเพื่อรอคอยให้พญามงคลคชสารนั้นกลับมา
 
ส่วนพญาช้างเมื่อได้สำเร็จมโนรถกับนางพังช้างแล้วก็รีบกลับเข้าไปในเมืองที่ตนอยู่ พอถึงรุ่งเช้านายหัตถาจารย์ตื่นขึ้นมาเห็นมงคลคชสารยืนอยู่ในโรงแล้ว ก็รีบเข้าไปกราบทูลพระราชา พระองค์จึงรีบเสด็จมาโดยด่วนที่โรงช้าง และมีพระดำรัสว่า
 
"เออ... ก็มงคลราชหัตถี ท่านสามารถฝึกสอนให้รู้ดีถึงเพียงนี้แล้ว เหตุไฉนวันนั้น เรากดเหนี่ยวไว้โดยแรงด้วยพระแสงขออันคมยิ่ง ยังไม่สามารถที่จะห้ามได้ มันเป็นเพราะเหตุใดหนอ ?"
 
ท่านอาจารย์ช้างผู้ขมังเวทย์ได้ทีจึงรีบทูลตอบว่า "ขึ้นชื่อว่าราคะดำกฤษณานี้ ย่อมมีคมเฉียบแหลมยิ่ง เกินกว่าคมแห่งพระแสงขอเป็นร้อยเท่าพันทวี อนึ่ง ถ้าจะว่าข้างร้อนเล่า ขึ้นชื่อว่าร้อนแห่งเพลิงคือราคะดำกฤษณานี้ ย่อมร้อนรุ่มอยู่ในทรวงของสัตว์บุคคลอย่างเหลือร้อน ยิ่งกว่าความร้อนแห่งเพลิงตามปกติเป็นไหนๆ อนึ่ง ถ้าจะว่าไปข้างเป็นพิษเล่า ขึ้นชื่อว่าพิษคือราคะดำกฤษณานี้ ย่อมมีพิษซึมซาบฉุนเฉียวเรี่ยวแรงรวดเร็วยิ่ง เกินกว่าพิษแห่งจตุรพิธภุชงค์ คือ พิษแห่งพญานาคราชทั่งสี่ชาติสี่ตระกูลเป็นไหนๆ เพราะเหตุนี้พระองค์จึงมิสามารถหยุดยั้งด้วยกำลังพระแสงขอได้ พระเจ้าข้า !"
 
"แล้วไฉนพญาคชสารนี้ จึงกลับมาโดยลำพังใจของตนเอง" พระราชาทรงถามขึ้นหลังจากที่ฟังนายหัตถาจารย์อธิบายเป็นเวลานาน
"การที่พญาคชสารกลับมาในครั้งนี้ ใช่ว่าจะมาโดยเจตนาก็หาไม่ แต่เป็นเพราะกำลังอำนาจมนตรามหาโอสถของข้าพระพุทธเจ้า !"
 
เมื่อทรงสดับดังนั้นแล้ว พระองค์จึงตรัสสั่งให้นายหัตถาจารย์แสดงกำลังมนต์มหาโอสถให้ทรงทอดพระเนตร ส่วนนายหัตถาจารย์ก็ได้ให้บริวารไปนำเอาก้อนเหล็กก้อนใหญ่มา แล้วให้ช่างทองเอาใส่เตาสูบ เผาด้วยเพลิงให้ก้อนเหล็กนั้นสุกแดงแล้วจึงเอาคีมคีบออกจากเตา เรียกพญาช้างเข้ามาแล้วร่ายมนต์ พลางบังคับให้คชสารจับเอาก้อนเหล็กแดงนั้นด้วยคำกำชับสั่งว่า
"ดูกรพญานาคินทร์ผู้ประเสริฐ จงหยิบเอาก้อนเหล็กนั้น ณ บัดนี้ แม้นเรายังไม่ได้บอกให้วาง ท่านจงอย่าได้วางเลยเป็นอันขาด"
 

 
ครั้นพญาช้างได้ฟังคำสั่งบังคับ ก็ยื่นงวงออกมาจับเอาก้อนเหล็กที่ลุกเป็นไฟ แม้ว่าจะร้อนงวงเหลือหลายจนงวงไหม้เป็นเปลวควันขึ้นก็ดี ก็ไม่อาจจะทิ้งก้อนเหล็กนั้นเสียได้ด้วยกลัวต่ออำนาจมนตราของนายหัตถาจารย์เป็นกำลัง เมื่อพระราชาทอดพระเนตรเห็นงวงพญาช้างถูกเพลิงไหม้เช่นนั้น ก็ทรงสงสารเวทนาและเกรงพญาช้างจะถึงแก่ความตาย จึงดำรัสสั่งให้นายหัตถาจารย์บอกให้พญาช้างทิ้งก้อนเหล็กนั้นเสีย ทรงหวนคิดถึงอำนาจราคะดำกฤษณาของพญาช้าง พร้อมกับคำชักอุปมาอธิบายของนายหัตถาจารย์ ทรงยิ่งสังเวชในใจหนักหนา จึงเปล่งสังเวชเวทีว่า
 
"โอหนอ น่าสมเพชหนักหนา ด้วยฝูงสัตว์มาติดต้องข้องขัดอยู่ด้วยราคะดำกฤษณา อันมีพิษพิลึกน่าสะพรึงกลัวร้ายกาจยิ่งนัก ราคะคือความกำหนัดนี้ย่อมมีมหันตโทษมหาศาล เพราะเพลิงราคะมีกำลังหยาบช้ากล้าแข็ง ร้อนรุ่มสุมทรวงสัตว์ทั้งหลายอยู่อย่างนี้ สัตว์ทั้งหลายจึงต้องถูกกิเลสราคะย่ำยีบีฑา นำทุกข์มาทุ่มถมให้จมอยู่ในอู่แอ่งอ่าวโลกโอฆสงสารไม่มีวันสิ้นสุดลงได้ เพราะราคะกิเลสนี้แล สัตว์ทั้งหลายจึงต้องไปตกหมกไหม้อยู่ในมหานรกทั้งแปดขุม และสัตว์ทั้งหลายบางหมู่ต้องไปเกิดอยู่ในกำเนิดเดียรัจฉาน สัตว์ทั้งหลายต้องบ่ายหน้าไปสู่อบายภูมิ ก็เพราะราคะดำกฤษณานี้เป็นประการสำคัญ สัตว์ทั้งหลายที่เบียดเบียนบีฑาซึ่งกันและกันก็เพราะอำนาจดำกฤษณา ทำให้ต้องระทมตรมทุกข์ถึงซึ่งความพินาศนานับประการ ไม่เว้นแม้แต่บุตรธิดา มารดาบิดา ภรรยาสามีที่รักเป็นหนักหนา ก็ยังต้องเบียดเบียนบีฑาฆ่ากันเพราะอำนาจดำนี้มานักต่อนัก มิใยถึงคนอื่นที่มิใช่ญาติเล่า ก็ยิ่งฆ่ากันเป็นมีอำนาจดำกฤษณานี้เป็นเหตุพื้นฐาน บางครายอมจ่ายทรัพย์สินไปในทางไร้ประโยชน์ บางทียอมเสื่อมจากยศและเกียรติคุณ บางทีย่อมประกอบกรรมอกุศลทำให้สิ้นสุข และเมื่อจิตใจเบือนจากกุศลย่อมไปสู่ทุคติภพ บางทีให้ลุอำนาจแก่ ความโลภ โกรธ หลง จนต้องเจริญโทษทุกภพทุกชาติที่เกิด ให้ถือกำเนิดในอบายภูมิทั้งสี่ เพียงเท่านี้ก็หาไม่ บางคราย่อมทำตนให้พินาศจากศีลสมาทาน บางกาลทำให้คนเสื่อมจากฌานภาวนาสมาธิจิตเป็นนิจกาล ราคะกิเลสจึงเป็นเหตุให้เกิดทุกข์มหันตโทษให้เสวยทุกขเวทนา เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายต้องมีความเศร้าหมองต่างๆ มากมาย"
 
เมื่อตรัสเช่นนั้นแล้ว ก็มอบรางวัลให้แก่นายหัตถาจารย์เป็นอันมาก แล้วคำนึงในพระราชหฤทัยว่า "สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้จักพ้นจากอำนาจราคะดำกฤษณาอันเป็นทุกขภัยในวัฏฏะนี้ได้ด้วยประการใด?" แล้วจึงเห็นแจ้งในพระราชหฤทัยว่า ธรรมทั้งหลายอื่นนอกจาก "พุทธกรณธรรม" แล้ว ก็ไม่เห็นว่าสิ่งอื่นจะเปลื้องตนให้พ้นจากวัฏสงสารได้ ดังนั้นพระองค์จึงหยั่งพระราชหฤทัยลงเที่ยงแท้ถือเอาพระพุทธภูมิปณิธานว่า
 
"เราได้ตรัสรู้ซึ่งพระโพธิญาณแล้ว ก็จักทำสัตว์ทั้งหลายให้รู้ด้วย เราพ้นจากทุกข์ในวัฏสงสารเมื่อใด ก็จักทำสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากทุกข์ในวัฏสงสารเมื่อนั้นด้วย"
 
ครั้นทรงกระทำปณิธานปรารถนาเฉพาะพระพุทธภูมิในพระราชหฤทัยด้วยประการฉะนั้นแล้ว ก็ทรงสละราชสมบัติ ดำรงเพศเป็นพระดาบสบำเพ็ญพรตปฏิบัติชอบอยู่ตราบสิ้นอายุขัยแล้วก็ได้ขึ้นไปบังเกิดในสวรรค์เทวโลกเสวยสุขอยู่สิ้นกาลนาน และองค์สมเด็จพระนราธิบดีสัตตุตาปราชา กลับชาติมาเกิดคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศรีศากยมุนีโคดมบรมครูเจ้า ของชาวเราพุทธบริษัททั้งหลาย พญามงคลคชสาร กลับชาติมาเกิดในชาติสุดท้าย คือพระมหากัสสปเถระเจ้าสังฆวุฒาจารย์ ซึ่งเป็นพระมหาเถระอรหันต์สำคัญที่สุดองค์หนึ่งในศาสนาพุทธ ส่วนนายหัตถาจารย์ กลับชาติมาเกิดในชาติสุดท้าย จักได้ตรัสเป็น สมเด็จพระมิ่งมงกุฎศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งจักมาตรัสในอนาคตกาล หลังจากศาสนาของสมเด็จพระศรีศากยมุนีโคดมบรมครูเจ้า เสื่อมสลายสูญไปจากโลกนี้แล้ว และเมื่อพระศรีอาริยเมตไตรยได้ตรัสรู้ประกาศพระศาสนาแล้ว คราวหนึ่งพระองค์จักเสด็จไปที่ภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพต อันเป็นที่บรรจุศพของพระมหากัสสปเถรเจ้า แล้วพระองค์จักทรงยื่นพระหัตถ์เบื้องขวาช้อนเอาซากศพของพระสังฆวุฒาจารย์อรหันต์กัสสปะนั้น ขึ้นชูไว้บนฝ่าพระหัตถ์ อันประกอบด้วยจักรลักษณะแล้ว จะมีพุทธฏีกาตรัสแก่พระอริยสงฆ์ทั้งหลายว่า
 
"ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! เธอจงพากันมองดูซึ่งซากศพนี้ นี่คือศพของผู้เป็นพี่ชายของตถาคต ซึ่งเป็นสาวกใหญ่ในศาสนาของสมเด็จพระมิ่งมงกุฎศรีศากยโคดมบรมครูเจ้า (สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรย เคยบวชเป็นพระภิกษุในสมัยพุทธกาลมีนามว่า อชิตภิกษุ เป็นภิกษุที่มีพรรษาน้อย ฉะนั้น พระองค์จึงเรียกพระมหากัสสปเถระเจ้าด้วยคำกล่าวออกนามว่า พี่ชายของตถาคต ในกาลครั้งนั้น) มีนามว่าพระอริยกัสสปะเถระ เป็นผู้ทรงคุณพิเศษโดยถือธุดงควัตร จนตราบเท่าดับขันธปรินิพพาน" เมื่อมีพุทธฎีกาตรัสแนะนำดังนี้แล้ว สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยก็ทรงสรรเสริญคุณแห่งพระมหากัสสปเถระเจ้าต่อหน้าพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ในขณะนั้น เปลวอัคคีก็จะบันดาลมีเกิดขึ้นในซากอสุภะของพระเถรเจ้า แล้วค่อยลามเลียลุกไหม้ศพให้สิ้นซากปราศจากเถ้าถ่านอยู่บนฝ่าพระหัตถ์ของสมเด็จพระสรรเพชญ์ศรีอาริยเมตไตรยเป็นอัศจรรย์
 
หากแม้นบุคคลใดที่ได้เกิดอยู่ภายใต้ร่มแห่งบวรพระพุทธศาสนา ได้สดับตรับฟังพระธรรมแล้ว นับได้ว่าเป็นผู้มีบุญประเสริฐยิ่งนัก เหมือนดั่งพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า ผู้ดื่มด่ำในรสพระธรรม ย่อมมีใจผ่องแผ้วเป็นสุข บัณฑิตย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้าประกาศแล้ว ในกาลทุกเมื่อ
 
http://chaokhun.kmitl.ac.th/buddhism/n7.html
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.522 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 04 เมษายน 2567 15:18:33