[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 12:59:24 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: นกแร้ง สัปเหร่อ กับ การฌาปนกิจศพ แบบธิเบต เชิญปลงธรรมสังเวช  (อ่าน 11196 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 15 มิถุนายน 2553 21:26:54 »


 

 




 


 



 


 

 

 


 


 


 

 
เอามาจากลิ้ง นี้จ้า
 
http://board.trekkingthai.com/board/show.php?forum_id=2&topic_no=182298&topic_id=184613&&page=2

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2553 21:34:42 »


 
 
ดอมเด : คนเลี้ยงนก (แร้ง)
 
 
 
เรื่องการกำจัดศพในวัฒนธรรมทิเบต เป็นเรื่องที่แปลกไปจากการกำจัดศพในวัฒนธรรมอื่นๆ วัฒนธรรมจีนนิยมการฝัง แต่ชาวทิเบตกลับเห็นว่าการฝังนั้นศพจะเน่า หนอนขึ้นพรึบพรับนับหมื่นตัว แล้วหนอนก็จะตายไปกับศพ ส่วนการเผานั้นก็เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะดินแถบทิเบตนั้นแห้งแล้ง ไม้ที่จะใช้ในการหุงต้มอาหารเพื่อยังชีวิตก็ยังหาได้ยาก นับประสาอะไรกับการที่เอาฟืนมาใช้ในการเผาศพ
 
ทิเบตจึงเลือกกำจัดศพโดยวิธีธรรมชาติ โดยการสับเป็นชิ้นๆ ให้เป็นอาหารเลี้ยงนกแร้ง
ตรงนี้เองที่ดอมเดเข้ามามีบทบาท
 
ดอมเด คือสัปเหร่อ และคนจัดการศพ ตั้งแต่แบกไปจากวัดขึ้นเขาไปยังจุดที่จะกำจัดศพ ซึ่งต้องเดินไป ๓ - ๔ ชั่วโมง วัดดรีกุง เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดวัดหนึ่งในทิเบต อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของนครลาซา คณะของเรา ๑๕ คนเป็นชาวไทย ๑๓ คน ไกด์ชาวทิเบต ๑ คน และคนขับรถชาวทิเบตอีก ๑ คน ออกเดินทางจากลาซา นครหลวงของทิเบตเวลา ๖ .oo น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๔ ชั่วโมงถึงวัดดรีกุงประมาณ ๑o.oo น.
 
พวกเราจอดรถบนถนน เงยหน้าขึ้นไปมองเห็นวัดดรีกุงตระหง่านอยู่บนเทือกเขาสูง ทางด้านตะวันตกของวัด อีกยอดเขาหนึ่งเป็นสุสานของวัดและวัดนี้ ได้ชื่อว่าเป็นวัดที่ชาวทิเบต จะเพียรพยายามนำศพมาทำพิธีที่นี่
 
ดูความสูงของเทือกเขาแล้วเราใจแป้ว ทุกคนในคณะยังปรับตัวกับสภาพอากาศที่มีออกซิเจนน้อยไม่ได้ แม้เพียงเดินเข้าห้องน้ำถูฟันก็ยังเหนื่อยแทบแย่ ถ้าจะให้เราเดินขึ้น คงเป็นไปไม่ได้ ไกด์บอกว่ารถจะขึ้นไปถึง รถเราวิ่งเลยวัดไปมากแล้วตีวงย้อนขึ้น ไต่เขาไปตามถนนพับไปมา
 
วัดนี้อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ๔,๒oo เมตร สูงกว่าลาซา ถึง ๖oo เมตร อากาศหนาวเย็นจัดมาก ปกติในช่วงเดือนเมษายน ช่วงเช้าและเย็น อุณหภูมิลบ ๑๘ องศาเซลเซียส วันที่เราไปถึงช่วงสายนั้นอุณหภูมิ ลบ ๓ องศาเซลเซียส พวกเราทุกคนใส่เสื้อผ้าทุกตัวที่นำไป ทั้งหมวกทั้งถุงมือ ทั้งโค้ต แม้กระนั้นก็ยังหนาวจัด
 
ทันทีที่ไปถึง เราได้เข้าร่วมในพิธีทำศพของทิเบตโดยที่ไม่ได้คาดหมาย
 
มีศพตั้งอยู่กลางลานวัด ๖ ศพ ทุกศพห่อและมัดด้วยผ้าขาว ศพส่วนใหญ่ อยู่ในท่านั่ง มีศพเดียวที่อยู่ในแคร่หามท่านอน อีกศพหนึ่งเห็นน้ำเหลืองน้ำหนองไหลทะลุผ้าที่ห่อออกมา มีไม้ทำเป็นคานหามสอดอยู่กับเชือก เพื่อยกและแบกศพ
 
พระ ๔o รูป นั่งล้อมเป็นครึ่งวงกลม มีองค์หนึ่งที่เป็นประธานนั่งอยู่ตรงกลาง เบื้องหน้าเป็นศพ ๖ ศพ วางเรียงกันอยู่
 
มีสุนัขของวัดนอนผึ่งแดดอยู่ร่วม ๑o ตัว นกบินโฉบอยู่เบื้องบน เพื่อรออาหาร
 
ภิกษุณีธัมมนันทา นำผ้าขะตะไปมอบให้ญาติของผู้ตาย เพื่อวางไว้บนศพ
 
ศพหนึ่งนั้นดูจะมีฐานะดีกว่าเพื่อน มีผ้าขะตะพาดอยู่เป็นจำนวนมาก
 
พิธีที่พระทำเรียกว่า "โพวา" คือพิธีส่งวิญญาณผู้ตายให้ไปสู่สุคติ วิญญาณของผู้ตายถ้าทำพิธีโพวาสำเร็จ จะออกจากทางกะโหลกศีรษะ
 
คนเดียวที่จะรู้ว่าวิญญาณผู้ตาย ทำพิธีโพวาสำเร็จหรือไม่ คือ ดอมเด !
 
ดอมเด จึงเป็นบุคคลสำคัญที่สุดในการทำพิธีศพ
 
ขอให้ติดตามอ่านต่อไป
 
พระสวดอยู่ประมาณครึ่งชั่วโมง เมื่อเสร็จพิธีญาติของผู้ตายจะจัดการให้ดอมเดแบกศพทุกศพ ใส่บ่าโดยใช้เชือกมัดพาดบนไหล่ทั้ง ๒ ข้าง
 
เมื่อดอมเดแบกศพขึ้นบ่าได้แล้วพวกญาติๆ ซึ่งเป็นผู้ชายล้วนก็จะกลับ
 
ญาติผู้หญิงจะไม่มาร่วมในพิธีศพ เพราะถือว่าต่ำต้อยเกินไป
 
อีกชั่วโมงหนึ่งต่อมา เราเห็นดอมเดแบกศพอยู่บนภูเขาเหนือเราขึ้นไป เพื่อเดินไปที่ลานสุสานซึ่งอยู่บนเขาอีกลูกหนึ่งทางตะวันตกของวัด ใช้เวลาเดินประมาณ ๓ - ๔ ชั่วโมง
 
แต่ละศพจะมีดอมเดและผู้ช่วยอีก ๑ คน ดูแล
 
เมื่อดอมเดแบกศพไปถึงสุสาน ซึ่งเป็นลานกว้างบนไหล่เขา จะจัดการเอาผ้าห่อศพออก ศพแต่ละศพไม่ใส่เสื้อผ้า อยู่ในสภาพแรกเกิด ทั้งนี้ในภาคปฏิบัติคงจะทำให้งานของดอมเดสะดวกขึ้น
 
นกแร้งบินว่อนตั้งแต่ตอนทำพิธีโพวาที่วัดแล้ว
 
ดอมเดแต่ละคนจะจัดการทำศพของตนเสร็จภายในครึ่งชั่วโมง
 
สิ่งแรกที่ดอมเดทำคือ กรีดที่ศีรษะแนวหน้าผาก เพื่อถลกหนังศีรษะออกตรวจดูกะโหลกตรงขวัญว่ามีรูหรือไม่ ถ้ามีรูแสดงว่าพิธีโพวาสำเร็จ คือช่วยส่งวิญญาณออกทางศีรษะเป็นสัญลักษณ์ส่งว่าวิญญาณไปสู่สุคติ
 
ถ้าวิญญาณไม่ออกทางศีรษะ ก็ต้องออกทางทวารอื่นต่ำลงไปคือไม่ไปสู่สุคติ
 
สำหรับศพที่ทำโพวาสำเร็จ ดอมเดจะจัดการทำลายสัญลักษณ์บนใบหน้าของศพ คือลอกหนังบนใบหน้าลงมาเสีย จากนั้นตัดเนื้อเป็นชิ้นๆ
 
นกแร้งที่เป็นหัวหน้าฝูงจะได้ชิมก่อนเพื่อน ในฝูงที่พญาแร้งมีอำนาจและควบคุมนกในฝูงได้ นกทุกตัวจะอยู่ในอาการสงบ และเคารพอาวุโส การกินก็จะกินตามลำดับอาวุโส เมื่อดอมเด ซึ่งตอนนี้ทำหน้าที่เป็นผู้เลี้ยงนก แจกจ่ายเนื้อจนหมดแล้ว เลือดและสมองจะผสมกับแป้งซัมปาคือแป้งจากข้าวบาร์เลย์ ส่งให้พญ้าแร้ง ตรงนี้เป็นอาหารที่ประเสริฐที่สุด
 
กระดูกเล็บและฟันจะตำแล้วผสมกับซัมปา เลี้ยงนกทั้งหมด หินที่ใช้เป็นสากในการตำกระดูกนี้จะต้องมาจากภูเขาไกรลาสซึ่งถือว่าเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ส่วนมีดของดอมเดนั้นมีหลายชนิด จะมีมีดศักดิ์สิทธิ์ที่สืบมาในตระกูล ทำด้วยเงิน
 
การกินอาหารของนกแร้งนั้นขึ้นอยู่กับตัวหัวหน้าฝูง ถ้าไม่ใช่ดอมเดที่นกรู้จัก นกก็จะไม่กินอาหาร
ถ้าคนตาย ตายด้วยยาพิษ หรือเสพสุรา หรือเจ็บเป็นเวลานาน ใช้ยามามาก นกก็จะไม่กินเนื้อของศพนั้นๆ ทั้งหมดนี้ พญาแร้งจะเป็นผู้นำ
 
ในกรณีนี้ ดอมเด ต้องใช้วิธีเผา แต่ละศพ ซึ่งต้องมีการเตรียมฟืนไว้ล่วงหน้า โดยดอมเดจะแบกฟืนขึ้นมาเตรียมไว้ที่ลานสุสานล่วงหน้า ๑ วัน
 
ความสัมพันธ์ของดอมเดกับนกแร้ง จึงเป็นความสัมพันธ์พิเศษ
 
ดอมเดเป็นผู้กำความลับของผู้ตายว่าตายไปดีหรือไม่ จากการตรวจดูที่กะโหลกศีรษะว่าทำพิธีโพวาสำเร็จหรือไม่
 
ข้อมูลนี้เราได้จากคนที่เคยทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยดอมเด ซึ่งได้รับการยืนยันว่าดอมเดเป็นผู้ที่ได้รับความเคารพนับถืออย่างมาก
 
ย้อนกลับไปเมื่อมีการตายเกิดขึ้นในครอบครัว ญาติ พี่น้อง จะนิมนต์พระอาจารย์สวดที่ศพ ๓ วัน จะตั้งศพไว้ที่ห้องพระ ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าตายจริง เพราะเคยมีเรื่องเล่าว่ามีผู้ฟื้นขึ้นมาหลังจากไม่มีลมหายใจและชีพจรหยุดเต้นไปแล้ว ๒ - ๓ วัน โดยที่ไม่ได้จัดการกับศพ ในการฉีดยารักษาศพ ฯลฯ
 
หลังจากนั้นเมื่อครบ ๓ วัน ดอมเดจะจัดการมัดศพ ให้อยู่ในท่านั่ง ขัดแข้งขัดขามัดให้เล็กสุด เพื่อสะดวกในการแบกขึ้นบ่า เสร็จแล้วยกขึ้นรถ ญาติจะพาไปที่วัดดรีกุง เพื่อให้พระทำพิธีสวดส่งวิญญาณ ที่เล่าให้ฟังไปแล้วข้างต้น
 
ทั้งหมดนั้น เป็นการกำจัดศพของผู้ใหญ่
 
สำหรับศพเด็กจะมีวิธีการกำจัดอีกแบบหนึ่งคือ นำไปผูกไว้กับต้นไม้ ให้เป็นอาหารนกหรือโยนลงน้ำในแม่น้ำพรหมบุตร เพื่อให้เป็นอาหารปลา ตรงนี้ก็ต้องให้ดอมเดเข้ามาจัดการให้เหมือนกัน
บนเส้นทางที่เราไปวัดนั้น ไกด์จะชี้ให้ดูว่าจุดไหนเป็นจุดที่ชาวทิเบตนิยมนำศพเด็กมาทิ้ง สังเกตได้จากธงมนต์ที่ปักอยู่บนแนวเขา ริมแม่น้ำพรหมบุตร
 
การจ้างวานดอมเดนั้น จะต้องเสียเงินให้กับดอมเดตามฐานะของญาติผู้ตาย แต่อัตราทั่วๆ ไปอยู่ที่ ๕oo หยวนต่อศพ (ประมาณ ๒,๕oo บาท)
 
อาจารย์ท่านหนึ่งที่ไปในคณะออกปาก ทันทีที่กลับถึงประเทศไทย
 
สิ่งแรกที่จะต้องทำคือพินัยกรรม เพราะไปทิเบตครั้งนี้ได้เห็นสัจธรรม เกิดมรณานุสสติอย่างเป็นรูปธรรมที่สุด ชีวิตที่เพียรสร้างสม ชิงดีชิงเด่นกันทั้งชีวิต ท้ายที่สุดไม่มีอะไรเลย ต้องถูกเขาสับเป็นชิ้นๆ เลี้ยงนกแร้ง เท่านั้นเอง
 
มิหนำซ้ำถ้ามีบาปหนักวิญญาณออกจากร่างไม่ได้ แม้นกก็ยังไม่กินเนื้อเลย
 
ชีวิตนี้จึงควรเพียรทำความดีให้เต็มที่
 
นกแร้งเมื่อได้กินอาหารจนเต็มที่แล้ว จะพากันเดินเป็นขบวนขึ้นเขาไป ใช้เวลาเดินถึง ๕ ชั่วโมง เป็นการแสดงความขอบคุณ แล้วจึงบินขึ้นสู่ท้องฟ้า
 
ลูกทัวร์ของเราขัดคอว่า น่าจะเป็นเพราะมันอิ่มจนบินไม่ขึ้นกระมัง อีกคนหนึ่งแสดงความชื่นชมว่า นกแร้งรู้จักเดินย่อยอาหาร หลังจากกินอิ่มแล้ว จึงไม่เห็นนกแร้งอ้วน ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลใด ภาพที่แร้งทั้งฝูงเดินเป็นขบวนขึ้นเขาถึง ๕ ชั่วโมง เป็นสิ่งที่น่าประทับใจจริงๆ
 
ชาวทิเบตหลายคนเชื่อว่า นกแร้งเป็นเทพเจ้าชนิดหนึ่ง จึงให้ความเคารพ ไม่มีการทำร้าย
 
นกแร้งเป็นสัญลักษณ์ควบคู่ไปกับวัดที่มีบริการกำจัดศพ ดังนั้น วัดที่ทำพิธีกำจัดศพจึงต้องเป็นวัดที่อยู่บนภูเขา ห่างไกลจากชุมชนเมือง ที่วัดกานเด็น และวัดเซร่า ซึ่งเป็นวัดหลักของทิเบตล้วนอยู่บนภูเขาสูง และมีลานกำจัดศพอยู่บนเนินเขาใกล้ๆ กันทั้งสิ้น
 
- คัด จาก หนังสือ ธรรมลีลาจากศรีลังกาไปทิเบต โดย ภิกษุณีธัมมนันทา-
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 กันยายน 2559 09:46:53 โดย มดเอ๊ก » บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2553 21:35:11 »






 
เมื่อนกแร้งไร้ผู้นำ
 
 
ตอนที่ผ่านมาแล้วได้เล่าถึงความสัมพันธ์ของดอมเด หรือที่เราเรียกว่าสัปเหร่อ ว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดอย่างไรแล้ว ตอนนี้จะเล่าถึง สภาพการณ์ปัจจุบันที่เริ่มเปลี่ยนไปในทิเบต

สภาพทางภูมิศาสตร์ที่เป็นภูเขาสูงอยู่บน " หลังคาโลก " อากาศหนาวเย็น พืชผลไม้จำกัด ชาวธิเบตโดยทั่วไปปลูกได้เพียงข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และมันฝรั่งเป็นหลัก อาหารอย่างอื่นมาจากจามรีตั้งแต่นม เนย และแม้เนื้อจามรี

เรื่องการกำจัดหรือจัดการกับศพจึงไม่สามารถเผาได้เหมือนประเทศในที่ราบ ซึ่งอุดมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เช่น ไม้ฟืน เป็นต้น ทิเบตจึงมีวิธีการกำจัดศพโดยธรรมชาติ เหมือนพวกเอสกิโม ที่อุทิศร่างกายให้เป็นอาหารของสัตว์ป่า แต่ทิเบตอุทิศร่างกายให้เป็นอาหาร ของนกแร้ง

นกแร้งจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทิเบต

นกแร้งต่างกับเหยี่ยวที่ไม่มีอุ้งเล็บที่แข็งแร็งที่จะไล่ล่าสัตว์เป็น ๆ ทั้งความรวดเร็วยังไม่พอ จึงต้องยังชีพอยู่ด้วยการกินอาหารจากซากศพ ที่ตายแล้วทั้งของสัตว์และมนุษย์

การฝึกนกแร้งจึงเป็นวัฒนธรรมเฉพาะของทิเบต

ดอมเด มีความสามารถในการฝึกนกแร้งเพียงใด นกแร้งก็จะมีระเบียบวินัยมากเท่านั้น

นกแร้งที่จะเป็นหัวหน้าหรือจ่าฝูง หรือพญาแร้ง เป็นตัวผู้เสมอ ทั้งนี้เพราะตัวเมียจะต้องรับผิดชอบหน้าที่ในการดูแลลูก

นกแร้งที่เป็นจ่าฝูงจะมีประสบการณ์ เพราะฉะนั้นอายุก็เป็นปัจจัยสำคัญ เป็นอายุที่สั่งสมมากับประสบการณ์ รู้ทิศทางลม รู้จักดอมเด ฝึกได้ มีกำลังวังชา และมีความสามารถในการต่อสู้ เพราะจะมีลูกน้อง คือ นกแร้งรุ่นใหม่ที่ยังไม่ได้อยู่ในระเบียบวินัย ที่จะแตกแถว จ่าฝูงต้องเป็นคนจัดการให้อยู่ในวินัย ตามที่ตนได้เคยฝึกมากับดอมเด

ดอมเด ก็เช่นเดียวกันกับนกแร้ง ดอมเดที่มีความสามารถก็ต้องเป็นคนมีอายุ เชี่ยวกรำกับการจัดการศพ และฝึกนกแร้ง

ความสัมพันธ์ระหว่างดอมเดกับนกแร้งที่ีเป็นจ่าฝูงจึงเป็นความสัมพันธ์ที่สำคัญยิ่ง

ดอมเดจะมีภาษาที่ใช้กับนกแร้ง ทั้งภาษาพูด และภาษากาย ที่จะคุ้นและสื่อกันได้ด้วยอาศัยความสัมพันธ์ที่ยาวนาน

จ่าฝูงที่สนิทกับดอมเด ดอมเดก็จะตั้งชื่อให้เหมือนเราตั้งชื่อสุนัข ชื่อนกแร้งที่ดอมเดตั้งให้เป็นชื่อเช่นเดียวกับคน เช่น พุนซุก ( ฟังดูเหมือน พูนสุข ) นอกจากนั้นก็อาจจะเรียกตามลักษณะ เช่น เจ้าบอด เพราะตาบอด หรือเจ้าง่อย เพราะขาพิการเป็นต้น

จากบทความเรื่องนกแร้งในทิเบต ผู้เขียนให้คอลัมน์ " วัฒนธรรม และศาสนา " ในนิตยาสาร " ทิเบต " เล่าว่าได้ไปสัมภาษณ์ดอมเด ๖ คน อายุต่างกันตั้งแต่ ๒๕ - ๘๘ พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างดอมเดและนกแร้งเริ่มเปลี่ยนไป

เมื่อดอมเดไม่เห็นสาระหรือความหมายทางจิตวิญญาณในการจัดการศพ ก็ไม่เห็นความสำคัญที่จะต้องฝึกปรือจ่าฝูงของนกแร้ง

ผลที่ได้ก็คือ นกแร้งลงเป็นฝูง ดอมเดยังไม่ทันจัดการกับศพ นกแร้งก็ลงมาจิกและยื้อแย่งศพเป็นชิ้น ๆ

ดอมเดที่เคยเป็นผู้กำความลับของผู้ตายว่า พิธีทำโพวา คือส่งวิญญาณสำเร็จหรือไม่ ก็ดูจะหมดความหมายไป เพราะยังไม่ทันจะถลกหนัง ศีรษะผู้ตายเพื่อตรวจดูลักษณะกะโหลกศีรษะว่ามีรูหรือไม่ ก็ถูกฝูงแร้งรุมเสียแล้ว

เมื่อดอมเดไม่ฝึกนกแร้ง ก็ไม่มีจ่าฝูง ตัวไหนมีแรงมากกว่าก็เข้ามายื้อมาฉวยเอา

จ่าฝูงสำคัญตรงนี้เอง คือต้องสามารถสร้างวินัยในหมู่คณะได้

เมื่อจ่าฝูงขาดวินัย บางครั้งก็พาฝูงนกแร้งตายเป็นเบือเหมือนกัน

สำหรับจ่าฝูงที่มีประสบการณ์ เมื่อดอมเดให้ชิมเนื้อศพ หากศพใช้ยามาหรือถูกยาพิษ จะเป็นอันตราย จ่าฝูงจะไม่กิน นกแร้งทั้งฝูงก็จะ ไม่กินศพนั้น ดอมเดจึงต้องหันกลับไปหาวิธีการกำจัดศพโดยการเผา

ในกรณีหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ นี้เอง ที่วัดโพลุงกา หลังจากที่นกแร้งจัดการกับศพที่ตายเพราะกินยาฆ่าหนูแล้วนกแร้งทั้งฝูง ๑oo ตัว ตายเรียบ

ที่เป็นเช่นนี้เพราะประการแรกไม่มีจ่าฝูงที่จะมีประสบการณ์รู้ว่าเนื้อเป็นอันตราย

หรือแม้มีนกแร้งในฝูงที่มีอายุและประสบการณ์ที่จะรู้ว่าเนื้ออันตราย แต่เนื่องจากดอมเดไม่ได้ฝึกให้เป็นจ่าฝูง นกแร้งตัวอื่น ๆ ขาดวินัยไม่ ปฏิบัติตาม จึงพากันมาตายเสียทั้งฝูงเช่นนี้

ต่อมาที่วัดจึงต้องซักประวัติของผู้ตายให้ละเอียดว่า โดนยาพิษหรือรักษาด้วยยามาเป็นเวลานาน ก็จะยกเว้นไม่กำจัดศพโดยให้เป็นอาหาร แก่นกแร้ง เพราะจะหวังพึ่งประสบการณ์ของจ่าฝูงไม่ได้อีกต่อไป

สำหรับจำนวนนกแร้งที่เป็นขาประจำของวัดต่าง ๆ ในบทความที่สำรวจนกแร้งรายงานว่าใน ๒ ปี ที่ผ่านมา จำนวนพลเมืองนกแร้งเพิ่มขึ้น ก่อน พ.ศ. ๒๕๓๘ ที่ลานสุสานวัดโพลุงกา มีนกประมาณ ๑๗o ตัว วัดเซร่ามีตำกว่า ๑oo ตัว วัดซิกุนตี้ มีมากกว่า ๓oo ตัว และวัดดีเก็น มี ๘o ตัว ขณะนี้รายงานวัดโพลุงกามีเพิ่มขึ้นเป็น ๓๕o ตัว เพิ่มขึ้นถึง ๑oo เปอร์เซ็น วัดเซร่ามี ๑๓o ตัว วัดซิกุนตี้มีมากที่สุดมี ๕๕o ตัว และวัดดีเก็นมี ๑๒o ตัว

พฤติกรรมของการครองชีวิตของนกแร้งนั้น เมื่อเริ่มคู่ครองกันแล้วก็จะอยู่กันจนตายจาก ! มนุษย์เราคงต้องเรียนรู้ เทคนิคการรักษาความ สัมพันธ์ที่ซื่อสัตย์และยั่งยืนเช่นนี้จากนกแร้ง
 
เมื่อตัวผู้ตัวเมียช่วยกันสร้างรังสำหรับวางไข่ในปีแรกแล้ว ปีต่อมาก็จะใช้รังเดิม เวลาตกไข่อีก โดยจะเสริมรังให้แข็งแรงขึ้นในแต่ละปี นกแร้งตกไข่ครั้งละ ๑ - ๒ ฟอง ไข่นกแร้งขนาดโตกว่าไข่ห่านที่เราเคยเห็นเล็กน้อยมีสีขาว-เทา มีจุดลายบนเปลือก เมื่อวางไข่แล้วทั้ง พ่อและแม่จะผลัดกันกกไข่ ใช้เวลา ๕๕ วัน จึงจะฟักเป็นตัว

นกแร้งชนิดนี้มีสีเดียวคือสีน้ำตาลและขาว ปลายปีกจะเป็นสีน้ำตาลแก่ เมื่อโตเต็มที่สูงประมาณ ๑ เมตร เมื่อกางปีกออก อาจจะกว้าง ถึง ๒ เมตร

ตัวผู้และตัวเมียคล้ายกันมาก ตัวเมียอาจจะขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เล็กน้อย ลูกที่เกิดใหม่เมื่อโตเต็มที่จะเหมือนกับตัวพ่อแม่ แต่ผู้เฝ้ามองจะรู้ ว่าตัวไหนเป็นลูก โดยสังเกตุจากพฤติกรรม เมื่อตามพ่อแม่มาหากินครั้งแรก มันจะยังเงอะงะ และไม่ค่อยทันเพื่อน ในขณะที่พ่อแม่ที่ต้อง เลี้ยงลูกอ่อน จะต้องเร่งทำเวลาเป็น ๒ เท่า เพราะจะต้องคาบอาหารไปป้อนลูกแล้วกลับมาหาอาหารสำหรับตัวเอง

ในงานวิจัยนี้พบว่า กางซุบ ซึ่งเป็นดอมเดที่มีอาวุโสที่สุดในวัย ๘๘ ปี เคยใช้ชีวิตเป็นดอมเดอยู่ถึง ๖๒ ปี เริ่มงานเป็นผู้ช่วยดอมเดตั้งแต่ วัยรุ่นอายุเพียง ๑๔ ปี ต้องทำงานอยู่กับนกแร้งแทบทุกวัน กางซุบเล่าว่า เวลานกแร้งขาดการฝึกฝน พอเปิดผ้าห่อศพออกเท่านั้น นกแร้ง ก็จะมาดึงทึ้งศพทันที คงเป็นประเภทที่ภาษาไทยเรียกว่า " ราวกับแร้งทึ้ง" กางซุบจึงฝึกจ่าฝูงไว้ เวลาจัดการศพยังไม่เสร็จ เขาจะเรียกจ่าฝูง มาช่วย จ่าฝูงจะเดินเข้ามาอย่างสง่าแล้วกางปีกออกกันฝูงนกแร้งไว้ให้ดอมเดจัดการกับศพ เมื่อจัดการศพเรียบร้อยแล้ว จึงส่งเนื้อชิ้นแรกให้ กับจ่าฝูง จากนั้นนกตัวอื่นจึงเข้ามาจัดการกับส่วนที่เหลือ

สิ่งที่เปลี่ยนไปคือ บัดนี้ ดอมเดก็ขาดความสัมพันธ์ที่จะฝึกหัดอบรมแร้ง และเพราะลานสุสานต้องเดินขึ้นไปบนเขานาน ๓ - ๔ ชั่วโมง คนปกติไม่มีใครตามขึ้นไป ดอมเดจะจัดการกับศพดีหรือไม่ ก็ไม่มีใครรู้

โลคาร์ ดอมเดผู้เฒ่าวัย ๗๖ ยังคงทำงานประจำอยู่ที่วัดเซร่า เมื่อถามถึงบทบาทของดอมเดในปัจจุบัน เขาฟันธงว่า " ดอมเดสมัยใหม่สนใจ เรื่องรายได้อย่างเดียว ไม่มีความอดทน ไม่ให้เวลาที่จะเรียนรู้และฝึกอบรมแร้ง ดอมเดต้องเป็นคนฝึกแร้ง ขาดการฝึกฝน ขาดวินัย ก็ไรผู้นำ ไร้พญาแร้ง "

ความสัมพันธ์ระหว่างแร้งกับดอมเด เป็นวัฒนธรรมของชาวทิเบต เมื่อชาวทิเบตเองเปลี่ยนไป นกแร้งก็เปลี่ยนไป

นกแร้งที่ขาดภาวะผู้นำ ก็กลับไปสู่สุภาษิตไทยที่ว่า " ราวกับแร้งลง " หรือ ใครดีใครอยู่ มือใครยาวสาวได้สาวเอา

ในท้ายที่สุดเมื่อขาดพญาแร้ง หรือหัวหน้าฝูง แร้งก็จะหายไปเป็นฝูง ๆ เหมือนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่วัดโพลุงกา แร้งตายทั้งฝูง เพราะหัวหน้าด้อยประสบการณ์
 
 
- คัด จาก หนังสือ ธรรมลีลาจากศรีลังกาไปทิเบต โดย ภิกษุณีธัมมนันทา-

http://board.agalico.com/showthread.php?p=176873#post176873

http://www.buddhayan.com/board.php?subject_id=288
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 กันยายน 2559 09:47:32 โดย มดเอ๊ก » บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 17 มิถุนายน 2553 20:04:56 »













พิธีศพแบบนี้เขาเรียกกันว่า "เผาฟ้า" ซึ่งเป็นพิธีศพของชาวธิเบต หรือแม้แต่แถวแซงกรีล่าของจีนก็ทำ ซึ่งพิธีศพนั้นเขาจะทำกันหลายแบบคือ

1."เผาฟ้า" โดยการนำศพของผู้ตายขึ้นไปยังที่สูงหรือบนยอดเขา แล้วเอาศพนอนไว้พร้อมกับใช้มีดแล่ศพออกเพื่อเปิดทางให้กับอีแร้งมากินได้ง่าย หากศพไหนอีแร้งกินไม่หมดถือว่าเป็นคนมีปาบ หากศพไหนอีแร้งกินหมดถือว่าเป็นคนมีบุญ

2. "เผาป่า" โดยการนำศพผู้ตายเข้าไปในป่าลึกแล้วห้อยศพผู้ตายไว้กับต้นไม้ เพื่อให้สิงห์สาราสัตว์ออกมากินศพจนเหลือแต่กระดูก

3. "เผาน้ำ" โดยการนำศพผู้ตายมามัดแล้วโยนลงน้ำเพื่อให้เป็นอาหารปลา ซึ่งคนแถบธิเบตนั้นจะไม่กินปลาเลย

3. "เผาดิน" โดยการนำศพของผู้ตายนั้นไปฝังในดินซึ่งปัจจุบันนี้หาที่ฝังยากมาก


ตอนผมไปเที่ยวแซงกรีล่าก็ได้ฟังได้ยินเรื่องนี้มาครับ มันเป็นพิธีกรรมของงานศพเขาครับ ดูๆไปอาจโหดร้ายเสียหน่อยที่จริงแล้วมันก็ธรรมดานี่ละครับ เมื่อแร้งกินไม่หมดเขาก็จะมีคนมาเลาะกระดูก ทุบกระดูกเพื่อที่จะให้อีแร้งกินให้หมดครับ เพื่อที่คนตายจะได้มีบุญและขึ้นสวรรค์

จาก http://www.dek-d.com/board/view/2760922/

https://www.flickr.com/photos/reurinkjan/with/14189229655/

http://board.trekkingthai.com/board/show.php?forum_id=2&topic_no=433759&topic_id=440853


! No longer available


! No longer available
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 กันยายน 2559 09:48:20 โดย มดเอ๊ก » บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.272 Chrome 50.0.2661.272


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 02 กันยายน 2559 09:48:58 »



การจัดการกับศพ ไม่จะเป็นการเผา การฝัง หรือการบริจาค นั้น คงบอกไม่ได้ว่า อย่างไหนดีกว่ากัน ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของแต่ละสังคม หากเป็นพุทธฝ่ายเถรวาท เกือบทั้งหมดจะเผา
     ผมเห็นครอบครัวคนจีน บางคนก็เก็บศพในฮวงซุ้ย บางคนก็เผา
     คนที่เก็บศพไว้ ต้องซื้อที่ดิน ตบแต่งสถานที่ ต้องทำพิธีไหว้ทุกปี เสียค่าใช้จ่ายมาก
     คนจีนบางคนก็เผา โดยให้เหตุผลว่า หากฝังจะต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก และก็เกรงว่า ผู้ตายจะไม่ได้ไปเกิด

     ในสมัยพุทธกาลมีทั้งเผาและปล่อยทิ้งไว้ที่ป่าช้า ตัวอย่างเช่น ศพของนางสิริมา พระพุทธเจ้าไม่ให้เผาเพราะจะนำศพไปให้สาวกของท่านได้พิจารณา หลังจากได้พิจารณาแล้วก็บรรลุเป็นอริยบุคคล เรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า การไม่เผาศพก็มีประโยขน์
     เรื่องนางสิริมานี้อ่านได้ที่ http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=21&p=2

     เรื่องศพนี้หากคิดในแง่สาธารณสุขแล้ว ไม่ควรปล่อยให้เน่าปื่อยไปตามธรรมชาติ เพราะจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค การเผาศพจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดโรคต่างๆตามมา

     ในปัจจุบัน ในทิเบตยังมีประเพณีนำศพไปให้แร้งกิน สนใจเรื่องนี้อ่านได้ที่นี่
     "การปลงศพแบบธิเบต เชิญเจริญ อสุภะสัญญา มรณานุสติ"
     http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6597.0
  
     ส่วนเรื่องการบำเพ็ญกุศลนั้น คติทางพุทธเชื่อว่า การไปเกิดในภพต่างๆขึ้นอยู่กับสองปัจจัย คือ
     ๑. จิตก่อนตายเป็นกุศลหรือไม่ เช่น จิตก่อนตายเป็นห่วงสมบัติ ก็อาจเกิดเป็นวิญญาณเฝ้าสมบัตินั้น
     ๒. กรรมที่สั่งสมไว้ก่อนตาย หากมีกุศลมากกว่าอกุศล ก็จะไปสุคติ ในทางตรงข้ามหากมีอกุศลมากกว่ากุศล ก็จะไปทุคติ

      ดังนั้นการบำเพ็ญกุศลไม่ได้เป็นตัวกำหนดว่า ผู้ตายจะไปสุคติหรือทุคติ
      การบำเพ็ญกุศลนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นทาน บุญที่ได้จากการทำทานนั้น มีเปรตบางจำพวกเท่านั้นที่ได้รับ
เปรตนั้น คือ เปรทัตตุปชีวิกเปรต นอกจากเปรตพวกนี้แล้ว วิญญาณอื่นๆยากที่จะได้การอุทิศบุญ
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.272 Chrome 50.0.2661.272


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 02 กันยายน 2559 09:49:31 »



<a href="https://www.youtube.com/v/EnISAAZa3Ys" target="_blank">https://www.youtube.com/v/EnISAAZa3Ys</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/c9MflSR2EI8" target="_blank">https://www.youtube.com/v/c9MflSR2EI8</a>

การปลงศพแบบธิเบต เชิญเจริญ อสุภะสัญญา มรณานุสติ

            อันที่จริงแล้วชาวธิเบตมีแนวทางในการประกอบพิธีศพ อยู่ 5 แนวทาง คือ
            
            1. พิธีศพทางฟากฟ้า ( Sky Burial ) ปัจจุบันกลาย เป็นพิธีกรรมเฉพาะของธิเบตเท่านั้น ที่บุคคลทั่วไป
        จะประกอบพิธีศพให้แก่ญาติมิตรที่จากไป เนื่องจากทำได้ง่ายและประหยัด โดยมีสถานที่จัดทั่วประเทศราว1076
        แห่ง ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่บนภูเขาสูง บุคคลที่มีความสำคัญต่อพิธีกรรมนี้ เรียกว่า “ด็อม เอ็มส์” หรือ สัปเหร่อ นั่น
        เอง  นอกจากด็อมเอ็มส์ จะทำหน้าที่จัดการศพ และประกอบพิธีกรรมต่างๆ แล้ว เขายังมีหน้าที่ในการฝึกนกแร้ง
        ที่จะมากินศพอีกด้วย จนอาจกล่าวว่า การฝึกนกแร้งเลยกลายเป็นวัฒนธรรมเฉพาะของธิเบตเหมือนกัน
        
           2. พิธีเผาศพ ( Fire Burial ) นิยมประกอบพิธีศพในหมู่ผู้มีอันจะกิน เพราะไม้เป็นของหายาก มีค่ามากและ
        น้ำมันมีราคาแพงมาก สำหรับ ประเทศธิเบต ที่มี ภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง และ อากาศหนาวเย็น ดังนั้น การเผา
        จึงค่อนข้างเกินเอื้อมสำหรับประชาชนธรรมดา คนมีเงิน บุคคลสำคัญของ ประเทศ หรือพระรูปสำคัญ ๆ เท่านั้นที่
        จะใช้วิธีนี้
        
            3. พิธีศพทางน้ำ ( Water Burial ) เป็นพิธีของชาวบ้านที่ค่อนข้างยากจน   ไม่มีค่าใช้จ่าย ในการเดินทาง
        หรือ เคลื่อนย้ายศพไปทำพิธี ที่วัดบนยอดเขา โดยชาวบ้านจะนำศพผู้ตายมาหั่นกันเองให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อโยน
        ลงแม่น้ำ อุทิศให้เป็นอาหารของปลา จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมชาวธิเบตจึงไม่กินปลา
        
           4.พิธีการฝัง ( Earth Burial ) ก็เหมือนทั่วไป แต่เนื่องจากธิเบตเป็นเทือกเขาสูง พื้นที่ส่วนมากเป็น
        หินแข็งการฝังจึงทำได้ยากลำบาก  
        
            5.พิธีการดองศพ ( Embalming ) โดยการใส่ศพลงในโลงขนาดใหญ่ พร้อมกับเกลือประมาณ 3เดือน ซึ่ง
        โดยมากจะประกอบพิธีศพประเภทนี้กับ ลามะ นักบวชเท่านั้น
        
        อย่างไรก็ตามราว 80%ของชาวทิเบตนิยมพิธีศพทางฟากฟ้า ทั้งนี้เพราะนอกจากจะเป็นประเพณีที่ทำติดต่อกันมา นานนับ1000ปีแล้ว และยังมีความเชื่อกันว่า ด้วยวิธีการนี้เท่านั้นที่จะสามารถส่งให้วิญญาณของผู้ตายให้ เกี่ยวพันใกล้ชิด กับการบูชาพระพุทธเจ้าในพื้นที่เทือกเขาหิมาลัยได้ รวมทั้งเป็นการทำกุศลครั้งสุดท้ายของผู้ตาย อีกด้วย



การทำศพแบบธิเบตที่เห็นนี้เขาเรียกว่า Sky Burial
              
              Stupa burial and cremation are reserved for high lamas who are being honored in death.
              Sky burial is the usual means for disposing of the corpses of commoners.
              Sky burial is not considered suitable for children who are less than 18, pregnant women,
              or those who have died of infectious disease or accident.
              หรือ การฝังแบบห่มด้วยท้องฟ้า และมีอีกแบบ คือ  ฝังในเจดีย์ และการเผา  ซึ่งสงวนไว้สำหรับเพื่อการให้เกียรติพระลามะตำแหน่งสูงๆ เท่านั้น การฝังศพแบบห่มด้วยท้องฟ้านี้ใช้สำหรับสามัญชน แต่มีข้อยกเว้นไม่ใช้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี หรือ สตรีตั้งกำลังตั้งครรภ์ หรือ คนที่ตายจากโรคติดต่อ หรือ อุบัติเหตุ
              
              The origin of sky burial remains largely hidden in Tibetan mystery.
              Sky burial is a ritual that has great religious meaning. Tibetans are encouraged to witness this ritual,
              to confront death openly and to feel the impermanence of life.
              Tibetans believe that the corpse is nothing more than an empty vessel.
              การกำเนิดของพิธีนี้ยังเป็นเรื่องลึกลับ ไม่มีใครรู้ประวัติว่าเริ่ม เมื่อไร แต่เป็น  พิธีกรรมทางศานาพุทธธิเบต ที่สำคัญมากชาวธิเบต ทุกคนจะได้รับเชิญให้ไปเป็นพยานในการทำพิธีนี้โดยทั่วกันชาวธิเบตเชื่อว่า  เมื่อคนตายแล้วศพก็คือเปลือกที่ว่างเปล่า
              
              The spirit, or the soul, of the deceased has exited the body to be reincarnated into another circle of life.
              The corpse is offered to the vultures. It is believed that the vultures are Dakinis.
              Dakinis are the Tibetan equivalent of angels. In Tibetan, Dakini means "sky dancer".
              Dakinis will take the soul into the heavens, which is understood to be a windy place where souls await
              reincarnation into their next lives. This donation of human flesh to the vultures is considered virtuous
              because it saves the lives of small animals that the vultures might otherwise capture for food.
              ส่วน วิญญาณนั้นได้ออกจากร่างไปเกิดไหม่แล้ว ส่วนศพก็จะให้เป็นอาหารแก่นกแร้ง ที่มีมากมายในแถบนั้นเชื่อกันว่า นกแร้งนั้นมีฐานะเทียบเท่า เทพบุตรและเทพธิดา ซึ่งเทพทั้งหลายเหล่านี้ จะนำเอาวิญญาณผู้ตายไปสู่สวรรค์ นอกจากนี้ ยังถือว่าเป็นการให้ทาน เพราะการให้อาหารด้วยศพนี้ จะทำให้ นกแร้ง ไม่ต้องไปจับสัตว์เล็ก ๆ เป็นอาหารไปได้หลายมื้อ ทำให้ช่วยสัตว์เล็กๆไว้ได้หลายชีวิต
              
              Sakyamuni, one of the Buddhas, demonstrated this virtue. To save a pigeon, he once fed a hawk with his own flesh.              
              ในเรื่องของศาสนาพุทธก็มีเรื่องเล่าว่า พระศกยมุนีพระพุทธเจ้า ว่าพระองค์ได้เคยเฉือนเนื้อตนเอง ให้เป็นทานแก่พญาเหยี่ยวเพื่อช่วยชีวิต นกพิราบเหมือนกัน
                      
              After death, the deceased will be left untouched for three days.
              Monks will chant around the corpse.
              The ritual of sky burial usually begins before dawn.
              โดยพิธีนี้เขาจะทิ้งศพไว้กลางแจ้ง 3 วัน พระลามะ จะอยู่ดูแลศพตลอด พิธีนี้จะเริ่มต้นก่อนพระอาทิตย์ขึ้น

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://naton.fx.gs/index.php?topic=1319.0
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.272 Chrome 50.0.2661.272


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 02 กันยายน 2559 09:50:25 »




พิธีศพของชาวพุทธธิเบต แร้งกินศพ (Tibetan Buddhist Sky Burial)

ที่ทิเบตและเนปาลมีอาชีพหนึ่งคือ ด็อมเอ็มส์

             ด็อมเอ็มส์ ก็คล้ายๆ กับ สัปเหร่อบ้านเราแหละ แต่การกระทำต่อศพของเขามันไม่เหมือนบ้านเราเท่านั้นเอง บ้านเราตกแต่งศพ แต่ทิเบตเขานั้นต้องกระหน่ำศพ ใช้ฆ้อนที่ใหญ่และหนากระหน่ำศพใส่ร่างศพจนกระดูกแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย และเมื่อทุบจนถึงเวลาอันควร ร่างศพที่เพิ่งตายหรือตายมานานแล้วจะกลายเป็นเศษเนื้อที่สัตว์ปีกขนาดใหญ่นั้นคืออีแร้งที่พวกด็อมเอ็มส์เลี้ยงไว้เป็นฝูง เพื่อให้แร้งพวกนั้นกินศพให้หายไปอย่างรวดเร็ว

             พวกด็อมเอ็มส์นี้เชี่ยวชาญเรื่องจัดการศพมาก ๆ พวกเขามีเครื่องมือหลายชนิดในการหั่นเชือดเฉือนศพคนให้เป็นเศษเล็กเศษน้อยอย่างรวดเร็วอย่างน่าอัศจรรย์

              ภาพที่ท่านได้เห็นต่อไปนี้ความจริงทางการทิเบตและเนปาลเขาไม่อยากให้ถ่ายนะครับ ออกจะห้ามด้วยซ้ำ เพราะทางการทิเบตค่อนข้างห่างภาพลักษณ์ประเทศพอสมควร เพราะรายได้หลักของเขามาจากการท่องเที่ยวนี้  

              ถ้าเป็นไทยมาเห็นละก็คงด่ายาวเลย แต่เราคงด่ามั่วแหละ ลืมไปแล้วเหรอว่าสมัยก่อนเรากำจัดศพอย่างไร ก็เอาแร้งไปให้กินศพที่วัดนะสิ   ที่บ้านผมสมัยก่อนก็เอาศพไปทิ้งลงในหนองน้ำให้แร้งกินก็มี   อีกทั้งทิเบตจำเป็นต้องจัดงานศพแบบนี้ครับ เพราะ ทิเบตเป็นเขาหัวโล้นไม่มีไม้มาให้เผา และที่ฝังไม่ได้ เพราะพื้นดินทิเบตเป็นภูเขาเนื้อแข็งการขุดหลุมให้ลึกพอนั้นยาก อาจทำให้สัตว์ต่างๆมาคุ้ยเขี่ยได้ และเหตุทีเขาใช้อีแร้ง เพราะ ส่งไปสู่สวรรค์ โดยมีอีแร้งเป็นพาหะนำไป

               การทำศพแบบทิเบตที่เห็นนี้เขาเรียกว่า Sky Burial หรือการฝังแบบห่มด้วยท้องฟ้าและมีอีกแบบ แบบฝังในเจดีย์ และการเผา ซึ่งสงวนไว้สำหรับเพื่อการให้เกียรติพระลามะตำแหน่งสูง ๆ เท่านั้น

               อันที่จริงแล้ว พิธีกรรมการจัดการศพของชาวทิเบต มีอยู่ 3 วิธีหลัก ๆ ด้วยกัน คือ

1. พิธีศพทางฟากฟ้า  ปัจจุบันกลาย เป็นพิธีกรรมเฉพาะของทิเบตเท่านั้น โดยมีสถานที่จัดทั่วประเทศราว 1076 แห่ง ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่บนภูเขาสูง บุคคลที่มีความสำคัญต่อพิธีกรรมนี้ เรียกว่า “ด็อมเอ็มส์” หรือ สัปเหร่อนั่นเอง นอกจากดอมแด จะทำหน้าที่จัดการศพ และประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ แล้ว เขายังมีหน้าที่ในการฝึกนกแร้งที่จะมา กินศพอีกด้วย จนอาจกล่าวว่า การฝึกนกแร้งเลยกลายเป็นวัฒนธรรมเฉพาะของทิเบตเหมือนกัน

2. พิธีเผาศพ  ไม่นิยมมากนักเพราะ ไม้เป็นของหายาก และมีค่ามากสำหรับประเทศทิเบตที่มีภูมิประเทศ เป็นภูเขาสูง และอากาศหนาวเย็น ดังนั้นการเผาจึงค่อนข้างเกินเอื้อมสำหรับประชาชนธรรมดา คนมีเงิน บุคคลสำคัญของ
ประเทศ หรือพระรูปสำคัญ ๆ เท่านั้นที่จะใช้วิธีนี้

3. พิธีศพทางน้ำ เป็นพิธีของชาวบ้านที่ค่อนข้างยากจน ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง หรือเคลื่อนย้ายศพไปทำพิธี ที่วัดบนยอดเขา โดยชาวบ้านจะนำศพผู้ตายมาหั่นกันเองให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อโยนลงแม่น้ำอุทิศให้เป็นอาหาร ของปลา



                อย่างไรก็ตามราว 80% ของชาวทิเบตนิยมพิธีศพทางฟากฟ้า ทั้งนี้เพราะนอกจากจะเป็นประเพณีที่ทำติดต่อกันมา นานนับ 1000 ปีแล้ว และยังมีความเชื่อกันว่า ด้วยวิธีการนี้เท่านั้นที่จะสามารถส่งให้วิญญาณของผู้ตายให้ เกี่ยวพันใกล้ชิด กับการบูชาพระพุทธเจ้าในพื้นที่เทือกเขาหิมาลัยได้ รวมทั้งเป็นการทำกุศลครั้งสุดท้ายของผู้ตาย อีกด้วย

                นอกจากสาเหตุดังกล่าวแล้ว เหตุผลที่พิธีศพแบบนี้ยังคงมีการทำกันอยู่ แม้ทางรัฐบาลจีนจะพยายาม ห้ามปราม รวมทั้งให้งบประมาณในการจัดสร้างเตาเผาศพแล้วก็ตาม เนื่องมาจาก ข้อจำกัดในด้านภูมิประเทศและอากาศ ภูมิประเทศของทิเบตเกือบทั้งหมดเป็นเทือกเขาสูง อากาศหนาวเย็น มีพื้นที่ราบน้อย เนื้อดินแข็ง การฝังศพ จึงแทบเป็นไปไม่ได้เพราะไม่สามารถขุดดินให้ลึกพอ ในขณะที่ไม้ฟืน เป็นของหายาก และมีค่ามาก ปัจจุบันการเผา จึงเป็นพิธีกรรมที่สงวนไว้สำหรับพระ คนสำคัญ และคนรวยเท่านั้นแต่มีข้อยกเว้นไม่ใช้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี หรือ สตรีตั้งกำลังตั้งครรภ์ หรือ คนที่ตายจากโรคติดต่อ หรือ อุบัติเหตุ

ส่วนการกำเนิดของพิธีนี้ยังเป็นเรื่องลึกลับไม่มีใครรู้ประวัติว่าเริ่มเมื่อไร แต่เป็นพิธีกรรมทางศาสนาพุทธทิเบตที่สำคัญมากชาวทิเบต ทุกคนจะได้รับเชิญให้ไปเป็นพยานในการทำพิธีนี้โดยทั่วกันชาวทิเบตเชื่อว่าเมื่อคนตายแล้ว ศพก็คือเปลือกที่ว่างเปล่าส่วนวิญญาณนั้นได้ออกจากร่างไปเกิดใหม่แล้ว ส่วนศพก็จะให้เป็นอาหารแก่นกแร้งนั้นเชื่อกันว่า นกแร้งนั้นมีฐานะเทียบเท่าเทพบุตรและเทพธิดาซึ่งเทพทั้งหลายเหล่านี้ จะนำเอาวิญญาณผู้ตายไปสู่สวรรค์ นอกจากนี้การให้แร้งกินยังถือว่าเป็นการให้ทาน เพราะการให้อาหารด้วยศพนี้  จะทำให้นกแร้งไม่ต้องไปจับสัตว์เล็ก ๆ เป็นอาหารไปได้หลายมื้อ ทำให้ช่วยสัตว์เล็ก ๆ ไว้ได้หลายชีวิต โดยพิธีนี้เขาจะทิ้งศพไว้กลางแจ้ง 3 วัน พระลามะ จะอยู่ดูแลศพตลอด  พิธีนี้จะเริ่มต้นก่อนพระอาทิตย์ขึ้น



           คราวนี้เรามาดูขั้นตอนของงานศพแบบทิเบตกัน

            ชาวทิเบตถือว่า การเกิดเป็นเรื่องธรรมดา การตายยิ่งเป็นเรื่องธรรมดา การตายหมายถึง การเกิดใหม่ของวิญญาณของคนๆนั้น เพราะเขาเชื่อว่าวิญญาณจะไม่มีวันตาย ซึ่งก็จะขึ้นกับฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวด้วย แต่ต้องไม่น้อยกว่า 2 วัน อนุญาตให้มีแขกมาในงานได้กี่คน การเคลื่อนศพจะต้องออกทางทิศไหน ทางประตู หรือ หน้าต่าง วิธีการทำศพนั้นไม่มีพิธีอาบนำศพ หรือแต่งตัวใหม่คือตอนเสียชีวิตใส่เสื้อผ้าชุดใด ก็ใส่ชุดนั้น แล้วนำผู้ตายขึ้นไปนอนบนเตียงขนาดพอตัว และมีขาเตี้ยๆ ครอบครัวผู้ตาย ก็จะเอา"ข่าต๋า" คือผ้าพันคอผืนยาว 2 ถึง 3 เมตรเศษสีขาวห่มร่างผู้ตาย แล้วขึงเชือก เหนือร่างผู้ตายจากหัวไปเท้าเพื่อแขกที่มาในงาน จะได้เอาข่าต๋าไปพาดบนเชือกที่ขึงนี้ ใครที่จะบริจาคช่วยงานศพก็ทำได้ตอนนี้ถ้าคนใดคนหนึ่งในครอบครัวตาย เขาจะต้องรีบไปติดต่อโรงพยาบาลทิเบตพร้อมกับวันเดือนปีเกิด และวันเวลาที่ เสียชีวิตของผู้ตาย เพื่อให้หมอเอาข้อมูลไปคำนวณว่าจะเก็บศพเอาไว้กี่วัน จากนั้นญาติก็นิมนต์พระซึ่งชาวทิเบตเรียกว่า " ลามะ" มาสวดที่บ้าน ซึ่งจะเชิญมากี่องค์ก็ได้ แต่ต้องสวดตลอดระยะเวลาที่ไว้ศพ เช่นถ้าไว้ศพ 5 วัน ก็ต้องสวดตลอด 5 วัน จะหยุดพักบ้างก็ได้เพียงประมาณ 15 นาทีต่อช่วงเท่านั้น

ถ้าลามะมาองค์เดียว ฆราวาสที่อ่านภาษาทิเบตได้จะช่วยสลับเวลาสวดแทน เมื่อสวดจบหนึ่งรอบ ญาติจะนำน้ำชาผสมเนยจามรีไปวางใกล้ศพ เพื่อเสริฟให้แก่ผู้ตาย และลามะเองก็พักซดน้ำชาไปในช่วงเวลานี้เหมือนกัน เพราะชาวทิเบตคลั่งไคล้การดื่มน้ำชาเป็นชีวิตจิตใจ การสวดจะเป็นไปอย่างนี้จนครบระยะเวลาการไว้ศพ จากนั้นก็เคลื่อนศพไปทำพิธีฝังจะทำกันตอนเช้าตรู่ ตี 4 หรือตี 5 แต่ก่อนหน้าวันเคลื่อนศพ ผู้ทำหน้าที่ฝังศพ ซึ่งชาวทิเบต เรียกว่า "อาจารย์" จะมาบ้านผู้ตายครอบครัวผู้ตายต้องเตรียมเสื้อผ้าที่ดีที่สุดของผู้ตายมามอบให้อาจารย์พร้อมทั้งเงินค่าทำศพ ส่วนใหญ่ประมาณร้อยถึงสองร้อยหยวน ส่วนเสื้อผ้าอาจารย์ก็จะให้ภรรยาของตนนำไปขาย



ก่อนทำพิธีเคลื่อนศพ

          อาจารย์ต้องทำเครื่องหมาย" สวัสดิกะ" ไว้บนพื้นตรงทางที่ศพ จะถูกขนออกจากบ้านไป จากนั้นอาจารย์จะเอาเชือกผูกหัวเตียง จุดธูปบอกกล่าวผู้ตาย จากนั้นก็ถือเชือกนำหน้าศพ บรรดาญาติจะช่วยกันแบกทั้งเตียงและศพ เดินตามเป็นขบวน แล้ววนรอบเครื่องหมายสวัสดิกะ 3 รอบ แล้วมุ่งหน้าไป " วัดต้าเจ้า" ซึ่งเป็นวัดที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่สุดของทิเบต เมื่อขบวนแห่มาถึงวัด ก็เดินวนรอบวัด 3 รอบเป็นการให้ผูตายได้เคารพ สักการะองค์พระพุทธรูปเป็นครั้งสุดท้าย จากนั้นก็เอาศพใส่ รถยนต์กระบะ เพื่อนำไป สถานที่สำหรับพิธีฝังศพ
          
          ในสมัยก่อนไม่มีรถยนต์ อาจารย์ต้องเป็นคนแบกศพรวดเดียว ไปยังสถานที่ ฝังศพ ซึ่งเป็นระยะทางที่ต้องขึ้นเขาไปกว่า 2 กิโลเมตร  ดังนั้นอาจารย์ ส่วนใหญ่ต้องมีร่างกายแข็งแรง เมื่อขบวนแห่ และอาจารย์มาถึงสถานที่ฝังศพ ซึ่งเป็นลานกว้างมีแผ่นหินปูลาดขนาด 2 X 2 เมตร แล้วอาจารย์ และญาติจะช่วยกันเปลื้องเสื้อผ้าของศพออก แล้วอาจารย์ ก็จะเอาเครื่องมือของตนออกมาวาง ประกอบด้วยมีดขนาดต่างๆ มีตั้งแต่อีโต้ จนถึงขนาดเล็กๆที่ใช้ในการแล่เนื้อประมาณ 15-16 เล่ม อาจารย์เริ่มลงมือด้วยการเอามีดเล็กกรีดหน้าผากศพเป็นแนวยาวเหนือคิ้ว แล้วถลกหนังศีรษะออกมากองไว้ จากนั้นผ่าท้องเอาเครื่องในออกมาแล้วแล่เนื้อออกจากกระดูก ใช้มีดอันใหญ่ทุบกระดูก และสับเนื้อเป็นชิ้นๆและทุบกระโหลกศีรษะเอามันสมองออกมาผสมกับกระดูกใส่ในหลุมที่มีเลือดไหลไปรวมอยู่ จากนั้นเอา "จามปา" แป้งชนิดหนึ่งที่คนทิเบตนำมาทำอาหาร มาผสมคลุกเคล้าให้ดีกับเลือดกระดูกและสมอง เพราะจะช่วยดูดซับเลือดให้เข้ากับกระดูก ทำให้บริเวณนั้นแห้งสนิทไม่เหลือเศษเลือดทิ้งเอาไว้ ที่ต้องทำอย่างนี้เพราะ อีแร้งชอบกินมันสมอง ไม่ชอบกินกระดูกจึงต้องเอามันสมอง มาคลุกกับกระดูกให้อีแร้งกินกระดูกเข้าไปด้วย

        เมื่อเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้ว อาจารย์ก็เรียกบรรดาอีแร้งที่อยู่เหนือบริเวณฝังศพขึ้นไปบนยอดเขา ให้ลงมากิน เริ่มด้วยอาจารย์เอามันสมอง และเลือดให้อีแร้งกินก่อนแล้วค่อยตามด้วย เนื้อที่สับไว้ เมื่ออีแร้งกินทุกอย่างหมด แล้วญาติพี่น้องก็จะช่วยเผาสิ่งสุดท้ายที่เหลือคือเสื่อผ้าชุดที่ผู้ตายใส่ กับหนังศีรษะติดผม
แล้วทุกอย่างก็เป็นอันเสร็จสิ้นไม่ต้องมีการเก็บร่างกายของผู้ตายไว้เป็นที่ระลึกให้ต้องทำพิธีระลึกถึงกันทุกปีเพราะเขาเชื่อว่าในขณะที่เรากำลังร้องไห้เศร้าโศก อยู่หน้าหลุมฝังศพผู้ตายนั้น เขาได้ไปจุติในร่างใหม่เรียบร้อยแล้ว



              นกแร้งที่เป็นจ่าฝูงจะเป็นตัวที่มีประสบการณ์ และได้รับการฝึก มีลูกน้อง คือ นกแร้งรุ่นใหม่ที่ยังไม่ได้อยู่ใน ระเบียบวินัย และมักแตกแถวยื้อแย่งกินศพ ซึ่งจ่าฝูงต้องคอยจัดการให้อยู่ในวินัย ตามที่ตนได้เคยฝึกมากับดอมเด ความสัมพันธ์ระหว่างดอมเดกับนกแร้งที่เป็นจ่าฝูง จึงเป็นความสัมพันธ์ที่สำคัญยิ่ง

            ด็อมเอ็มส์จะมีภาษาที่ใช้กับ นกแร้งโดยเฉพาะ ทั้งภาษาพูด และภาษากาย ที่จะคุ้นและสื่อกันได้ด้วยอาศัยความสัมพันธ์ที่ยาวนาน ดอมเด มีความสามารถในการฝึกนกแร้งมากเท่าใด นกแร้งก็จะมีระเบียบวินัยมากเท่านั้น


           สำหรับนกแร้งจ่าฝูงที่มีประสบการณ์ เมื่อด็อมเอ็มส์ให้ชิมเนื้อศพ หากศพใดใช้ยา หรือถูกยาพิษมา จะเป็นอันตราย จ่าฝูงจะไม่กิน นกแร้งทั้งฝูงก็จะไม่กินศพนั้น ดอม-็จะกลับไปหาวิธีกำจัดศพวิธีอื่นแทนเช่น เผา กรณีหาก นกแร้งจ่าฝูงไม่มีประสบการณ์พอ ก็อาจทำให้นกแร้งทั้งฝูงตายได้เหมือนกัน จากนั้น จึงส่งเนื้อชิ้นแรกให้นกแร้งจ่าฝูงกิน เมื่อจ่าฝูงอนุญาตนกแร้งทั้งฝูงก็จะรุมกันกินศพทั้งหมดโดยไม่เหลือชิ้นส่วนใด ๆ ไว้เลย เสื้อผ้าของผู้ตายจะถูกนำไปเผา ทั้งนี้เพื่อญาติพี่น้องจะไม่ต้องเก็บชิ้นส่วนใดของผู้ตายไว้ให้เกิด ความอาลัยอีก ด้วยชาวทิเบตเชื่อว่า ในขณะที่พวกเขายังมัวเศร้าโศกเสียใจอยู่นั้น ผู้ตายก็ไม่ได้รับรู้ใด ๆ แล้ว หรืออาจไปเกิดใหม่แล้วก็เป็นได้

จาก http://ai-amazingworld.blogspot.com/2009/11/tibetan-buddhist-sky-burial.html
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.272 Chrome 50.0.2661.272


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 02 กันยายน 2559 09:52:02 »







การทำศพแบบทิเบตที่เห็นนี้เขาเรียกว่า Sky Burial หรือการฝังแบบห่มด้วยท้องฟ้า

Stupa burial and cremation are reserved for high lamas who are being honored in death.

การทำศพมีอีกแบบหนึ่ง คือ แบบฝังในเจดีย์ และการเผา ซึ่สงวนไว้สำหรับเพื่อการให้เกียรติพระลามาะตำแหน่งสูง ๆ เท่านั้น

Sky burial is the usual means for disposing of the corpses of commoners. Sky burial is not considered suitable for children who are less than 18, pregnant women, or those who have died of infectious disease or accident.

การฝังศพแบบห่มด้วยท้องฟ้านี้ ใช้สำหรับสามัญชน
แต่มีข้อยกเว้นไม่ใช้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี
หรือ สตรีตั้งกำลังตั้งครรภ์
หรือ คนที่ตายจากโรคติดต่อ หรือ อุบัติเหตุ

The origin of sky burial remains largely hidden in Tibetan mystery.

กำเนิดของพิธีนี้เป็นเรื่องลึกลับ
ไม่มีใครรู้ประวัติว่าเริ่มเมื่อไร

Sky burial is a ritual that has great religious meaning.

การฝังศพแบบนี้
เป็นพิธีกรรมทางศานาพุทธทิเบตที่สำคัญมาก

Tibetans are encouraged to witness this ritual, to confront death openly and to feel the impermanence of life.

ชาวทิเบตทุกคนจะได้รับเชิญให้ไปเป็นพยาน
ในการทำพิธีนี้โดยทั่วกัน

Tibetans believe that the corpse is nothing more than an empty vessel.

ชาวทิเบตเชื่อว่าเมื่อคนตายแล้ว
ศพก็คือเปลือกที่ว่างเปล่า

The spirit, or the soul, of the deceased has exited the body to be reincarnated into another circle of life.

ส่วนวิญญาณนั้น
ได้ออกจากร่างไปเกิดไหม่แล้ว

The corpse is offered to the vultures.

ส่วนศพก็จะให้เป็นอาหารแก่นกแร้ง
ที่มีมากมายในแถบนั้น


It is believed that the vultures are Dakinis. Dakinis are the Tibetan equivalent of angels. In Tibetan, Dakini means "sky dancer".

เขาเชื่อกันว่า
นกแร้งนั้นมีฐานะเทียบเท่าเทพบุตรและเทพธิดา

Dakinis will take the soul into the heavens, which is understood to be a windy place where souls await reincarnation into their next lives.

ซึ่งเทพทั้งหลายเหล่านี้
จะนำเอาวิญญาณผู้ตายไปสู่สวรรค์

This donation of human flesh to the vultures is considered virtuous because it saves the lives of small animals that the vultures might otherwise capture for food.

นอกจากนี้ ยังถือว่าเป็นการให้ทาน
เพราะการให้อาหารด้วยศพนี้
จะทำใหนกแร้งไม่ต้องไปจับสัตว์เล็ก ๆ เป็นอาหารไปได้หลายมื้อ
ทำให้ช่วยสัตว์เล็ก ๆ ไว้ได้หลายชีวิต

Sakyamuni, one of the Buddhas, demonstrated this virtue. To save a pigeon, he once fed a hawk with his own flesh.

ในเรื่องของศาสนาพุทธก็มีเรื่องเล่าว่าพระศกยมุนี พระพุทธเจ้า
ว่าพระองค์ได้เคยเฉือนเนื้อตนเอง
ให้เป็นทานแพญาเหยี่ยวเพื่อช่วยชีวิตนกพิราบเหมือนกัน

After death, the deceased will be left untouched for three days.

พิธีนี้เขาจะทิ้งศพไว้กลางแจ้ว 3 วัน

Monks will chant around the corpse.

พระลามะ จะอยู่ดูแลศพตลอด

The ritual of sky burial usually begins before dawn.

พิธีนี้จะเริ่มต้นก่อนพระอาทิตย์ขึ้น



พูดถึงความสุขใจจาก การเป็นผู้ให้ ลูกรู้ไหมว่าชาวธิเบตได้ชื่อว่าเป็น ผู้ให้ตราบจนชีวิตหาไม่ เพราะพิธีศพของชาวธิเบตแต่โบราณจะไม่ฝังหรือเผา แต่จะนำศพผู้ล่วงลับขึ้นไปบนหน้าผาสูง แล้วชำแหละศพออกเป็นชิ้นๆ ให้แร้งกินเป็นอาหาร ตามความเชื่อว่าการให้ทานจนวาระสุดท้ายของชีวิต จะเป็นอานิสงส์ให้ดวงวิญญาณผู้ตายไปเสวยสุขบนสรวงสวรรค์ แม้กระทั่งกระดูกก็ยังนำมาป่นผสมกับเนยจามรี แล้วให้ทานเป็นอาหารของเหล่านกกาอีกด้วย

พ่อเรียกพิธีศพแบบนี้ว่า "เวหาฌาปนกิจ" (Sky Burial) ซึ่งนอกจากเพราะชาวธิเบตมีศรัทธาเคร่งครัดในศาสนาพุทธนิกายวัชรยานแล้ว การอาศัยอยู่บนที่สูงระดับหลังคาโลก ทำให้ไม่มีป่าไม้มาทำเป็นเชื้อเพลิงเผาศพ ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่ง

ซึ่งการที่เราจะเป็น ผู้ให้ ก็ไม่จำเป็นต้องทำตามแบบชาวธิเบตเสมอไป เพียงแค่ลูกรู้จักเอื้อเฟื้อคนรอบข้าง โดยเฉพาะคนที่ด้อยโอกาสกว่า ก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้จักให้ แล้วลูกยังจะได้รับสิ่งดีๆ กลับคืนมา ดังพุทธภาษิตบทที่ว่า

"... มนาปทายี ลภเต มนาปํ ..."
"... ผู้ให้สิ่งอันเป็นที่รัก ย่อมได้สิ่งอันเป็นที่รัก ..."



เพิ่มเติม http://www.jitdrathanee.com/aree26/Gai-U/skyBurial/tibetan_funeral.htm#.V4Fr-HY2veM
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5062


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 50.0.2661.272 Chrome 50.0.2661.272


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 02 กันยายน 2559 09:52:51 »

เกร็ดความรู้น่าสนใจกับ Sky Burial พิธีศพของชาวธิเบต ที่ชำแหละเนื้อผู้ตายให้แร้งกิน!!!

สำหรับวันนี้เราก็มีเกร็ดความรู้ดีๆ จากรอบโลกมาฝากเพื่อนๆ กันอีกแล้ว แต่วันนี้อาจจะสยองหน่อย เพื่อนๆ คนไหนที่ยังไม่ได้ทานข้าวมาหรือใจไม่ถึงโปรดอย่าเปิดดูนะจ๊ะ

เพราะเป็นพิธีศพของชาวธิเบต ที่เรียกว่า Sky Burial หรือการฝังศพบนท้องฟ้า เป็นพิธีศพสำหรับสามัญชนทั่วไป ยกเว้นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี สตรีตั้งครรภ์ คนที่ตายจากโรคติดต่อหรืออุบัติเหตุ ถือเป็นพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญมากในทิเบต ชาวทิเบตทุกคนในชุมชนจะได้รับเชิญให้ไปเป็นเกียรติในการทำพิธีนี้โดยทั่วกัน

พิธีจะจัดขึ้นก่อนตะวันรุ่ง โดยมีพระลสมะดูแลและคอยชำแหละศพให้นกแร้งกิน เป็นเวลา 3 วัน ชาวทิเบตเชื่อว่า เมื่อวิญญาณออกจากร่าง ศพก็คือเปลือกที่ว่างเปล่า ควรให้เป็นทานแก่นกแร้ง ที่มีมากมายในแถบนั้นตามความเชื่อทิเบต นกแร้งเป็น “ผู้ร่ายรำบนท้องฟ้า” มีฐานะเทียบเท่าเทพบุตรและเทพธิดา ซึ่งเทพทั้งหลายเหล่านี้จะนำวิญญาณผู้ตายไปสู่สวรรค์

นกแร้ง



นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นการทำกุศล ครั้งสุดท้ายของผู้ตาย โดยได้ให้ทานร่างกายเป็นอาหาร ทำให้นกแร้งไม่ต้องไปจับสัตว์เล็กๆกินอิกหลายมื้อ จึงได้ช่วยชีวิตสัตว์เล็กๆไว้ได้หลายชีวิต…
 

เส้นทางสู่สถานที่



ในพุทธประวัติ มีเรื่องเล่าว่า พระพุทธเจ้าทรงเคยเฉือนเนื้อตนเองให้เป็นทานแก่พญาเหยี่ยว เพื่อช่วยชีวิตนกพิราบเช่นเดียวกัน พิธีนี้อาจทำให้คนที่ไม่คุ้นเคยรู้สึกสะอิดสะเอียนกันสักหน่อย

ผู้คนที่มาเข้าร่วม



แต่ถ้ามองถึงแก่นของมันแล้ว Sky Burial เข้าถึงปรัชญาการให้ทานและการปล่อยวาง ขั้นสูงสุด ไม่สร้างมลพิษทางอากาศ ไม่ต้องตัดไม้มาทำเชื้อเพลิง ดีกับระบบนิเวศ เพราะคืนร่างกายกลับคืนสู่ธรรมชาติ ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อาหารแก่สัตว์กินซาก ดังนั้น จึงอาจเรียกได้ว่าเป็น…..พิธีศพ ที่ดีที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้!!!
 

เหล่าศพ





จุดไฟเพื่อเป็นสัญญาณเรียกนกแร้ง







ศพที่ห่อมา



นำมาชำแหละ











ได้เวลาอาหาร























นั่งสังเกตการณ์











ส่วนที่แร้งไม้สามารถกินได้



เก็บรวบรวม





ทุบๆ แหวกๆ ชำแหละต่อ















สมองของมนุษย์







มาต่อสำหรับจานสอง







อิ่มหมีพีมันกันเลยทีเดียว







ดู คลิป ประกอบ ได้ จที่ http://www.flabber.nl/linkdump/video/mooi-effect-met-autootje-door-ballon-beuken-13831

http://www.scholarship.in.th/
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
บทสวดเจ้าแม่กวนอิม แบบธิเบต เวอร์ชั่น 1
ธรรมะ มิวสิค (เพลงธรรมทั่วไป)
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 0 5267 กระทู้ล่าสุด 30 ธันวาคม 2552 01:32:22
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
เพลงบทสวดเจ้าแม่กวนอิมประกอบเสียงดนตรีเย็นๆ แบบธิเบต
เพลงสวดมนต์
แคทรีนจังกกไข่ 2 4958 กระทู้ล่าสุด 02 กรกฎาคม 2556 11:08:47
โดย Kimleng
นกแร้ง สัปเหร่อ การฌาปนกิจศพ แบบธิเบต เชิญปลงธรรมสังเวช ( Tibetan Sky Burial )
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 8 6215 กระทู้ล่าสุด 20 กรกฎาคม 2559 09:39:12
โดย มดเอ๊ก
[ข่าวมาแรง] - นักกิจกรรมเยาวชน ยื่นหนังสือถึงนายกฯ ก่อนชม ‘สัปเหร่อ’ ร้องสอบปม จนท.พม.คุกคาม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 92 กระทู้ล่าสุด 26 ตุลาคม 2566 02:38:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
สัปเหร่อ ไทบ้านเดอะซีรี่ย์ และคติธรรมในพิธีศพ
หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง)
มดเอ๊ก 0 33 กระทู้ล่าสุด 12 มกราคม 2567 09:09:04
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.502 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 14 มีนาคม 2567 08:13:32