[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 03:30:56 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เริ่มแต่ออกผนวชแล้ว จนถึง ได้ตรัสรู้ (๓๕ เรื่อง)  (อ่าน 25931 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 21:42:36 »

เสด็จสำนักอาฬารดาบส

เรานั้น ครั้นบวชอย่างนี้แล้ว แสวงหาอยู่ว่าอะไรเป็นกุศล ค้นหาแต่สิ่งที่ประเสริฐฝ่ายสันติชนิดที่ไม่มีอะไรยิ่งไปกว่า; ได้เข้าไปหาอาฬารดาบสผู้กาลามโคตรถึงที่สำนักแล้วกล่าวว่า "ท่านกาลามะ! เราอยากประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้ด้วย". ราชกุมาร! ครั้นเรากล่าวดังนี้แล้ว อาฬารดาบสผู้กาลามโคตรได้ตอบว่า "อยู่เถิดท่านผู้มีอายุ! ธรรมนี้เป็นเช่นนี้ๆ; ถ้าบุรุษเข้าใจความแล้ว ไม่นานเลยคงทำให้แจ้ง บรรลุได้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ทั่วถึงลัทธิของอาจารย์ตน."

ราชกุมาร ! เราเล่าเรียนธรรมนั้นได้ฉับไวไม่นานเลย. ราชกุมาร! เรานั้นกล่าวได้ทั้ง ญาณวาท และ เถรวาท ด้วยอาการมาตรว่าท่องด้วยปาก และด้วยเวลาชั่วที่เจรจาตอบตลอดกาลเท่านั้น. อนึ่ง เราและศิษย์อื่นๆ ปฏิญญาได้ว่าเรารู้เราเห็น ดังนี้. ราชกุมาร ! ความรู้สึกเกิดขึ้นแก่เราว่า "อาฬารผู้กาลามโคตรประกาศให้ผู้อื่นทราบว่า 'เราทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วแลอยู่' ด้วยคุณสักว่าศรัทธาอย่างเดียวก็หามิได้, ที่แท้อาฬารผู้กาลามโคตรคงรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งธรรมนี้เป็นแน่". ราชกุมาร ! ครั้งนั้นเราเข้าไปหาอาฬารผู้กาลามโคตรถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า "ท่านกาลามะ! ท่านทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว และประกาศได้เพียงเท่าไรหนอ?" ครั้นเรากล่าวอย่างนี้ อาฬารผู้กาลามโคตรได้ประกาศให้รู้ถึง อากิญจัญญายตนะ แล้ว.

ราชกุมาร ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "ศรัทธา, วิริยะ, สติ, สมาธิ, ปัญญา จักมีแต่ของอาฬารผู้กาลามโคตรผู้เดียวก็หาไม่. ศรัทธา, วิริยะ, สติ,สมาธิ, ปัญญา ของเราก็มีอยู่; อย่างไรก็ตาม เราจักตั้งความเพียรทำให้แจ้งธรรมที่ท่านกาลามะประกาศแล้วว่า 'เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วแลอยู่' ดังนี้ ให้จงได้." ราชกุมาร ! เราได้บรรลุ ทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองฉับไวไม่นานเลย. ราชกุมาร ! ครั้งนั้นเราเข้าไปหาอาฬารผู้กาลามโคตรถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า "มีเท่านี้หรือที่ท่านบรรลุถึง ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศแก่ผู้อื่นอยู่?". "เท่านี้เองผู้มีอายุ! ที่เราบรรลุถึง ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศแก่ผู้อื่นอยู่". "ท่านกาลามะ ! แม้เราก็บรรลุทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองถึงเพียงนั้นเหมือนกัน".

ราชกุมาร ! อาฬารผู้กาลามโคตรได้กล่าวกะเราว่า "ลาภของเราแล้วท่านผู้มีอายุ ! เราได้ดีแล้ว, ท่านผู้มีอายุ ! มิเสียแรงที่ได้พบเพื่อนร่วมพรหมจรรย์ เช่นกับท่านผู้ทำให้แจ้งธรรมที่เรารู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง. แม้เราก็ทำให้แจ้งธรรมที่ท่านทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองนั้นอย่างเดียวกัน. เรารู้ธรรมใด ท่านรู้ธรรมนั้น, ท่านรู้ธรรมใด เรารู้ธรรมนั้น, เราเป็นเช่นใด ท่านเป็นเช่นนั้น, ท่านเป็นเช่นใด เราเป็นเช่นนั้น; มาเถิดท่านผู้มีอายุ! เราสองคนด้วยกัน จักช่วยกันปกครองคณะนี้ต่อไป."

ราชกุมาร ! อาฬารกาลามโคตรผู้เป็นอาจารย์ของเรา ได้ตั้งเราผู้เป็นศิษย์ให้เสมอด้วยตนแล้ว, ได้บูชาเราด้วยการบูชาอย่างยิ่ง. ราชกุมาร ! (เมื่อเราได้เสมอด้วยอาจารย์ ได้การบูชาที่ยิ่งดังนั้น) ได้เกิดความรู้สึกนี้ว่า "ก็ธรรมนี้จะได้เป็นไปพร้อมเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อรำงับ เพื่อสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อรู้พร้อม เพื่อนิพพาน ก็หาไม่, แต่เป็นไปพร้อม เพียงเพื่อการบังเกิดในอากิญจัญญายตนภพ* เท่านั้นเอง". ราชกุมาร ! ตถาคต (เมื่อเห็นโทษในสมาบัติทั้งเจ็ด) จึงไม่พอใจ เบื่อจากธรรมนั้น หลีกไปเสีย.

ตรัสแก่ โพธิราชกุมาร,
บาลี โพธิราชกุมารสูตร ราชวรรค ม.ม. ๑๓/๔๔๓/๔๘๙,
และในสคารวสูตร พราหมณวรรค ม.ม. ๑๓/๖๗๐/๗๓๘,
ปาสราสิสูตร โอปัมมวรรค มู.ม. มีย่อมาก,
มหาสัจจกสูตร มหายมกวรรค มู.ม.


--------------------------------------------------------------------------------
* อรูปพรหมชั้นที่ ๓; สมาบัติทั้งเจ็ดในที่นี้ คือรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๓.
   

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
 
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 21:43:15 »

เสด็จสำนักอุทกดาบส

ราชกุมาร ! เรานั้นแสวงหาอยู่ว่าอะไรเป็นกุศล ค้นหาแต่สิ่งที่ประเสริฐฝ่ายสันติชนิดที่ไม่มีอะไรยิ่งกว่า; ได้เข้าไปหาอุทกดาบสผู้รามบุตร ถึงที่สำนักแล้วกล่าวว่า "ท่านรามะ ! เราอยากประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้ด้วย." ราชกุมาร ! ครั้นเรากล่าวดังนี้ ท่านอุทกผู้รามบุตรได้กล่าวตอบว่า "อยู่เถิดท่านผู้มีอายุ ! ธรรมนี้เป็นเช่นนี้ๆ; ถ้าบุรุษเข้าใจความแล้ว ไม่นานเลย คงทำให้แจ้ง บรรลุได้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ทั่วถึงลัทธิของอาจารย์ตน".

ราชกุมาร ! เราเล่าเรียนธรรมนั้นได้ฉับไวไม่นานเลย. ราชกุมาร ! เรากล่าวได้ทั้ง ญาณวาท และ เถรวาท ด้วยอาการมาตรว่าท่องด้วยปาก ด้วยเวลาชั่วที่เจรจาตอบตลอดกาลเท่านั้น. อนึ่ง เราและศิษย์อื่นปฏิญญาได้ว่าเรารู้เราเห็นดังนี้. ราชกุมาร ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "อุทกผู้รามบุตรได้ประกาศว่าเราทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วแลอยู่" ด้วยคุณสักว่าศรัทธาอย่างเดียวก็หามิได้, ที่แท้อุทกผู้รามบุตรคงรู้อยู่เห็นอยู่ ซึ่งธรรมนี้เป็นแน่". ราชกุมาร ! ครั้งนั้นเราเข้าไปหาอุทกผู้รามบุตรถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า "ท่านรามะ ! ท่านทำธรรมนี้ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วและประกาศได้เพียงเท่าไรหนอ?" ครั้นเรากล่าวอย่างนี้ อุทกรามบุตรได้ประกาศให้รู้ถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้ว.

ราชกุมาร ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "ศรัทธา, วิริยะ, สติ,สมาธิ, ปัญญา จักมีแต่ของอุทกรามบุตรผู้เดียวก็หาไม่. ศรัทธา, วิริยะ, สติ,สมาธิ, ปัญญา ของเราก็มีอยู่; อย่างไรก็ตาม เราจักตั้งความเพียรทำให้แจ้งธรรมที่ท่านรามะประกาศแล้ว่า 'เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วแลอยู่' ดังนี้ ให้จงได้". ราชกุมาร ! เราได้บรรลุทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองฉับไวไม่นานเลย. ราชกุมาร ! ครั้งนั้น เราเข้าไปหาอุทกผู้รามบุตรถึงที่อยู่แล้วกล่าวว่า" มีเท่านี้หรือ ที่ท่านบรรลุถึง ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วประกาศแก่ผู้อื่นอยู่?" "เท่านี้เองผู้มีอายุ ! ที่เราบรรลุถึงทำให้แจ้งแล้วประกาศแก่ผู้อื่น". "ท่านรามะ! ถึงเราก็ได้บรรลุทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองเท่านั้นเหมือนกัน".

ราชกุมาร ! อุทกผู้รามบุตรได้กล่าวกะเราว่า "ลาภของเราแล้ว ท่านผู้มีอายุ ! เราได้ดีแล้ว, ท่านผู้มีอายุ ! มิเสียแรงที่ได้พบเพื่อนร่วมพรหมจรรย์เช่นกับท่านผู้ทำให้แจ้งธรรมที่รามะรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง, แม้รามะก็ทำให้แจ้งธรรมที่ท่านทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองนั้น อย่างเดียวกัน. รามะรู้ทั่วถึงธรรมใด ท่านรู้ธรรมนั้น, ท่านรู้ธรรมใด รามะรู้ทั่วถึงธรรมนั้น, รามะเป็นเช่นใด ท่านเป็นเช่นนั้น, ท่านเป็นเช่นใด รามะเป็นเช่นนั้น ; มาเถิดท่านผู้มีอายุ ! ท่านจงปกครองคณะนี้ต่อไป" .

ราชกุมาร ! อุทกรามบุตรเมื่อเป็นสพรหมจารีต่อเรา ก็ได้ตั้งเราไว้ในฐานะแห่งอาจารย์นั่นเทียว ; ได้บูชาเราด้วยการบูชาอันยิ่ง, ราชกุมาร ! (เมื่อเราได้เสมอด้วยอาจารย์ ได้การบูชาที่ยิ่งดังนั้น) ได้เกิดความรู้สึกนี้ว่า "ธรรมนี้จะได้เป็นไปพร้อมเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อรำงับ เพื่อสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อรู้พร้อม เพื่อนิพพาน ก็หาไม่, แต่เป็นไปพร้อม เพียงเพื่อการบังเกิดในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ* เท่านั้นเอง". ราชกุมาร ! ตถาคต (เมื่อเห็นโทษในสมาบัติทั้งแปด) จึงไม่พอใจในธรรมนั้น เบื่อหน่ายจากธรรมนั้น หลีกไปเสีย.

ที่มาเหมือนกันกับอาฬารดาบส.
บาลี โพธิราชกุมารสูตร ม.ม. ๑๓/๔๔๖/๔๙๐.


--------------------------------------------------------------------------------
* อรูปพรหมชั้นที่ ๔; สมาบัติแปด คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔.
   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 21:43:54 »

เสด็จไปอุรุเวลาเสนานิคม

ราชกุมาร ! เรานั้นเมื่อหลีกไปจากสำนักอุทกผู้รามบุตรแล้ว แสวงหาอยู่ว่าอะไรเป็นกุศล ค้นหาแต่สิ่งที่ประเสริฐฝ่ายสันติอันไม่มีอื่นยิ่งกว่า, เที่ยวจาริกไปตามลำดับหลายตำบลในมคธรัฐ จนบรรลุถึงตำบล อุรุเวลาเสนานิคม พักแรมอยู่ ณ ตำบลนั้น. ณ ที่นั้น เราได้พบภาคพื้นรมณียสถาน มีชัฏป่าเยือกเย็นแม่น้ำไหลใสเย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบเป็นอันดีน่าเพลินใจ มีบ้านสำหรับโคจรตั้งอยู่โดยรอบ. ราชกุมาร ! เราได้เห็นแล้ว เกิดความรู้สึกว่า "ภูมิภาคนี้น่ารื่นรมย์จริง ชัฏป่าเย็นเยือก แม่น้ำไหลใสเย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบเป็นอันดีน่าเพลินใจ ทั้งที่โคจรก็ตั้งอยู่โดยรอบ, ที่นี้สมควรเพื่อจะตั้งความเพียรของกุลบุตรผู้ต้องการด้วยความเพียร" ดังนี้. ราชกุมาร ! เรานั่งพักอยู่ ณ ตำบลนั้นเองด้วยคิดว่าที่นี้สมควรแล้วเพื่อการตั้งความเพียร ดังนี้.

บาลี โพธิราชกุมารสูตร ราชวรรค ม.ม. ๑๓/๔๔๘/๔๙๑,
และสคารวสูตร พราหมณวรรค ม.ม., ปาสราสิสูตร มู.ม., มหาสัจจกสูตร มู.ม.

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 21:44:32 »

ทรงประพฤติอัตตกิลมถานุโยค
(วัตรของเดียรถีย์)

สารีบุตร ! เราตถาคตรู้เฉพาะซึ่ง พรหมจรรย์อันประกอบด้วยองค์ ๔ ที่ได้ประพฤติแล้ว; ตปัสสีวัตร เราก็ได้ประพฤติอย่างยิ่ง, ลูขวัตร เราก็ได้ประพฤติอย่างยิ่ง, เชคุจฉิวัตร เราก็ได้ประพฤติอย่างยิ่ง, ปวิวิตตวัตร เราก็ได้ประพฤติอย่างยิ่ง.

ในวัตร ๔ อย่างนั้น นี้เป็น ตปัสสีวัตร (วัตรเพื่อมีตบะ) ของเราคือเราได้ประพฤติเปลือยกาย มีมรรยาทอันปล่อยทิ้งเสียแล้ว เป็นผู้ประพฤติเช็ดอุจจาระของตนด้วยมือ ถือเป็นผู้ไม่รับอาหารที่เขาร้องเชิญว่าท่านผู้เจริญจงมา ไม่รับอาหารที่เขาร้องนิมนต์ว่าท่านผู้เจริญจงหยุดก่อน ไม่ยินดีในอาหารที่เขานำมาจำเพาะ ไม่ยินดีในอาหารที่เขาทำอุทิศเจาะจง ไม่ยินดีในอาหารที่เขาร้องนิมนต์เราไม่รับอาหารจากปากหม้อ ไม่รับอาหารจากปากภาชนะ ไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตู ไม่รับอาหารคร่อมท่อนไม้ ไม่รับอาหารคร่อมสาก ไม่รับอาหาร ของชนสองคนผู้บริโภคอยู่ ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์ ไม่รับอาหารของหญิงที่กำลังให้บุตรดื่มนมอยู่ ไม่รับอาหารของหญิงผู้ไปในระหว่างแห่งบุรุษ ไม่รับอาหารในอาหารที่มนุษย์ชักชวนร่วมกันทำ ไม่รับอาหารในที่ที่มีสุนัขเข้าไปยืนเฝ้าอยู่ ไม่รับอาหารในที่ที่เห็นแมลงวันบินไปเป็นหมู่ๆ ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ ไม่รับสุรา ไม่รับเมรัย ไม่ดื่มน้ำอันดองด้วยแกลบ เรารับเรือนเดียวฉันคำเดียวบ้าง รับสองเรือนฉันสองคำบ้าง รับสามเรือนฉันสามคำบ้าง ....ฯลฯ....รับเจ็ดเรือนฉันเจ็ดคำบ้าง, เราเลี้ยงร่างกายด้วยอาหารในภาชนะน้อยๆ ภาชนะเดียวบ้าง เลี้ยงร่างกายด้วยอาหารในภาชนะน้อย ๆ สองภาชนะบ้าง ..ฯลฯ... เลี้ยงร่างกายด้วยอาหารในภาชนะน้อยๆ เจ็ดภาชนะบ้าง เราฉันอาหารที่เก็บไว้วันเดียวบ้าง ฉันอาหารที่เก็บไว้สองวันบ้าง ....ฯลฯ.... ฉันอาหารที่เก็บไว้เจ็ดวันบ้าง, เราประกอบความเพียรในภัตรและโภชนะมีปริยายอย่างนี้ จนถึงกึ่งเดือนด้วยอาการอย่างนี้. เรานั้น มีผักเป็นภักษาบ้าง มีสารแห่งหญ้ากับแก้เป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีเปลือกไม้เป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำข้าวเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีข้าวสารหักเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัย (ขี้วัว) เป็นภักษาบ้าง มีผลไม้และรากไม้ในป่าเป็นอาหารบ้างบริโภคผลไม้อันเป็นไป (หล่นเอง) ยังชีวิตให้เป็นไปบ้าง. เรานั้นนุ่งห่มด้วยผ้าป่านบ้าง นุ่งห่มผ้าเจือกันบ้าง นุ่งห่มผ้าที่เขาทิ้งไว้กับซากศพบ้าง นุ่งห่มผ้าคลุกฝุ่นบ้างนุ่งห่มเปลือกไม้บ้าง นุ่งห่มหนังอชินะบ้าง นุ่งห่มหนังอชินะทั้งเล็บบ้าง นุ่งห่มแผ่นหญ้าคากรองบ้าง นุ่งห่มแผ่นปอกรองบ้าง นุ่งห่มแผ่นกระดานกรองบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลผมคนบ้าง นุ่งห่มผ้ากัมพลทำด้วยขนหางสัตว์บ้าง นุ่งห่มปีกนกเค้าบ้าง (ศัพท์นี้แปลกที่ไม่มีคำว่ากัมพล) เราตัดผมและหนวด ประกอบตามซึ่งความเพียรในการตัดผมและหนวด, เราเป็นผู้ยืนกระหย่งห้ามเสียซึ่งการนั่ง, เป็นผู้เดินกระหย่ง ประกอบตามซึ่งความเพียรในการเดินกระหย่งบ้าง, เราประกอบการยืนการเดินบนหนาม สำเร็จการนอนบนที่นอนทำด้วยหนาม, เราประกอบตามซึ่งความเพียรในการลงสู่น้ำ เวลาเย็นเป็นครั้งที่สามบ้าง, เราประกอบตามซึ่งความเพียรในการทำ (กิเลสใน) กายในเหือดแห้ง ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นนี้ ด้วยอาการอย่างนี้. สารีบุตร ! นี่แลเป็นวัตรเพื่อความเป็นผู้มีตบะ ของเรา.

สารีบุตร ! ในวัตรสี่อย่างนั้น นี้เป็น ลูขวัตร (วัตรในการเศร้าหมอง) ของเรา คือธุลีเกรอะกรังแล้วที่กาย สิ้นปีเป็นอันมากเกิดเป็นสะเก็ดขึ้น. สารีบุตร ! เปรียบเหมือนตอตะโกนานปีมีสะเก็ดขึ้นแล้ว ฉันใดก็ฉันนั้น ธุลีเกรอะกรังแล้วที่กาย สิ้นปีเป็นอันมากจนเกิดเป็นสะเก็ดขั้น. สารีบุตร ! ความคิดนึกว่า โอหนอเราพึงลูบธุลีนี้ออกเสียด้วยฝ่ามือเถิด ดังนี้ ไม่มีแก่เรา, แม้ความคิดนึกว่าก็หรือชนเหล่าอื่นพึงลูบธุลีนี้ออกเสียด้วยฝ่ามือเถิด ดังนี้ ก็มิได้มีแก่เรา. ดูก่อนสารีบุตร ! นี้แล เป็นวัตรในความเป็นผู้เศร้าหมองของเรา.

สารีบุตร ! ในวัตรสี่อย่างนั้น นี้เป็น เชคุจฉิวัตร (วัตรในความเป็นผู้รังเกียจ) ของเราคือ ดูก่อนสารีบุตร ! เรานั้นมีสติก้าวขาไป มีสติก้าวขากลับ โดยอาการเท่าที่ความเอ็นดูอ่อนโยนของเราพึงบังเกิดขึ้น แม้ในหยาดแห่งน้ำ ว่าเราอย่าทำสัตว์น้อยๆ ทั้งหลายที่มีคติไม่เสมอกันให้ลำบากเลย. สารีบุตร ! นี้แลเป็นวัตรในความเป็นผู้รังเกียจของเรา.

สารีบุตร ! ในวัตรสี่อย่างนั้น นี้เป็น ปวิวิตตวัตร (วัตรในความเป็นผู้สงัดทั่วแล้ว) ของเรา คือ ดูก่อนสารีบุตร ! เรานั้นเข้าสู่ราวป่าแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วแลอยู่ เมื่อเห็นคนเลี้ยงโค หรือคนเลี้ยงปศุสัตว์ หรือคนเกี่ยวหญ้า หรือคนหาไม้ หรือคนทำงานในป่ามา เราก็รีบลัดเลาะจากป่านี้ไปป่าโน้น จากรกชัฏนี้สู่รกชัฏโน้น จากลุ่มนี้สู่ลุ่มโน้น จากดอนนี้สู่ดอนโน้น เพราะเหตุคิดว่า ขอคนพวกนั้นอย่าเห็นเราเลยและเราก็อย่าได้เห็นชนพวกนั้น. สารีบุตร ! เปรียบเหมือนเนื้ออันอยู่ในป่า เห็นมนุษย์แล้วย่อมเลาะลัดจากป่านี้สู่ป่าโน้น จากรกชัฏนี้สู่รกชัฏโน้น จากลุ่มนี้สู่ลุ่มโน้น จากดอนนี้สู่ดอนโน้น, ฉันใดก็ฉันนั้น ที่เราเมื่อเห็นคนเลี้ยงโคหรือคนเลี้ยงปศุสัตว์หรือคนเกี่ยวหญ้า คนหาไม้ คนทำงานในป่ามาก็รีบเลาะลัดจากป่านี้สู่ป่าโน้น จากรกชัฏนี้สู่รกชัฏโน้น จากลุ่มนี้สู่ลุ่มโน้น จากดอนนี้สู่ดอนโน้น ด้วยหวังว่าคนพวกนี้อย่าเห็นเราเลย และเราก็อย่าได้เห็นคนพวกนั้น. สารีบุตร ! นี้แล เป็นวัตรในความเป็นผู้สงัดทั่วของเรา.

สารีบุตร ! เรานั้น โคเหล่าใดออกจากคอกหาคนเลี้ยงมิได้, เราก็คลานเข้าไปในที่นั้นถือเอาโคมัยของลูกโคน้อยๆที่ยังดื่มนมแม่เป็นอาหาร. สารีบุตร ! มูตรและกรีส (ปัสสาวะและอุจจาระ) ของตนเอง ยังไม่หมดเพียงใด เราก็ถือมูตรและกรีสนั้นเป็นอาหารตลอดกาลเพียงนั้น. ดูก่อน สารีบุตร ! นี้แลเป็นวัตรใน มหาวิกฏโภชนวัตร ของเรา.

สารีบุตร ! เราแลเข้าไปสู่ชัฏแห่งป่าน่าพึงกลัวแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วแลอยู่. เพราะชัฏแห่งป่านั้นกระทำซึ่งความกลัวเป็นเหตุ ผู้ที่มีสันดานยังไม่ปราศจากราคะ เข้าไปสู่ชัฏป่านั้นแล้ว โลมชาติย่อมชูชันโดยมาก. สารีบุตร ! เรานั้นในราตรีทั้งหลายอันมีในฤดูหนาวระหว่างแปดวัน เป็นสมัยที่ตกแห่งหิมะอันเย็นเยือกกลางคืนเราอยู่ที่กลางแจ้ง กลางวันเราอยู่ในชัฏแห่งป่า. ครั้นถึงเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน กลางวันเราอยู่ในที่แจ้ง กลางคืนเราอยู่ในป่า. สารีบุตร ! คาถาน่าเศร้านี้ อันเราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน มาแจ้งแก่เราว่า :-

"เรานั้นแห้ง (ร้อน) แล้วผู้เดียว, เปียกแล้วผู้เดียว, อยู่ในป่า
น่าพึงกลัวแต่ผู้เดียว, เป็นผู้มีกายอันเปลือยเปล่า ไม่ผิงไฟ,
เป็นมุนีขวนขวายแสวงหาความบริสุทธิ์." ดังนี้.

สารีบุตร ! เรานั้นนอนในป่าช้า ทับกระดูกแห่งซากศพทั้งหลายฝูงเด็กเลี้ยงโคเข้ามาใกล้เรา โห่ร้องใส่หูเราบ้าง ถ่ายมูตรรดบ้าง ซัดฝุ่นใส่บ้างเอาไม้แหลมๆ ทิ่มช่องหูบ้าง. สารีบุตร ! เราไม่รู้สึกซึ่งจิตอันเป็นบาปต่อเด็กเลี้ยงโคทั้งหลายเหล่านั้นแม้ด้วยการทำความคิดนึกให้เกิดขึ้น. สารีบุตร ! นี้เป็นวัตรในการอยู่อุเบกขาของเรา.

สารีบุตร ! สมณพราหมณ์บางพวกมักกล่าวมักเห็นอย่างนี้ว่า "ความบริสุทธิ์มีได้เพราะอาหาร", สมณพราหมณ์พวกนั้นกล่าวกันว่า พวกเราจงเลี้ยงชีวิตให้เป็นไปด้วยผลกะเบา* ทั้งหลายเถิด. สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงเคี้ยวกินผลกะเบาบ้าง เคี้ยวกินกะเบาตำผงบ้าง ดื่มน้ำคั้นจากผลกะเบาบ้าง ยิ่งบริโภคผลกะเบาอันทำให้แปลกๆ มีอย่างต่าง ๆ บ้าง. สารีบุตร ! เราก็ได้ใช้กะเบาผลหนึ่งเป็นอาหาร. สารีบุตร ! คำเล่าลืออาจมีแก่เธอว่า ผลกะเบาในครั้งนั้น ใหญ่มากข้อนี้เธออย่าเห็นอย่างนั้น ผลกะเบาในครั้งนั้น ก็โตเท่านี้เป็นอย่างยิ่งเหมือนในครั้งนี้เหมือนกัน. สารีบุตร ! เมื่อเราฉันกะเบาผลเดียวเป็นอาหาร ร่างกายได้ถึงความซูบผอมอย่างยิ่ง. เถาวัลย์อาสีติกบรรพหรือเถากาฬบรรพมีสัณฐานเช่นไร อวัยวะน้อยใหญ่ของเรา ก็เป็นเหมือนเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย. รอยเท้าอูฐมีสัณฐานเช่นไร รอยตะโพกนั่งทับของเราก็มีสัณฐานเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย. เถาวัฏฏนาวฬีมีสัณฐานเช่นใด กระดูกสันหลังของเราก็เป็นข้อๆ มีสัณฐานเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย. กลอน (หรือจันทัน) แห่งศาลาที่คร่ำคร่าเกะกะมีสัณฐานเช่นไร ซี่โครงของเราก็เกะกะมีสัณฐานเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย. ดวงดาวที่ปรากฏในน้ำในบ่อน้ำอันลึก ปรากฏอยู่ลึกฉันใด ดวงดาวคือลูกตาของเรา ปรากฏอยู่ลึกในเบ้าตาฉันนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย. น้ำเต้าที่เขาตัดแต่ยังอ่อน ครั้นถูกลมและแดดย่อมเหี่ยวยู่ยี่ มีสัณฐานเป็นเช่นไร หนังศีรษะแห่งเราก็เหี่ยวยู่มีสัณฐานเช่นนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย. สารีบุตร ! เราตั้งใจว่าลูบท้อง ก็ลูบถูกกระดูกสันหลังด้วย, ตั้งใจว่าลูบกระดูกสันหลังก็ลูบถูกท้องด้วย. สารีบุตร ! หนังท้องกับกระดูกสันหลังของเราชิดกันสนิท เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย. สารีบุตร! เรา เมื่อคิดว่าจักถ่ายอุจจาระปัสสาวะก็ล้มพับอยู่ตรงนั้น เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย. สารีบุตร! เรา เมื่อจะบรรเทาซึ่งกายนั้นให้มีความสุขบ้าง จึงลูบตัวด้วยฝ่ามือ, เมื่อเราลูบตัวด้วยฝ่ามือ ขนที่มีรากเน่าแล้วได้หลุดออกจากกายร่วงไป เพราะความเป็นผู้มีอาหารน้อย.

(ต่อจากนี้ มีเรื่องการบริสุทธิ์เพราะอาหารอย่างเดียวกับการบริโภคผลกะเบา ต่างกันแต่แทนผลกะเบา กลายเป็น ถั่วเขียว, งา, ข้าวสาร เท่านั้น. พระองค์ได้ทดลองเปลี่ยนทุกๆ อย่าง. เรื่องตั้งแต่ต้นมา แสดงว่าพระองค์ได้ทรงเคยประพฤติวัตรของเดียรถีย์ ที่เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค แล้วทุกๆ อย่าง สรุปเรียกได้ว่าส่วนสุดฝ่ายข้างตึง ที่พระองค์สอนให้เว้น ในยุคหลัง. วัตรเหล่านี้สันนิษฐานว่าทำทีหลังการไปสำนัก ๒ ดาบส. ถ้าทีหลังก็ต้องก่อนเบญจวัคคีย์ไปอยู่ด้วย ยุติเป็นอย่างไรแล้วแต่จะวินิจฉัย เพราะระยะทำความเพียรนานถึง ๖ ปี ได้เหตุผลเป็นอย่างไรโปรดเผยแผ่กันฟังด้วย).

ตรัสเล่าแก่พระสารีบุตร, บาลี มหาสีหนาทสูตร สีหนาทวรรค มู.ม. ๑๒/๑๕๕/๑๗๗, ที่วนสัณฑ์ ใกล้เมืองเวสาลี.
วัตรเหล่านี้ในบาลีไม่แสดงไว้ชัดว่า ทรงทำก่อนหรือหลังการไปสำนัก ๒ ดาบส หรือคราวเดียวกับทุกรกิริยาอดอาหาร.


--------------------------------------------------------------------------------
* ศัพท์ โกล นี้ แปลว่า พุทราก็ได้, โกเลหิติ พทเรหิ, ปปญ. ๒/๖๕.
   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 21:45:07 »

อุปมาปรากฏแจ่มแจ้ง

ราชกุมาร ! เรื่องประหลาดเกิดมีแก่เรา : อุปมาสามข้อ เป็นอัศจรรย์ที่ไม่เคยได้ยินมาแล้ว มาแจ่มแจ้งแก่เรา.

(๑) ราชกุมาร ! อุปมาข้อหนึ่ง ว่า เหมือนไม้สดชุ่มด้วยยาง ทั้งเขาตัดลงแช่น้ำไว้, ถ้าบุรุษตั้งใจว่าเราจะนำไม้สีไฟอันบน มาสีกับไม้นั้นให้ไฟเกิดปรากฏดังนี้, ราชกุมาร ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร บุรุษนั้นจักถือไม้สีไฟอันบนมาสีไฟให้เกิดปรากฏขึ้นได้หรือไม่ ? "พระองค์ผู้เจริญ ! ไม่ได้เลย, เพราะเหตุว่าโน้นเป็นไม้สดชุ่มด้วยยาง ทั้งยังแช่อยู่ในน้ำ เขาสีตลอดกาลเพียงใด จักต้องเหน็ดเหนื่อยคับแค้นเปล่าเพียงนั้น". ราชกุมาร ! ฉันใดก็ฉันนั้น สมณะหรือพราหมณ์พวกใด กายยังไม่หลีกออกจากวัตถุกาม ใจก็ยังระคนด้วยกิเลสกามอันทำความพอใจ ความเยื่อใยความเมาหมก ความกระหาย ความรุ่มร้อน ในวัตถุกามทั้งหลาย, เขายังละไม่ได้ยังรำงับไม่ได้ ซึ่งกิเลสกามอันเป็นภายในเหล่านั้น, ท่านสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ถึงจะได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าแข็งเผ็ดร้อน เพราะการทำความเพียรก็ดี หรือไม่ได้เสวยก็ดี ย่อมไม่ควรเพื่อเกิดปัญญารู้เห็นอันไม่มีปัญญาอื่นยิ่งไปกว่าได้เลย. ราชกุมาร! นี่เป็นอุปมาทีแรกที่เป็นอัศจรรย์ที่เราไม่เคยได้ยินมาแล้วแต่ก่อน ได้มาแจ่มแจ้งแก่เราแล้ว.

(๒) ราชกุมาร! อุปมาข้อสอง เป็นอัศจรรย์ที่เราไม่เคยได้ยินมาแล้ว ได้มาแจ่มแจ้งแก่เรา. ราชกุมาร ! อุปมาว่าไม้สดชุ่มด้วยยาง วางอยู่บนบก ไกลจากน้ำหากบุรุษตั้งใจว่า เราจักนำไม้สีไฟอันบนมาสีกับไม้นั้นให้ไฟเกิดปรากฏดังนี้, ท่านจักเข้าใจว่าอย่างไร บุรุษนั้นจักถือเอาไม้สีไฟอันบน มาสีให้เกิดไฟปรากฏขึ้นได้หรือไม่? "พระองค์ผู้เจริญ ! ไม่ได้เลย, เพราะเหตุว่าโน้นเป็นไม้สดชุ่มด้วยยาง แม้วางอยู่บนบกก็จริง เขาจะสีไปตลอดกาลเพียงใด ก็จะเหน็ดเหนื่อยคับแค้นเปล่า ตลอดกาลเพียงนั้น". ราชกุมาร ! ฉันใดก็ฉันนั้น สมณะหรือพราหมณ์พวกใด มีกายหลีกออกจากวัตถุกามแล้ว แต่ใจยังระคนด้วยกิเลสกามอันทำความพอใจ ความเยื่อใย ความเมาหมกความกระหาย ความรุ่มร้อน ในวัตถุกามทั้งหลาย, เขายังละไม่ได้ ระงับไม่ได้ซึ่งกิเลสกามอันเป็นภายในเหล่านั้น, สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จะได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าแข็งเผ็ดร้อน เพราะทำความเพียรก็ดี หรือไม่ได้เสวยก็ดี ก็ไม่ควรเพื่อจะเกิดปัญญารู้เห็นอันไม่มีปัญญาอื่นยิ่งไปกว่าได้เลย. ราชกุมาร! นี่เป็นอุปมาที่สอง ที่เป็นอัศจรรย์ อันเราไม่เคยได้ยินมาแล้วแต่ก่อน ได้มาแจ่มแจ้งแก่เราแล้ว.

(๓) ราชกุมาร ! อุปมาข้อสาม ที่เป็นอัศจรรย์อันเราไม่เคยได้ยินมาแล้ว มาแจ่มแจ้งแก่เรา. ราชกุมาร ! อุปมาว่าไม้แห้งสนิท ทั้งวางไว้บนบกไกลจากน้ำ, หากบุรุษตั้งใจว่าเราจักนำไม้สีไฟอันบนมาสีกับไม้นั้น ให้ไฟเกิดปรากฏขึ้น ดังนี้, ราชกุมาร ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร บุรุษนั้นจักนำไม้สีไฟอันบนมาสีกับไม้นั้นให้ไฟเกิดปรากฏขึ้นได้หรือไม่? "พระองค์ผู้เจริญ ! ได้โดยแท้, เพราะเหตุว่าโน้นเป็นไม้แห้งเกราะ ทั้งอยู่บนบกไกลจากน้ำด้วย". ราชกุมาร ! ฉันใดก็ฉันนั้น สมณะหรือพราหมณ์พวกใด มีกายละจากวัตถุกามแล้ว ทั้งใจก็ไม่ระคนอยู่ด้วยกิเลสกามอันทำความพอใจ ความเยื่อใย ความเมาหมก ความกระหาย ความรุ่มร้อน ในวัตถุกามทั้งหลาย, เขาเป็นผู้ละได้ ระงับได้ซึ่งกิเลสกามอันเป็นภายในเหล่านั้น. สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น จะได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าแข็งเผ็ดร้อนเพราะทำความเพียรก็ดี หรือไม่ได้เสวยก็ดี ย่อมควรเพื่อเกิดปัญญารู้เห็นอันไม่มีปัญญาอื่นยิ่งไปกว่า ได้. ราชกุมาร ! นี่เป็นอุปมาที่สาม ที่เป็นอัศจรรย์อันเราไม่เคยได้ยินมาแล้วแต่ก่อน ได้มาแจ่มแจ้งกะเราแล้ว.

บาลี โพธิราชกุมารสูตร ราชวรรค ม.ม. ๑๓/๔๔๘/๔๙๒.
และ สคารวสูตร พราหมณวรรค ม.ม.,
มหาสัจจกสูตร มหายมกวรรค มู.ม.;
ความตอนนี้ ปาสราสิสูนร มู.ม. ไม่มี.

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 21:46:05 »

ทุกรกิริยา

(วาระที่ ๑) ราชกุมาร! ความคิดข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้ากระไรเราพึงขบฟันด้วยฟัน อัดเพดานด้วยลิ้น ข่มจิตด้วยจิต บีบให้แน่นจนร้อนจัดดูที. ราชกุมาร! ครั้นเราคิดดังนั้นแล้ว จึงขบฟันด้วยฟัง อัดเพดานด้วยลิ้นข่มจิตด้วยจิต บีบให้แน่นจนร้อนจัดแล้ว เหงื่อไหลออกจากรักแร้ทั้งสอง, ราชกุมาร! เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงจับคนกำลังน้อยที่ศีรษะหรือที่คอ บีบให้แน่นจนร้อนจัดฉะนั้น. ราชกุมาร! แต่ความเพียรที่เราปรารภแล้ว จะได้ย่อหย่อนก็หาไม่ สติจะฟั่นเฟือนไปก็หาไม่, เป็นแต่กายกระสับกระส่ายไม่สงบ เพราะกำลังความเพียรที่ทนได้ยากเสียดแทงเอา.

(วาระที่ ๒) ราชกุมาร! ความคิดข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้ากระไรเราพึงเพ่งฌาน เอาการไม่หายใจเป็นอารมณ์เถิด. ราชกุมาร! ครั้นคิดดังนั้นแล้วเราจึงกลั้นลมหายใจออกเข้าทั้งทางจมูกและทางปาก. ราชกุมาร! ครั้นเรากลั้นลมหายใจทั้งทางจมูกและทางปาก เสียงลมออกทางช่องหูทั้งสองดังเหลือประมาณเหมือนเสียงลมในสูบแห่งนายช่องทองที่สูบไปสูบมาฉะนั้น. ราชกุมาร! แต่ความเพียรที่เราปรารภแล้ว จะได้ย่อหย่อนก็หาไม่ สติจะฟั่นเฟือนไปก็หาไม่ เป็นแต่กายกระสับกระส่ายไม่สงบ เพราะกำลังแห่งความเพียรที่ทนได้ยากเสียดแทงเอา.

(วาระที่ ๓) ราชกุมาร! ความคิดข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้ากระไรเราพึงเพ่งฌาน มีการไม่หายใจนั่นแหละ (ให้ยิ่งขึ้น)* เป็นอารมณ์เถิด. ราชกุมาร! ครั้นคิดดังนั้นแล้ว เราจึงกลั้นลมหายใจออกเข้า ทั้งทางจมูกทางปากและทางช่องหูทั้งสองแล้ว. ราชกุมาร! ครั้นเรากลั้นลมหายใจออกเข้า ทั้งทางจมูกทางปากและทางช่องหูทั้งสองแล้ว ลมกล้าเหลือประมาณ แทงเซาะขึ้นไปทางบนกระหม่อมเหมือนถูกบุรุษแข็งแรง เชือดเอาที่แสกกระหม่อมด้วยมีดโกนอันคม ฉะนั้น. ราชกุมาร! แต่ความเพียรที่เราปรารภแล้วจะได้ย่อหย่อนก็หาไม่ สติจะได้ฟั่นเฟือนไปก็หาไม่ เป็นแต่กายกระสับกระส่ายไม่สงบ เพราะความเพียรที่ทนได้แสนยากเสียดแทงเอา.

(วาระที่ ๔) ราชกุมาร! ความคิดข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้ากระไรเราพึงเพ่งฌาน มีการไม่หายใจนั่นแหละ (ให้ยิ่งขึ้นไปอีก) เป็นอารมณ์เถิด. ราชกุมาร! ครั้นคิดดังนั้นแล้ว เราได้กลั้นลมหายใจออกเข้า ทั้งทางจมูกทางปากและทางช่องหูทั้งสองแล้ว. ราชกุมาร! ครั้นเรากลั้นลมหายใจออกเข้า ทั้งทางจมูกทางปากและทางช่องหูทั้งสองแล้ว รู้สึกปวดศีรษะทั่วไปทั้งศีรษะ เหลือประมาณ เปรียบปานถูกบุรุษแข็งแรง รัดศีรษะเข้าทั้งศรีษะด้วยเชือกมีเกลียวอันเขม็งฉะนั้น. ราชกุมาร! แต่ความเพียรที่เราปรารภแล้ว จะได้ย่อหย่อนก็หาไม่ สติจะฟั่นเฟือนไปก็หาไม่ เป็นแต่กายกระสับกระส่ายไม่สงบ เพราะความเพียรที่ทนได้แสนยากเสียดแทงเอา.

(วาระที่ ๕) ราชกุมาร! ความคิดข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้ากระไรเราพึงเพ่งฌานมีการไม่หายใจนั่นแหละ (ให้ยิ่งขึ้นไปอีก) เป็นอารมณ์เถิด. ราชกุมาร! ครั้นคิดดังนั้นแล้ว เราได้กลั้นลมหายใจออกเข้า ทั้งทางจมูกและทางปากและทางช่องหูทั้งสอง. ราชกุมาร! ครั้นเรากลั้นลมหายใจออกเข้าทั้งทางจมูกและทางปากและทางช่องหูทั้งสองแล้ว ลมกล้าเหลือประมาณหวนกลับลงแทงเอาพื้นท้อง ดุจถูกคนฆ่าโคหรือลูกมือตัวขยันของเขา เฉือนเนื้อพื้นท้องด้วยมีดสำหรับเฉือนเนื้อโคอันคมฉะนั้น. ราชกุมาร! แต่ความเพียรของเราจะได้ย่อหย่อนก็หาไม่ สติจะได้ฟั่นเฟือนไปก็หาไม่ เป็นแต่กายกระสับกระส่ายไม่สงบ เพราะกำลังแห่งความเพียรที่ทนได้แสนยากเสียดแทงเอา.

(วาระที่ ๖) ราชกุมาร! ความคิดอันนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้ากระไรเราพึงเพ่งฌานมีการไม่หายใจนั่นแหละ (ให้ยิ่งขึ้นไปอีก) เป็นอารมณ์เถิด. ราชกุมาร! ครั้นคิดดังนั้นแล้ว เราได้กลั้นลมหายใจออกเข้าไว้ทั้งทางจมูกและทางปากและทางช่องหูทั้งสอง. ราชกุมาร! ครั้นเรากลั้นลมหายใจออกเข้าไว้ทั้งทางจมูกทางปากและทางช่องหูทั้งสอง ก็เกิดความร้อนกล้าขึ้นทั่วกาย ดุจถูกคนแข็งแรงสองคนช่วยกันจับคนที่กำลังน้อยที่แขนข้างละคนแล้ว ย่างรมไว้เหนือหลุมถ่านเพลิงอันระอุฉะนั้น. ราชกุมาร! แต่ความเพียรที่เราปรารภแล้วจะได้ย่อหย่อนก็หาไม่ สติจะฟั่นเฟือนไปก็หาไม่ เป็นแต่กายกระวนกระวายไม่สงบ เพราะกำลังแห่งความเพียรที่ทนได้แสนยากเสียดแทงเอา.

โอ ราชกุมาร! พวกเทวดาเห็นเราแล้วพากันกล่าวว่า พระสมณโคดมทำกาละเสียแล้ว, บางพวกกล่าวว่า พระสมณโคดมไม่ใช่ทำกาละแล้ว เป็นแต่กำลังทำกาละอยู่, บางพวกกล่าวว่า ไม่ใช่เช่นนั้น จะว่าพระสมณโคดมทำกาละแล้วหรือกำลังทำกาละอยู่ ก็ไม่ชอบทั้งสองสถาน พระสมณโคดมเป็นพระอรหันต์ นั่นเป็นการอยู่ของท่าน, การอยู่เช่นนั้นเป็นการอยู่ของพระอรหันต์ ดังนี้.

(วาระที่ ๗) ราชกุมาร! ความคิดอันนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้ากระไรเราพึงปฏิบัติการอดอาหารโดยประการทั้งปวงเสีย. ราชกุมาร! ครั้งนั้นพวกเทวดาเข้ามาหาเราแล้วกล่าวว่า "ท่านผู้นิรทุกข์! ท่านอย่าปฏิบัติการอดอาหารโดยประการทั้งปวงเลย ถ้าท่านจักปฏิบัติการอดอาหารโดยประการทั้งปวงไซร้ พวกข้าพเจ้าจักแทรกโอชาอันเป็นทิพย์ลงตามขุมขนของท่าน ท่านจักมีชีวิตอยู่ได้ด้วยโอชาทิพย์นั้น". ราชกุมาร! ความคิดนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เราปฏิญญาการไม่บริโภคอาหารด้วยประการทั้งปวงด้วยตนเอง ถ้าเทวดาเหล่านี้แทรกโอชาอันเป็นทิพย์ลงตามขุมขนแห่งเราแล้ว ถ้าเราจะมีชีวิตอยู่ด้วยโอชานั้น ข้อนั้นจักเป็นมุสาแก่เราไปดังนี้. ราชกุมาร! เราบอกห้ามกะเทวดาเหล่านั้นว่าอย่าเลย.

ราชกุมาร! ความคิดอันนี้ได้เกิดมีแก่เราว่า ถ้ากระไรเราบริโภคอาหารผ่อนให้น้อยลง วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้างดังนี้. ราชกุมาร! เราได้บริโภคอาหารผ่อนน้อยลง วันละฟายมือบ้าง เท่าเยื่อถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อถั่วดำบ้าง เท่าเยื่อในเมล็ดบัวบ้าง แล้ว. ราชกุมาร! เมื่อเป็นเช่นนั้นร่างกายของเราได้ถึงการซูบผอมลงยิ่งนัก. เพราะโทษที่เรามีอาหารน้อย อวัยวะใหญ่น้อยของเราเป็นเหมือนเถาวัลย์อาสีติกบรรพ หรือเถากาฬบรรพ, เนื้อที่ตะโพกที่นั่งทับของเรา มีสัณฐานดังเท้าอูฐ, ข้อกระดูกสันหลังของเราผุดขึ้นระกะราวกะเถาวัลย์วัฏฏนาวลี, ซี่โครงของเราโหรงเหรงเหมือนกลอนศาลาอันเก่าคร่ำคร่า, ดาวคือดวงตาของเรา ถล่มลึกอยู่ในกระบอกตา ดุจเงาแห่งดวงดาวที่ปรากฏอยู่ในบ่อน้ำอันลึกฉะนั้น, ผิวหนังศีรษะของเรา เหี่ยวย่นเหมือนน้ำเต้าอ่อนที่ตัดมาแต่ยังสด ถูกแดดเผาเหี่ยวย่นเช่นเดียวกัน. ราชกุมาร! เราคิดว่าจะจับพื้นท้องครั้นจับเข้าก็ถูกถึงกระดูกสันหลังตลอดไป, คิดว่าจะจับกระดูกสันหลัง ครั้นจับเข้าก็ถูกถึงพื้นท้องด้วย. ราชกุมาร! ตถาคตคิดจะถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ ก็เซล้มราบอยู่ ณ ที่นั้นเอง. ราชกุมาร! ตถาคตหวังจะให้กายมีความสุขบ้าง จึงลูบไปตามตัวด้วยฝ่ามือ ขนมีรากอันเน่าหลุดตกลงจากกาย.

โอ ราชกุมาร! มนุษย์ทั้งหลายเห็นเราแล้วกล่าวว่า พระสมณโคดมดูดำไป, บางพวกกล่าวว่า พระสมณโคดมไม่ดำ เป็นแต่คล้ำไป, บางพวกกล่าวว่าจะดำก็ไม่เชิง จะคล้ำก็ไม่เชิง พระสมณโคดมมีผิวเผือดไปเท่านั้น. ราชกุมาร! ผิวพรรณที่เคยบริสุทธิ์ผุดผ่องของตถาคต มากลายเป็นถูกทำลายลงแล้ว เพราะความที่ตนมีอาหารน้อยนั้น.

บาลี โพธิราชกุมารสูตร ราชวรรค ม.ม. ๑๓/๔๕๒/๔๙๕;
และสคารวสูตร ม.ม. ๑๓/๖๗๘/๗๔๔;
มหาสัจจกสูตร มู.ม. ๑๒/๔๕๐/๔๑๗.
ความตอนนี้ ปาสราสิสูตรไม่มี.


--------------------------------------------------------------------------------
* แปลกจากวาระที่สองด้วย เอว ศัพท์ศัพท์เดียว.
   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 21:46:54 »

ทรงแน่พระทัยว่าไม่อาจตรัสรู้เพราะการทำทุกรกิริยา

สารีบุตร! ด้วยอิริยา (เครื่องออกไปจากข้าศึก) แม้ชนิดนั้น ด้วยปฏิปทาชนิดนั้น ด้วยทุกรกิริยาชนิดนั้น, เราไม่ได้บรรลุแล้วซึ่งอลมริยญาณทัสสนวิเสส ที่ยิ่งไปกว่าธรรมดาแห่งมนุษย์เลย. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ไม่มีการถึงทับซึ่งอริยปัญญา อันเป็นอริยปัญญาที่ถึงทับแล้วจักเป็นนิยยานิกธรรมอันประเสริฐ นำผู้ปฏิบัติตามนั้นให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นั่นเทียว.

หมายเหตุ : ข้อความเหล่านี้แสดงถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายหลังจากการทรงกระทำทุกรกิริยาทุกรูปแบบแล้ว ทรงเห็นว่าไม่เป็นทางตรัสรู้ ก็ทรงเลิกเสีย, ทรงกลับพระทัยฉันอาหารหยาบ เพื่อบำเพ็ญเพียรทางจิตต่อไป. - ผู้รวบรวม.

มหาสีหนาทสูตร มู.ม. ๑๒/๑๖๒/๑๘๖. ตรัสแก่พระสารีบุตร ที่อปรปูรวนสัณฑ์ นอกนครเวสาลี.

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 21:47:44 »

ทรงแน่พระทัยว่าไม่อาจตรัสรู้เพราะการทำทุกรกิริยา

สารีบุตร! ด้วยอิริยา (เครื่องออกไปจากข้าศึก) แม้ชนิดนั้น ด้วยปฏิปทาชนิดนั้น ด้วยทุกรกิริยาชนิดนั้น, เราไม่ได้บรรลุแล้วซึ่งอลมริยญาณทัสสนวิเสส ที่ยิ่งไปกว่าธรรมดาแห่งมนุษย์เลย. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า? ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ไม่มีการถึงทับซึ่งอริยปัญญา อันเป็นอริยปัญญาที่ถึงทับแล้วจักเป็นนิยยานิกธรรมอันประเสริฐ นำผู้ปฏิบัติตามนั้นให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นั่นเทียว.

หมายเหตุ : ข้อความเหล่านี้แสดงถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายหลังจากการทรงกระทำทุกรกิริยาทุกรูปแบบแล้ว ทรงเห็นว่าไม่เป็นทางตรัสรู้ ก็ทรงเลิกเสีย, ทรงกลับพระทัยฉันอาหารหยาบ เพื่อบำเพ็ญเพียรทางจิตต่อไป. - ผู้รวบรวม.

มหาสีหนาทสูตร มู.ม. ๑๒/๑๖๒/๑๘๖. ตรัสแก่พระสารีบุตร ที่อปรปูรวนสัณฑ์ นอกนครเวสาลี.

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 21:48:24 »

ทรงกลับพระทัยฉันอาหารหยาบ

ราชกุมาร! ความคิดอันนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ในอดีตกาลอันยาวยืดก็ดี...ในอนาคตกาลอันยาวยืดก็ดี...แม้ในปัจจุบันนี้ก็ดี, สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดที่ได้เสวยทุกขเวทนากล้าแข็งเผ็ดร้อนอันเกิดจากการทำความเพียร อย่างสูงสุดก็เท่าที่เราได้เสวยอยู่นี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้ได้, ก็แต่ว่าเราหาอาจบรรลุธรรมอันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ หรืออลมริยญาณทัศนวิเศษ ด้วยทุกรกิริยาอันกล้าแข็งแสบเผ็ดนี้ไม่. ชะรอยหนทางแห่งการตรัสรู้จักพึงมีโดยประการอื่น.

ราชกุมาร! ความระลึกอันนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เออก็เรายังจำได้อยู่เมื่องานแรกนาแห่งบิดา เรานั่ง ณ ร่มไม้หว้ามีเงาเย็นสนิท มีใจสงัดแล้วจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่ ชะรอยนั่นจักเป็นทางแห่งการตรัสรู้บ้าง ดังนี้. ราชกุมาร! วิญญาณอันแล่นไปตามความระลึก ได้มีแล้วแก่เราว่า นี่แล แน่แล้วหนทางแห่งการตรัสรู้ดังนี้.

ราชกุมาร! ความสงสัยอันนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เราควรจะกลัวต่อความสุขชนิดที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมหรือไม่หนอ? ราชกุมาร! ความแน่ใจอันนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เราไม่ควรกลัวต่อสุขอันเว้นจากกามและอกุศลทั้งหลาย. ราชกุมาร! ความคิดได้มีแก่เราสืบไปว่า ก็ความสุขชนิดนั้น คนที่มีร่างกายหิวโหยเกินกว่าเหตุเช่นนี้ จะบรรลุได้โดยง่ายไม่ได้เลย ถ้าไฉนเราพึงกลืนกินอาหารหยาบ คือข้าวสุกและขนมสดเถิด. ราชกุมาร! เราได้กลืนกินอาหารหยาบ คือข้าวสุกและขนมสดแล้ว.

โพธิราชกุมารสูตร ราชวรรค ม.ม. ๑๓/๔๕๘/๕๐๔,
และสคารวสูตร พราหมณวรรค ม.ม.,
มหาสัจจกสูตร มหายมกวรรค มู.ม.;
ปาสราสิสูตร ไม่มีข้อความนี้.

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 21:49:05 »

ภิกษุปัญจวัคคีย์หลีก

ราชกุมาร! เรานั้นได้กลืนกินอาหารหยาบ คือข้าวสุกและขนมสดแล้ว. ราชกุมาร! ก็ครั้งนั้นมีภิกษุผู้เป็นพวกกัน ๕ รูป (ปัญจวัคคีย์) เป็นผู้คอยบำรุงเราด้วยหวังอยู่ว่า พระสมณโคดมได้บรรลุธรรมใด จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย. ราชกุมาร! ครั้นตถาคตกลืนกินอาหารหยาบ คือข้าวสุกและขนมสดแล้ว ภิกษุผู้เป็นพวกกัน ๕ รูปนั้น พากันหน่ายในเรา หลีกไปเสีย ด้วยคิดว่าพระสมณโคดมเป็น คนมักมากคลายความเพียรเวียนมาเป็น คนมักมาก เสียแล้ว ดังนี้.

โพธิราชกุมารสูตร ราชวรรค ม.ม. ๑๓/๔๕๙/๕๐๕,
และสคารวสูตร พราหมณวรรค ม.ม.,
มหาสัจจกสูตร มหายมกวรรค มู.ม.;
ปาสราสิสูตรไม่มี.

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 21:50:06 »

ทรงตริตรึกเพื่อตรัสรู้

ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้นั่นเทียว ได้เกิดความปริวิตกขึ้นว่า อะไรหนอเป็นรสอร่อยในโลก? อะไรเป็นโทษในโลก? อะไรเป็นอุบายเครื่องออกไปจากโลก?

ภิกษุ ท.! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า สุขโสมนัสที่ปรารภโลกเกิดขึ้นนี่เอง เป็น รสอร่อยในโลก. โลกที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ทรมาน มีการเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดานี่เอง เป็นโทษในโลก. การนำออกและการละเสียสิ้นเชิงซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลินในโลกนี่เอง เป็น อุบายเครื่องออกไปจากโลกได้.

ภิกษุ ท.! ตลอดเวลาเพียงไร ที่เรายังไม่รู้จักรสอร่อยของโลกว่าเป็นรสอร่อย, ยังไม่รู้จักโทษของโลกว่าเป็นโทษ, ยังไม่รู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นอุบายเครื่องออก ตามที่เป็นจริง, ตลอดเวลาเพียงนั้น เรายังไม่รู้สึกว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหมหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา พร้อมทั้งมนุษย์.

ภิกษุ ท.! เมื่อใดแล เราได้รู้จักรสอร่อยของโลกว่าเป็นรสอร่อยรู้จักโทษของโลกว่าเป็นโทษ รู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นอุบายเครื่องออก ตามที่เป็นจริงด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อนั้นเรารู้สึกว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่ง อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา พร้อมทั้งมนุษย์.

ก็แหละญาณทัศนะเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่มิได้มีอีก ดังนี้.

ปฐมสูตร สัมโพธิวรรค ตติยปัณณาสก์ ติก. อํ. ๒๐/๓๓๒/๕๔๓.

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 21:50:44 »

ทรงเที่ยวแสวงเพื่อความตรัสรู้

ภิกษุ ท.! เราได้เที่ยวไปแล้วเพื่อแสวงหารสอร่อย (คือเครื่องล่อใจสัตว์) ของโลก. เราได้พบรสอร่อยของโลกนั้นแล้ว. รสอร่อยในโลกมีประมาณเท่าใด, เราเห็นมันอย่างดีด้วยปัญญาของเรา เท่านั้น.

ภิกษุ ท.! เราได้เที่ยวไปแล้วเพื่อแสวงหา (ให้พบ) โทษ (คือความร้ายกาจ) ของโลก. เราได้พบโทษของโลกนั้นแล้ว. โทษในโลกมีเท่าใด, เราเห็นมันอย่างดีด้วยปัญญาของเรา เท่านั้น.

ภิกษุ ท.! เราได้เที่ยวไปแล้วเพื่อแสวงหาอุบายเครื่องออกจากโลกของโลก. เราได้พบอุบายเครื่องออกจากโลกนั้นแล้ว. อุบายเครื่องออกจากโลกมีอยู่เท่าใด, เราเห็นมันอย่างดีด้วยปัญญาของเรา เท่านั้น.

ภิกษุ ท.! ตลอดเวลาเพียงไร ที่เรายังไม่รู้เท่ารสอร่อยของโลกว่าเป็นรสอร่อย (เครื่องล่อใจสัตว์), ไม่รู้จักโทษของโลกโดยความเป็นโทษ, ไม่รู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นอุบายเครื่องออก ตามที่เป็นจริง, ตลอดเวลาเพียงนั้นแหละ เรายังไม่รู้สึกว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา พร้อมทั้งมนุษย์.

ภิกษุ ท.! เมื่อใดแล เราได้รู้ยิ่งซึ่งรสอร่อยของโลกว่าเป็นรสอร่อย, รู้โทษของโลกโดยความเป็นโทษ, รู้อุบายเครื่องออกของโลก ว่าเป็นอุบายเครื่องออก ตามที่เป็นจริง, เมื่อนั้นแหละ เรารู้สึกว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา พร้อมทั้งมนุษย์.

ก็แหละญาณทัศนะเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ, ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย, บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ไม่มีอีก,ดังนี้.

บาลี ทุติยสูตร สัมโพธิวรรค ตติยปัณณาสก์ ติก. อํ. ๒๐/๓๓๓/๕๔๔,
บาลีนี้และบาลีต่อไปที่ทรงเล่านี่เอง แสดงชัดเจนว่าทำไมจึงออกผนวช.
คือทรงเห็นว่าถ้าไม่ออก ก็ไม่มีโอกาสแสวงสิ่งที่ทรงประสงค์จะรู้.

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 21:51:41 »

ทรงคอยควบคุมวิตก ก่อนตรัสรู้

ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, ได้เกิดความรู้สึกอันนี้ขึ้นว่า เราพึงทำวิตกทั้งหลายให้เป็นสองส่วนเถิด. ภิกษุ ท.! เราได้ทำ กามวิตก พยาปาทวิตก วิหิงสาวิตก สามอย่างนี้ให้เป็นส่วนหนึ่ง, ได้ทำ เนกขัมมวิตก อัพยาปาทวิตก อวิหิงสาวิตก สามอย่างนี้ให้เป็นอีกส่วนหนึ่งแล้ว.

ภิกษุ ท.! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้กามวิตกเกิดขึ้น เราก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า กามวิตกเกิดแก่เราแล้ว, กามวิตกนั้นย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่าย (คือทั้งตนและผู้อื่น) บ้าง, เป็นไปเพื่อความดับแห่งปัญญา เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน. ภิกษุ ท.! เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่....ฯลฯ*.... อย่างนี้ กามวิตกย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้. ภิกษุ ท.! เราได้ละและบรรเทากามวิตกอันบังเกิดขึ้นแล้วและบังเกิดแล้ว กระทำให้สิ้นสุดได้แล้ว.

ภิกษุ ท.! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้พยาปาทวิตกเกิดขึ้น เราก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า พยาปาทวิตกเกิดแก่เราแล้ว, ก็พยาปาทวิตกนั้นย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง, เป็นไปเพื่อความดับแห่งปัญญา เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน. ภิกษุ ท.! เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่...ฯลฯ... อย่างนี้ พยาปาทวิตกย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้. ภิกษุ ท.! เราได้ละและบรรเทาพยาปาทวิตก อันบังเกิดขึ้นแล้วและบังเกิดแล้ว กระทำให้สิ้นสุดได้แล้ว.

ภิกษุ ท.! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้วิหิงสาวิตกเกิดขึ้น เราก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า วิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้ว, ก็วิหิงสาวิตกนั้นย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง, เป็นไปเพื่อความดับแห่งปัญญา เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน. ภิกษุ ท.! เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่....ฯลฯ....อย่างนี้ วิหิงสาวิตกย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้. ภิกษุ ท.! เราได้ละและบรรเทาวิหิงสาวิตกอันบังเกิดขึ้นแล้วและบังเกิดแล้วกระทำให้สิ้นสุดได้แล้ว.

ภิกษุ ท.! ภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอารมณ์ใดๆ มาก จิตย่อมน้อมไปโดยอาการอย่างนั้นๆ : ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงกามวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละเนกขัมมวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากซึ่งกามวิตก; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในกาม. ถ้าภิกษุตรึกตรองตามถึงพยาปาทวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละอัพยาปาทวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากซึ่งพยาปาทวิตก, จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการพยาบาท. ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงวิหิงสาวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละอวิหิงสาวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากซึ่งวิหิงสาวิตก; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการทำสัตว์ให้ลำบาก.

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในคราวฤดูสารท คือเดือนสุดท้ายแห่งฤดูฝนคนเลี้ยงโคต้องเลี้ยงฝูงโคในที่แคบเพราะเต็มไปด้วยข้าวกล้า เขาต้องตีต้อนห้ามกันฝูงโคจากข้าวกล้านั้นด้วยท่อนไม้ เพราะเขาเห็นโทษคือการถูกประหาร การถูกจับกุม การถูกปรับไหม การติเตียน เพราะมีข้าวกล้านั้นเป็นเหตุ ข้อนี้ฉันใด, ภิกษุ ท.! ถึงเราก็ฉันนั้น ได้เห็นแล้วซึ่งโทษความเลวทรามเศร้าหมองแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย, เห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม ความเป็นฝักฝ่ายของความผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย.

ภิกษุ ท.! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้เนกขัมมวิตกย่อมเกิดขึ้น...** อัพยาปาทวิตกย่อมเกิดขึ้น....อวิหิงสาวิตกย่อมเกิดขึ้น. เราย่อมรู้แจ้งชัดว่า อวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้ว, ก็อวิหิงสาวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน เบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย, แต่เป็นไปพร้อมเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน. แม้เราจะตรึกตามตรองตามถึงอวิหิงสาวิตกนั้นตลอดคืน ก็มองไม่เห็นภัยที่จะเกิดขึ้นเพราะอวิหิงสาวิตกนั้นเป็นเหตุ. แม้เราจะตรึกตามตรองตามถึงอวิหิงสาวิตกนั้นตลอดวัน, หรือตลอดทั้งกลางคืนกลางวัน ก็มองไม่เห็นภัยอันจะเกิดขึ้นเพราะอวิหิงสาวิตกนั้นเป็นเหตุ.

ภิกษุ ท.! เพราะเราคิดเห็นว่า เมื่อเราตรึกตามตรองตามนานเกินไปนักกายจะเมื่อยล้า, เมื่อกายเมื่อยล้า จิตก็อ่อนเพลีย, เมื่อจิตอ่อนเพลีย จิตก็ห่างจากสมาธิ, เราจึงได้ดำรงจิตให้หยุดอยู่ในภายใน กระทำให้มีอารมณ์อันเดียวตั้งมั่นไว้ ด้วยหวังอยู่ว่า จิตของเราอย่าฟุ้งขึ้นเลย ดังนี้.

ภิกษุ ท.! ภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอารมณ์ใดๆ มาก จิตย่อมน้อมไปโดยอาการอย่างนั้นๆ : ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงเนกขัมมวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละกามวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากซึ่งเนกขัมมวิตก; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการออกจากกาม. ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอัพยาปาทวิตกมากก็เป็นอันว่าละพยาปาทวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากในอัพยาปาทวิตก; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการไม่พยาบาท. ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอวิหิงสาวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละวิหิงสาวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากในอวิหิงสาวิตก; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการไม่ยังสัตว์ให้ลำบาก.

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนในเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน ข้าวกล้าทั้งหมดเขาขนนำไปในบ้านเสร็จแล้ว*** คนเลี้ยงโคพึงเลี้ยงโคได้. เมื่อเขาไปพักใต้ร่มไม้ หรือไปกลางทุ่งแจ้งๆ พึงทำแต่ความกำหนดว่า นั่นฝูงโคดังนี้ (ก็พอแล้ว) ฉันใด; ภิกษุ ท.! ถึงภิกษุก็เพียงแต่ทำความระลึกว่า นั่นธรรมทั้งหลายดังนี้ (ก็พอแล้ว) ฉันนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุ ท.! ความเพียรเราได้ปรารภแล้วไม่ย่อหย่อน สติเราได้ดำรงไว้แล้วไม่ฟั่นเฟือน กายสงบระงับไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นมีอารมณ์อันเดียวแล้ว. ภิกษุ ท.! เรานั้น เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่. (คำต่อไปนี้เหมือนในตอนที่กล่าวด้วยการตรัสรู้ ข้างหน้า อันว่าด้วยรูปฌานสี่)

เทวธาวิตักกสูตร สีหนาทวรรค มู.ม. ๑๒/๒๓๒/๒๕๒, ตรัสที่เชตวัน.


--------------------------------------------------------------------------------
* เห็นอย่างนี้ คือเห็นอย่างว่ามาแล้ว เช่นมีการเบียดเบียนตนเป็นต้น.
** ที่ละด้วยจุดนี้ หมายความว่าตรัสทีละวิตก แต่คำตรัสเหมือนกันหมด ผิดแต่ชื่อเท่านั้น, ทุกๆ วิตกมีเนื้อความอย่างเดียวกัน.

*** คำแปลตรงนี้ ข้าพเจ้าถือเอาตามที่ได้สอบสวนสันนิษฐานแล้ว คือฉบับบาลีเป็น สพฺพปสฺเสสุคามนฺตสมฺภเวสุ มีผู้แปลกันต่างๆ ตามแต่จะให้คล้ายรูปศัพท์เพียงใด. ข้าพเจ้าเห็นว่าต้องแก้บาลีนั้นเป็น สพฺพสสฺเสสุ จึงจะได้ความ เพราะอรรถกถาแก้คำหลังไว้ดังนี้ คามนฺตสมฺภเวสูติ คามนฺตอาหเฏสุ ฯ ปปญจ. ๒/๑๑๑. ขอจงใคร่ครวญด้วย. บาลีคือพระไตรปิฎกเล่ม ๑๒ หน้า ๒๓๖ บรรทัด ๖ นับลง.

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 21:52:24 »

ทรงกำหนดสมาธินิมิต ก่อนตรัสรู้

อนุรุทธะ ท.! นิมิตนั้นแหละ เธอพึงแทงตลอดเถิด. แม้เราเมื่อครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ก็จำแสงสว่างและการเห็นรูปทั้งหลายได้. ต่อมาไม่นาน แสงสว่างและการเห็นรูปของเรานั้นๆ ได้หายไป. เกิดความสงสัยแก่เราว่า อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ที่ทำให้แสงสว่างและการเห็นรูปนั้นหายไป? อนุรุทธะ ท.! เมื่อคิดอยู่ ก็เกิดความรู้ (ดังต่อไปนี้) ว่า : -

วิจิกิจฉา (ความลังเล) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้วก็เพราะมีวิจิกิจฉาเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉาจะไม่บังเกิดขึ้นแก่เราได้อีก....ฯลฯ....(มีคำระหว่างนี้เหมือนท่อนต้น ไม่มีผิด ทุกตอน ตั้งแต่คำว่า ต่อมาไม่นาน จนถึงคำว่า เกิดความรู้ (ดังต่อไปนี้) ว่า :-)

อมนสิการ (ความไม่ทำไว้ในใจ คือไม่ใส่ใจ) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว ก็เพราะมีอมนสิการเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูป ย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉาและอมนสิการจะไม่เกิดขึ้นแก่เราได้อีก.

ถีนมิทธะ (ความเคลิ้มและง่วงงุน) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีถีนมิทธะเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, และถีนมิทธะ จะไม่บังเกิดขึ้นแก่เราได้อีก.

ฉัมภิตัตตะ (ความสะดุ้งหวาดเสียว) แล บังเกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีฉัมภิตัตตะเป็นต้นเหตุ. ครั้นสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เหมือนบุรุษเดินทางไกล เกิดผู้มุ่งหมายเอาชีวิตขึ้นทั้งสองข้างทาง ความหวาดเสียวย่อมเกิดแก่เขาเพราะข้อนั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, และฉัมภิตัตตะ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

อุพพิละ (ความตื่นเต้น) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอุพพิละนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เหมือนบุรุษแสวงหาอยู่ซึ่งขุมทรัพย์ขุมเดียว เขาพบพร้อมกันคราวเดียวตั้งห้าขุม ความตื่นเต้นเกิดขึ้นเพราะการพบนั้นเป็นเหตุ ฉะนั้นเราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ และอุพพิละ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

ทุฏฐุลละ (ความคะนองหยาบ) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีทุฏฐุลละนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ, อุพพิละ, และทุฏฐุลละ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

อัจจารัทธวิริยะ (ความเพียรที่ปรารภจัดจนเกินไป) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอัจจารัทธวิริยะนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เปรียบเหมือนบุรุษจับนกกระจาบด้วยมือทั้งสองหนักเกินไป นกนั้นย่อมตายในมือ ฉะนั้น. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ, อุพพิละ, ทุฏฐุลละ, และอัจจารัทธวิริยะ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

อติลีนวิริยะ (ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป) และ เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอติลีนวิริยะนั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เปรียบเหมือนบุรุษจับนกกระจาบหลวมมือเกินไป นกหลุดขึ้นจากมือบินหนีเสียได้ ฉะนั้น. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ, อุพพิละ, ทุฏฐุลละ, อัจจารัทธวิริยะ, และอติลีนวิริยะ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

อภิชัปปา (ความกระสันอยาก) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอภิชัปปาเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ, อุพพิละ, ทุฏฐุลละ, อัจจารัทธวิริยะ, อติลีนวิริยะ และอภิชัปปาจะไม่เกิดขึ้นแก่เราได้อีก.

นานัตตสัญญา (ความใส่ใจไปในสิ่งต่างๆ) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีนานัตตสัญญานั้นเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่ วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ, อุพพิละ, ทุฎฐุลละ,อัจจารัทธวิริยะ, อติลีนวิริยะ, อภิชัปปา, และนานัตตสัญญา จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

รูปปานํ อตินิชฌายิตัตตะ (ความเพ่งต่อรูปทั้งหลายจนเกินไป) แล เกิดขึ้นแก่เราแล้ว, สมาธิของเราเคลื่อนแล้ว เพราะมีอตินิชฌายิตัตตะเป็นต้นเหตุ. เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปย่อมหายไป. เราจักกระทำโดยประการที่วิจิกิจฉา, อมนสิการ, ถีนมิทธะ, ฉัมภิตัตตะ, อุพพิละ, ทุฏฐุลละ, อัจจารัทธวิริยะ, อติลีนวิริยะ, อภิชัปปา, นานัตตสัญญา, และ รูปานํอตินิชฌายิตัตตะ จะไม่เกิดแก่เราได้อีก.

ดูก่อนอนุรุทธะ ท.! เรารู้แจ้งชัดวิจิกิจฉา (เป็นต้นเหล่านั้น) ว่าเป็นอุปกิเลสแห่งจิตแล้ว จึงละแล้วซึ่งวิจิกิจฉา (เป็นต้นเหล่านั้น) อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิต เสีย.

ดูก่อนอนุรุทธะ ท.! เรานั้นเมื่อไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ย่อมจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป (หรือ) ย่อมเห็นรูป แต่จำแสงสว่างไม่ได้เป็นดังนี้ทั้งคืนบ้าง ทั้งวันบ้าง ทั้งคืนและทั้งวันบ้าง. ความสงสัยเกิดแก่เราว่าอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่เราจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป (หรือ) เห็นรูปแต่จำแสงสว่างไม่ได้ ทั้งคืนบ้าง ทั้งวันบ้าง ทั้งคืนและทั้งวันบ้าง?

ดูก่อนอนุรุทธะ ท.! ความรู้ได้เกิดแก่เราว่า สมัยใดเราไม่ทำ รูปนิมิต ไว้ในใจ แต่ทำ โอภาสนิมิต ไว้ในใจ สมัยนั้นเราย่อมจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูป. สมัยใดเราไม่ทำโอภาสนิมิตไว้ในใจ แต่ทำรูปนิมิตไว้ในใจ, สมัยนั้นเราย่อมเห็นรูปแต่จำแสงสว่างไม่ได้ ตลอดทั้งคืนบ้าง ตลอดทั้งวันบ้าง ตลอดทั้งคืนและทั้งวันบ้าง.

ดูก่อนอนุรุทธะ ท.! เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ย่อมจำแสงสว่างได้นิดเดียว เห็นรูปก็นิดเดียวบ้าง, จำแสงสว่างมากไม่มีประมาณเห็นรูปก็มากไม่มีประมาณบ้าง เป็นดังนี้ทั้งคืนบ้าง ทั้งวันบ้าง ทั้งคืนและทั้งวันบ้าง. ความสงสัยเกิดแก่เราว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่เราจำแสงสว่างได้นิดเดียว เห็นรูปก็นิดเดียวบ้าง, จำแสงสว่างได้มากไม่มีประมาณ เห็นรูปก็มากไม่มีประมาณตลอดทั้งคืนบ้าง ตลอดทั้งวันบ้าง ตลอดทั้งคืนและทั้งวันบ้าง?

ดูก่อนอนุรุทธะ ท.! ความรู้ได้เกิดแก่เราว่า สมัยใดสมาธิของเราน้อยสมัยนั้นจักขุก็มีน้อย, ด้วยจักขุอันน้อย เราจึงจำแสงสว่างได้น้อย เห็นรูปก็น้อย. สมัยใดสมาธิของเรามากไม่มีประมาณ สมัยนั้นจักขุของเราก็มาก ไม่มีประมาณ, ด้วยจักขุอันมากไม่มีประมาณนั้น เราจึงจำแสงสว่างได้มากไม่มีประมาณ เห็นรูปได้มากไม่มีประมาณ, ตลอดคืนบ้าง ตลอดวันบ้าง ตลอดทั้งคืนทั้งวันบ้าง.

ดูก่อนอนุรุทธะ ท.! ในกาลที่เรารู้แจ้งว่า (ธรรมมี) วิจิกิจฉา (เป็นต้นเหล่านั้น) เป็นอุปกิเลสแห่งจิตแล้ว และละมันเสียได้แล้ว กาลนั้นย่อมเกิดความรู้สึกขึ้นแก่เราว่า "อุปกิเลสแห่งจิตของเราเหล่าใด อุปกิเลสนั้นๆ เราละได้แล้ว, เดี๋ยวนี้ เราเจริญแล้วซึ่ง สมาธิโดยวิธีสามอย่าง."

ดูก่อนอนุรุทธะ ท.! เราเจริญแล้ว ซึ่งสมาธิอันมีวิตกวิจาร, ซึ่งสมาธิอันไม่มีวิตก แต่มีวิจารพอประมาณ, ซึ่งสมาธิอันไม่มีวิตกไม่มีวิจาร, ซึ่งสมาธิอันมีปีติ, ซึ่งสมาธิอันหาปีติมิได้, ซึ่งสมาธิอันเป็นไปกับด้วยความยินดี, และสมาธิอันเป็นไปกับด้วยอุเบกขา. ดูก่อนอนุรุทธะ ท.! กาลใดสมาธิอันมีวิตกมีวิจาร (เป็นต้นเหล่านั้นทั้ง ๗ อย่าง) เป็นธรรมชาติอันเราเจริญแล้ว, กาลนั้นญาณเป็นเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า "วิมุติของเราไม่กลับกำเริบ, ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย, บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ไม่มีอีก" ดังนี้.*

บาลี อุปักกิเลสสูตร สุญญตวรรค อุปริ. ม. ๑๔/๓๐๒/๔๕๒.
ตรัสแก่พระเถระ ๓ รูป คือ อนุรุทธะ นันทิยะ กิมพิละ,
ทรงอาลปนะว่า อนุรุทธทั้งหลาย ! พระบาลีตอนนี้ผู้ศึกษาควรใคร่ครวญเป็นพิเศษ,
เฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาสมาธิภาวนา.


--------------------------------------------------------------------------------
* สมาธิเจ็ดอย่างในที่นี้ คงเป็นของแปลกและยากที่จะเข้าใจสำหรับนักศึกษาทั่วๆ ไป เพราะแม้แต่ในอรรถกถาของพระบาลีนี้ ก็แก้ไว้ไม่ละเอียด ท่านแก้ไว้ดังนี้ :- (สมาธิที่มีทั้งวิตกและวิจารท่านไม่แก้ เพราะได้แก่ปฐมฌานนั้นเอง จะโดยจตุกกนัยหรือปัญจกนัยก็ตาม). สมาธิที่ไม่มีวิตก แต่มีวิจารพอประมาณ ได้แก่ ทุติยฌาน สมาธิในปัญจกนัย. สมาธิที่ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ได้แก่ฌานทั้งสามเบื้องปลายทั้งในจตุกกนัยและปัญจกนัย. สมาธิมีปีติ ได้แก่ทุกติกฌานสมาธิ. สมาธิไม่มีปีติ ได้แก่ทุกทุกฌานสมาธิ. สมาธิเป็นไปกับด้วยความยินดีได้แก่ ติกจตุกกฌานสมาธิ. สมาธิเป็นไปกับด้วยอุเบกขา ได้แก่จตุตถฌานแห่งจตุกกนัย หรือปัญจมฌานแห่งปัญจกนัย. --ปปัญจ. ภ. ๓. น. ๖๑๔.
ผู้ปรารถนาทราบรายละเอียด พึงศึกษาจากตำราหรือผู้รู้สืบไป. สมาธิเหล่านี้ตามอรรถกถากล่าวว่าทรงเจริญในคืนวันตรัสรู้ที่มหาโพธิ.

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 21:53:23 »

ทรงกั้นจิตจากกามคุณในอดีต ก่อนตรัสรู้

ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ มีความรู้สึกเกิดขึ้นว่า กามคุณห้าที่เป็นอดีต ที่เราเคยสัมผัสมาแล้วแต่ก่อนได้ดับไปแล้วเพราะความแปรปรวนก็จริง แต่โดยมากจิตของเราเมื่อจะแล่น ก็แล่นไปสู่กามคุณเป็นอดีตนั้น, น้อยนักที่จะแล่นไปสู่กามคุณในปัจจุบันหรืออนาคต ดังนี้. ภิกษุ ท.! ความตกลงใจได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ความไม่ประมาทและสติ เป็นสิ่งซึ่งเราผู้หวังประโยชน์แก่ตนเองพึงกระทำให้เป็น เครื่องป้องกันจิต ในเพราะกามคุณห้าอันเป็นอดีต ที่เราเคยสัมผัสมาและดับไปแล้วเพราะความแปรปรวนนั้น.

ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้, แม้จิตของพวกเธอทั้งหลาย เมื่อจะแล่น ก็คงแล่นไปในกามคุณห้าอันเป็นอดีต ที่พวกเธอเคยสัมผัสมาและดับไปแล้วเพราะความแปรปรวน (เหมือนกัน) โดยมาก, น้อยนักที่จะแล่นไปสู่กามคุณในปัจจุบันหรืออนาคต. ภิกษุ ท.! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ความไม่ประมาทและสติ จึงเป็นสิ่งที่พวกเธอผู้หวังประโยชน์แก่ตัวเอง พึงกระทำให้เป็นเครื่องป้องกันจิต ในเพราะเหตุกามคุณห้าอันเป็นอดีต ที่พวกเธอเคยสัมผัสมาและดับไปแล้ว เพราะความแปรปรวนนั้น.

บาลี จตุตถสูตร โลกกามคุณวรรค สฬา, สํ. ๑๘/๑๒๑/๑๗๓.

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 21:54:05 »

ทรงค้นวิธีแห่งอิทธิบาท ก่อนตรัสรู้

ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ มีความสงสัยเกิดขึ้นว่า อะไรหนอ เป็นหนทาง เป็นข้อปฏิบัติ* เพื่อความเจริญแห่งอิทธิบาท?

ภิกษุ ท.! ความรู้ข้อนี้เกิดขึ้นแก่เราว่า ภิกษุ** นั้นๆ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยฉันทะเป็นปธานกิจ ว่า ด้วยอาการอย่างนี้ ฉันทะของเราย่อมมีในลักษณะที่จักไม่ย่อหย่อน, ที่จักไม่เข้มงวดเกิน, ที่จักไม่สยบอยู่ในภายใน, ที่จักไม่ส่ายไปในภายนอก; และเราเป็นผู้มีความรู้สึกทั้งในกาลก่อนและกาลเบื้องหน้าอยู่ด้วย : ก่อนนี้เป็นเช่นใด

ต่อไปก็เช่นนั้น, ต่อไปเป็นเช่นใด ก่อนนี้ก็เช่นนั้น, เบื้องล่างเช่นใด เบื้องบนก็เช่นนั้น, เบื้องบนเช่นใดเบื้องล่างก็เช่นนั้น, กลางคืนเหมือนกลางวัน, กลางวันเหมือนกลางคืน : เธอย่อมอบรมจิตอันมีแสงสว่างด้วยทั้งจิตอันเปิดแล้ว ไม่มีอะไรพัวพัน ให้เจริญอยู่ด้วยอาการอย่างนี้.

(ข้อต่อไปอีก ๓ ข้อก็เหมือนกัน แปลกแต่ชื่อแห่งอิทธิบาท เป็น วิริยะ จิตตะ วิมังสา, เท่านั้นพระองค์ทรงพบการเจริญอิทธิบาท ด้วยวิธีคิดค้นอย่างนี้).

ปฐมสูตร อโยคุฬวรรค มหาวาร. สํ.๑๙/๓๖๒/๑๒๐๕.


--------------------------------------------------------------------------------
* มีข้อความอีกสูตรหนึ่ง (มหาวาร.สํ.๑๙/๓๓๙/๑๑๓๖) ซึ่งมีข้อความเหมือนกับสูตรนี้ตลอดเรื่อง, ผิดกันแต่ใช้คำว่า "เป็นเหตุ เป็นปัจจัย" แทนคำว่า "เป็นหนทาง เป็นข้อปฏิบัติ" ดังที่ปรากฏอยู่ในสูตรนี้.
** นักบวชชนิดภิกษุนั้น มีอยู่ก่อนพระองค์อุบัติ.
 

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 21:54:35 »

ทรงคิดค้นเรื่องเบญจขันธ์ ก่อนตรัสรู้

ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ความสงสัยได้เกิดขึ้นแก่เราว่า อะไรหนอ เป็นรสอร่อยของรูป, อะไรเป็นโทษของรูป, อะไรเป็นอุบายเครื่องพ้นไปได้จากรูป? อะไรหนอเป็นรสอร่อยของเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ, อะไรเป็นโทษของเวทนา…สัญญา...สังขาร...วิญญาณ, อะไรเป็นอุบายเครื่องพ้นไปได้จากเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ?

ภิกษุ ท.! ความรู้ข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า สุขโสมนัสใดๆ ที่อาศัยรูปแล้วเกิดขึ้น สุขและโสมนัสนั้นแลเป็น รสอร่อยของรูป; รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ทรมาน มีการแปรปรวนเป็นธรรมดา ด้วยอาการใด อาการนั้นเป็นโทษของรูป; การนำออกเสียได้ ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในรูปเสียได้ นั้นเป็นอุบายเครื่องออกไปพ้นจากรูปได้.

(ในเวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ ก็นัยเดียวกัน).

ภิกษุ ท.! ตลอดเวลาเพียงไร ที่เรายังไม่รู้จักรสอร่อยของอุปาทานขันธ์ทั้งห้าว่าเป็นรสอร่อย ไม่รู้จักโทษว่าเป็นโทษ ไม่รู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นอุบายเครื่องออก ตามที่เป็นจริง, ตลอดเวลาเพียงนั้น เรายังไม่รู้สึกว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา พร้อมทั้งมนุษย์.

ภิกษุ ท.! เมื่อใดแล เรารู้จักรสอร่อยของอุปาทานขันธ์ทั้งห้าว่าเป็นรสอร่อย รู้จักโทษว่าเป็นโทษ รู้จักอุบายเครื่องออกว่าเป็นอุบายเครื่องออก ตามที่เป็นจริง, เมื่อนั้น เราก็รู้สึกว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์.

ก็แหละญาณทัศนะเครื่องรู้เครื่องเห็น เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ, ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย, บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ มิได้มีอีก, ดังนี้.

นอกจากการคิดค้นเรื่องเบญจขันธ์นี้แล้ว ยังมีการคิดค้นอีก ๓ เรื่อง ด้วยวิธีการณ์ที่บรรยายไว้เป็นคำพูดอย่างเดียวกันกับเรื่องนี้ ทุกระเบียบอักษร คือคิดค้นเรื่อง ธาตุสี่ (นิทาน.สํ. ๑๖/๒๐๓/๔๐๔), เรื่อง อายตนะภายในหก (สฬา.สํ.๑๘/๘/๑๓), และเรื่อง อายตนะภายนอกหก (สฬา.สํ.๑๘/๙/๑๔). --ผู้รวบรวม.


บาลี ปัญจมสูตร ภารวรรค ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๔/๕๙.

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 21:55:27 »

ทรงคิดค้นเรื่องเวทนาโดยละเอียด ก่อนตรัสรู้

ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, ความสงสัยได้เกิดขึ้นแก่เราว่า อะไรหนอเป็นเวทนา? อะไรเป็นความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา? อะไรเป็นปฏิปทาให้ถึงความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา? อะไรเป็นความดับไม่เหลือแห่งเวทนา? อะไรเป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา? อะไรเป็นรสอร่อยของเวทนา? อะไรเป็นโทษของเวทนา? อะไรเป็นอุบายเครื่องพ้นไปได้จากเวทนา?

ภิกษุ ท.! ความรู้ข้อนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เวทนา ๓ อย่าง เหล่านี้คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา, เหล่านี้เรียกว่า เวทนา; ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นพร้อมแห่งผัสสะ; ตัณหาเป็นปฏิปทาให้ถึงความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา; ความดับไม่เหลือแห่งเวทนา ย่อมมีเพราะความดับไม่เหลือแห่งผัสสะ; มรรคอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการนี้เอง เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้อง การพูดจาที่ถูกต้อง การทำการงานที่ถูกต้องการเลี้ยงชีวิตที่ถูกต้อง ความพากเพียรที่ถูกต้อง ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง; สุขโสมนัสใดๆ ที่อาศัยเวทนาแล้วเกิดขึ้น, สุขและโสมนัสนั้นแลเป็นรสอร่อยของเวทนา; เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาด้วยอาการใด, อาการนั้นเป็นโทษของเวทนา; การนำออกเสียได้ซึ่งความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ในเวทนาเสียได้นั้นเป็น อุบายเครื่องออกไปพ้นจากเวทนาได้ ดังนี้.

*ภิกษุ ท.! จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรม ท. ที่ไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ว่า "เหล่านี้ คือ เวทนา ท.";....** ว่า "นี้ คือความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา";...ว่า "นี้ คือปฏิปทาให้ถึงความเกิดขึ้นพร้อมแห่งเวทนา"; ....ว่า "นี้ คือความดับไม่เหลือแห่งเวทนา" : ว่า "นี้ คือปฏิปทาให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา"; ....ว่า "นี้ คือรสอร่อยของเวทนา"; .…ว่า "นี้คือโทษของเวทนา"; ....ว่า "นี้ คืออุบายเครื่องออกไปพ้นจากเวทนา"; ดังนี้.

 


บาลี สูตรที่ ๔ เวทนาสํยุตต์ สฬา.สํ. ๑๘/๒๘๙/๔๓๙.


--------------------------------------------------------------------------------
* บาลี สฬา. สํ.๑๘/๒๘๙/๔๔๐. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย
** ที่ใส่จุดๆ (....) ไว้เช่นนี้ ทั้งตรงนี้และต่อไป มีคำเต็มเหมือนข้างต้น คือเริ่มแต่คำว่า "ภิกษุ ท.! จักษุ ญาณ...(ถึงคำว่า)..มาแต่ก่อน"

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 21:56:24 »

ทรงแสวงเนื่องด้วยเบญจขันธ์ ก่อนตรัสรู้

ภิกษุ ท.! เราได้เที่ยวแสวงหาแล้วซึ่ง รสอร่อยของรูป, เราได้พบรสอร่อยของรูปนั้นแล้ว, รสอร่อยของรูปมีประมาณเท่าใด เราเห็นมันแล้วเป็นอย่างดีด้วยปัญญาของเรา มีประมาณเท่านั้น.

ภิกษุ ท.! เราได้เที่ยวแสวงหาให้พบ โทษของรูป, เราได้พบโทษของรูปนั้นแล้ว. โทษของรูปมีประมาณเท่าใด เราเห็นมันแล้วเป็นอย่างดีด้วยปัญญาของเรา เท่านั้น.

ภิกษุ ท.! เราได้เที่ยวแสวงหาแล้ว ซึ่ง อุบายเป็นเครื่องออกจากรูป, เราได้พบอุบายเครื่องออกจากรูปนั้นแล้ว. อุบายเครื่องออกจากรูปมีประมาณเท่าใดเราเห็นมันแล้วเป็นอย่างดี ด้วยปัญญาของเรา เท่านั้น.

(ในเวทนาและสัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีนัยอย่างเดียวกัน. และตอนท้ายก็มีว่า ยังไม่พบโทษของรูปเป็นต้นเพียงใด ยังไม่ชื่อว่าได้ตรัสรู้เพียงนั้น. ต่อเมื่อทรงพบแล้วจึงชื่อว่าตรัสรู้และมีชาติสิ้นแล้ว ภพใหม่ไม่มีอีกต่อไป เหมือนกันทุกๆ สิ่งที่พระองค์ทรงค้น ซึ่งยังมีอีก ๓ อย่างคือเรื่อง ธาตุ ๔, เรื่อง อายตนะภายใน ๖, และ อายตนะภายนอก ๖; เห็นว่าอาการเหมือนกันหมดต่างกันแต่เพียงชื่อ จึงไม่นำมาใส่ไว้ในที่นี้ด้วย).

บาลี ฉัฏฐสูตร ภารวรรค ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๖/๖๑.

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 21:57:40 »

ทรงค้นลูกโซ่แห่งทุกข์ ก่อนตรัสรู้

ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, ได้เกิดความรู้สึกอันนี้ขึ้นว่า "สัตว์โลกนี้หนอ ถึงทั่วแล้วซึ่งความยากเข็ญ ย่อมเกิด แก่ ตาย จุติ และบังเกิดอีก, ก็เมื่อสัตว์โลกไม่รู้จักอุบายเครื่องออกไปพ้นจากทุกข์คือชรามรณะแล้ว การออกจากทุกข์ คือชรามรณะนี้จักปรากฏขึ้นได้อย่างไร".

ภิกษุ ท.! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เมื่ออะไรมีอยู่หนอชรามรณะจึงได้มี : ชรามรณะมีเพราะปัจจัยอะไรหนอ".

ภิกษุ ท.! ได้เกิดความรู้สึกด้วยปัญญา, เพราะการคิดโดยแยบคาย, แก่เราว่า "เพราะ ชาติ นี่เองมีอยู่ ชรามรณะจึงได้มี : ชรามรณะมีเพราะชาติเป็นปัจจัย;

- เพราะ ภพ นี่เองมีอยู่ ชาติจึงได้มี : ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย;

- เพราะ อุปาทาน นี่เอง มีอยู่ ภพจึงได้มี : ภพมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย;

- เพราะ ตัณหา นี่เองมีอยู่ อุปาทานจึงได้มี : อุปาทานมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย;

- เพราะ เวทนา นี่เองมีอยู่ ตัณหาจึงได้มี : ตัณหามีเพราะเวทนาเป็นปัจจัย;

- เพราะ ผัสสะ นี่เองมีอยู่ เวทนาจึงได้มี : เวทนามีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย;

- เพราะ สฬายตนะ นี่เองมีอยู่ ผัสสะจึงได้มี : ผัสสะมีเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย;

- เพราะ นามรูป นี่เองมีอยู่ สฬายตนะจึงได้มี : สฬายตนะมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย;

- เพราะ วิญญาณ นี่เองมีอยู่ นามรูปจึงได้มี : นามรูปมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย;

- เพราะ สังขาร นี่เองมีอยู่ วิญญาณจึงได้มี : วิญญาณมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย;

- เพราะ อวิชชา นี่เองมีอยู่ สังขาร ท. จึงได้มี : สังขาร ท. มีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย;" ดังนี้ : เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดสังขาร ท.; เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดวิญญาณ; เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดนามรูป ; เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดสฬายตนะ; เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงเกิดผัสสะ; เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา; เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา; เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดอุปาทาน; เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดภพ; เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดชาติ; เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ท. : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท.! ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ในสิ่งที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความเกิดขึ้นพร้อม! ความเกิดขึ้นพร้อม! ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

.... .... ....

ภิกษุ ท.! ความฉงนได้มีแก่เราอีกว่า "เมื่ออะไรไม่มีหนอ ชรามรณะ จึงไม่มี : เพราะอะไรดับไปหนอ ชรามรณะจึงดับไป".

ภิกษุ ท.! เพราะการคิดโดยแยบคาย, ได้เกิดความรู้สึกด้วยปัญญาแก่เราว่า "เพราะ ชาติ นี่เองไม่มี ชรามรณะจึงไม่มี : ชรามรณะดับ เพราะชาติดับ ;

- เพราะ ภพ นี่เองไม่มี ชาติจึงไม่มี : ชาติดับเพราะภพดับ;

- เพราะ อุปาทาน นี่เองไม่มี ภพจึงไม่มี : ภพดับเพราะอุปาทานดับ;

- เพราะ ตัณหา นี่เองไม่มี อุปาทานจึงไม่มี : อุปาทานดับ เพราะตัณหาดับ;

- เพราะ เวทนา นี่เองไม่มี ตัณหาจึงไม่มี : ตัณหาดับเพราะเวทนาดับ;

- เพราะ ผัสสะ นี่เองไม่มี เวทนาจึงไม่มี : เวทนาดับเพราะผัสสะดับ;

- เพราะ สฬายตนะ นี่เองไม่มี ผัสสะจึงไม่มี : ผัสสะดับ เพราะสฬายตนะดับ;

- เพราะ นามรูป นี่เองไม่มี สฬายตนะจึงไม่มี : สฬายตนะดับ เพราะนามรูปดับ;

- เพราะ วิญญาณ นี่เองไม่มี นามรูปจึงไม่มี : นามรูปดับ เพราะวิญญาณดับ;

- เพราะ สังขาร นี่เองไม่มี วิญญาณจึงไม่มี : วิญญาณดับ เพราะสังขารดับ;

- เพราะ อวิชชา นี่เองไม่มี สังขาร ท. จึงไม่มี : สังขารดับเพราะอวิชชาดับ;" ดังนี้ : เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ; เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ; เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ; เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ; เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ; เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ; เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ; เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ; เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ; เพราะภพดับ ชาติจึงดับ; เพราะชาติดับ ชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ท. จึงดับ : ความดับไม่เหลือแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้.

ภิกษุ ท.! ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ในสิ่งที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความดับไม่เหลือ! ความดับไม่เหลือ! ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

ทสมสูตร พุทธวรรค อภิสมยสํยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๑/๒๖..

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
คำค้น:
หน้า:  [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
นิทานเรื่องสั้นของท่านพุทธทาส เรื่อง พ่อ-ลูก
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 3520 กระทู้ล่าสุด 07 พฤศจิกายน 2553 20:44:50
โดย เงาฝัน
หนังสั้นคอมเมดี้ สุดฮา เรื่อง - Scence A / ฉากเด็ด
ลานกว้าง (มุมดูคลิป)
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 0 3500 กระทู้ล่าสุด 24 พฤษภาคม 2554 22:19:46
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
นิทานธรรมบท ๑๔๒ เรื่อง เต็มชุด
เสียงธรรมเทศนา
ขอทานน้อย_ป่าหิมพานต์ 0 6241 กระทู้ล่าสุด 16 ธันวาคม 2554 13:34:52
โดย ขอทานน้อย_ป่าหิมพานต์
[โพสทูเดย์] - กยศ. ขยายเวลามาตรการลดหย่อนหนี้ จนถึง 31 ธ.ค. 65
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 185 กระทู้ล่าสุด 29 มิถุนายน 2565 09:25:30
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวเด่น] - ลงทะเบียนเลือกตั้งประกันสังคม เปิดขั้นตอนทำได้ง่ายๆ จนถึง 10 พ.ย. นี้
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 87 กระทู้ล่าสุด 01 พฤศจิกายน 2566 20:25:40
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.406 วินาที กับ 34 คำสั่ง

Google visited last this page 7 ชั่วโมงที่แล้ว