[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 22:16:17 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 [2]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เริ่มแต่ออกผนวชแล้ว จนถึง ได้ตรัสรู้ (๓๕ เรื่อง)  (อ่าน 25929 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 21:42:36 »

เสด็จสำนักอาฬารดาบส

เรานั้น ครั้นบวชอย่างนี้แล้ว แสวงหาอยู่ว่าอะไรเป็นกุศล ค้นหาแต่สิ่งที่ประเสริฐฝ่ายสันติชนิดที่ไม่มีอะไรยิ่งไปกว่า; ได้เข้าไปหาอาฬารดาบสผู้กาลามโคตรถึงที่สำนักแล้วกล่าวว่า "ท่านกาลามะ! เราอยากประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้ด้วย". ราชกุมาร! ครั้นเรากล่าวดังนี้แล้ว อาฬารดาบสผู้กาลามโคตรได้ตอบว่า "อยู่เถิดท่านผู้มีอายุ! ธรรมนี้เป็นเช่นนี้ๆ; ถ้าบุรุษเข้าใจความแล้ว ไม่นานเลยคงทำให้แจ้ง บรรลุได้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ทั่วถึงลัทธิของอาจารย์ตน."

ราชกุมาร ! เราเล่าเรียนธรรมนั้นได้ฉับไวไม่นานเลย. ราชกุมาร! เรานั้นกล่าวได้ทั้ง ญาณวาท และ เถรวาท ด้วยอาการมาตรว่าท่องด้วยปาก และด้วยเวลาชั่วที่เจรจาตอบตลอดกาลเท่านั้น. อนึ่ง เราและศิษย์อื่นๆ ปฏิญญาได้ว่าเรารู้เราเห็น ดังนี้. ราชกุมาร ! ความรู้สึกเกิดขึ้นแก่เราว่า "อาฬารผู้กาลามโคตรประกาศให้ผู้อื่นทราบว่า 'เราทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วแลอยู่' ด้วยคุณสักว่าศรัทธาอย่างเดียวก็หามิได้, ที่แท้อาฬารผู้กาลามโคตรคงรู้อยู่เห็นอยู่ซึ่งธรรมนี้เป็นแน่". ราชกุมาร ! ครั้งนั้นเราเข้าไปหาอาฬารผู้กาลามโคตรถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า "ท่านกาลามะ! ท่านทำให้แจ้งธรรมนี้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว และประกาศได้เพียงเท่าไรหนอ?" ครั้นเรากล่าวอย่างนี้ อาฬารผู้กาลามโคตรได้ประกาศให้รู้ถึง อากิญจัญญายตนะ แล้ว.

ราชกุมาร ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "ศรัทธา, วิริยะ, สติ, สมาธิ, ปัญญา จักมีแต่ของอาฬารผู้กาลามโคตรผู้เดียวก็หาไม่. ศรัทธา, วิริยะ, สติ,สมาธิ, ปัญญา ของเราก็มีอยู่; อย่างไรก็ตาม เราจักตั้งความเพียรทำให้แจ้งธรรมที่ท่านกาลามะประกาศแล้วว่า 'เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วแลอยู่' ดังนี้ ให้จงได้." ราชกุมาร ! เราได้บรรลุ ทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองฉับไวไม่นานเลย. ราชกุมาร ! ครั้งนั้นเราเข้าไปหาอาฬารผู้กาลามโคตรถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า "มีเท่านี้หรือที่ท่านบรรลุถึง ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศแก่ผู้อื่นอยู่?". "เท่านี้เองผู้มีอายุ! ที่เราบรรลุถึง ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศแก่ผู้อื่นอยู่". "ท่านกาลามะ ! แม้เราก็บรรลุทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองถึงเพียงนั้นเหมือนกัน".

ราชกุมาร ! อาฬารผู้กาลามโคตรได้กล่าวกะเราว่า "ลาภของเราแล้วท่านผู้มีอายุ ! เราได้ดีแล้ว, ท่านผู้มีอายุ ! มิเสียแรงที่ได้พบเพื่อนร่วมพรหมจรรย์ เช่นกับท่านผู้ทำให้แจ้งธรรมที่เรารู้ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง. แม้เราก็ทำให้แจ้งธรรมที่ท่านทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองนั้นอย่างเดียวกัน. เรารู้ธรรมใด ท่านรู้ธรรมนั้น, ท่านรู้ธรรมใด เรารู้ธรรมนั้น, เราเป็นเช่นใด ท่านเป็นเช่นนั้น, ท่านเป็นเช่นใด เราเป็นเช่นนั้น; มาเถิดท่านผู้มีอายุ! เราสองคนด้วยกัน จักช่วยกันปกครองคณะนี้ต่อไป."

ราชกุมาร ! อาฬารกาลามโคตรผู้เป็นอาจารย์ของเรา ได้ตั้งเราผู้เป็นศิษย์ให้เสมอด้วยตนแล้ว, ได้บูชาเราด้วยการบูชาอย่างยิ่ง. ราชกุมาร ! (เมื่อเราได้เสมอด้วยอาจารย์ ได้การบูชาที่ยิ่งดังนั้น) ได้เกิดความรู้สึกนี้ว่า "ก็ธรรมนี้จะได้เป็นไปพร้อมเพื่อเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อรำงับ เพื่อสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อรู้พร้อม เพื่อนิพพาน ก็หาไม่, แต่เป็นไปพร้อม เพียงเพื่อการบังเกิดในอากิญจัญญายตนภพ* เท่านั้นเอง". ราชกุมาร ! ตถาคต (เมื่อเห็นโทษในสมาบัติทั้งเจ็ด) จึงไม่พอใจ เบื่อจากธรรมนั้น หลีกไปเสีย.

ตรัสแก่ โพธิราชกุมาร,
บาลี โพธิราชกุมารสูตร ราชวรรค ม.ม. ๑๓/๔๔๓/๔๘๙,
และในสคารวสูตร พราหมณวรรค ม.ม. ๑๓/๖๗๐/๗๓๘,
ปาสราสิสูตร โอปัมมวรรค มู.ม. มีย่อมาก,
มหาสัจจกสูตร มหายมกวรรค มู.ม.


--------------------------------------------------------------------------------
* อรูปพรหมชั้นที่ ๓; สมาบัติทั้งเจ็ดในที่นี้ คือรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๓.
   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
 
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 21:58:29 »

ทรงค้นลูกโซ่แห่งทุกข์ ก่อนตรัสรู้ (อีกนัยหนึ่ง)

ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, ได้เกิดความรู้สึกอันนี้ขึ้นว่า "สัตว์โลกนี้หนอ ถึงแล้วซึ่งความยากเข็ญย่อมเกิด ย่อมแก่ ย่อมตาย ย่อมจุติ และย่อมอุบัติ, ก็เมื่อสัตว์โลกไม่รู้จักอุบายเครื่องออกไปพ้นจากทุกข์ คือชรามรณะแล้ว การออกจากทุกข์ คือชรามรณะนี้จักปรากฏขึ้นได้อย่างไร."

ภิกษุ ท.! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เมื่ออะไรมีอยู่หนอ ชรามรณะ จึงได้มี : เพราะมีอะไรเป็นปัจจัยหนอ จึงมีชรามรณะ" ดังนี้.

ภิกษุ ท.! ได้เกิดความรู้สึกด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคาย, แก่เราว่า "เพราะ ชาติ นั่นแล มีอยู่ ชรามรณะ จึงได้มี : เพราะมีชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะ" ดังนี้.

...* เพราะ ภพ นั่นแล มีอยู่ ชาติ จึงได้มี : เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ" ดังนี้.

...เพราะ อุปาทาน นั่นแล มีอยู่ ภพ จึงได้มี : เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ"ดังนี้.

...เพราะ ตัณหา นั่นแล มีอยู่ อุปาทาน จึงได้มี : เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน" ดังนี้.

...เพราะ เวทนา นั่นแล มีอยู่ ตัณหา จึงได้มี : เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา" ดังนี้.

...เพราะ ผัสสะ นั่นแล มีอยู่ เวทนา จึงได้มี : เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา" ดังนี้.

...เพราะ สฬายตนะ นั่นแล มีอยู่ ผัสสะ จึงได้มี : เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ" ดังนี้.

...เพราะ นามรูป นั่นแล มีอยู่ สฬายตนะ จึงได้มี : เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ" ดังนี้.

...เพราะ วิญญาณ นั่นแล มีอยู่ นามรูป จึงได้มี : เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป" ดังนี้.

ภิกษุ ท.! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เมื่ออะไรมีอยู่หนอ วิญญาณ จึงได้มี : เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ" ดังนี้.

ภิกษุ ท.! ความรู้สึกอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคายได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เพราะ นามรูป นั่นแล มีอยู่ วิญญาณ จึงได้มี : เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ" ดังนี้.

ภิกษุ ท.! ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "วิญญาณนี้ ย่อมเวียนกลับจากนามรูป : ย่อมไม่เลยไปอื่น; ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลกนี้ พึงเกิดบ้าง พึงแก่บ้าง พึงตายบ้าง พึงจุติบ้าง พึงอุบัติบ้าง : ข้อนี้ได้แก่การที่ เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ; เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป; เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ; เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา; เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา; เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน; เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ; เพราะมีภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้."

ภิกษุ ท.! ดวงตา เกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อนว่า "ความเกิดขึ้นพร้อม (สมุทัย) ! ความเกิดขึ้นพร้อม (สมุทัย)!" ดังนี้.

... ... ...

ภิกษุ ท.! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราต่อไปว่า "เมื่อไรไม่มีหนอชรามรณะ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งอะไร จึงมีความดับแห่งชรามรณะ" ดังนี้.

ภิกษุ ท.! ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคายได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เพราะ ชาติ นั่นแล ไม่มี ชรามรณะ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งชาติ จึงมีความดับแห่งชรามรณะ" ดังนี้.

... เพราะ ภพ นั่นแล ไม่มี ชาติ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งภพจึงมีความดับแห่งชาติ" ดังนี้.

... เพราะ อุปาทาน นั่นแล ไม่มี ภพ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ" ดังนี้.

... เพราะ ตัณหา นั่นแล ไม่มี อุปาทาน จึงไม่มี: เพราะความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน" ดังนี้.

... เพราะ เวทนา นั่นแล ไม่มี ตัณหา จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา" ดังนี้.

... เพราะ ผัสสะ นั่นแล ไม่มี เวทนา จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา" ดังนี้.

... เพราะ สฬายตะ นั่นแล ไม่มี ผัสสะ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ" ดังนี้.

... เพราะ นามรูป นั่นแล ไม่มี สฬายตนะ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ" ดังนี้.

... เพราะ วิญญาณ นั่นแล ไม่มี นามรูป จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป" ดังนี้.

ภิกษุ ท.! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เมื่อไรไม่มีหนอ วิญญาณ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งอะไร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ" ดังนี้.

ภิกษุ ท.! ความรู้แจ้งอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคายได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เพราะ นามรูป นั่นแล ไม่มี วิญญาณ จึงไม่มี : เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งวิญญาณ" ดังนี้.

ภิกษุ ท.! ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "หนทางเพื่อการตรัสรู้นี้ อันเราได้ถึงทับแล้วแล : ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ เพราะความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งวิญญาณ; เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป; เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ; เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะจึงมีความดับแห่งผัสสะ; เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา; เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา; เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน; เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแลชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้."

ภิกษุ ท.! ดวงตาเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อนว่า "ความดับไม่เหลือ (นิโรธ) ! ความดับไม่เหลือ (นิโรธ) !" ดังนี้.

สูตรที่ ๕ มหาวรรค อภิสมยสํยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๒๖/๒๕๐. ตรัสแก่ภิกษุ ท. ที่เชตวัน.


--------------------------------------------------------------------------------
* ข้อความตามที่ละ... ไว้นั้น หมายความว่า ได้มีความฉงนเกิดขึ้นทุกๆตอน แล้วทรงทำในใจโดยแยบคาย จนความรู้แจ้งเกิดขึ้นทุกๆ ตอน เป็นลำดับไปจนถึงที่สุด ทั้งฝ่าย สมุทยวารและนิโรธวาร; ในที่นี้ละไว้โดยนัยที่ผู้อ่านอาจจะเข้าใจเอาเองได้; คือเป็นการตัดความรำคาญในการอ่าน.
   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 21:59:04 »

ทรงพยายามในอธิเทวญาณทัศนะเป็นขั้น ๆ ก่อนตรัสรู้

ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, เราย่อมจำแสงสว่างได้ แต่ไม่เห็นรูปทั้งหลาย.

ภิกษุ ท.! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างได้ด้วย เห็นรูป ท.ได้ด้วย ข้อนั้นจักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ของเรา. ภิกษุ ท.! โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ ก็จำแสงสว่างได้ด้วยเห็นรูป ท. ได้ด้วย, แต่ไม่ได้ตั้งอยู่ร่วม ไม่ได้เจรจาร่วม ไม่ได้โต้ตอบร่วมกับเทวดาทั้งหลายเหล่านั้นๆ.

ภิกษุ ท.! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างเป็นต้นก็ได้ด้วย ตลอดถึงการโต้ตอบร่วมกับเทวดา ท. เหล่านั้นๆ ก็ได้ด้วย. ข้อนั้นจักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งของเรา. ภิกษุ ท.! โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ ก็...โต้ตอบกับเทวดา ท. เหล่านั้นๆ ได้ด้วยแต่ไม่รู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ๆ มาจากเทพนิกายไหนๆ.

ภิกษุ ท.! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างเป็นต้นก็ได้ด้วย ตลอดถึงการรู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ๆ มาจากเทพนิกายนั้นๆ ด้วยแล้วข้อนั้นจักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ของเราภิกษุ ท.! โดยสมัยอื่นอีกเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่ ก็...รู้ได้ว่าเทวดาเหล่านี้ มาจากเทพนิกายนั้นๆ แต่ไม่รู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ๆ เคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติในโลกนั้นๆ ด้วยวิบากแห่งกรรมอย่างไหน.

ภิกษุ ท.! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า ถ้าเราจะจำแสงสว่างเป็นต้นก็ได้ด้วย ตลอดจนถึงรู้ได้ด้วยว่า เทวดาเหล่านี้ๆ เคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติในโลกนั้นได้ด้วยวิบากของกรรมอย่างนี้ๆ แล้ว ข้อนั้น จักเป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ของเรา. ภิกษุ ท.! โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปแล้วแลอยู่ ก็...รู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ๆ เคลื่อนจากโลกนี้ไปอุบัติในโลกนั้นได้ด้วยวิบากของกรรมอย่างนี้ๆ แต่ไม่รู้ได้ว่า เทวดาเหล่านี้ๆ มีอาหารอย่างนี้ๆ มีปรกติเสวยสุขและทุกข์อย่างนี้ๆ. เทวดาเหล่านี้ๆ มีอายุยืนเท่านี้ๆ ตั้งอยู่ได้นานเท่านี้ๆ ...เราเองเคยอยู่ร่วมกับเทวดา ท. เหล่านี้ หรือไม่เคยอยู่ร่วมหนอ. ภิกษุ ท.! โดยสมัยอื่นอีก เราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปแล้วแลอยู่ก็...รู้ได้ตลอดถึงข้อว่า เราเคยอยู่ร่วมกับเทวดา ท. เหล่านี้ๆ หรือไม่ แล้ว.

ภิกษุ ท.! ตลอดเวลาเพียงไร ที่ญาณทัศนะที่เป็นไปทับซึ่งเทวดาอันมีปริวัฏฏ์แปดอย่างของเรา ยังไม่บริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแล้ว, ตลอดเวลาเพียงนั้นเรายังไม่ปฏิญญาว่า ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์.

ภิกษุ ท.! เมื่อใดแล ญาณทัศนะที่เป็นไปทับซึ่งเทวดา อันมีปริวัฏฏ์แปดอย่างของเรา บริสุทธิ์ หมดจดด้วยดีแล้ว, เมื่อนั้น เราก็ปฏิญญาว่า ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์.

ก็แหละ ปัญญาเครื่องรู้เครื่องเห็นเกิดขึ้นแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพเป็นที่เกิดใหม่ไม่มีอีกต่อไปดังนี้.

ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่ตำบลคยาสีสะ, บาลีจาลวรรค อฎฺฐก. อํ. ๒๓/๓๑๑/๑๖๑.

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 22:00:08 »

ทรงทำลายความขลาด ก่อนตรัสรู้

พราหมณ์! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ มีความรู้สึกว่า เสนาสนะอันสงัด คือป่าและป่าเปลี่ยว เป็นเสนาสนะยากที่จะเสพได้ ความสงัดยากที่จะทำได้ ยากที่จะยินดีในการอยู่ผู้เดียว ป่าทั้งหลายเป็นประหนึ่งว่านำไปเสียแล้วซึ่งใจแห่งภิกษุผู้ยังไม่ได้สมาธิ.

พราหมณ์! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด มีกรรมทางกาย ไม่บริสุทธิ์เสพเสนาสนะสงัดคือป่าและป่าเปลี่ยวอยู่, เพราะโทษคือกรรมทางกาย อันไม่บริสุทธิ์ของตนแล สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมเรียกร้องมาซึ่งความขลาดและความกลัวอย่างอกุศล. ส่วนเราเอง หาได้เป็นผู้มีกรรมทางกายอันไม่บริสุทธิ์แล้วเสพเสนาสนะสงัดคือป่าและป่าเปลี่ยวไม่ : เราเป็นผู้มีกรรมทางกายอันบริสุทธิ์. ในบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้มีกรรมทางกายอันบริสุทธิ์ และเสพเสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าเปลี่ยว เราเป็นอริยเจ้าองค์หนึ่งในพระอริยเจ้าเหล่านั้น.พราหมณ์! เรามองเห็นความเป็นผู้มีกรรมทางกายอันบริสุทธิ์ในตนอยู่ จึงถึงความมีขนอันตกสนิทแล้ว (ไม่ขนพอง) อยู่ในป่าได้.

พราหมณ์! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด มีวจีกรรม ไม่บริสุทธิ์. ....มีมโนกรรม ไม่บริสุทธิ์, ...มีอาชีวะ ไม่บริสุทธิ์, ...มีอภิชฌามาก มีความกำหนัดแก่กล้าในกามทั้งหลาย, ...มีจิตพยาบาท มีดำริชั่วในใจ, ...มีถีนมิทธะ กลุ้มรุมจิต,...มีจิตฟุ้ง ขึ้นไม่สงบ, ...มีความระแวง มีความสงสัย, ...เป็นผู้ยกตนข่มท่าน, ...เป็นผู้มักหวาดเสียว มีชาติแห่งคนขลาด, ...มีความปรารถนาเต็มที่ในลาภสักการะและสรรเสริญ, ...เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียรเลวทราม, ...เป็นผู้ละสติปราศจาก สัมปชัญญะ, ...มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด, ...มีปัญญาเสื่อมทรามเป็นคนพูดบ้าน้ำลาย, ...(อย่างหนึ่งๆ)* ...เสพเสนาสนะสงัดคือป่าและป่าเปลี่ยวอยู่; เพราะโทษ (อย่างหนึ่งๆ) นั้นของตนแล สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นย่อมเรียกร้องมาซึ่งความขลาด และความแล้วอย่างอกุศล. ส่วนเราเองหาได้เป็นผู้ (ประกอบด้วยโทษนั้นๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง) มีวจีกรรมไม่บริสุทธิ์ (เป็นต้น) ไม่ : เราเป็นผู้มีวจีกรรมอันบริสุทธิ์ (และปราศจากโทษเหล่านั้นทุกอย่าง). ในบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้มีวจีกรรมอันบริสุทธิ์ (เป็นต้น) และเสพเสนาสนะสงัดคือป่าและป่าเปลี่ยวเราเป็นอริยเจ้าองค์หนึ่ง ในพระอริยเจ้าเหล่านั้น. พราหมณ์ ! เรามองเห็นความเป็นผู้มีวจีกรรมอันบริสุทธิ์ (เป็นต้น) ในตนอยู่ จึงถึงความเป็นผู้มีขนตกสนิทแล้ว แลอยู่ในป่าได้.

พราหมณ์! ความตกลงใจอันนี้ได้มีแก่เราว่า ถ้ากระไรในราตรีอันกำหนดได้แล้วว่า เป็นวัน ๑๔, ๑๕ และ ๘ ค่ำ แห่งปักข์; สวนอันถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ ป่าอันถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ ต้นไม้อันถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ เหล่าใดเป็นที่น่าพึงกลัว เป็นที่ชูชันแห่งโลมชาติ เราพึงอยู่ในเสนาสนะเช่นนั้นเถิด บางทีเราอาจเห็นตัวความขลาดและความกลัวได้. พราหมณ์! เราได้อยู่ในเสนาสนะเช่นนั้น ในวันอันกำหนดนั้นแล้ว.

พราหมณ์! เมื่อเราอยู่ในเสนาสนะเช่นนั้น สัตว์ป่าแอบเข้ามาหรือว่านกยูงทำกิ่งไม้แห้งให้ตกลงมา หรือว่าลมพัดหยากเยื่อใบไม้ให้ตกลงมา : ความตกใจกลัวได้เกิดแก่เราว่า นั่นความกลัวและความขลาดมาหาเราเป็นแน่. ความคิดค้นได้มีแก่เราว่า ทำไมหนอ เราจึงเป็นผู้พะวงแต่ในความหวาดกลัว; ถ้าอย่างไร เราจะหักห้ามความขลาดกลัวนั้นๆ เสีย โดยอิริยาบถที่ความขลาดกลัวนั้นๆ มาสู่เรา.

พราหมณ์! เมื่อเราจงกรมอยู่ ความกลัวเกิดมีมา เราก็ขืน จงกรมแก้ความขลาดนั้น, ตลอดเวลานั้น เราไม่ยืน ไม่นั่ง ไม่นอน. เมื่อเรายืนอยู่ความกลัวเกิดมีมา เราก็ขืน ยืนแก้ความขลาดนั้น, ตลอดเวลานั้น เราไม่จงกรมไม่นั่ง ไม่นอน. เมื่อเรานั่งอยู่ ความกลัวเกิดมีมา เราก็ขืน นั่งแก้ความขลาด นั้น, ตลอดเวลานั้น เราไม่จงกรม ไม่ยืน ไม่นอน. พราหมณ์! เมื่อเรานอนอยู่ความขลาดเกิดมีมา เราก็ขืน นอนแก้ความขลาดนั้น. ตลอดเวลานั้น เราไม่จงกรม ไม่ยืน ไม่นั่งเลย.

ภยเภรวสูตร มูลปริยายวรรค มู.ม. ๑๒/๒๙/๓๐. ทรงเล่าแก่ชาณุสโสณีพราหมณ์ ที่เชตวัน.


--------------------------------------------------------------------------------
* บาลีกล่าวทีละอย่างๆ ซ้ำกันรวมทั้งหมดถึง ๑๖ ครั้ง นับตั้งแต่ กรรมทางกาย ลงมา, ซึ่งเขียนเต็ม; ส่วน ๑๕ ครั้งในที่นี้ ใช้ละคราวเดียวกัน
   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 22:00:56 »

ธรรมที่ทรงอบรมอย่างมาก ก่อนตรัสรู้

ภิกษุ ท.! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, เราได้อบรมทำให้มากแล้วซึ่งธรรมห้าอย่าง. ธรรมห้าอย่างอะไรบ้าง? ธรรมห้าอย่างคือ เราได้อบรมอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรม เครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยฉันทะ...วิริยะ...จิตตะ... วิมังสาเป็นปธานกิจ และความเพียรมีประมาณโดยยิ่งเป็นที่ห้า.

ภิกษุ ท.! เพราะความที่เราได้อบรมทำให้มากในธรรม มีความเพียรมีประมาณโดยยิ่งเป็นที่ห้า, เราได้น้อมจิตไปเฉพาะต่อธรรมใดๆ ซึ่งควรทำให้แจ้งโดยปัญญาอันยิ่ง เพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว, ในธรรมนั้นๆ เราได้ถึงแล้วซึ่งความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่.

ภิกษุ ท.! ถ้าเราหวังว่า เราพึงมีอิทธิวิธีมีประการต่างๆ : ผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน, หลายคนเป็นคนเดียว, ทำที่กำบังให้เป็นที่แจ้ง, ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำบัง, ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่างๆ, ผุดขึ้นและดำลงในแผ่นดินได้ เหมือนในน้ำ, เดินได้เหนือน้ำเหมือนเดินบนแผ่นดิน, ไปได้ในอากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งขัดสมาธิคู้บัลลังก์. ลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์อานุภาพมากอย่างนี้ได้ ด้วยฝ่ามือ, และแสดงอำนาจทางกาย เป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้ ดังนี้ก็ตาม, ในอิทธิวิธีนั้นๆ เราก็ถึงแล้วซึ่งความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่.

ภิกษุ ท.! หรือถ้าเราหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่ง...ฯลฯ...เจโตวิมุติปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ เพราะหมดอาสวะ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏธรรมนี้เข้าถึงแล้วแลอยู่ ดังนี้ก็ตาม. ในวิชชานั้นๆ เราก็ถึงแล้วซึ่งความสามารถทำได้จนเป็นสักขีพยาน ในขณะที่อายตนะยังมีอยู่.

บาลี อัฎฐมสูตร สัญญาวรรค ปญฺจก. อํ. ๒๒/๙๔/๖๘.

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 22:01:36 »

วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากที่สุด ก่อนตรัสรู้

 ภิกษุ ท.! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ด้วยอำนาจแห่งการเจริญทำให้มาก ซึ่งสมาธิใดสมาธินั้น ภิกษุย่อมจะได้โดยไม่หนักใจ ได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบากเลย.

ภิกษุ ท.! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิต ก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ ด้วยอำนาจแห่งการเจริญทำให้มากซึ่งสมาธิไหนกันเล่า? ภิกษุ ท.! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ ด้วยอำนาจแห่ง การเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ.

ภิกษุ ท.! เมื่อบุคคลเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิอยู่อย่างไรเล่า ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตามย่อมมีขึ้นไม่ได้?

ภิกษุ ท.! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตามแล้วนั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า. ภิกษุนั้นหายใจเข้าก็มีสติ หายใจออก ก็มีสติ.

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว, เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว.

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น, เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น.

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวงหายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ทำกายสังขารให้สงบรำงับอยู่ หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้ทำกายสังขารให้สงบรำงับอยู่ หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งปีติหายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งสุขหายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้สงบรำงับอยู่ หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตตสังขาร ให้สงบรำงับอยู่หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์บันเทิงอยู่ หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์บันเทิงอยู่หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ดำรงจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้ดำรงจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปลดปล่อยอยู่ หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปลดปล่อยอยู่ หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นความไม่เที่ยง หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นความไม่เที่ยง หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความจางคลาย หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็น ความจางคลาย หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความดับสนิท หายใจเข้าอยู่". ว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความดับสนิท หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความสลัดกลับหลัง หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความสลัดกลับหลัง หายใจออกอยู่". ดังนี้.

ภิกษุ ท.! เมื่อบุคคลเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ อยู่อย่างนี้แล ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตามย่อมมีขึ้นไม่ได้. ....ฯลฯ....

ภิกษุ ท.! แม้เราเองก็เหมือนกัน ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรม คืออานาปานสติสมาธินี้ เป็นส่วนมาก. เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก กายก็ไม่ลำบาก ตาก็ไม่ลำบาก และจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่มีอุปาทาน.

ภิกษุ ท.! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า กายของเราก็อย่าลำบาก ตาของเราก็อย่าลำบาก และจิตของเราก็จงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่มีอุปาทานเถิด ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุ ท.! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า ความครุ่นคิดอันเกี่ยวข้องไปทางเหย้าเรือนของเรา จงหายไปอย่างหมดสิ้น ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุ ท.! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าปฏิกูล ต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุ ท.! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูล ต่อสิ่งที่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุ ท.! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าปฏิกูล ทั้งต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และต่อสิ่งที่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุ ท.! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูล ทั้งต่อสิ่งที่ปฏิกูล และต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุ ท.! ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้ไม่ใส่ใจเสียเลยทั้งต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและต่อสิ่งที่ปฏิกูล ทั้งสองอย่าง แล้วเป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติสัมปชัญญะเถิด ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้น จงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี.

(ต่อแต่นี้ มีตรัสทำนองนี้เรื่อยไปจนถึง ความหวังจะได้ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ และสัญญาเวทยิตนิโรธ จนกระทั่งความดับเย็นแห่งเวทนา เพราะความไม่เพลิดเพลินในเวทนานั้น เป็นที่สุด ว่าผู้ต้องการพึงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี).

บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๙, ๔๐๑/๑๓๒๔, ๑๓๒๙. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน ปรารภพระมหากัปปินะเข้าสมาธินั่งนิ่งไม่ไหวติงจนเป็นปรกตินิสัย.

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 22:02:26 »

ทรงพยายามในเนกขัมมจิต และอนุปุพพวิหารสมาบัติ ก่อนตรัสรู้

อานนท์! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่, ความรู้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เนกขัมมะ (ความหลีกออกจากกาม) เป็นทางแห่งความสำเร็จ, ปวิเวก (ความอยู่สงัดจากกาม) เป็นทางแห่งความสำเร็จ ดังนี้, แต่แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในเนกขัมมะ ทั้งที่เราเห็นอยู่ ว่านั่นสงบ.

อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเรา เป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในกามทั้งหลาย เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งการออกจากกาม เราก็ยังไม่เคยได้รับเลยยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้ากระไร เราได้เห็นโทษในกามทั้งหลาย แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในการหลีกออกจากกามแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไปพึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนกขัมมะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไปจึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนกขัมมะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแล เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึง บรรลุฌานที่ ๑ อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่. อานนท์! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คือฌานที่ ๑ นี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในทางกามก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ พึงบรรลุฌานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจารมีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอวิตกธรรม (คือฌานที่ ๒) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ ว่านั่น สงบ.

อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในวิตกธรรม เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอวิตกธรรม เราก็ยังไม่เคยได้รับเลยยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในวิตก แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอวิตกธรรมแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้หลุดออกไป ในอวิตกธรรม โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้หลุดออกไป ในอวิตกธรรม (คือฌานที่ ๒) นั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแล เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึง บรรลุฌานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คือ ฌานที่ ๒ นี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในวิตกก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสียถ้ากระไรเรา เพราะความจางไปแห่งปีติ พึงอยู่อุเบกขา มีสติแลสัมปชัญญะ และพึงเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไปในนิปปีติกฌาน (คือฌานที่ ๓) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพราะว่าโทษในปีติเป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งนิปปีติกฌาน เรายังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในปีติ แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในนิปปีติกฌานแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละจะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปในนิปปีติกฌาน โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปในนิปปีติกฌาน (คือฌานที่ ๓) นั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแล เพราะความจางไปแห่งปีติ จึงเกิดอุเบกขา มีสติแลสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่. อานนท์! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือฌานที่ ๓ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญา ที่เป็นไปในปีติก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุขแล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสแลโทมนัสในกาลก่อน พึงบรรลุฌานที่ ๔ อันไม่มีทุกข์และสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอทุกขมสุข (คือฌาณที่ ๔) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความรู้สึกได้เกิดแก่เราว่าเพราะว่าโทษในอุเปกขาสุข เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอทุกขมสุข เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอุเปกขาสุข แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอทุกขมสุขแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้หลุดออกไป ในอทุกขมสุขโดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! โดยกาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้หลุดออกไป ในอทุกขมสุข (คือฌานที่ ๔) นั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแล เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึง บรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. อานนท์! แม้เมื่อ เราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือฌานที่ ๔ นี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในอุเบกขา ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้น ยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นรูปสัญญา (ความกำหนดหมายในรูป) โดยประการทั้งปวงได้, เพราะความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญา (ความกำหนดหมายอารมณ์ที่กระทบใจ), เพราะไม่ได้ทำในใจซึ่งความกำหนดหมายในภาวะต่างๆ (นานัตตสัญญา) พึงบรรลุอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า "อากาศไม่มีที่สิ้นสุด" แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอากาสานัญจายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษในรูปทั้งหลาย เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอากาสานัญจายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในรูปทั้งหลาย แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอากาสานัญจายตนะแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไปพึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากาสานัญจายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ. อานนท์! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากาสานัญจายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! เมื่อเป็นเช่นนั้น เราแล เพราะผ่านพ้นรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงเสียได้ เพราะความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ได้ทำในใจซึ่งนานัตตสัญญา จึง บรรลุอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า "อากาศไม่มีที่สิ้นสุด" แล้วแลอยู่. อานนท์! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คืออากาสานัญจายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในรูปทั้งหลายก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้น ยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสียถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า "วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด" แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ไม่หลุดออกไป ในวิญญาณัญจายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษในอากาสานัญจายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งวิญญาณัญจายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอากาสานัญจายตนะ แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนะแล้วพึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในวิญญาณัญจายตนะโดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในวิญญาณัญจายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! เราแล ผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า "วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด" แล้วแลอยู่. อานนท์! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือวิญญาณัญจายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจ แห่งสัญญาที่เป็นไปในอากาสานัญจายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า "อะไร ๆ ไม่มี" แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใสไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอากิญจัญญายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษในวิญญาณัญจายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอากิญจัญญายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในวิญญาณัญจายตนะ แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอากิญจัญญายตนะแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากิญจัญญายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไปจึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากิญจัญญายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่นสงบ. อานนท์! เราแล ผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า "อะไรๆ ไม่มี" แล้วแลอยู่. อานนท์! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคืออากิญจัญญายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในวิญญาณัญจายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้วพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ* แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษในอากิญจัญญายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอากิญจัญญายตนะแล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! เราแล ผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่. อานนท์! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือเนวสัญานาสัญญายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในอากิญจัญญายตนะก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น.

อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำจัดอาพาธข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา ผ่านพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์! แม้กระนั้นจิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ.

อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่เราว่าเพราะว่าโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งสัญญาเวทยิตนิโรธ เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในสัญญาเวทยิตนิโรธแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในสัญญาเวทยิตนิโรธโดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไปในสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! เราแล ผ่านพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่ (ไม่มีอาพาธอะไรๆ อีกต่อไป). อนึ่ง อาสวะทั้งหลาย ได้ถึงความสิ้นไปรอบ เพราะเราเห็น (อริยสัจจ์สี่) ได้ด้วยปัญญา.

บาลี นวก. อํ. ๒๓/๔๕๗/๒๔๕. ตรัสแก่พระอานนท์ ที่อุรุเวลกัปปนิคม ของชาวมัลละในมัลลกรัฐ.
เนื่องจาก ตปุสสคหบดี ได้เข้าเผ้าและกราบทูลถึงข้อที่พวกฆราวาสย่อมมัวเมาติดในกามอยู่เป็นปรกติ,
เนกขัมมะคือการหลีกออกมาเสียจากกามนั้น ปรากฏแก่พวกเขาดุจถ้ำหรือเหวลึกที่มืดยิ่ง เป็นที่น่าหวาดกลัวยิ่ง.


--------------------------------------------------------------------------------
* เนวสัญญานาสัญญายตนะ คืออรูปฌานขั้นที่สงบ ถึงขนาดที่เรียกว่า มีความรู้สึก ก็ไม่ใช่ไม่มีความรู้สึกก็ไม่ใช่ เป็นความสงบในขั้นที่ยากที่คนธรรมดาจะเข้าใจได้ขึ้นไปแล้ว.
   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 22:03:07 »

ทรงอธิษฐานความเพียร ก่อนตรัสรู้

ภิกษุ ท.! เราได้รู้ถึงธรรมสองอย่าง คือ ความไม่รู้จักพอ ในกุศลธรรมทั้งหลาย และ ความเป็นผู้ไม่ถอยหลัง ในการตั้งความเพียร.

เราตั้งความเพียรคือความไม่ถอยหลังว่า "หลัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่เนื้อและเลือดในสรีระจักเหือดแห้งไปก็ตามที เมื่อยังไม่ลุถึงประโยชน์อันบุคคลจะลุได้ด้วยกำลังบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้วจักหยุดความเพียรนั้นเสีย เป็นไม่มีเลย" ดังนี้. ภิกษุ ท. ! เรานั้นได้บรรลุความตรัสรู้เพราะความไม่ประมาท ได้บรรลุโยคักเขมธรรมอันไม่มีอื่นยิ่งไปกว่าเพราะความไม่ประมาทแล้ว.

บาลี ปัญจมสูตร กัมมกรณวรรค ทุก. อํ. ๒๐/๖๔/๒๕๑.

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 22:03:52 »

ความฝันครั้งสำคัญ ก่อนตรัสรู้

ภิกษุ ท.! ความฝันครั้งสำคัญ (มหาสุบิน) ๕ อย่างได้ปรากฏแก่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งเมื่อก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่. ๕ อย่าง คืออะไรบ้างเล่า? คือ:-

มหาปฐพีนี้เป็นที่นอนอันใหญ่ของตถาคต จอมเขาหิมวันต์เป็นหมอน มือข้างซ้ายพาดลงที่สมุทรด้านตะวันออก มือข้างขวาพาดลงที่สมุทรด้านตะวันตกเท้าทั้งสองหย่อนลงที่สมุทรด้านทักษิณ. ภิกษุ ท. ! นี้เป็นมหาสุบินข้อที่ ๑ ได้มีแล้วแก่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งเมื่อก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่.

ข้ออื่นอีก : หญ้าคา* งอกขึ้นจากสะดือ ขึ้นไปสูงจดฟ้า. ภิกษุ ท. ! นี้เป็นมหาสุบินข้อที่ ๒ ได้มีแล้วแก่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งเมื่อก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่.

ข้ออื่นอีก : หนอนทั้งหลาย มีสีขาวหัวดำ คลานขึ้นมาตามเท้าจนถึงเข่า. ภิกษุ ท. ! นี้เป็นมหาสุบินข้อที่ ๓ ได้มีแล้วแก่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่.

ข้ออื่นอีก : นกทั้งหลาย สี่จำพวก มีสีต่างๆ กัน มาแล้วจากทิศทั้งสี่หมอบลงที่ใกล้เท้าแล้ว กลายเป็นสีขาวหมด. ภิกษุ ท.! นี้เป็นมหาสุบินข้อที่ ๔ ได้มีแล้วแก่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่.

ข้ออื่นอีก : ตถาคตได้ เดินไปบนอุจจาระกองใหญ่ เหมือนภูเขา อุจจาระมิได้เปื้อนเลย. ภิกษุ ท. ! นี้เป็นมหาสุบินข้อที่ ๕ ได้มีแล้วแก่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่.

ภิกษุ ท. ! ข้อว่ามหาปฐพีนี้เป็นที่นอนใหญ่ของตถาคต จอมเขาหิมวันต์เป็นหมอน มือข้างซ้ายพาดลงที่สมุทรด้านตะวันออก มือข้างขวาพาดลงที่สมุทรด้านตะวันตก เท้าทั้งสองหย่อนลงในสมุทรด้านทักษิณนั้น เป็น มหาสุบินข้อที่ ๑ เพื่อให้รู้ข้อที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ. ข้อว่าหญ้าคางอกจากสะดือ ขึ้นไปสูงจดฟ้า เป็น มหาสุบินข้อที่ ๒ เพื่อให้รู้ข้อที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรค แล้วประกาศเพียงไร แก่มนุษย์และเทวดา (ขึ้นไปถึงพรหม). ข้อว่าหนอนทั้งหลายมีสีขาวหัวดำคลานขึ้นมาตามเท้าจนถึงเข่านั้น เป็น มหาสุบินข้อที่ ๓ เพื่อให้รู้ข้อที่คฤหัสถ์ผู้นุ่งขาวเป็นอันมาก ถึงตถาคตเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต. ข้อว่านกสี่จำพวกมีสีต่างๆ กัน มาจากทิศทั้งสี่ หมอบลงที่เท้าแล้วกลายเป็นสีขาวหมดนั้น เป็น มหาสุบินข้อที่ ๔ เพื่อให้รู้ข้อที่ วรรณะสี่จำพวก เหล่านี้คือ กษัตริย์ พราหมณ์ เวสส์ สูทท์ ได้ออกจากเรือนมาบวชในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วอย่างไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือน ย่อมทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติอันไม่มีอื่นยิ่งไปกว่า ได้. ข้อว่าตถาคตเดินไปบนกองอุจจาระใหญ่เหมือนภูเขา อุจจาระไม่เปื้อนเลยนั้น เป็น มหาสุบินข้อที่ ๕ เพื่อให้รู้ข้อที่ตถาคตเป็นผู้มีลาภในบริกขาร คือจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชทั้งหลาย แต่ตถาคตไม่ติดจมไม่หมกใจในลาภนั้น, เมื่อบริโภค ก็บริโภคด้วยความเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องออกไปพ้นจากทุกข์ได้.

บาลี ฉัฎฐสูตร พราหมณวรรค ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๖๗/๑๙๖.


--------------------------------------------------------------------------------
* ศัพท์นี้ บาลีเป็น ติริยา นาม ติณชาติ แปลว่าหญ้าแพรกก็เคยแปลกัน.
   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 22:04:27 »

อาการแห่งการตรัสรู้

ราชกุมาร! ครั้นเรากลืนกินอาหารหยาบ ทำกายให้มีกำลังได้แล้ว, เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุ ฌานที่ ๑ มีวิตกวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่. เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึง บรรลุฌานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสในภายใน เป็นที่เกิดสมาธิแห่งใจ ไม่มีวิตกวิจารมีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่. เพราะความจางไปแห่งปีติ ย่อมอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย จึง บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข, แล้วแลอยู่. และเพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึงได้ บรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่.

เรานั้น ครั้นเมื่อจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลสเป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ถึงความไม่หวั่นไหวตั้งอยู่เช่นนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเฉพาะต่อ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ. เรานั้นระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในภพก่อนได้หลายประการ คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติ สามชาติ สี่ชาติ ห้าชาติบ้าง, สิบชาติ ยี่สิบชาติ สามสิบชาติ สี่สิบชาติ ห้าสิบชาติบ้าง, ร้อยชาติ พันชาติ แสนชาติบ้าง, ตลอดหลายสังวัฏฏกัปป์ หลายวิวัฏฏกัปป์ หลายสังวัฏฏกัปป์และวิวัฏฏกัปป์บ้าง, ว่าเมื่อเราอยู่ในภพโน้น มีชื่ออย่างนั้น มีโคตร มีวรรณะ มีอาหาร อย่างนั้น, เสวยสุขและทุกข์เช่นนั้น ๆ มีอายุสุดลงเท่านั้น; ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้เกิดในภพโน้น มีชื่อ โคตร วรรณะ อาหาร อย่างนั้นๆ, ได้เสวยสุขและทุกข์เช่นนั้นๆ มีอายุสุดลงเท่านั้น; ครั้นจุติจากภพนั้นๆ ๆ ๆ แล้ว มาเกิดในภพนี้. เรานั้นระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในภพก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการและลักขณะดังนี้. ราชกุมาร ! นี่เป็น วิชชาที่ ๑ ที่เราได้บรรลุแล้วในยามแรกแห่งราตรี. อวิชชาถูกทำลายแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, ความมืดถูกทำลายแล้ว ความสว่างเกิดขึ้นแทนแล้ว, เช่นเดียวกับที่เกิดแก่ผู้ไม่ประมาทมีเพียรเผาบาป มีตนส่งไปแล้วแลอยู่, โดยควร.

เรานั้น ครั้นเมื่อจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลสเป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ถึงความไม่หวั่นไหวตั้งอยู่เช่นนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเฉพาะต่อ จุตูปปาตญาณ. เรามีจักขุทิพย์ บริสุทธิ์กว่าจักขุของสามัญมนุษย์, ย่อมแลเห็นสัตว์ทั้งหลายจุติอยู่ บังเกิดอยู่, เลวทรามประณีต, มีวรรณะดี มีวรรณะเลว, มีทุกข์ มีสุข. เรารู้แจ้งชัด หมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมว่า "ผู้เจริญทั้งหลาย! สัตว์เหล่านี้หนอ ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตพูดติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นมิจฉาทิฏฐิ ประกอบการงานด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ, เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไป ล้วนพากันเข้าสู่อบายทุคติวินิบาตนรก. ท่านผู้เจริญทั้งหลาย! ส่วนสัตว์เหล่านี้หนอ ประกอบกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตไม่ติเตียนพระอริยเจ้า, เป็นสัมมาทิฏฐิ ประกอบการงานด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ, เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไป ย่อมพากันเข้าสู่สุคติโลกสวรรค์." เรามีจักขุทิพย์บริสุทธิ์ล่วงจักขุสามัญมนุษย์ เห็นเหล่าสัตว์ผู้จุติอยู่ บังเกิดอยู่ เลว ประณีต มีวรรณะดี วรรณะทราม มีทุกข์ มีสุข. รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตามกรรมได้ฉะนี้. ราชกุมาร ! นี้เป็น วิชชาที่ ๒ ที่เราได้บรรลุแล้วในยามกลางแห่งราตรี. อวิชชาถูกทำลายแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, ความมืดถูกทำลายแล้ว ความสว่างเกิดขึ้นแทนแล้ว, เช่นเดียวกับที่เกิดแก่ผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผาบาป มีตนส่งไปแล้วแลอยู่, โดยควร.

เรานั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกิเลส ปราศจากกิเลสเป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ถึงความไม่หวั่นไหวตั้งอยู่เช่นนี้แล้ว ก็น้อมจิตไปเฉพาะต่อ อาสวักขยญาณ, เราย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า "นี่ทุกข์, นี่เหตุแห่งทุกข์, นี่ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี่ทางให้ถึงความดับไม่มีเหลือแห่งทุกข์; และเหล่านี้เป็นอาสวะทั้งหลาย, นี้เหตุแห่งอาสวะทั้งหลาย, นี้ความดับไม่มีเหลือแห่งอาสวะทั้งหลาย, นี้เป็นทางให้ถึงความดับไม่มีเหลือแห่งอาสวะทั้งหลาย." เมื่อเรารู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ. ครั้นจิตพ้นวิเศษแล้วก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า จิตพ้นแล้ว. เรารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์จบแล้ว กิจที่ต้องทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความ (หลุดพ้น) เป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก. ราชกุมาร ! นี่เป็น วิชชาที่ ๓ ที่เราได้บรรลุแล้วในยามปลายแห่งราตรี. อวิชชาถูกทำลายแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, ความมืดถูกทำลายแล้ว ความสว่างเกิดขึ้นแทนแล้ว, เช่นเดียวกับที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีเพียรเผาบาป มีตนส่งไปแล้วแลอยู่, โดยควร.

โพธิราชกุมารสูตร ราชวรรค ม.ม.๑๓/๔๕๗/๕๐๕,
สคารวสูตร พราหมณวรรค ม.ม.๑๓/๖๘๕/๗๕๔,
มหาสัจจกสูตร มู.ม. ๑๒/๔๕๘/๔๒๗.
ตอนนี้ปาสราสิสูตร ไม่มี, ต่อไปในสคารวสูตรและมหาสัจจกสูตรก็ไม่มี.

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 22:05:27 »

สิ่งที่ตรัสรู้

ภิกษุ ท.! มีสิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งอยู่สองอย่าง ที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะด้วย. สิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งนั้นคืออะไร? คือ การประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย อันเป็นการกระทำที่ยังต่ำ เป็นของชาวบ้านเป็นของคนชั้นบุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, และการประกอบความเพียรในการทรมานตนให้ลำบาก อันนำมาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, สองอย่างนี้แล.

ภิกษุ ท.! ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุเป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.

ภิกษุ ท.! ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่ง สองอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุ ท.! ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น คือข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบอยู่ด้วยองค์แปดประการนี่เอง. แปดประการคืออะไรเล่า? คือความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้อง การพูดจาที่ถูกต้อง การทำการงานที่ถูกต้อง การอาชีพที่ถูกต้อง ความพากเพียรที่ถูกต้อง ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง. ภิกษุ ท.! นี้แล คือข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ ทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.

ภิกษุ ท.! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องความทุกข์ ๑ คือความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์* ความตายก็เป็นทุกข์, ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รัก เป็นทุกข์ ความพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ความปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น เป็นทุกข์, กล่าวโดยย่อ ขันธ์ห้าที่ประกอบด้วยอุปาทาน เป็นทุกข์.

ภิกษุ ท.! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องแดนเกิดของความทุกข์คือตัณหา อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน อันเป็นเครื่องให้เพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ, ได้แก่ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น.

ภิกษุ ท.! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องความดับไม่เหลือของความทุกข์ คือ ความดับสนิทเพราะจางไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้นนั่นเอง คือความสลัดทิ้ง ความสละคืน ความปล่อย ความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้น.

ภิกษุ ท.! นี้แลคือความจริงอันประเสริฐ เรื่องข้อปฏิบัติอันทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์ คือข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ อันประกอบด้วยองค์แปดประการนี้ ได้แก่ความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้องการพูดจาที่ถูกต้อง การทำการงานที่ถูกต้อง การอาชีพที่ถูกต้อง ความพากเพียรที่ถูกต้อง ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง.

ภิกษุ ท.! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ววิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอันประเสริฐ คือความทุกข์, เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐคือความทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้, เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐคือความทุกข์นี้ เราตถาคตกำหนดรู้รอบแล้ว.

ภิกษุ ท. ! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอันประเสริฐ คือแดนเกิดของทุกข์, เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือแดนเกิดของทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควรละเสีย, เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือแดนเกิดของความทุกข์นี้เราตถาคตละได้แล้ว.

ภิกษุ ท.! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ววิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของความทุกข์, เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของความทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง, เกิดขึ้นแก่เรา ก็ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของความทุกข์นี้ เราตถาคตได้ทำให้แจ้งแล้ว.

ภิกษุ ท.! จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นในสิ่งที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาแต่ก่อน เกิดขึ้นแก่เราว่า นี้คือความจริงอันประเสริฐ คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์, เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐคือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์นี้ เป็นสิ่งที่ควรทำให้เกิดมี, เกิดขึ้นแก่เราว่า ก็ความจริงอันประเสริฐ คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์นี้ เราตถาคตได้ทำให้เกิดมีแล้ว.

ภิกษุ ท.! ตลอดกาลเพียงไร ที่ญาณทัศนะเครื่องรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา อันมีปริวัฏฏ์สาม มีอาการสิบสอง ในอริยสัจจ์ทั้งสี่ เหล่านี้ยังไม่เป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์สะอาดด้วยดี; ตลอดกาลเพียงนั้นเรายังไม่ปฏิญญาว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาแลมนุษย์.

ภิกษุ ท.! เมื่อใด ญาณทัศนะเครื่องรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา อันมีปริวัฏฏ์สาม มีอาการสิบสอง ในอริยสัจจ์ทั้งสี่ เหล่านี้เป็นญาณทัศนะที่บริสุทธิ์สะอาดด้วยดี; เมื่อนั้น เราก็ปฏิญญาว่าเป็นผู้ได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาแลมนุษย์.

บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔. ตรัสแก่ภิกษุทั้งห้า ทิ่อิสิปตนมฤคทายวัน.


--------------------------------------------------------------------------------
* ในบาลีพระไตรปิฏกสยามรัฐ มีคำว่า พฺยาธิปิ ทุกฺขา ด้วย, ซึ่งฉบับสวดมนต์ ไม่มี แต่ไปมีบทว่า โสกปริเทวทุกฺขโทมนสฺสุปายาสาปิ ทุกฺขา, ซึ่งในพระไตรปิฏกไม่มี.



บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #31 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 22:06:01 »

การตรัสรู้คือการทับรอยแห่งพระพุทธเจ้าในอดีต

ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือนบุรุษเที่ยวไปในป่าทึบ เกิดพบรอยทางซึ่งเคยเป็นหนทางเก่า ที่มนุษย์แต่กาลก่อนเคยใช้เดินแล้ว. บุรุษนั้นจึงเดินตามทางนั้นไป เมื่อเดินไปตามทางนั้นอยู่ ได้พบซากนครซึ่งเป็นราชธานีโบราณ อันมนุษย์ทั้งหลายแต่กาลก่อนเคยอยู่อาศัยแล้ว เป็นที่อันสมบูรณ์ด้วยสวน สมบูรณ์ด้วยป่าไม้ สมบูรณ์ด้วยสระโบกขรณี มีซากกำแพงล้อม มีภูมิภาคน่ารื่นรมย์. ภิกษุ ท.! ลำดับนั้น บุรุษนั้นเข้าไปกราบทูลแจ้งข่าวนี้แก่พระราชา หรือแก่มหาอำมาตย์ของพระราชาว่า "ขอท้าวพระกรุณาจงทรงทราบเถิด : ข้าพระเจ้าเมื่อเที่ยวไปในป่าทึบได้เห็นรอยทางซึ่งเคยเป็นหนทางเก่า ที่มนุษย์แต่กาลก่อนเคยใช้เดินแล้ว. ข้าพระเจ้าได้เดินตามทางนั้นไป เมื่อเดินไปตามทางนั้นอยู่ ได้พบซากนครซึ่งเป็นราชธานีโบราณ อันมนุษย์ ท. แต่กาลก่อนเคยอยู่อาศัยแล้ว เป็นที่อันสมบูรณ์ด้วยสวน สมบูรณ์ด้วยป่าไม้ สมบูรณ์ด้วยสระโบกขรณี มีซากกำแพงล้อม มีภูมิภาคน่ารื่นรมย์. ขอพระองค์จงปรับปรุงสถานที่นั้นให้เป็นนครเถิด พระเจ้าข้า!" ดังนี้.

ภิกษุ ท.! ลำดับนั้น พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชานั้น จึงปรับปรุงสถานที่นั้นขึ้นเป็นนคร สมัยต่อมา นครนั้นได้กลายเป็นนครที่มั่งคั่ง และรุ่งเรือง มีประชาชนมาก เกลื่อนกล่นด้วยมนุษย์ ถึงแล้วซึ่งความเจริญไพบูลย์, นี้ฉันใด; ภิกษุ ท.! ข้อนี้ก็ฉันนั้น : เราได้เห็นแล้วซึ่งรอยทางเก่า ที่เคยเป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว.

ภิกษุ ท.! ก็รอยทางเก่า ที่เคยเป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? นั่นคืออริยอัฏฐังคิกมรรคนี้นั่นเทียว ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท.! นี้แล รอยทางเก่าที่เป็นหนทางเก่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนเคยทรงดำเนินแล้ว. เรานั้น ได้ดำเนินไปตามแล้วซึ่งหนทางนั้น. เมื่อดำเนินไปตามซึ่งหนทางนั้นอยู่, เราได้รู้ยิ่งเฉพาะแล้วซึ่งชรามรณะ, ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้นแห่งชรามรณะ, ซึ่งความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ, ซึ่งข้อปฏิบัติเครื่องทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งชรามรณะ;....

(ข้อความต่อไปจากนี้ ได้ตรัสถึงชาติ-ภพ-อุปาทาน-ตัณหา-เวทนา-ผัสสะ-สฬายตนะ-นามรูป-วิญญาณ สุดลงเพียงสังขาร โดยอาการทั้งสี่, ดังที่ได้ตรัสในกรณีแห่งชรามรณะเหมือนกันทุกตัวอักษร เว้นแต่ชื่อของตัวปฏิจจสมุปปันนธรรมนั้นๆ เท่านั้น).

บาลี ศุตรที่ ๕ มหาวรรค อภิสมยสํยุตต์ นิทาน. ส. ๑๖/๑๒๘/๒๕๓. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่เชตวัน.

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #32 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 22:06:51 »

การตรัสรู้คือการทรงรู้แจ้งผัสสายตนะโดยอาการห้า

(ครั้งหนึ่ง ประทับอยู่ที่เชตวัน ตรัสเรียกภิกษุ ท. มาแล้ว ได้ตรัสเรื่องสมณพราหมณ์ที่มีทิฏฐิต่าง ๆ กัน โดยแบ่งเป็นพวกๆ คือตรัสพวกอปรันตานุทิฏฐิมีทิฏฐิปรารภขันธ์ส่วนอนาคต ๕ พวก ได้แก่พวกสัญญีวาท อสัญญีวาท เนวสัญญีนาสัญญีวาท อุจเฉทวาท และทิฏฐธัมมนิพพานวาทแล้วตรัสพวกปุพพันตานุทิฏฐิ มีทิฏฐิปรารภขันธ์ส่วนอดีต ๑๖ พวก และตรัสถึงทิฏฐิธัมมนิพพานวาทของพวกที่สลัดปรันตานุทิฏฐิและปุพพันตานุทิฏฐิเสีย แล้วไปถือเอานิรามิสสุขอันเกิดจากฌานทุกระดับว่าเป็นนิพพาน แล้วสำคัญตนว่า เป็นผู้สงบรำงับ ดับเย็น ไม่มีอุปาทาน ทรงระบุว่า นั่นเป็นเพียงอุปาทานของคนพวกนั้น ตถาคตทรงทราบว่าอุปาทานนั้นเป็นทิฏฐิหยาบที่คนเหล่านั้นปรุงขึ้น และธรรมเป็นที่ดับแห่งอุปาทานที่คน ท. เหล่านั้นปรุงขึ้นก็มีอยู่ ทรงเห็นธรรมเป็นเครื่องออกจากอุปาทานเหล่านั้น ไม่เวียนไปสู่อุปาทานเหล่านั้น ดังนี้แล้วได้ตรัสข้อความนี้สืบต่อไปว่า:-)

ภิกษุ ท.! ก็ บทแห่งธรรม นี้แล เป็นบทแห่งธรรมอันประเสริฐสงบรำงับ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า อันตถาคตได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว (ตรัสรู้); นั่นคือ ความที่ตถาคตรู้แจ้งตามที่เป็นจริง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น ซึ่งความดับลง ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม ซึ่งอุบายเป็นเครื่องออก แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ แล้วจึงหลุดพ้นเพราะความไม่ยึดมั่นถือมั่น.

ภิกษุ ท.! นั่นแหละ คือข้อที่ตถาคตได้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งบทแห่งธรรมอันประเสริฐ สงบรำงับ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า; กล่าวคือ ความที่ตถาคตรู้แจ้งตามที่เป็นจริง ซึ่งเหตุให้เกิดขึ้น ซึ่งความดับลง ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษอันต่ำทราม ซึ่งอุบายเป็นเครื่องออก แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ แล้วจึงหลุดพ้นเพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น.

บาลี ปัจจัตตยสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๔๐/๔๑. ตรัสแก่ภิกษุ ท. ที่เชตวัน.

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #33 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 22:07:25 »

เกิดแสงสว่างเนื่องด้วยการตรัสรู้

ภิกษุ ท.! เมื่อใด ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ, ในขณะนั้น แสงสว่างอันโอฬารจนหาประมาณมิได้ ยิ่งใหญ่กว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลายจะบันดาลได้, ได้ปรากฏขึ้นในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์. ถึงแม้ใน โลกันตริกนรก อันโล่งโถงไม่มีอะไรปิดกั้น แต่มืดมนหาการเกิดแห่งจักขุวิญญาณมิได้ อันแสงสว่างแห่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์อานุภาพอย่างนี้ ส่องไปไม่ถึงนั้น แม้ในที่นั้น แสงสว่างอันโอฬารหาประมาณมิได้ ยิ่งใหญ่กว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลายจะบันดาลได้ ก็ได้ปรากฏขึ้นเหมือนกัน. สัตว์ที่เกิดอยู่ ณ ที่นั้น รู้จักกันได้ด้วยแสงสว่างนั้น พากันร้องว่า "ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ย! ผู้อื่นอันเกิดอยู่ในที่นี้นอกจากเราก็มีอยู่เหมือนกัน" ดังนี้.

ภิกษุ ท.! นี้แลเป็น อัศจรรย์ครั้งที่สาม ที่ยังไม่เคยมี ได้บังเกิดมีขึ้นเพราะการบังเกิดแห่ง ตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

บาลี สัตตมสูตร ภยวรรค จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗๗/๑๒๗.

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 22:08:11 »

แผ่นดินไหว เนื่องด้วยการตรัสรู้

ดูก่อนอานนท์! เหตุปัจจัยที่ทำให้ปรากฏการไหวแห่งแผ่นดินอันใหญ่หลวง มีอยู่แปดประการ.----

ดูก่อนอานนท์! เมื่อใด ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ; เมื่อนั้น แผ่นดินย่อมหวั่นไหว ย่อมสั่นสะเทือน ย่อมสั่นสะท้าน. อานนท์! นี้เป็นเหตุปัจจัยที่คำรบห้า แห่งการปรากฏการไหวของแผ่นดินอันใหญ่หลวง.

บาลี อฎฺฐก. อํ. ๒๓/๓๒๒,๓๒๓/๑๖๗.
ตรัสแก่พระอานนท์ ที่ปาวาลเจดีย์ เมืองเวสาลี.

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #35 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 22:09:06 »

การรู้สึกพระองค์ว่าได้ตรัสรู้แล้ว

ภิกษุ ท.! ก็เมื่อเราเป็นผู้มีความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายเป็นธรรมดา มีความโศกเป็นธรรมดา มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ด้วยตน, ก็รู้จักโทษแห่งสิ่งที่มีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย โศก เศร้าหมองเป็นธรรมดา. ครั้นรู้แล้ว จึงได้แสวงหานิพพาน อันไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ไม่โศก ไม่เศร้าหมองเป็นธรรมดา อันไม่มีสิ่งอื่นยิ่งไปกว่า อันเกษมจากโยคธรรม. เราก็ได้บรรลุพระนิพพานนั้น. อนึ่ง ปัญญาเครื่องรู้เครื่องเห็นได้เกิดแก่เราว่า "ความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย ภพเป็นที่เกิดใหม่มิได้มีอีก" ดังนี้.

ปาสราสิสูตร โอปัมมวรรค มู.ม. ๑๒/๓๒๓/๓๒๐.

   
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #36 เมื่อ: 15 ธันวาคม 2552 22:09:41 »

วิหารธรรมที่ทรงอยู่ เมื่อตรัสรู้แล้วใหม่ๆ

ภิกษุ ท.! เราได้อยู่แล้วโดยประเทศ* แห่งวิหารธรรมอย่างเดียวกันกับวิหารธรรมที่เราเคยอยู่แล้วเมื่อตรัสรู้แล้วใหม่ๆ. เมื่ออยู่โดยวิหารธรรมอย่างนี้แล้ว, เราย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า:-

"เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาทิฏฐิบ้าง; -สัมมาทิฏฐิบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสังกัปปะบ้าง; -สัมมาสังกัปปะบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาวาจาบ้าง; -สัมมาวาจาบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉากัมมันตะบ้าง; -สัมมากัมมันตะบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาอาชีวะบ้าง; -สัมมาอาชีวะบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาวายามะบ้าง; -สัมมาวายามะบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสติบ้าง; -สัมมาสติบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสมาธิบ้าง; -สัมมาสมาธิบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือวิตกบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัญญาบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะ วิตก และสัญญา ที่ยังไม่เข้าไปสงบรำงับบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะ วิตก และสัญญา ที่เข้าไปสงบรำงับแล้วบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือการบรรลุถึงฐานะที่ได้พยายามเพื่อจะบรรลุถึงบ้าง; ดังนี้.

บาลี สูตรที่ ๑ วิหารวรรค มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๖/๔๘.
ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวันหลังจากที่ได้ประทับหลีกเร้นแล้วเป็นเวลาครึ่งเดือน.

 

(อีกสูตรหนึ่ง ได้ตรัสโดยข้อความที่แปลกออกไปอีกบางประการ)

ภิกษุ ท.! เราได้อยู่แล้วโดยประเทศแห่งวิหารธรรม อย่างเดียวกันกับวิหารธรรมที่เราเคยอยู่แล้วเมื่อตรัสรู้แล้วใหม่ๆ เมื่ออยู่โดยวิหารธรรมอย่างนี้แล้ว, เราย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า:-

"เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาทิฏฐิบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งมิจฉาทิฏฐิบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาทิฏฐิบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งสัมมาทิฏฐิบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสังกัปปะบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งมิจฉาสังกัปปะบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาสังกัปปะบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งสัมมาสังกัปปะบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาวาจาบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งมิจฉาวาจาบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาวาจาบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งสัมมาวาจาบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉากัมมันตะบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งมิจฉากัมมันตะบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมากัมมันตะบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งสัมมากัมมันตะบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาอาชีวะบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งมิจฉาอาชีวะบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาอาชีวะบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งสัมมาอาชีวะบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาวายามะบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งมิจฉาวายามะบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาวายามะบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งสัมมาวายามะบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสติบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งมิจฉาสติบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาสติบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งสัมมาสติบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือมิจฉาสมาธิบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งมิจฉาสมาธิบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัมมาสมาธิบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งสัมมาสมาธิบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งฉันทะบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือวิตกบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งวิตกบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือสัญญาบ้าง; -ความเข้าไป สงบรำงับแห่งสัญญาบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะ วิตก และ สัญญา ที่ยังไม่เข้าไปสงบรำงับบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือฉันทะ วิตก และ สัญญา ที่เข้าไปสงบรำงับแล้วบ้าง;

เวทนาย่อมมี เพราะปัจจัยคือการบรรลุถึงฐานะที่ได้พยายามเพื่อจะบรรลุถึงบ้าง" ดังนี้.

บาลี สูตรที่ ๒ วิหารวรรค มหาวาร.สํ. ๑๙/๑๗/๕๐.
ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน
หลังจากที่ได้ประทับหลีกเร้นแล้วเป็นเวลา ๓ เดือน.


--------------------------------------------------------------------------------
* คำว่า "ประเทศ" ในที่นี้ หมายถึงที่ตั้งแห่งความรู้สึกทางใจ เช่นเดียวกับแผ่นดินเป็นที่ตั้งแห่งความเป็นอยู่ทางกาย. การที่คงไว้ในรูปศัพท์เดิมเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้ผู้อ่านได้ทราบเงื่อนงำแห่งภาษาบาลี ซึ่งไม่ค่อยจะปรากฏในภาษาไทย. พระบาลีนี้พอจะแสดงให้เราทราบได้ว่า เมื่อตรัสรู้แล้วใหม่ๆ พระองค์ได้ทรงอยู่ด้วยวิหารธรรมชนิดที่ทำให้รู้แจ้งชัดต่อเวทนาในลักษณะเช่นที่กล่าวไว้ในสูตร.
บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
คำค้น:
หน้า:  1 [2]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
นิทานเรื่องสั้นของท่านพุทธทาส เรื่อง พ่อ-ลูก
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
เงาฝัน 0 3520 กระทู้ล่าสุด 07 พฤศจิกายน 2553 20:44:50
โดย เงาฝัน
หนังสั้นคอมเมดี้ สุดฮา เรื่อง - Scence A / ฉากเด็ด
ลานกว้าง (มุมดูคลิป)
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪ 0 3500 กระทู้ล่าสุด 24 พฤษภาคม 2554 22:19:46
โดย 【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
นิทานธรรมบท ๑๔๒ เรื่อง เต็มชุด
เสียงธรรมเทศนา
ขอทานน้อย_ป่าหิมพานต์ 0 6241 กระทู้ล่าสุด 16 ธันวาคม 2554 13:34:52
โดย ขอทานน้อย_ป่าหิมพานต์
[โพสทูเดย์] - กยศ. ขยายเวลามาตรการลดหย่อนหนี้ จนถึง 31 ธ.ค. 65
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 185 กระทู้ล่าสุด 29 มิถุนายน 2565 09:25:30
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวเด่น] - ลงทะเบียนเลือกตั้งประกันสังคม เปิดขั้นตอนทำได้ง่ายๆ จนถึง 10 พ.ย. นี้
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 86 กระทู้ล่าสุด 01 พฤศจิกายน 2566 20:25:40
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.313 วินาที กับ 35 คำสั่ง

Google visited last this page 16 มีนาคม 2567 20:21:13