[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 04:34:58 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  1 [2]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะจากพระผู้รู้ (พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช)  (อ่าน 12760 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:17:17 »

นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๐๘๐ พฤหัสบดีที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๒
ธรรมะจากพระผู้รู้

พระอาจารย์ปราโมทย์  ปาโมชฺโช

ถาม: คุณครูจะบอกให้ฟังอยู่เสมอว่า ศึกษาธรรมะแล้วชีวิตของทุกๆคนจะดีมีความสุข เป็นอย่างนั้นใช่ไหมเจ้าคะ

ศึกษาธรรมะนะ  ดีแล้วล่ะ
คนไหนมีธรรมะก็ชีวิตมีความมั่นคง
เราไม่รู้อนาคตของแต่ละคนนะว่าเราจะเผชิญอะไรในชีวิตบ้าง
การที่เราเรียนธรรมะไว้ เหมือนเราสร้างต้นทุนให้ตัวเองไว้ เพื่อจะต่อสู้กับชีวิต
แต่ละคนๆ นะกว่าจะตั้งหลักได้ ตั้งตัวได้
บางคนล้มลุกคลุกคลาน บางคนตั้งหลักตั้งตัวไม่ได้ทั้งชาติเลย
แต่ถ้าเรามีธรรมะไว้นะ ชีวิตเรามีระเบียบมีแบบแผน
ไม่ค่อยตุปัดตุเป๋ออกนอกลู่นอกทาง โอกาสที่จะตั้งเนื้อตั้งตัวได้ก็เยอะหน่อย

อยู่กับโลกบางทีเราระวังเต็มที่แล้ว  อยู่ๆก็เกิดเหตุการณ์ซึ่งเราไม่คาดฝัน
ในโลกนี้เต็มไปด้วยเรื่องที่คาดฝันไปไม่ถึง มันนำความทุกข์มาให้เรา
เช่นเราอยู่ดีๆ พ่อแม่เราตายไป อะไรอย่างนี้ก็เป็นไปได้
หรือว่ามีครอบครัว แฟนเรานอกใจเรา ก็เป็นไปได้
ทำงานไปแล้วตกงาน หรือกิจการล้มละลาย ก็เป็นไปได้
มีลูกแล้วลูกเกเร ทำความหายนะให้ ทำความทุกข์ให้พ่อให้แม่ ก็เป็นไปได้อีก
อยู่ดีๆยังแข็งแรงอยู่นะอยู่ๆ ก็เจ็บป่วยขึ้นมา เป็นมะรงมะเร็ง เด็กๆก็เป็นนะไม่ใช่ไม่เป็น
หลวงพ่อเคยเห็นที่สถาบันมะเร็ง เด็กเล็กๆเลยก็เป็นมะเร็ง
เพราะงั้นในชีวิตเราเนี่ยะเต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่แน่นอน

งั้นเราต้องศึกษาธรรมะเอาไว้
ถ้าคนไหนมีธรรมะไว้เนี่ยะ เราจะสามารถอยู่กับความไม่แน่นอนได้อย่างที่มีความมั่นคงพอสมควร
ยิ่งถ้าเรามีธรรมะมากๆนะ เรารู้สึกแน่นอนเลยที่ใจเราจะไม่ทุกข์
โลกนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ แต่ใจเราจะไม่ทุกข์
นี่ถ้าภาวนาสำเร็จนะ ถึงที่สุดจริงๆแล้วจะไม่ทุกข์อีกแล้ว

งั้นเราก็ต้องสร้างต้นทุนให้ตัวเองไว้ด้วยการศึกษาธรรมะเอาไว้
การศึกษาธรรมะเนี่ยะไม่ใช่การศึกษาอะไรที่ยากๆหรอก
อย่าไปคิดว่าธรรมะเป็นเรื่องยากๆ ธรรมะเป็นเรื่องห่างไกล
ธรรมะนี่ต้องเรียนอีกหลายชาติถึงจะสำเร็จ ไม่ใช่เลย
ถ้าพวกเราเข้าใจหลักที่พระพุทธเจ้าสอนนะ เราจะพัฒนาจิตใจได้อย่างรวดเร็วมากเลย
ใช้เวลาไม่นานหรอก บางคนใช้เวลาเดือนเดียวนะ
เรียนกับหลวงพ่อเดือนนึง ใจก็เปลี่ยนแปลงไปมากเลย
เคยมีความทุกข์มากๆเลยก็เหลือทุกข์น้อยๆ เคยทุกข์นานๆก็เหลือทุกข์สั้นๆ
จิตใจมันมีความอบอุ่น จิตใจมีความมั่นคง

คนในโลกนี้นะ  ทุกวันนี้คนไม่มีความอบอุ่นเลย
ความมั่นคงก็ไม่มีหรอก ทุกอย่างเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากเลย
ความอบอุ่นก็ไม่มี ครอบครัวแตกกระจัดกระจายไป
แต่ถ้าเรามีธรรมะแล้ว นอกจากมีความมั่นคงแล้ว เรายังอบอุ่นด้วย
มันมีความสุขอยู่ได้ด้วยตัวเอง สมมุติเราเป็นลูกกำพร้า เราก็มีความสุขนะ
เพราะเรารู้ว่าพ่อแม่ ที่แท้จริงอีกท่านหนึ่งของเราก็ยังอยู่คือพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าไม่ได้ทอดทิ้งเรานะ อยู่ในใจเรานี้เอง
ใจของเราเข้าถึงธรรมะแล้วก็จะเจอพระพุทธเจ้า
ท่านถึงบอก ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา
พวกเราไม่ได้เจอร่างกายของพระพุทธเจ้า
แต่ว่าถ้าเราเข้าใจธรรมะ เราจะเจอพระพุทธเจ้าตัวจริง
คนไหนได้ธรรมะแล้วจะรู้สึก มีชีวิตมีความอบอุ่น ไม่ว้าเหว่ ไม่ขาดที่พึ่งที่อาศัย

เราก็ต้องค่อยๆฝึก ค่อยๆเรียนธรรมะนะ
การเรียนธรรมะไม่ใช่ยากอะไรหรอก
เราอย่าไปวาดภาพว่าการปฏิบัติธรรมคือการนั่งสมาธินะ
เราอย่าไปวาดภาพว่าการปฏิบัติธรรมคือการเดินจงกรม
ต้องเดินสวยๆ ต้องเดินนานๆ ไม่เกี่ยวกันเท่าไหร่หรอก
การนั่งสมาธิ การเดินจงกรม เป็นแค่รูปแบบของการปฏิบัติ
เหมือนเครื่องแบบนักเรียนเท่านั้นเอง
ดูสวยๆ แต่เนื้อแท้คือการมีสติของเรา
จิตเรามีสติจริงไหม จิตเรามีสัมมาสมาธิ มีความตั้งมั่นจริงไหม
เราสามารถเจริญปัญญาได้ถ้ามีสติแล้วก็มีสัมมาสมาธิ นี่เป็นเนื้อแท้ของการปฏิบัติ

การมีสติเนี่ยะ  ไม่ใช่ว่าต้องเดินจงกรมอยู่ถึงมีสติ ต้องนั่งสมาธิอยู่ถึงมีสติ
เราทำอะไรอยู่ก็มีสติได้นะ ถ้าค่อยๆฝึกไป
เข้าห้องน้ำนี่ก็มีสติได้ นั่งถ่ายไป ท้องผูก ท้องไม่ผูก อะไรอย่างนี้ก็เจริญสติได้
จะกินข้าวเราก็มีสติได้ ทำอะไรๆเราก็มีสติได้
ยกเว้นเวลาเรียนหนังสือนะ เวลาเรียนหนังสือเนี่ยะไม่ใช่เวลาเจริญสติปัฏฐาน
แต่ต้องมีสติเรียนสิ่งที่อาจารย์สอน คนละอันกัน

คำว่าเจริญสติที่หลวงพ่อพูดถึง หมายถึงสติปัฏฐาน
ได้แก่สติที่คอยรู้กายรู้ใจ
สติที่คอยรู้กายรู้ใจเรียกว่าสติปัฏฐาน
สติที่รู้อารมณ์อื่นๆเรียกว่าสติธรรมดา
เวลาเราเรียนหนังสือ เวลาเราทำงานที่ต้องคิดเนี่ยะ เราใช้สติธรรมดา จดจ่ออยู่กับการเรียน
แต่เวลาที่เหลือเนี่ยะ พยายามมีสติปัฏฐาน
สร้างสติปัฏฐานคือคอยรู้สึกตัวไว้
คอยรู้สึกกาย คอยรู้สึกใจไปเรื่อย
ถ้ารู้สึกได้นะ ความทุกข์มันจะค่อยๆหายไปเอง

พวกเราสังเกตไหม กิเลสมันเกิดทั้งวัน
พวกนักเรียนที่เรียนมาแล้วเคยเห็นไหม กิเลสมันเกิดได้เรื่อยๆ
เดี๋ยวก็โลภ เดี๋ยวก็โกรธ เดี๋ยวก็หลง
เดี๋ยวฟุ้งซ่าน เดี๋ยวหดหู่ เดี๋ยวลังเลสงสัย
ใจเรานี่หมุนไปเรื่อยๆนะ เดี๋ยวกิเลสตัวนั้นเกิด กิเลสตัวนี้เกิด
ทุกคราวที่ใจเราทำงานขึ้นมาเนี่ยะ ภาษาพระเรียกว่า ภพ (ภ.สำเภา พ.พาน - ภพ นะ)
เวลาจิตใจเราหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไป ทำงานปรุงแต่งอะไรไป ก็เรียกว่ามันสร้างภพไปเรื่อย

ภพมีสองส่วน ภพหนึ่งเรียก ภพโดยการเกิด
อย่างเราตอนนี้เราเกิดในภพของมนุษย์
ภพของมนุษย์นี้เรียกว่าเป็นกามภพ
ถ้าเราเข้าฌานก็เป็นรูปภพอรูปภพ
นี่เป็นภพโดยการเกิดเรียกว่าอุปัตติภพ
ตัวนี้ตอนนี้เรามีอยู่แล้ว เราเป็นภพของมนุษย์
เราเกิดเป็นมนุษย์ เรียกว่าเป็นภพใหญ่ของมนุษย์ มีภพใหญ่เป็นมนุษย์

แต่มันยังมีภพอีกชนิดหนึ่งนะ เรียกว่ากรรมภพ
กรรมภพนี่คือการที่จิตทำงานขึ้นแต่ละคราวแต่ละคราว
เมื่อไหร่จิตใจเรามีความโลภขึ้นมานะ ขณะนั้นร่างกายเราเป็นมนุษย์จริง แต่ใจเราเป็นเปรต
เวลามีความโลภ สังเกตไหมใจมีความสุขหรือความทุกข์ นึกออกไหม
เวลาเราอยากโน้นอยากนี้ ใจเรามีความทุกข์นะ
เวลาเรามีความโกรธขึ้นมาเนี่ยะ ใจเราก็อยู่ในภพที่เป็นสัตว์นรก
สัตว์นรกเนี่ยะจิตใจไม่แช่มชื่นไม่เบิกบาน เจือด้วยโทสะเจือด้วยความทุกข์ตลอดเวลา
เวลาเรามีความโกรธ หรือเวลาเรามีความทุกข์ เราสุขไหม? เราไม่สุขใช่ไหม
เพราะงั้นเป็นภพของเปรตมีความโลภ เราก็มีความทุกข์นะ
ภพของสัตว์นรก มีโทสะ มีความโกรธขึ้นมา เราก็มีความทุกข์
เป็นภพของสัตว์เดรัจฉาน ใจลอย ตัวนี้ดูยากละ
โมหะ ใจลอยไป ดูยาก หลงๆไปวันหนึ่งๆนะ ดูยากแล้วว่าเป็นตัวทุกข์ นี้ต้องค่อยๆฝึกก่อน
ทีแรกก็จะเห็นภพที่มีโทสะ ก็เห็นได้ง่ายว่าเป็นทุกข์
ภพที่มีความโลภขึ้นมา เห็นได้ง่ายว่ามีความทุกข์
ถ้าใจของเราเป็นบุญเป็นกุศลขึ้นมานะ เราก็เป็นภพของมนุษย์
ใจเรามีความสุข อยู่กับความสุข มีความละอายบาป เกรงกลัวต่อบาป เราก็อยู่ในภพเทวดา
ร่างกายเรายังเป็นคนอยู่ แต่ใจเราเป็นเทวดา
บางทีเราทำสมาธินะ ร่างกายเราเป็นคน ใจเราเป็นพรหม เป็นพระพรหม เงียบๆสงบ

ใจเรานี้แหละ  เสวยภพโน้น เสวยภพนี้ ตลอดเวลา
เปลี่ยนภพตลอด คือเปลี่ยนสภาวะ
พูดคำว่าภพแล้วงง เปลี่ยนมาเป็นว่ามันเป็นสภาวะต่างๆ
เดี๋ยวใจเราก็มีสภาวะที่เป็นสุข เดี๋ยวใจก็มีสภาวะเป็นทุกข์
เดี๋ยวใจโลภ ใจโกรธ ใจหลง ใจฟุ้งซ่าน ใจหดหู่
บางภพหรือบางสภาวะเนี่ยะ ดูง่ายว่าเป็นทุกข์
บางภพที่ละเอียดประณีต บางสภาวะที่ละเอียดประณีต ดูยากว่าเป็นทุกข์ ต้องภาวนากันนานๆ
อย่างใจของพรหมเนี่ยะ ดูยากที่สุดเลยว่าเป็นภพ
มันมีความสุข มันมีความสงบ มีอุเบกขาอยู่อย่างนั้น ดูยาก
ใจอื่นๆนะก็ดูง่ายหน่อย ใจเทวดาก็ดูยากมีความสุขเยอะไป
เวลาพวกเรามีความสุข เรารู้สึกไหมเรามักจะเผลอ
เรามักจะเพลินในความสุข เรามักจะลืมกายลืมใจ
งั้นพวกเทวดาเนี่ยะ เผลอๆเพลินๆ ไปเรื่อยๆส่วนใหญ่นะ
ยกเว้นว่าเคยศึกษาธรรมะมาก่อนนะ เป็นเทวดาแล้วก็ภาวนาได้อีก
ถ้าไม่เคยศึกษามาก่อนก็หลงๆไปวันหนึ่งๆไม่มีสาระอะไร

เวลาที่เราเป็นคนเนี่ยะ  ใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา
มีภพทีไร มีทุกข์ทุกที นี่พระพุทธเจ้าบอกอย่างนี้
มีภพทีไร ก็เป็นทุกข์ทุกที
เห็นไหมเราโลภขึ้นมาทีหนึ่ง จิตมีความโลภขึ้นมา
นี่เป็นจิตโลภ เป็นจิตของเปรต เราก็มีความทุกข์
บางทีเรามีความคิดความเห็นนะ เราว่าต้องอย่างนี้ๆนะ คนอื่นไม่เชื่อเราเราโมโหเลยนะ 
พยายามบังคับคนอื่นให้เชื่อตามเรา เรายึดในความคิดความเห็นของเรา
ก็เป็นภพชนิดหนึ่งชื่อว่าอสุรกาย พวกเจ้าทิฏฐิ เจ้ามานะ เจ้าความเห็น
งั้นอสุรกายเยอะนะ ลูกศิษย์หลวงพ่อเนี่ยะ
พวกเรียนหนังสือมากเนี่ยะ พวกอสุรกายนะ อสุรกายจำแลงมา
งั้นบางทีก็เป็นเปรต โลภโน่นโลภนี่อยากโน่นอยากนี่ เช่นอยากได้มือถือใหม่
นักเรียนคนไหนไม่มีมือถือมีไหม ยกมือให้หลวงพ่อดู หลวงพ่อจะได้ชื่นใจ
โอ้ ดีมากนะ นักเรียนคนไหนมีมือถือบ้างยกมือซิ (นักเรียนยกมือ) งั้นๆแหละ ไม่ชื่นใจ
ไม่มีสตางค์ซะหน่อยนะ หาเงินยังไม่ได้เลย บริโภคเยอะไป
ใช้อะไรบ้างนะ ส่งแม๊สเซจหรือส่งอะไร ถูกเค้าหลอกนะ
หลวงพ่อเคยมีมือถือนะเมื่อก่อนนี้
เดือนหนึ่งนะเสียแต่ค่าอะไรเค้าเรียก...ค่ารายเดือนนะ ไม่ค่อยมีค่าจ่ายค่าพูดไม่ค่อยมี
สังเกตเวลาเรามีมือถือหนึ่งอัน พอมีรุ่นใหม่นะ เพื่อนเอารุ่นใหม่มา เราอยากได้
มีใครเห็นของเพื่อนใหม่กว่าแล้วก็เฉยๆ อุเบกขา มีไหม
ไม่ค่อยมีหรอก มีแต่อยากได้นะ
บางทีเราไปซื้อมานะ รุ่นนี้เราว่าซื้อได้ถูกมากแล้วนะ
ซื้อมาได้ราคาหมื่นบาท เราว่าเราซื้อได้ถูกนะ
เพื่อนมันซื้อมารุ่นเดียวกัน เหมือนกันเปี๊ยบเลยราคาเก้าพัน
จากความสุขที่มีอยู่นะกลายเป็นความทุกข์อีกแล้ว
หรือเราไม่มีสักเครื่องนะ เห็นคนอื่นมีเราอยากจะได้
เห็นไหมใจที่มีความอยากขึ้นมาก็มีความทุกข์
ใจที่เห็นคนอื่นของเขาดีกว่านะ อิจฉาเค้า
นี่มีความทุกข์อีก เป็นโทสะ ตัวอิจฉา
งั้นใจเรานี่หมุนเวียนที่จะสร้างความทุกข์ขึ้นมาแผดเผาตัวเองอยู่ตลอดเวลา
ห้ามได้ไหม ห้ามไม่ได้นะ ใจจะโลภก็ห้ามไม่ได้ ใจจะโกรธก็ห้ามไม่ได้
ใจจะหลง ใจจะฟุ้งซ่าน ใจจะหดหู่ ใจจะลังเลสังสัย ห้ามไม่ได้ เราบังคับมันไม่ได้จริงหรอก

แล้วทำอย่างไรเราถึงจะสู้กับกิเลสไหว
พระพุทธเจ้าสอนให้เรารู้ทันนะ คอยรู้ทัน
ต่อไปนี้ง่ายๆเลยนักเรียนทั้งหลาย
ใจเราโลภขึ้นมา ใจเรามีความอยากขึ้นมา เราก็รู้ทันว่าตอนนี้อยากแล้ว
ใจเราโกรธขึ้นมา หรือใจเรากลัว หรือใจเราอิจฉา หรือใจเรากังวล นี่เป็นตระกูลโทสะนะ
หวงแหน นี่ตระกูลโทสะ โทสะเกิดขึ้นในใจเราก็คอยรู้ทัน
ใจลอยไป ใจฟุ้งซ่านไป ใจหดหู่ไป นี่พวกโมหะ เราก็รู้ทันนะ ใจมันซึมๆไป เราก็รู้ทัน
ต่อไปนี้ง่ายๆเลย การปฏิบัติธรรมต้องไปวาดภาพว่าต้องไปนั่งสมาธิมากๆ ไปเดินจงกรมมากๆ
หัดเจริญสติในชีวิตประจำวันให้มาก

การเจริญสติในชีวิตประจำวันนี้แหละ คือหัวใจของกรรมฐานเลย หัวใจของการปฏิบัติ
ไม่ใช่หลวงพ่อพูดเองนะ
ครูบาอาจารย์บอกมาอีกทีหนึ่งว่าหลวงปู่มั่นสอนท่านมากัน
หลวงปู่มั่นสอนบอกว่า ทำสมาธิมาก นั่งลูกเดียวเลย
ไม่ทำอย่างอื่นเลย นั่งเอาความสงบอย่างเดียวเลย
ท่านบอกว่าทำสมาธิมาก เนิ่นช้า
คิดพิจารณามาก พิจารณาธรรมะมากๆนะ ฟุ้งซ่าน
หัวใจสำคัญของการปฏิบัติธรรมนะคือการเจริญสติ
มีสติในชีวิตประจำวันนี้ เราจะยืน เราจะเดิน เราจะนั่ง เราจะนอนนะ
ใจเราเป็นยังไงเราคอยรู้ทันไปเรื่อย คอยรู้ทันใจของเรา
พอรู้บ่อยๆ เราจะเห็นเลย เดี๋ยวใจก็เสวยภพนี้ เดี๋ยวใจเราก็เสวยภพนี้
เดี๋ยวใจเราก็เป็นเปรต เดี๋ยวใจเราก็เป็นอสุรกาย เจ้าความคิดเจ้าความเห็น
เดี๋ยวใจเราก็เป็นสัตว์นรก มีความทุกข์ขึ้นมา เดี๋ยวใจเราก็แช่มชื่น เป็นบุญเป็นกุศลนะ ก็เป็นเทวดาขึ้นมา
มีศีลมีธรรมเป็นมนุษย์เป็นเทวดา ใจเราเข้าถึงความสงบ บางช่วงใจเราเข้าถึงความสงบ ใจเราก็เป็นพระพรหม
นี่ใจเราหมุนไปเรื่อยๆ ให้เราคอยรู้ทันใจนะ เราจะเห็นว่าใจเราเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ใจไม่ว่าจะเป็นยังไงนะ มันหาความสุขความสบายที่แท้จริงไม่ได้ แต่ตัวนี้ดูยากนิดนึง
โดยเฉพาะจิตที่ละเอียดที่ประณีต เป็นภพที่ละเอียดที่ประณีตนี่ดูยากว่าเป็นตัวทุกข์ เราจะเป็นหยาบๆก่อน

งั้นเบื้องต้นนะใจเราโกรธขึ้นมาเราดูเลย  เห็นไหมใจมันดิ้นเร่าๆ หาความสุขไม่ได้เลย
ใจมันโลภขึ้นมา รู้ทันเลย ใจมันดิ้นเร่าๆ หาความสุขไม่ได้
คอยรู้ทันใจตัวเองไป อย่าไปบังคับนะ อย่าไปห้ามมัน อย่าไปควบคุมมัน ให้รู้ลูกเดียวเลย

วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒
สวนสันติธรรม


Website นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ใหม่!
http://www.dharmamag.com
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:17:51 »

นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๐๘๑ พฤหัสบดีที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
ธรรมะจากพระผู้รู้

พระอาจารย์ปราโมทย์  ปาโมชฺโช

ถาม: ภาวนาอย่างไรถึงจะเรียกว่าเป็นการเจริญวิปัสสนาคะ

คำว่าวิปัสสนาเนี่ยะ มาจากคำสองคำนะ
คำว่า “วิ” ตัวนึง คำว่า “ปัสสนา” คำหนึ่ง
“ปัสสนา” แปลว่าการเห็น “วิ” ตรงกับคำว่า วิเศษ
เห็นอย่างยอดเยี่ยมเลย เห็นอะไร? เห็นกายเห็นใจเป็นไตรลักษณ์ ถึงจะเรียกว่าวิปัสสนา
งั้นเราคอยรู้สึกกายรู้สึกใจนะ เห็นกายมันทำงาน เห็นกายมันยืน มันเดิน มันนั่ง มันนอน ใจเราเป็นดูมัน
เราเห็นจิตใจเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย คอยดูเฉยๆ อย่าไปบังคับมันนะ

ก่อนจะรู้ก็อย่าไปจงใจจะรู้ พวกเราบางคนภาวนาแล้วเครียดเพราะว่าเราทำผิด
บางคนภาวนาเครียดเนี่ยะ เพราะว่าก่อนจะรู้เนี่ยะจงใจจะรู้
เวลาคิดถึงการปฏิบัติก็เริ่มต้นด้วยการส่งจิตไปดู
แกว่งใหญ่ เที่ยวหาใหญ่ ว่าจะดูอะไรดี ใครเคยเป็นไหม
เวลาจะดูจิตนะ เริ่มต้นด้วยการพยายามไปดู ว่าตอนนี้มีอะไรให้ดู อย่างนี้ผิดนะ
ต้องให้ความรู้สึกเกิดก่อนแล้วก็ค่อยรู้เอา
โลภขึ้นมาแล้วรู้ โกรธขึ้นมาแล้วรู้ หลงขึ้นมาแล้วรู้
ให้ความรู้สึกเกิดก่อน แล้วค่อยรู้ อย่าไปจงใจดักรอดู
ถ้ารอดูเมื่อไหร่นะ จะเพ่ง ใจจะนิ่งๆ ทื่อๆ ใช้ไม่ได้
งั้นเราอย่าไปดักดู ให้ความรู้สึกเกิดก่อนแล้วค่อยรู้
โกรธขึ้นมาแล้วรู้ว่าโกรธ โลภขึ้นมาแล้วรู้ว่าโลภ หลงขึ้นมาแล้วรู้ว่าหลง
เห็นไหม ให้มันเกิดขึ้นก่อน งั้นเราไม่ได้ห้ามโกรธนะ
โกรธก็ได้ โลภก็ได้ หลงก็ได้ เราไม่ได้ห้ามหรอก
มันเกิดขึ้นมาแล้วเราคอยรู้ แต่รู้ไวๆ ไม่ใช่เมื่อวานโกรธวันนี้ถึงจะรู้ อันนี้ช้าไปใช้ไม่ได้
โกรธมาแล้วสามนาทียังไม่ทันจะหายโกรธระลึกขึ้นได้ละ โอ้...โกรธนี่ อย่างนี้ใช้ได้

แล้วเวลาเราเห็นสภาวะอันใดขึ้นมา เช่นเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น  อย่าไปจ้องใส่มัน
ดูห่างๆ ดูเหมือนดูคนเดินผ่านหน้าบ้านเรา
อย่าไปวิ่งตามไปดูเค้า ดูสบายๆ อย่าถลำลงไปดู

พอดูเห็นสภาวะใดๆ แล้วนะ ขั้นสุดท้าย อย่าไปแทรกแซงมัน
รู้แล้วจบลงที่รู้เลย เช่นความโกรธเกิดขึ้นก็ไม่ต้องหาทางทำให้หาย
ความโลภเกิดขึ้นก็ไม่ต้องหาทางทำให้หาย
ความสุขเกิดขึ้นก็ไม่ต้องหาทางรักษา นี่เป็นการดูที่ถูกต้อง
ก่อนจะดูอย่าเที่ยวแสวงหา มีอะไรเกิดขึ้นแล้วก็ค่อยดูเอา
ระหว่างดูอย่าถลำลงไปจ้องจะกลายเป็นการเพ่ง
เมื่อดูแล้วเห็นแล้วนะอย่าเข้าไปแทรกแซง
ดูทุกอย่างที่เกิดขึ้นมา มันจะผ่านมาแล้วผ่านไปให้เราเห็นเอง อย่าเข้าไปแทรกแซง

เราไม่ได้ฝึกเอาดีนะ เราไม่ได้ฝึกเอาความสุข ไม่ได้ฝึกเอาความสงบ
ความดี ความสุข ความสงบ ก็ดีเหมือนกันแหละ แต่ดีนิดหน่อย
สิ่งที่เราต้องการฝึกให้ได้มาคือความฉลาด ความรู้ ความเข้าใจ
เราจะฝึกให้เกิดความฉลาด ให้เห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมานี้เป็นของชั่วคราวทั้งสิ้นเลย
เกิดขึ้นมาแล้วอยู่ได้ไม่นานก็ต้องหายไป
เราต้องการเห็นตรงนี้นะ ไม่ได้ต้องการเห็นอย่างอื่น
ถ้าพูดแบบภาษาพระนะบอก “ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ”
เราฝึกเพื่อให้เห็นว่าสิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา

เพราะงั้นความโลภเกิดขึ้นได้ไหม  เกิดได้
เรารู้ไป ความโลภเกิดเราก็รู้ เราก็จะเห็นเลยมันอยู่ชั่วคราวแล้วมันก็ดับไป
ความโกรธเกิดได้ไหม ก็เกิดได้นะ มันอยู่ชั่วคราวแล้วมันก็ดับ
ความหลงเกิดได้ไหม เกิดได้ อยู่ชั่วคราวแล้วมันก็ดับ

การที่เราเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในใจเรานี้เป็นของชั่วคราวเนี่ยะ
เราเห็นซ้ำแล้วซ้ำอีก ถึงวันหนึ่งจิตมันจะเกิดปัญญาขึ้นมา
มันจะรู้เลยว่า ความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราว อกุศลก็ชั่วคราว
ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตเราชั่วคราว นี่เราฝึกมาจนมาเห็นตรงนี้นะ

ถ้าเราเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตเราเป็นของชั่วคราวเนี่ยะ ความทุกข์จะหายไปเยอะเลย
ต่อไปนี้เราจะไม่ต้องดิ้นรนหาความสุขมากมายแล้ว
ทุกคนในโลกนะดิ้นตะเกียกตะกายอยากได้ความสุขมา
อยากได้ความสุขนะ สมมุติว่าอยากมีเมียสวยๆ สักคนนะดิ้นรน
ได้มานะความสุขมันชั่วคราวนะ เดี๋ยววันหนึ่งก็บ่นละ
โอ้...แก่ง่าย ตายยาก พูดมาก กินจุ ดุอย่างกับหมา
อะไรอย่างนี้นี่ผู้ชายมันจะนินทาเมีย แต่ความจริงกลัวเมียนะ เทิดทูนขึ้นหิ้ง แต่เวลาเจอเพื่อนนะทำเก่งไว้ก่อน
ผู้หญิงก็ชอบนินทาสามี ขี้เกียจ สกปรก อะไรก็ว่าไป กินแต่เหล้าอะไรอย่างนี้ว่าไป

ความสุขเนี่ยะมันชั่วคราว  ไม่มีหรอกความสุขนานๆ
อย่างเวลาเราได้มือถืออันใหม่ รู้สึกไหมมีความสุขใช่ไหม อยู่ไม่นานก็ความสุขก็หายไป
ความทุกข์ก็ชั่วคราวนะ ความทุกข์ก็ไม่นานหรอก
กลุ้มใจอะไรนะ รู้ไปเฉยๆเดี๋ยวก็หายไป
ไม่มีหรอกความทุกข์ถาวรไม่มี ความสุขถาวรก็ไม่มี
กุศล อกุศล ก็ไม่มีนะที่ถาวร เราเห็นแล้วทุกอย่างเกิดชั่วคราว
ต่อไปพอความสุขเกิดขึ้นนะเราจะไม่หลงระเริงแล้ว เรารู้ว่าชั่วคราว
แล้วก็ไม่ต้องดิ้นรนเพื่อแสวงหามันด้วย หามาทำไมของชั่วคราว
ความทุกข์เกิดขึ้นนะเราก็ไม่ทุรนทุราย เรารู้แล้วว่าความทุกข์ก็เป็นของชั่วคราว
แล้วความทุกข์เกิดขึ้นเราก็ไม่เกลียดมันนะ แล้วก็ไม่พยายามต่อต้านมันด้วย
รู้มันเฉยๆ พอใจของเราหมดความดิ้นรนเรียกว่ามันไม่สร้างภพ
ใจที่สร้างภพคือใจที่มันดิ้นรน ใจที่ไม่สร้างภพนะใจจะมีความสุขขึ้นมา
หมดความดิ้นรนหมดความปรุงแต่ง

หลวงพ่อต้องเทศน์เร็วนิดหนึ่ง  เพราะว่าพลังงานของเด็กเนี่ยะมีจำกัดมากเลย
เด็กส่วนใหญ่เริ่มหิวแล้ว และเด็กอีกส่วนใหญ่เริ่มง่วงแล้ว
รวมความแล้วเนี่ยะส่วนใหญ่เลย หิวและง่วง เลยต้องเทศน์แบบลุยๆนิดนึง

สรุปง่ายๆนะเด็กๆทั้งหลาย  การภาวนาเนี่ยะไม่ยากอะไร
อย่าไปคิดว่าต้องเดินจงกรม นั่งสมาธิทั้งวันทั้งคืนไม่ใช่
เมื่อไหร่เดินอย่างมีสตินะเรียกว่าเดินจงกรม
อย่างเราเดินไปโรงอาหารนี่นะ เดินอย่างรู้เนื้อรู้ตัวไปนี่เราปฏิบัติธรรมอยู่แล้ว
เรานั่งอยู่ตอนนี้เราก็นั่งอยู่ใช่ไหม ถ้าเรานั่งใจลอยก็ใช้ไม่ได้
ถ้าเรานั่งแล้วก็คอยรู้ทัน จิตใจเคลื่อนไหวคอยรู้ทัน ร่างกายเคลื่อนไหวคอยรู้สึก
คอยรู้ไปเรื่อย นี่ก็เรียกว่าเราปฏิบัติอยู่แล้วเรานั่งสมาธิอยู่แล้ว
ส่วนนั่งท่านี้แล้วก็เคลิ้มๆไป หรือไปนั่งเครียดๆอยู่ไม่เรียกว่าปฏิบัติหรือนั่งสมาธิหรอก
เดินจงกรมแล้วก็ใจลอยไปหรือใจเครียดๆ ขึ้นมาก็ไม่เรียกว่าเดินจงกรม

การปฏิบัติธรรมให้มีสติ  มีสติคอยรู้ความเปลี่ยนแปลงของใจตัวเองไป
ฝึกนะหลวงพ่อฝึก ใช้เวลาไม่นานหรอก
หลวงพ่อเรียนจากหลวงปู่ดูลย์ ๗ เดือนเอง มาดูใจตัวเอง
ดูผิดอยู่ ๓ เดือน ดูผิดตรงพยายามบังคับจิต
ไปเรียนจากหลวงปู่ดูลย์ปี ๒๕๒๕
เด็กๆยังไม่เกิดมั้ง ๒๕๒๕ เกิดหรือยัง ยังไม่เกิดหรอกนักเรียนอายุยังไม่ยี่สิบเลย
หลวงพ่อไปเรียนจากหลวงปู่ดูลย์นะ ท่านสอนให้ดูจิตตัวเอง
ไปเรียนวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕ ไปหาท่าน กลับมานะมาดูอยู่ ๓ เดือน
ดูนะจิตหนักๆก็แก้มันให้เบาๆ จิตไม่สบายนะทำให้มันสบาย
จิตเป็นอย่างนี้แก้อย่างนี้ๆ แก้ไปเรื่อย
จัดการจนกระทั่งแหม ใจเราสบายเก่งเรารู้สึกเก่งแล้วนะ
ไปหาหลวงปู่ดูลย์ครั้งที่สอง ใช้เวลา ๓ เดือนแล้ว
ไปถึงไปส่งการบ้านท่านนะท่านบอกว่า ดูผิดแล้ว
ไปยุ่งกับอารมณ์ ไปแทรกแซงมัน ไปดัดแปลงสภาวะดัดแปลงอารมณ์
เช่นมันโลภขึ้นมาทำอย่างไรจะหายโลภ มันโกรธทำอย่างไรจะหายโกรธนะ
มันใจลอย ทำอย่างไรจะไม่หลงเลย นี่พุทโธๆถี่ๆจะไม่ให้หลงเลย
พยายามแทรกแซง มันหนักๆ ก็หาทางทำให้เบา
พยายามจะเอาดี ท่านบอกว่านี่ไม่ได้ปฏิบัติหรอก
ไม่ได้ดูจิตหรอก แต่ไปแทรกแซงมันไปบังคับจิต ให้ไปดูใหม่
หลวงพ่อมาดูใหม่ ๔ เดือน รู้แล้วว่าเราต้องไม่แทรกแซง
มันโลภก็รู้ มันโกรธก็รู้ มันหลงก็รู้ มันฟุ้งซ่าน มันหดหู่ มันดีใจ มันเสียใจ
มันกลัว มันอิจฉา มันกังวล มันมีความสุข มันมีความทุกข์ มันมีอะไรรู้ลูกเดียวเลย
หลวงพ่อรู้อย่างนี้ ๔ เดือน ใช้เวลา ๔ เดือนเอง ไม่มากอะไร
พวกเราไปฝึกเอานะ บางคนอาจจะเดือนนึงเข้าใจแล้ว
ดูไปเรื่อยเราจะเห็นเลยทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกอย่างเกิดแล้วดับ

ใหม่ๆเรายอมรับไม่ได้นะ  ความทุกข์เกิดเนี่ยะ เรายอมรับไม่ได้เราอยากให้ดับเร็วๆ
ความสุขเกิดแล้วก็ยอมรับความจริงไม่ได้ เราอยากให้ความสุขอยู่นานๆ
ทั้งๆที่ทุกอย่างมันดับไปตามเหตุตามผลตามเวลาของมัน
งั้นเราดูของจริงในใจเราเรื่อยๆนะ วันหนึ่งปัญญามันเกิด
มันเห็นเลยทุกอย่างเกิดแล้วดับหมดเลย
ถ้าทุกอย่างเกิดแล้วดับ ใจยอมรับความจริงตรงนี้ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นในชีวิตเราเราจะไม่กลุ้มใจแล้ว
แฟนเราทิ้งต้องกลุ้มใจไหม มีแฟนมันก็ของชั่วคราวนะ
มันไม่ทิ้งเราวันนี้ไปแต่งงานกับมันนะ วันหนึ่งมันก็ตายไป หรือไม่เราก็ตายจากมันก็ต้องทิ้งกันอยู่ดีแหละ
ทุกอย่างมันชั่วคราวนะ เพียงแต่ชั่วคราวบางอันมันหลายสิบปีหน่อย หลายสิบปีแห่งความทุกข์ทรมาน
งั้นไม่มีหรอกของถาวร ถ้าเมื่อไหร่ใจเรายอมรับความจริงตรงนี้ได้ใจเราจะทุกข์น้อยมากเลย

พวกเด็กๆหลวงพ่อให้การบ้านแล้วนะ ไปดูใจของเราบ่อยๆ
ให้เห็นเลยทุกอย่างในใจเรานี้ชั่วคราว อย่าคิดเอานะ ดูของจริง
ดูความโลภเกิดขึ้น ดูซิเธอจะอยู่ได้นานไหม ดูเรื่อยๆ
แต่อย่าจ้องใส่นะ ถ้าจ้องมันจะนิ่งไปหมดเลย ไม่ดี
แค่รู้สึก แค่รู้สึกเอาเท่านั้น
ความโกรธเกิดขึ้นมาก็รู้ อ้อ มันโกรธแล้วนะ
อย่าไปจ้องใส่ตัวความโกรธนะ แค่รู้ อย่าไปเพ่งใส่
เวลาเพ่งใส่เนี่ยะ จิตเราจะเคลื่อนเข้าไปเกาะนิ่งๆ อันนี้ใช้ไม่ได้
เราแค่รู้ ใจเราอยู่ต่างหากนะ เราเห็นความโกรธเหมือนคนเดินผ่านหน้าบ้าน
เห็นความโลภ ความหลง ความสุข ความทุกข์ เหมือนคนเดินผ่านอยู่ห่างๆ
เราเดินอยู่สบายๆ อย่าเข้าไปคลุกวงใน ดูแบบวงนอกไว้
ดูอย่างนี้เรื่อยๆ วันหนึ่งปัญญามันเกิด
ปัญญามันสรุปได้เลย จิตจะเข้าใจความจริงเนี่ยะ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของชั่วคราว
ถ้าวันใดที่เราเห็นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา
ใจยอมรับความจริงตรงนี้ได้เมื่อไหร่เรียกว่าพระโสดาบัน
เราอย่าไปวาดภาพพระโสดาบันเอาไว้ลึกลับนะ
คือต้องนั่งสมาธิเก่ง เดินจงกรมโต้รุ่งได้ ไม่จำเป็นหรอก
พระโสดาบันบางองค์พิการเดินไม่ได้ก็มี ไม่ใช่ต้องเดินได้ตลอด
บางองค์ก็นอน เป็นอัมพาตนอนป่วยอยู่ เค้าก็ภาวนาของเค้าได้เห็นไหม
ไม่จำเป็น มันอยู่ที่ว่าเค้ามีสติรู้ทันทุกอย่างที่เกิดขึ้นในใจเค้าไหม
ถ้าเค้ามีสติรู้ทันทุกอย่างที่เกิดขึ้นในใจของเค้า โดยที่เค้าไม่เข้าไปแทรกแซงไม่ไปเพ่งจ้องนะ
ไม่แทรกแซง ไม่เพ่งจ้องนะ แล้วก็ไม่แทรกแซง
ไม่นานเค้าก็จะเห็นความจริงว่าทุกอย่างชั่วคราว ทุกอย่างเกิดแล้วดับ

ต่อไปนี้อะไรเกิดขึ้นในชีวิต จะไม่กังวลมากแล้ว
ร่างกายเราจะแก่ ร่างกายเราจะเจ็บ ร่างกายเราจะตาย
เพื่อนรักของเราจะตาย เพื่อนรักของเราจะย้ายโรงเรียนอะไรอย่างนี้
ครูที่เราชอบคนนี้จะไม่อยู่แล้วจะเกษียณIแล้ว ครูที่เราเกลียดนี่ยังหนุ่มอยู่ต้องอยู่อีกนานอะไรอย่างนี้
ใจเราก็จะไม่กังวลนะ ถ้าครูคนไหนเราเกลียดนะ วันหนึ่งก็ต้องจากกันใช่ไหม
เราไม่จากครู ครูก็จากเรา ทุกอย่างในชีวิตนี้ชั่วคราวหมดเลย
ถ้าเห็นได้อย่างนี้นะความทุกข์จะหายไปเยอะเลย

ทุกวันนี้คนเราดิ้นรนมีความทุกข์ขึ้นมามากมาย
ดิ้นรนขึ้นมามากมายนะ เพราะอยากได้ของไม่จริง
อยากได้ของที่เที่ยง อยากได้ของที่มีแต่ความสุข
อยากจะบังคับกาย บังคับใจ บังคับโลกนี้ให้อยู่ในอำนาจให้ได้ มันเป็นของที่มันไม่มีจริง
ของจริงคือมันไม่เที่ยงนะ ของจริงคือมันมีแต่ทุกข์
ของมันจริงๆคือมันบังคับไม่ได้ คอยรู้อย่างนี้เรื่อยๆนะพวกเด็ก
สอนเด็กสอนแค่นี้พอแล้ว

พวกเด็กๆ ที่ภาวนา รู้สึกไหมใจเราเปลี่ยนแปลง
รู้สึกไหม มีความสุข รู้สึกไหม
แล้วรู้สึกไหมมันเหมือนเราตื่นขึ้นมาจริงๆ
นึกออกหรือยัง แต่เดิมนะเรานึกว่าเราตื่นนะ แต่จริงๆไม่ตื่นหรอก
เราฝันอยู่ทั้งๆที่ร่างกายนี้ลืมตาอยู่
แต่ตอนนี้เราภาวนา เริ่มภาวนาเป็นนะ มันเหมือนกับใจเราตื่นขึ้นมาจริงๆ
ภาวนาได้ดีเยอะเลยนะเด็กๆหลายคนเลย ดีๆเยอะเลยเด็กๆ ใครสอนมาเนี่ยะ
เขาเรียกว่าครูดีนะ ดีหลายคนเลย

วันที่  ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒ (ส่วนที่สอง)
สวนสันติธรรม


Website นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ใหม่!
http://www.dharmamag.com
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:18:23 »

นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๐๘๒ พฤหัสบดีที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
ธรรมะจากพระผู้รู้

พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช

ถาม: ผมอาศัยอยู่ที่ต่างจังหวัด ไม่สะดวกมาหาหลวงพ่อบ่อยๆ
จะทำให้เรียนธรรมะได้ช้ากว่าคนอื่นๆ ไหมครับ

ธรรมะไม่ได้อยู่ที่นี่นะ ธรรมะไม่ได้อยู่กับหลวงพ่อ
จริงๆธรรมะอยู่ในที่ทุกที่แหละ ที่ไหนมีกายมีใจอยู่ก็มีธรรมะอยู่
เพราะธรรมะก็คือกายกับใจเรานี่เอง
กายก็เรียกว่ารูปธรรม ใจก็เรียกว่านามธรรม เป็นธรรมะ
เพราะฉะนั้น เรียนธรรมะ ไม่ต้องเรียนที่อื่นหรอก ให้เรียนที่กายที่ใจของตัวเอง
มีสติรู้กายรู้ใจไปเรื่อยๆ  อย่าลืมมัน ไม่มีอะไรมาก ง่าย
เรียนจากครูบาอาจารย์มากี่องค์กี่องค์ก็สอนเหมือนกันแหละ
ต้องมีสติรู้กายรู้ใจลงปัจจุบัน
แต่ละองค์อาจจะสำนวนโวหารแตกต่างกัน แต่เนื้อหาอันเดียวกันหมด

เราคอยรู้สึกนะ รู้สึกตัวไว้เรื่อยๆ แล้วขยันดู
ไม่ใช่นานๆรู้สึกทีนึง อะไรอย่างนี้
นานๆรู้สึกทีนึง เวลาส่วนใหญ่ก็หลงผิดไป
บางคนสงสัยว่า เอ๊ะ ภาวนานานแล้วไม่ได้ผลซักที
คือเราสะสมทั้งความรู้ถูก ความเข้าใจถูก
และก็สะสมความเข้าใจผิดไปด้วยพร้อมๆกัน สลับกันไป
แต่ถามตรงๆ ที่คนไหนอยากบรรลุเร็วๆ หลวงพ่อถามตรงๆ

วันหนึ่งๆ จิตเป็นอกุศล หรือจิตเป็นกุศลมากกว่ากัน?
จิตรู้สึกตัวหรือจิตหลงมากกว่ากัน?

หลงใช่ไหม? หลงไปห้านาทีแล้วรู้สึกแวบนึง นึกออกไหม
หลงไปหนึ่งนาทีรู้สึกแวบนึง นี่เก่งมากแล้วนะ
หลงไปสิบวินาทีรู้สึกแวบนึง นี่ เทียบสัดส่วนกันสิ เทียบกันไม่ติดหรอก
ยังดีว่าธรรมะ มันไม่ใช่ต้องรู้ตัวหนึ่งนาทีแล้วไปล้างความไม่รู้ตัวหนึ่งนาที
มันไม่ใช่ขนาดนั้น

ตลอดเวลาที่ผ่านมานะ เราสะสมแต่ความรู้ผิด ความเข้าใจผิด
ตั้งแต่เกิดมาเราก็รู้สึกตลอดใช่ไหม มีตัวเรา ในนี้มีเราอยู่คนหนึ่ง
ร่างกายนี้ยังหน้าตาเปลี่ยนไปเรื่อยๆนะ
ตอนเด็กๆก็หน้าตาอย่างหนึ่ง โตขึ้นมาก็หน้าตาอย่างหนึ่ง
แต่ในนี้มีเราอยู่คนหนึ่งซึ่งไม่เคยเปลี่ยนเลย
รู้สึกในนี้ ในใจเรานี่เอง เป็นตัวเรา
ไม่ว่าทำอะไรตลอดมาก็ทำเพื่อสนองความมีตัวเราตลอด
เพื่อย้ำกับตัวเองว่า ฉันยังอยู่ ฉันยังอยู่
ไม่ว่าทำอะไรนะ ลองไปสังเกตดู
มันเพื่อย้ำตัวเองทั้งนั้นว่าฉันยังอยู่นะ ฉันยังอยู่ในโลก
อย่างบางคนนะ ต้องการให้มีเพื่อนฝูงยอมรับ
ทำไมต้องการมีเพื่อนฝูงยอมรับ เพื่อจะได้ประกาศยืนยันว่าฉันยังอยู่นะ
ฉันยังมีตัวมีตนอยู่ในโลกจริงๆ
ทำไมฉันต้องใช้กระเป๋าหลุยส์วิตตอง
เพื่อฉันยังอยู่ ฉันยังมีอยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าทำอะไรนะ
เบื้องหลัง เพื่อจะประกาศ เพื่อจะยืนยัน เพื่อจะย้ำกับตัวเองว่าฉันยังอยู่

เพราะฉะนั้น ไม่มีอะไรเลยรักมากกว่าตัวเอง
รักตัวเองที่สุดเลย หวงแหนตัวเองที่สุดเลย
ตลอดเวลาก็สะสมมาแต่สิ่งเหล่านี้

ต่อเมื่อมาหัดเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
มามีสติ รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง
เพิ่งจะเห็นบ้างว่ากายไม่ใช่ตัวเรา
เวทนาคือความรู้สึกสุขรู้สึกทุกข์ ไม่ใช่เรา
สัญญาคือความจำได้ ความหมายรู้ ไม่ใช่ตัวเรา
สังขารคือความปรุงดีปรุงชั่วทั้งหลาย ไม่ใช่ตัวเรา
นี่ต้องมีสตินะ มีใจตั้งมั่นขึ้นมา แล้วก็เห็น
แต่ยังไม่เห็นว่าจิตไม่ใช่ตัวเรา
รู้สึกไหม เห็นสิ่งโน้นสิ่งนี้ไม่ใช่ตัวเรา เหลืออันหนึ่ง เหลือจิตเป็นตัวเราอยู่
กระทั่งการภาวนา บางคนทุ่มเทการภาวนาแทบเป็นแทบตายนะ
เบื้องลึกลงไป ก็คือเพื่อรักษาความเป็นตัวเราไว้อีก
ภาวนาเราต้องทุ่มเท สู้ตายนะ เพื่อวันหนึ่ง "เรา" จะได้ดี นี่ภาวนาเอาดีนะ
ภาวนาถ้าชุ่ยกว่านั้น ภาวนาเอาชื่อเสียง
ภาวนาให้คนเขายอมรับว่าเราเป็นนักภาวนา
ให้สังคมยอมรับเพื่อประกาศอัตตาให้เราเป็นนักภาวนา
บางคนก็ภาวนาหาลาภสักการะ มีทรัพย์สมบัติมาก
มีเยอะนะภาวนา มีทรัพย์สมบัติมาก มีของมากก็เพื่อประกาศอัตตา
เป็นพระนี่ต้องขี่เบนซ์นะถึงจะดัง ถ้าไม่เบนซ์นะ ไม่ดังพอ
สู้หลวงพ่อไม่ได้ ไปรถตู้ ไม่ต้อง เฝ้ารถ ไม่ต้องล้างรถเอง จ้างเขาไป
นี่ ไม่ว่าเราทำอะไรนะ เราถือศีล ถือศีลก็ภูมิใจว่าฉันเป็นคนมีศีลนะ แกไม่มีศีล
มีฉันมีแกขึ้นมาอีกแล้ว มันประกาศอัตตา
ไม่ว่าทำอะไร กระทั่งทำความดี ภาวนานี่ ฉันนั่งโต้รุ่ง คนโน้นนั่งไม่ได้ สู้ฉันไม่ได้
ฉันอดข้าวได้ทีหนึ่งตั้งเจ็ดวัน ฉันเก่งกว่า
หรือฉันเดินจงกรมได้ทน เดินได้จนเท้าแตก ภูมิใจ
ถ้าทำความเพียรจนเท้าแตกอันนั้นดีนะ
แต่ถ้าทำสนองอัตตาจนเท้าแตก อันนั้นน่ะ กิเลสยิ่งหนา
เพราะฉะนั้น กระทั่งภาวนาก็อดจะเพื่อ serve (สนอง) อัตตาไม่ได้

ยากมากนะที่เราจะภาวนาจนทะลุลงมาแล้วยอมรับความจริงได้
ว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราไม่มี
พวกเราบางคนมาหัดภาวนาเริ่มเห็นความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี
คนที่มาเรียนกับหลวงพ่อตอนนี้เห็นว่าตัวเราไม่มีนี่ เยอะแล้ว แต่ยังยอมรับไม่ได้
พอรู้สึกว่าตัวเราหายไปนะ บางคนกลัวเลย
บางคนรู้สึกเวิ้งว้าง รู้สึกโหวงๆ ตายแล้ว
ชีวิตนี้ไม่มีที่พึ่งที่อาศัยแล้ว ตัวเราหายไปแล้ว
บางคนเบื่อ เบื่อทุกสิ่งทุกอย่างในโลก น่าเบื่อ
ตัวเราหายไปแล้ว ไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร
แต่พอตัวตนเกิดขึ้นแล้วภูมิใจ ดีใจ ตัวตนมาแล้ว
เพราะฉะนั้น ภาวนานะบางคนจะเห็นเลย
ในความเป็นจริงแล้วขันธ์ ๕ คือกายนี้ใจนี้ ไม่ใช่ตัวตนหรอก
ความเป็นตัวเป็นตนมันผุดขึ้นมาเป็นคราวๆ มันปรุงขึ้นมาเป็นคราวๆ
มันคิดขึ้นมาเป็นคราวๆ
พอเห็นมันถ้ามีสติรู้ทันมันก็จะสลายตัวไป ว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน

นี่ ภาวนาไปจนวันหนึ่ง ใจยอมรับนะ
ไม่มีตัวตน ก็ไม่กลุ้มใจ ไม่เบื่อหน่าย ไม่ทุกข์ร้อน
เห็นจริงๆ เออจริงๆกายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเราหรอก
ถ้าเห็นอย่างนี้มากเข้าๆนะ วันหนึ่งปัญญามันแจ้ง ยอมรับความจริง
ไม่ใช่ยอมรับด้วยเหตุด้วยผลนะ แต่ยอมรับด้วยใจ
ตรงที่ยอมรับความจริงด้วยใจเรียกว่ามีดวงตาเห็นธรรม
ยอมรับธรรมะแล้ว ตัวเราจริงๆไม่มีหรอก
พอตัวเราไม่มีแล้วใครมันทุกข์ มีความทุกข์ไหม มี
ใครมันทุกข์? กายมันทุกข์ ใจมันทุกข์ ไม่ใช่เราทุกข์นะ
กายมันทุกข์ ใจมันทุกข์ แต่ไม่ใช่เราทุกข์
หรือขันธ์มันทุกข์ ไม่ใช่เราทุกข์ มีความทุกข์แต่ไม่มีผู้ทุกข์นะ
นี่พวกเป็นพระโสดาบันจะรู้สึก มีความทุกข์แต่ไม่มีผู้ทุกข์
ส่วนพวกที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ มีความทุกข์แล้วก็มีเราผู้เป็นทุกข์ด้วย
ความทุกข์อยู่ที่กาย ก็ร่างกายของเราเป็นทุกข์
ใจเราเป็นทุกข์ ตัวเราเป็นทุกข์ รู้สึกอย่างนั้น

เพราะฉะนั้น ภาวนาต้องใจเย็นๆนะ
กว่าใจจะยอมรับความจริง มันยอมรับได้ยาก
ที่ยอมรับยากเพราะเห็นน้อยไป เห็นความจริงน้อยไป
ต้องเห็นนานๆ เห็นบ่อยๆ เห็นซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าตัวเราไม่มี ตัวเราไม่มี
ความเป็นตัวตนเกิดจากความคิดปรุงแต่งขึ้นมาเป็นคราวๆ
เมื่อไรขาดสติก็หลงว่ามีตัวเรา มีตัวเรา
นี่วันๆนึงขาดสติเยอะ ขาดสติเยอะ รู้สึกตัวน้อย
เพราะฉะนั้น ทั้งวันนะ ส่วนใหญ่ก็คือมีแต่ตัวตนทั้งนั้นเลย
เพราะฉะนั้น ต้องอดทน อย่าใจร้อน
ไม่ใช่ภาวนา ดูปุ๊บๆปั๊บๆแล้วก็ยอมรับความจริง
จิตยอมรับแล้วว่าตัวเราไม่มี มันไม่ง่ายขนาดนั้นหรอก

มีเหมือนกันบางคนภาวนาเร็ว ใช้เวลาไม่กี่เดือน ภาวนาเร็ว
อันนั้นเขาเคยลำบากมามากแล้ว เขาเคยภาวนามามากแล้ว
ชีวิตนี้เกิดมาเลยภาวนาได้เร็ว ภาวนาได้ง่าย
พวกเราอยากรู้ไหม เราเคยภาวนามาก่อนไหม ชาตินี้จะง่ายหรือจะยาก
สังเกตดูนึกถึงตอนเด็กๆ คนไหนที่รู้สึกตัวเป็นแล้วนี่
เคยรู้สึกไหมว่า ความรู้สึกแบบนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
ถ้าเรารู้สึกตัวตื่น ใจเราตื่นขึ้นมาปิ๊ง อันนี้เคยเป็นมาแล้วแต่ลืมไปนานนักหนา
นี่พวกนี้ต่อง่ายเลย คนไหนไม่เป็นอย่าท้อใจนะ
บางคนยังรู้ตัวไม่เป็นนะ บางทีตอนเด็กๆมีอะไรให้ตกใจ
หรือมีอะไรให้กลัวอย่างแรงๆ
สติมันไประลึกเห็นความกลัวเข้า เห็นความตกใจเข้า
ความกลัวความตกใจมันขาดสะบั้นลงไป
ใจรู้ตื่นเบิกบานขึ้นแวบหนึ่ง
พวกที่เป็นอย่างนี้คือพวกที่เคยทำมาโชกโชนแล้ว ชีวิตนี้ง่าย
ถ้ายังไม่เป็นต้องทนนะ ชาตินี้ยาก ชาติหน้าก็ง่าย
ถ้าชาตินี้ไม่ทำ ชาติหน้าก็ทำไม่เป็นอีกนั่นแหละ
บางคนนะชุ่ยมากเลย หลวงปู่ดูลย์ท่านเคย...
จะใช้คำว่าด่าก็ไม่เชิงนะเพราะท่านไม่ด่าใครหรอก
ท่านพูดความจริง ความจริงมันกระเทือนใจ
ท่านบอกไอ้คนซึ่งมันไม่ยอมภาวนานะ พวกไม่เอาไหน
ยังหวังนะว่าจะทำบุญทำทานแล้วก็ต่อไปได้
ไปเจอพระศรีอาริย์แล้วก็ปิ๊งง่ายๆ บรรลุง่ายๆไปเจอพระศรีอาริย์
ท่านบอกว่านิสัยชาตินี้ก็เหลวไหลไร้สาระ
กว่าจะเจอพระศรีอาริย์นะ สะสมความเหลวไหลไร้สาระมากกว่านี้อีก
ไม่มีวันปิ๊งหรอก มีแต่ถูกเขาปิ้งไปเรื่อยๆนะ ชาติแล้วชาติเล่า
เพราะฉะนั้น ต้องยอมนะ ต้องใจกล้าหาญ อดทน ดูกายดูใจของเราเรื่อยๆไป
จะบรรลุมันก็บรรลุแหละ ถ้าไม่บรรลุก็สะสมแต้มไป

มีครูบาอาจารย์องค์หนึ่งเคยเจอท่าน
ท่านไม่สบายไปอยู่โรงพยาบาลก็ไปเยี่ยมท่าน
องค์นี้ไปเจอท่านทีแรกนะ ท่านไปอยู่กับหลวงพ่อพุธ ไปเยี่ยมหลวงพ่อพุธ
หลวงพ่อพุธก็แนะนำ เออ โยมนี้ลูกศิษย์หลวงปู่ดูลย์
บอกท่านว่าหลวงพ่อเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ดูลย์
แล้วก็บอกครูบาอาจารย์องค์นั้นบอกหลวงพ่อว่า
องค์ท่านก็ลูกศิษย์หลวงปู่ดูลย์เหมือนกัน
เราก็จำไว้ว่า โอ้ องค์นี้เป็นครูบาอาจารย์รุ่นผู้ใหญ่
ตอนท่านไม่สบายอยู่โรงพยาบาล ไปเยี่ยมท่านก็สนทนาธรรมกับท่านนะ
ก็เล่าเรื่องการปฏิบัติ ท่านน้ำตาคลอเลย
ท่านบอกท่านอยู่กับหลวงปู่มั่นด้วยซ้ำไป แต่เป็นลูกศิษย์รุ่นเล็กของหลวงปู่มั่น
ท่านบอกท่านกลัวหลวงปู่มั่นมากเลยตอนที่อยู่ด้วย
ตอนถึงเวลากวาดวัดนี่ แต่ละวันท่านจะคอยดูว่าหลวงปู่มั่นจะกวาดไปทางไหน
ท่านจะกวาดไปทางอื่น อยู่กับครูบาอาจารย์นะ
แต่กลัวไม่กล้าเข้าใกล้ ไม่กล้าไปเรียนด้วยหรอก

ทีนี้วันหนึ่ง ท่านเห็นหลวงปู่มั่นกวาดไปทางโน้น
ท่านก็สบายใจกวาดมาทางนี้ ซักพักนะ ได้ยินเสียงไม้กวาดตามหลังมา
หันไปดู โอ๊ย หลวงปู่มั่นมา ท่านรีบกวาดใหญ่ หลวงปู่มั่นก็รีบกวาดตามมา
สุดท้ายนะ ท่านแบบสุดขีดเลยนะ ปั๊บๆๆๆ หนีใหญ่
หลวงปู่มั่นนะ เดินสามก้าวกวาดทีนึง
คราวนี้ ในที่สุดก็มาทัน หลวงปู่มั่นท่านก็สอน "พระน้อย"
ท่านไม่ได้ชื่อน้อยนะ พระน้อยหมายถึงพระเด็กๆ พระหนุ่มๆ

"พระน้อย กวาดตาดก็ต้องใจเย็นๆ ค่อยๆกวาดไปนะ
เหมือนการภาวนาต้องใจเย็นๆ ค่อยๆทำไป
มันเป็นงานที่ประณีต ไม่ใช่รีบๆร้อนๆทำแล้วมันจะได้ผลดี"

ท่านสอนอย่างนี้ ท่านก็เล่าให้ฟังนะว่า รุ่นเดียวกัน
พระที่เคยอยู่กับหลวงปู่มั่นด้วยกัน ก็พ้นทุกข์พ้นร้อนไปหมดเลย
เหลือท่านองค์เดียว ไม่ได้อะไรเลย ท่านบอกอย่างนี้
แต่ท่านสู้นะ ท่านสู้ บอกอีกร้อยชาติท่านก็ไม่ถอย
โอ้ เราฟังแล้วรู้สึกนับถือท่านจริงเลย นี่ใจของนักปฏิบัตินะ
ไม่ใช่ "ภาวนามาตั้งสามเดือนแล้วยังไม่บรรลุเลย ฮ้า ชาตินี้ไม่มีบุญ เลิกดีกว่า"
นี่พวกโหลยโท่ย ชาติหน้ามันก็ยิ่งเหลวไหลยิ่งกว่านี้อีกเพราะใจเสาะ
ต้องเอาอย่างครูบาอาจารย์ที่เล่าให้ฟังนะ ท่านยังมีชีวิตอยู่ แต่อาวุโสมากแล้ว
บอกอีกร้อยชาติก็จะทำ ถ้าไม่จบนะ จะทำไปเรื่อยๆ ไม่เลิกหรอก สู้ตาย
เวลาเราภาวนาเราก็ต้องสู้อย่างนั้น คนที่เขาทำได้ง่ายเพราะเขาเคยยากมาแล้ว

ในคัมภีร์ก็มีเรื่องพระพาหิยะ
พระพาหิยะ ในสมัยพระพุทธเจ้าองค์ก่อน
พระพุทธเจ้าก่อนพระโคดมองค์นี้ชื่อพระกัสสปะ
ไม่ใช่มหากัสสปะนะ มหากัสสปะเป็นสาวกผู้ใหญ่ของพระพุทธเจ้าองค์นี้
พระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนชื่อพระกัสสปะ
พระกัสสปะตั้งศาสนาไว้แล้วก็นาน ผ่านไปนาน ท่านก็นิพพานไปนาน
ศาสนาก็ค่อยๆเสื่อมสลายลงไป จนกระทั่งคนภาวนาแทบไม่เป็นแล้ว
ก็มีพระเพื่อนกัน ๗ องค์ ก็ตัดสินใจเด็ดขาดนะ เราอยู่วัดภาวนาอย่างนี้ เอาดีไม่ได้
พากันออกป่ากันไป ขึ้นภูเขาไปเลย
ภูเขานี้ชันนะ แบบหน้าผาชันๆ ไม่มีทางขึ้นทางลง
ท่านอุตส่าห์ทำบันไดขึ้นไป พอขึ้นถึงยอดเขานะ ถีบบันไดทิ้งเลย
แล้วตัดสินใจแล้ว สละชีวิตเพื่อธรรมะ ถ้าได้ก็รอดไป
ถ้าได้คงมีอภิญญาเหาะลงมาได้ ถ้าไม่ได้ก็คืออดตาย
คนเราจะใช้เวลาอดตายซักกี่วัน ไม่นานหรอก ไม่นานนักหนา
บนภูเขาคงไม่ค่อยมีน้ำไม่มีอะไร ภูเขาเกลี้ยงๆ ขึ้นไปอยู่บนเขาภาวนา
วันที่หนึ่งนะ ก็มีองค์นึงเป็นพระอรหันต์
รุ่งเช้าท่านก็ไปบิณฑบาตมา แล้วก็เรียกเพื่อนมาฉันด้วยกันอีก ๖ องค์
แต่ละคนไม่ยอม ถ้าไม่มีปัญญาไปหาอาหารด้วยตัวเองก็ไม่ฉัน สู้ตาย
สุดท้ายก็มีพวกหนึ่งรอดไป พวกหนึ่งได้พระอนาคามี มีบางองค์ไม่ได้อะไรเลย
พระพาหิยะก็เป็นองค์หนึ่งที่ไม่ได้อะไรเลย ตายอยู่บนภูเขานั้น

มาในชีวิตนี้ ในสมัยพระโคดมนี้
ท่านเกิดเป็นพ่อค้า ไปค้าขายแล้วเรือสำเภาแตก ผ้าผ่อนหลุดลุ่ยหมดเลย
แขกนุ่งผ้ารุงรังใช่ไหม พอลงน้ำต้องถอดทิ้งสิ ไม่งั้นพันแข้งพันขาจมน้ำตาย
เสร็จแล้วท่านก็ไปขึ้นบกได้ ขึ้นบกผ้าผ่อนไม่มีนะ ไม่มีจะนุ่ง
ชาวบ้านมาเห็นเข้า โอ้ พระอรหันต์! นี่ แก้ผ้าก็เป็นพระอรหันต์แล้วนะ
ยุคนี้ก็พอๆกันแหละ เราเห็นใครทำอะไรบ้าๆบอๆเราก็ว่าพระอรหันต์ไว้ก่อน
นิสัยคนมันอ่อนแอนะ มันเชื่อง่าย
เอะอะอะไรเห็นอะไรแปลกๆก็ว่าพระอรหันต์ไว้ก่อน
ถึงวันนี้ก็ยังเป็นอย่างนั้นนะ ใครทำอะไรประหลาดๆขึ้นมาก็ว่าพระอรหันต์แล้ว
นี่พระอรหันต์ ท่านก็นึก ไม่ใช่แล้วนะ เรามันพ่อค้า พระอรหันต์ที่ไหน
ประเดี๋ยวชาวบ้านมาอีกคนนึง มาเห็นอีก กราบอีก โอ้ พระอรหันต์!
มันหันหลายๆคนเข้า เอ๊ะ หรือว่าใช่? ชะรอยจะใช่แล้วนะ เพราะสังคมยอมรับ
เห็นไหม นี่พระอรหันต์ที่สังคมยอมรับ สังคมตั้งให้
ไม่ได้เป็นนะแต่ว่าสังคมมันเชื่อกันอย่างนั้น เชื่อกัน
พวกเราก็มีบ่อยๆนะ ที่ชาวพุทธทั้งหลายอกหักกันมาหลายรอบแล้ว
องค์นี้พระอรหันต์ๆ ผ่าไปมีเมีย อยู่ไม่ได้
ตั้งหลายรายมาแล้วนะ อย่าต้องเอ่ยชื่อเลย
เกิดเรื่องอย่างนี้ขึ้นทีหนึ่ง ก็หวั่นไหวกันทีหนึ่ง บางคนก็เสื่อมศรัทธา
พวกเสื่อมศรัทธาอยากเสื่อมก็เสื่อมไปเถอะ พวกนี้ไม่ใช่ชาวพุทธหรอก
ถ้าชาวพุทธแท้ๆก็จะแยกได้ว่าอะไรเป็นเรื่องของบุคคล อะไรเป็นเรื่องของธรรมะ
ธรรมะไม่เคยเสื่อมเลย ไม่เคยเสียหายเลย

นี่ท่านพาหิยะยังไม่ใช่พระ ก็นึกว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์
อยู่มาเรื่อยๆนะ จนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมา
เพื่อนกันซึ่งเป็นเทวดาเป็นพรหมสุธาวาส
ที่ภาวนาด้วยกันแล้วเป็นพระอนาคามี รู้สึกสงสาร ว่าพาหิยะมันหลงผิดแล้ว
ก็ลงมาบอกว่าตัวเองไม่ใช่พระอรหันต์นะ
แล้วที่ทำอยู่ก็ไม่ใช่เส้นทางเดินของพระอรหันต์ด้วย
ตอนนี้พระอรหันต์เกิดขึ้นแล้วในโลก อยู่ที่นี้ที่นี้ให้ไปหานะ ให้รีบไปหา
ท่านพาหิยะพอได้ยินว่าพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก
ทิ้งความเป็นพระอรหันต์เลย
ไม่เอาแล้ว เรามันของปลอม ท่านเดินลุยมาเลย จากท่าอะไร ท่าอะไรจำไม่ได้แล้ว
ท่าเรือ ท่านอยู่ริมท่าน้ำ เดินมา ๗ วัน ๗ คืน เดินลุยมาเลย จะมาหาพระพุทธเจ้า
เข้าไปที่วัด ไปถามพระว่า พระพุทธเจ้าอยู่ไหม จะมาฟังธรรม
ไปถึงตอนเช้ามืดนะ นี่อดทนขนาดไหน รีบอยากได้ธรรมะ
เพราะนิสัยอย่างนี้เคยเป็นมาแล้วตั้งแต่ชาติก่อน
อยากได้ธรรมะนะ ขึ้นภูเขาถีบบันไดทิ้งยอมตาย นี่เดินลุยมาจนได้

พระบอกว่า พระพุทธเจ้าไปบิณฑบาต ให้รอก่อน
ท่านบอกรอไม่ได้ ใครจะรู้ว่าความตายจะมาถึงเมื่อไร ถ้านั่งรอนี่ประมาทนะ
ผมอาจจะตายก่อนหรือพระพุทธเจ้าไปบิณฑบาตท่านอาจจะปรินิพพานก็ได้
ใครจะรู้ล่ะ ไม่ได้ ต้องตามไป ตามไปถึงในตลาด
ไปถึงก็ไปกราบพระพุทธเจ้านะ บอกขอเรียนธรรมะ
พระพุทธเจ้าบอกตอนนี้เป็นเวลาบิณฑบาต ขอบิณฑบาตก่อน
ท่านก็บอกไม่ได้หรอก ผมจะขอเรียนธรรมะ
นี่พูดขอครั้งที่สองนะ พระพุทธเจ้าบอกไม่ได้หรอก
ตอนนี้จะต้องไปบิณฑบาต ต้องรู้หน้าที่นะ ตอนนี้เป็นเวลาบิณฑบาต
ท่านก็บอกว่าชีวิตเป็นของไม่แน่นอน
ผมอาจจะตายเมื่อไรก็ได้ พระองค์อาจจะปรินิพพานเมื่อไรก็ได้
ถ้าผมไม่ได้ฟังธรรมตอนนี้ประมาทนะ พระพุทธเจ้าเลยต้องแสดงธรรมให้ฟัง

ความจริงพระพุทธเจ้าไม่ได้ประมาทอะไรหรอก
พาหิยะกำลังเหนื่อยมาก แล้วใจนี่นะ เร่าร้อนกระสับกระส่ายอยากฟังธรรม
ท่านเลยถ่วงเวลา ถ่วงเวลาคุยโน่นคุยนี่ซักพักนึง ให้ใจคลายออก
แล้วท่านก็แสดงธรรมให้ฟัง

ดูกรพาหิยะ ในกาลใดแล
เมื่อเห็นจักเป็นสักว่าเห็น
เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง
เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ
ในกาลนั้นแล ท่านย่อมไม่มี
ในกาลที่ท่านไม่มีในปัจจุบัน
ไม่มีในอดีต ไม่มีในอนาคต
นั่นแลเป็นที่สุดแห่งทุกข์

พระพาหิยะฟังนะ เป็นพระอรหันต์ตอนนั้นเลย
ได้หรือยัง? ฟังเหมือนเปี๊ยบเลยนะ
เมื่อเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง
เมื่อคิดจักเป็นสักว่าคิด เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ
ถ้าสักว่าสักว่า ตัวเราจะไม่มี ถ้าตัวเราไม่มีนะ แล้วใครจะทุกข์?
ก็ไม่มีใช่ไหม ความทุกข์มีอยู่แต่ไม่มีคนทุกข์หรอก ตัวเราไม่มี
ท่านพาหิยะฟังแล้วก็เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง เป็นเอตทัคคะด้วย
ทั้งๆที่ยังไม่ได้บวชนะ ยังไม่ทันจะได้บวชเลย ก็ขอบวช
พระพุทธเจ้าบอกว่าจะบวชได้ต่อเมื่อมีบาตรและจีวรแล้ว
ตอนนี้ไม่มีอะไรซักอย่างเลย ผ้านุ่งยังไม่มีเลย
ไม่มีบาตร ไม่มีจีวร ต้องไปหาก่อนนะ
แล้วท่านก็แยกทางกัน พระพาหิยะเที่ยวไปหาแล้วก็ไปโดนวัวขวิดตาย
พระพุทธเจ้าก็ให้พระไปเอาศพมาเผา เอากระดูกใส่เจดีย์ไว้ สร้างเจดีย์ใส่กระดูกไว้
พวกพระก็ถามกันว่า อ้าว พาหิยะเป็นฆราวาส  ทำไมพระพุทธเจ้าเอามาใส่อย่างนี้
ท่านบอกพาหิยะได้ธรรมะแล้ว เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
พระก็ถามว่าฆราวาสเป็นพระอรหันต์นี่
สมควรจะเรียกว่าเป็นฆราวาส เป็นคฤหัสถ์
หรือควรจะเรียกว่าเป็นภิกษุ เป็นสมณะ เป็นพราหมณ์?
ท่านบอกเรียกว่าเป็นภิกษุ เป็นสมณะได้

เห็นไหม ท่านเน้นที่คุณธรรมในใจ ไม่ใช่ที่เปลือกนะ
ถ้าหลวงพ่อแต่งตัวอย่างนี้เรียกว่าเป็นพระโดยสมมติ
ถ้าสมมติหลวงพ่อเป็นพระแท้ๆด้วยใจ
หลวงพ่อถอดจีวรออก หลวงพ่อจะเป็นพระไหม
ก็เป็นถูกไหม เพราะพระพุทธเจ้าท่านวางหลักเกณฑ์ไว้
เพราะฉะนั้น พาหิยะยังไม่ได้ครองจีวรเลย ยังหาจีวรไม่ได้เลยก็เป็นพระ
ทำไมท่านง่าย? เพราะท่านยากมาแล้ว เพราะฉะนั้น พวกเราอย่าท้อใจนะ
ขึ้นเขาไปภาวนาก็ไม่ใช่จะได้นะ ไม่ใช่ขึ้นเขาไปภาวนา มันไปด้วยอะไร
ด้วยโลภะไปด้วยความอยาก รู้สึกไหม ใจมีแต่ความอยาก
อยากบรรลุไวๆ ไม่บรรลุหรอกจะบอกให้
เมื่อไรหมดอยาก เมื่อนั้นบรรลุ เข้าใจไหม
เพราะความอยากนั่นแหละ ปิดกั้นไว้จากธรรมะ
เมื่อไรมีความอยากเกิดขึ้น จิตจะเกิดการดิ้นรน
จิตดิ้นรนจิตปรุงแต่งก็คือจิตสร้างภพ
แต่เมื่อไรเรารู้ทันจิตนะ รู้ทันกิเลส รู้ทันจิตที่เกิดขึ้น
จิตก็ไม่ดิ้นรน จิตก็ไม่ปรุงแต่ง จิตสักว่ารู้สักว่าเห็น
ที่พระพุทธเจ้าสอนพาหิยะ ดูกรพาหิยะ ในกาลใดแล
เมื่อเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง ถ้าสักว่าได้
สักว่า หมายถึงว่า เห็นสภาวะรูปธรรมนามธรรมทั้งหลาย
ปรากฏขึ้นมาต่อหน้าต่อตาก็สักว่ารู้สักว่าเห็น รู้แล้วไม่ปรุงต่อ
พวกเราทำได้ไหม รู้แล้วไม่ปรุงต่อ
ทำไม่ได้ จำไว้นะ ยังทำไม่ได้ รู้แล้วแอบปรุงต่อ
พวกที่บอกว่าผมสักว่ารู้ สักว่าเห็น นั่นพูดแต่ปาก ใจยังไม่เป็นหรอก
น้อยคนหรอกนะ ที่สักว่ารู้สักว่าเห็นได้
ถ้าสักว่ารู้สักว่าเห็นได้ อีกก้าวเดียวเท่านั้นจะเกิดมรรคเกิดผลแล้ว
ตอนนี้ส่วนมากยังไม่ถึงนะ มันแค่สักว่ารู้สักว่าเห็นเป็นคราวๆ
มันไม่ใช่สักว่ารู้สักว่าเห็นจริง
สักว่ารู้สักว่าเห็นจริงเกิดจากปัญญา มีปัญญาแก่รอบจริงๆเลย

ทีแรกเรามีสตินะ มีใจที่ตั้งมั่น เป็นสัมมาสมาธิ
รู้กายอย่างที่เขาเป็น รู้ใจอย่างที่เขาเป็น
รู้ทีแรกนี่ไม่สักว่า แต่รู้แล้วจะยินดีบ้างยินร้ายบ้าง
รู้สึกไหม อย่างเราเห็นกิเลส เราก็ยินร้ายใช่ไหม
เห็นกุศลเรายินดี เห็นความสุขเราก็ยินดีใช่ไหม
เห็นความทุกข์เราก็ยินร้าย ยกเว้นพวกชั่วนะ
พวกชั่วพอเห็นความดีแล้วรู้สึกยินร้าย อย่างนี้ก็มี
แต่เห็นกิเลสแล้วรู้สึกยินดี เคยเจอไหม
บางคนภูมิใจนะ มาคุยอวดหลวงพ่อนะ เคยมีนะ
เวลาฉันโกรธนะ ฉันเห็นช้างเท่าหมู ภูมิใจนะ
โถ เอากิเลสมาอวดเรานะ นี่ พวกชอบในกิเลสก็มี
หรือพวกผู้หญิงเป็นเยอะนะ เวลาคิดอะไรเศร้าๆแล้วก็ชอบ
แล้วก็ไปเกาะอยู่อย่างนั้น อุ๊ย เศร้า
แหม เหมือนหยดเลือดหยดอยู่ในหัวใจเลย
น้ำตาร่วงอยู่ในหัวใจ แสบๆคันๆ มีความสุข
นี่ จิตเป็นอกุศลแล้วมีความสุข พวกไม่เอาไหนเลย ตายแล้วจะตกนรก
เพราะฉะนั้น อย่าไปเล่นนะ อย่าทำสวมวิญญาณนางเอก
โหย ชีวิตฉันพอๆกับพจมาน นางเอกรุ่นนี้มันชื่ออะไรไม่รู้นะ
รู้แต่นางเอกรุ่นพจมานโน่น พจมาน สว่างวงศ์ หลังๆไม่รู้ชื่ออะไรบ้างแล้ว
นางเอกรุ่นหลังๆได้ข่าวว่าด่าเก่ง ตบเก่งแล้วใช่ไหม
เอ่อ ไม่ใช่ถูกเขาด่า ถูกเขาตบ มานั่งร้องไห้ให้พระเอกโมโห ไม่ค่อยมีแล้ว
เดี๋ยวนี้มันลุยไปตบกับเขาแล้วนะคนรุ่นนี้

เพราะฉะนั้น เราอย่าไปปล่อยให้อกุศลครอบงำใจ
อกุศลใดๆ เกิดขึ้นที่ใจอย่าไปนอนแช่อยู่กับมัน
ไปนอนแช่อยู่กับมัน โธ่ ไม่ได้ซักที โธ่ ไม่ได้ๆ เมื่อไรจะได้ หมดกำลังใจ
โธ่เอ๋ย ต้องสู้เอาสินะ เพราะฉะนั้น เราอย่านอนแช่กิเลส
กิเลสอะไรเกิดขึ้นในใจ รู้ทันๆไป เวลาตามองเห็นรูป เห็นผู้หญิงสวย
หนุ่มๆเห็นผู้หญิงสวย หรือสาวๆที่ชอบผู้หญิงด้วยกัน
เห็นสาวสวย ใจมันชอบขึ้นมา
พอใจมันชอบขึ้นมา มีสติรู้ทัน ใจเราไม่ได้สักว่ารู้สักว่าเห็นนะ
ไปเห็นสาวเข้ามันพอใจ สาวๆไปเห็นหนุ่มๆเข้ามันพอใจ
เดินไปเห็นดอกไม้สวยๆมันพอใจ
เดินไปเดินมาชมดอกไม้เพลินๆไปเหยียบกองขี้หมาเข้า สดชื่นไหม
อือ สักว่ารู้สักว่าเห็น ไม่สักว่าหรอก อี๋ๆไว้ก่อนเลย ใช่ไหม
นี่ใจมันไม่พอใจ เพราะฉะนั้น เวลาที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจกระทบอารมณ์นะ
เกิดความพอใจขึ้นก็รู้ทัน เกิดความไม่พอใจขึ้นก็รู้ทัน
นี่เรียกว่าเราดูจิตของเราอยู่นะ
ตาหูจมูกลิ้นกายใจกระทบอารมณ์แล้วเดี๋ยวมันก็เกิดความสุข
เดี๋ยวมันก็เกิดความทุกข์ เดี๋ยวมันเฉยๆ
พอมีความสุขก็พอใจ มีความทุกข์ก็ไม่พอใจ
มีความเฉยๆก็งงๆ ไม่รู้ว่าจะพอใจหรือไม่พอใจ เราคอยดูใจของเราไป
ใจของเรามันกระเพื่อมขึ้นกระเพื่อมลงด้วยความยินดีบ้าง ด้วยความยินร้ายบ้าง
ใจของเราไม่ได้เป็นกลาง ไม่ได้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง
การสักว่ารู้สักว่าเห็นก็ต้องเกิดด้วยปัญญา ไม่ใช่เกิดจากการเพ่ง
บางคนใช้เพ่งจิตนะ สมมติหลวงพ่อเพ่งให้ดูนะ นี่เพ่งไว้อย่างนี้นะ
ให้ใครมาด่าก็ได้ ด่าสามวันก็ไม่โกรธ ถ้าออกมาอย่างนี้เดี๋ยวจะโกรธแล้ว
เพราะใจมันจะกระเพื่อมขึ้นกระเพื่อมลง

เพราะฉะนั้น เราภาวนานะ
ไม่ใช่ว่าเราเป็นกลางเพราะการเพ่ง ส่วนใหญ่จะเป็นกลางเพราะการเพ่งนะ
เพราะที่ทำอยู่ส่วนมากเป็นสมถะ ไม่ได้ขึ้นเป็นวิปัสสนาแท้ๆ
วิปัสสนาแท้ๆจะเกิดขึ้นเมื่อเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของกายของใจ
ไม่ใช่แค่เห็นกายเห็นใจนะ เห็นท้องพองยุบไม่ใช่วิปัสสนานะ
เห็นยกเท้าย่างเท้าไม่ใช่วิปัสสนา เห็นหายใจเข้าหายใจออกไม่ใช่วิปัสสนา
ต้องมีปัญญาเห็นไตรลักษณ์ถึงจะเป็นวิปัสสนา
เห็นว่าตัวที่พองที่ยุบอยู่นี่ไม่ใช่เราหรอก ธาตุมันเคลื่อนไหว
รูปมันเคลื่อนไหวไม่ใช่เรา อย่างนี้ถึงจะเป็นวิปัสสนา
เห็นตัวที่เดินอยู่นี่ไม่ใช่ตัวเรา เห็นก้อนธาตุมันเดินอยู่ อย่างนี้ถึงเป็นวิปัสสนา
เห็นจิตมันเกิดดับเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ บังคับไม่ได้
มันเคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ เป็นอนิจจัง บังคับไม่ได้เป็นอนัตตา
พอเห็นอย่างนี้เรียกว่าเห็นไตรลักษณ์ถึงจะเป็นวิปัสสนา
ไปนั่งเพ่งจิตให้จิตนิ่งๆไม่ใช่วิปัสสนา เป็นสมถะ
ไปดูท้องพองยุบให้จิตแนบอยู่ที่ท้องเป็นสมถะ
ไปรู้พุทโธ บริกรรมแต่พุทโธให้จิตนิ่งอยู่กับพุทโธก็เป็นสมถะ
ไปรู้ลมหายใจ จิตอยู่กับลมหายใจเป็นสมถะ
ขยับมืออย่างหลวงพ่อเทียนจิตไปเกาะอยู่ที่มือเป็นสมถะ
ถ้าเมื่อไรจิตไปจับนิ่งๆอยู่ที่อารมณ์อันเดียวเป็นสมถะทั้งหมดเลย
เป็นการเพ่งตัวอารมณ์เรียกว่าอารัมมณูปนิชฌาน
การเพ่งอารมณ์ เพ่งอารมณ์จะเป็นสมถะ
ถ้าเป็นวิปัสสนาต้องเห็นลักษณะเรียก ลักขณูปนิชฌาน
เห็นลักษณะ เห็นความเป็นไตรลักษณ์ในกาย เห็นความเป็นไตรลักษณ์ในใจ
เช่น นั่งอยู่ก็รู้สึกว่าตัวที่นั่งอยู่นี่เป็นแค่วัตถุเท่านั้นเอง
ตอนนี้คนที่ภาวนากับหลวงพ่อทำได้เยอะแล้ว
เห็นร่างกายนี่เป็นก้อนธาตุ เป็นวัตถุ เป็นรูป

เมื่อวานก็มี แม่ครูบาแบงค์มาเล่าให้หลวงพ่อฟัง
ภาวนามาตั้งนานนักหนาแล้วไม่เห็น มาเรียน เอาลูกชายมาบวชอยู่นี่
มาฟังไปฟังมา เห็นแล้ว ร่างกายนี่ไม่ใช่ตัวเรา เป็นแค่วัตถุ เป็นก้อนธาตุ
รู้สึกนะ ไม่ใช่คิดนะ รู้สึก คนรู้สึกได้อย่างนี้มีเป็นร้อยๆ เยอะแยะเลย
เห็นรูปตัวจริงแล้วว่าไม่มีตัวเรา อย่างนี้ถึงจะเรียกว่าทำวิปัสสนาได้
เห็นกายไม่ใช่เรา เห็นใจไม่ใช่เรา
พอเห็นเต็มที่แล้ว วันหนึ่งจิตรวมเข้ามาตัดสินความรู้เลยยอมรับความจริงแล้ว
ตัวเราไม่มี กายนี้ไม่ใช่เรา ใจนี้ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกายในใจนี้
ไม่มีตัวเราในกายในใจ ไม่มีตัวเรานอกเหนือจากกายจากใจ
ปิ๊งขึ้นมาอย่างนี้เป็นพระโสดาบัน
ไม่ใช่นั่งๆแล้วก็วูบหมดสติตื่นขึ้นมาแล้วบอกว่าเป็นพระโสดาบันนะ
โสดาบันรุ่นหลังจะเป็นแบบนี้เยอะเลย เคลิ้มๆง่อกแง่กๆ แล้วก็บรรลุแล้ว
บรรลุโมหะ ไม่ใช่บรรลุมรรคผลนิพพานอะไรหรอก

วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๑
สวนสันติธรรม


Website นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ใหม่!
http://www.dharmamag.com
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
หมีงงในพงหญ้า
ยืนงงในดงตีน
ผู้ก่อตั้งเวบฯ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +62/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
United Kingdom United Kingdom

กระทู้: 7861


• Big Bear •

ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ไม่มี ไม่ใช้ ไม่รู้
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 20 มิถุนายน 2553 20:18:40 »

นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ ๐๘๓ พฤหัสบดีที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๒
ธรรมะจากพระผู้รู้

พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช

ถาม : กว่าคนคนหนึ่งจะเรียนรู้และภาวนาเอาตัวรอดได้นี่ยากไหมครับ

เรียนนะ เรียนให้ได้ ให้เข้าใจ มันไม่ได้ยากเท่าที่เราคิด
พวกเราชอบไปวาดภาพการปฏิบัติให้มันยาก ทั้งยุ่ง ทั้งยาก ทั้งๆที่เป็นของง่ายๆ
ชอบทำนะ ทำโน่นทำนี่ คิดอยู่ตลอดเวลาเลยว่าทำยังไงแล้วจะดี
ทำยังไงแล้วจะถูก ทำยังไงจะได้ผลเร็ว
มีแต่ความอยาก พอมีความอยาก ก็ลงมือทำ
แทนที่จะรู้กายตามความเป็นจริง รู้ใจตามความเป็นจริง ก็อยากไปเรื่อย
อยากแล้วก็ดิ้นไปเรื่อย อย่านึกนะว่าดิ้นแล้วมันจะบรรลุธรรม ไม่มีวันเลย
ตรงที่ได้ธรรมะมานะ ตอนนั้นหยุดดิ้น แต่ก่อนจะหยุดดิ้น ก็ต้องดิ้นก่อน
ดิ้นจนหมดแรงดิ้นน่ะ โดยธรรมชาติของจิตมันไม่ยอมง่ายๆ หรอก
ถ้าจิตมันเป็นของว่าง่ายเชื่อง่ายนะ มันคงบรรลุกันไปหมดแล้ว
อย่างบางคนมาภาวนา พอเห็นกายไม่ใช่เรา เห็นจิตไม่ใช่เรานะ
พอเห็นความจริงแล้วไม่ยอมตัด จิตใจมัวแต่ตกอกตกใจ
โอ๊ย ตัวเราหายไป บางคนกลัวไปเลย ตัวเราหายไปไหน
มันไม่ได้หายไปจากโลกหรอก มันมีอยู่แต่มันไม่ใช่ตัวเรา
เนี่ยกว่าใจมันจะยอมรับความจริงได้นะ ก็ต้องสู้กันนาน
สู้กับอะไร สู้กับความยึดถือเก่าๆ สู้กับความเห็นผิดเก่าๆที่สะสมมานาน

เราสะสมมาตลอดเวลาเลยว่า กายนี้ใจนี้คือตัวเรา
เป็นตัวเรา หรือ เป็นของเรา ยึดถือเหนียวแน่น
พอมาเจริญสติมาเห็นความจริงก็ทนไม่ไหว
ถ้าคนไหนทนได้นะ บางคนเห็นทีแรกขาดเลยนะ
ผ่านวุบๆเลย ญาณ ๑๖ ขั้น ผ่านทีเดียว
ไม่ใช่ผ่านทีเดียว ๑๖ ขั้น หรอก ได้เบื้องต้นก่อน
ต้องเห็นสภาวธรรมแท้ๆที่มันเกิดดับได้ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ใช่ตัวเราได้ก่อน
เนี่ยเห็นตรงนี้ไปนะ บางคนก็ข้ามชั้นเลย อย่างรวดเร็ว
เบื่อแวบเดียวนะ จะเบื่อแวบเดียว เห็นความไร้สาระ
เนี่ยเห็นความเบื่อ แล้วก็ขาด ความเบื่อขาดไปเลย เข้าไปสู่ความเป็นกลาง
บางคนเห็นความกลัว ความกลัวขาดไป เข้าไปสู่ความเป็นกลาง
สุดท้ายก็ไปรู้กายรู้ใจด้วยจิตที่เป็นกลาง ตัวนี้สำคัญนะ
ตรงที่รู้จนถึงความเป็นกลางเนี่ย เป็นประตูของมรรคผลนิพพานแล้ว

ถ้ารู้แล้วยังไม่ถึงความเป็นกลางยังใช้ไม่ได้หรอก
ถ้าไม่เป็นกลาง ก็หลงยินดีหลงยินร้าย
อย่างเราเห็นสภาวธรรมในใจเรานะ เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย
พอสุขมันก็ชอบใจนะ พอทุกข์มันก็เกลียด เนี่ยมันยินดียินร้าย
พอเห็นความดี บางคนก็ชอบ บางคนไม่ชอบดี ชอบชั่วๆ มีนะไม่ใช่ไม่มี
บางคนภูมิใจนะ ฉันโมโหเก่ง เวลาฉันโมโหนี่เห็นช้างเท่าหมู
คนดีมันก็รักดีเกลียดชั่ว คนชั่วมันก็รักชั่วเกลียดดี
มันไม่ใช่ทุกคนจะรักดีเสมอกันหรอก
แต่ถ้ารักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งเมื่อไหร่ จิตจะต้องดิ้นรน จิตจะต้องทำงานอีก
ถ้ารักก็อยากให้มันเกิดบ่อยๆ เกิดแล้วก็อยากรักษามันไว้
ถ้าเกลียดมันนะก็ไม่อยากให้มันเกิด ถ้ามันเกิดแล้วก็อยากให้มันดับไป
มันจะมีความรู้สึกอย่างนี้เกิดขึ้น ใจมันจะดิ้น ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะสุข ทำยังไงจะสงบ
มีแต่คำว่า "ทำ" เนี่ยมันไม่เป็นกลาง จะต้องดูไปอีก
เห็นสภาวะทั้งหลายเกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ ซ้ำแล้วซ้ำอีกไป
หรือบางคนก็เห็นว่ามันไม่ใช่ตัวเราหรอก ร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา จิตใจไม่ใช่เรานะ
ดูไปเรื่อยๆ บางคนเห็นมันเกิดดับ คือเห็นอนิจจังนะ
บางคนก็เห็นมันมีแต่ทุกข์ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเลย พวกนี้เห็นทุกข์
บางคนก็เห็นอนัตตา ไม่มีเรา ซ้ำแล้วซ้ำอีก เห็นไปเรื่อยๆ

ถึงจุดหนึ่งมันรู้ความจริง
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดมาล้วนแต่ไม่เที่ยง
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดมาล้วนแต่เป็นทุกข์
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดมาล้วนแต่บังคับไม่ได้
นี่เรียกว่าเห็น สามัญลักษณะ ลักษณะร่วมของทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมา
เห็นลักษณะร่วมนี้แล้วใจยอมรับ ใจจะเป็นกลาง
ความสุขเกิดขึ้นก็ไม่หลงยินดี มันไม่เกิดก็ไม่เสียดาย ไม่ได้อยากให้มันเกิด
เพราะรู้ความจริงว่ามันอยู่ชั่วคราว หาแทบตาย เดี๋ยวเดียวก็หายไป
ความทุกข์เกิดขึ้นก็ไม่เกลียดมัน รู้ว่าถ้ามีเหตุมันก็เกิด ไม่มีเหตุมันก็ไม่เกิด
พอความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็ไม่ได้อยากให้มันหายเร็วๆ
เพราะรู้ว่าถ้ามีเหตุ มันก็ยังมีอยู่ หมดเหตุมันก็ดับไปเอง
เนี่ยปัญญามันเกิดขึ้น เห็นไหม รู้ด้วยปัญญา
พอมีปัญญาแจ้งนะ ใจเป็นกลางกับสังขาร
เห็นเลย ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาล้วนแต่ไม่เที่ยง
ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดมาล้วนแต่ถูกบีบคั้น
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดมาล้วนแต่ไม่ใช่ตัวเรา
เห็นอย่างนี้นะ ใจมันจะหยุดดิ้นหยุดปรุง
ตรงใจที่หยุดดิ้นหยุดปรุง เรียกว่า ใจมีปัญญาเป็นกลางต่อสังขาร
ปัญญาตัวนี้ชื่อว่า "สังขารุเบกขาญาณ"
พวกเราทุกคนที่ภาวนานะ ต้องมุ่งมาสู่ สังขารุเบกขาญาณให้ได้ในวันใดวันหนึ่งข้างหน้านี้แหละ
บางคนใช้เวลาไม่นาน ก็ถึงแล้ว บางคนยังอีกนานหน่อยก็ถึง บางคนก็ชาติต่อไปก็จะถึง
บางคนต่อๆๆๆๆๆ ไม่ถึงเลย เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิ
เพราะฉะนั้น เราคอยดูใจของเรานะ เวลามันรู้สภาวะขึ้นมา
เช่น มันเห็นความสุขเกิดขึ้นมาเนี่ย มันหลงยินดี ให้รู้ทัน
มันเกิดความทุกข์ขึ้นมา มันหลงยินร้าย ให้รู้ทัน
หรือภาวนาเจริญสตินะ สติเกิดถี่ยิบเลย พอใจ ก็รู้ทัน
ช่วงนี้สติไม่เกิดเลย สติแตก เสื่อมไป กรรมฐานเสื่อม
เสียใจ กลุ้มใจ ทุรนทุราย ก็รู้ทันลงไปว่าไม่พอใจอยู่
ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นนะ รู้ลงไปที่ใจของเรา
เบื้องต้นก็เห็นสภาวะก่อน เช่น ร่างกายเคลื่อนไหว รู้สึก
จิตใจเคลื่อนไหว รู้สึก โลภโกรธหลงเกิดขึ้นก็รู้ อะไรเกิดขึ้นก็รู้
ถ้ารู้แล้ว ต่อไปก็ลึกซึ้งขึ้นมาอีก สังเกตเข้ามาถึงจิตถึงใจ
มันจะเข้ามาสังเกตได้เองแหละ อย่าจงใจสังเกตนะ
มันจะเห็นความยินดียินร้ายที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น เบื้องต้นรู้สภาวะนะ

ถัดมาก็รู้ความยินดียินร้ายต่อสภาวะนั้น
เมื่อเรารู้ความยินดียินร้ายต่อสภาวะนั้น ความยินดียินร้ายจะดับไป
ใจก็เป็นกลางขึ้นชั่วขณะ ก็ไปรู้สภาวะอีก ก็หลงยินดียินร้ายอีก
รู้ทันความยินดียินร้ายอีกนะ ความยินดียินร้ายดับอีกชั่วขณะ เดี๋ยวกระทบอารมณ์ก็เกิดอีก
เกิดไปจนวันหนึ่งปัญญามันแจ้งขึ้นมาว่า ทุกสิ่งทุกอย่างนี้เป็นไตรลักษณ์
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา คราวนี้มันจะไม่ยินดียินร้ายของมันเองแล้ว
เบื้องต้นไม่ยินดียินร้ายเพราะไปรู้ทันความยินดียินร้ายเข้า เราจะได้ไม่ปรุงนาน
เราฝึกมากเข้าๆ มันเข้าใจความเป็นจริงของสังขาร
คือความปรุงแต่งทั้งปวง ทั้งรูปธรรม ทั้งนามธรรม ทั้งกาย ทั้งใจ
เข้าใจแล้วว่ามันไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มันจะหมดความยินดียินร้ายไปเอง
นี่เป็นการที่มันเข้าถึงความไม่ยินดียินร้ายด้วยปัญญา ไม่ใช่ด้วยสติ

เบื้องต้นรู้ด้วยสตินะ เห็นจิตมันยินดีก็รู้
อย่างไปเห็นสาวสวย ใจมันชอบนะ เราเห็นลงไป
รู้ทันความชอบนี้ ใจไม่ชอบอีกแล้ว อยากให้หายราคะ
อยากให้หาย รู้ทันลงไปที่ความอยากให้ราคะดับอีก มันยินร้ายอีกแล้ว
เนี่ย รู้อย่างนี้นะ อย่างนี้เรียกว่า รู้ด้วยสติ รู้ไปเรื่อยๆ
ทันทีที่รู้ด้วยสตินะ ความยินดียินร้ายก็ดับไป ดับชั่วคราว
ต่อไปพอซ้ำแล้วซ้ำอีก เห็นสภาวะเกิดดับไปเรื่อยๆ เห็นเป็นไตรลักษณ์ไปเรื่อย
ต่อไปก็รู้ด้วยปัญญา เห็นว่าทุกอย่างมันของชั่วคราว
ไม่รู้จะยินดีไปทำไม ไม่รู้จะยินร้ายไปทำไม อย่างนี้รู้ด้วยปัญญา
การที่เข้าถึงความเป็นกลางด้วยปัญญา ตัวนี้สำคัญที่สุดแล้วนะ
เมื่อจิตดำเนินมาถึงตรงนี้จะมีทางแยกแล้ว พวกหนึ่งมีความกรุณาอยู่ในใจ
มีมหากรุณามาก สงสารสัตว์โลก พวกนี้จะน้อมไปสู่พุทธภูมิ
พุทธภูมิไม่ใช่เป็นง่ายนะ ใจต้องเป็นกลางกับโลกจริงๆ ใจเป็นกลางกับสังขารจริงๆ
เห็นนรกกับสวรรค์เท่าเทียมกันนะ ถึงจะไปพุทธภูมิไหว
ถ้ายังเบื่อๆ อยากๆ รักสุขเกลียดทุกข์ รักดีเกลียดชั่วอะไรอยู่ อย่างนี้ไปพุทธภูมิไม่ไหวหรอก
ต้องไปด้วยมหากรุณาด้วยนะ ไปด้วยความอยากช่วยเหลือคนอื่น
ไม่ใช่ไปด้วยอยากใหญ่อยากโต อยากรอบรู้มากๆ
หลวงพ่อเจอพระโพธิสัตว์เยอะแยะเลยนะ ตั้งแต่ภาวนามา
บางคนอยากเป็นโพธิสัตว์เพื่อจะได้รู้ว่าจักรวาลเกิดมาได้อย่างไร
บางคนก็อยากใหญ่ เป็นพระพุทธเจ้าแล้วใหญ่กว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
นี่ทำด้วยกิเลสทั้งนั้น ไปไม่รอดหรอก โพธิสัตว์ต้องไปด้วยมหากรุณาจริงๆเลย
อยากช่วยเหลือ อยากสงเคราะห์เขา เห็นอกเห็นใจคนอื่น
ถ้าใจน้อมมาทางนี้นะ แล้วก็ภาวนามาจนถึงสังขารุเบกขาญาณ
ใจเป็นกลาง เห็นนรกกับสวรรค์เท่ากัน อย่างนี้มีแรงมากแล้ว ไม่กลัวลำบากใช่ไหม
ถ้าเรายังกลัวลำบากอยู่ เราจะไปช่วยใครเขาไม่ได้จริงหรอก

ถ้าคนที่ไม่กลัวลำบาก อินทรีย์แก่กล้าแล้ว
พร้อมที่จะบรรลุพระอรหันต์ในวันนั้นเลย ไปเจอพระพุทธเจ้าเข้า แล้วตั้งความปรารถนา
นี่ไม่เอาแล้วพระอรหันต์ ขอเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง
ถ้าคุณธรรมพอขนาดนี้นะ พระพุทธเจ้าพิจารณาแล้ว
ภาวนาก็เก่งแล้วจนเป็นกลางกับสังขารแล้ว มีมหากรุณาที่แท้จริง
ท่านก็จะพยากรณ์ให้ ว่าอีกเท่านั้นเท่านี้นะ จะได้เป็นพระพุทธเจ้าชื่อนั้นชื่อนี้
ถ้าไม่ใช่ภาวนาจนถึงความเป็นกลางกับสังขาร ไม่ได้กินหรอก
ในรุ่นเรานี่หลวงพ่อเห็นอีกคนหนึ่งนะ ตอนนั้นสร้างสะพานพระปิ่นเกล้าใหม่ๆ
วันหนึ่งมันมีรถตู้ รถตู้ของเด็กนักเรียน เด็กเล็กๆ เด็กอนุบาล
เกิดอะไรขึ้นไม่รู้ ไฟไหม้อยู่ที่สี่แยกเลย จราจรคนหนึ่งอยู่ตรงนั้นลุยไฟเข้าไปลากเด็กออกมาได้
ตัวถูกไฟคลอกเยอะเลยนะ ก็ยังลุยเข้าไปเอาเด็กออกมาอีก
จนกระทั่งไม่ได้ยินเสียงเด็กแล้วนะ ก็คิดว่าเด็กหมดแล้ว พอไฟดับ เจอว่ายังมีเด็กติดอยู่ ๒ คน
ตำรวจนี่เสียใจนะ บอกว่า "ถ้ารู้ว่ายังมีอีก จะลุยเข้าไปอีก"
เนี่ย ต้องใจขนาดนี้นะ พระโพธิสัตว์ บอก "กล้าลุยไฟนรก"
นี่ไม่ใช่ไฟนรกหรอก นี่ไฟรถตู้ ของเราเจอเข้าอย่างนี้เราก็ไม่เอาใช่ไหม
โพธิสัตว์ แต่อย่างนี้ไม่เอาแล้ว เนี่ย ใจต้องขนาดนั้นนะ ถึงจะเป็นโพธิสัตว์ไหว
กรุณา สงสารเขา อยากช่วยเขา แล้วพวกนี้ถ้าหัดภาวนาแล้วจิตใจเป็นแบบนี้อยู่พวกนี้พอจะได้อยู่
แต่ถ้าเหยาะๆแหยะๆนะ ไม่ได้เรื่องหรอก ไม่ได้เป็นโพธิสัตว์จริงหรอก

บางคนไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ พอภาวนามาถึงสังขารุเปกขาญาณ
ใจเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว หมดความปรุงแต่ง
พอมันเป็นกลาง มันจะหมดความปรุงแต่ง
จำไว้นะ ที่มันปรุงแต่งเพราะมันไม่เป็นกลาง
มันไปชอบอันนี้ มันไปเกลียดอันนี้
ชอบก็ปรุงแต่งที่จะเอาไว้ หรือจะเอามาให้ได้
เกลียดก็ปรุงแต่งที่จะป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้น หรือเกิดแล้วก็หาทางดับมัน
เนี่ยเป็นความปรุงแต่ง แต่ถ้ามีปัญญาแก่รอบ
จะเห็นทุกสิ่งมันเกิดด้วยเหตุ หมดเหตุก็ดับ บังคับไม่ได้
ทุกสิ่งล้วนแต่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ใจไม่ปรุงแต่ง ถ้าใจไม่ปรุงแต่ง แล้วถึงจุดที่อินทรีย์แก่รอบแล้วนี่ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ
รวมเองเลย ไม่ได้เจตนาเข้าฌานนะ จะเข้าเอง
ทำไมต้องเข้าฌาน ถ้าไม่ได้เข้าฌานเนี่ย กำลังของสัมมาสมาธิไม่พอ
ฉะนั้น เวลาพระพุทธเจ้าท่านแจกแจงสภาวะ พอถึงสัมมาสมาธิ
ท่านแจกแจงสัมมาสมาธิด้วยอัปปนาสมาธิ ต้องถึงอัปปนาสมาธินะ ตั้งแต่ฌานที่ ๑ ขึ้นไป
อย่างถ้าท่านแจกแจงสัมมาสติ ด้วยสติปัฏฐาน ๔ ท่านแจกแจงสัมมาทิฏฐินะ
ด้วยตัวความรู้แจ้งในอริยสัจ ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)
แล้วก็รู้แจ้งรูปนามที่เป็นอดีต เป็นอนาคต
รู้แจ้งรูปนามทั้งอดีตและอนาคต
รู้แจ้งความเป็นเหตุเป็นปัจจัยสืบเนื่องกันของรูปของนาม
นี่รู้ ๘ อย่าง นี่ท่านแจกแจงสัมมาทิฏฐิไว้อย่างนี้
นี้ตัวสัมมาสมาธิที่ท่านแจกแจง ท่านแจกแจงด้วยฌาน ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป

วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ (ตอนแรก)
สวนสันติธรรม


Website นิตยสารธรรมะใกล้ตัว ใหม่!
http://www.dharmamag.com
บันทึกการเข้า

B l a c k B e a r : T h e D i a r y
คำค้น: ธรรมะ พระ ผู้รู้ พระอาจารย์ ปราโมทย์ ปาโมชฺโช 
หน้า:  1 [2]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
สุญญตา ~พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช~
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 0 3283 กระทู้ล่าสุด 15 กันยายน 2554 14:06:15
โดย เงาฝัน
เผชิญตายด้วยใจห้าวหาญ - พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช
ห้อง วีดีโอ
That's way 0 2442 กระทู้ล่าสุด 02 กันยายน 2556 09:56:27
โดย That's way
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.393 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 29 กันยายน 2566 10:36:17