[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 มีนาคม 2567 13:58:41 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระธรรมปาโมกข์รูปที่ ๑๑ : สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร)  (อ่าน 4458 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5375


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 26 เมษายน 2555 19:35:51 »



พระธรรมปาโมกข์ยุคกรุงรัตนโกสินทร์



สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน  ธมฺมสาโร)  วัดราชผาติการาม กรุงเทพมหานคร



พระธรรมปาโมกข์
รูปที่ ๑๑
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน  ธมฺมสาโร)


สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน  ธมฺมสาโร)  วัดราชผาติการาม  เขตดุสิต  กรุงเทพมหานคร   เดิมชื่อ วิน  ทีปานุเคราะห์  เป็นชาวจังหวัดชุมพร  เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๙  ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะเมีย  ณ บ้านนาพญา  อำเภอขันเงิน  จังหวัดหลังสวน (เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ครั้งอดีต สมบูรณ์ด้วยไม้ผลนานาชนิดตามชื่อ  ปัจจุบันคือ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร)  ในสกุล ทีปานุเคราะห์  โยมบิดาชื่อ นายเชย  โยมมารดาชื่อ นางบุญมี  มีอาชีพเป็นชาวสวน

เมื่อเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ไปอยู่วัดราชผาติการามใหม่ ๆ ให้สร้างกุฎีไม้หลังเล็ก ๆ กว้างยาวพอปูที่นอนและเหลือที่นั่งอ่านหนังสือ  ฉันหมาก  ฉันน้ำชา  น้ำอ้อย  น้ำส้มคั้น เป็นครั้งคราว ไม่นิยมฉันจุกจิก  เมื่อของใหม่ออกมาก็ไม่นิยมฉัน  ดูเหมือนท่านจะรังเกียจเรื่องกาลิก* 

เมื่อเยาว์วัยได้เล่าเรียนที่โรงเรียนประชาบาลวัดนาบุญ  หลังสวน จบชั้นประถมปีที่ ๓ (ซึ่งเป็นชั้นประถมบริบูรณ์ขณะนั้น)  แล้วมาเรียนต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนวัดโตนด  หลังสวน แต่เรียนอยู่เพียง ๖ เดือนก็ลาออก เพราะโยมบิดาประสงค์จะให้บวชเป็นสามเณร

พ.ศ. ๒๔๖๖  เมื่ออายุได้ ๑๖ ปี บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดโตนด  อำเภอขันเงิน  จังหวัดหลังสวน (ขณะนั้น)  พระธรรมารามคณีสุปรีชา (หนู  อชิโต) เป็นพระอุปัชฌาย์   และเล่าเรียนอยู่ที่วัดโตนดนั้น จนสอบได้นักธรรมชั้นตรี และเปรียญธรรม ๓ ประโยค

พ.ศ. ๒๔๗๑  ได้ย้ายเข้ามาเล่าเรียนต่อที่วัดราชาธิวาส  กรุงเทพฯ  และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดราชาธิวาสในปีนั้น   โดยพระธรรมารามคณีสุปรีชา (หนู  อชิโต)  เป็นพระอุปัชฌาย์   พระธรรมวโรดม (เซ่ง อุตฺตโม)  ขณะเมื่อยังเป็นที่พระธรรมโกศาจารย์ วัดราชาธิวาส เป็นพระกรรมวาจาจารย์   ทั้งนี้ ในพระอุปถัมภ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา และนายพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ (อดีตเลขาธิการพระราชวัง) และท่านผู้หญิงกุณฑี ถวายการอุปถัมภ์ในกาลต่อมา   

 เมื่อมาอยู่วัดราชาธิวาสแล้ว ได้ศึกษาเล่าเรียนต่อและสอบได้นักธรรมและบาลีชั้นต่าง ๆ ดังนี้ 
- พ.ศ. ๒๔๗๑  สอบได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค และนักธรรมชั้นโท
- พ.ศ. ๒๔๗๓  สอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค และนักธรรมชั้นเอก
- พ.ศ. ๒๔๗๔  สอบได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค
- พ.ศ. ๒๔๗๕  สอบได้เปรียญธรรม ๗  ประโยค
- พ.ศ. ๒๔๗๗  สอบได้เปรียญธรรม ๘ ประโยค
- พ.ศ. ๒๔๘๐  สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค
ถึง พ.ศ. ๒๔๘๔  ในรัชกาลที่ ๘  ได้รับพระราชทานสมณศักด์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระอริยเมธี

มาในรัชกาลปัจจุบัน เลื่อนขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระราชเมธีเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐  เลื่อนขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่พระเทพโมลี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ แล้วเลื่อนขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมปาโมกข์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐

ถึง พ.ศ. ๒๕๐๙  ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่พระพรหมมุนี  มีสำเนาประกาศพระบรมราชโองการสถาปนา ดังนี้


ประกาศสถาปนา
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า โดยที่ทรงพระราชดำริว่า พระธรรมปาโมกข์ เป็นพระเถระผู้เจริญในสมณพรหมจรรย์ อนันตปรีชาญาณ  ได้ศึกษาแตกฉานในมคธปริวรรต และอรรถธรรมวินัย สามารถสอบไล่ได้สำเร็จภูมิเปรียญธรรม ๙ ประโยค ทรงพระกรุณาโปรดให้เป็นพระราชาคณะที่อริยเมธี  พระราชเมธี  พระเทพโมลี  และพระธรรมปาโมกข์ โดยลำดับ  ก็รับภาระพระพุทธศาสนาและสังวรรักษาสมณวัตร ระเบียบปฏิบัติประเพณีราชการได้เรียบร้อย สมควรแก่ตำแหน่งเป็นอย่างดี มีอุตสาหะวิริยะในการประกอบพระพุทธศาสนกิจ เป็นหิตานุหิตประโยชน์แก่พุทธจักรและอาณาจักรโดยอเนกประการ อาทิ ในด้านการปริยัติศึกษา เริ่มด้วยเป็นอุทเทศาจารย์สอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณร ในสำนักเรียนวัดราชาธิวาสวิหาร เป็นกรรมการตรวจสอบความรู้นักธรรมและบาลีสนามหลวง เป็นแม่กองธรรมสนามหลวง อนึ่งนับตั้งแต่พระธรรมปาโมกข์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดราชผาติการามเป็นต้นมา  ปรากฏว่าได้อุตส่าห์พยายามจัดการฟื้นฟูการศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักเรียนนี้ ให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนเป็นอันมาก  มีจำนวนผู้ที่สอบไล่ได้เป็นนักธรรมและเปรียญมากยิ่งขึ้นโดยลำดับ โดยเฉพาะเปรียญธรรม ๙ ประโยค  มีผู้สอบไล่ได้มาแล้วถึง ๓ รูป  ซึ่งไม่เคยปรากฏมีในกาลก่อน จึงนับว่าพระธรรมปาโมกข์เป็นผู้มีปรีชาสามารถจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมภายในสำนักเรียน ได้ผลดีเป็นอันมาก ควรแก่การสรรเสริญ ในด้านการบริหาร พระธรรมปาโมกข์ได้รับภาระปฏิบัติ คือ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาสวิหาร เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชผาติการาม เป็นเจ้าคณะตรวจการผู้ช่วยภาค ๕ เป็นเจ้าคณะอำเภอธรรมยุต  อำเภอดุสิต  อำเภอปทุมวัน  อำเภอพระโขนง  และอำเภอบางเขน  เป็นสมาชิกสังฆสภา เป็นรองประธานสังฆสภารูปที่ ๒  เป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษา  เป็นกรรมการคณะธรรมยุต  เป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต  เป็นกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์  เป็นกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย  เป็นกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสงฆ์  เป็นพระอุปัชฌาย์  เป็นเจ้าอาวาสวัดราชผาติการาม  เมื่อได้มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ใหม่ ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕  พระธรรมปาโมกข์ได้รับแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการมหาเถรสมาคม  มีหน้าที่พิจารณายกร่างกฎและระเบียบมหาเถรสมาคม  และต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ตามที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน  ในด้านการอบรมสั่งสอน พระธรรมปาโมกข์ เคยได้รับมอบหมายให้จาริกไปแสดงธรรมอบรมประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ ในเขตมณฑลนครศรีธรรมราช  และเมื่อทางราชการได้จัดให้มีคณะกรรมการอบรมข้าราชการและประชาชนขึ้น ก็ได้รับอาราธนาให้เป็นผู้ให้การอบรมด้วยรูปหนึ่ง  ได้จาริกไปแสดงธรรมอบรมข้าราชการและประชาชนในจังหวัดพระนคร  จังหวัดธนบุรี  และจังหวัดอื่น ๆ อีกหลายจังหวัด  อนึ่ง พระธรรมปาโมกข์ เป็นผู้ประกอบด้วยอุตสาหะวิริยาธิคุณ  ได้พยายามศึกษาค้นคว้าหลักธรรมในคัมภีรบาลีปกรณ์ทั้งหลาย จนเข้าถึงความเป็นผู้ฉลาดสามารถในคันถธุระวิธีพุทธสมัย  ตั้งอยู่ในวิษัยพหุลศรุตบัณฑิต  รอบรู้แตกฉานในพระปริยัติธรรมเป็นอย่างดี สามารถแสดงธรรมอบรมสั่งสอนประชาชนพุทธบริษัท ให้ซาบซึ้งเข้าถึงหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ดังเป็นที่ปรากฏว่าในทุกโอกาสวันธรรมสวนะ  จะมีประชาชนพุทธบริษัทต่างมีความเลื่อมใสนิยมไปสดับฟังพระธรรมเทศนาที่วัดราชผาติการาม ในด้านสาธารณูปการ ก็ได้พยายามเอาใจใส่จัดการบูรณะปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมถาวรวัตถุเสนาสนะสงฆ์ซึ่งชำรุดทรุดโทรมมากมาแต่ก่อนให้กลับคืนดี มีสภาพมั่นคงถาวรและสะอาดเรียบร้อยแจ่มใสดีขึ้นโดยทั่วพระอาราม กับได้ดำเนินการจัดสร้างโรงเรียนประปริยัติธรรมขึ้น ๑ หลัง สำหรับเป็นสถานศึกษาของพระภิกษุสามเณรและได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้นอีกหลัง  สำหรับเป็นที่มาบำเพ็ญกุศลและฟังธรรมของประชาชนพุทธบริษัท จึงนับว่าพระธรรมปาโมกข์เป็นผู้มีปรีชาสามารถในการปกครองพระอารามหลวงเป็นอย่างดี

สรรพกรณียกิจซึ่ง พระธรรมปาโมกข์ได้รับปฏิบัติบำเพ็ญตามหน้าที่โดยดังกล่าวมา ปรากฏเป็นผลดียิ่งแก่การพระศาสนา ประเทศชาติและประชาชน  จึงนับว่าเป็นผู้เจริญยิ่งในสมณคุณธรรมสัมมาปฏิปทา มีปรีชาฉลาดในการบริหารพระศาสนา สมบูรณ์ด้วยอาตมหิตและปรหิตจรรยา ปรากฏอยู่แล้ว และบัดนี้ พระธรรมปาโมกข์ก็เจริญด้วยวรรษายุกาลสมบูรณ์ด้วยรัตตัญญูเถรกรณธรรม มั่นคงอยู่ในพรหมจรรย์เนกขัมมปฏิบัติ มีวัตตจริยาเป็นที่น่าเลื่อมใส เป็นหลักอยู่ในคณะธรรมยุติการูปหนึ่ง สมควรจะยกย่องให้ดำรงในสมณฐานันดรสูงขึ้น

จึงมีพระบรมราชโองการโปรดสถาปนา พระธรรมปาโมกข์ ขึ้นเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะ มีราชทินนามตามจารึกในหิรัณยบัฏว่า พระพรหมมุนี ศรีวิสุทธิญาณนายก ตรีปิฎกธรรมาลงกรณ์ อุดมคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต ณ วัดราชผาติการามวรวิหาร พระอารามหลวง มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ ๘ รูป คือ พระครูปลัดสุวัฒนพรหมจริยคุณสมบุรณคณาธิปัติ วินยานุวรรตน์สังฆานุนายก ปิฎกธรรมรักขิต ๑  พระครูวินัยธร ๑  พระครูธรรมธร ๑  พระครูพุทธพากยประกาศ พระครูคู่สวด ๑  พระครูธรรมศาสนอุโฆษ พระครูคู่สวด ๑  พระครูสังฆบริบาล ๑  พระครูสมุห์ ๑  พระครูใบฎีกา ๑

ขออาราธนาพระคุณจงรับธุระพระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอน ช่วยระงับอธิกรณ์และอนุเคราะห์พระภิกษุสงฆ์สามเณร โดยสมควรแก่กำลังและอิสริยยศซึ่งพระราชทานนี้ และจงเจริญอายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาน คุณสารสิริสวัสดิ์ จิรัฏฐิติ วิรุฬหิไพบูลย์ ในพระพุทธศาสนาเทอญฯ

                                            ประกาศ ณ วันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๙  เป็นปีที่ ๒๑ ในรัชกาลปัจจุบัน

                                                                 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

                                                                                   จอมพล ถนอม  กิตติขจร
                                                                                         นายกรัฐมนตรี

ครั้น พ.ศ. ๒๕๑๘  ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ นับเป็นสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ รูปที่ ๕

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน) เป็นพระเถระที่มีบทบาทสำคัญในการคณะสงฆ์ด้านต่าง ๆ มาเป็นลำดับ ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญทางการคณะสงฆ์เป็นอันมาก อาทิ
- พ.ศ. ๒๔๘๔  เป็นสมาชิกสังฆสภา
- พ.ศ. ๒๔๘๖  เป็นกรรมการเถรสมาคมธรรมยุต
- พ.ศ. ๒๔๙๔  เป็นเจ้าคณะอำเภอดุสิต ปทุมวัน พระโขนง บางเขน บางกะปิ (ธรรมยุติ)
- พ.ศ. ๒๕๐๑  เป็นรองประธานสังฆสภา รูปที่ ๒ รวม ๒ สมัย
- พ.ศ. ๒๕๐๓  เป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษา และเป็นแม่กองธรรมสนามหลวง
- พ.ศ. ๒๕๐๓  เป็นเจ้าอาวาสวัดราชผาติการาม
- พ.ศ. ๒๕๐๘  เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร)  ถึงมรณภาพเมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖  สิริชนมายุได้ ๘๖ ปี ๖ เดือน ๑๑ วัน



         



* กาลิก : ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ตามเวลาที่กำหนดให้ มี ๓ อย่าง เรียกว่า ยาวกาลิก คือ ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน  ได้แก่ข้าวปลาอาหาร,   ยามกาลิก คือ ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียงวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่น้ำอัฐบาน,  สัตตาหกาลิก คือ ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง ๗ วัน ได้แก่เภสัชทั้ง ๕





รวบรวมโดยกิมเล้ง : http://www.sookjai.com

ข้อมูล

- อังกุรปัญญานุสรณ์ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๕
- http://www.อัครนันท์.com
- พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕







.

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น: พระธรรมปาโมกข์ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
ธรรมะจากพระอาจารย์
หมีงงในพงหญ้า 0 1919 กระทู้ล่าสุด 28 มีนาคม 2555 02:28:48
โดย หมีงงในพงหญ้า
พระธรรมปาโมกข์รูปที่ ๖ : สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
Kimleng 0 3614 กระทู้ล่าสุด 16 เมษายน 2555 13:42:31
โดย Kimleng
พระธรรมปาโมกข์รูปที่ ๑๒ : สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ทิม อุฑาฒิโม)
พุทธประวัติ - ประวัติพระสาวก
Kimleng 0 5153 กระทู้ล่าสุด 26 เมษายน 2555 19:51:36
โดย Kimleng
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1304 กระทู้ล่าสุด 28 กุมภาพันธ์ 2560 20:00:08
โดย ใบบุญ
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) วัดสุปัฏนารามฯ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
ประวัติพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ในยุคปัจจุบัน
ใบบุญ 0 1071 กระทู้ล่าสุด 02 กันยายน 2560 12:38:53
โดย ใบบุญ
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.482 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 17 มกราคม 2567 06:41:42