[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 00:27:05 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หนทางสู่สันติภาพโลก บทสัมภาษณ์ องค์ทาไลลามะ  (อ่าน 2756 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 21 มิถุนายน 2553 20:32:51 »

เขียนโดย ดร. แอล เอ็ม สิงวี, ดร.แคทเธอรีน เรน
 




ข้าพเจ้ายินดีมากที่ได้ร่วมฟังปาฐกถาขององค์ทะไลลามะในปี ๒๕๔๗ และข้าพเจ้าก็ยินดียิ่งที่ปาฐกถาได้ถูกจัดพิมพ์ขึ้น การได้อ่านเรื่องที่ท่านปาฐกถาอีกข้าพเจ้าก็สะดุดอีกครั้งจากปัญญาอันเฉียบแหลมและความลึกซึ้งในคำสอนของพระองค์ รวมทั้งพระอารมณ์ขันซึ่งสอดแทรกอยู่ตลอด ปัญญาและความรักต่อชีวิตนี้เองที่ปลอบประโลมและเป็นแรงบันดาลใจให้ชาวธิเบตตลอดหลายปีแห่งความยากลำบากและถูกรังแก รวมทั้งสร้างความหวังต่ออนาคตร่วมกันกับศาสนาและวัฒนธรรมอันล้ำค่าของพวกเขา
 
 
 
 
เจ้าฟ้าชายชาลส์ มกุฏราชกุมารอังกฤษ

 
บทนำโดย ดร. แอล เอ็ม สิงวี
 
 
 
ใตัฝ่าพระบาท ฝ่าบาท สหายผู้อุทิศตนของเทเมนอส สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีทั้งหลาย เทเมนอสเป็นตัวแทนแห่งสถานที่สิ่งศักสิทธิ์ บรรยากาศแห่งการตื่นรู้และพากเพียรทางจิตวิญญาณ แก่นแท้ทางจริยธรรมของมนุษยชาติในการแสวงหาสันติภาพอย่างต่อเนื่องยาวนาน พระอุปถัมภ์ต่อเทเมนอสและเป้าหมายของเทเมนอสอย่างต่อเนื่องทำให้เทเมนอสเข้มแข็งและมีคุณค่าอย่างยิ่ง และพระอุปถัมภ์ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ความเฉียบแหลม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกียรติยศที่แคเทอรีน เรน ได้ติดต่อกับพระองค์ เธอได้ใช้สิ่งเหล่านั้นทุ่มเทให้กับชีวิตและงาน รวมทั้งแบ่งปันให้แก่เรา เราระลึกถึงไม่ใช่เพียงเก้าสิบห้าปีของอายุเธอ แต่เป็นสิ่งที่เธอทำตลอดทั้งชีวิตด้วย

 
 
กล่าวกันว่าพระเจ้าให้ความทรงจำแก่เราเพื่อเราจะได้มีดอกกุหลาบในเดือนธันวาคม ฤดูหนาวในโลกที่พร้อมรบ ความทรงจำถึงแคทเทอรีน เรน คือกุหลาบในสวนของเทเมนอส และในสวนของโลกใบนี้ และสวนนั้นอยู่รอดและผลิบานเพราะความรักและเอาใจใส่จากพระองค์ และพระอุปถัมภ์ต่อคุณค่าซึ่งอุทิศให้แก่การบ่มเพาะและทำนุบำรุงความศิวิไลซ์ และความพากเพียรในการรักษาและส่งเสริมความศิวิไลซ์
 
 
 
องค์ทะไลลามะ แคทเทอรีน เรน ปรารถนาให้พระองค์แสดงปาฐกถาระหว่างความเชื่อของเทเมนอสซึ่งเธอตั้งชื่อตามข้าพเจ้า ใต้ฝ่าพระบาทและองค์ทะไลลามะทรงทำให้เป็นจริง ข้าพเจ้ารู้สึกว่าแคทเทอรีน เรนอยู่ที่กลางโถงนี้ สำหรับเทเมนอสแล้วนี่คือมรดกอันล้ำค่าของเธอ มรดกแห่งตะวันออกและตะวันตก แห่งการไหลของจักรวาลของแม่น้ำแห่งจินตนาการ ด้วยจิตสำนึกอันบริสุทธิ์ของมนุษย์ ฝ่าพระบาท ธารแห่งจิตสำนึกอันบริสุทธิ์จากต่างสายศาสนาความเชื่อมาบรรจบและผสมผสานกันวันนี้ และสัญญาจะคลี่แผนที่แห่งสันติภาพและความหวังดี ซึ่งข้าพเจ้ามั่นใจว่าจะกระตุ้นและเสริมสร้างโครงการของเราที่จะนำมนุษยชาติกลับมาจากรกพงแห่งความรุนแรง โลภ อำนาจและการวิวาทชกต่อยใช้กำลังซึ่งคุกคามโลกของเราและอนาคตร่วมของเรา
 
 
 
การจะแนะนำองค์ทะไลลามะที่14 ข้าพเจ้าต้องขอใช้วลีในวรรณคดีอินเดียโบราณ เพื่อถือตะเกียงล้อตะวัน องค์ทะไลลามะไม่เพียงแต่เป็น "แสงแห่งเอเซีย" ยังเป็นเปลวไฟนำทางแด่ความศิวิไลซ์แห่งโลกยุคใหม่ โอลิมปิกแห่งสันติภาพ หากพระองค์เป็นตัวแทนพระพุทธเจ้าที่แท้ พระมหาวีระ พระกฤษณะ พระเยซูคริสตเจ้า ขงจื้อ เต๋า และมหาตมา คานธี แห่งศตวรรษที่ ๒๐ ของเรา และนักบุญและผู้รับใช้ที่ยิ่งใหญ่ในหลายช่วงประวัติศาสตร์อีกด้วย พระองค์ทรงเป็นทั้งศาสดาหลักและผู้เผยแพร่สันติภาพในยุคสมัยของเรา ทรงพระราชดำเนินตามรอยมหาตมา คานธี นี่คือพระอาจารย์เจ้าผู้ยิ่งใหญ่และ พระโพธิสัตว์ ตำนานซึ่งยังงมีชีวิตแห่งปัญญา ความรักและความกรุณา และผู้สาดแสงแห่งการตรัสรู้อันไร้มลทินเริ่มแรกในอรุณรุ่งท่ามกลางความวุ่นวายสับสน ตัวอย่างและคำสอนอันสูงส่งของพระองค์เป็นแหล่งกำเนิดแสง อาจกล่าวได้ว่าพระองค์ทรงเป็นเสียงสะท้อนแห่งความผิดชอบชั่วดีของมนุษยชาติ และสัญลักษณ์แห่งความหวังของการกลับมาของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของจิตใจและวิญญาณของมนุษย์
 
 
 
 
ใต้ฝ่าพระบาท ฝ่าบาท ข้าพเจ้าขอภาวนาให้พระองค์อุทิศปาฐกถาในวันนี้ เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่แคทเทอรีน เรน ซึ่งเอื้อเฟื้อเสนอชื่อข้าพเจ้าแทนข้อเสนอของข้าพเจ้าที่ให้ตั้งตามชื่อเธอ เธอกล่าวว่าเพื่อฉลองสมาคมชูมัคเกอร์เมื่อสองสามปีก่อน และบรรยายถึงโลกที่เราอาศัยอยู่ และโลกซึ่งเรามีความปรารถนา
ที่จะเล่นในป่าแห่งโลกอันเยี่ยมยอด
ที่ซึ่งคนเป็นทาสแห่งเครื่องจักร
ภาพแห่งจิตใจที่มีเหตุผลเกือบรื่นเริง
ทุกสิ่งมีชีวิตเชื่อฟัง

 
 
แล้วเธอก็เพิ่มว่า
ความสุข อมตะ สิ่งมีชีวิตในโลก
สิ่งที่ไม่รู้ ไม่รู้ใครสร้าง
และเพื่อนำกลับมาจากการไร้ตัวตน
เพรียกจากใจกลางกำเนิดแห่งชีวิต เหลือคณานับ
ถอดรองเท้าเพื่อพื้นศักสิทธ์
ถอดรองเท้าเพื่อพื้นศักสิทธ์
เสียงยังคงเพรียกหาเรา ไม่ว่าจะได้ยินหรือไม่
กระทั่งใบหญ้าเขียวสุดท้าย
 
 
 
ดังที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ เธอเป็นมโนภาพแห่งความปลื้มปิติในทุกสิ่ง เราทุกคนจะร่วมและปรารถนาที่จะได้มาและซึมซับมโนภาพแห่งความปิติจากรัศมีที่องค์ทะไลลามะ อยู่ที่นี่ในวันนี้ เรามีความมุ่งมั่นร่วมกันที่จะแสวงหาสันติภาพด้วยหนทางแห่งมนุษย์สู่สันติภาพ ข้าพเจ้า รู้สึกเป็นเกียรติ์และภาคภูมิอย่างยิ่งแทนพวกเราทุกคนที่จะได้รับแสงและความโชติช่วงจากพระองค์ที่ทรงอยู่ท่ามกลางพวกเรา และได้รับแรงบันดาลใจจากตัวอย่างและคำสอนของพระองค์ ขอบพระคุณ

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 21 มิถุนายน 2553 20:33:19 »

หนทางสู่สันติภาพโลก

องค์ทะไลลามะ
 
 
 
 
ใต้ฝ่าพระบาท ดร.สิงวี สมาชิกสถาบันเทเมนอส และแขกผู้มีเกียรติ ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเชิญมาปาฐกถาระหว่างความเชื่อของ แอล เอ็ม สิงวี ในปีนี้ ก่อนอื่น ข้าพเจ้าอยากขอถือโอกาสแสดงความขอบคุณที่ท่านให้เกียรติ์ ตอนกล่าวนำ ดร.สิงวีได้กล่าวถึงการจากไปของ กวีแคทเทอลีน เรน ผู้ก่อตั้งสถาบันเทเมนอส เมื่อได้ฟัง ข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจมาก ดังนั้นข้าพเจ้าจึงอยากขอถือโอกาสนี้ให้ผู้ฟังทุกท่านใช้เวลาสองสามนาทีระลึกถึงงานของเธอและสวดมนตร์ให้เธอ
 
 
ข้าพเจ้าคิดว่านี่เป็นหนทางของทุกคน ท้ายที่สุดแล้วเราทุกคนก็ต้องไปทางนั้น ไม่ว่าเราจะมีพลานามัยดีสักเพียงใด เราทุกคนก็มีขีดจำกัดนั้นเหมือนกันหมด เวลาเคลื่อนไปตลอด ซึ่งอยู่เหนือการควบคุมของเรา เวลาไม่เคยหยุดนิ่ง แต่เคลื่อนไป วัน คืน ชั่วโมง นาที วินาที สิ่งสำคัญคือเราสามารถใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์ได้หรือไม่ หรือว่าเราใช้ไปอย่างสูญเปล่า หรือแย่ที่สุดคือ ใช้เวลาอย่างทำลายล้าง นี่ขึ้นอยู่กับเรา ในกรณีของ ดร.เรน เธอไม่อยู่กับเราแล้ว แต่จิตวิญญาณ วิสัยทัศน์ของเธอยังคงอยู่ นี่คือคุณสมบัติที่ดีของมนุษย์ ที่สามารถคิดไกลไปข้างหน้าและมองมุมกว้าง ถึงแม้ทุกสรรพสิ่งจะเคลื่อนไหวได้ แต่เพราะว่าสติปัญญาของมนุษย์ เพราะศักยภาพของมนุษย์ ในการมองเห็นสิ่งต่างๆอย่างลึกซึ้งและสามารถคิดถึงอนาตคข้างหน้า มนุษย์เราจึงได้วิเศษมาก ทว่าด้วยสติปัญญาของมนุษย์นี่เอง ในหมู่มวลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายแสนหลายล้านเผ่าพันธ์ ข้าพเจ้าคิดว่ามนุษย์เราเป็นตัวสร้างปัญหาที่เลวร้ายที่สุด ข้าพเจ้าเคยกล่าวกับสหายว่าถ้าอยากให้โลกสงบสุขจริงๆ ก็ควรทำให้มนุษย์หายไป
 
 
แต่ในขณะเดียวกัน ข้าพเจ้าก็คิดว่ามีเพียงมนุษย์เท่านั้นที่สามารถรักษาโลกไว้ได้ และเพียงมนุษย์เท่านี้ที่สามารถพัฒนาความไม่เห็นแก่ตัวอย่างไม่สิ้นสุดได้ ด้วยปัญญา เรามีศักยภาพมากกว่าที่จะช่วยเหลือกันและกัน ดังนั้นแทนที่พวกเราหลายคนมีคุณสมบัติไม่ดีหรือมีแนวโน้มจะมีคุณสมบัติไม่ดี เรายังมีศักยภาพที่จะทำสิ่งดีๆเหลือคณา ดังนั้นข้าพเจ้าคิดว่าก่อนอื่นเราควรมีความมั่นใจในตนเอง เราเป็นมนุษย์ เราสามารถทำสิ่งที่ดีได้มากมาย และสิ่งที่ไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น แต่เป็นประโยชน์เหลือคณานับแก่ตนเองด้วย นี่เป็นเพียงความเห็นที่เกิดขึ้นเมื่อได้ยินคำกล่าวถึงดร.แคทเทอลีน เรน
 
 
เมื่อได้ยินดร.สิงวี สหายของข้าพเจ้ากล่าแนะนำข้าพเจ้า ข้าพเจ้าคิดว่าเขาได้กล่าวถึงคุณสมบัติที่ดีหลายประการซึ่งเกินจริง นี่ค่อนข้างจะเป็นความเห็นที่เกินจริงไปหน่อยนะสหาย แต่ก็ขอบคุณมาก
 
 
ที่นี้มาพูดถึงปาฐกถาของข้าพเจ้าเรื่อง "หนทางสู่สันติภาพโลก" บางทีข้าพเจ้าอาจอธิบายบางอย่างเกี่ยวกับสันติภาพ สันติภาพคืออะไร แล้วการเป็นมนุษย์คืออะไร และอะไรเป็นหนทางของมนุษย์เรา ข้าพเจ้าไม่คิดว่านี่เหมาะกับผู้ฟัง แต่ก็อยากจะเล่าแบบนี้ ไม่ว่าท่านจะชอบหรือไม่ ข้าพเจ้าก็จะเล่า อย่างแรกเลย ข้าพเจ้าคิดว่า สันติภาพคือ พื้นฐานของความก้าวหน้า พื้นฐานของความสุข พื้นฐานของการปรับปรุง โดยธรรมชาติแล้วเราชอบสิ่งที่งอกงาม เราชอบฤดูใบไม้ผลิ เมื่อทุกสิ่งงอกงามและสดใหม่ ในใจเราคิดว่านี่คือสิ่งดี ทำให้เราอารมณ์ดี และโดยส่วนตัวแล้วทุกเช้า ตอนเช้าตรู่ เมื่อข้าพเจ้ารู้สึกสดชื่นหลังจากหลับสนิท ไม่ฝันร้าย ในเวลาเช่นนั้น ตอนเช้าตรู่ ทุกสิ่งดูสดใหม่มาก ดังนั้นข้าพเจ้าคิดว่าเรารักสิ่งที่งอกงาม ในฤดูใบไม้ร่วงหรือฤดูหนาว ใบไม้ร่วงหล่น เรารู้สึกไม่ค่อยสบายนัก นี่แสดงให้เห็นว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของสรรพสิ่ง ส่วนหนึ่งของธรรมชาติ สำหรับเราแล้ว สันติภาพหมายถึงพื้นฐานของสิ่งที่งอกงาม ตรงกันข้ามกับสันติภาพ คือความรุนแรง สงคราม คือการสิ้นสุด การทำลายล้าง ดังนั้น สันติภาพเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการดำรงอยู่ของเรา และชีวิตเรา ความสุขในชีวิตของเรา
 
 
สันติภาพไม่ได้เป็นเพียงการปราศจากสงคราม สันติภาพเป็นมากกว่านั้น ข้าพเจ้าคิดว่าท่านไม่อาจพูดได้ว่า ดอกไม้คือสันติภาพ สันติภาพเกี่ยวข้องอย่างมากกับความตั้งใจ ในบางสถานการณ์มีความเป็นไปได้ว่าจะก่อให้เกิดความรุนแรง แต่ก็ถูกควบคุมได้ นั่นไม่ใช่สันติภาพที่แท้ ไม่ใช่เพียงแต่ไม่เกิดความรุนแรง แต่มีความตั้งใจลดเหตุที่จะนำไปสู่ความรุนแรง นั่นคือสิ่งที่ข้าพเจ้าคิดว่าคือสันติภาพที่แท้ ดังนั้นสันติภาพก็คือสถานะของจิตใจหรืออารมณ์ บางทีเราอาจกล่าวได้ว่าสันติภาพคือนิรมานกายของความกรุณา ของความรัก อาจไม่มีความรุนแรงหลายปี บางทีเป็นเพราะความกลัว แต่นั้นไม่ใช่สันติภาพที่แท้ แต่สันติภาพเกิดจากความรู้สึกเป็นพี่เป็นน้องกัน จากความรู้สึกเคารพและห่วงใยผู้อื่น นั่นคือสันติภาพที่แท้ ดังนั้น สันติภาพจึงขึ้นอยู่กับความตั้งใจโดยผิวเผินแล้วเราไม่อาจแยกสันติกับความรุนแรง เราไม่อาจแยกได้ บางทีความรุนแรงที่สุดอาจจะดูเหมือนสงบสุขมาก ตัวอย่างเช่น มีคนโกงผู้อื่น เอาเปรียบผู้อื่น หาผลประโยชน์จากผู้อื่น ซึ่งอาจใช้วิธีการที่นิ่มนวล หรือเรียกว่าวิธี "เป็นมิตร" แต่ความตั้งใจจริงคือพยายามทำร้าย นั่นคือความรุนแรงที่เลวร้ายที่สุด ไม่ใช่สันติภาพ
 
 
คำถามที่ซับซ้อนกว่านั้นคือ มนุษย์คืออะไร ร่างกายนี้คือมนุษย์รึ ไม่ใช่ จิตใจนี้หรือคือมนุษย์ ไม่ใช่ ปัญหาก็คือ การที่จะรู้จักมนุษย์เราต้องรู้ว่าตัวตนหรือสรรพสิ่งคืออะไร และการที่จะรู้จักสรรพสิ่ง เราต้องรู้ว่าการมีอยู่คืออะไร การมีตัวตนคืออะไร การมีตัวตนนี่ง่าย ท่านเห็นได้ สัมผัสได้ รู้สึกได้ แต่นอกเหนือจากนั้น ธรรมชาติของการมีตัวตนคืออะไร นี่เกี่ยวข้องกับการทดลองทางปรัชญามากมาย ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นการทดลองสองทาง ทั้งภายนอกและทางตรรกะหรือทางจิตใจ เพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งหนึ่งมีอยู่หรือไม่ ในการมีตัวตน เรารู้สึกถึงพลังการรับรู้ นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่าสรรพสิ่ง เราสามารถเคลื่อนไหวได้ ฯลฯ แต่เราไม่ได้เป็นเพียงสรรพสิ่ง เราเป็นมนุษย์ มนุษย์เป็นสรรพสิ่งที่มีความรู้สึกและศักยภาพการรับรู้เฉพาะเนื่องจากรูปร่างแตกต่างจากอมนุษย์หรือสัตว์ชนิดอื่น ส่วนใหญ่ขึ้นกับร่างกาย แต่ด้วยร่างกายและสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมอง ซึ่งเป็นสมองชนิดพิเศษ ซ้ำยังมีจิตใจที่แตกต่างออกไปด้วย ด้วยร่างกายมนุษย์ เราอาจกล่าวได้ว่ามีจิตใจมนุษย์ แต่ธรรมชาติของตัวตนก็ยังไม่ชัดเจนนัก ร่างกายเองและจิตใจ เป็นพื้นฐานของตัวตน แต่ไม่ใช่ "ตัวตน" เอง อย่างน้อยสองสามพันปีมานี้ ตามแนวคิดอินเดียโบราณดั้งเดิม มีการตรวจสอบคำถามนี้มากมาย "ฉันคืออะไร ธรรมชาติของตัวตนคืออะไร" ดังนั้นจึงมีแนวคิดหลายอย่างเกี่ยวกับ อาตมัน อนัตมา วิญญาณ
 
 
 
ในทางพระพุทธศาสนา มีการตีความหรือคำอธิบายแนวคิดของ "ตัวตน" อยู่มากมาย นี่เป็นเรื่องค่อนข้างซับซ้อน แต่ก็น่าสนใจมากด้วย ค้นหาเกี่ยวกับคำถามว่า "ตัวตนคืออะไร" บางครั้งก็เป็นประโยชน์ที่จะภาวนาหรือค้นหา เมื่อท่านมีเวลาเงียบๆ ที่จะคิดว่า "ฉันอยู่ที่ไหน ที่นี่ รึนี่รึนี่รึนี่ น่าสนใจมากทีเดียว แล้วเราก็สามารถสังเกตจิตใจตนเอง แล้วผู้สังเกตการณ์ก็กลายเป็นสภาวะของจิตใจ เดี๋ยวนี้ โดยไม่ต้องคิด ไม่ต้องค้นหาให้ยุ่งยาก ทุกคนมีความรู้สึกถึง "ฉัน" ว่าเป็นมนุษย์ "ฉัน" เป็นตัวตนของมนุษย์
 
 
 
เมื่อมาถึงคำถามเรื่องหนทางของมนุษย์ เริ่มแรกเราต้องรู้จักธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ ข้าพเจ้าเชื่อว่าธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์คือความอ่อนโยน เหตุผลก็คือหลังจากเราเกิดมาได้ไม่ทันไร ชีวิตของเราก็มีพื้นฐานของความรักต่อเพื่อนมนุษย์อยู่มาก นักวิทยาศาสตร์กล่าวกันว่า หลังคลอดสัมผัสของแม่สำคัญยิ่ง เป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาสมองอย่างเหมาะสม นี่แสดงให้เห็นว่าสัมผัสของแม่สำคัญมากทางชีววิทยา ไม่เพียงแต่ต่อการดำรงอยู่ แต่ต่อการพัฒนาสุขภาพที่ดีด้วย ข้าพเจ้าคิดว่าปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างคือเราเป็นสัตว์สังคม การดำรงอยู่ของเราขึ้นกับผู้อื่น ยกตัวอย่างแมลงหรือสัตว์อื่น สัตว์สังคมชนิดใดก็ได้ การดำรงอยู่ของแต่ละตัวขึ้นกับฝูง มันมีกฏแห่งความอยู่รอดตามธรรมชาติ ไมใช่ตามความเชื่อทางศาสนา ไม่ใช่จากการเมือง แต่เป็นโดยธรรมชาติ
 
 
แล้วด้วยความสงสัยของข้าพเจ้าเอง ข้าพเจ้าคิดถึงสิ่งมีขิวิตต่างๆหลายชนิด เช่น เต่า สิ่งมีชิวิตเหล่านี้ แม่เพียงแต่วางไข่ แล้วบางทีแม่ก็ตาย ไม่มีโอกาสที่แม่จะพบลูก ลูกต้องอยู่รอดด้วยตัวเอง ถ้าใครมีโอกาสทดลองให้แม่เต่าวางไข่ แล้วลูกเต่าเกิดมาและต้องเอาตัวรอดเอง ทีหลังให้แม่ลูกมาอยู่ด้วยกัน ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถแสดงความรักต่อกันได้หรือไม่ ข้าพเจ้ายังสงสัย บางทีอาจยิ่งเสี่ยงว่าแม่จะกินลูก แต่กับมนุษย์ เรื่องนี้ต่างกันมาก ทารกจะอยู่รอดได้ต้องมีนมแม่ ความเอาใจใส่ของแม่ ดังนั้นด้วยธรรมชาติที่แท้และทัศนะต่อสิ่งต่างๆของเด็ก ความรู้สึกใกล้ชิดที่สุดจึงมีต่อแม่ การจดจำตามธรรมชาติขึ้นกับแม่ ส่วนแม่เองก็เป็นธรรมชาติที่จะเอาใจใส่เต็มที่ด้วย นี่เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ในระดับนั้นค่อนข้างชัดว่าความรัก ความเมตตาของมนุษย์ ไม่ได้มาจากศาสนา แต่มาจากธรรมชาติทางชีววิทยา ถึงแม้ว่าเมื่อเราโตขึ้น เราอาจรู้สึกเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ไม่ต้องการความเอาใจใส่จากผู้อื่น ยังคนมีจิตใจเข้มแข็ง คนที่เป็นตัวของตัวเองที่มีกลุ่มเพื่อนห้อมล้อมก็จะมีความสุขกว่า ลึกๆแล้วพวกเขาจะเป็นมิตรกว่า ยิ้มมากกว่า มีเมตตากว่า แล้วก็จะมีความสุขกว่าแม้ในบั้นปลาย ตอนจะตาย ข้าพเจ้าคิดว่าทั้งสองฝ่าย ทั้งคนที่ใกล้ตายและเพื่อนที่ห้อมล้อม รู้ว่าจะไม่ได้อยู่ด้วยกันแล้วแต่ก็ยังแสดงความรักต่อกันเพื่อผู้ใกล้ตายมีความสุขยิ่งขึ้น สงบยิ่งขึ้น นี่เป็นเครื่องชี้วัดอย่างชัดเจนว่าธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ต้องการความรัก ด้วยความเฉลียวฉลาดของมนุษย์ เราควรเห็นว่าเราจะบ่มเพาะสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร สัตว์อื่นไม่อาจทำได้ ข้าพเจ้าคิดว่าการตระหนักถึงธรรมชาติพื้นฐานของเราเป็นสิ่งสำคัญมาก ธรรมชาติของเรายังมีส่วนเลวร้ายอื่นอีก แต่เมื่อเทียบกันแล้วส่วนดีมีมากกว่า ความโกรธ ก้าวร้าว มีเป็นครั้งคราว แต่ไม่ใช่ทั้งชีวิต ข้าพเจ้าไม่คิดว่าตั้งแต่แรกเกิดเด็กจะก้าวร้าวต่อแม่ ข้าพเจ้าว่าไม่ แล้วก็ตอนตาย คนใกล้ตายจะก้าวร้าวต่อพยาบาลหรือหมอรึ ข้าพเจ้าว่าไม่ ความอ่อนแอ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ไม่ได้เป็นพื้นฐานของความก้าวร้าว ความก้าวร้าวมีเป็นครั้งคราว แต่ข้าพเจ้ารู้สึกว่า สิ่งที่เป็นพื้นฐานครอบงำชีวิตเราคืออารมณ์ที่ดี ดังนั้นเราสามารถสรุปได้ว่าธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์คิอความอ่อนโยน
 
 
 
เอาล่ะ อย่างที่กล่าวไปแล้ว หนทางของมนุษย์ต่อสันติภาพนั้นสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแรงจูงใจ แรงจูงใจเมตตา และธรรมชาติของมนุษย์ก็เมตตาอย่างยิ่ง ทุกสัมผัสของมนุษย์ ทุกคำพูด ทุกการกระทำ มีประสิทธิภาพด้วยความอ่อนโยนหรือจิตใจกรุณา ข้าพเจ้าคิดว่านี่เรียกได้ว่าเป็นหนทางของมนุษย์ เช่นเดียวกับสงคราม ความรุนแรงไม่อาจเกิดได้โดยบังเอิญ ถึงแม้บางครั้งเหตุที่เกิดนั้นอาจไม่ตั้งใจ แต่โดยมากเกิดจากเราสร้างขึ้นมาเอง ปัญหาสำคัญของทนุษย์ทุกวันนี้ เช่น อากาศเปลี่ยน หรือแผ่นดินไหว มีเหตุที่อยู่ลึกมากๆ อาจเชื่อมโยงจากพฤติกรรมของเรา แต่ตามธรรมดาแล้วอยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา แต่ปัญหาอื่นอีกมากคนสร้างขึ้นทั้งนั้น สิ่งเลวร้าย หายนะ เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เกิดจากแรงจูงใจ ซึ่งมีอารมณ์เป็นที่ตั้ง อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย
 
 
อะไรดี อะไรร้าย ตามแนวคิดจริยธรมศาสนา ข้าพเจ้าเชื่อว่า เราไม่อาจกล่าวได้ว่าสิ่งใดดีสิ่งใดร้ายไปทั้งหมด ดีและร้ายเกี่ยวพันกัน ขึ้นกับการกระทำและผลลัพธ์ การกระทำหรือแรงจูงใจใดที่ในที่สุดแล้วนำมาซึ่งความสุขคือเรื่องดี แล้วเราต้องการความสุขไปทำไม ไม่จำเป็นต้องหาเหตุผล แค่ความรู้สึก เช่นเดียวกับที่ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่ามี "ฉัน" ไม่มีความจำเป็นต้องพิสูจน์ว่าทำไมเราต้องการความสุข เพราะว่าเราต้องการความรู้สึกเช่นนั้นตามธรรมขาติ นั่นก็คือพ้ืนฐาน ที่ทุกสิ่งซึ่งนำความสุขมาให้นั้นดี ทุกสิ่งที่ในที่สุดนำความทุกข์มานั้นเลว ดังนั้นระดับอารมณ์และแรงจูงใจมีบทบาทสำคัญ
 
 
เราเห็นแล้วว่าส่วนสำคัญของธรรมชาติมนุษย์คือความกรุณา ทุกการกระทำ ทุกกิจกรรมของมนุษย์เกิดจากธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งดี ยกตัวอย่างเศรษฐกิจ ปัญหาบางอย่างเกิดจากระบบเศรษฐกิจ เช่นช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างคนรวนกับคนจน ในระดับโลกและระดับชาติ ข้าพเจ้าค่อนข้างมั่นใจว่ากรุงลอนดอนมีทั้งคนที่รวยมากและคนที่จนมากด้วย ข้าพเจ้าสังเกตเห็นว่าที่กรุงวอชิงตัน เมืองหลวงของประเทศที่รวยที่สุด ชานเมืองมีคนจนอยู่มาก และบางทีก็มีคนไร้บ้าน นี่ไม่เพียงแต่ผิดศีลธรรม ยังเป็นต้นตอของปัญหาอีกด้วย แล้วทางนิเวศวิทยา นี่เป็นความโลภมาก ผู้คนคิดถึงแต่กำไร ไม่เป็นห่วงผลกระทบต่อธรรมชาติเลย บริโภค บริโภค แล้วก็บริโภค ดูที่ท้องถนน มีรถเต็มไปหมด แล้วส่วนใหญ่มีคนนั่งคนเดียว ข้าพเจ้าว่าน่าจะมีจักรยานมากกว่านี้ (แต่ถ้าระยะทางไกลก็จำเป็น ข้าพเจ้าไม่รู้ แน่นอนว่าการขี่จักรยานมีประโยชน์ต่อสุขภาพมาก เมื่ข้าพเจ้ายังเด็ก ข้าพเจ้าชอบขี่จักรยาน แต่เดี๋ยวนี้ไม่แล้ว เพราะบนถนนเดี๋ยวนี้ ข้าพเจ้าว่าถ้าลองขี่ออกไปคงถูกรถทับ)
 
 
ดังนั้นทางนิเวศวิทยา ข้าพเจ้าสงสัยว่า ความกรุณาอยู่ที่ไหน ข้าพเจ้าเห็นแต่กำไร ทางหากำไร แล้วก็เห็นผลกระทบทันที ความกรุณาทำให้มองกว้าง ความโลภ ความเกลียด อารมณ์เลวร้ายเหล่านี้ทำให้จิตใจเราคับแคบ ลองดูตัวอย่างความเกลียด ตามธรรมดาอารมณ์เลวร้ายเช่นความเกลียดมีเป้าประสงค์เดียวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง กระทั่งสิ่งเลวร้ายก็ไม่ได้เกิดจากสาเหตุเดียว มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์เลวร้าย หลายปีก่อน เมื่อเกิดสงครามอ่าวเปอเซีย มีคนกล่าวว่า "เราไม่อาจโทษซัดดัม ฮุสเซนคนเดียว" เผด็จการนั้นโหดเหี้ยมและเลวร้ายอย่างไม่ต้องสงสัย เลวร้าย และโชคร้ายอย่างยิ่ง แต่เขาจะเป็นเช่นนั้นได้อย่างไรหากปราศจากกองทัพอันเกรียงไกร คนๆเดียวไม่อาจเป็นเผด็จการได้ แล้วกองทัพอันเกรียงไกรมีขึ้นได้อย่างไร ก็ด้วยอาวุธ หากปราศจากอาวุธก็มีเพียงมือเปล่าสองร้อยข้าง ทำอะไรมากไม่ได้ ต้องอาศัยอาวุธแล้วเขาผลิตปืนใหญ่ อาวุธขนาดใหญ่ได้เองหรือ เปล่าเลย มันมาจากประเทศอื่น ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าอัวกฤษมีส่วนด้วยหรือเปล่า ข้าพเจ้าไม่รู้ แต่ถ้ามีส่วนด้วยละก็ ที่สุดแล้วพวกท่านเองก็ช่วยสร้างเผด็จการ นี่คือความจริง กฏแห่งความเป็นเหตุเป็นผล
 
 
คิดถึงสงคราม ถึงความรุนแรง ความรุนแรง พูดทั่วๆไป ก็มาจากความเกลียด ความโกรธ ดังนั้นจังหวะที่เกลียด เราจึงมองไม่เห็นความเป็นจริง ถึงแม้ความรุนแรงบางอย่างอาจจำเป็น ท่านต้องทำด้วยความกรุณา ด้วยความห่วงใย โดยปราศจากอารมณ์เลวร้าย มองด้วยความเป็นจริง มองมุมกว้าง แล้วดูว่าจำเป็นจริงไหม แล้วค่อยกระทำรุนแรงบ้าง ดังนั้นถึงแม้จะมีความรุนแรง ก็จะเป็นความรุนแรงแบบมีมนุษยธรรม สงครามแบบมีมนุษยธรรม ปลอดภัยกว่า ตราบเท่าที่ยังมีมนุษย์ ปัญหาต่างๆก็ยังคงมีอยู่ เพราะเรามีมุมมองต่างกัน ความคิดต่างกัน ผลประโยชน์ต่างกัน จึงเป็นที่มาของความขัดแย้ง ทว่าทางแก้ที่ดีที่สุดก็ด้วยการพูดคุยกัน โดยที่ทั้งสองฝ่ายต้องเผชิญความจริงและเอาใจใส่ผลประโยชน์ของอีกฝ่ายอย่างจริงจัง แล้วพูดคุยกัน ข้าพเจ้าว่าทุกวันนี้ ความจริงคือทุกสิ่งเกี่ยวข้องกันไปหมด เชื่อมโยงถึงกัน ดังนั้นในความเป็นจริงจึงไม่มี "เรา" หรือ "เขา" อยู่อีกต่อไป ทุกส่วนของโลกคือส่วนหนึ่งของตัวเรา ดังนั้นการที่เพื่อนบ้านถูกทำลายก็คือเราถูกทำลายด้วย สงครามนั้นล้าสมัย หมดสมัยแล้ว ในสมัยโบราณ เมื่ออังกฤษยังมีอิสรภาพเต็มที่ ไม่ต้องพึ่งฝรั่งเศสหรือภาคพื้นยุโรป ทุกอย่างเอาชัยได้ด้วยสงคราม ท่านพยายามจะกำจัดอำนาจฝรั่งเศส ไร่นาฝรั่งเศส เรือฝรั่งเศส ทำให้ท่านมีชัยชนะ ทุกวันนี้ไม่จริงเสียแล้ว
 
 
 
ยกตัวอย่างศาสตราจารย์ใหญ่เดวิด โบห์ม (ข้าพเจ้าเรียนควอนตัมฟิสิกส์จากท่าน หรือควรพูดว่า ข้าพเจ้าพยายามจะเรียน แต่เมื่อข้าพเจ้าฟังท่านอธิบายเกี่ยวกับควอนตัมฟิสิกส์ ตอนนั้นเลย ข้าพเจ้ารู้สึกว่า "โอ้โห โอ้โห โอ้โห เข้าใจ เข้าใจ ดูเหมือนข้าพเจ้าเข้าใจ แต่ทันทีที่บรรยายจบ ไม่เหลืออะไรเลย เมื่ออาจารย์ของข้าพเจ้าแก่ อายุเก้าสิบปี สมองท่านไม่ค่อยดีแล้ว ถ้าข้าพเจ้าไปขอเรียนควอนตัมฟิสิกส์เพิ่ม ข้าพเจ้าว่าอาจารย์ที่รักคงรำคาญจนกล่าวว่า "ผมสอนท่านไปแล้ว" นั่นล่ะนักฟิสิกส์อังกฤษ เดวิด โบห์ม) ข้าพเจ้าฟังท่านบรรยายสองสามครั้ง ครั้งหนึ่งท่านเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่าเมื่อท่านยังเด็ก ในสายตาชาวเยอรมันทุกคน ชาวฝรั่งเศสเป็นศัตรู เดี๋ยวนี้ไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว ทุกวันนี้เอกภาพฝรั่งเศสเยอรมันนั้นใกล้ชิดกันมากจนบางคราวสร้างปัญหาให้อังกฤษ มิใช่หรือ เดี๋ยวนี้ความเป็นจริงคือทุกสิ่งพึ่งพากันและกัน เราต้องเข้าใจ เราต้องพูดคุย ประนีประนอม ยอมรับผลประโยชน์ครึ่งต่อครึ่ง สงครามไร้ประโยชน์ คุณค่าของมนุษย์ เรื่องความกรุณา เคารพซึ่งกันและกัน เป็นพี่เป็นน้องกัน ก่อให้เกิดการประนีประนอมและการพูดคุยกัน นั่นเป็นทางเดียวที่จะแก้ปัญหาที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมถึงปัญหาสันติภาพและสงคราม ด้วยหนทางของมนุษย์ นั่นคือความเชื่อพื้นฐานของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอถือโอกาสนี้ร่วมแสดงความเห็นเรื่องนี้
 
 
 
สำหรับคำถาม เมื่อ ดร.สิงวี สหายรักแนะนำข้าพเจ้าโดยกล่าวถึงคุณสมบัติที่ดีบางประการ บางทีสมาชิกบางท่านอาจคาดหวังเกินไป ตอนนี้ก็ชัดเจนแล้ว ถ้าท่านคาดหวังเกินไป ท่านก็กลับได้ แต่ถ้าท่านเห็นว่าบางประเด็นที่ข้าพเจ้ากล่าวน่าสนใจ คิดเพิ่ม ทดลอง วิเคราะห์เพิ่มเติม เราแต่ละคนมีความรับผิดชอบที่จะคิดเกี่ยวกับโลก แล้วเราก็มีศักยภาพที่จะสร้างโลกที่ดี เริ่มต้นจากแต่ละคน แล้วขยายสู่ครอบครัว แล้วก็ชุมชน การเปลี่ยนแปลงที่ดี หรือวิวัฒนาการระดับโลก ไม่ได้มาจากการแก้ปัญหาขององค์การสหประชาชาติ หรือการประชุมสุดยอดของผู้นำ ข้าพเจ้าไม่คิดว่าเป็นเช่นนั้น การเปลี่ยนแปลงต้องมาจากระดับรากหญ้า ระดับปัจเจกบุคคล มองจากมุมนั้น เราแต่ละคนมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงโลก ขอบคุณมาก
 
 
 
 
ถาม: ในโลกแห่งโลกาภิวัฒน์ ผู้คนรับเอาคุณค่าของตลาดเข้ามาในชีวิต ความรับผิดชอบหายไปกับข้อเสนอที่ดีที่สุด การแบ่งปันหายไปกับความเชื่อเรื่องความเห็นแก่ตัว เราจะสร้างคุณค่าของมนุษย์ขึ้นมาใหม่ได้อย่างไรในบรรยากาศของโลกวัตถุนิยม
 
 
องค์ทะไลลามะ: ข้าพเจ้าเชื่อว่าโลกมีทั้งกายและใจ ดังนั้นความสุขและความเจ็บปวดสำคัญในสองระดับ หนึ่งคือระดับกาย อีกหนึ่งคือระดับจิตใจ ระดับกายก็คือเครื่องอำนวยความสะดวกทางวัตถุ อีกระดับคือเสบียงหลักเพื่อความสุขทางจิตใจ ดังนั้นขณะที่การพัฒนาทางวัตถุจำเป็นยิ่ง ทางความสะดวกสบาย ความสุข อีกด้าน ในอีกระดับ ระดับจิตใจก็จำเป็นด้วย
 
 
 
ถ้าจะให้ยกตัวอย่าง ทุกวันนี้เราพูดถึง "การยิงฉันท์มิตร" บาดเจ็บจาก "การยิงฉันท์มิตร" ข้าพเจ้าเชื่อว่าทหารอังกฤษบางคนบาดเจ็บจาก "การยิงฉันท์มิตร" ลูกกระสุนไม่อาจแยกได้ว่าคุ้มที่จะยิงโดนหรือไม่ เมื่อเหนี่ยวไกปืน ลูกกระสุนกถูก็ยิงออกมา จึงเกิด "การยิงฉันท์มิตร" ในระดับกาย ไม่ว่าจะเป็นการยิงศัตรูหรือ "การยิงฉันท์มิตร" ก็เหมือนกัน แต่ในระดับจิตใจนั้นต่างกัน บางทีทหารบางคนอาจกล่าวว่า "นี่เป็นการยิงฉันท์มิตร" รับลูกกระสุนไปจูบรึ ไม่ใช่แน่ แต่ทหารบางคนอาจรู้สึกว่าการบาดเจ็บจากการยิงศัตรูนั้นมีเหตุผล ทว่าหากบาดเจ็บด้วย"การยิงฉันท์มิตร" จะถามว่า "ทำไม"
 
 
เมื่อเจ็บกาย ถ้าจิตใจรู้สึกว่าเจ็บกายมีเหตุผล บางทีแทนที่จะกังวล แทนที่จะเจ็บใจ อาจรู้สึกภูมิใจคิดว่า "ฉันเข้าใจว่าเจ็บกายนี้มีเหตุผล" ดังนั้นจึงมีสองสิ่ง สองระดับ หนึ่งคือระดับกาย จากประสาทสัมผัส และระดับจิตใจ ซึ่งเหนือกว่า อย่างชัดเจน
 
 
สามวันก่อน ข้าพเจ้าไปตรวจร่างกายที่บอมเบย์ เขาต้องใช้เข็มทิ่มที่นี่เพื่อเจาะเลือด แต่ไม่มีเลือดออก เขาก็ลองใหม่ เจ็บตัวเป็นสองเท่า แต่ข้าพเจ้าทราบว่าเขาต้องการตัวอย่างเลือด และเนื่องจากไม่มีเลือดออกตรงนี้ เพื่อประโยขน์ของข้าพดจ้าเอง ข้าพเจ้าก็ต้องเจ็บอีกครั้งที่นั่น ชัดเจนเลยว่าเจ็บกายข่มได้ด้วยการรับรู้ทางใจ แต่ในทางกลับกัน ถ้าเราใจไม่เป็นสุข ถ้าเราสงสัย โลภและเกลียด ก็จะส่งผลถึงทางกายด้วย ถ้าเรามีเพื่อนที่ดีห้อมล้อม มีเงินทองมากมาย มากด้วยอำนาจ แต่จิตใจไม่เป็นสุข เราก็ไม่อาจเป็นคนที่มีความสุขไปได้ ปัญหาทางใจ ความเจ็บปวดทางใจ ไม่อาจข่มได้ด้วยความสบายกาย ดังนั้นไม่ใช่แค่ประสบการณ์สองระดับ แต่ประสบการณ์ทางใจเหนือกว่าทางกาย ดังนั้นวัตถุไม่เพียงพอที่จะทำให้ชีวิตมีความสุขที่แท้ แน่นอนว่าเราต้องการความสะดวกสบายทางวัตถุ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรทิ้งคุณค่าภายใน ซึ่งเป็นพื้นฐานของความสุขทางใจ ถ้าเราวิเคราะห์อย่างรอบคอบ จากประสบการณ์ เราจะรู้ว่าสิ่งอำนวยความสะดวกทางวัตถุเป็นเพียงคำตอบเพียงครึ่งเดียวต่อความต้องการความสุข ความเชื่อที่ว่าเราจะมีชีวิตที่มีความสุขด้วยการเป็นเจ้าของสิ่งอำนวยความสะดวกทางวัตถุ นี่เป็นสิ่งผิด ไม่ใช่หลักการหรือคำสอนทางศาสนาที่แท้ เดี๋ยวนี้กระทั่งวิทยาศาาคร์ก็เริ่มตระหนักว่าปัจจัยทางจิตใจมีส่วนสำคัญยิ่งต่อสุขภาพที่ดี
 
 
 
 
ถาม: จะเป็นไปได้อย่างไรที่จะมีความพยายามสร้างสันติภาพที่ดีขึ้นโดยมีผู้นำทางศาสนาและจิตวิญญาณร่วมอยู่ด้วยและมีอิทธิพลต่อผู้นำทางการเมือง
 
 
องค์ทะไลลามะ: ข้าพเจ้าไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญที่จะตอบคำถามนี้ได้ ข้าพเจ้าเชื่อว่าสมาชิกทุกคนในสังคม ไม่ใช่แต่ผู้นำทางศาสนาหรือการเมือง แต่สาธารณชนก็ต้องมีบทบาทด้วย ส่วนสำคัญผ่านทางการศึกษา ผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษา ตั้งแต่อนุบาลจนระดับอุดมศึกษา ต้องให้การศึกษาเพื่อทำให้การพูดจากันเป็นวิธีเดียว และสอนว่าความรุนแรงมีผลข้างเคียงอย่างมาก คุณสมบัติที่เลวร้ายที่สุดของความรุนแรงคือการไม่อาจคาดเดาได้ ถึงแม้แผนเริ่มแรกอาจใช้ความรุนแรงเพียงเล็กน้อย เมื่อทำไปแล้วมีปฏิกริยาลูกโซ่ นี่ดูเหมือนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในอิรักเดี๋ยวนี้ ซึ่งน่าเศร้ามาก ถึงแม้ความตั้งใจเดิมดูจะบริสุทธิ์ แต่เมื่อมีความรุนแรงเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็เริ่มควบคุมไม่ได้ ด้วยการศึกษา ด้วยความเข้าใจ ขณะที่เราส่งเสริมสันติวิธี สันติภาพ เราต้องแสดงวิธีเผชิญปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ที่เรียกว่า การพูดจากัน
 
 
 
เพียงแต่ใช้คำขวัญ "สันติวิธี" ไม่พอ ปัญหายังคงอยู่ เราต้องแสดงวิธีที่จะจัดการกับปัญหาด้วยสันติวิธี ข้าพเจ้าคิดว่าการให้การศึกษาที่ถูกต้องตั้งแต่ต้นเป็นสิ่งสำคัญ ข้าพเจ้าาเชื่อว่าเด็ก นักเรียน ควรถูกสอนแนวคิดสันติวิธีและการพูดจากัน ตั้งแต่อายุน้อยๆ เพื่อให้เขาคุ้นเคยและใช้กับจิตใจตนเอง เมื่อเขาเห็นพ่อแม่ทะเลาะกัน เด็กหรือนักเรียนก็จะคิดว่า "จะแก้ปัญหาด้วยการพูดจากันได้อย่างไร" ตามปกติแล้วเมื่อเรามีความขัดแย้งหรือเห็นไม่ตรงกัน แนวโน้มก็คือการใช้กำลัง ข้าพเจ้าคิดว่านี่เป็นสิ่งผิด ด้วยการอบรม ด้วยการศึกษา ด้วยความเข้าใจ เมื่อใดที่เรามีความเห็นไม่ตรงกันหรือความขัดแย้ง เราต้องหาทางออกด้วยการพูดจา นี่คือความเห็นของข้าพเจ้า
 
 
 
ถาม: พระองค์ทรงงานหนักเพื่อการปกครองตนเองของธิเบต และเมื่อสองปีก่อน ฑูตของพระองค์เดินทางไปเมืองจีนและธิเบตสองครั้ง รัฐบาลจีนยังคงจะให้พระองค์เลิกเรียกร้องอิสรภาพ พระองค์คิดว่าจะทรงทำอะไรได้อีกที่จะทำให้เจ้าหน้าที่จีนเชื่อความจริงใจของพระองค์
 
 
 
องค์ทะไลลามะ: นี่เป็นคำถามการเมือง ขาพเจ้าไม่ได้แสวงหาอิสรภาพ ข้าพเจ้าไม่ได้ต้องการแบ่งแยกเพราะผลประโยชน์ส่วนตน อย่างที่ทุกท่านทราบ ธิเบตล้าหลังมากๆทางวัตถุ ทางจิตวิญญาณ ข้าพเจ้าเชื่อว่าค่อนข้างร่ำรวย แต่จิตวิญญาณเพียงอย่างเดียวไม่อาจทำให้เราอิ่มท้องได้ การสวดมนต์ไม่อาจทำให้เราอิ่มท้องได้ เราต้องพัฒนาทางวัตถุด้วย การอยู่ภายใต้สาธารณรัฐจีน เราอาจมีประโยชน์เพิ่มมากขึ้น โดยที่รัฐบาลจีนเคารพวัฒนธรรมของเรา หรือให้คำรับรองว่าจะรักษานิเวศและวัฒนธรรมธิเบต วัฒนธรรมที่สำคัญคือวัฒนธรรมแห่งความกรุณา นั่นไม่ได้หมายความว่าชาวธิเบตทุกคนจะกรุณา ชาวธิเบตบางคนแย่มาก แต่ถ้าพูดทั่วๆไป ชุมชนธิเบตค่อนข้างกรุณา แต่คำถามก็คือจะทำอย่างไรที่จะให้เชื่อ ข้าพเจ้าไม่รู้ ตามปกติแล้วข้าพเจ้ามีคาถาบทหนึ่งว่า "ข้าพเจ้าไม่ได้ต้องการอิสรภาพ ข้าพเจ้าไม่ได้ต้องการอิสรภาพ..." นั่นเป็นคาถาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าท่องคาถานี้พันจบ แต่ก็ยังไม่สามารถทำใหพี่น้องจีนเชื่อได้ ชาวจีนธรรมดาเชื่อข้าพเจ้า และแสดงทัศนะที่ดีมากๆ แต่ผู้นำตามนโยบายแล้วยังคงแสร้งไม่เชื่อ รัฐบาลจีนมีคาถาอีกบทหนึ่งที่ท่องพันจบว่า "ธิเบตเป็นส่วนหนึ่งของจีน ธิเบตเป็นส่วนหนึ่งของจีน..." แต่คาถาบทนี้ชาวโลกอื่นไม่เชื่อ
 
 
 
ถ้ามองให้กว้างขึ้น สาธารณรัฐประชาชนจีนกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถึงแม้สาธารณรัฐประชาชนจีนจะมีรัฐธรรมนูญและระบอบการปกครองแบบเผด็จการเช่นเดียวกับเมื่อสามสิบปีก่อน เมื่อเปรียบเทียบกับสามสิบปีก่อน จีนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและยังคงเปลี่ยนแปลงอยู่ ดังนั้นหากมองให้กว้างขึ้น ข้าพเจ้าหวังว่าจะดีขึ้น และระหว่างนี้ อย่างที่กล่าวไปแล้ว ชาวจีนจำนวนหนึ่ง ปัญญาชนบ้าง เศรษฐีบ้าง ศิลปินบ้าง เดี๋ยวนี้แสดงความเห็นอกเห็นใจ ให้การสนับสนุน และแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวมากขึ้น และในหมู่ชาวจีนสมัยใหม่ก็แสดงความสนอกสนใจต่อธิเบตอย่างจริงจังมากขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่นักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางไปธิเบตเดี๋ยวนี้ หลายคนแสดงความเชื่อมั่นอย่างแท้จริงต่อพุทธธรรม เช่นเดียวกับจำนวนคริสตศาสนิกที่เพิ่มขึ้นในจีน ดังนั้นโดยรวมแล้วข้าพเจ้ามีหวัง แต่ยังคงต้องการความช่วยเหลือจากท่าน ขอบคุณ
 
 
 
ถาม: ถ้าเราแต่ละคนมีความรับผิดชอบ และทุกสิ่งเกิดจากปัจเจกบุคคล เรา รวมถึงรัฐบาลจะสนับสนุนและช่วยเด็กของเราให้สร้างคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่จะช่วยมนุษยชาติให้ก้าวหน้าได้อย่างไร
 
 
องค์ทะไลลามะ: ข้าพเจ้ามักแนะนำเรื่องการศึกษา ควรมีการวิจัยให้มากขึ้นว่าระบบการศึกษาที่มีอยู่เพียงพอหรือไม่ เราอาจต้องการการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญควรทบทวนอย่างสม่ำเสมอ จัดอภิปรายอย่างสม่ำเสมอ ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญ
 
 
 
ถาม(โดยเด็ก): ผมควรทำอย่างไรถ้ามีคนมาหาเรื่อง
 
 
องค์ทะไลลามะ: แย่หน่อยที่มีคนชอบหาเรื่อง พวกเขาไม่มีศีลธรรม จึงไม่มีทางโต้แย้ง ไม่มีทางพูดคุย ถ้าเธอร่างกายแข็งแรง ก็สู้ ไม่เป็นไรหรอก หรือทางที่ดีที่สุดคือวิ่งหนี
 
 
 
ถาม: เราจะเปิดใจได้อย่างไรโดยไม่ถูกความเลวร้ายในโลกปกคลุม
 
 
องค์ทะไลลามะ: อย่างแรก ตามที่กล่าวไปแล้ว มองโลกในมุมที่กว้างขึ้น บ่อยครั้งที่บางคนมีความเชื่
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5064


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 21 มิถุนายน 2553 20:33:43 »

บทสรุปโดย ดร. แอล เอ็ม สิงวี
 
 
ฝ่าบาท เสียงปรบมือแสดงให้เห็นว่าผมไม่ได้กล่าวเกินจริง และผมมีหลักฐานจากภรรยาว่าความคาดหวังนั้นเหนือความคาดหมาย ใต้ฝ่าพระบาท การปรากฏพระองค์ที่นี่เป็นเกียรติ์สูงส่งแก่เรา และทำให้โอกาสนี้เป็นที่น่าจดจำ ทำให้นี่เป็นการเชิดชูและคารวะต่อแคทเทอรีน เรน ซึ่งพระองค์เชิดชูยิ่งในปาฐกถาเป็นอนุสรณ์ ฟังพระองค์แล้ว ผมรู้สึกราวกับเป็นผู้เริ่มฝึกและพระนวกะในอาราม และมีภิกษุมาสอนพร้อมเสียงหัวเราะ เป็นวิธีการสอนที่ไม่มีใครเหมือน ผมรู้สึกเหมือนอยู่ที่ดินแดนในฝันแห่งจิตวิญญาณ ผมอยากย้ำมนตร์สองบทที่องค์ทะไลลามะตรัส และบทธรรมดาที่สุดในคำสอนของพระพุทธเจ้าในสมัยอินเดียโบราณและภายหลังในธิเบต แต่คำถามไม่ใช่เข้าใจแต่เพียงตัวอักษรแต่ต้องเข้าใจบริบทด้วย ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพ พระอาจารย์เจ้าผู้ยิ่งใหญ่กำลังสอนว่าเราทุกคนเกิดจากธรรมชาติธรรมดาเหมือนๆกัน แต่เมื่อมีเสือเข้ามาในถ้ำที่กำลังสอนนั้น อาจารย์ลุกขึ้นแล้วกล่าวว่า "เราต้องหนีแล้ว" นักเรียนจึงกล่าวกับอาจารย์ว่า "แต่ธรรมชาติของเราเหมือนกัน และเราถูกสร้างขึ้นมาด้วยสิ่งเดียวกัน แล้วทำไมเราต้องหนี อาจารย์ตอบว่า "ฉันรู้ และฉันก็สอนเธอแบบนี้ แต่สัตว์ตัวนี้มันไม่รู้ด้วย" ผมวาาเราต้องเข้าใจว่าเราอยู่ในโลกอันยากลำบาก และในโลกอันยากลำบากนี้ องค์ทะไลลามะเป็นตัวแทนของแสงแห่งความหวัง แสงแห่งความหวังที่ไม่มอด มนตร์บทแรกในพระพุทธศาสนาคือ "พุทธัง สรนัง คัจฉามิ" ซึ่งมีใจความสำคัญว่า "ข้าขอถือพระผู้ตรัสรู้ซึ่งคือพระพุทธองค์ เป็นที่พึ่ง" มนตร์บทที่สองว่า "ธรรมัง สรนัง คัจฉามิ" ซึ่งแปลว่า "ข้าขอถือพระธรรม เพื่อความเที่ยงธรรมแห่งสันติภาพและมนุษยธรรม เป็นที่พึ่ง" บทที่สามคือ "สังฆัง สรนัง คัจฉามิ" ซึ่งคือ"ข้าขอถือคณะสงฆ์เป็นที่พึ่ง ซึ่งแปลว่าเราต้องสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันที่ระดับรากหญ้า และนั่นคือบทเรียนที่เราได้เรียนจากพระองค์ในวันนี้ด้วยวิธีอันยอดเยี่ยม นี่ไม่ใช่บทเรียนที่จะหาเรียนได้ในมหาวิทยาลัยไหนของเรา แต่พระองค์ทรงเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยมนุษยธรรมอันยิ่งใหญ่ และพระองค์ทรงสอนบทเรียนนั้นแก่เราตลอดพระชนม์ชีพ พระองค์ทรงสอนโลกถึงสัจธรรมพื้นฐานที่สุดแห่งความกรุณา ซึ่งแสดงออกมาด้วยมนุษยธรรมสามัญ และอนาคตสามัญ ผมไม่ได้กล่าวเกินจริงเลยว่าปาฐกถาของพระองค์เป็นปาฐกถาและการพูดคุยเรื่องความศิวิไลซ์ เกี่ยวกับวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ ท่ามกลางความรุนแรง ท่ามกลางการมองโลกในแง่ร้าย และทั้งที่จิตใจคนมีแต่อาวุธและความรุนแรง พระองค์ตรัสว่าเราต้องสร้างเกราะป้องกันสันติภาพในใจและวิญญาณของมนุษยชาติ ผมอาจต้องสรุปว่ามีผู้กล่าวว่า ผมมีสองประโยค คำขอบพระทัยสั้นๆและคำขอบพระทัยยาวๆ คำขอบพระทัยสั้นๆคือ"ขอบพระทัย" และคำขอบพระทัยยาวๆคือ "ขอบพระทัยมาก" ขอบคุณ
 
 
 
ดร. แอล เอ็ม สิงวี
 
 
ดร.ลักษมี มอล สิงวี เป็นนักกฏหมายที่มีชื่อเสียง ผู้เชี่ยวชาญรัฐธรรมนูญชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายระหว่างประเทศทั้งสาธารณะและส่วนบุคคล สมาชิกรัฐสภาอันทรงเกียรติ์ ปัญญาชนที่ได้รับการยกย่อง ผู้ตีความสิทธิมนุษยชนที่มีชื่อเสียง หัวหน้าสภาทนายความอินเดีย รัฐบุรุษประชาชน นักเขียน กวี นักประชาสัมพันธ์ นักภาษาศาสตร์และนักวรรณคดี
 
 
ปัจจุบัน ดร.สิงวีเป็นสมาชิกราชยสภา (๒๕๔๑-๒๕๔๗) และทนายอาวุโส ศาลฎีกาแห่งอินเดีย
 
 
ดร.สิงวีเป็นผู้นำคณะผู้แทนอินเดียที่การประชุมสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติที่กรุงเวียนนาในปี ๒๕๓๖ เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ๒๕๔๑ เขาเป็นผู้นำคณะผู้แทนอินเดียที่การประชุมระหว่างรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดเรื่องวัฒนธรรมและการพัฒนาที่กรุงสต๊อกโฮม ดร.สิงวีเป็นผู้บุกเบิกและอุทิศงานให้สัมพันธภาพระหว่างความเชื่อที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกในหลายด้าน รวมทั้งได้รับรางวัลสำคัญนานาชาติหลายรางวัล ในปี๒๕๓๗ เขาได้รับเหรียญทองระหว่างความเชื่อที่แลมเบธ จากอัครสังฆราชแห่งแคนเธอเบอรี่ ซึ่งเป็นตัวแทนของสภานานาชาติแห่งศาสนาคริสตร์และยิว หนึ่งปีให้หลัง เขาเองถูกขอร้องให้มอบรางวัลเดียวกันนี้แก่โฆษกสภาผู้แทนราษฎร พณ เบตตี้ บูทรอย ที่พระราชวังเวสมินสเตอ สมเด็จพระสังฆราชจอห์น พอล ที่๒ ต้อนรับ ดร.สิงวีและภริยาที่กรุงวาติกัน เขาได้รับเชิญให้กล่าวเปิด indic vision ที่ world summit ที่เมืองอาตามิ (ญี่ปุ่น) เขากล่าวปาฐกถาเซอร์ ฟรานซิส ยังฮัสแบน ในปี๒๕๓๖ ภายใต้ฤกษ์ดีของสภาโลกแห่งความเชื่อ และได้รับเลือกเป็นหนึ่งในประธานสภาร้อยปีแห่งศาสนาโลกซึ่งจัดขึ้นที่ชิคาโก ในปี๒๕๓๖ ซึ่งเขาแสดงปาฐกถาสำคัญ
 
 
ตั้งแต่ต้นปี ๒๕๓๔ ถึงปลายปี ๒๕๔๐ ดร.สิงวีดำรงตำแหน่ง high comissioner ของอินเดียในสหราชอาณาจักร ช่วงที่เขาดำรงhigh comissioner ของอินเดียในสหราชอาณาจักร ถือเป็นยุคทองแห่งความสัมพันธ์อินโด-อังกฤษ ช่วงนั้นเขาได้ก่อตั้งศูนย์เนห์รูในกรุงลอนดอน
 
 
ดร.สิงวีได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกคณะกรรมการบริหารองค์การร่วมมือทางการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมระหว่างประเทศ(ยูเนสโก) ๒๕๔๕-๒๕๔๘
 
 
ดร.สิงวีเป็นสมาชิกสถาบันเทเมนอส ปาฐกถา แอล เอ็ม สิงสี เทเมนอส ระหว่างความเชื่อ ได้รับการสนับสนุนจาก ดร.สิงวี ในปี๒๕๔๑ และมีดร.สิงวีเป็นองค์ปาฐกเอง เซยิด ฮอสเซน เนส ดร.ริชาร์ด ชาเตอร์ สังฆกรบาทหลวงแห่งลอนดอน ศาสตราจารย์ซูฮีล บูชรู ดร.กาปิลา วัสยายัน และรับไบ(พระยิว) ดร.โจนาธาน มาโกเนต เป็นปาฐกต่อๆมา ปาฐกถาโดยองค์ทะไลลามะเป็นครั้งที่เจ็ด ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายในชุด
 
 
 
ดร.แคทเธอรีน เรน
 
 
แคทเธอรีน เรน(๒๔๕๑-๒๕๔๖) เป็นหนึ่งในกวีที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดในศตวรรษที่ยี่สิบ และเป็นนักวิชาการ และนักเขียนบทความซึ่งเขียนเรื่องมากมาย รวมถึงการศึกษา อิทธิพลต่อการพัฒนาของวิลเลียม เบลค(กวีชาวอังกฤษ) เธอเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งนิตยสารเทเมนอส (๒๕๒๔-๒๕๓๕) และเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันเทเมนอสในปี๒๕๓๕ เธออุทิศตนอย่างมิรู้เหน็ดเหนื่อยต่อปัญญาไร้กาลเวลาของศาสนาที่ยิ่งใหญ่ และของจินตนาการดั่งพาหนะแห่งวิสัยทัศน์ทางจิตวิญญาณและการคืนสภาพของวัฒนธรรม
 
 
 
ขอบคุณ
 
 
เราขอขอบคุณองค์ทะไลลามะที่ทรงตอบรับคำเชิญของ ดร.สิงวี เพื่อมาปาฐกถาในกรุงลอนดอน และที่ทรงอนุญาตให้สถาบันเทเมนอสได้รีบเกียรติ์เป็นเจ้าภาพ
 
 
เราสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณขององค์อุปถัมภ์สถาบันเทเมนอส เจ้าฟ้าแห่งเวลส์ที่ทรงมาร่วมและสนับสนุนปาฐกถา
 
 
เราอยากจะขอบคุณ ดร.แอล เอ็ม สิงวี สาธุคุณจอห์น วีเวอ นางเกซาง วาย ตากลา ผู้แทนพระองค์องค์ทะไลลามะแห่งยุโรปเหนือ และนายเชอริง ทาชี่ สำนักงานแห่งธิเบต นางเจน รัช แห่งเครือข่ายธรรมะ นายทิม ซีโก ที่ได้บันทึกปาฐกถาไว้ ผู้อำนวยการและพนักงานโถงกลางเวสมินสเตอร์ คลิฟ แอโรสมิธ สำหรับภาพถ่ายองค์ทะไลลามะ และนายเอียน เบน สำหรับความเอาใจใส่ต่อการเรียงพิมพ์และออกแบบหนังสือ
 
 
 
สถาบันเทเมนอส สถาบันเพื่อการศึกษาในแสงแห่งจิตวิญญาณ
 
 
สถาบันเทเมนอสเป็นองค์กรการกุศลทางการศึกษาซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การศึกษาทางปรัชญาและศิลปะในแสงแห่งศาสนาอันศักสิทธิ์ของตะวันออกและตะวันตก คำว่า "เทเมนอส" แปลว่า "ความพิถิพิถันอันศักสิทธิ์"
 
 
ทุกปีทางสถาบันจัดปาฐกถาและสัมนาไม่เกิน ๑๐๐ ครั้ง และจัดฉายภาพยนต์และอ่านหนังสือเป็นครั้งคราว มีทั้งงานเพื่อสาธารณชนไปจนถึงกลุ่มศึกษาขนาดเล็ก กิจกรรมของเราจัดขึ้นในกรุงลอนดอนและเปิดรับทุกคน
 
 
ทางสถาบันจัดพิมพ์นิตยสารคุณภาพดีชื่อ สถาบันเทเมนอสรีวิว และสิ่งพิมพ์อื่นในชุดหนังสือพิมพ์สถาบันเทเมนอส มีเป็นแถบบันทึกเสียงปาฐกถากว่าสามร้อยเรื่อง เพื่อผู้ที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมในกรุงลอนดอน
 
 
http://www.sulak-sivaraksa.org/th/index.php?option=com_content&task=view&id=490&Itemid=1
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
บทสัมภาษณ์ ดร.อาจอง ชุมสายฯ เรื่องอนาคตเมืองไทยอีก 10 ปีข้างหน้า
คำทำนายภัยพิบัติที่จะเกิด
หมีงงในพงหญ้า 0 2851 กระทู้ล่าสุด 05 มิถุนายน 2553 22:29:24
โดย หมีงงในพงหญ้า
“หลายสิ่งดูจะชัดเจนขึ้นยามเมื่อคุณจนมุม” บทสัมภาษณ์ เชอเกียม ตรุงปะ
จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม
มดเอ๊ก 0 2171 กระทู้ล่าสุด 24 กันยายน 2553 15:40:28
โดย มดเอ๊ก
บทสัมภาษณ์ อาจารย์ ฌาณเดช พ่วงจีน: ตำนานจอมขมังเวทย์แห่งล้านนา
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
มดเอ๊ก 3 6230 กระทู้ล่าสุด 15 พฤศจิกายน 2553 22:48:58
โดย หมีงงในพงหญ้า
ชมรมที่เปิดหัวใจคุณด้วยใบหู ( บทสัมภาษณ์ ลง A-Day )
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
มดเอ๊ก 0 2889 กระทู้ล่าสุด 10 กันยายน 2554 23:07:39
โดย มดเอ๊ก
Deep listening บทสัมภาษณ์ หลวงปู่ ติช นัท ฮันน์ ในรายการของ โอปรา วินฟรีย์
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
มดเอ๊ก 0 1876 กระทู้ล่าสุด 04 กรกฎาคม 2559 06:39:19
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.705 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 28 มีนาคม 2567 19:59:03