ขันติ เป็นไฉน? ความอดทน กิริยาที่อดทน ความอดกลั้น ความไม่ดุร้าย ความไม่ปากร้าย ความ
แช่มชื่นแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ขันติ.
โสรัจจะ เป็นไฉน?ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย
และวาจา อันใด นี้เรียกว่า โสรัจจะ.
ศีลสังวรแม้ทั้งหมด จัดเป็นโสรัจจะ.(ธรรมสังคณีปกรณ์)
๒. กัณหชาดก ว่าด้วยขอพร
[๑๓๒๙] บุรุษนี้ดำจริงหนอ บริโภคโภชนะก็ดำ อยู่ในภูมิประเทศก็ดำ ไม่เป็น
ที่ชอบใจของเราเลย.
[๑๓๓๐] คน
ไม่ชื่อว่าเป็นคนดำเพราะผิวหนัง เพราะคนที่
มีแก่นภายในจึง
ชื่อว่าเป็น
พราหมณ์ ผู้ใด
มีบาปกรรม ผู้นั้นแหละชื่อว่าเป็นคนดำ นะท้าวสุชัมบดี.
[๑๓๓๑] ดูกรท่านพราหมณ์ คำนั้นท่านกล่าวดีแล้ว สมควรเป็นสุภาษิต ข้าพเจ้าจะ
ให้พรแก่ท่านอย่างหนึ่ง ตามแต่ใจท่านปรารถนา.
[๑๓๓๒] ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งปวง ถ้าจะโปรดประทานพรแก่
ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ปรารถนาให้ความประพฤติของตน
อย่าให้มี
ความโกรธ อย่าให้มีโทสะ อย่าให้มีความโลภ อย่าให้มีความสิเนหาขอได้ทรงโปรดประทานพร ๔ ประการนี้แก่ข้าพระองค์เถิด.
[๑๓๓๓] ดูกรท่านพราหมณ์ ท่าน
เห็นโทษในความโกรธ ในโทสะ ในโลภะ
และในสิเนหาเป็นอย่างไรหรือ ข้าพเจ้าขอถามความนั้น ขอท่านจงบอก
แก่ข้าพเจ้าเถิด?
[๑๓๓๔] ความโกรธเกิดแต่ความไม่อดทน ทีแรกเป็นของน้อย แต่ภายหลังเป็น
ของมาก ย่อมเจริญขึ้นโดยลำดับ ความโกรธมักทำความเกี่ยวข้อง มี
ความคับแค้นมาก เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ชอบใจความโกรธ.
[๑๓๓๕] วาจาของผู้ประกอบด้วยโทสะ เป็นวาจาหยาบคาย ถัดจากนั้นก็เกิด
ปรามาสถูกต้องกัน ต่อจากนั้นก็ชกต่อยกันด้วยมือ ต่อไปก็หยิบท่อน
ไม้เข้าทุบตีกัน จนถึงจับศาตราเข้าฟันแทงกันเป็นที่สุด โทสะเกิดแต่
ความโกรธ เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ชอบใจโทสะ. [๑๓๓๖]
ความโลภเป็นอาการหยาบ เป็นเหตุให้เที่ยวปล้นขู่เอาสิ่งของแสดงของ
ปลอมเปลี่ยนเอาของคนอื่น ทำอุบายล่อลวง บาปธรรมทั้งหลายนี้ มี
ปรากฏอยู่เพราะโลภธรรม เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ชอบใจโลภะ.
[๑๓๓๗]
กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย อัน
สิเนหาผูกรัดเข้าอีก
เป็นของสำเร็จด้วย
ใจ นอนเนื่องอยู่เป็นอันมาก ย่อมทำให้บุคคลเดือดร้อนยิ่งนัก เพราะ
ฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ชอบใจความสิเนหา.
[๑๓๓๘] ดูกรท่านพราหมณ์ คำนั้นท่านกล่าวดีแล้ว สมควรเป็นสุภาษิต ข้าพเจ้า
จะให้พรแก่ท่านอย่างหนึ่ง ตามแต่ใจท่านปรารถนา.
[๑๓๓๙] ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งปวง ถ้าจะโปรดประทานพรแก่
ข้าพระองค์
ขออาพาธทั้งหลายอันเป็นของร้ายแรง ซึ่งจะทำอันตรายตบะ
กรรมได้ อย่าพึงบังเกิดแก่ข้าพระองค์ผู้อยู่ในป่า ซึ่งอยู่แต่ผู้เดียว
เป็นนิตย์.
[๑๓๔๐] ดูกรท่านพราหมณ์ คำนั้นท่านกล่าวดีแล้ว สมควรเป็นสุภาษิต ข้าพเจ้า
จะให้พรแก่ท่านอย่างหนึ่ง ตามแต่ใจท่านปรารถนา.
[๑๓๔๑] ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่กว่าภูตทั้งปวง ถ้าจะโปรดประทานพรแก่ข้า
พระองค์
ขอใจหรือร่างกายของข้าพระองค์ อย่าเข้าไปกระทบกระทั่ง
ใครๆ ในกาลไหนๆ เลย ขอได้ทรงโปรดประทานพรนี้เถิด.
จบ กัณหชาดกที่ ๒.http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=41976&p=294278#p294278