[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 18:29:56 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรม ๔ อย่างเป็นไฉน "ปุจฉาวิสัชนา มังสาวิรัต" :หลวงปู่เทสก์  (อ่าน 2072 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 20.0.1132.57 Chrome 20.0.1132.57


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 25 กรกฎาคม 2555 16:16:39 »





ธรรม ๔ อย่างเป็นไฉน "ปุจฉาวิสัชนา มังสาวิรัต" :หลวงปู่เทสก์
คัดมาบางส่วนจากหนังสือ "ปุจฉาวิสัชนาในประเทศ"
โดย พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ (หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี)

อุบาสิกาคนหนึ่งมีวัยประมาณ ๖๐ กว่าปีแล้ว แกไปปฏิบัติอยู่วัดหินหมากเป้งเสมอๆ
อยู่มาแกสมาทานมังสาวิรัต แล้วชักชวนผู้เขียน(หลวงปู่เทสก์)ทำอย่างแกบ้าง
ผู้เขียนบอกว่า เมื่อผู้เขียนทำอย่างนั้นแล้วเขาต้องตามปฏิบัติผู้เขียนนะ
เพราะผู้เขียนหากินเองอย่างเขาไม่ได้ เขาได้ถามปัญหาว่า

(๑๐) ถาม รับประทานมังสาวิรัตผิดกับคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือ
(๑๐) ตอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาโลกแตก จะต้องอธิบายกันมากจึงจะเข้าใจ

คนเกิดมาในโลกนี้ทั้งหมดล้วนแล้วแต่กินเลือดเนื้อของผู้อื่นทั้งสิ้น
เดิมแต่อยู่ในครรภ์ของมารดาก็กินอาหารของมารดาที่ซึมซาบเข้าไปหล่อเลี้ยง
ร่างกายจึงเติบโตขึ้นมาได้

คลอดออกมาแล้วจนเป็นหนุ่มเป็นสาวก็เช่นนั้นเหมือนกัน
พึ่งมาปฏิวัติรับประทานมังสาวิรัตเมื่อโตขึ้นมานี่เอง
เรื่องนี้จึงเป็นความฝ่าฝืนความรู้สึกของคนส่วนมาก

เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าของเรายังมีพระชนม์ชีพอยู่ พระเทวทัต
ก็เคยเสนอเรื่องนี้ขึ้นมาให้พระพุทธองค์ ได้ทรงอนุมัติแล้วครั้งหนึ่ง
เมื่อพระองค์ไม่ทรงอนุญาต จึงได้ประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า
พระสงฆ์องค์ใดเห็นดีกับเราก็ไปกับเรา ภิกษุที่บวชใหม่ยังไม่รู้ธรรมวินัย
จึงได้ติดตามพระเทวทัตไป
นั่นก็โลกแตกครั้งหนึ่งล่ะ ผลที่สุดพระเทวทัตถึงแก่มรณภาพไป

พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นเห็นความอาฆาตของพระเทวทัตซึ่งมีต่อพระพุทธเจ้า
จึงกลับเข้ามาหาพระพุทธเจ้าอีก ฉะนั้น พระภิกษุสงฆ์และพุทธบริษัททั้งหลาย
จึงไม่ควรยกเอาคำนี้ขึ้นมากล่าวอ้างว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
มันจะเป็นเหตุให้สงฆ์แตกแยกกัน


ส่วนฆราวาสนั้นก็ปล่อยเขาตามเรื่อง ถ้าหากรับประทานมังสาวิรัต
เฉพาะตน เพื่อทรมานตน
เพราะจิตใจของตนมันชอบการทรมานอย่างนั้นก็สมควรอยู่

ถ้าอ้างว่ามังสาวิรัตเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ผู้เขียนก็ขอร้องเถิด
มันจะกลายเป็นวังคศาสนาไป มิใช่สัตถุศาสนาคำสอนของพระพุทธเจ้าแท้จริง

มังสาวิรัตนี้พระพุทธเจ้าของเราท่านก็รู้ดีเหมือนกันว่าคนในสมัยนั้น
เขานิยมกันขนาดไหน และเขาปฏิบัติกันได้ มากน้อยเพียงใด
พระองค์จึงทรงบัญญัติให้ภิกษุฉันเนื้อได้โดยปราศจากโทษ ๓ ประการ

๑. โดยไม่ได้ใช้ให้เขาฆ่ามาเพื่อตน
๒. โดยไม่ได้เห็นได้ยินเขาฆ่าเพื่อตน
๓. โดยไม่สงสัยเขาจะฆ่าเพื่อให้ตน

เมื่อพ้นจาก โทษ ๓ ประการนี้แล้วฉันได้
ถึงเราจะกินและไม่กิน ทั้งโลกนี้โดยส่วนมากเขาก็ฆ่ากันอยู่อย่างนั้น
พระยังชีพเนื่องด้วยคนอื่น ถ้าไปในถิ่นที่เขารับประทานเนื้อ
พระที่ฉันมังสาวิรัตก็จะอยู่ด้วยกับเขามิได้

และคนที่จะฟังคำสอนของพระพุทธเจ้ามิใช่มีแต่พวกมังสาวิรัต
มีทั้งมังสาวิรัตและรับประทานเนื้อด้วย
คนเหล่านั้นถ้าหากฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าเข้าใจดีแล้ว
ก็จะไม่เป็นอุปสรรคแก่กันและกัน

สำหรับพระภิกษุพระวินัยสิกขาบทของพระยังมีมากที่ยังปฏิบัติไม่ครบถ้วน
ไม่ควรเอาเรื่องเล็กๆ น้อยๆ มายกโทษซึ่งกันและกัน

ผู้เขียนจะยกเรื่องพระคณาจารย์ฉันมังสาวิรัตองค์หนึ่งมาเล่าสู่ให้ฟัง
เมื่อราว ๔๐ กว่าปีมานี้เอง ทีแรกท่านก็ฉันตามธรรมดาๆ อย่างเราท่าน
ทั้งหลายฉันกันอยู่อย่างนี้แหละ
เมื่อพระโลกนารถเข้ามาเมืองไทยมีคุณนายคนหนึ่งไปเรียนกินเจ
กับพระโลกนารถแล้วทำถวายท่าน
ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากหลาย ลูกศิษย์เหล่านั้นก็เลยทำตามพระองค์นั้น

ต่อมาท่านชักชวนหมู่เพื่อนให้ทำตาม เมื่อหมู่เพื่อนไม่ทำตาม
ก็หาว่าย่อหย่อนต่อการปฏิบัติ
ท่านก็เลยดีคนเดียว หมู่เพื่อนคบค้าสมาคมไม่ได้ ลูกศิษย์ลูกหาค่อยๆ หายไปๆ
จะไปรุกขมูลทางไหนต้องให้พระล่วงหน้าไปก่อน บอกชาวบ้านว่า
ท่านอาจารย์ท่านฉันเจ ต้องจัดหาอาหารอย่างนั้นๆ เว้นอย่างนั้นๆ ท่านถึงจะฉันได้

เวลาเข้าไปบิณฑบาตในบ้านที่เขาไม่รู้ เขาเอาห่อเนื้อมาใส่บาตรให้
ท่านก็จับเอาของเขาปาทิ้งเสีย ทีหลังเขาเลยพากันไม่ใส่บาตร
เห็นท่านเดินมาเขาพากันมองหน้าท่านเป็นแถวเลย
อย่างนี้เขาเรียกว่า ทำเกินควร ไม่สมแก่สมณะสารูปผู้สำรวมเลย

เมื่อท่านมรณภาพไปแล้วก็ไม่มีใครปฏิบัติต่อ
พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสว่า ธรรมอย่างยิ่งทั้ง ๔ อย่างนี้เราได้ทำมาแล้ว
ซึ่งไม่มีใครจะทำได้เหมือนเรา แต่ก็ไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ได้

ธรรม ๔ อย่างเป็นไฉน
ธรรม ๔อย่าง คือ
เกลียดอย่างยิ่ง ๑
กลัวอย่างยิ่ง ๑
ระวังอย่างยิ่ง ๑
ตบะอย่างยิ่ง ๑


เกลียดอย่างยิ่งเป็นไฉน คือ เห็นร่างกายของตนและของคนอื่นเป็นของน่าเกลียด
และทุกข์ทั้งหลายในโลกนี้เป็นของน่าเบื่อหน่ายแทบจะอยู่ไม่ได้เสียเลย
นั่นเรียกว่า เห็นหน้าเดียว

คนทั้งโลกพร้อมด้วยตัวของเราทำไม่จึงอยู่มาได้จนบัดนี้ เขาโง่หรือตัวเราโง่
ท่านผู้รู้ทั้งหลายเห็นสภาพตามความเป็นจริงแล้วเกิดสลดสังเวชเบื่อหน่าย
ถอนความยินดีในโลกด้วยอุบายแยบคายอันชอบแล้ว

กลัวอย่างยิ่งเป็นไฉน คือ กลัวบาปอกุศลแม้แต่อาบัติเล็กๆ น้อยๆ ก็กลัว
เป็นต้นว่าจะยกย่างเดินเหิรไปมาที่ไหนก็กลัวจะไปเหยียบมดและตัวแมลงต่างๆ
ให้ตายเป็นอาบัติ นั่นเรียกว่า ระวังส่งออกไปนอก
พระวินัยท่านสอนให้ระวังที่ใจถ้าไม่มีเจตนาแกล้งทำให้ล่วงเกินก็ไม่เป็นอาบัติ

ระวังอย่างยิ่งเป็นไฉน คือ สังวรกาย วาจา ใจ ไม่ให้เกิดกิเลสบาปอกุศลทั้งหลาย
ซึ่งมันล่องลอยมาตาม อายตนะทั้ง ๖ นี้


ระวังจนไม่ให้เห็น ไม่ให้ได้ยินสิ่งต่างๆ จนเข้าไปอยู่ในป่าคนเดียว
เวลาเข้าไปบิณฑบาตในบ้านก็เอาตาลปัตรบังหน้าไว้ กลัวมันจะเห็นคน
อย่างนี้เขาเรียกว่า ลิงหลอกเจ้า กิเลสมันไม่ได้เกิดขึ้นที่อายตนะ
แต่มันจะเกิดที่ใจ
ต่างหาก

ขอโทษเถิด คนตายแล้วให้ผู้หญิงคนสวยๆ ไปนอนด้วย มันก็นิ่งเฉย
ผู้หญิงที่ไปนอนกลับกลัวเสียอีก

ตบะอย่างยิ่งเป็นไฉน คือ นักพรตที่ทำความเพียรเร่งบำเพ็ญตบะธรรม
ที่จะให้พ้นจากทุกข์ในเดี๋ยวนั้น
ทำความเพียรตลอดทั้งกลางวันกลางคืน ไม่คิดถึงชีวิตชีวาเลย
เหมือนกับกิเลสมันเป็นตัวเป็นตนวิ่งจับผูกเอามาได้ฉะนั้น


แท้จริงกิเลสมันวิ่งเข้ามาซุกอยู่ในความเพียร
(คือ ความอยากพ้นจากทุกข์) นั่นเอง ไม่รู้ตัวมัน
ความอยากทำให้ใจขุ่นมัว น้ำขุ่นทำให้ไม่เห็นตัวปลา

ถึงแม้น้ำใสแต่ยังกระเพื่อมอยู่ก็ไม่เห็นตัวปลาเหมือนกัน ความเกลียด ความกลัว
ความระวัง และตบะ อย่างยิ่งทั้ง ๔ อย่างนี้
พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญมาแล้ว
พระองค์ทรงเห็นว่าไม่เป็นไปเพื่อพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
จึงละเสีย แล้วทรงปฏิบัติทางสายกลางจึงทรงสำเร็จพระโพธิญาณ


คัดมาบางส่วนจากหนังสือ "ปุจฉาวิสัชนาในประเทศ"
โดย พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ (หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี)

http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y12299034/Y12299034.html

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.347 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 27 มีนาคม 2567 13:15:54