[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 20:02:05 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมาวุธ :ความพอดี (หลวงพ่อชา)  (อ่าน 1317 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.75 Chrome 21.0.1180.75


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 16 สิงหาคม 2555 20:52:26 »





ธรรมาวุธ :ความพอดี (หลวงพ่อชา)

“เรามาฝึกการปฏิบัติ ทำไมท่านถึงให้เรากินน้อย นอนน้อย พูดน้อย
อะไร ๆ ทุกอย่าง ให้มันน้อยไป ๆ คำที่ว่ามันน้อยน่ะ มันจะพอดีหรือ
ความเป็นจริงนั้นยังไม่พอดี ไม่สม่ำเสมอ
แต่ทำไมท่านถึงว่าให้เราทำให้มันน้อย

พูดน้อย ๆ คุยน้อย ๆ นอนน้อย ๆ เพื่อให้เรารู้จักความพอดี
ความเหมาะสมของตัวเรานั่นเอง
ทุกท่านให้พยายาม รีบเกินไปก็ไม่ได้
ให้รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว หาความพอดี

ถ้ามันน้อยไปเราก็เติม ถ้ามากไปเราเอาออก เป็นสัมมาปฏิปทาคือ พอดี
ถ้ามันดื้อ ก็ใช้ข้อวัตรเข้าควบคุม ให้มันเข็ด ฝึกมันทรมานมัน
ถ้ามันเป็นอีกก็ทำอีก นี่เรียกว่า การปฏิบัติหาทางพ้นทุกข์ของเรา


การพูดจาปราศรัย ทุกอิริยาบถให้มีความรู้สึกอยู่ในใจของเรา
ความพอดีนั้นเป็นแนวทางปฏิบัติที่ไม่ข้องแวะกับสิ่งสุดโต่ง

กามสุขัลลิกานุโยโค คือ ใจของเราลุ่มหลงในความสุข
ลุ่มหลงในความสบาย ลุ่มหลงในความดีใจ
ลุ่มหลงว่าเราดี เราเลิศ เราประเสริฐ

อัตตกิลมถานุโยโค คือ อาการที่ไม่พอใจ อาการที่เป็นทุกข์
อาการที่ไม่ชอบใจ อาการกริ้วโกรธ


ธรรม ๒ อย่างนี้ ไม่ใช่หนทางของบรรพชิตจะพึงเดิน
หนทางคือ อาการดีใจ หรือเสียใจ
เดินทางคือ ตัวผู้รู้ของเรานั่นแหละผู้เดินทางคือ จิต
ผู้สงบท่านไม่เดินทางนั้น


แต่ว่าทางนั้นท่าน ก็เห็น อาการสุขก็เห็น
แต่ท่านไม่มีอุปทานยึดมั่นกับมัน ปล่อยมันไป วางมันไป ละมันไป จึงเป็นผู้สงบ
การรู้จักความพอดี ก็เกิดจากการพิจารณาความไม่แน่นั่นเอง

การประพฤติปฏิบัตินี้ ต้องมีปฏิปทาที่พอดี ๆ ไม่สูงเกินไป อยู่ในระดับพอดี
ถ้ามันเกินพอดี หรือ ต่ำกว่าพอดี มันก็ไปไม่ได้ ไม่ใช่สัมมาปฏิบัติของพระ

ถ้าเราดูเสมอว่า ยืน นั่ง นอนน่ะ เรารู้สภาพอารมณ์ทั้งหลายมันพอดี
โดยอำนาจที่ว่า ของมันไม่แน่แล้ว มันก็ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้นอีก
แต่ว่าคนเรามันทนไม่ไหว
มันอยากเกินขีด มันดันขึ้น ๆ ไม่รู้จักความพอดีของมัน

ความพอดีของมัน เกิดจากที่ว่าเมื่อพบอารมณ์อะไร ก็บอกมันว่าไม่แน่
เรื่องอนิจจังเรียกว่าไม่แน่ ทนเอาอยู่ตรงนั้นแหละ ไม่ก้าวไป ไม่ถอยกลับ
อยู่ตรงนี้ ทนไม่นานเดี๋ยวก็พบความจริงได้”



http://agaligohome.fx.gs/index.php?topic=894.0

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
คนทรงเจ้า , ความพอดี , ช่วยคนคิดฆ่าตัวตาย , สวดมนต์เป็นการเจริญสติ?
ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
มดเอ๊ก 0 2104 กระทู้ล่าสุด 16 พฤษภาคม 2553 14:32:17
โดย มดเอ๊ก
การเดินทางเข้าถึงพุทธธรรม โดย หลวงพ่อชา
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 0 2132 กระทู้ล่าสุด 15 กันยายน 2553 05:40:59
โดย เงาฝัน
สองหน้าของสัจจธรรม (หลวงพ่อชา)
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 5 4496 กระทู้ล่าสุด 23 มกราคม 2554 19:46:20
โดย หมีงงในพงหญ้า
อีเก้งสอนพระ หลวงพ่อชา
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 1 3529 กระทู้ล่าสุด 10 กุมภาพันธ์ 2554 21:08:52
โดย หมีงงในพงหญ้า
ป ฏิ บั ติ ใ ห้ ถู ก ต้ อ ง : หลวงพ่อชา
ธรรมะจากพระอาจารย์
เงาฝัน 0 1605 กระทู้ล่าสุด 09 สิงหาคม 2554 21:42:25
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.25 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 20 ธันวาคม 2566 04:56:30