[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 มีนาคม 2567 16:58:37 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า:  [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 26 : พราหมณวรรค  (อ่าน 16509 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.79 Chrome 21.0.1180.79


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 สิงหาคม 2555 11:48:45 »




เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 26 : พราหมณวรรค
01.เรื่องพราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก


พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  ฉินฺท  โสตํ  ปรกฺกม  เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง   มีพราหมณ์คนหนึ่ง   ได้ฟังธรรมของพระศาสดาแล้ว  มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในพระศาสดาและพระธรรมของพระองค์  พราหมณ์นี้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์จำนวน 16 รูปไปรับอาหารบิณฑบาตที่บ้านของเขาเป็นประจำทุกวัน  เมื่อภิกษุทั้งหลายมาไปที่บ้าน  เขาก็เรียกพระภิกษุเหล่านี้ว่า  “พระอรหันต์” และจะให้ความเคารพนบนอบเป็นอย่างยิ่ง   เมื่อภิกษุทั้งหลายถูกเรียกว่าเป็นพระอรหันต์เช่นนั้น  ทั้งภิกษุที่ยังเป็นปุถุชนและที่เป็นพระอรหันต์แล้ว  ต่างเกิดความตะขิดตะขวงใจ และไม่ต้องการไปที่บ้านของพราหมณ์นี้ในวันรุ่งขึ้น

เมื่อพราหมณ์ไม่เห็นพระภิกษุไปรับอาหารบิณฑบาตที่บ้าน  ก็เกิดความมาสบายใจ   ได้ไปกราบทูลถามถึงสาเหตุที่พระภิกษุทั้งหลายไม่ไป พระศาสดาได้รับสั่งให้ภิกษุเหล่านั้นมาเฝ้าแล้วตรัสถามถึงสาเหตุที่ไม่ไป  ภิกษุเหล่านี้ได้กราบทูลว่าที่พวกตนไม่ไปกันนั้นเพราะพราหมณ์ชอบเรียกพวกตนว่าพระอรหันต์  พระศาสดาตรัสถามว่า  มีความรู้สึกยินดีหรือไม่เมื่อถูกเรียกว่าเป็นพระอรหันต์อย่างนั้น  เมื่อพระภิกษุเหล่านี้กราบทูลว่าไม่มีความยินดี  พระศาสดาจึงตรัสว่า  พราหมณ์กล่าวเช่นนี้ก็เพราะความที่ตนมีความเลื่อมใสในพระสงฆ์มาก  เมื่อภิกษุได้ยินแล้วไม่เกิดความยินดีก็ไม่เป็นอาบัติแต่อย่างใดเมื่อพราหมณ์เรียกพวกเธอว่าเป็นพระอรหันต์เพราะมีความเลื่อมใสเป็นอย่างมากในพระสงฆ์เช่นนี้แล้ว  แม้พวกเธอตัดกระแสตัณหาแล้วบรรลุพระอรหันต์จึงจะสมควร
จากนั้น  พระศาสดาตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

ฉินฺท  โสตํ  ปรกฺกม
กาเม  ปนูท  พฺราหมณ
สงฺขารานํ  ขยํ  ญตฺวา
อกตญฺญูสิ  พฺราหฺมณ ฯ


พราหมณ์  ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา
จงบรรเทากามทั้งหลายเสีย
ท่านรู้ความสิ้นไปแห่งสังขารทั้งหลายแล้ว

เป็นผู้รู้พระนิพพานอันอะไรๆ  ทำไม่ได้นะ  พราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.79 Chrome 21.0.1180.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 17 สิงหาคม 2555 22:13:46 »




02.เรื่องภิกษุมากรูป
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภภิกษุมากรูป  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  บทา  ทฺวเยสุ  ธมฺเมสุ  เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง  มีพระภิกษุ  30 รูป  มาเข้าเฝ้าพระศาสดา  พระสารีบุตรเถระ ทราบว่าเวลานั้นเป็นช่วงภาวะสุกงอมสำหรับภิกษุเหล่านี้จะได้บรรลุพระอรหันต์  จึงได้ไปเฝ้าพระศาสดาและทูลถามปัญหาเพื่อจะให้เป็นประโยชน์แก่ภิกษุเหล่านั้นโดยตรง  ปัญหาข้อนี้ว่า ”พระเจ้าข้า   ที่พระองค์ตรัสว่า ธรรม 2 ประการนั้น  คืออะไร?”  พระศาสดาตรัสว่า “ สารีบุตร  สมถะและวิปัสสนา  เรียกว่า ธรรม 2  ประการ
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

ยทา  ทวฺยสุ  ธมฺเมสุ
ปารคู  โหติ  พฺราหฺมโณ
อถสฺส  สพฺเพ  สํโยคา
อฏฺฐํ  คจฺฉนฺติ  ชานโต ฯ


ในกาลใด  พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่งในธรรม 2
ในกาลนั้น  กิเลสเครื่องประกอบทั้งปวงของพราหมณ์
ผู้รู้อยู่ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ภิกษุเหล่านั้น  แม้ทั้งหมด  บรรลุพระอรหัตตผล.


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.79 Chrome 21.0.1180.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 17 สิงหาคม 2555 22:30:41 »



03.เรื่องมาร
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภมาร  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  ยสฺส  ปารํ  อปารํ  วา  เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง  มารได้มาเฝ้าพระศาสดา  โดยได้ปลอมตัวเป็นมนุษย์  มาทูลถามพระศาสดาว่า  “พระเจ้าข้า  สถานที่อันพระองค์ตรัสว่า  ฝั่งๆ   อะไรหนอแล ชื่อว่าฝั่งนั่น”   พระศาสดาทรงทราบว่าเป็นมาร  จึงตรัสว่า  “มารผู้มีบาป  ประโยชน์อะไรของท่านด้วยฝั่ง  ฝั่งนั้น  อันผู้มีราคะไปปราศแล้วทั้งหลาย  พึงถึง
จากนั้น  พระศาสดาตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

ยสฺส  ปารํ  อปารํ  วา
ปาราปารํ  น  วิชฺชติ
วีตตฺทรํ  วิสํยุตฺตํ
ตมหํ  พฺรูหิ  พฺราหฺมณํ ฯ


ฝั่งก็ดี  ที่มิใช่ฝั่งก็ดี
ฝั่งและที่มิใช่ฝั่งก็ดี  ไม่มีแก่ผู้ใด
เราเรียกผู้นั้น  ซึ่งมีความกระวนกระวายไปปราศแล้ว

ผู้พรากจากกิเลส  ได้แล้วว่า เป็นพราหมณ์.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดปัตติผลเป็นต้น.
 
                               ~~~~~~~~~~~~~~~~~~


04.เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  ฌายึ  เป็นต้น

วันหนึ่ง  มีพราหมณ์คนหนึ่ง  คิดว่า  “พระศาสดา  ตรัสเรียกสาวกของพระองค์ว่า  พราหมณ์  ส่วนเรา  เป็นพราหมณ์โดยชาติและโคตร  การที่พระองค์จะตรัสเรียกเราอย่างนั้นบ้าง  ก็น่าจะสมควร”   จึงไปเฝ้าพระศาสดา  ทูลถามความข้อนี้   พระศาสดาตรัสว่า “ เรามิได้เรียกบุคคลว่า  พราหมณ์  ด้วยเหตุเพียงชาติและโคตร  แต่เราเรียกบุคคลผู้บรรลุประโยชน์อันสูงสุดนั้นเท่านั้น  ว่าเป็นพราหมณ์
จากนั้น  พระศาสดาตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

ฌายึ  วิรชมาสีนํ
กตกิจฺจํ  อนาสวํ
อุตฺตมตฺถํ  อนุปฺปตฺตํ
ตมหฺ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ  ฯ


เราเรียกบุคคลผู้มีความเพ่ง
ผู้ปราศจากธุลี  อยู่แต่ผู้เดียว
มีกิจอันกระทำแล้ว  หาอาสวะมิได้

บรรลุประโยชน์อันสูงสุดแล้วนั้นว่า  เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  พราหมณ์นั้น  บรรลุโสดาปัตติผล  พระธรรมเทศนา  มีประโยชน์   แม้แก่ชนผู้มาประชุมกัน.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.79 Chrome 21.0.1180.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2555 11:49:57 »



05. เรื่องพระอานนทเถระ
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในปราสาทของอุบาสิกาชื่อวิคารมารดา  ทรงปรารภพราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  ทิวา   ตปติ  อาทิจฺโจ  เป็นต้น

ในวันมหาปวารณา  เป็นวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง   พระเจ้าปเสนทิโกศล  ทรงประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ครบถ้วน  ทรงถือถือสิ่งของทั้งหลายมีของหอมเป็นต้น  ได้เสด็จไปยังวัดพระเวฬุวัน  ในขณะเดียวกันนั้น  พระกาฬุทายี  ก็นั่งเข้าฌานอยู่ที่ท้ายพุทธบริษัท  มีร่างกายเปล่งปลั่งดั่งทองคำ  ในท่ามกลางของแสงจันทร์

พระอานนทเถระ   แลดูรัศมีของดวงอาทิตย์ซึ่งกำลังอัสดงคต  และของดวงจันทร์ซึ่งกำลังขึ้น  แล้วมองดูพระสรีโรภาสของพระราชา  สรีโรภาสของพระอุทายีเถระ  และพระสรีโรภาสของพระศาสดา  เห็นว่า  พระศาสดามีความไพโรจน์เกินรัศมีทั้งปวง  จึงถวายบังคมพระศาสดาแล้ว  กราบทูลว่า “ พระเจ้าข้า  ในวันนี้  เมื่อข้าพระองค์ แลดูรัศมีเหล่านี้แล้ว  พระรัศมีของพระองค์เท่านั้นที่ข้าพระองค์ชอบใจ  เพราะว่า  พระสรีระของพระองค์  ย่อมไพโรจน์ล่วงรัศมีทั้งปวง”   พระศาสดาตรัสตอบว่า “ อานนท์  ธรรมดาพระอาทิตย์  ย่อมรุ่งเรืองในกลางวัน  พระจันทร์  ย่อมรุ่งเรืองในกลางคืน  พระราชา  ย่อมรุ่งเรืองในเวลาประดับเท่านั้น  พระขีณาสพ(ผู้สิ้นกิเลส)  ละความระคนด้วยหมู่แล้ว  ย่อมรุ่งเรืองในภายในสมาบัติเท่านั้น  ส่วนพระพุทธเจ้า ย่อมรุ่งเรืองด้วยเดช 5  อย่าง  ทั้งในกลางคืนทั้งในกลางวัน
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

ทิวา  ตปติ  อาทิจฺโจ
รตฺติมาภาติ  จนฺทิมา
สนฺนทฺโธ  ขตฺติโย  ตปติ
ฌายี  ตปติ พฺราหฺมโณ
อถ  สพฺพมโหรตฺตึ
พุทฺโธ  ตปติ  เตชสา ฯ


พระอาทิตย์  ย่อมส่องแสงในกลางวัน
พระจันทร์  ย่อมรุ่งเรืองในกลางคืน
กษัตริย์  ทรงเครื่องรบแล้ว ย่อมรุ่งเรือง
พราหมณ์ผู้มีความเพ่ง ย่อมรุ่งเรือง

ส่วนพระพุทธเจ้า  ย่อมรุ่งเรืองด้วยเดช
ตลอดกลางวันและกลางคืน.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก   บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


                           ----------------

06.เรื่องบรรพชิตรูปใดรูปหนึ่ง
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภบรรพชิตรูปใดรูปหนึ่ง  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  พาหิตปาโป เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง  พราหมณ์นักบวชนอกพุทธศาสนาคนหนึ่ง  มีความคิดว่า  “เราเกิดดีแล้วทั้งฝ่ายมารดาทั้งฝ่ายบิดา  เกิดในตระกูลพราหมณ์  ถ้าพระสมณโคดมตรัสเรียกพระสาวกทั้งหลายของพระองค์ว่า  พราหมณ์  การที่พระองค์ตรัสเรียกเราอย่างนั้นบ้าง  ก็น่าจะสมควร”  จึงไปเฝ้าพระศาสดา  ทูลถามเรื่องนี้   พระศาสดาตรัสกับพราหมณ์นั้นว่า “  พราหมณ์  เราไม่เรียกว่า พราหมณ์  ด้วยเหตุเพียงว่าสวมใส่ชฎา  ไม่เรียกด้วยเหตุเพียงชาติและโคตร  แต่เราเรียกผู้มีสัจจะอันแทงตลอดแล้วเท่านั้นว่า  เป็นพราหมณ์
จากนั้น  พระศาสดาตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

พาหิตปาโป  หิ  พฺราหฺมโณ
สมจริยาย   สมโณติ  วุจฺจติ
ปพฺพาชยมตฺตโน  มลํ
ตสฺมา  ปพฺพชิโตติ  วุจฺจติ ฯ


บุคคลมีบาปอันลอยแล้วแล
เราเรียกว่า พราหมณ์
บุคคลที่เราเรียกว่า  สมณะ
เพราะความประพฤติเรียบร้อย

บุคคลขับไล่มลทินของตนอยู่
เพราะเหตุนั้น  เราเรียกว่า บรรพชิต
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   บรรพชิตนั้น  บรรลุโสดาปัตติผล  พระธรรมเทศนา  มีประโยชน์  แม้แก่ชนผู้มาประชุมกัน.
 
บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.79 Chrome 21.0.1180.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2555 12:07:17 »



07.เรื่องพระสารีบุตรเถระ
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพระสารีบตรเถระ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  น  พฺราหฺมณสฺส  เป็นต้น

พระสารีบุตรเถระ  ได้รับการยกย่องจากประชาชนโดยทั่วไปว่า  ท่านเป็นผู้มีความอดทนอดกลั้นเป็นเลิศ  แม้ว่าจะมีคนด่า  คนทุบตี  ท่านก็จะไม่โกรธ  พราหมณ์คนหนึ่ง   เป็นมิจฉาทิฏฐิ  ต้องการจะพิสูจน์ว่าพระเถระมีความอดทนและไม่โกรธจริงหรือไม่  เขาจึงจะทดลองยั่วยุให้ท่านโกรธ  จึงในวันหนึ่ง  เมื่อเห็นพระเถระกำลังเดินบิณฑบาตอยู่นั้น  พราหมณ์นั้นได้เดินตามท่านไปแล้วเอามือไปทุบหลังท่านอย่างรุนแรง  พระเถระไม่แสดงความสนใจแม้กระทั่งว่าหันกลับมามองว่าใครเป็นผู้ทำร้ายท่าน  ท่านยังคงเดินต่อไปเหมือนกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น   เมื่อเห็นพระเถระไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบอะไรออกมาเช่นนั้น  พราหมณ์นั้นก็เกิดความตื่นตระหนก  ทั่วร่างกายเกิดความเร่าร้อน  จึงได้ก้มลงกราบที่เท้าของท่าน แล้วกล่าวขอขมาโทษว่า “ขอท่านจงอดโทษแก่กระผมเถิด ขอรับ”  เมื่อพระเถระกล่าวยกโทษให้แล้ว  พราหมณ์นั้นก็ได้นิมนต์พระเถระไปรับบาตรที่บ้านของเขาในวันรุ่งขึ้น

ในตอนเย็นของวันนั้นเอง  ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในธรรมสภาถึงเรื่องที่เกิดขึ้น  และพระศาสดาได้ทราบเรื่องนี้แล้วจึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย  พราหมณ์ชื่อว่าประหารพราหมณ์  ย่อมไม่มี  แต่พราหมณ์ผู้สมณะจักเป็นผู้ถูกพราหมณ์คฤหัสถ์ประหารได้  ขึ้นชื่อว่าความโกรธนั่นย่อมถึงความถอนได้  ด้วยอนาคามิมรรค
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท   สองพระคาถานี้ว่า

น  พฺราหฺมณสฺส  ปหเรยฺย
นาสฺส  มุญฺเจถ  พฺราหฺมโณ
ธิ  พฺราหมณสฺส  หนฺตารํ
ตโต  ธิ  ยสฺส  มุญฺจติ  ฯ


น  พฺราหฺมณสฺเสตทกิญจิ  เสยฺโย
ยทานิเสโธ  มนโส  ปิเยหิ
ยโต  ยโต  หึสมโน  นิวตฺตติ
ตโต  ตโต  สมฺมติเมว  ทุกฺขํ ฯ


พราหมณ์ไม่ควรประหารแก่พราหมณ์
ไม่ควรจองเวรแก่เขา
น่าติเตียนพราหมณ์ผู้ประหารพราหมณ์
น่าติเตียนพราหมณ์ผู้จองเวร

ยิ่งกว่าพราหมณ์ผู้ประหารนั้น.

ความเกียจกันใจ  จากอารมณ์อันเป็นที่รักทั้งหลายใด
ความเกียจกันนั่น  ย่อมเป็นความประเสริฐไม่น้อยแก่พราหมณ์
ใจอันสัมปยุตด้วยความเบียดเบียน  ย่อมกลับได้จากวัตถุใดๆ

ความทุกข์  ย่อมสงบได้เพราะวัตถุนั้นๆ นั่นแล.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


                           --------------------------

08.เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตรมี
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพระนางมหาปชาบดีโคตมี  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  ยสฺส กาเยน  เป็นต้น

พระนางมหาปชาบดีโคตมี  เป็นพระน้านางของพระศาสดา  เมื่อพระนางสิริมหามายาสิ้นพระชนม์  และเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ 7 วัน  พระน้านางพระองค์นี้ก็ได้เป็นพระมเหสีเอกของพระเจ้าสุทโธทนะ  ในขณะนั้น  เจ้าชายนันทะพระโอรสแท้ๆของพระนางมีพระชนมายุเพียง 5 วัน  พระนางทรงมอบหมายให้พระพี่เลี้ยงนางนมเป็นผู้อภิบาลพระกุมารแท้ๆของพระนาง ส่วนพระนางเองได้ทรงเป็นผู้อภิบาลเจ้าชายสิทธัตถะ  ด้วยเหตุนี้พระนางจึงมีอุปการคุณอย่างใหญ่หลวงต่อเจ้าชายสิทธัตถะ

เมื่อพระเจ้าชายสิทธัทธัตถะซึ่งก็คือพระศาสดา  เสด็จกลับสู่กรุงกบิลพัสดุ์ ภายหลังจากได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้วนั้น  พระนางมหาปชาบดีโคตมี  ได้ไปเฝ้าพระองค์เพื่อทูลขอให้หญิงทั้งหลายได้รับพระอนุญาตให้บรรพชาเป็นภิกษุณีได้  แต่พระศาสดาได้ทรงปฏิเสธ  ต่อมาเมื่อพระเจ้าสุทโธทนะเสด็จสู่สวรรคาลัยหลังจากที่ทรงได้บรรลุพระอรหัตตผล  ในขณะที่พระศาสดาประทับอยู่ที่ป่ามหาวันใกล้กรุงไพศาลี  พระนางมหาปชาบดีโคตมี    พร้อมด้วยสตรีอื่นอีก 500  นาง ได้พร้อมใจกันเดินเท้าเปล่าไปเฝ้าพระศาสดาที่ป่ามหาวันนั้น โดยสตรีทุกนางได้ปลงผมและสวมใส่ผ้าย้อมด้วยน้ำฝาดไปด้วย  ในครั้งที่สองนี้ พระนางมหาปชาบดีโคตมีก็ได้กราบทูลพระศาสดาให้ทรงอนุญาตให้พระนางพร้อมด้วยสตรีทั้ง 500 นางบรรพชาเป็นภิกษุณีเหมือนในครั้งแรก แต่ในครั้งนี้ พระอานนทเถระได้เข้าไปช่วยเจรจาช่วยพระนาง  จนพระศาสดาทรงยินยอม  โดยมีข้อแม้ว่า  พระนางพร้อมด้วยสตรีทั้งหมดนั้นต้องรับครุธรรม  8 ประการ   เมื่อพระนางและสตรีเหล่านั้นยอมรับเงื่อนไขนั้น  ก็ได้รับการบรรพชาเป็นภิกษุณี  โดยถือว่าพระนางปชาบดีโคตมีนี้เป็นภิกษุณีรูปแรก  และสตรีอีก 500 นางก็ได้รับการบรรพชาเป็นนางภิกษุณีตามพระบัญชาของพระศาสดา

เมื่อกาลผ่านไป  ภิกษุณีทั้งหลายมีความคิดว่า  พระนางมหาปชาบดีโคตรมี  เป็นภิกษุณีโดยไม่ถูกต้องเพราะไม่มีพระอุปัชฌายะและพระอาจารย์อื่นใด  เป็นการบรรพชาโดยนำผ้ากาสาวพัสตร์มาสวมใส่เท่านั้นเอง  ภิกษุณีทั้งหลายจึงยุติทำอุโบสถ  และทำปวารณากับพระนาง  และได้ไปเข้าเฝ้าพระศาสดา  ยกปัญหาเรื่องพระนางปชาบดีโคตมีได้รับการบรรพชาโดยไม่ถูกต้องเพราะไม่มีพระอุปัชฌายะขึ้นทูลถามพระศาสดา  พระศาสดาตรัสว่า  “ครุธรรม 8 ประการ  เราให้แล้วแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี  เราเองเป็นอาจารย์  เราเองเป็นอุปัชฌายะของพระนาง  ชื่อว่าความรังเกียจในพระขีณาสพทั้งหลาย  ผู้เว้นจากทุจริตทั้งหลายมีกายทุจริตเป็นต้น  อันเธอทั้งหลายไม่ควรทำ
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

ยสฺส  กาเยน  วาจาย
มนสา  นตฺถิ  ทุกฺกฏํ
สํวุตํ  ตีหิ  ฐาเนหิ
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ  ฯ


ความชั่วทางกาย  วาจา  และใจ
ของบุคคลใด ไม่มี
เราเรียกบุคคลนั้น ผู้สำรวมแล้วโดยฐานะ 3
ว่า   เป็นพราหมณ์.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก   บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.79 Chrome 21.0.1180.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2555 12:33:09 »



09.เรื่องพระสารีบุตรเถระ
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพระสารีบุตรเถระ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  ยมฺหา  ธมฺมํ  วิชาเนยฺย  เป็นต้น

พระสารีบุตรเถระ   มีบิดามารดาเป็นพราหมณ์และนางพราหมณี  ที่หมู่บ้านอุปติสสะ  ด้วยเหตุนี้ท่านจึงมีนามว่า อุปติสสะ  มีมารดาชื่อว่า นางสารี  มีเพื่อนที่ใกล้ชิดนามว่า โกลิตะ  ซึ่งป็นพราหมณ์หนุ่ม บุตรชายของนางโมคคัลลี  พราหมณ์หนุ่มทั้งสองคน  แสวงหาสัจธรรม ที่จะนำไปสู่การหลุดพ้นจากวัฏฏสังสาร  และมีความต้องการจะบวชมาก  ในครั้งแรกทั้งสองคนได้ไปบวชอยู่กับท่านสญชัย  แต่ไม่พึงพอใจกับคำสอนของท่าน  จึงได้ออกตระเวนไปทั่วชมพูทวีปเพื่อแสวงหาครูอาจารย์ที่จะช่วยชี้หนทางสู่ความไม่ตาย  แต่ไม่สามารถหาครูอาจารย์เช่นนั้นได้  ดังนั้นทั้งสองคนจึงแยกกันแสดงหาสัจธรรมโดยได้ตกลงกันว่า  เมื่อสามารถค้นพ้นสัจธรรมก็ให้บอกแก่กันและกัน

ในช่วงเดียวกันนั้น  พระศาสดาได้เสด็จมายังกรุงราชคฤห์   พร้อมด้วยภิกษุทั้งหลาย  รวมทั้งพระอัสสชิ  หนึ่งในพระปัญจวัคคีย์  ในขณะที่พระอัสสชิกำลังเดินบิณฑบาตอยู่นั้น  อุปติสสะเห็นพระเถระก็เกิดความประทับใจเป็นอย่างยิ่งในความสง่างามและสงบเสงี่ยมของพระเถระ  จึงได้เข้าไปหาแล้วเรียนถามว่าใครเป็นครูของท่าน  คำสอนของครูของท่านว่าอย่างไร  และได้ขอให้แสดงคำสอนนั้นโดยย่นย่อให้ฟังด้วย   พระอัสสชิเถระได้กล่าวกับอุปติสสะด้วยพระคาถาว่า  “เย ธมฺมา  เหตุปฺปภวา,  เตสํ  เหตํ   ตถาคโต  (อาห),  เตสญฺจ  โย  นิโรโธ  จ  เอวํวาที  มหาสมโณ” (ธรรมเหล่าใดเกิดขึ้นแต่เหตุ   พระศาสดาตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น  และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น  พระตถาคตมีปกติตรัสอย่างนี้)  เมื่ออุปติสสะได้ฟังก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล  จากนั้นอุปติสสะได้ทำตามคำสัญญาที่ให้ไว้กับเพื่อนโกลิตะโดยไปแจ้งว่าว่าได้พบสัจธรรมแล้ว  และทั้งสองคนก็ได้เดินทางไปเฝ้าพระศาสดา ที่พระเวฬุวัน  พร้อมด้วยบริวารจำนวน 250  คน  และได้ขอบวชเป็นภิกษุ  อุปติสสะซึ่งเป็นบุตรของนางสารีจึงมีชื่อว่าสารีบุตร  ส่วนโกลิตซึ่งเป็นบุตรของนางโมคคัลลีจึงมีชื่อว่าโมคคัลลานะ  หลังจากอุปสมบทเป็นภิกษุแล้วไม่นาน พระบริวารทั้ง 250 รูปเมื่อได้ฟังธรรมจากพระศาสดาแล้วก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์  แต่พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์หลังอุปสมบทได้  7 วัน  และ 15 วันตามลำดับ

พระสารีบุตรนั้น  รำลึกอยู่เสมอว่าที่ท่านได้พบพระศาสดาและได้บรรลุเป็นพระโสดาบันนั้นก็เพราะพระอัสสชิ  ดังนั้น  ท่านจึงมีความกตัญญูรู้คุณของพระอัสสชิเป็นอย่างมาก  ในเวลาท่านจำวัดท่านก็จะหันศีรษะไปทางทิศที่พระอัสสชิอยู่  พวกภิกษุทั้งหลายคิดว่าท่านปฏิบัติผิด  จึงนำเรื่องนี้ขึ้นกราบทูลพระศาสดา ว่า “พระสารีบุตรเป็นมิจฉาทิฏฐิ  ถึงวันนี้ก็เที่ยวนอบน้อมทิศทั้งหลายอยู่ “  พระศาสดาตรัสว่า   “ภิกษุทั้งหลาย  สารีบุตร  ย่อมไม่นอบน้อมทิศทั้งหลาย  แต่เพราะความที่เธอฟังธรรมจากสำนักของพระอัสสชิเถระแล้วบรรลุโสดาปัตติผล  จึงนอบน้อมอาจารย์ของตน  เพราะว่า ภิกษุอาศัยอาจารย์ใด  ย่อมรู้ธรรม  ภิกษุนั้น  พึงนอบน้อมอาจารย์นั้นโดยเคารพ  เหมือนพราหมณ์นอบน้อมไฟอยู่ฉะนั้น
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

ยมฺหา  ธมฺมํ  วิชาเนยฺย
สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ
สกฺกจฺจํ  ตํ  นมสฺเสยฺย
อคฺคิหฺตํว  พฺราหฺมโณ  ฯ


บุคคลพึงรู้แจ้งธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงแสดงแล้ว   จากอาจารย์ใด
พึงนอบน้อมอาจารย์นั้นโดยเคารพ

เหมือนพราหมณ์นอบน้อมการบูชาเพลิงอยู่ ฉะนั้น
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


                          -----------------------

10.เรื่องชฎิลพราหมณ์
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  ชฏาหิ  เป็นต้น

ครั้งหนึ่ง  ชฏิลพราหมณ์  คิดว่า  “เราเกิดดีแล้วทั้งฝ่ายมารดาทั้งฝ่ายบิดา  เกิดในตระกูลพราหมณ์  ถ้าสมณโคดมตรัสเรียกพระสาวกทั้งหลายของพระองค์ว่า  พราหมณ์  การที่พระองค์ตรัสเรียกเราอย่างนั้นบ้าง  ก็เป็นการสมควร”  จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา  ทูลถามความข้อนี้

พระศาสดาตรัสกับพราหมณ์นั้นว่า  “พราหมณ์  เราไม่เรียกว่า พราหมณ์  ด้วยเหตุเพียงสวมใส่ชฎา  ไม่เรียกด้วยเหตุเพียงชาติและโคตร  แต่เราเรียกผู้มีสัจจะอันแทงตลอดแล้วเท่านั้นว่า   เป็นพราหมณ์
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

น  ชฏาหิ  โคตฺเตน
น  ชจฺจา  โหติ  พฺราหฺมโณ
ยมฺหิ  สจฺจญฺจ  ธมฺโม  จ
โส  สุจิ  โส  จ  พฺราหฺมโณ ฯ


บุคคลย่อมเป็นพราหมณ์  ด้วยชฎา
ด้วยโคตร  ด้วยชาติ  หามิได้
สัจจะ  และธรรมมีอยู่ในผู้ใด
ผู้นั้น  เป็นผู้สะอาด

และผู้นั้นเป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.79 Chrome 21.0.1180.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2555 14:04:26 »




11.เรื่องกุหกพราหมณ์
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา  ทรงปรารภกุหกพราหมณ์  ผู้มีวัตรดังค้างคาว ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  กินฺเต  เป็นต้น

ครั้งหนึ่ง  พราหมณ์หลอกลวงคนหนึ่ง  ปีนขึ้นต้นไม้ต้นหนึ่ง   ที่อยู่ใกล้ประตูเมืองไพศาลี   แล้วเอาเท้าสองข้างเกี่ยวกิ่งไม้แล้วห้อยศีรษะลงมา  ปากก็พร่ำบอกคนที่ผ่านไปผ่านมาว่า “ ท่านทั้งหลายจงให้โคแดง 100 ตัวแก่เรา  จงให้กหาปณะแก่เรา  จงให้หญิงบำเรอแก่เรา  ถ้าทั้งหลายไม่นำมาให้  เราตกจากต้นกุ่มนี้ตาย  บ้านเมืองนี้ก็จะวายวอด ” พวกชาวเมืองกลัวว่าเขาจะตกมาตาย  ก็พากันนำสิ่งของทั้งปวงที่เขาร้องขอนั้นไปให้  ภิกษุทั้งหลายเห็นพฤติกรรมของพราหมณ์ผู้นี้แล้ว  ก็ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระศาสดา  พระศาสดาตรัสว่า “ ภิกษุทั้งหลาย  พราหมณ์นั้น  เป็นโจรหลอกลวงในกาลนี้เท่านั้นหามิได้  ถึงในกาลก่อน  ก็เป็นโจรหลอกลวงแล้วเหมือนกัน  ก็บัดนี้  พราหมณ์นั้นย่อมหลอกลวงพาลชนได้  แต่ในกาลนั้น  ไม่อาจหลอกลวงบัณฑิตทั้งหลายได้ ”  และได้ทรงนำเรื่องในอดีตมาเล่า  ซึ่งมีเนื้อความกล่าวถึงฤาษีติดใจในรสของเนื้อเหี้ยที่มีคนนำมาถวาย  จึงได้ลืมภาวะความเป็นฤาษีจะฆ่าเหี้ยเพื่อจะนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทาน  แต่เหี้ยพระโพธิสัตว์รู้ทัน  จึงไม่สามารถฆ่าได้สำเร็จ   จากนั้นพระศาสดา  ได้ตรัสประมวลชาดกว่า  ฤาษีเมื่อครั้งอดีตคือพราหมณ์หลอกลวงในบัดนี้  ส่วนเหี้ยในอดีตนั้นก็คือพระองค์เอง
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

กินฺต  ชฏาหิ  ทุมฺเมธ
กินเต  อชินสาฏิยา
อพฺภนฺตรนฺเต  คหนํ
พาหิรํ  ปริมชฺชสิ  ฯ


ผู้มีปัญญาทราม
ประโยชน์อะไรด้วยชฎาทั้งหลายของเธอ
ประโยชน์อะไรด้วยผ้าที่ทำด้วยหนังเนื้อชื่ออชินะของเธอ

ภายในของเธอรกรุงรัง
เธอย่อมเกลี้ยงเกลาแต่ภายนอก
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


                     

12.เรื่องนางกิสาโคตมี
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ  ทรงปรารภนางกิสาโคตมี  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  ปํสุกูลธรํ  เป็นต้น

มีอยู่คราวหนึ่ง   ท้าวสักเทวราช  จอมเทพแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  ได้เสด็จมาเฝ้าพระศาสดา  พร้อมด้วยเทพบริวาร  ในช่วงปลายปฐมยาม  ถวายบังคมแล้ว ประทับนั่งสนทนาธรรมอยู่กับพระศาสดา  ในขณะเดียวกันนั้นนางกิสาโคตรมี  มีความประสงค์จะมาเฝ้าพระศาสดา  จึงได้เหาะมาทางอากาศ   เมื่อมาเห็นท้าวสักการะกำลังเฝ้าพระศาสดาอยู่  ก็จึงได้รีบถวายบังคมแล้วเหาะกลับ

ท้าวสักกะทอดพระเนตรเห็นนางท่าทางรีบกลับเช่นนั้น  ก็ได้กราบทูลถามพระศาสดาว่า  ภิกษุณีรูปนั้นชื่อว่าอะไร  พระศาสดาตรัสตอบว่า “ มหาบพิตร  ภิกษุณีนั่น  ชื่อกีสาโคตรมี  เป็นธิดาของอาตมภาพ   เป็นยอดแห่งภิกษุณีผู้ทรงผ้าบังสุกุลทั้งหลาย
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

ปํสุกูลธรํ  ชนฺตํ
กิสํ  ธมนิสนฺถตํ
เอกํ  วนสฺมึ  ฌายนฺตํ
ตมหํ  พฺรูหิ  พฺราหฺมณํ ฯ


เราเรียกชนผู้ทรงผ้าบังสุกุล 
ผู้ผอม  สะพรั่งด้วยเอ็น
ผู้เพ่งอยู่ผู้เดียวในป่านั้น

ว่า  เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.79 Chrome 21.0.1180.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2555 14:20:02 »



13. เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง

พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  น  จาหํ  เป็นต้น
ในกาลครั้งหนึ่ง  มีพราหมณ์คนหนึ่ง   คิดว่า  “พระสมณโคดม  ตรัสเรียกสาวกทั้งหลายของพระองค์ว่า  พราหมณ์  ส่วนเราก็เป็นผู้เกิดในกำเนิดพราหมณ์  การที่พระองค์ตรัสเรียกเราอย่างนั้นบ้าง  ก็เป็นการสมควร”  เข้าไปเฝ้าพระศาสดา  ทูลถามความข้อนี้  พระศาสดาตรัสว่า  “พราหมณ์  เราย่อมไม่เรียกว่า พราหมณ์  ด้วยเหตุพียงเกิดในกำเนิดพราหมณ์เท่านั้น  ส่วนผู้ใดไม่มีกิเลสเครื่องกังวล  ไม่ถือมั่น  เราเรียกผู้นั้นว่า  เป็นพราหมณ์”
จากนั้น  พระศาสดาตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

น  จาหํ  พฺราหฺมณํ   พฺรูมิ
โยนิชํ  มตฺติสมฺภวํ
โภวาที  นาม  โส  โหติ
ส  เว  โหติ  สกิญฺจโน
อกิญฺจนํ  อนาทานํ
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ


เราไม่เรียกบุคคลผู้เกิดแต่กำเนิด
ผู้มีมารดาเป็นแดนเกิดว่า  เป็นพราหมณ์
เขาย่อมเป็นผู้ชื่อว่าโภวาที
เขาย่อมเป็นผู้มีกิเลสเครื่องกังวล

เราเรียกผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
ผู้ไม่ถือมั่นว่า  เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  พราหมณ์นั้น  บรรลุโสดาปัตติผล  พระธรรมเทศนา  มีประโยชน์  แม้แก่มหาชนผู้มาประชุมกัน.


                               ----------------------

14.เรื่องอุคคเสน
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน  ทรงปรารภเศรษฐีบุตร ชื่ออุคคเสน  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  สพฺพสญฺโญชนํ  เป็นต้น

นายอุคคเสน  บุตรเศรษฐี  หลังจากจากแต่งงานกับบุตรสาวของคณะแสดงกายกรรมแล้ว  ก็ได้รับการฝึกฝนจากพ่อตาซึ่งเชี่ยวชาญทางด้านกายกรรม  วันหนึ่งขณะที่เขากำลังแสดงกายกรรมอยู่นั้น  พระศาสดาได้เสด็จบิณฑบาตผ่านมาทางนั้น  พระศาสดาทรงแสดงธรรมโปรด   และอุคคเสนก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในขณะที่นั่งอยู่บนปลายไม้ที่ตนขึ้นไปแสดง  เมื่อลงมาจากปลายไม้นั้นแล้ว  เขาก็ได้ไปขออุปสมบทจากพระศาสดา  และพระศาสดาได้ประทานให้ด้วยวิธีอุปสมบทที่เรียกว่าเอหิภิกขุอุปสัมปทา
 
อยู่มาวันหนึ่ง  เมื่อภิกษุทั้งหลายได้ถามพระอุคคเสนว่า  ท่านไม่กลัวหรือตอนที่ไต่ลงมาจากปลายไม้ที่มีความสูงมากถึงขนาดนั้น  ท่านตอบว่า  ไม่กลัว    จึงนำเรื่องนี้ขึ้นกราบทูลพระศาสดาว่า “พระเจ้าข้า  พระอุคคเสน  ย่อมกล่าวว่า  เราไม่กลัว  ชะรอยว่าจะอ้างตนว่าเป็นพระอรหันต์ด้วยคำไม่จริง”  พระศาสดาตรัสว่า  “ภิกษุทั้งหลาย  บุคคลผู้เช่นกับบุตรของเรา  มีสังโยชน์อันตัดได้แล้ว  ย่อมไม่กลัวเลย
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

สพฺพสญฺโญชนํ  เฉตฺวา
โย  เว  น  ปริตสฺสติ
สงฺคาติคํ  วิสํยุตฺตํ
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ


ผู้ใดแล  ตัดสังโยชน์ทั้งปวงได้แล้ว
ย่อมไม่สะดุ้ง   เราเรียกผู้นั้น
ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องได้

ผู้หลุดพ้นแล้วว่า  เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.79 Chrome 21.0.1180.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2555 14:36:17 »



15.  เรื่องพราหมณ์ 2 คน
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพราหมณ์ 2 คน  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  เฉตฺวา  นทฺธึ เป็นต้น

ครั้งหนึ่ง   ในกรุงสาวัตถี   มีพราหมณ์ 2 คน   มีโคอยู่คนละตัว  พราหมณ์แต่ละคนก็อ้างว่าโคของตัวแข็งแรงกว่าของอีกคนหนึ่ง  ในที่สุดก็จะพิสูจน์ความแข็งแรงของโคทั้งสองตัวนี้  โดยพราหมณ์ทั้งสองได้ไปกันที่ฝั่งแม่น้ำอจิรวดีและช่วยกันนำทรายมาบรรจุลงในเกวียนเล่มหนึ่งจนเต็ม  แล้วก็ผลัดกันให้โคของแต่ละฝ่ายลากเกวียนเล่มนั้น  แต่ไม่มีโคตัวใดลากเกวียนเล่มนั้นให้ขยับเขยื้อนจากที่ได้  และชะเนาะกับเชือกเกวียนก็ถึงกับขาดสะบั้น  ภิกษุทั้งหลาย ซึ่งไปอาบน้ำกันอยู่ในบริเวณที่สองพราหมณ์แข่งกันลากเกวียน  ก็ได้นำความกราบเรื่องนี้ขึ้นกราบบังคมทูลพระศาสดา  พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย  ชะเนาะและเชือกนั่นเป็นแต่ของภายนอก  คนใดคนหนึ่งก็ตัดชะเนาะและเชือกเหล่านั้นได้ทั้งนั้น  ฝ่ายภิกษุตัดชะเนาะคือความโกรธ  และเชือกคือตัณหาอันเป็นการภายใน  ย่อมเป็นการสมควร
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

เฉตฺวา  นทฺธึ  วรตฺตญฺจ
สนฺธานํ  สหนุกฺกมํ
อุกฺขิตฺตปลิฌํ  พุทฺธํ
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ


เราเรียกบุคคลผู้ตัดชะเนาะ  เชือก
และเครื่องต่อพร้อมทั้งสาย
ผู้มีลิ่มสลักอันถอนขึ้นแล้ว
ผู้รู้แล้ว  นั้นว่า  เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ภิกษุ  500  รูป  บรรลุพระอรหัตตผล   พระธรรมเทศนา  มีประโยชน์  แม้แก่ชนผู้มาประชุมกัน.


                         ~~~~~~~~~~~~~~~~

16. เรื่องอักโกสภารทวาชพราหมณ์
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน  ทรงปรารภอักโกสกภารทวาชพราหมณ์  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  อกฺโกสํ   เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง  นางพราหมณีชื่อธนัญชานี  ของภารทวาชพราหมณ์  เป็นพระโสดาบัน  และติดนิสัยชอบหลุดคำพูดออกมาโดยมิได้ตั้งใจ เมื่อตอนไอ  ตอนจาม หรือตอนเกิดทำของหลุดมือ ว่า  “นโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ”(ความนอบน้อม  จงมีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า  ผู้เป็นพระอรหันต์  ตรัสรู้เองโดยชอบ  พระองค์นั้น)  มีอยู่วันหนึ่ง  ภารทวาชพราหมณ์เชื้อเชิญพวกเพื่อนๆมารับประทานอาหารที่บ้าน  และในขณะที่ทุกคนกำลังรับประทานอาหารกันอยู่นั้น  นางพราหมณีเกิดทำของหลุดมือจึงหลุดคำพูดเดิมนั้นออกมา  เนื่องจากคำที่หลุดออกมานั้นเป็นคำแสดงความนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า

พราหมณ์ผู้สามีจึงโกรธมาก  ดุด่าว่ากล่าวนางพราหมณีว่า “ อีหญิงถ่อย  ทำอะไรพลาดเป็นไม่ได้  ต้องกล่าวสรรเสริญพระสมณะหัวโล้นนั้นอย่างนี้ทุกที”  พราหมณ์นั้นจึงไปเฝ้าพระศาสดา  โดยหวังว่าจะไปโต้วาทีเพื่อให้พระองค์จนมุมตอบไม่ได้  แล้วได้ตั้งคำถามที่ท้าทายว่า “บุคคลฆ่าอะไรสิ  จึงอยู่เป็นสุข  ฆ่าอะไรสิ  จึงไม่เศร้าโศก  ข้าแต่พระสมณโคดม  พระองค์ย่อมชอบใจซึ่งการฆ่าธรรมอะไรสิ  ซึ่งเป็นธรรมอันเอก”  พระศาสดาตรัสตอบว่า  “บุคคลฆ่าความโกรธได้แล้ว  จึงอยู่เป็นสุข  ฆ่าความโกรธได้แล้ว  จึงไม่เศร้าโศก  พราหมณ์  พระอริยเจ้าทั้งหลาย  ย่อมสรรเสริญการฆ่าความโกรธอันมีรากเป็นพิษ   มียอดหวาน  เพราะบุคคลนั้นฆ่าความโกรธนั้นได้แล้ว  ย่อมไม่เศร้าโศก”  เมื่อได้ฟังดำรัสนี้ของพระศาสดาแล้ว  พราหมณ์นั้นเกิดความเลื่อมใส  ขออุปสมบทเป็นภิกษุ  และได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

อักโกสกภารทวาชพราหมณ์  ซึ่งเป็นน้องชาย   เมื่อได้ทราบว่าพี่ชายบวชไปแล้ว  ก็โกรธและได้ไปด่าพระศาสดาด้วยวาจาหยาบคาย  พระศาสดาได้ตรัสถามเขาว่า “ พราหมณ์  สมมุติว่ามีแขกมาที่บ้านของท่าน  และท่านได้ยกสำรับกับข้าวมาให้เขารับประทาน  แต่เขาไม่ยอมรับประทานอาหารนั้น  ได้ลุกออกจากบ้านท่านไป  สำรับับข้าวนั้นจะตกเป็นของใคร”  เมื่อเขาตอบว่าก็ตกเป็นของเขาเอง  พระศาสดาจึงตรัสว่า “ ในทำนองเดียวกัน  พราหมณ์   เมื่อตถาคตไม่รับคำด่านั้น  คำด่านั้นก็จะย้อนกลับไปหาท่าน”  เมื่อถึงตอนนี้  อักโกสกภารทวาชพราหมณ์  ก็เกิดความสำนึก  เสื่อมใสในพระศาสดา  ขออุปสมบทและได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์

ฝ่ายน้องชายอีก  2  คน  คือ  สุนทริกภารทวาชพราหมณ์  และพิลังคกภารทวาชพราหมณ์  ก็ได้ไปด่าพระศาสดาเหมือนกัน  และได้ถูกพระศาสดาอบรมสั่งสอน  ขออุปสมบทเป็นภิกษุ  และได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
อยู่มาวันหนึ่ง  ภิกษุสนทนากันในธรรมสภาว่า  “ผู้มีอายุทั้งหลาย   คุณของพระพุทธเจ้าน่าอัศจรรย์หนอ  เมื่อพราหมณ์พี่น้องทั้ง 4 ด่าอยู่  พระศาสดาไม่ตรัสอะไรๆ  กลับเป็นที่พึ่งของพราหมณ์เหล่านั้น

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถาม   ถึงหัวข้อสนทนาของภิกษุเหล่านั้น  แล้วตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย  เราไม่ประทุษร้าย  ในชนทั้งหลายผู้ประทุษร้าย  เพราะความที่เราประกอบด้วยกำลังคือขันติ  ย่อมเป็นที่พึ่งของมหาชนโดยแท้
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

อกฺโกสํ  วธพนฺธญฺจ
อทุฏฺโฐ  โย  ติติกฺขติ
ขนฺติพลํ  พลานีกํ
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺรหฺมณํ  ฯ


ผู้ใด  ไม่ประทุษร้าย  อดกลั้นซึ่งคำด่า
และการตีและการจองจำได้
เราเรียกผู้นั้น  ซึ่งมีกำลังคือขันติ
มีหมู่พล  ว่า  เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.79 Chrome 21.0.1180.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2555 15:07:40 »




17. เรื่องพระสารีบุตรเถระ
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน  ทรงปรารภพระสารีบุตรเถระ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  อกฺโกธนํ เป็นต้น

พระสารีบุตร  พร้อมด้วยภิกษุจำนวน  500  รูป  ได้เข้าไปในหมู่บ้านนาลกะ  และได้ไปยืนบิณฑบาตอยู่ที่ประตูบ้านของโยมมารดาของท่าน  และโยมมารดาของท่านก็ได้นิมนต์ท่านพร้อมด้วยภิกษุเหล่านั้นเข้าไปในบ้าน  ในขณะที่ถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระลูกชาย   นางได้ด่าว่าและพูดกระแทกแดกดันลูกชาย   ว่าเป็นพวกชอบกินเดน  ทิ้งทรัพย์ 80 โกฏิออกไปบวช  ทำให้นางได้รับความเสียหาย   และเมื่อถวายอาหารบิณฑบาตแก่ภิกษุทั้งหลายนางก็ได้พูดกระแนะกระแหนในทำนองว่าเป็นพวกที่ทำลูกชายของนางให้เป็นคนรับใช้   พระสารีบุตรไม่พูดโต้ตอบอะไรสักคำ  เมื่อรับอาหารบิณฑบาตจากมารดาแล้ว  ก็เดินกลับวัดพระเวฬุวัน   เมื่อกลับถึงวัดแล้ว  ภิกษุทั้งหลาย  ได้สนทนากันในธรรมสภาว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย  คุณของพระสารีบุตรน่าอัศจรรย์หนอ  เมื่อมารดาของท่านด่าว่า  จะโกรธแม้สักนิดหนึ่งก็ไม่มี”   พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามถึงหัวข้อสนทนาของภิกษุเหล่านั้นแล้ว  ตรัสว่า  “ภิกษุทั้งหลาย  ธรรมดาพระขีณาสพทั้งหลาย  เป็นผู้ไม่โกรธเลย
จากนั้น  พระศาสดาตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

อกฺโกธนํ  วตฺตวนฺตํ
สีลวนฺตํ   อนุสฺสทํ
ทนฺตํ  อนฺติมสารีรํ
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ  ฯ


เราเรียกผู้ไม่โกรธ  มีวัตร
มีศีล  ไม่มีตัณหาเครื่องฟูขึ้น
ผู้ฝึกแล้ว  มีสรีระในที่สุด

นั้นว่า  เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


http://i1104.photobucket.com/albums/h329/daobingan/77.jpg
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 26 : พราหมณวรรค

18. เรื่องพระอุบลวัณณาเถรี
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพระอุบลวัณณาเถรี  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  วาริ  โปกฺขรปตฺเตว  เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง   ภิกษุสนทนากันในเรื่องที่พระอุบลวัณณาเถรี ถูกนันทมาณพข่มขืนกระทำชำเรา  และนันทมาณพนั้นได้ถูกแผ่นดินสูบ  โดยตั้งข้อสังเกตว่า “ถึงพระขีณาสพทั้งหลาย  ชะรอยจะยังเสพกาม  ทำไมจักไม่เสพ  เพราะท่านเหล่านั้น  ไม่ใช่ไม้ผุ  ไม่ใช่จอมปลวก  ยังมีเนื้อและสรีระสดๆอยู่เทียว  เหตุนั้น  แม้พระขีณาสพเหล่านั้น  จึงยังยินดีกามสุขอยู่

พระศาสดา เสด็จมาตรัสถามถึงหัวข้อสนทนาของภิกษุเหล่านี้ แล้วตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย  พระขีณาสพทั้งหลาย  ย่อมไม่ยินดีซึ่งกามสุข  ไม่เสพกาม  เหมือนอย่างว่าหยาดน้ำที่ตกลงบนใบบัว  ย่อมไม่ติด  ไม่ค้างอยู่  ย่อมกลิ้งตกไปทีเดียว  ฉันใด  อนึ่ง  เหมือนเมล็ดพันธ์ผักกาด  ย่อมไม่ติด  ไม่ตั้งอยู่  บนปลายเหล็กแหลม  ย่อมกลิ้งตกไปทีเดียว  ฉันใด  แม้กามทั้ง 2  อย่าง  ย่อมไม่ติด  ไม่ตั้งอยู่  ในจิตของพระขีณาสพ  ฉันนั้น
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

วาริ  โปกฺขรปตฺเตว
อารคฺเคริว  สาสโป
โย  น  ลิปปติ  กาเมสุ
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ


ผู้ใด  ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย
เหมือนน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว
เหมือนเมล็ดพันธ์ผักกาด

ไม่ตั้งอยู่ปลายเหล็กแหลม
เราเรียกผู้นั้นว่า  เป็นพราหมณ์
ณ์.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.79 Chrome 21.0.1180.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2555 15:34:16 »




19. เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  โย  ทุกฺขสฺส  เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง  ทาสของพราหมณ์คนหนึ่ง  ได้หนีออกจากบ้านพราหมณ์ไปบวช  และได้บรรลุเป็นพระอรหันต์   อยู่มาวันหนึ่ง  ขณะที่พระอดีตทาสรูปนี้กำลังออกเดินบิณฑบาตอยู่นั้น  พราหมณ์นั้นได้มาพบเข้า จึงเข้าไปยึดจีวรเอาไว้  เมื่อพระศาสดา เสด็จกลับมาตรัสถาม   ก็ได้กราบทูลว่า  พระภิกษุรูปนี้เป็นอดีตทาสของเขามาก่อน   เมื่อพระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุนี้ปลงภาระ(คือขันธ์ 5) ได้แล้ว”  พราหมณ์ตีความว่า ว่าพระภิกษุอดีตทาสรูปนี้ได้เป็นพระอรหันต์แล้ว  ดังนั้น  เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าตนเข้าใจถูกต้องจึงกราบทูลถามว่า เป็นความจริงหรือไม่ที่พระภิกษุหนุ่มรูปนี้เป็นพระอรหันต์แล้ว   พระศาสดาตรัสว่า “ถูกแล้ว  พราหมณ์  พระภิกษุรูปนี้  เป็นผู้มีภาระอันปลงแล้ว
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

โย  ทุกฺขสฺส  ปชานาติ
อิฌธว  ขยมตฺตโน
ปนฺนภารํ   วิสํยุตฺตํ
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ


ผู้ใด  ในศาสนานี้แล
รู้ชัดความสิ้นไปแห่งทุกข์ของตน
เราเรียกผู้นั้น  ซึ่งมีภาระอันปลงแล้ว

ผู้พรากได้แล้วว่า   เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  พราหมณ์นั้นบรรลุโสดาปัตติผล  พระธรรมเทศนา  มีประโยชน์  แม้แก่ชนผู้มาประชุมกัน.


                       ------------------------

20. เรื่องพระเขมาภิกษุณี
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ  ทรงปรารภพระเขมาภิกษุณี  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  คมฺภีรปญฺญํ เป็นต้น

ในวันหนึ่ง  ท้าวสักกเทวราช  เสด็จมากับเทพบริวาร  ในระหว่างปฐมยาม  ประทับนั่งสดับธรรมกถาอยู่กับพระศาสดา  ในขณะนั้น  พระเขมาภิกษุณี  มาด้วยมีวัตถุประสงค์จะเฝ้าพระศาสดา  เห็นท้าวสักกะ  จึงหยุดยืนอยู่ในอากาศ  ถวายบังคมพระศาสดาแล้วก็เหาะกลับไป  ท้าวสักกะทอดพระเนตรเห็นพระเขมานั้นแล้ว  กราบทูลถามว่า “พระเจ้าข้า  ภิกษุณีนั่นชื่ออะไร? มายืนอยู่ในอากาศ  ถวายบังคมแล้วก็กลับไป”  พระศาสดาตรัสว่า “มหาบพิตร  ภิกษุนั่น  เป็นธิดาของอาตมภาพ  เป็นผู้มีปัญญามาก  ฉลาดในทางและมิใช่ทาง
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

คมฺภีรปญฺญํ  เมธาวึ
มคฺคามคฺคสฺส  โกวิทํ
อุตฺตมตฺถํ  อนุปฺปตฺตํ
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ


เราเรียกผู้มีปัญญาลึกซึ้ง  เป็นปราชญ์
ฉลาดในทางและมิใช่ทาง
บรรลุประโยชน์สูงสุด

นั้นว่า  เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.79 Chrome 21.0.1180.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2555 16:04:47 »



21. เรื่องพระติสสเถระผู้อยู่ในเงื้อมเขา
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพระติสสเถระผู้อยู่ในเงื้อมเขา  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  อสํสฏฺฐํ เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง  พระติสสเถระ  เรียนพระกัมมัฏฐานจากพระศาสดาแล้ว  เข้าป่าไปพบสถานที่แห่งหนึ่งเป็นที่สัปปายะอยู่ที่เงื้อมเขา  ท่านได้ลองนั่งทดสอบดู  ก็เห็นว่าจิตสงบดี  ซึ่งจะทำให้บรรลุถึงที่สุดแห่งกิจของบรรพชิตคือเข้าถึงพระนิพพานได้  ท่านจึงตัดสินใจจะจำพรรษาอยู่ในถ้ำแห่งนั้น  เทพยดาซึ่งสิงสถิตอยู่ในถ้ำแห่งนั้นคิดว่าพระภิกษุรูปนี้คงจะพำนักอยู่แค่คืนเดียวก็จะจากไป  ก็ได้พาพวกลูกๆของตนออกไปจากถ้ำนั้น  แต่ในวันรุ่งขึ้นพระภิกษุนี้ได้เข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน  ได้รับอาราธนาจากหญิงผู้หนึ่งให้เข้าจำพรรษาอยู่ในถ้ำนั้นเป็นเวลา 3 เดือน   พระภิกษุนั้นจึงได้สนองศรัทธา  เทวดาที่สิงสถิตอยู่ในถ้ำเกิดความเดือดร้อน  เพราะจะอยู่ในถ้ำกับพระภิกษุผู้มีศีลบริสุทธ์ก็อยู่ไม่ได้  จะไปบอกท่านให้ออกไปจากถ้ำก็ยิ่งไม่กล้า  จึงได้วางแผนจะจับผิดพระภิกษุนั้นเพื่อหาเหตุให้ท่านออกไปจากถ้ำนั้นให้ได้

เทวดาอยู่ในถ้ำตนนั้น จึงได้ไปเข้าสิงที่ร่างของบุตรของหญิงที่นิมนต์พระภิกษุไปรับอาหารบิณฑบาตเป็นประจำทุกวันนั้น  เมื่อถูกเทวดาเข้าสิงเด็กชายคนนั้นก็เกิดอาการคอบิด น้ำลายฟูมปาก  ข้างมารดาของเด็กเห็นเช่นนั้นก็ตกใจ กอดบุตรร้องไห้  ร่างของเด็กที่ถูกเทวดาเข้าสิงได้กล่าวว่า   “เราเข้าสิงที่ร่างของบุตรท่าน  เราไม่ต้องการเครื่องเซ่นสังเวยใดๆ  แต่อยากจะให้ท่านไปขอสมุนไพร “ชะเอมเครือ”จากพระเถระที่เข้ามาบิณฑบาตที่บ้านท่านเป็นประจำมาทอดน้ำมัน  แล้วนำมาให้เด็กคนนี้หยอดเข้าไปทางจมูก”  แต่หญิงนั้นไม่กล้าไปขอสิ่งนั้นจากพระภิกษุเพราะจะทำให้ท่านมีศีลด่างพร้อยในข้อที่ปรุงยารักษาโรค  จึงได้ต่อรองกับเทวดา  จนตกลงกันว่า ให้นางไปขอน้ำล้างเท้าของพระภิกษุนั้น  เมื่อได้มาแล้วก็ให้นำมารดลงที่ศีรษะของเด็กนี้

ในวันรุ่งขึ้น  เมื่อพระภิกษุรูปนี้เข้ามาบิณฑบาตที่บ้าน  นางก็ได้ถวายอาหารบิณฑบาตตามปกติ  แต่ที่พิเศษก็คือขอให้พระเอาน้ำล้างเท้าและขอน้ำนั้นไว้  และนางได้นำน้ำนั้นรดลงที่ศีรษะของบุตร  เด็กนั้นก็มีสภาพกลับคืนสู่ปกติ  ส่วนเทวดาก็ได้กลับไปที่ถ้ำเพื่อรอการกลับคืนสู่ถ้าของภิกษุนั้น  เมื่อภิกษุนั้นกลับมาแล้ว  เทวดานั้นก็ได้แสดงตัวออกมาให้ภิกษุนั้นเห็น  กล่าวว่า “ท่านผู้เป็นหมอใหญ่  ท่านอย่าได้เข้ามาในถ้ำนี้”  พระภิกษุนั้นรู้ตัวว่าตั้งแต่บวชพระมาไม่เคยประกอบยารักษาโรคให้แก่ผู้ใด จึงได้ตอบไปว่า ท่านไม่เคยทำยารักษาโรคให้ใครมาก่อนเลย  เทวดาจึงบอกว่าเมื่อเช้านี้พระภิกษุนี้ได้ทำการรักษาเด็กที่ถูกอมนุษย์เข้าสิงที่บ้านที่ท่านเข้าไปรับอาหารบิณฑบาตเป็นประจำนั่นไง  พระเถระตอบว่าไม่ได้ประกอบยารักษาเด็กดังที่เทวดากล่าวหา  เทวดาบอกว่าที่เอาน้ำล้างเท้าไปรดให้เด็กก็ถือว่าเป็นการรักษาโรคได้เหมือนกัน  แต่พระภิกษุนั้นตอบว่าไม่เป็น  และท่านก็มีความภาคภูมิใจว่าท่านยังมีศีลบริสุทธิ์ เกิดความปีติอย่างเหลือล้น  เมื่อข่มปีติได้แล้ว  ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในขณะยืนอยู่ที่ปากถ้ำนั่นเอง

เมื่อท่านรู้ตัวว่าท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว  ก็ได้บอกให้เทวดาออกจากถ้ำนั้นไป  ในขณะที่ท่านก็จำพรรษาอยู่ที่นั่นต่อไปจนครบไตรมาส  เมื่อออกพรรษาแล้วท่านก็ได้เดินทางกลับไปเฝ้าพระศาสดา  เมื่อถูกภิกษุทั้งหลายถามว่า  บรรลุถึงกิจสูงสุดของการเป็นบรรพชิตแล้วหรือยัง ? ท่านก็ได้เล่าเรื่องทั้งหมดให้ภิกษุเหล่านี้ฟัง  เมื่อภิกษุทั้งหลายถามว่า “  ท่านถูกเทวดาว่ากล่าวอย่างนั้น  ไม่โกรธหรือ?”  ท่านตอบว่า “ไม่โกรธ”  พวกภิกษุทั้งหลายจึงตีความคำพูดของท่านว่าเป็นการอวดอ้างตนว่าบรรลุเป็นพระอรหันต์  จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระศาสดา  พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย  บุตรของเราย่อมไม่โกรธเลย  เพราะขึ้นชื่อว่าความเกี่ยวข้องด้วยคฤหัสถ์หรือด้วยบรรพชิตทั้งหลาย  ย่อมไม่มีแก่บุตรของเรานั่น  บุตรของเรานั่น  ไม่เกี่ยวข้อง  ปรารถนาน้อย  สันโดษ
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

อสํสฏฺฐํ  คหฏฺเฐหิ
อนาคาเหิ  จูภยํ
อโนกสารึ  อปฺปิจฺฉํ
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ


เราเรียกบุคคล  ผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยชน 2  จำพวก
คือ คฤหัสถ์  1  บรรพชิต 1
ผู้ไม่มีความอาลัยเที่ยวไป
ผู้ปรารถนาน้อยนั้นว่า  เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศฯจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


                          -------------------------

22. เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  นิธาย เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง   ภิกษุรูปหนึ่ง  เรียนพระกัมมัฏฐานจากพระศาสดาแล้ว  ได้เดินทางเข้าไปปฏิบัติธรรมอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง  หลังจากที่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว  ก็ได้กลับมาเฝ้าพระศาสดา  เพื่อจะกราบบังคมทูลถึงคุณธรรมที่ตนได้บรรลุถึงแล้ว  ในระหว่างทาง  ได้เดินทางผ่านหมู่บ้านแห่งหนึ่ง  ขณะที่กำลังจะผ่านพ้นหมู่บ้านนั้นไป  ก็มีหญิงคนหนึ่งทะเลาะกับสามีหนีออกจากบ้านจะกลับไปที่บ้านของบิดามารดา  นางจึงเดินตามหลังพระรูปนี้มา  ข้างสามีก็ได้เดินตามหาภรรยาเห็นนางเดินตามหลังพระภิกษุนี้อยู่  ก็ตะโกนให้พระภิกษุหยุดแล้วข่มขู่คุกคามจะเอาชีวิตพระภิกษุให้ได้

เพราะเข้าใจว่าภิกษุนี้นัดแนะให้ภรรยาตนหนีตามกันมา  พระภิกษุนี้ถูกชายผู้สามีของหญิงนั้นทุบตีจนร่างกายฟกช้ำดำเขียวทั่วตัว  ข้างภรรยาก็ได้เข้าห้ามไม่ให้ทุบตี  โดยนางบอกว่ามาเองโดยที่พระภิกษุมิได้นัดหมายแต่อย่างใด  แต่คำอธิบายนั้นก็ยิ่งกระพือไฟแห่งความโกรธให้แก่สามีมากยิ่งขึ้น  เมื่อได้ทุบตีภิกษุนั้นจนหนำใจแล้ว  ผู้สามีก็ได้พาภรรยากลับบ้าน  ส่วนพระภิกษุก็เดินทางต่อไป

เมื่อเดินทางไปถึงวัดพระเชตวันแล้ว  ภิกษุทั้งหลายมาช่วยกันนวดเฟ้นร่างกายให้ท่าน  และเห็นร่างกายฟกช้ำ  จึงถามท่านว่าไปถูกใครทุบตีมา  ท่านก็ได้เล่าให้ฟัง  พระเหล่านั้นจึงถามว่า  “เมื่อท่านถูกชายผู้นั้นทุบตี  ท่านได้พูดอะไรออกไปหรือไม่ ? หรือว่าท่านเกิดความโกรธหรือไม่ ?”   เมื่อท่านบอกว่า “ภิกษุทั้งหลาย  ความโกรธย่อมไม่เกิดขึ้นแก่เรา

ภิกษุเหล่านั้นจึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระศาสดา   พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย  ธรรมดาพระขีณาสพทั้งหลาย  มีอาชญาอันวางแล้ว  พระขีณาสพเหล่านั้น  ย่อมไม่ทำความโกรธ  ในชนทั้งหลาย  แม้ผู้ประหารอยู่
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

นิธาย  ทณฺฑํ  ภูเตสุ
ตเสสุ  ถาวเรสุ  จ
โย  น  หนฺติ  น  ฆาเตติ
ตมหํ   พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ  ฯ


ผู้ใด วางอาชญาในสัตว์ทั้งหลาย
ผู้สะดุ้งและผู้มั่นคง
ไม่ฆ่าเอง  ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า
เราเรียก  ผู้นั้น  ว่า
  เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง    ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.79 Chrome 21.0.1180.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2555 16:53:14 »



23. เรื่องสามเณร
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภสามเณรทั้งหลาย  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  อวิรุทฺธํ เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง  นางพราหมณีคนหนึ่ง  ได้มอบหมายให้พราหมณ์ผู้สามีไปที่วัดพระเชตวัน  เพื่อทำการนิมนต์พระภิกษุ 4 รูปมารับอาหารบิณฑบาตที่บ้าน   นางบอกถึงคุณสมบัติว่าพระที่จะนิมนต์มานั้นต้องเป็น “พราหมณ์แก่ 4 คน”  เมื่อพราหมณ์ไปที่วัดและแจ้งความประสงค์ว่าต้องการพราหมณ์แก่ 4 คนไปรับอาหารบิณฑบาตที่บ้านตามที่นางพราหมณีต้องการ   แต่เวลาจัดให้จริงๆ  กลับเป็นว่าผู้ที่ถูกส่งไปที่บ้านของพราหมณ์และนางพราหมณีเป็นสามเณรน้อยอายุ   7 ขวบจำนวน  4  รูป  คือ 1.สังกิจจสามเณร  2.บัณฑิตสามเณร  3.โสปากสามเณร  และ 4.เรวตสามเณร  ซึ่งสามเณรน้อยทั้ง 4 รูปนี้ล้วนแล้วแต่เป็นพระอรหันต์

เมื่อนางพราหมณีผู้ภรรยาเห็นเป็นสามเณรแทนที่จะเป็นพราหมณแก่  นางก็รู้สึกผิดหวังได้ต่อว่าต่อขานพราหมณ์ผู้สามีว่าไปนิมนต์สามเณรที่มีอายุอ่อนกว่าเด็กคราวหลานมาได้อย่างไร  นางจึงบอกสามีให้กลับไปที่วัดใหม่เพื่อนิมนต์พราหมณ์มาแทนสามเณรน้อย 4 รูปนี้  ในขณะเดียวกันนั้น  นางก็ปฏิเสธที่จะให้สามเณรนั่งบนอาสนะสูงๆที่นางจัดไว้สำหรับพราหมณ์ชรา  ได้ให้สามเณรทั้ง 4 รูปนั่งบนอาสนะที่ต่ำๆและก็ไม่ยอมถวายอาหารบิณฑบาตแก่สามเณรเหล่านี้ด้วย

เมื่อพราหมณ์นั้นกลับไปที่วัด  ก็ได้พบกับพระสารีบุตรเถระและได้นิมนต์พระเถระไปที่บ้าน  เมื่อพระเถระเดินทางไปถึงที่บ้านแล้ว  ก็ได้เห็นสามเณรขีณาสพทั้ง 4  รูป ท่านจึงได้ถามสามเณรขีณาสพเหล่านั้นว่า ได้ฉันอาหารบิณฑบาตแล้วหรือยัง  เมื่อได้ทราบว่าสามเณรขีณาสพยังไม่ได้ฉันอาหารบิณฑบาตและอาหารบิณฑบาตเหล่านั้นตระเตรียมไว้สำหรับเพียงพอบุคคล 4 คนเท่านั้น  พระเถระก็ได้กลับวัดโดยที่ไม่รับอาหารบิณฑบาตจากบ้านของพราหมณ์  นางพราหมณ์จึงได้ส่งพราหมณ์ผู้สามีกลับไปที่วัดเพื่อนิมนต์พราหมณ์ชราคนอื่นมา  คราวนี้ไปได้พระมหาโมคคัลลานเถระมา  พระมหาโมคคัลลานเถระเมื่อมาถึงแล้วก็กลับวัดไปอีกรูปหนึ่งเมื่อรู้ว่าสามเณรทั้ง 4  รูปยังไม่ได้ฉันภัตตาหาร  และอาหารตระเตรียมไว้สำหรับคน 4 คนเท่านั้น

พอถึงช่วงนี้  สามเณรทั้ง 4 รูป ยังไม่มีอะไรตกถึงท้องตั้งแต่เช้า  ก็มีความรู้สึกหิวขึ้นมามาก  และในขณะนั้น  ทิพอาสน์ของท้าวสักกะเทวราชแสดงอาการร้อน  ท้าวเธอได้สอดส่องทิพยเนตรมาดู  ได้ทรงทราบว่าสามเณรทั้ง 4 รูปกำลังหิวโหยอาหาร  จึงทรงแปลงร่างเป็นพราหมณ์ชรามาที่บ้านของพราหมณ์และนางพราหมณีนั้น   พราหมณ์และนางพราหมณีก็ได้เข้าไปไหว้พราหมณ์ชรานั้นและได้เชิญให้ขึ้นนั่งบนอาสนะที่สูงๆ  แต่ท้าวสักกะแปลงร่างนั้นกลับนั่งลงที่พื้นบ้านและได้ก้มลงทำความเคารพสามเณรทั้ง 4 รูป  จากนั้นท้าวเธอก็ยังได้ทรงเปิดเผยพระองค์ว่าเป็นท้าวสักกะแปลงร่างมา เมื่อเห็นท้าวสักกะทำความเคารพสามเณรทั้ง 4 รูป  พราหมณ์และนางพราหมณีก็จึงยอมนำอาหารไปถวายสามเณรทั้ง 4 รูป  หลังจากเสร็จภัตตกิจแล้ว  ท้าวสักกะและสามเณรทั้ง 4 รูปได้แสดงอิทธิฤทธิ์  เหาะทะลุผ่านทางหลังคาสู่อากาศ  โดยท้าวสักกะเหาะขึ้นสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์  ส่วนสามเณรทั้ง 4 รูปก็เหาะกลับวัดพระเชตวัน

เมื่อภิกษุทั้งหลายสอบถามสามเณรทั้ง 4 รูปว่ามีความโกรธหรือไม่เมื่อตอนที่พราหมณ์และนางพราหมณียังไม่ยอมถวายอาหารบิณฑบาต  สามเณรทั้ง 4 รูปตอบว่าไม่โกรธ  ภิกษุเหล่านั้นไม่เชื่อ  และได้นำเรื่องขึ้นกราบบังคมทูลพระศาสดาว่า  สามเณรทั้ง 4 รูปโกหกและอวดอ้างตนว่าเป็นอรหันต์
พระศาสดา  ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย  ธรรมดาพระขีณาสพทั้งหลาย  ย่อมไม่เคียดแค้น  ในชนทั้งหลาย  แม้ผู้เคียดแค้นแล้วเลย
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

อวิรุทฺธํ  วิรุทฺเธสุ
อตฺตทณฺเฑสุ  นิพฺพุตํ
สาทาเนสุ  อนาทานํ
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ


เราย่อมเรียก บุคคลผู้ไม่เคียดแค้น
ในบุคคลผู้เคียดแค้น
ผู้ดับเสียได้ในบุคคลผู้มีอาชญาในตน
ผู้ไม่ถือมั่นในบุคคลผู้ถือมั่น  นั้น

ว่า  เป็นพราหมณ์.


เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


                      ---------------------

24. เรื่องพระมหาปันถกเถระ
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน  ทรงปรารภพระมหาปันถก  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  ยสฺส  ราโค  จ  เป็นต้น

พระมหาปันถกเถระ  เป็นพระอรหันต์แล้ว   ในตอนที่น้องชายของท่านที่ชื่อว่าจูฬปันถกเข้ามาบวช  พระจูฬปันถกเป็นคนมีปัญญาทึบเพราะในอดีตชาติเคยล้อเลียนพระที่เล่าเรียนไม่เก่งรูปหนึ่ง  พระจูฬปันถกไม่สามารถจดจำพระคาถาที่พระมหาปันถกพี่ชายมอบให้ไปท่องแม้จะใช้เวลาท่องอยู่ถึง 4 เดือนก็ตาม  พระมหาปันถกรู้สึกผิดหวังกับพระน้องชายเป็นอย่างมากจึงขับไล่ออกไปจากวัดเพราะเป็นคนไม่มีคุณค่าที่จะบวชอยู่ต่อไป  “เธอเป็นผู้อาภัพแม้ในพระศาสนา  ทั้งเป็นผู้เสื่อมแล้วจากโภคะของคฤหัสถ์  ประโยชน์อะไรของเธอด้วยการอยู่ในวัดนี้  เธอจงออกไปเสียจากวัดนี้” พระมหาปันถกกล่าว  แล้วปิดประตู

ภิกษุทั้งหลาย  สนทนากันว่า “ท่านทั้งหลาย  พระมหาปันถกเถระทำแบบนี้  ชะรอยความโกรธจะยังคงเกิดขึ้นกับพระขีณาสพทั้งหลายได้เป็นแน่
พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามถึงหัวข้อสนทนานั้น  แล้วตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย  กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น  ย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพทั้งหลาย  แต่บุตรของเราทำเช่นนั้น  เพราะความที่ตนเป็นผู้มุ่งประโยชน์เป็นเป้าหมายสำคัญ  และเพราะเป็นผู้มุ่งธรรมเป็นเป้าหมายสำคัญ
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

ยสฺส  ราโค จ  โทโส  จ
มาโน  มกฺโข  จ  ปาติโต
สาสโปริว  อารคฺคา
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ  ฯ


ราคะ  โทสะ  มานะ  และมักขะ
อันผู้ใดให้ตกไปแล้ว
เหมือนเมล็ดพันธ์ผักกาด
ตกไปจากปลายเหล็กแหลม ฉะนั้น

เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย    มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 สิงหาคม 2555 16:56:56 โดย เงาฝัน » บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.79 Chrome 21.0.1180.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2555 16:58:52 »



25. เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน  ทรงปรารภพระปิลินทวัจฉเถระ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  อกกฺกสํ เป็นต้น

พระปิลินทวัจฉเถระ  ติดนิสัยพูดคำไม่สุภาพกับคนอื่น เช่น พูดว่า  “มานี่  คนถ่อย  ไปนั่น  คนถ่อย”  เป็นต้น จะใช้คำว่า “คนถ่อย”นี้ทั้งกับคฤหัสถ์แลละบรรพชิต   ภิกษุทั้งหลายได้นำความนี้ขึ้นกราบบังคมพระศาสดาว่า  “พระเจ้าข้า  ท่านปิลินทวัจฉะ  ย่อมเรียกภิกษุด้วยถ้อยคำไม่สุภาพว่า  คนถ่อย”  พระศาสดารับสั่งให้พระเถระนั้นมาเฝ้า  แล้วตรัสถามถึงเรื่องนี้  เมื่อพระเถระยอมรับว่าได้พูดอย่างนั้นจริง

พระศาสดาทรงใช้อตีตังสญาณย้อนรำลึกถึงอดีตชาติของพระเถระ  ทรงทราบว่าเมื่อ 500 ที่ผ่านมา  พระเถระเคยเกิดในวรรณะพราหมณ์มาตลอด  ซึ่งพวกพราหมณ์ถือว่าพวกตนมีฐานะสูงส่งกว่าพวกคนวรรณะอื่น  คำว่า “คนถ่อย“ นี้พระเถระเคยพูดมาจนติดเป็นนิสัย   ดังนั้นพระศาสดาจึงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า พระเถระไม่ได้จงใจที่จะพูดกระทบกระทั่งคนอื่น  เพราะปกติแล้วพระขีณาสพจะไม่พูดคำระคายหู  หรือคำหยาบใดๆ
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

อกกฺกสํ  วิญฺญาปนึ
คิรึ  สจฺจํ  อุทีรเย
ยาย  นาภิสเช  กญฺจิ
ตมหํ  พฺรูหิ  พฺราหฺมณํ ฯ


ผู้ใด  พึงกล่าวถ้อยคำอันไม่ระคายหู
อันให้รู้กันได้เป็นคำจริง
อันเป็นเหตุไม่ยังใครๆให้ขัดใจ

เราเรียกผู้นั้นว่า  เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


                        -------------------

26. เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  โยธ  ทีฆํ  เป็นต้น

วันหนึ่ง   พราหมณ์คนหนึ่งในกรุงสาวัตถี  เปลื้องผ้าห่ม  วางผึ่งลมไว้นอกบ้าน  พระอรหันต์ขีณาสพรูปหนึ่ง  กำลังจะเดินกลับวัด   เห็นผ้านั้น  มองไปมองมาไม่เห็นใคร  ก็เลยคิดว่าเป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของ  จึงได้อธิษฐานผ้าเป็นบังสุกุล  ถือเอาไป  พราหมณ์มองลงมาทางหน้าต่างเห็นพระเถระหยิบเอาผ้าของคนไปก็ได้วิ่งไล่ตาม   ด่าพลางเข้าไปหา กล่าวว่า “ สมณะโล้น  ท่านเอาผ้าของข้าพเจ้าไปทำไม” พระเถระ  กล่าวว่า   “ฉันไม่เห็นใคร จึงฉวยเอาผ้านี้มาด้วยสำคัญว่าเป็นผ้าบังสุกุล  ท่านจงรับผ้านี้คืนเถิด”ว่าแล้ก็คืนผ้าผืนนั้นให้แก่พราหมณ์ในทันที

เมื่อกลับไปถึงวัดแล้ว  พระเถระได้เล่าเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายฟัง  พระภิกษุเหล้านั้นได้ถามท่านในเชิงเยาะเย้ยว่า”ผ้าผืนนั้น  ยาวหรือสั้น  หยาบหรือละเอียด”  พระเถระกล่าวว่า  “ท่านทั้งหลาย  ผ้านั้นจะยาวหรือสั้น หยาบหรือละเอียดก็ช่างเถิด  ความอาลัยในผ้านั้นของผมไม่มี  ผมหยิบเอามาด้วยความสำคัญว่าผ้าบังสุกุลต่างหาก

ภิกษุทั้งหลายฟังคำนั้นแล้ว  นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระศาสดาว่า “พระเจ้าข้า  ภิกษุนั่น  กล่าวคำไม่จริง  อวดอ้างว่าเป็นพระอรหันต์  พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุนั่น  กล่าวคำจริง  ธรรมดาพระขีณาสพทั้งหลาย   ย่อมไม่ถือเอา  สิ่งของๆคนเหล่าอื่น
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

โยธ  ทีฆํ  วา  รสฺสํ  วา
อณํ  ถูลํ  สุภาสุภํ
โลเก  อทินฺนํ  นาทิยติ
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหมณํ ฯ


ผู้ใด  ไม่ถือเอาของยาวของสั้น
น้อยหรือใหญ่ งามหรือไม่งาม
อันเขาไมได้ให้แล้ว  ในโลกนี้
เราเรียกผู้นั้นว่า  เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.79 Chrome 21.0.1180.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: 18 สิงหาคม 2555 18:39:56 »




27. เรื่องพระสารีบุตรเถระ
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพระสารีบุตรเถระ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  อาสา  ยสฺส   เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง  พระสารีบุตรเถระ พร้อมด้วยภิกษุบริวาร  500 รูป  ได้ไปเข้าจำพรรษาที่วัดแห่งหนึ่ง  ใกล้หมู่บ้านเล็กๆแห่งหนึ่ง   เมื่อออกพรรษาปวารณาแล้ว   พระสารีบุตรเถระต้องการมอบจีวรแก่ภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลาย   ท่านจึงบอกกับภิกษุทั้งหลายว่า  หากมีคนมาถวายจีวร  ก็ให้ส่งจีวรเหล่านั้นไปให้ท่าน  หรือว่าแจ้งได้ท่านได้รู้   แล้วก็ออกจากวัดแห่งนั้นไปเข้าเฝ้าพระศาสดา  ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า  “ถึงทุกวันนี้ ตัณหาของพระสารีบุตรเถระ   ชะรอยจะยังมีอยู่  เพราะพระเถระสั่งไว้แบบนั้น”  พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามถึงหัวข้อสนทนานั้น  แล้วตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย  ตัณหา  ย่อมไม่มีแก่บุตรของเรา  แต่เธอกล่าวอย่างนั้น ก็ด้วยคิดว่า พวกมนุษย์จะได้ทำบุญกัน  และพวกภิกษุหนุ่มและสามเณรจะได้มีจีวรใช้”  จากนั้น  พระศาสดาตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

อาสา  ยสฺส  น  วิชฺชนฺติ
อสฺมึ  โลเก  ปรมฺหิ  จ
นิราสาสํ  วิสํยุตฺตํ
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ  ฯ


ความหวังของผู้ใด  ไม่มี
ในโลกนี้และโลกหน้า
เราเรียกผู้นั้นว่า  ซึ่งไม่มีความหวัง
พรากกิเลสได้แล้ว

ว่า  เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง    ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.
 


28. เรื่องพระมหาโมคคัลลานเถระ
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพระมหาโมคคัลลานเถระ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  ยสฺสาลยา    เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง  พระโมคคัลลานเถระ พร้อมด้วยภิกษุบริวาร  500 รูป  ได้ไปเข้าจำพรรษาที่วัดแห่งหนึ่ง  ใกล้หมู่บ้านเล็กๆแห่งหนึ่ง   เมื่อออกพรรษาปวารณาแล้ว   พระโมคคัลลาถเถระต้องการมอบจีวรแก่ภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลาย   ท่านจึงบอกกับภิกษุทั้งหลายว่า  หากมีคนมาถวายจีวร  ก็ให้ส่งจีวรเหล่านั้นไปให้ท่าน  หรือว่าแจ้งได้ท่านได้รู้   แล้วก็ออกจากวัดแห่งนั้นไปเข้าเฝ้าพระศาสดา  ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า  “ถึงทุกวันนี้ ตัณหาของพระโมคคัลานเถระ   ชะรอยจะยังมีอยู่  เพราะพระเถระสั่งไว้แบบนั้น”  พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามถึงหัวข้อสนทนานั้น  แล้วตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย  ตัณหา  ย่อมไม่มีแก่บุตรของเรา  แต่เธอกล่าวอย่างนั้น ก็ด้วยคิดว่า พวกมนุษย์จะได้ทำบุญกัน  และพวกภิกษุหนุ่มและสามเณรจะได้มีจีวรใช้”  จากนั้น  พระศาสดาตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

ยสฺสาลยา  น  วิชฺชนฺติ
อญฺญาย  อกถํกถี
อมโตคธํ  อนุปฺปตฺตํ
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ


ความอาลัยของบุคคลใดไม่มี
บุคคลใดรู้ชัดแล้ว
เป็นผู้ไม่มีความสงสัยเป็นเหตุกล่าวว่าย่างไร

เราเรียกบุคคลนั้น
ผู้หยั่งลงอมตะ  ตามบรรลุแล้ว
ว่า
  เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.79 Chrome 21.0.1180.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2555 11:40:37 »



29. เรื่องพระเรวตเถระ
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในบุพพาราม  ทรงปรารภพระเรวตเถระ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  โยธ  ปุญญญฺจเป็นต้น

วันหนึ่ง  ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรมสภาว่า  “น่าอัศจรรย์  สามเณร(เรวตะ)มีลาภมาก  น่าอัศจรรย์สามเณร(เรวตะ) มีบุญมาก  รูปเดียวแท้ๆ  สามารถสร้างเรือนยอด  500 หลังสำหรับภิกษุ  500 รูปได้”   พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามถึงหัวข้อที่สนทนากันนั้น  แล้วตรัสว่า  “ภิกษุทั้งหลาย บุญย่อมไม่มีแก่บุตรของเรา  บาปก็มิได้มี  บุญบาปทั้ง 2 เธอละได้แล้ว
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

โยธ  ปุญฺญญฺจ  ปาปญฺจ
อุโภ  สงฺคํ  อุปจฺจคา
อโสกํ  วิรชํ  สุทฺธํ
ตมหํ  พฺรูมิ พฺราหฺมณํ ฯ


ผู้ใดล่วงบุญและบาปทั้ง 2
และกิเลสเครื่องข้องเสียได้  ในโลกนี้
เราเรียกผู้นั้น  ซึ่งไม่มีความโศก  มีธุลีไปปราศแล้ว
ผู้บริสุทธิ์แล้ว
  ว่าเป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดปัตติผลเป็นต้น.


                       ---------------------

30. เรื่องพระจันทาภเถระ
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพระจันทาภเถระ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  จนฺทํว  เป็นต้น

พระจันทาภเถระ  เมื่อครั้งในอดีตชาติ  เคยได้ถวายผงแก่นจันทน์แดงบูชาพระสถูปเจดีย์  ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระกัสสปพุทธเจ้า ด้วยผลานิสงส์นั้น  ทำให้ได้ไปเกิดในเทวโลกเป็นเวลาหนึ่งพุทธันดร  ในพุทธุปบาทกาลนี้  ได้มาเกิดที่โลกมนุษย์ในตระกูลพราหมณ์กรุงราชคฤห์  ตั้งแต่คลอดออกมาจากครรภ์ของมารดา ทารกคนนี้มีแสงสว่างเป็นรูปวงกลมดุจจันทร์เพ็ญแผ่ออกจากสะดือ  เพราะฉะนั้นจึงมีชื่อว่า จันทาภะ  พวกพราหมณ์เห็นว่าสิ่งแปลกประหลาดในตัวของเขาเป็นจุดขาย ก็จึงนำเขาขึ้นเกวียนพาตระเวนไปตามที่ต่างๆ เพื่อให้ผู้คนได้ชมและใครที่จ่ายเงินจำนวน 100 กหาปณะ  หรือ 1000 กหาปณะก็จะได้รับอนุญาตให้จับเนื้อต้องตัวของเขาได้

อยู่มาวันหนึ่ง  เมื่อคณะของจันทาภะเดินทางถึงสถานที่กึ่งกลางระหว่างกรุงราชคฤห์กับพระเชตวัน ได้เห็นพระอริยะทั้งหลายเดินทางไปเฝ้าพระศาสดาที่วัดพระเชตวัน  ก็ได้กล่าวกับครนเหล่านั้นว่า  จะมีประโยชน์อะไรกับการไปฟังธรรมของพระพุทธเจ้านั้น  เพราะว่าไม่มีใครมีอานุภาพเสมอเหมือนจันทาภะนี้อีกแล้ว  ใครก็ตามที่สัมผัสถูกเนื้อต้องตัวของเขาแล้ว  คนนั้นก็จะได้อิสริยยศและทรัพย์สมบัติ  ไม่เชื่อก็มาลองพิสูจน์ดูก็ได้  แต่พระอริยบุคคลเหล่านั้นได้กล่าว่า “พระศาสดาของพวกเราเท่านั้น มีอานุภาพมาก

คณะพราหมณ์นั้นจึงได้นำจันทาภะไปที่พระเชตวันเพื่อพิสูจน์ว่ามีอานุภาพมากกว่าพระศาสดา  เมื่อจันทาภะเข้าไปอยู่เบื้องหน้าของพระศาสดา  รัศมีวงกลมดังพระจันท์วันเพ็ญที่เคยแผ่ออกมาจากสะดือของเขาก็หายไปสิ้น  เมื่อลองให้จันทาภะออกไปจากเบื้องหน้าของพระศาสดา  รัศมีนั้นก็กลับมาดังเดิม  เมื่อได้ทำการทดลองถึง  3 ครั้ง  พวกพราหมณ์จึงเชื่อว่า  พระศาสดาจะต้องมีมนต์วิเศษ ที่สามารถทำให้รัศมีหายไปได้อย่างแน่นอน  จึงต้องการได้มนต์วิเศษนี้   แต่พระศาสดาตรัสว่า  พระองค์จะประทานมนต์นี้ก็เฉพาะแก่บุคคลที่เป็นภิกษุเท่านั้น  จันทาภพราหมณ์จึงบอกให้คณะพราหมณ์ของเขารอไปก่อนในขณะที่เขาเรียนมนต์นี้ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน จากนั้นพระศาสดาได้ให้การอุปสมบทแด่จันทาภพราหมณ์  และได้บอกพระกัมมัฏฐานที่มีอาการ 32 เป็นอารมณ์ให้พระจันทาภะนำไปปฏิบัติ  โดยตรัสว่า  จงนำมนต์นี้ไปท่องบ่นสาธยาย   เมื่อเวลาผ่านไปเพียง 2-3 วันเท่านั้น พระจันทาภะก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์   เมื่อพวกพราหมณ์ในคณะมาชวนให้ไปออกตระเวนหาเงินต่อ  พระจันทาภะกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายจงไปเถิด  เดี๋ยวนี้ฉันเป็นผู้มีธรรมเครื่องไม่ไปเสียแล้ว”  ภิกษุทั้งหลายเมื่อได้ยินท่านพูดเช่นนั้น  ก็คิดว่าท่านอวดอ้างตนว่าเป็นพระอรหันต์ด้วยความไม่จริง  จึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระศาสดา  พระศาสดาตรัสว่า  “ภิกษุทั้งหลาย  บัดนี้  จันทาภะบุตรของเรา  มีอาสวะสิ้นแล้ว  ย่อมกล่าวแต่คำจริงเท่านั้น
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

จนฺทํว  วิมลํ  สุทฺธํ
วิปฺปสนฺนมนาวิลํ
นนฺทิภวปริกฺขีณํ
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ


เราเรียกผู้บริสุทธิ์  ผ่องใส  ไม่ขุ่นมัว
มีภพเครื่องเพลิดเพลินสิ้นแล้ว
เหมือนพระจันทร์ที่ปราศจากมลทิน
นั้นว่า  เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.79 Chrome 21.0.1180.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #16 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2555 12:46:14 »



31. เรื่องพระสีวลีเถระ
พระศาสดา  เมื่อทรงอาศัยเมืองกุณฑิโกฬิยะ  ประทับอยู่ในป่าชื่อกุณฑธาน    ทรงปรารภพระสีวลีเถระ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  โย  อิมํ  เป็นต้น

ในสมัยหนึ่ง  พระธิดาของเชื้อพระวงศ์สายโกลิยวงศ์  พระนามว่าสุปปวาสา  ทรงครรภ์อยู่   ปี 7  โดยไม่ยอมมีพระประสูติกาล  ต่อมา  พระนางเกิดความเจ็บพระครรภ์อยู่นานถึง 7 วันก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะมีพระประสูติกาลอีก  พระนางมีพระอาการเจ็บพระครรภ์มาก ทรงบรรเทาความเจ็บปวดนั้น ด้วยการระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ว่า1. พระผู้มีพระภาคพระองค์ใด  ทรงแสดงธรรมเพื่อละทุกข์แห่งรูปนี้แหละ  พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบหนอ  2. พระสงฆ์สาวกใดปฏิบัติเพื่อละทุกข์แห่งรูปนี้แหละ  พระสงฆ์สาวกนั้น  ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วหนอ  3. ทุกข์เห็นปานนี้  ไม่มีในพระนิพพานใด  พระนิพพานนั้น  เป็นสุขดีหนอ”

พระนางจึงได้ให้พระสวามีไปเฝ้าพระศาสดา  แล้วให้กราบทูลเรื่องที่พระนางกำลังเจ็บพระครรภ์อยู่นี้  พระศาสดาตรัสว่า “พระธิดาโกลิยวงศ์พระนามว่าสุปปวาสา  จงเป็นผู้มีสุข  ไม่มีโรค  ประสูติพระโอรสซึ่งหาโรคมิได้เถิด” ขณะพระศาสดาตรัสนั้นประทับอยู่ที่วัดพระเชตวัน แต่พระนางสุปปวาสาก็ทรงหายจากการเจ็บพระครรภ์ในทันใด  ประสูติพระโอรสอย่างง่ายดาย  และในวันนั้นเอง  หลังจากมีพระประสูติกาลพระโอรสแล้ว  พระนางก็ได้กราบทูลพระศาสดาและพระภิกษุสงฆ์ไปฉันภัตตาหารที่วังของพระนาง โดยมีพระโอรสน้อยที่เกิดใหม่แต่สามารถเดินได้ในทันที ทำหน้าที่กรองน้ำถวายพระศาสดาและพระสงฆ์  และเพื่อเป็นการฉลองการเกิดของพระโอรส  พระนางและพระสวามีได้ทูลอาราธนาพระศาสดาและพระสงฆ์มาฉันภัตตาหารที่วังเป็นเวลาติดต่อกัน 7 วัน

เมื่อพระโอรสซึ่งมีพระนามว่า สีวลี  เติบโตขึ้น  ก็ได้เสด็จออกบรรพชาเป็นสามเณร  และได้บรรลุเป็นพระอรหันต์  อยู่มาวันหนึ่ง  ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรมสภาว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย  พวกท่านจงดู  ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหัตเห็นปานนี้   ยังเสวยทุกข์ในท้องของมารดาตลอดกาล  ประมาณเท่านี้  จะป่วยกล่าวไปใยเล่าถึงชนเหล่าอื่น  ทุกข์เป็นอันมากหนออันภิกษุนี้ถอนแล้ว

พระศาสดา  เสด็จมาตรัสถามถึงหัวข้อการสนทนานั้น  แล้วตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย  ใช่สิ  บุตรของเราพ้นจากทุกข์ประมาณเท่านี้แล้ว  บัดนี้  ทำพระนิพพานให้แจ้งแล้วอยู่
จากนั้น  พระศาสดา  ได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

โย  อิมํ  ปลิปถํ ทุคฺคํ
สํสารํ  โมหมจฺจคา
ติณฺโณ  ปารคโต  ฌายี
อเนโช  อกถํกถี
อนุปาทาย  นิพฺพุโต
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ


ผู้ใด  ล่วงทางอ้อม  หล่ม  สงสาร
และโมหะนี้ไปแล้ว  เป็นผู้ข้ามไปได้
ถึงฝั่ง  มีปกติเพ่ง  หากิเลสเครื่องหวั่นไหวมิได้
ไม่มีความสงสัย  เป็นเหตุกล่าวว่าอย่างไร

ไม่ถือมั่น  ดับแล้ว
เราเรียกผู้นั้นว่า  เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


                      ------------------------

32. เรื่องพระสุนทรสมุทรเถระ
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพระสุนทรสมุทรเถระ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  โยธ  กาเม  เป็นต้น

ในกรุงสาวัตถี  มีชายคนหนึ่งชื่อสุนทรสมุทร  เป็นบุตรของเศรษฐี  มีทรัพย์สมบัติ  40 โกฏิ  ต่อมาสุนทรสมุทรนี้ได้ออกบวช  และได้ออกเดินทางไปปฏิบัติธรรมในกรุงราชคฤห์  ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงสาวัตถีประมาณ  45  โยชน์
อยู่มาวันหนึ่ง  มีการจัดงานเทศกาลอย่างหนึ่งขึ้นในกรุงสาวัตถี  บิดามารดาของพระสุนทรสมุทรคิดถึงบุตรชายมากถึงกับร้องไห้ออกมา  เพราะนึกเสียดายว่าคิดว่าหากบุตรยังไม่บวชก็จะออกไปเที่ยวสนุกสนานในงานเทศกาลนี้  ขณะที่คนทั้งสองนั่งร้องไห้อยู่นั้น  ก็มีหญิงแพศยานางหนึ่งเข้ามาถามถึงสาเหตุที่คนทั้งสองร้องไห้  เมื่อได้ฟังว่าร้องไห้ถึงบุตรชายที่ออกบวชนั้น นางก็ถามขึ้นว่า  หากนางสามารถสึกพระลูกชายออกมาครองชีวิตเป็นฆราวาสได้  ทั้งสองคนจะให้อะไรเป็นสิ่งตอบแทนแก่นาง  ทั้งสองคนได้บอกกับนางว่า   จะยกทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้   นางแพศยาก็จึงขอเงินจำนวนหนึ่งจากคนทั้งสองแล้วก็ออกเดินทางไปที่กรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยผู้ติดตามจำนวนหนึ่ง 
 
เมื่อเดินทางถึงกรุงราชคฤห์แล้ว  นางก็ได้เช่าปราสาท  7  ชั้นหลังหนึ่ง  ซึ่งตั้งอยู่ในเส้นทางที่พระสุนทรสมุทรจะบิณฑบาตผ่าน  นางได้ตระเตรียมอาหารดีๆไว้รอพระสุทรสมุทรเถระมาบิณฑบาต  ใน 2-3  วันแรกนางได้ยกอาหารมาถวายพระเถระตรงที่ประตูบ้าน  แต่ต่อมานางได้นิมนต์พระเถระเข้าไปรับอาหารบิณฑบาตข้างในบ้าน  ในช่วงนี้  นางได้ไปว่าจ้างพวกเด็กๆให้พากันมาเล่นอยู่ข้างนอกบ้านในช่วงเวลาที่พระเถระมารับบิณฑบาต เพื่อที่ว่านางจะหาเลศนัยใช้เป็นข้ออ้างว่ามีพวกเด็กๆมาเล่นกันฝุ่นฟุ้งและส่งเสียงอื้ออึงเมื่อนั่งอยู่ชั้นล่างของบ้าน สมควรที่พระเถระจะขึ้นไปนั่งอยู่เสียที่ชั้นที่สองของบ้าน   เมื่อพระเถระยอมปฏิบัติตามคำนิมนต์นั้นแล้ว  หญิงแพศยานั้นก็รีบเข้ามาปิดประตูสั่นดาล  แล้วนางก็เริ่มยั่วยวนพระเถระด้วยมารยาหญิง  นางได้กล่าวกับพระเถระว่า ท่านก็ยังหนุ่ม  ส่วนดิฉันก็ยังสาว  เราควรมาเป็นสมีภรรยากัน  เอาไว้เมื่อตอนชราจึงค่อยมาบวชเถิด

เมื่อพระเถระได้ยินคำพูดของนางแพศยา  ก็เกิดความสังเวชใจ  ว่าตนหลวมตัวทำผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงเพราะความประมาทเลินเล่อ  ในขณะนั้นเอง  พระศาสดาประทับนั่งอยู่ในพระเชตวัน  ทีห่างไกลจากจุดนั้นประมาณ 45  โยชน์  ทรงเห็นเหตุการณ์ด้วยพระญาณวิเศษ     ได้ทรงกระทำความยิ้มแย้มออกมา  เมื่อพระอานนทเถระกราบทูลถามถึงสาเหตุของการที่ทรงยิ้มแย้มนั้น  ได้ตรัสว่า “อานนท์  สงครามระหว่างภิกษุชื่อสุนทรสมุทร  กับหญิงแพศยา  กำลังเปิดฉากขึ้น  บนปราสาท 7 ชั้น  ในกรุงราชคฤห์”  พระอานนทเถระทูลถามว่า  “ใครจะชนะ  ใครจะแพ้”  พระศาสดาตรัสว่า “ฝ่ายสุนทรสมุทรจะชนะ  ฝ่ายหญิงแพศยาจะแพ้”  จากนั้น  พระศาสดาได้เปล่งรัศมีไปปรากฏอยู่เบื้องหน้าของพระสุนทรเถระ  แล้วตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

โยธ  กาเม  ปหนฺตฺวาน
อนาคาโร  ปริพฺพเช
กามภวปริกฺขีณํ
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ


บุคคลใดละกามทั้งหลายในโลกนี้แล้ว
เป็นผู้ไม่มีเรือน  งดเว้นเสียได้
เราเรียกบุคคลนั้น  ผู้มีกามและภพสิ้นแล้ว
ว่า
  เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   พระเถระ  บรรลุพระอรหัตตผล.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.79 Chrome 21.0.1180.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #17 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2555 14:09:55 »




33.เรื่องพระโชติกเถระ
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน  ทรงปรารภพระโชติกเถระ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  โยธ  ตณฺหํ  เป็นต้น

โชติกเศรษฐี   เป็นเศรษฐีที่มีชื่อเสียงมาก ในกรุงราชคฤห์   เขาพำนักอยู่ในปราสาท 7 ชั้น  มีกำแพงแก้ว  7  ประการล้อมรอบ มีซุ้มประตูทางเข้าประสาทอยู่ 7 ซุ้ม  และมีขุมทรัพย์ในบริเวณประสาท 4  ขุม  ในเวลาจะหุงหาอาหารโชติกเศรษฐีก็มิได้ใช้เตาและหม้อธรรมดาเหมือนคนอื่น   แต่ใช้เตาและหม้อหุงต้มอาหารอัตโนมัติเรียกเป็นภาษาในสมัยนั้นว่า “ปาสาณา”  เตาหุงข้าวชนิดนี้ไฟจะติดขึ้นมาโดยอัตโนมัติ  และเมื่อข้าวหรืออาหารสุกแล้ว  ไฟก็จะดับเอง  เมื่อไฟดับก็แสดงว่าข้าวหรืออาหารนั้นสุกแล้ว  นอกจากนั้นแล้ว  โชติกเศรษฐีก็ยังมีภรรยาที่งดงามมาก  ซึ่งได้มาจากอุตตรกุรุทวีป  ผู้คนจากทั่วทุกสารทิศจะนิยมเข้าไปชมปราสาทของโชติกเศรษฐีเพราะต่างต้องการเห็นความร่ำรวย  ความมีทรัพย์มาก  และความมีชีวิตที่ฟุ่มเฟือยของเศรษฐีผู้นี้

อยู่มาวันหนึ่ง  พระเจ้าพิมพิสาร ได้เสด็จมาทอดพระเนตรปราสาทของเศรษฐีนี้  และพระองค์ได้นำเจ้าชายอชาตศัตรูพระโอรสตามเสด็จมาด้วย  เมื่อเจ้าชายอชาตศัตรูทอดพระเนตรเห็นความอลังการของปราสาท เห็นสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหลาย  และเห็นทรัพย์สมบัติที่ล้ำค่าในปราสาท  ก็ได้มีความริษยาดำริว่า  เมื่อใดก็ตามที่พระองค์ได้เสวยราชสมบัติ  ก็จะไม่ยอมให้โชติกเศรษฐีผู้นี้มีชีวิตที่หรูหราฟุ่มเฟือยอยู่ในปราสาทหลังนี้ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารเสด็จออกจากปราสาท  โชติกเศรษฐีได้ทูลเกล้าถวายเพชรนิลจินดาที่มีค่ามากแด่พระราชา  ตามประเพณีที่เศรษฐีโชติกทำเป็นประจำแก่แขกที่เข้ามาเยี่ยมเยียนปราสาทของเขา


เมื่อเจ้าชายอชาตศัตรู  ขึ้นครองราชย์สมบัติภายหลังปลงพระชนม์พระบิดาคือพระเจ้าพิมพิสารแล้ว ก็ได้ทรงนำกองทหารจะไปยึดปราสาทของโชติกเศรษฐี  แต่เนื่องจากประตูทางเข้าปราสาททุกด้านมียักษ์รักษาการอยู่  พระเจ้าอชาตศัตรูจึงมิอาจจะนำกองทหารเข้าไปในปราสาทได้  พระองค์ต้องรีบถอนกำลังทหารออกมา  แล้วเสด็จไปที่วัดพระเชตวัน  เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นโชติกะเศรษฐีกำลังนั่งฟังธรรมของพระศาสดาอยู่  จึงได้ตรัสว่า “คฤหบดี  ท่านให้คนของท่านออกมาสู้รบกับกองทหารของข้าพเจ้าแล้ว ก็รีบมาทำทีว่านั่งฟังธรรมอยู่แบบนี้หรือ”  พอได้ฟังเช่นนี้  โชติกเศรษฐีก็รู้ได้ในทันทีว่าพระเจ้าอชาตศัตรูยกกองกำลังไปเพื่อจะยึดปราสาทของตน แต่ต้องถอยร่นออกมาเพราะต้านทานกับฝ่ายยักษ์ที่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยไม่ไหว

ในพระคัมภีร์กล่าวว่า  ในอดีตชาติ  โชติกเศรษฐีผู้นี้  ได้ทำบุญทำกุศลไว้มาก และได้เคยอธิษฐานจิตตั้งความปรารถนาไว้ว่า ขออย่าให้ใครสามารถมาแย่งชิงสมบัติใดๆของเขาไปได้   หากเขาไม่เต็มใจที่จะยกให้  ดังนั้น  โชติกเศรษฐีจึงกราบทูลพระเจ้าอชาตศัตรูว่า  “ข้าแต่สมมติเทพ  แม้พระราชาตั้งพัน  ก็ไม่สามารถเพื่อจะยึดเอาปราสาทของข้าพระองค์ได้  หากข้าพระองค์ไม่เต็มใจจะยกให้”  เมื่อกราบทูลเช่นนี้แล้ว  โชติกเศรษฐีก็ได้ยื่นนิ้วมือทั้ง 10 นิ้วที่มีแหวนสวมอยู่ 10 วงให้พระราชาทรงทดลองรูดออกมาจากนิ้วดู  พระราชาแม้จะทรงพยายามอย่างไรก็ไม่สามารถจะรูดแหวนออกมาจากนิ้วมือของเศรษฐีได้   คราวนี้โชติกเศรษฐีทดลองใหม่  โดยกราบทูลพระราชาให้ทรงปูผ้าไว้  แล้วเศรษฐีก็วางมือลงที่ผ้าผืนนั้นและแบมือออก ปรากฏว่า แหวนทุกวงก็ลื่นไหลออกมาจากนิ้วของเศรษฐีอย่างง่ายดาย  หลังจากที่ได้ถวายแหวนแด่พระเจ้าอชาตศัตรูแล้ว  โชติกเศรษฐีได้กราบทูลขอบวชจากพระศาสดา  เมื่ออุปสมบทเป็นภิกษุแล้วไม่นาน  ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

อยู่มาวันหนึ่ง  ภิกษุทั้งหลาย  เรียกพระโชติกเถระมาถามว่า “ท่านโชติกะ  ตัณหาในปราสาทหรือในหญิงนั้นของท่านยังมีอยู่หรือ”  เมื่อท่านบอกว่า  “ไม่มีแล้วท่าน”  จึงกราบทูลพระศาสดาว่า  “พระเจ้าข้า  พระโชติกะนี้  กล่าวไม่จริง  อวดอ้างว่าเป็นพระอรหันต์
พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย  บุตรของเรา  ไม่มีตัณหาในปราสาทหรือในหญิงนั้นแล้ว”  จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

โยธ  ตณฺหํ  ปหนฺตฺวาน
อนาคาโร  ปริพฺพเช
ตณฺหาภวปริกฺขีณํ
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ


ผู้ใด ละตัณหาในโลกนี้ได้แล้ว
เป็นผู้ไม่มีเรือน  เว้นเสียได้
เราเรียกผู้นั้น  ซึ่งมีตัณหาและภพอันสิ้นแล้ว
ว่า
  เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


  34.  เรื่องภิกษุผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปที่ 1
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน  ทรงปรารภภิกษุผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปที่ 1  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  หตฺวา  มานุสกํ  เป็นต้น

ในสมัยหนึ่ง  ดารานักแสดงคนหนึ่ง  ออกตระเวนไปเปิดแสดงร้องรำทำเพลงไปตามถนนหนทาง  แล้วได้มีโอกาสได้ไปฟังธรรมของพระศาสดา  หลังจากได้ฟังธรรมแล้วก็ได้เข้าอุปสมบทเป็นภิกษุ  และได้บรรลุเป็นพระอรหันต์  เมื่อพระอดีตดารานักแสดงนั้นออกไปบิณฑบาตกับภิกษุสงฆ์  มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข  ภิกษุทั้งหลายเห็นบุตรของดารานักแสดงคนหนึ่ง จึงได้ถามพระอดีตดารานักแสดงนั้นว่า  ยังมีความเยื่อใยในอาชีพการแสดงอยู่หรือไม่  เมื่อพระอดีตดารานักแสดงตอบว่า “ไม่มีแล้ว”  จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระศาสดาว่า  พระอดีตดารานี้อวดอ้างตนว่าเป็นพระอรหันต์ด้วยความไม่จริง  พระศาสดาได้ตรัสว่า  “ภิกษุทั้งหลาย   บุตรของเราก้าวล่วงกิเลสเครื่องประกอบทั้งปวงได้แล้ว”   จากนั้น   พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

หิตฺวา  มานุสกํ  โยคํ
ทิพฺพํ  โยคํ  อุปจฺจคา
สพฺพโยควิสํยุตฺตํ
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ  ฯ


ผู้ใด ละกิเลสเครื่องประกอบอันเป็นของมนุษย์
ล่วงกิเลสเครื่องประกอบอันเป็นของทิพย์ได้แล้ว
เราเรียกผู้นั้น  ซึ่งพรากกิเลสเครื่องประกอบทั้งปวงได้แล้ว
ว่า
เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.79 Chrome 21.0.1180.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #18 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2555 14:31:28 »



35. เรื่องภิกษุผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปที่ 2
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภภิกษุผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปที่ 2  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  หิตฺวา  รติญฺจ  เป็นต้น

ในสมัยหนึ่ง  ดารานักแสดงคนหนึ่ง  ออกตระเวนไปเปิดแสดงร้องรำทำเพลงไปตามถนนหนทาง  แล้วได้มีโอกาสได้ไปฟังธรรมของพระศาสดา  หลังจากได้ฟังธรรมแล้วก็ได้เข้าอุปสมบทเป็นภิกษุ  และได้บรรลุเป็นพระอรหันต์  เมื่อพระอดีตดารานักแสดงนั้นออกไปบิณฑบาตกับภิกษุสงฆ์  มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข  ภิกษุทั้งหลายเห็นบุตรของดารานักแสดงคนหนึ่ง จึงได้ถามพระอดีตดารานักแสดงนั้นว่า  ยังมีความเยื่อใยในอาชีพการแสดงอยู่หรือไม่  เมื่อพระอดีตดารานักแสดงตอบว่า “ไม่มีแล้ว  จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระศาสดาว่า  พระอดีตดารานี้อวดอ้างตนว่าเป็นพระอรหันต์ด้วยความไม่จริง  พระศาสดาได้ตรัสว่า  “ภิกษุทั้งหลาย   บุตรของเราละความยินดีและความไม่ยินดีได้แล้ว  ดำรงอยู่” จากนั้น   พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

หิตฺวา  รติญจ  อรติญฺจ
สีติภูตํ  นิรูปธึ
สพฺพโลกาภิภุ   วีรํ
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ


เราเรียกบุคคลนั้น
ซึ่งละความยินดีและความไม่ยินดีได้แล้ว
ผู้เย็น  ไม่มีอุปธิ

ครอบงำโลกทั้งปวง  ผู้แกล้วกล้า 
ว่า  เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ขนเป็นอันขาด  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


                        -----------------------

36.เรื่องพระวังคีสเถระ
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพระวังคีสเถระ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  จุตึ  โย  เวทิ
 เป็นต้น

ในกาลครั้งหนึ่ง   พราหมณ์ในกรุงราชคฤห์คนหนึ่งชื่อวังคีสะ   แค่เคาะกะโหลกศีรษะของพวกมนุษย์ที่ตายแล้ว  ก็รู้ได้ในทันทีว่า  “นี้เป็นศีรษะของคนผู้เกิดในนรก  นี้เป็นศีรษะของคนผู้เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน  นี้เป็นศีรษะของผู้เกิดในเปรตวิสัย  นี้เป็นศีรษะของผู้เกิดในมนุษยโลก  นี้เป็นศีรษะของผู้เกิดในเทวโลก”  พวกพราหมณ์ทั้งหลายถือเอาเรื่องนี้เป็นจุดขาย  จึงได้นำวังคีสพราหมณ์ขึ้นเกวียนออกตระเวนไปตามที่ต่างๆ  และก็มีคนเป็นจำนวนมากมาขอรับบริการจากเขาให้เคาะศีรษะของพวกญาติๆที่ตายไปแล้ว  โดยทั้งนี้คนที่มารับบริการจะต้องจ่ายเงินเป็นค่าบริการคนละ 10  กหาปณะบ้าง  20 กหาปณะบ้าง  30 กหาปณะบ้าง

อยู่มาวันหนึ่ง   วังคีสพราหมณ์และคณะได้มาถึงสถานที่แห่งหนึ่ง  ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดพระเชตวัน  เมื่อพวกพราหมณ์ในคณะเห็นประชาชนจะเดินทางไปเฝ้าพระศาสดา  จึงได้ร้องเชื้อเชิญให้พวกเขามาใช้บริการเคาะกะโหลกศีรษะของญาติเพื่อรู้ที่เกิดของพวกเขา    แต่ประชาชนเหล่านั้นตอบว่า “วังคีสะจะรู้อะไร  บุคคลผู้ทัดเทียมกับพระศาสดาของเราย่อมไม่มี”  พวกพราหมณ์เหล่านั้น  ต้องการจะพิสูจน์ว่าระหว่างวังคีสะกับพระศาสดาใครจะเก่งกว่ากัน  จึงได้พาวังคีสะร่วมเดินทางไปเฝ้าพระศาสดา  พระศาสดาเมื่อทรงทราบวัตถุประสงค์ของคนเหล่านั้นแล้ว  จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายนำกะโหลกศีรษะของคนตายที่ไปเกิดในนรก   คนตายที่ไปเกิดในกำเนิดดิรัจฉาน  คนตายที่ไปเกิดในกำเนิดมนุษย์   คนตายที่ไปเกิดเป็นเทวดา   และคนตายที่เป็นพระอรหันต์   มาเรียงกันไว้ตามลำดับ  แล้วให้วังคีสะเคาะ

วังคีสะเคาะแล้วสามารถบอกที่กำเนิดของกะโหลกคนตายของ  4  คนแรกได้อย่างถูกต้อง  แต่พอมาเคาะกะโหลกของพระอรหันต์  วังคีสะบอกไม่ได้ว่าไปเกิดที่ใด  พระศาสดาตรัสถามว่า “ท่านไม่รู้หรือ”  เมื่อเขากราบทูลว่า  “พระเจ้าข้า  ข้าพระองค์ไม่รู้”  พระศาสดาตรัสว่า “ฉันรู้”  วังคีสะได้กราบทูลมนต์ที่จะทำให้ล่วงรู้กะโหลกศีรษะของพระอรหันต์นั้น  แต่พระศาสดาตรัสว่าพระองค์จะประทานมนต์นั้นเฉพาะแก่บุคคลที่เป็นภิกษุเท่านั้น   วังคีสะจึงได้บอกกับพราหมณ์ทั้งหลายในคณะให้ออกไปรออยู่นอกวัดในขณะที่เขาเรียนมนต์อยู่กับพระศาสดา  จากนั้น  พระศาสดาได้ทำพิธีอุปสมบทแก่วังคีสะ    และเมื่ออุปสมบทเป็นภิกษุแล้ว  พระศาสดาทรงประทานพระกัมมัฏฐานที่มีอาการ 32 เป็นอารมณ์แก่พระวังคีสเถระ  แล้วตรัสว่า “เธอจงสาธยายบริกรรมมนต์”  เมื่อได้บริกรรมอาการ 32  นั้นผ่านไปเพียง  2-3 วัน วังคีสเถระก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์  เมื่อพวกพราหมณ์ในคณะมาชวนให้ออกไปตระเวนเคาะกะโหลกคนตายอีก  พระวังคีสเถระก็ได้ตอบปฏิเสธไปว่า  “ฉันไม่ควรไปแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย  ได้ยินคำนั้นแล้ว  เข้าใจว่าพระวังคีสะอวดอ้างตน  ว่าเป็นพระอรหันต์ด้วยความไม่จริง  จึงนำความนั้นกราบบังคมทูลพระศาสดา   พระศาสดาตรัสว่า  “ภิกษุทั้งหลาย  พวกเธออย่ากล่าวอย่างนั้น  ภิกษุทั้งหลาย  บัดนี้  บุตรของเราฉลาดในการจุติและปฏิสนธิแล้ว
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  สองพระคาถานี้ว่า

จุตึ  โย  เวทิ  อตฺตานํ
อุปฺปตฺติญฺจ  สพฺพโส
อสตฺตํ  สุคตํ  พุทฺธํ
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ  ฯ

ยสฺส  คตึ  น  ชานนฺติ
เทวา  คนฺธพฺพมานุสา
ขีณาสวํ  อรหนฺตํ
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ


ผู้ใด  รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย
โดยประการทั้งปวง
เราเรียกผู้นั้นซึ่งไม่ข้องไปดี  รู้แล้ว
ว่า
  เป็นพราหมณ์.
 
เทพดา  คนธรรพ์  และหมู่มนุษย์
ย่อมไม่รู้คติของผู้ใด
เราเรียกผู้นั้น  ซึ่งมีอาสวะสิ้นแล้ว
ผู้ไกลจากกิเลส  ว่า
  เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

บันทึกการเข้า
เงาฝัน
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 15
*

คะแนนความดี: +58/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 7493


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
Chrome 21.0.1180.79 Chrome 21.0.1180.79


ดูรายละเอียด
« ตอบ #19 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2555 15:39:36 »




37.เรื่องพระธรรมทินนาเถรี
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน  ทรงปรารภภิกษุณีชื่อธรรมทินนา  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  ยสฺส  ปุเร จ  เป็นต้น

ในวันหนึ่ง  ในกรุงราชคฤห์  วิสาขอุบาสกสามีของนางธรรมทินนา  ไปฟังธรรมของพระศาสดาแล้วได้บรรลุพระอนาคามิผล   เมื่อกลับมาบ้าน  ได้กล่าวกับภรรยาว่า   นางจงรับทรัพย์สมบัติทั้งปวงในบ้านนี้ไว้ดูแลเถิด ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเขาจะไม่บริหารจัดการเรื่องใดๆทั้งสิ้น  นางธรรมทินนาได้ยินสามีกล่าวเช่นนั้นจึงตอบไปว่า “ใครจักรับน้ำลายที่ท่านบ้วนทิ้ง” นางได้ขออนุญาตสามีบวชเป็นนางภิกษุณี   เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว  ก็ได้เข้าไปบวชอยู่ในสำนักของนางภิกษุณี   หลังจากที่นางบวชเป็นภิกษุณีได้ไม่นาน  นางก็ได้ติดตามพวกภิกษุณีทั้งหลายไปปฏิบัติธรรมที่วัดแห่งหนึ่งในชนบท  ต่อมาไม่นานนางก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์  แล้วเดินทางกลับมาที่กรุงราชคฤห์

เมื่อวิสาขอุบาสก ทราบว่าภิกษุณีธรรมทินนากลับมาแล้ว  ก็ได้ไปพบและได้สอบถามปัญหาทางธรรมด้วย  เมื่อวิสาขอุบาสกสอบถามในเรื่องที่อยู่ในขอบข่ายของโสดาปัตติมรรค  สกทาคามิมรรค  และอนาคามิมรรค  นางก็สามารถตอบได้อย่างฉะฉาน  แต่พอวิสาขอุบาสกสอบถามธรรมในส่วนที่เกินเลยไปจากนั้น  พระธรรมทินนาเถรีตอบว่า เป็นการถามปัญหาที่เลยวิสัยสามารถของเขาไปเสียแล้ว  และได้แนะนำให้ไปกราบทูลถามพระศาสดาโดยตรง  จากนั้นวิสาขอุบาสกได้ลุกจากที่สนทนา เข้าไปกราบทูลเรื่องที่สนทนากันนี้กับพระศาสดา  พระศาสดาตรัสว่า  “ธรรมทินนาธิดาของเรากล่าวดีแล้ว  ด้วยเราเมื่อจะแก้ปัญหานั่น  ก็พึงแก้อย่างนั้นเหมือนกัน
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

ยสฺส  ปุเร  จ  ปจฺฉา  จ
มชฺเฌ  จ  นตฺถิ  กิญฺจนํ
อกิญฺจนํ  อนาทานํ
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ ฯ


ความกังวลในก่อน  ในภายหลัง
และในท่ามกลาง  ของผู้ใด  ไม่มี
เราเรียกผู้นั้น  ซึ่งไม่มีความกังวล
ไม่มีความยึดมั่น
ว่า  เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง  ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.



38.เรื่องพระอังคุลิมาลเถระ
พระศาสดา  เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน  ทรงปรารภพระอังคุลิมาลเถระ  ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า  อุสภํ   เป็นต้น

ในสมัยหนึ่ง  พระเจ้าปเสนทิโกศล  และพระนางมัลลกาเทวี ได้ทรงถวาย  อสทิสทาน (ทานที่หาทานใดเสมอเหมือนมิได้)  แด่พระศาสดาและภิกษุทั้งหลาย 500  รูป  โดยในพีธีถวายทานในครั้งนี้  ภิกษุแต่ละรูปจะมีช้างยืนถือเศวตฉัตรกั้นอยู่เหนือศีรษะ  แต่ช้างที่นำมาเข้าพิธีที่ผ่านการฝึกมาอย่างดีแล้วมีทั้งสิ้นจำนวน 499 ตัว  จึงจำเป็นต้องนำช้างตัวที่ 500 ซึ่งเป็นช้างที่ยังมิได้รับการฝึกมากั้นฉัตรถวายพระอังคุลิมาลเถระ  หลังจากเสร็จพิธีนั้นแล้ว  ภิกษุทั้งหลาย  ถามพระอังคุลิมาลเถระว่า  “ผู้มีอายุ  ท่านเห็นช้างดุร้าย  ยืนกั้นฉัตรอยู่นั้น  ไม่กลัวหรือหนอ”  เมื่อพระอังคุลิมารเถระตอบว่า  “ไม่กลัวหรอก ท่าน”  ก็ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระศาสดา  โดยกล่าวหาว่า  พระเถระนั้นอวดอ้างตนว่าบรรลุเป็นพระอรหันต์   พระศาสดาตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า  “ภิกษุทั้งหลาย  อังคุลิมาลบุตรของเรา  ย่อมไม่กลัว  เพราะว่า  ภิกษุทั้งหลายเช่นกับบุตรของเรา   ผู้องอาจที่สุดในระหว่างพระขีณาสพผู้องอาจทั้งหลาย  ย่อมไม่กลัว
จากนั้น  พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท  พระคาถานี้ว่า

อุสภํ  ปวรํ  วีรํ
มเหสึ  วิชิตาวินํ
อเนชํ  นหาตกํ  พุทฺธํ
ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ  ฯ


เราเรียกบุคคลผู้องอาจ  ประเสริฐ
แกล้วกล้า  แสวงหาคุณอันใหญ่
ผู้ชนะโดยวิเศษ   ไม่หวั่นไหว  ผู้ล้างแล้ว  ผู้รู้
นั้นว่า
  เป็นพราหมณ์
.

เมื่อพระธรรมเทศนาจบลง   ชนเป็นอันมาก  บรรลุอริยผลทั้งหลาย  มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.


บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า:  [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 17 : โกธวรรค
ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
เงาฝัน 7 6646 กระทู้ล่าสุด 14 กรกฎาคม 2555 19:22:48
โดย เงาฝัน
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 18 : มลวรรค
ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
เงาฝัน 11 7339 กระทู้ล่าสุด 18 กรกฎาคม 2555 20:12:02
โดย เงาฝัน
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 19 : ธัมมัฏฐวรรค
ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
เงาฝัน 9 5698 กระทู้ล่าสุด 22 กรกฎาคม 2555 14:25:07
โดย เงาฝัน
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 20 : มัคควรรค
ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
เงาฝัน 9 9747 กระทู้ล่าสุด 23 กรกฎาคม 2555 14:25:40
โดย เงาฝัน
เรื่องย่อในพระธรรมบท บทที่ 21 : ปกิณณกวรรค
ประวิติพระอรหันต์ พระสาวก ในสมัยพุทธกาล
เงาฝัน 8 9546 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2555 14:59:39
โดย เงาฝัน
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.526 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 25 กุมภาพันธ์ 2567 14:11:34