[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
20 เมษายน 2567 20:18:13 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ต้นสาละ ไม้มงคลในพระพุทธศาสนา  (อ่าน 7913 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5446


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 18 สิงหาคม 2555 14:34:33 »



ต้นสาละ
ไม้มงคล ในพระพุทธศาสนา

ชาวพุทธเมื่อระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ได้อาศัยสังเวชนียสถานที่ประสูติ-ตรัสรู้-ปรินิพพาน เป็นอาทิ โน้มนำจิตใจเหมือนได้ใกล้ชิดพระองค์เพื่อดำรงไว้ซึ่งหลักธรรมคำสอนอันเป็นพระองค์จริง

ต้นไม้มงคลอันมีปรากฏนามอยู่ในพระพุทธประวัติ เช่น โพธิ์ สาละ และไทร เป็นต้น ก็เป็นสัญลักษณ์ตามธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธน้อมนำมาเป็นเครื่องรำลึกถึงพระองค์ ซึ่งมีให้พบเห็นเป็นอนุสรณ์ได้ทั่วไป ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่เราปลูก

ต้นสาละ เป็นหนึ่งในไม้มงคลที่กล่าวไว้ในพุทธประวัติ โดยเฉพาะในสังเวชนียสถาน ๔ ตำบลว่า พระพุทธเจ้าประสูติภายใต้ต้นสาละและปรินิพพานภายใต้ต้นสาละทั้งคู่ จะเห็นได้ว่าต้นสาละเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับพระบรมศาสดาถึง ๒ กาล

ปฐมกาล
เมื่อพระนางเจ้าสิริมหามายาพุทธมารดาทรงครรภ์ใกล้จะครบกำหนด ได้เสด็จออกจากนครกบิลพัสดุ์เพื่อไปประสูติในตระกูลเดิมคือ นครเทวทหะ ตามคติของพราหมณ์โบราณ ครั้นเสด็จถึงอุทยานหลวงลุมพินีวันอันเป็นรมณียสถานที่ร่มรื่นอยู่ระหว่างเทวทหะกับกบิลพัสดุ์ทรงหยุดขบวนที่ใต้ร่มสาละซึ่งขณะนั้นกำลังออกดอกสะพรั่ง ลมพัดกิ่งสาละย้อยต่ำลงมาเป็นที่สำราญพระทัย

พุทธมารดาได้ประทับยืน ชูพระหัตถ์ขึ้นเหนี่ยวคว้ากิ่งสาละไว้และขณะนั้นเอง ทรงรู้สึกประชวรขึ้นในครรโภทร ขณะเดียวกันยังไม่ทันจะรวมพละกำลังเตรียมพระองค์ได้ พระนางก็ประสูติพระราชกุมารทั้งที่ประทับในอิริยาบถยืนในวันเพ็ญวิสาขมาส ภายใต้ต้นสาละ ณ ลุมพินีวันนั่นเอง ในปฐมสมโพธิ์กล่าวไว้มีใจความตอนหนึ่ง ว่า

“สา สุวณฺณสิวิกาย โอรุยฺห ธาติคณปริวุตฺตา มงฺคลสลมูลํ คนฺตฺวา สาลสาขํ คณฺหิตุกามา อโหสิฯ เทวิยา การุญฺญปตฺตา วิยสุเสทิตเวตฺตงฺกุโรวิย โอนมิตฺวาเทวิยา หตฺถปถํ อุปคจฺฉิฯ  สาหตฺถํ ปสาเรตฺวาสาขํ อคฺคเหสิฯ  ตาวเทว ตสฺสากมฺมชวาตาจลึสุ ฯ  (แปล) พระนางสิริมหามายาเสด็จลงจากสุวรรณสิวิกา (วอทองคำ) แวดล้อมด้วยพี่เลี้ยงนางนม ดำเนินไปถึงต้นสาละที่เป็นมงคล มีความประสงค์จะจับกิ่งต้นสาละ ในทันใดนั้นกิ่งต้นสาละเหมือนมีจิตกรุณาบันดาลอ่อนน้อมค้อมลงมาดุจยอดหวายถูกไฟรม พอถึงพระหัตถ์พระราชเทวีก็ทรงจับกิ่งสาละ ในทันใดนั้นลมกัมมชวาตก็ปั่นป่วน  ”



ปัจฉิมกาล

ในปลายพุทธกาลล่วงแล้วต้นสาละ ไม้มงคลในพระพุทธศาสนานอกจากที่เป็นต้นไม้เกี่ยวกับการประสูติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วยังเป็นต้นไม้มงคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการปรินิพพานอีกด้วย

ตามความในปัจฉิมกาลกล่าวว่า คราวเมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปถึงนครกุสินาราพระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อย มีประสงค์เสด็จไปประทับในบริเวณสาลวโนทยาน อุทยานหลวงของมัลลกษัตริย์แห่งแคว้นมัลละ รับสั่งให้พระอานนท์ พุทธอุปัฏฐาก จัดปูลาดที่บรรทมและได้หันพระเศียรไปทางทิศเหนือภายใต้ต้นสาละทั้งคู่ จากนั้นค่อยเสด็จเข้าสู่อนุฐิตสีหไสยาสน์เสด็จดับขันธปรินิพพานภายใต้ต้นสาละนั่นเอง ด้วยความสำคัญเช่นนี้ สาละจึงเป็นต้นไม้มงคลที่สำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา

ความในมหาปรินิพพานสูตรกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “ภควา อายสฺมนฺตํ อานนฺทํ อามนฺเตสิ อิงฺฆเม ตฺวํ อานนฺท อนฺตเรน ยมกสาลานํ อุตฺตรสีสกํ มญฺจกํ ปญฺญเปหิ กิลนโตสฺมิ อานนฺท นิปชฺชิสฺสามีติฯ  เอวํ  ภนฺเตติ โข อายสฺมา อานนฺโท ภควโต ปฏิสฺสุตฺวา อนฺตเรน ยมกสา ลานํ อุตฺตรสีสกํ มญฺจกํ ปญฺญาเปสิ  ฯ"

(แปล) พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งเรียกพระอานนท์มาตรัสว่า เชิญเถิดอานนท์ เธอจงปูลาดเตียงหันศีรษะไปทางด้านทิศเหนือตรงระหว่างต้นสาละทั้งคู่แก่เรา อานนท์ ตถาคตเหน็ดเหนื่อยเหลือเกินจักบรรทมละฯ  พระอานนท์รับพระดำรัสแล้วจัดแจงปูอาสนะหันพระเศียรไปทางด้านทิศเหนือ ตรงระหว่างต้นสาละทั้งคู่ฯ
พฤกษศาสตร์


ต้นสาละ มีชื่อเรียกกันว่า Sal tree หรือ Sal of lndia   คำว่า Sal ก็คือสาล เป็นภาษาสันสกฤต ในที่นี้ก็คือต้นสาละ ชาวพื้นเมืองออกเสียงเรียกไม้ชนิดนี้ว่า “สากัว” หรือ “สาคู”  ซึ่งนับเข้าในหมู่ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ยาง ในพฤกษศาสตร์มีชื่อว่า Shorea tobusta, Gaerth   วงศ์  Dipterocrpaceae ความเข้าใจส่วนหนึ่งเหมือนจะเห็นพ้องต้องกันว่า พระพุทธเจ้าประสูติและปรินิพพานใต้ต้นรัง เพียงว่าไม้ทั้งสองมีลักษณะคล้ายคลึงกันมากเท่านั้น ก็เป็นการยากที่จะชี้ชัดลงไป หากไม่ให้ความสนใจส่วนลึกลงไปอีก ทั้งนี้ คงจะเพราะความเป็นไม้วงศ์เดียวกันก็ได้ สำหรับต้นรังนั้นมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Pentacme siamenses Kurz วงศ์ Dipterocrpaceae ถ้าในกรณีนี้ก็จะเห็นความเหมือนและความแตกต่างที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

ข้อมูล : ต้นสาละ ไม้มงคลในพระพุทธศาสนา โดย "อมตานันทะ" (พระครูปลัดสุวัฒนสัทธาคุณ) ประธานสงฆ์วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์  ประเทศอินเดีย

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 กันยายน 2559 17:43:23 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
ยังทุกข์
นักโพสท์ระดับ 7
**

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 121


ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 6.2 Windows NT 6.2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 10.0 MS Internet Explorer 10.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2555 05:24:35 »

  ขอบคุณในข้อมูล  แล้วเราจะนำไม้สาละนี้ปลูกไว้ที่บ้านจะได้ใหมครับ

  เพราะบางคนเขาว่าไม่เหมาะสม  ผมชอบดอกและทรงต้น  มากๆ
บันทึกการเข้า
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5446


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2555 14:01:32 »

.

เห็นว่าไม่เหมาะกระมังที่จะนำไปปลูกไว้ตามบ้าน  คนไทยเรามีคตินิยมในเรื่องบุญบาป  ต้นสาละก็จัดเป็นไม้มงคลในพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธองค์โดยตรงเช่นเดียวกับต้นโพธิ์   การทำลายต้นโพธิ์ตามคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาระบุว่าเป็นการทำบาปและหลบหลู่พระรัตนตรัย แต่ในพระวินิจฉัย ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กล่าวว่าเฉพาะต้นโพธิ์ที่เป็นอุทเทสิกเจดีย์เท่านั้น  ต้นโพธิ์ที่ขึ้นงอกทั่วไปไม่ได้เป็นอุเทสิกเจดีย์   คือไม่มีผู้เคารพบูชาในฐานะตัวแทนของพระพุทธเจ้า   

ประเทศไทยเรามีพันธุ์ไม้สวยงามเยอะแยะ  เลือกที่สวย ๆ  และให้กลิ่นหอม  เย็นชื่นใจ  ถูกใจเราได้ใกล้เคียงกับต้นสาละมาปลูกแทนดีกว่าน่า
บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5446


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 29 กันยายน 2559 17:48:00 »



ภาพจาก : มหิดล.คอม

สาละในพุทธประวัติ

จากข้อมูลของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า สาละ เป็นคำสันสกฤต อินเดียเรียกว่า Sal อ่านว่า ซาล ส่วนชื่อบาลี อสฺสกณฺณ (อัส-สะ-กัน-นะ), อสฺสกณฺโณ (อัส-สะ-กัน-โน), สาโล ถิ่นกำเนิดทางเหนือของอินเดีย ซึ่งปัจจุบันคือประเทศเนปาล

สาละเป็นพืชพวกเดียวกันกับพะยอม เต็ง รัง ลักษณะเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทาแตกเป็นร่องเป็นสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ปลายกิ่งมักจะลู่ลง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ใบเดี่ยวดกหนาทึบ รูปไข่กว้าง โคนใบเว้าเข้า ปลายใบเป็นติ่งแหลมสั้นๆ ผิวใบเป็นมัน ขอบใบเป็นคลื่น ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ ตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ ๕ กลีบ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ผลเป็นผลชนิดแห้ง แข็ง มีปีก ๕ ปีก ปีกยาว ๓ ปีก ปีกสั้น ๒ ปีก บนแต่ละปีกมีเส้นตามความยาวของปีก ๑๐-๑๕ เส้น

เป็นไม้ที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าโดยตรง ทั้งตอนประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพาน มีความสำคัญในพุทธประวัติดังนี้

ตอนพระพุทธเจ้าประสูติ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี พระพุทธมารดาคือพระนางสิริมหามายาทรงครรภ์ใกล้ครบกำหนดประสูติกาล จึงเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อไปประสูติกาลที่กรุงเทวทหะ อันเป็นเมืองต้นตระกูลของพระนาง ตามธรรมเนียมประเพณีพราหมณ์ เมื่อขบวนเสด็จมาถึงครึ่งทางระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ ณ ที่ตรงนั้นเป็นสวนมีชื่อว่า สวนลุมพินีวัน เป็นสวนป่าไม้สาละ พระนางทรงหยุดพักอิริยาบถ (ปัจจุบันคือตำบลรุมมินเด แขวงเปชวาร์ ประเทศเนปาล) ประทับยืนชูพระหัตถ์ขึ้นเหนี่ยวกิ่งสาละ ขณะนั้นเองก็รู้สึกประชวรพระครรภ์ และได้ประสูติพระสิทธัตถะกุมาร ตรงกับวันศุกร์เพ็ญเดือน ๖ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี คำว่าสิทธัตถะ แปลว่า สมปรารถนา

อีกตอนหนึ่งก่อนที่เจ้าชายสิทธัตถะจะตรัสรู้ เมื่อพระองค์เสวยข้าวมธุปายาสที่บรรจุอยู่ในถาดทองคำของนางสุชาดาแล้ว ได้ทรงอธิษฐานว่า ถ้าพระองค์ได้สำเร็จพระโพธิญาณ ขอให้การลอยถาดทองคำนี้สามารถทวนกระแสน้ำแห่งแม่น้ำเนรัญชราได้ อธิษฐานแล้วก็ทรงลอยถาด ปรากฏว่าถาดทองคำลอยทวนกระแสน้ำ จากนั้นพระองค์เสด็จไปประทับยังควงไม้สาละตลอดเวลากลางวัน ครั้นเวลาเย็นเสด็จไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ ประทับนั่งบนบัลลังก์ภายใต้ต้นโพธิ และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลารุ่งอรุณ ณ วันเพ็ญเดือน ๖

ตอนสุดท้ายครั้งจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สาวก เสด็จถึงเขตเมืองกุสินารา ของมัลละกษัตริย์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญวดี พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยมาก จึงรับสั่งให้พระอานนท์ ซึ่งเป็นองค์อุปัฏฐาก ปูลาดที่บรรทมระหว่างคู่ต้นสาละ โดยหันพระเศียรไปทางทิศเหนือ แล้วพระองค์ก็ทรงสำเร็จสีหไสยาสน์โดยพระปรัศว์เบื้องขวา (นอนตะแคงขวาพระบาทซ้ายซ้อนทับพระบาทขวา) และแล้วเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพาน ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ รวมพระชนม์ ๘๐ พรรษา และวันนี้ถือเป็นการเริ่มต้นของพุทธศักราช
นสพ.ข่าวสด

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 กันยายน 2559 17:52:11 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.277 วินาที กับ 31 คำสั่ง

Google visited last this page 21 มีนาคม 2567 08:19:48