[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
28 เมษายน 2567 00:49:26 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : ศัตรู ของ สังคมมนุษยชาติ คือ อวิชชา  (อ่าน 1861 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออนไลน์ ออนไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5068


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 07 กรกฎาคม 2553 07:57:18 »



อวิชชาในภาษาบาลีไม่ได้แปลว่าโง่ ภาษาสันสกฤตเรียกว่าอวิทยาที่แปลตรงไปตรงมาว่าไม่มีวิชา  หรือไม่มีวิทยาหรือไม่มีการเรียนรู้วิทยาอะไรเลย เหมือนคนปกติธรรมดาที่ถูกขังอยู่ในคุกมืดตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กๆ โดยไม่พบใครเลย ว่าไปแล้วคนเหล่านี้จึงไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย แถมยังดื้อด้าน (ignorant) พอคนพวกนี้ออกมาจากคุกมืด ได้รับข้อมูลที่ผิด หรือด้านเดียวซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่ว่าอะไรก็เชื่อเลย และเมื่อเชื่อแล้วก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลงความเชื่อของตน คนพวกนี้จึงไม่ใช่โง่ มอหร่อน หรืออีเดียต และเป็นผู้ใหญ่ที่มีเยอะแยะในสังคมมนุษย์ โดยเฉพาะสังคมที่ด้อยพัฒนา ซึ่งแย่ยิ่งกว่าโง่เง่าเต่าตุ่นเสียอีก เพราะอวิชชาเป็นที่มาของแรงกรรมอันดับหนึ่ง


ในปี 1987 เออร์วิน ลาซโล่ ได้เขียนหนังสีอที่ขายดีมากและเป็นข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของโลกและจักรวาลที่แล้วๆ มาจนบัดนี้ก็ยังไม่มีผู้ใด-ได้เขียนชัดเจนและกระจ่างได้เท่า (Erwin Lazslo : The Grand Synthesis, 1987) ซึ่งผู้เขียนคิดว่าเขาคงได้ความคิดที่สำคัญนี้จากปรัชญาดึกดำบรรพ์ที่ผู้เขียนเรียกว่า ปรัชญาสากลนิรันดร (perennial philosophy) ซึ่งมีลิปนิตซ์ (Liebnitz) นักปราชญ์ชาวเยอรมัน คู่ปรับไอแซค นิวตัน เป็นคนแปลมาคนแรก นั่นคือ ดิน มนุษย์ ฟ้า  (สวรรค์) หรือสสารวัตถุ (matter) ชีวิต (life) เทพเทวา หรือพระเจ้า (Spirit) - ที่ผู้เขียนบอกว่าไม่รู้ว่าใครเป็นคนคิด และเป็นไปได้ที่มนุษย์โครมันยองเป็นคนคิดขึ้นมาตั้งแต่ 30,000 ปีก่อน (อ้างแล้ว) - ที่ต่อมามีผู้ขยายเป็นห้า และเป็นเจ็ด คือบวกสอง - จิต (mind) กับวิญญาณ (soul) ไว้ที่หน้าของฟ้าของดิน มนุษย์   ฟ้า (สวรรค์ หรือ Spirit) และในไดอะแกรมรูปพีระมิดในหนังสือของเออร์วิน ลาซโล่ ได้ขยายต่อไปหรือบวกอีกสองห่วงโซ่แห่งชีวิต (A Great Chain of being)  เป็นเจ็ดห่วง คือบวกกับชีวิต (life) ไว้ข้างหน้ามนุษย์ และที่ขยายเป็นเจ็ดโดยเติมคำว่า สังคมวัฒนธรรม (socio-cultural) ลงไป ตามหลังคำว่ามนุษย์ เป็นสสารวัตถุ ชีวิต มนุษย์ สังคมของมนุษย์ จิต วิญญาณ กับสปิริตหรือพระเจ้านั้นผู้เขียนเห็นว่าไม่จำเป็น เพราะว่าดิน มนุษย์ ฟ้า (สวรรค์) นั้น มีการให้รางวัลและการลงโทษด้วย และการให้รางวัลกับการลงโทษ (retribution) นั้นผู้เขียนคิดว่าเป็นที่มาของกฎแห่งกรรม    


เราที่นับถือศาสนาพุทธทุกคนไม่ว่านิกายไหนต่างก็รู้เรื่องของกรรมและการเกิดใหม่ที่มีหลักการคล้ายๆ กัน แม้ว่าคนอินเดีย (และคนลังกา) อาจจะมีโลกทัศน์และวิสัยทัศน์ไม่เหมือนกันกับคนจีน คนญี่ปุ่น คนทิเบต ฯลฯ ที่กลัวและชอบกรรมไม่เหมือนกัน เช่น คนอินเดียอาจกลัวการลงโทษเฉพาะหน้า คือ กลัวไม้เรียวมากกว่าคนจีน ซึ่งกลัวการลงโทษทีหลัง เป็นต้นว่า กลัวอุปัทวเหตุมากกว่า หรือคนอินเดียจะกลัวกฎหมายมากกว่าคนจีนที่กลัวการลงโทษจากสวรรค์ เช่น กลัวว่าถูกฟ้าผ่ากลางแดดจ้ากลางวันแสกๆ  ตาย เป็นต้น

 ผู้เขียนคิดเอาเองว่าที่ตั้งเป็นหัวเรื่องของบทความของวันนี้ เรื่องศัตรูของสังคมของมนุษย์โดยรวมนั้นน่าจะเป็นอวิชชายิ่งกว่าตัณหาราคะหรือความอยากความต้องการมากนัก ซึ่งตัวอย่างที่เราอาจยกมาให้พิจารณาดู ได้แก่ ความแตกแยกของสังคมไทยออกเป็นกลุ่มๆ โดยการใส่เสื้อต่างสีกันแล้วต่างเชื่อมั่นในข้อมูลของฝ่ายตัวฝ่ายเดียวที่จนกระทั่งบัดนี้ นานแล้วเราที่อยู่ตรงกลาง ก็ยังไม่รู้ว่าอะไรเป็นเรื่องจริงและอะไรไม่ใช่เรื่องจริงหรือเป็นอวิชชา? ส่วนตัณหาราคะน่าจะเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลมากกว่า แน่นอนทั้งสองอย่างเป็นที่มาของกรรมในฐานะเป็นสาเหตุของการก่อกรรม - ไม่ว่าจะเป็นกรรมที่ทำในภพชาตินี้ หรือในภพชาติก่อนภพชาติไหนในอดีต - เพราะกรรมนั้นไม่มีทางหลีกหนีได้พ้น และการเกิดใหม่ในสังสารวัฏภพภูมิไหนนั้นสำหรับผู้เขียนซึ่งเชื่อมั่นในความมีเหตุผลของพุทธศาสนาและลัทธิพระเวท  การเกิดใหม่จะต้องมีแน่ๆ จริงๆ แล้วศาสนาใหญ่ๆ ศาสนาอื่นๆ ก็มีพูดไว้ด้วย เช่น ศาสนาเต๋าที่ไปไกลถึงขนาดที่ว่า กรรมหรือการกระทำเป็นบุพเพสันนิวาสหรือเป็นเจตนาที่กำหนดหรือ “ลิขิต” ที่กำหนดให้เป็นเช่นนั้นๆ ไว้แล้วล่วงหน้าของฟ้าดิน

จะพูดเล็กน้อยเกี่ยวกับที่มาและการเปลี่ยนแปลงของทฤษฎีของกรรมที่ก็คือ ทฤษฎีหรือกฎธรรมชาติที่สำคัญยิ่งของลัทธิพระเวทกับพุทธศาสนา เป็นปรัชญาของอินเดียโบราณก่อนที่มีศาสนาฮินดูดังที่ระบุไว้ในเวทันตะ การเปลี่ยนแปลงของทฤษฎีกรรมนั้นเป็นไปเมื่อศาสนาฮินดูและพุทธศาสนาได้แผ่ไปถึงดินแดนอื่นๆ การให้รางวัลหรือการลงโทษจากสวรรค์ ที่มีอยู่นานแล้วในที่นั้นๆ โดยไม่รู้ว่าใครคิดขึ้นมาดังที่ผู้เขียนพูดมาหลายครั้งแล้วว่า นั่นคือ ปรัชญาสากลนิรันดร (perennial philosophy) โดยเฉพาะเมื่อแผ่มาถึงตะวันตก ซึ่งเดี๋ยวนี้เราต้องถือว่าทฤษฎีว่าด้วยกรรมและการเกิดใหม่ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เราก็ต้องถือว่ามันได้กลายเป็นประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของตะวันตกไปแล้วก็ได้  ส่วนใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อเป็นคนละประเด็น นักปรัชญาฮินดูต่างยุคสมัยกันล้วนมีความเห็นเหมือนๆ กันว่า ทฤษฎีกรรมและการเกิดใหม่นั้น เราต้องเอากรรมเป็นหลักและการเกิดใหม่ (ในวัฏสงสาร) เป็นรอง ซึ่งผู้เขียนเชื่อมั่น - โดยมีเหตุผล - ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า มนุษย์โลกทุกคนจะต้องเกิดใหม่ทั้งนั้นไม่ว่าผู้นั้นๆ จะนับถือพุทธศาสนาหรือศาสนาที่เกิดจากลัทธิพระเวทหรือไม่ นักวิทยาศาสตร์กับนักวิชาการจำนวนมากทั่วทั้งโลกเชื่อว่าเพราะกรรมคือทฤษฎีธรรมชาติของจักรวาลเพื่อความยุติธรรมหรือความมีระเบียบเรียบร้อย ซึ่งเป็นคุณสมบัติของจักรวาลทางวิทยาศาสตร์หรือจักรวาลวิทยา ทฤษฎีกรรมที่สรุปว่า “สภาพปัจจุบันของเราล้วนเป็นผลของการกระทำของเราเองในอดีต และการกระทำของมนุษย์เราในปัจจุบันวันนี้ คืออนาคตของเรา” ส่วนที่นักจิตวิทยาของฝรั่งหรือของตะวันตก “สมัยใหม่” รวมทั้งสาธารณชนจำนวนไม่น้อยของไทยเรา - ที่เป็นฝรั่งจ๋าหรือคิดว่าตนเป็นคน “ทันสมัย” โดยไม่คิดให้ถี่ถ้วน คิดง่ายๆ ว่าคนเราต้องเท่ากัน ฉะนั้น ถ้ามันเป็นกฎธรรมชาติอย่างนั้นจริงๆ แล้วจะให้จักรวาลตอบเราว่าอย่างไร? กับคำว่าเสรีภาพ ฟรีวิลล์หรือความเป็นธรรมของสังคมที่เราเชื่อตามฝรั่งโดยไม่คิดให้รอบคอบ เช่นว่า เรื่องของสิทธิมนุษยชน? ราษฎรกฤษนันท์ นักปรัชญาของอินเดียที่มีอิทธิพลยิ่งไม่จำเพาะแต่ที่อินเดีย แต่ทว่าในตะวันตกด้วยได้เขียนไว้ในเรื่องนี้เมื่อปี 1908 ว่า “จริงๆ แล้วกฎแห่งกรรมไม่ได้ขัดกับการสรรค์สร้าง  (ของพระเจ้า) เลยในเรื่องเสรีภาพแม้แต่น้อย...มันเหมือนกับการเล่นไพ่ (บริดจ์) เราไม่ได้แจกไพ่ ไพ่ที่เราถือมันได้ถูกแจกมาของมันเอง แต่เราก็ยังเป็นอิสระที่จะเลือกเล่นไพ่ที่อยู่ในมือของเราไปตามใจชอบ แพ้หรือชนะขึ้นอยู่กับโอกาสอันเป็นอิสระหรือการเลือกที่จะเล่นของเราเอง” นักปรัชญาที่ถือศาสนาพราหมณ์หลายคนยังเชื่อว่า คนเรานั้นไม่เท่าเทียมกันในด้านของวิวัฒนาการของจิต บางคนโง่เง่าเต่าตุ่นแล้วยังไม่ขวนขวายไร้ความเพียรพยายาม บางคนมีปัญญาเลิศล้ำ แต่เห็นแก่ตัวและชั่วร้าย บางคนมีสัจจะซื่อตรงและอยู่ในศีลในธรรม บางคนไปไกลยิ่งกว่านั้น คือมีจิตที่สูงล้ำอยู่ในสภาวะของจิตวิญญาณ


(spirituality)  ตลอดกาล ที่สำคัญอย่างยิ่งเราต้องรู้ว่าจิตจักรวาลนั้น หากเราคิดว่าชีวิตและมนุษย์ไม่ได้มาจากความบังเอิญ และแต่ละชีวิตต่างมีคุณค่าและมีเป้าหมาย ชีวิตหรือมนุษย์ในภาพรวมอาจจะถูกกำหนดด้วยกรรมจริงๆ แต่กรรมของสังคม กรรมร่วมของคนที่เกิดและอยู่ในประเทศไทย ย่อมไม่เหมือนกรรมร่วมของคนที่เกิดและอยู่ในประเทศอังกฤษ หรือคนในประเทศใดๆ ทั่วทั้งโลก กรรมร่วมก็เป็นเช่นเดียวกับความอิสรเสรีหรือฟรีวิลล์ ที่จะให้เหมือนกันหมดทั้งโลกคงไม่ได้ คนที่เกิดและอยู่ในสังคมชุมชนกระทั่งตำบลของประเทศใดเป็นไปตามกรรมทั้งสิ้น และจะเอาแต่องค์ประกอบเล็กย่อยๆ ว่า เราก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน ไม่ว่าเกิดและอยู่ที่ไหน ไทยหรืออังกฤษ อเมริกา หรือญี่ปุ่นก็เป็นคนเหมือนๆ กันคงไม่ได้อย่างแน่นอน ไม่เช่นนั้นคนเราทุกคนคงมีฟรีวิลล์ที่จะเลือกเกิดทั้งหล่อ ทั้งรวย ทั้งขาวเหมือนกันทั้งหมด

กรรมร่วมของสังคมโดยรวมนั้น ผู้เขียนคิดว่าเป็นผลรวมของจิตแต่ละคนที่อยู่ในสังคมนั้นๆ เป็นปัจเจก ซึ่งยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่ว่ากำหนด เช่น ฐานะทางการเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย ฯลฯ ทำให้ความอิสรเสรีที่มีคุณค่าและความหมายสำหรับคนในสังคมนั้นๆ รู้สึกแตกต่างกันไปกับทางเลือกของตัวเอง อย่าลืมว่าความเป็นอิสระอย่างแท้จริงนิรันดรหรือฟรีวิลล์ที่แท้จริงนั้น ขึ้นกับสภาวะของจิตว่าอยู่ในระดับไหน เสรีที่ฟรีวิลล์ของผู้ที่ผ่านการตรัสรู้หรือผู้ที่อยู่ในสภาวะจิตวิญญาณ (spiritual being) ย่อมแตกต่างจากที่คนปกติธรรมดาคิดอยากที่จะมีมากนัก

ว่าจะพูดเล็กน้อย แต่ก็เข้าไปหนึ่งในสี่ของบทความ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เกี่ยวข้องกับสังคมกับที่มาของกฎแห่งกรรม และอวิชชา - หนึ่งในสองที่ร่วมกับตัณหาราคะก่อประกอบเป็นแรงกรรมผลักดันให้ชีวิตของสัตว์โลก รวมทั้งมนุษย์ที่จำต้องเวียนว่ายตาย-เกิดในภพภูมิต่างๆ ของสังสารวัฏ หรือจักรวาลแห่งนี้ และผู้เขียนคิดว่า เราทำผิดที่ไปขยายดิน มนุษย์ ฟ้า (สวรรค์) อันเป็นองค์รวมรวบยอดได้มาจากจิตปฐมภูมิกับพลังงาน ปฐมภูมิ (primordial vinjhanna and jhannapranna) ที่แยกออกจากกันไม่ได้ ที่มาจากที่ว่างอันสมบูรณ์ (absolute space) ของพุทธศาสนา

อย่าลืมว่าทั้งสองแรงกรรมหรือพลังงานกรรมที่ผลักดันให้กฎแห่งกรรมทำงานนั้นมาจากจิตปฐมภูมิ - หรือจิตจักรวาลที่ผ่านการบริหารที่สมองเป็นจิตสำนึกหรือเจตนา (อวิชชากับตัณหาราคะ) ที่แยกออกจากพลังงานไม่ได้ดังที่ได้พูดมาแล้ว ผู้เขียนเชื่อว่าอวิชชาคือปัญหาของกรรมโดยรวมของสังคมชุมชนมากกว่าจะเป็นปัจเจกกรรมของแต่ละคน และตัณหาราคะเป็นกรรมของปัจเจกบุคคลแต่ละคนมากกว่า แน่นอนทั้งสองคือแรงกรรมที่เป็นสาเหตุของจิตสำนึกเจตนาทั้งอวิชชากับตัณหาทั้งสอง ผิดกันที่อันไหนเป็นหลักอันไหนเป็นรอง ดังนั้น ศัตรูของสังคมชุมชนโดยรวมถึงได้คิดว่าเป็นผลของอวิชชามากกว่าตัณหาราคะยิ่งนัก ซึ่งการเป็นเช่นนี้ก็ดูได้จากอุปัทวเหตุต่างๆ ที่หลายคนประสบพร้อมๆ กัน เช่น  รถคว่ำ หรือเรือล่ม เป็นต้น และคิดว่าจิตเจตนาเป็นสาเหตุของกรรมทั้งสองกรรมเป็นตรงข้ามกันและกัน.


http://www.thaipost.net/sunday/040710/24406


ภาพจาก

http://www.flickr.com/photos/14405515@N03/collections/

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 กรกฎาคม 2553 08:02:42 โดย มดเอ๊ก » บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.395 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 15 กุมภาพันธ์ 2567 18:44:13