[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
19 เมษายน 2567 22:27:19 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เสียงท้องร้องจ๊อกๆ เกิดจากอะไร  (อ่าน 2574 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
【ツ】ต้นไม้ความสุข ♪
ลั้ลลา
ผู้ดูแลบ้านสุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +8/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Thailand Thailand

กระทู้: 2097


【ツ】ต้นไม้แห่งแสง

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Firefox 14.0.1 Firefox 14.0.1


หน้ากู
ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 22 สิงหาคม 2555 12:31:47 »

เสียงท้องร้องจ๊อกๆ เกิดจากอะไร


เสียงท้องร้องจ๊อกๆ เกิดจากอะไรกันนะ? เคยสงสัยกันหรือเปล่า?

เชื่อว่าหลายคนต้องได้ยินเสียงท้องร้องเวลาหิว สาเหตุที่ท้องร้องก็เพราะสมองซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมความรู้สึกหิวของเราจะคอยจัดลำดับการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้ ถ้าในเลือดมีสารอาหารพอเพียง สมองก็จะสั่งให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง แต่เมื่อใดที่มีสารอาหารในเลือดน้อยระบบย่อยอาหารจะทำงานเร็วขึ้นเราจึงได้ยินเสียงท้องร้อง

ทำไมท้องถึงร้องเวลาเราหิว? แม้ว่าท้องร้อง (growl) จะเป็นสิ่งที่เราได้ยินบ่อยๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความหิว และในกระเพาะไม่มีอาหาร แต่มันสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลาไม่ว่าจะตอนที่กระเพาะว่างหรือไม่ก็ตาม และยิ่งกว่านั้นเสียงร้องไม่ได้มาจากกระเพาะเท่านั้น แต่มักจะมาจากลำไส้เล็กอีกด้วย เสียงท้องร้องมักจะเกี่ยวข้องกับความหิว เพราะว่ามันมักจะร้องตอนที่กระเพาะและลำไส้ว่าง และอวัยวะภายในอื่นๆ ไม่ได้ส่งเสียงออกมา

เสียงนี้เป็นที่สนใจมานานแล้ว โดยเฉพาะชาวกรีกโบราณ ซึ่งตั้งชื่อให้ว่า borborygmi (พหูพจน์ของคำว่า borborygmus) คำนี้มีต้นกำเนิดมาจากคำที่เป็นเสียงเหมือนกับสิ่งที่ต้องการบรรยาย (onomatopoeia) เพื่อต้องการที่จะใส่เสียงร้องลงไปในคำ คำว่า Borborygmi แปลออกมาได้ว่า เสียงร้อง (จากท้อง) (rumbling)

ในทางสรีรศาสตร์ แหล่งกำเนิดของเสียงร้องเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของกล้ามเนื้อในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก โดยทั่วไปแล้วท่อทางเดินอาหาร (gastrointestinal tract) มีลักษณะเป็นท่อกลวงที่เริ่มจากปากจนถึงทวารหนัก และผนังของมันจะประกอบไปด้วยชั้นของกล้ามเนื้อเรียบ เมื่อผนังได้รับการกระตุ้น กล้ามจะบีบตัวเพื่อผสมและคลุกเคล้าอาหาร แก๊ส และของเหลวผ่านกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก ซึ่งทำให้เกิดเสียงขึ้น การบีบตัวของผนังกล้ามเนื้อนี้เรียกว่า peristalsis และเกี่ยวข้องกับการหดตัวเป็นวงที่เคลื่อนที่ (จากปาก) ลงมายังทวารหนักด้วยระยะทางเพียง 2-3 นิ้ว/ครั้ง

การสร้างคลื่นไฟฟ้าของ peristalsis เป็นผลมาจากการขึ้น-ลงที่เป็นจังหวะของศักย์ไฟฟ้าในเซลล์กล้ามเนื้อเรียบในสภาวะที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อหดตัว การขึ้น-ลงของศักน์ไฟฟ้านี้เรียกว่า basic electrical rhythm (BER) และเป็นผลมาจากกิจกรรมของระบบประสาทที่เกี่ยวกับลำไส้ที่มาจากกรรมพันธุ์ (บางคนอาจไม่เป็นก็ได้) ซึ่งพบได้ในผนังลำไส้ BER ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กทำงานในจังหวะปกติ (3 และ 12 ครั้งต่อนาที ตามลำดับ) ในลักษณะที่คล้ายกับจังหวะการเต้นของกล้ามเนื้อหัวใจแต่ช้ากว่าระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System; ANS) และปัจจัยเกี่ยวกับฮอร์โมนสามารถลด BER ได้

แม้ว่าอัตราและกำลังของ peristalsis มักจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีอาหาร แต่กิจกรรมดังกล่าวก็เพิ่มขึ้นหลังจากกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กว่างประมาณ 2 ชั่วโมงเช่นกัน ในกรณีหลัง หน่วยรับความรู้สึกในผนังของกระเพาะจะส่งสัญญาณว่าไม่มีอาหารแล้ว ทำให้เกิดการสร้างคลื่นไฟฟ้า (Migrating Myoelectric complexes; MMCs) ขึ้นอีกครั้งในระบบประสาทที่เกี่ยวกับลำไส้ MMCs จะถูกส่งไปตามกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก และนำไปสู่การหดตัวเนื่องจากความหิว การหดตัวจากความหิวจะเริ่มจากกระเพาะส่วนล่าง (antrum) และแพร่ไปตามความยาวของท่อทางเดินอาหารรวมถึงส่วนปลายสุดของสำไล้เล็ก (ileum) ซึ่งจะทำความสะอาดสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในกระเพาะอาหารรวมถึงเมือก เศษอาหาร และแบคทีเรีย และป้องกันการสะสมสารต่างๆ อีกด้วย

การหดของกล้ามเนื้อยังทำให้เกิดการสั่น และเสียงร้องที่เกี่ยวข้องกับการหิว การหดกล้ามเนื้อเนื่องจากความหิวอาจจะอยู่นานถึง 10-20 นาทีในช่วงแรก และหลังจากนั้นจะหดตัวเป็นจังหวะทุกๆ 1-2 ชั่วโมงจนกระทั่งอาหารมื้อต่อมาได้เข้าสู่ร่างกาย ถ้าจะหยุดเสียงเหล่านั้นก็คงทำไม่ได้ เพราะเป็นกลไกธรรมชาติ แต่ป้องกันได้โดยการทานอาหารให้ตรงเวลา แต่ท้องร้องเกิดขึ้นได้แม้ขณะกระเพาะอาหารไม่ว่างด้วยซ้ำ และหากปริมาณน้ำตาลในเลือดต่ำก็จะทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อและทำให้เกิดเสียงร้องได้อีกด้วย ดังนั้นแนะนำให้รีบดื่มนมรองท้องก่อนเข้าประชุมหรือก่อนช่วงเวลาสำคัญ อย่างน้อยก็ช่วยบรรเทาอาการท้องร้องได้


ที่มา : crma52.com

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

เราช่วยกันนำต้นรักที่เพาะได้
   ส่งไปตาม บ้านที่ต้องการ
       อยากจะได้...
   หรืออยากจะเติม
คำค้น: ท้องร้อง เสียงท้องร้อง อาการ สุขภาพ ความรู้ 
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (DVT) คืออะไร เกิดจากอะไร ?
สุขใจ อนามัย
หมีงงในพงหญ้า 7 34976 กระทู้ล่าสุด 02 กรกฎาคม 2556 21:21:32
โดย joojee
ขี้แมลงวันคืออะไร เกิดจากอะไร ?
สุขใจ อนามัย
That's way 2 4357 กระทู้ล่าสุด 05 กรกฎาคม 2555 05:53:43
โดย ยังทุกข์
รัก...เกิดจากอะไร
ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก
เงาฝัน 0 2371 กระทู้ล่าสุด 29 ธันวาคม 2555 07:06:15
โดย เงาฝัน
ไขปริศนา ลมหนาววูบวาบเดือน เม.ย. เกิดจากอะไร - กรมอุตุฯ ชี้ยังหนาวขึ้นอีก
สุขใจ ไปรษณีย์
ใบบุญ 0 371 กระทู้ล่าสุด 03 เมษายน 2565 12:49:08
โดย ใบบุญ
[การเมือง] - อ.เจษฎ์ ไขข้อข้องใจ ภาพนายกฯ เยือนจีน สูทเทาเรียบๆ ถ่ายออกมาลายพร้อย เกิดจากอะไร
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 113 กระทู้ล่าสุด 19 ตุลาคม 2566 01:09:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.295 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 28 มีนาคม 2567 03:06:17